ประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด

ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก

ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย ข,จ,ฉ,ช)

ประวัติศาสตร์จังหวัดขอนแก่น
ตราประจำจังหวัด


รูปพระเจดีย์ก่อไว้บนตอไม้ หมายถึงพระธาตุขามแก่น
คำขวัญประจำจังหวัด

พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก
   สมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักฐานการสำรวจบริเวณโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง
แม้ว่าตัวที่ตั้งจังหวัดพึ่งเป็นเมืองขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ ไม่เก่าแก่เท่าสุโขทัย นครวัด โรม เอเธนส์ แต่เรื่องที่น่าสนใจยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ และมานุษย์วิทยานั้นปรากฏว่าอาณาบริเวณจังหวัดขอนแก่นเคยเป็นดินแดนที่มีผู้คนอาศัยตั้งบ้านเรือนเจริญรุ่งเรืองมีอารยธรรมสูงส่งมาหลายพันปีแล้ว ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์คือยุคหินใหม่ ยุคโลหะตอนต้นได้แก่ ยุคสำริด จากรายงานของ วิลเฮล์ม จี โซลโฮม์ เรื่อง Early-Bronze in Northeastern Thailand (นิตยสารศิลปากร ปีที่ 11 เล่มที่ 4 พ.2510มีข้อความสำคัญว่าในการสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณวัตถุ ซึ่งน้ำอาจท่วมถึงในอาณาเขตเขื่อนพองหนีบได้รับความสำเร็จที่น่าภาคภูมิยิ่งคือ บริเวณโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ได้ทำการขุดค้นป่าช้าโบราณดึกดำบรรพ์ พบชั้นดิน 8 ชั้น เรียงกันอยู่ใต้ดินอีก 12 ชั้น ในชั้นดิน ชั้น มีหลักฐานที่แน่นอนบ่งถึงการทำเครื่องสำริด ส่วนในชั้นดินอีก 12 ชั้น พบทั้งเครื่องสำริดและเหล็ก เครื่องสำริดพบเป็นครั้งแรกในชั้นดินที่ 20 การกำหนดอายุโดยพิสูจน์คาร์บอน 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่ามีอายุ 4,275 ± 200 ปี มาแล้ว (คืออาจคลาดเคลื่อนได้ไม่มากนักไม่น้อยเกิน 200 ปีหมายความว่าได้มีการทำเครื่องสำริดที่นั่นมากกว่า 1,000 ปี ก่อนที่จะเริ่มทำเครื่องสำริดที่ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชาง และก่อนที่เจ้าของวัฒนธรรมฮาร์ปปาในลุ่มแม่นํ้าสินธุ ประเทศอินเดีย จะเริ่มทำเครื่องสำริดเกือบหรือกว่า 100 ปี
เครื่องสำริดต่าง ๆ ที่ขุดค้นได้ในบริเวณหลุมฝังศพดึกดำบรรพ์แห่งนี้ได้นำออกแสดงไว้แล้วที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ มีทั้งเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมตลอดทั้งแบบพิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่กระดูกท่อนแขนซ้อนกันหลายวง มีปลายหอก มีภาชนะลักษณะคล้ายตะเกียงหรือกาน้ำ นอกจากสำริดยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินขัดหลายชิ้น ในการขุดค้นสองครั้ง ครั้งหลังสุด มีผู้เชี่ยวชาญและนักศึกษาที่จะทำวิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาวายกำลังทำการสำรวจอยู่ ในการสำรวจปีที่ 2 ได้ขุดตรวจบริเวณส่วนระดับดินตอนบนมีการเผาศพ (คงเป็นระยะที่นับถือพุทธศาสนาแล้วระดับตํ่าลงไปเป็นการฝังศพในลักษณะยาวเหยียดตรง เครื่องประดับที่โครงกระดูกบางชิ้นเป็นหินประเภทรัตนชาติมีหม้อดินวางอยู่บนอกบนหัว บางศพก็วางอยู่ระหว่างขา หม้อดินเหล่านี้เป็นเครื่องปั้นดินเผา มีลายเชือก ทาบและลายเส้นทแยง บางใบก็มีปุ่มที่คอคล้ายเขาสัตว์ จัดว่าเป็นลวดลายเก่าแก่ที่สุด เพราะว่าส่วนมากเป็นวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ พบขวานสำริดมีบ้องและเครื่องมือสำริดรูปคล้ายตัว (T) เครื่องประดับกายมีลูกปัดทำด้วยเปลือกหอย กำไลทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งได้พบแวเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้าย ทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว
ประวัติศาสตร์จังหวัดจันทบุรี
ตราประจำจังหวัด


รูปกระต่ายในดวงจันทร์
คำขวัญประจำจังหวัด
น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี

 สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันนี้ ในสมัยโน้นเรียกว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นถิ่นเดิมของชาติลาวหรือละว้า ยกเว้นดินแดนทางภาคใต้ซึ่งเป็นอาณาเขตของชาติมอญ อาณาจักรสุวรรณภูมิแบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น 3 อาณาเขต คือ
1อาณาเขตทวาราวดี มีเนื้อที่อยู่ในตอนกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกของอ่าวไทยจนถึงชายทะเลตะวันออก มีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี
2อาณาเขตยาง หรือ โยนก อยู่ตอนเหนือ ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
3อาณาเขตโคตรบูร ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้ง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีเมืองนครพนมเป็นราชธานี
ชาวอินเดียผู้เจริญรุ่งเรืองด้วยความรู้ทางศาสนา ปรัชญา และสรรพศิลปวิทยาการได้อพยพเข้ามาในดินแดนเหล่านี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ชาวอินเดียได้พากันเข้าไปตั้งอาณานิคมอยู่ในดินแดนเขมรและมอญอีกด้วย เขมรหรือขอมได้รับความรู้ถ่ายทอดมาจากอินเดีย จึงปรากฏว่าขอมเจริญก้าวหน้ายิ่งกว่าชนชาติใดในสุวรรณภูมิราว พ.1500 ขอมได้ขยายอำนาจครอบครองอาณาเขตลาวไว้ได้ทั้งหมด ขอมรุ่งโรจน์อยู่ประมาณสองศตวรรษ ไม่ช้าก็เสื่อมอำนาจลง ในเวลานั้นชนชาติพม่าซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในธิเบต ได้รุกลงมาสู่ดินแดนลุ่มแม่น้ำอิรวดี และสถาปนาอาณาจักรขึ้น มีกษัตริย์พม่าพระองค์หนึ่งพระนามว่า อโนระธามังช่อ มีอานุภาพปราบลาวและมอญไว้ในอำนาจ เมื่อกษัตริย์พม่าองค์นี้สิ้นอำนาจลง ขอมก็รุ่งโรจน์ขึ้นอีกวาระหนึ่ง แต่เป็นความรุ่งโรจน์เมื่อใกล้จะเสื่อม พอดีชนชาติซึ่งรุกล้ำลงมาสู่ดินแดนนี้นับกาลนานมาได้สถาปนาอาณาจักรมีอานุภาพขึ้น
ในสมัยขอมรุ่งโรจน์ตอนบั้นปลายนั้น ในดินแดนสุวรรณภูมินี้มีชื่อเมืองโบราณอยู่ 3 ชื่อ มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ โคตรบูร เพชรบูรณ์ และจันทบูร ซึ่งทั้งสามนี้ตามรูปศัพท์บอกว่าไม่ใช่ภาษาไทย สมัยนั้นเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าชาวอินเดียไม่ใช่ปฐมาจารย์แห่งสรรพวิทยาการของขอมมาก่อน ที่ขอมเจริญรุ่งเรืองก็เพราะได้อาศัยชาวอินเดียเข้ามาเป็นครูสั่งสอนให้
จากราชธานีนครธม ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางขึ้นไปทางภาคเหนือตามแม่น้ำโขง ขอมได้ตั้งเมืองนครพนมขึ้นไว้เป็นด่านแรกจากนครธมตรงไปสู่ดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ขอมได้ตั้งเมือง พิมายขึ้นเป็นเมืองอุปราช และจากเมืองพิมายตรงขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองเพชรบูรณ์เป็นปากทางแรกสำหรับให้อารยธรรมและวัฒนธรรมของขอมเดิมเข้าสู่แคว้นโยนก ในเขตทวาราวดีที่ตอนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ขอมได้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองสำคัญคือ เป็นเมืองลูกหลวง อนึ่ง จากราชธานีนครธม เมื่อตัดตรงลงมาสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เมืองด่านแรกที่ขอมตั้งขึ้นคือ เมืองจันทบุรี ต้นทางแพร่วัฒนธรรมและอารยธรรมขอมเข้าสู่ดินแดนชายทะเลและไปบรรจบกันที่เขตทวาราวดี
อาศัยเหตุนี้เมื่ออนุมานดู จากเหตุผลในประวัติศาสตร์ประกอบกับภูมิศาสตร์ ก็น่าจะเชื่อว่า อาณาเขตจันทบูรหรือจันทบุรีในปัจจุบันนี้เป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นร่วมสมัยเดียวกันกับลพบุรี พิมาย และเพชรบูรณ์ แต่ขอมจะสร้างเมืองจันทบุรีนี้ขึ้นแต่ศักราชใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง นอกจากจะสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่ขอมเริ่มแผ่อำนาจเข้าสู่เขตแดนลาวโดยอาศัยหลักโบราณคดีวินิจฉัยเปรียบเทียบดูศิลาแลงที่ใช้ก่อสร้าง วิธีการสร้างเทวสถานแกะสลักซุ้มประตู ฝาผนัง และระเบียงเป็นรูปโพธิสัตว์ เทวดา ประกอบทั้งลักษณะท่าทางของรูปสลักแล้ว เห็นได้ว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่ปราสาทหินโบราณที่พิมาย นั่นหมายถึงว่า มีอายุก่อน 1,000 ปีขึ้นไป
เศษจากศิลาแลงแผ่นใหญ่สลักลวดลายกนกต่าง ๆ รูปเทวดาพระโพธิสัตว์ที่ยังเหลืออยู่ เนินดินรอบถนนและซากแสดงภูมิฐานของที่ตั้งเมืองเหล่านี้ ที่มีอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่า เมืองเก่าหน้าเขาสระบาป ในท้องที่ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรีนั้นทำให้สันนิษฐานได้ว่า เมืองเก่าเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยขอมเป็นใหญ่ แต่ก็ยังไม่สามารถจะชี้ชัดว่าบุคคลหรือกษัตริย์องค์ใดเป็นผู้สร้าง ปัจจุบันนี้ยังมีซากกำแพงก่อด้วยศิลาแลง มีเชิงเทินเศษอิฐและหิน ถนนปูด้วยศิลาแลง ปรากฏเป็นเค้าเมืองเดิมอยู่ นอกจากนี้ยังมีศิลาแลงแผ่นใหญ่สลักเป็นลวดลายและกนกต่าง ๆ มีรูปคนท่อนบนเปลือย ท่อนล่างถือชายผ้าพกใหญ่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาพแกะสลักและกนกซุ้มประตูหน้าต่างและธรณีประตูที่ปราสาทหินพิมาย นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า เมืองที่กล่าวนี้ เป็นเมืองควนคราบุรี ส่วนจันทบูรหรือจันทบุรี นั้น น่าจะเป็นชื่อเสียงหรือชื่ออาณาเขตอย่างใดอย่างหนึ่ง และควนคราบุรีก็น่าจะเป็นเมืองสำคัญในอาณาเขตจันทบูร เช่นเดียวกับที่เมืองพิมายเป็นเมืองสำคัญในอาณาเขตโคตรบูร เกี่ยวกับเรื่องนี้ พล.ร.ต. แชน ปัจจุสานนท์ ซึ่งเป็นผู้ที่สนใจและได้ทำการค้นคว้าในเรื่องชื่อเมืองจันทบุรีมีความเห็นว่า คำว่า "ควนคราบุรี" น่าจะเป็นคำเดียวกันกับ "จันทบุรี" นั่นเอง แต่มีผู้เขียนหรือแปลผิดเพี้ยนไป อย่างไรก็ดี เรื่องเกี่ยวกับชื่อเมืองนี้ยังหาข้อยุติมิได้
นิโคลาส เจอร์แวส (Nicolas Gervais) ผู้เขียนเรื่องเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์-มหาราช ได้กล่าวถึงเมืองจันทบูร (Chantaboun) ว่า "จันทบูนเป็นเมืองที่สวยงามที่สุด โดยปราศจากการโต้แย้งใด ๆ (ของหัวเมืองทางใต้) มีป้อมปราการเข็งแรงมาก เจ้าเมืองหาง (Chaou Moeung Hang) ผู้มีฉายาว่า พระองค์ดำ ซึ่งเป็นผู้สร้างพิษณุโลกได้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งซึ่งมีชื่ออย่างเดียวกัน จันทบูรเป็นเมืองชายแดนของเขมร อยู่ห่างจากฝั่งทะเลเป็นระยะทางวันหนึ่งเต็ม ๆ
อนึ่ง มีกล่าวกันว่าไทยกับเขมรได้รบกันเมื่อ พ.ศ. 1917 – 1936 (ค.ศ. 1374 - 1393) เพื่อแย่งกันครอบครองเมืองจันทบูน ซึ่งบางทีก็เรียกว่า เมืองจันทบุรี (Chandraburi) เมืองแห่งพระจันทร์ และอีกเมืองหนึ่งที่ชื่อว่า เมืองชลบุรี (Choloburi) หรือเมืองจุลบุรี (Culapuri) เมืองเล็ก"
ตัวเมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่หน้าเขาสระบาปฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดทองทั่ว ปัจจุบันนี้ยังมีซากตัวเมือง กำแพงเมือง ก่อด้วยศิลาแลงและเชิงเทินปรากฏอยู่ให้เห็นเป็นเค้าอยู่บ้าง และสิ่งที่ขุดค้นพบมีศิลาจารึกและศิลารูปซุ้มประตู สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าที่ตรงนั้นเคยเป็นเมืองขอมมาแต่โบราณกาล แต่นามเมืองเก่าจะได้ชื่อว่า "จันทบุรี" หรือ "จันทบูน" อย่างไรไม่ทราบชัด แต่ชาวบ้านยังพากันเรียกว่า "เมืองนางกาไว" ตามชื่อผู้ปกครองเมืองสมัยนั้น ซึ่งมีเรื่องราวเป็นนิยายอันจะเชื่อถือเอาเป็นจริงจังไม่ได้ และยังมีผู้ยืนยันต่อไปอีกว่าได้พบศิลาจารึกอันเป็นอักษรสันสกฤตที่ตำบลเขตสระบาป มีเนื้อความว่า "เมืองจันทบุรีแต่เดิมชื่อ เมืองควนคราบุรี ตั้งมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พลเมืองเป็นชาติชอง เป็นที่น่าเชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองขอมมาแต่โบราณ ก็เพราะยังมีชื่อตำบลบ้านขอมปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ และในท้องที่อำเภอมะขาม อำเภอโป่งนํ้าร้อน ก็มีพลเมืองที่เป็นเชื้อชาติชองอยู่อีกมาก มีผู้เข้าใจว่าชาติชองนี้น่าจะสืบสายมาจากขอมโบราณ พวกชองในปัจจุบันตั้งภูมิลำเนาทำมาหากินอยู่ในป่าซึ่งอยู่ติดกับเขตแดนเมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยมีภาษาพูดอย่างหนึ่งต่างหากจากภาษาไทยและภาษาเขมร นักปราชญ์ในทางมนุษย์วิทยาได้จัดให้อยู่ในจำพวกตระกูลมอญ-เขมร เช่นเดียวกันกับพวกขอมโบราณเหมือนกัน พวกชองชอบลูกปัดสีต่าง ๆ และนิยมใช้ทองเหลืองเป็นเครื่องประดับเหมือนอย่างเช่นพวกกระเหรี่ยงที่อยู่ในเขตเมืองกาญจนบุรี เข้าใจว่าเดิมทีเดียวชนจำพวกนี้คงจะตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ตามท้องที่ต่าง ๆ ในเขตเมืองจันทบุรีเต็มไปหมด เพิ่งจะถอยร่นเข้าป่าเข้าดงไปเมื่อพวกไทยมีอำนาจเข้าครอบครองเมืองจันทบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยา
พวกขอมคงจะปกครองเมืองจันทบุรีอยู่ประมาณ 400 ปี จนกระทั่งเสื่อมอำนาจลงในปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พวกไทยทางอาณาจักรฝ่ายใต้ซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิ (เมืองอู่ทองจึงเข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้ได้ จันทบุรีจึงรวมอยู่ในอาณาจักรไทยทางฝ่ายใต้เรื่อยมา มีหลักฐานที่ควรจะเชื่อได้ว่าเมืองนี้เคยเป็นเมืองขึ้นของไทยมาแล้วแต่ในสมัยอู่ทองก็คือ เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นใน พ.1893 ทรงประกาศว่า กรุงศรีอยุธยา มีประเทศราช 16 หัวเมือง มีเมืองจันทบุรีรวมอยู่ด้วยเมืองหนึ่ง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่า พระราเมศวร เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.1927 แล้วกวาดต้อนเชลยชาวลานนาลงมาไว้ในเมืองต่าง ๆ ทางปักษ์ใต้และชายทะเลตะวันออกหลายเมือง เช่น เมืองนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และจันทบุรี จึงน่าจะอนุมานได้ว่าพวกไทยเราคงจะออกมาตั้งถิ่นฐานบ้านช่องกันอยู่อย่างมากมายแล้ว ตั้งแต่ในแผ่นดินพระราเมศวรเป็นต้น ครั้นต่อมาชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในครั้งนั้นคงจะได้สมพงษ์กับชาวพื้นเมืองเดิม เช่น พวกขอมและพวกชอง เป็นต้น จึงทำให้สำเนียงและคำพูดบางคำตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีผิดแผกแตกต่างไปจากทางภาคกลางและภาคพายัพบ้าง แต่แม้จะผิดแผกแตกต่างกันไปประการใดก็ตาม ชาวเมืองจันทบุรีก็ยังคงใช้ภาษาไทยเป็นภาษาท้องถิ่นพูดกันอยู่โดยทั่วไปตลอดทั้งจังหวัด ยกเว้นแต่คนหมู่น้อย เช่น พวกจีนและญวนซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ใหม่ ในชั้นหลังเท่านั้นที่ยังคงพูดภาษาของตนอยู่
ต่อมาได้มีการย้ายตัวเมืองจากเมืองเดิมที่เขาสระบาป ตำบลคลองนารายณ์ มาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งเข้าใจกันว่าจะย้ายมาตั้งแต่สมัยแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา เพราะในรัชกาลนี้ทรงจัดระเบียบการปกครองใหม่คือ ทรงจัดตั้งตำแหน่งจตุสดมภ์ มีเวียง วัง คลัง นา ขึ้น และทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีขึ้นอีก 2 ตำแหน่ง คือ ฝ่ายทหารตำแหน่งหนึ่งมีชื่อเรียกว่า สมุหกลาโหม และฝ่ายพลเรือนตำแหน่งหนึ่งมีชื่อเรียกว่า สมุหนายก ส่วนนอกราชธานีออกไปก็จัดการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ลดหลั่นกันลงไปตามความสำคัญของเมืองนั้น ๆ โดยทรงตั้งเป็นเมืองเอก โท ตรี และจัตวาขึ้นตามลำดับไป จึงทำให้เข้าใจว่าเมืองจันทบุรีน่าจะย้ายมาตั้งที่ตรงบ้านลุ่มในสมัยนี้ด้วย เพราะเมืองเดิมที่เขาสระบาปนั้นมีภูเขากระหนาบอยู่ข้างหนึ่ง คงไม่มีทางที่จะขยายให้ใหญ่โตออกไปกว่าเดิมได้ เหตุผลที่ต้องย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ก็คงเนื่องมาจากเมืองเก่าอยู่ห่างไกลลำน้ำมาก การคมนาคมไม่สะดวกแก่พลเมืองในการไปมาค้าขาย เมื่อสร้างเมืองใหม่ได้มีการขุดดินถมเป็นเชิงเทินมีร่องคูรอบเมือง ภายในเมืองได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดวาอาราม แต่บัดนี้ได้ปรักหักพังจนแทบไม่มีอะไรเหลือ ต่อมาภายหลังทางราชการได้จัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพบ้านเมืองมาหลายครั้งหลายคราว จึงทำให้รูปร่างของเมืองเดิมลางเลือนไปจนไม่มีอะไรจะเป็นที่สังเกตได้
การสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มนี้ คงทำเป็นเมืองป้อมเหมือนอย่างเมืองโบราณทั้งหลายคือ มีคูและเชิงเทินดินรอบเมืองทำรูปเป็นสี่เหลี่ยม กว้างยาวประมาณด้านละ 600 เมตร ยังมีแนวกำแพงเหลืออยู่ทางหลังกองพันนาวิกโยธินประมาณสัก 100 เมตร นอกนั้นถูกรื้อไปหมดแล้ว เมืองจันทบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลนี้ตลอดมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยจลาจล เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีทรงยกพลออกจากเมืองระยองมาตีเมืองจันทบุรี ก็มาตีเมืองซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านลุ่มนี้ด้วย
ประวัติของเมืองจันทบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกสงครามมากเท่าใดนัก อาจจะกล่าวได้โดยเต็มปากว่า จันทบุรี เป็นเมืองที่สงบสุขเรื่อยมา ทั้งนี้ เพระเหตุว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยเราทำสงครามติดพันกันกับพม่าซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันแต่เฉพาะทางภาคพายัพและภาคตะวันตกเท่านั้น เมืองที่ตั้งอยู่ทั้งสองภาคนี้จึงมีประวัติการสงครามกับพม่าตลอดมาจนถึงตอนต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเมืองจันทบุรีนั้นอยู่ทางชายทะเลตะวันออก อาณาเขตไม่ติดต่อกันกับประเทศพม่าจึงไม่ปรากฏว่าพม่ายกกองทัพเข้ามาตีเมืองนี้เลย แม้ในสมัยที่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในครั้งหลัง พม่าก็ไม่ได้ยกกำลังทหารเข้ามาย่ำยีเมืองจันทบุรีแต่อย่างใด คงปล่อยให้เมืองจันทบุรีและเมืองชายทะเลตะวันออกอีกหลายเมืองเป็นอิสระ ซึ่งเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมีโอกาสมาตั้งตัวและรวบรวมรี้พลอยู่ในบริเวณเมืองเหล่านี้ แล้วต่อมาได้ขับไล่พม่าที่ยึดครองประเทศไทยอยู่ ณ ตำบลโพธิ์สามต้นแตกกระจัดกระจายพ่ายแพ้ไป นับว่าเป็นบุญญาภินิหารของชาติไทยอย่างหนึ่งที่ดลบันดาลให้พม่าไม่ยกกองทัพมาย่ำยีหัวเมืองเหล่านี้ เพราะถ้าหากว่าหัวเมืองทางชายทะเลตะวันออกถูกย่ำยีหมดแล้ว กำลังรี้พลตลอดจนสะเบียงอาหารคงจะหาได้ยากอย่างยิ่ง และสมเด็จพระเจ้าตากสิน-กรุงธนบุรีก็จะต้องเสียเวลารวบรวมรี้พลตลอดจนสะเบียงอาหารเป็นเวลาไม่น้อยทีเดียว คือกว่าจะรวบรวมกำลังพอจะยกไปขับไล่พม่าซึ่งยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ได้ ก็จะต้องใช้เวลาหลายปี ไม่ใช่ 5 หรือ เดือน อย่างที่ได้กระทำมาแล้ว
เนื่องจากจันทบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยบ้างแต่ก็ไม่มากนัก และไม่เคยปรากฏว่าได้รบกันที่เมืองจันทบุรีนี้เลยสักครั้งเดียว เพราะประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยในเวลานั้นมีกำลังไม่มากเหมือนประเทศพม่าจึงไม่สามารถจะยกกองทัพบกใหญ่เข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้ คอยฉวยโอกาสแต่เมื่อเวลาที่ไทยหย่อนกำลังลงแล้ว จึงยกกองทัพเข้ามากวาดต้อนผู้คน ทางหัวเมืองชายแดนไป ไม่เคยได้รบกันเป็นศึกใหญ่ในเขตประเทศไทยสักครั้งเดียว เช่น ในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร พระเจ้ากรุงกัมพูชาก็ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนในเมืองชลบุรีและเมืองจันทบุรีไปประมาณ 6-7 พันคน สมเด็จพระราเมศวร จึงทรงยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชา และได้รบพุ่งกันชั่วระยะเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น กรุงกัมพูชาก็แตก สมเด็จพระราเมศวรจึงโปรดให้รับครอบครัวไทยซึ่งถูกพวกเขมรกวาดต้อนไปกลับคืนมาไว้ยังภูมิลำเนาเดิม
ในแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญที่ 1 (พระมหาธรรมราชาก็อีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นเป็นสมัยที่ไทยกำลังบอบช้ำมาก เพราะแพ้สงครามพม่ามาใหม่ ๆ เพิ่งจะสร้างตัวขึ้นยังไม่มีกำลังเข้มแข็งเท่าใดนัก พระยาละแวกจึงฉวยโอกาสยกกองทัพเข้ามากวาดต้อนชาวไทยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ตามหัวเมืองชายทะเลตะวันออกรวมทั้งเมืองจันทบุรีไปไว้ ณ กรุงกัมพูชา เป็นจำนวนไม่น้อย และยังยกกองทัพเข้ามาย่ำยีประเทศไทยอีกหลายครั้ง เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพิโรธ จึงทรงยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชาแตกแล้วทรงจับพระยาละแวกสำเร็จโทษเสีย
นับแต่นั้นชาวเมืองจันทบุรีก็อยู่กันอย่างสงบสุขตลอดมา จนกระทั่งถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเจ้าบรมโกศปรากฏว่ามีเรื่องยุ่งยากในการสืบราชสมบัติเนื่องจากพระเจ้าลูกเธอไม่ทรงสามัคคีปรองดองกัน ทั้งนี้เพราะพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์เสียก่อน พระราชโอรสองค์กลางคือ เจ้าฟ้าเอกทัศ ซึ่งทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้น เป็นผู้โฉดเขลา เบาปัญญา และไม่มีความอุตสาหพยายาม พระเจ้าบรมโกศทรงเห็นว่า ถ้าจะให้ครอบครองแผ่นดินบ้านเมืองจะเกิดภัยพิบัติ จึงรับสั่งให้เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีไปผนวชเสีย แล้วทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต พระราชโอรสองค์เล็กเป็นพระมหาอุปราช เมื่อ พ.. 2300 แม้จะทรงแต่งตั้งพระมหาอุปราชไว้ตามโบราณราชประเพณีแล้วก็ตาม แต่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศก็มิได้ทรงคลายความห่วงใยต่อราชบัลลังก์ ทั้งนี้ เพราะพระองค์ทรงเห็นว่าพระราชโอรสมิได้ทรงสมัครสมานสามัคคีกัน เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาที่พระองค์ใกล้จะเสด็จสวรรคตจึงโปรดให้พระเจ้าลูก-เธออันเกิดแต่พระสนมทั้งสี่พระองค์ คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ กรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี เข้าไปเฝ้าถึงข้างที่พระบรรทม ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกเธอทั้งสี่พระองค์นี้กระทำสัตย์ถวายต่อหน้าพระที่นั่งว่าจะทรงสามัคคีปรองดองกันกับพระมหาอุปราช ด้วยความกลัวพระราชอาญา พระเจ้าลูกเธอทั้งสี่พระองค์จึงจำพระทัยกระทำสัตย์ถวาย
แต่ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศสวรรคตแล้ว พระเจ้าลูกเธอเหล่านั้นก็มิได้กระทำตามที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณไว้ ยังทรงถือทิฐิมานะอยู่ พอพระมหาอุปราชเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติได้สักหน่อย กรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี ซึ่งเป็นอริกับพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่อยู่แต่เดิมแล้ว ก็ทรงคบคิดกันจะช่วงชิงราชบัลลังก์แต่ปรากฏว่าไม่ค่อยมีข้าราชการสนับสนุนจึงไม่ทรงสามารถช่วงชิงราชสมบัติได้สำเร็จ ในที่สุดก็ถูกจับและถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ 
ส่วนกรมหมื่นเทพพิพิธนั้น ทรงสนับสนุนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่อยู่แต่เดิมแล้วจึงไม่ปรากฏว่าได้ทรงร่วมมือกับพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสามพระองค์นั้น แต่กรมหมื่นเทพพิพิธเป็นอริกันกับกรมขุนอนุรักษ์มนตรี ฉะนั้น เมื่อกรมขุนพรพินิตถวายราชสมบัติแก่กรมขุนอนุรักษ์มนตรีซึ่งเป็นพระเชษฐาแล้ว กรมหมื่นเทพพิพิธก็คิดจะชิงราชสมบัติจากพระเจ้าเอกทัศมาถวายกรมขุนพรพินิต แต่กรมขุนพรพินิตนำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าเอกทัศให้ทรงทราบเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธจึงถูกเนรเทศไปอยู่เกาะลังกา
กรมหมื่นเทพพิพิธต้องจำพระทัยประทับอยู่ ณ เกาะลังกา เป็นเวลา ปีเศษ จนกระทั่งถึง พ.. 2303 พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่ายกกองทัพมาประชิดพระนครมีข่าวลือออกไปยังเกาะลังกาว่า พระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว พระองค์จึงลอบเสด็จเข้ามายังเมืองมะริด โดยหวังพระทัยจะทรงช่วยกู้อิสรภาพต่อไป แต่การหาได้เป็นดังข่าวลือไม่ เผอิญพระเจ้าอลองพญาทรงประชวรหนักเนื่องจากปืนใหญ่ซึ่งพระองค์ทรงบัญชาการยิงด้วยพระองค์เองได้เกิดระเบิดขึ้น สะเก็ดระเบิดกระเด็นมาต้องพระองค์ถึงบาดเจ็บสาหัส จึงรีบเสด็จยกกองทัพกลับคืนไปทางเหนือและไปสิ้นพระชนม์ลงกลางทาง กรมหมื่นเทพพิพิธจึงต้องถูกคุมตัวอยู่ที่เมืองมะริดนั้นเอง
ครั้นเมื่อ พ.2307 พม่ายกกองทัพมาตีเมืองมะริดแตก กรมหมื่นเทพพิพิธจึงหนีเข้ามาในเขตแดนไทยเรื่อยเข้ามาจนถึงเมืองเพชรบุรี เมื่อพระเจ้าเอกทัศทรงทราบจึงมีรับสั่งให้คุมตัวไปไว้ที่เมืองจันทบุรี
เนื่องด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้านาย และมิได้ทรงกระทำผิดคิดร้ายประการใด ประชาชนยังคงเคารพนับถือพระองค์อยู่มาก โดยเฉพาะชาวเมืองจันทบุรีก็ได้ช่วยเหลือพระองค์เป็นอย่างมากเหมือนกัน คือ ปรากฏว่าใน พ.2310 เมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า กรมหมื่นเทพพิพิธทรงได้กำลังชายฉกรรจ์จากเมืองจันทบุรีจนสามารถจัดเป็นกองทัพน้อย ๆ ยกออกไปเพื่อจะช่วยตีกองทัพพม่าซึ่งกำลังล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ เมื่อเสด็จผ่านหัวเมืองรายทางเข้ามาประชาชนพลเมืองในเขตเมืองเหล่านั้นก็พากันอาสาสมัครเข้าในกองทัพเป็นจำนวนมาก กรมหมื่นเทพพิพิธได้เสด็จเข้ามาจนกระทั่งถึงเมืองปราจีนบุรี และโปรดให้นายทองอยู่น้อยเป็นแม่ทัพหน้ายกพลไปตั้งมั่นอยู่ ณ ปากน้ำโยทะกา
กิตติศัพท์ที่กรมหมื่นเทพพิพิธยกพลเข้ามานี้ได้พัดกระพือไปถึงกองทัพพม่าซึ่งตั้งล้อม กรุงศรีอยุธยาอยู่ พม่าจึงจัดส่งทหารเข้าตีโต้กองทัพไทยซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่ปากน้ำโยทะกาแตกกระจัดกระจายไป ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธเมื่อทรงทราบข่าวว่ากองทัพหน้าแตกก็เสด็จหนีไปอยู่เมืองนครราชสีมา

สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชแก่พม่าข้าศึก เมื่อ พ.2310 พม่าตั้งใจจะมิให้ไทยตั้งตัวได้อีก จึงเผาผลาญทำลายปราสาทราชมณเฑียร วัดวาอาราม ตลอดจนบ้านเรือนของราษฎรแล้วได้เก็บทรัพย์สมบัติของมีค่า ทั้งกวาดต้อนชาวไทยไปเกือบหมดสิ้นกรุงศรีอยุธยาไม่เหลืออะไรอยู่เลย นอกจากซากอิฐปูนปรักหักพังสภาพเหมือนเมืองร้าง อยุธยาเมืองหลวงของไทยอันรุ่งเรืองมาแล้วหลายร้อยปี มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 34 องค์ ต้องมาเสียแก่พม่าก็เพราะการที่คนไทยแตกความสามัคคีกันเอง พระเจ้าแผ่นดินก็อ่อนแอ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี ต่อจากเหตุการณ์อันน่าอเนจอนาถของเมืองไทยไม่นานนัก เมืองจันทบุรีก็ได้ต้อนรับมหาวีรบุรุษของไทยอีกองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งได้เสด็จมาตั้งรวบรวมกำลังพลทแกล้วทหารหาญเพื่อกอบกู้เอกราชของไทยให้กลับคืนมาจากอำนาจพม่าข้าศึก ราชกิจซึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญเป็นองค์คุณธรรม ประกอบด้วยเกียรติยศแก่ประเทศชาติไทยเป็นอเนกประการ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุง-ธนบุรี เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น พระยาวิเชียรปราการ ทรงเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าเพราะความอ่อนแอของผู้บังคับบัญชาและเพราะการแตกความสามัคคีกันเป็นแน่แท้ ดังนั้น เมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่ำ ปีจอ พ.2309 ขณะพม่าตั้งล้อมประชิดเข้ามาจวนถึงคูพระนคร พระยาวิเชียรปราการจึงรวบรวมพลได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าหนีออกไปทางทิศตะวันออก พม่าออกติดตามตีกระชั้นชิดแต่ก็พ่ายแพ้ทุกคราวไป จนกระทั่งบรรลุถึงเมืองระยอง พระยาระยอง ชื่อ บุญ ได้พาสมัครพรรคพวกออกมาอ่อนน้อม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยกกองทัพเข้าไปตั้งมั่นอยู่ที่วัดลุ่ม นอกบริเวณค่ายเก่าซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองระยอง ขณะนั้นกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า มีพวกกรมการเมืองเก่าหลายคน คือ หลวงพล ขุนจ่าเมือง ขุนราม หมื่นซ่อง บังอาจขัดขืนคบคิดกันต่อสู้พระองค์แล้วรวบรวมกำลังกันประทุษร้ายเข้าปล้นค่าย แต่กลับพ่ายแพ้ต่อพระองค์ จึงทรงชิงเอาเมืองระยองได้เป็นสิทธิ และประกาศพระองค์เป็นอิสรภาพมีอำนาจในอาณาเขตเมืองระยอง
ครั้งนั้น ทรงเห็นว่าเมืองจันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่และยังมีเจ้าเมืองปกครองเป็นปกติอยู่ แต่ก็ไม่ทรงทราบว่าเมืองจันทบุรีจะคิดร่วมมือกอบกู้เอกราชของประเทศให้พ้นจากอำนาจพม่าข้าศึกด้วยหรือไม่ ขณะที่ประทับอยู่ ณ เมืองระยอง จึงทรงแต่งตั้งให้ทูตถือศุภอักษรไปถึงพระยาจันทบุรี ขอให้พระยาจันทบุรีร่วมมือช่วยกันปราบปรามพม่าข้าศึกให้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่ผาสุกเหมือนดังก่อน พระยาจันทบุรีได้ทราบความและรับว่าจะลงมาปรึกษาด้วยตนเองที่เมืองระยอง แต่พระยาจันทบุรีหาได้ปฏิบัติตามไม่
ขณะนั้น นายเรือง มหาดเล็ก ผู้รั้งเมืองบางละมุง ถือหนังสือของเนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่พม่า มีข้อความเป็นเชิงบังคับให้พระยาจันทบุรีตัดสินใจเลือกว่าจะเข้าด้วยกับพม่าหรือกับพวกไทยด้วยกัน พระองค์ทรงทราบความตลอด จึงทรงแต่งทูตให้ถือศุภอักษรไปถึงพระยาราชาเศรษฐีญวนเจ้าเมืองบันท้ายมาศ ให้ยกกองทัพขึ้นมาสมทบช่วยกันกู้กรุงศรีอยุธยาให้พ้นมือข้าศึก และก็ทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะทำให้พระยาจันทบุรีเกรงกลัว พร้อมกันนั้นพระองค์จึงทรงสั่งให้ผู้รั้งเมืองบางละมุงลงไปชี้แจงแก่พระยาจันทบุรี แล้วให้ทูตที่จะลงไปเมืองบันท้ายมาศรับผู้รั้งเมืองบางละมุงเพื่อไปส่งที่เมืองจันทบุรี พระยาราชาเศรษฐีญวน รับรองเป็นทางไมตรีว่า สิ้นฤดูมรสุมแล้วจะยกกองทัพขึ้นมาช่วย
ครั้นเดือน 5 ปีกุน พ.2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระยาจันทบุรีไม่รับเป็นไมตรี ส่วนขุนราม หมื่นซ่อง ซึ่งเคยปล้นค่ายที่เมืองระยองแล้วแตกหนีไปตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ในเขตเมืองแกลงก็คุมพลออกประทุษร้ายต่อพระองค์เป็นเนืองนิตย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงดำริว่าหมดลู่ทางที่จะทำอย่างอื่นได้ นอกจากจะใช้กำลังปราบปรามจึงจะตั้งตัวอยู่ได้ จึงยกกองทัพลงไปตีขุนราม หมื่นซ่อง ซึ่งสู้ไม่ได้ก็พ่ายแพ้หนีลงไปอยู่กับพระยาจันทบุรี
ขณะนั้นพระยาจันทบุรีได้กำลังขุนราม หมื่นซ่อง ช่วยกันคิดเป็นกลอุบายจะล่อเอาพระองค์เข้าไปไว้ในเมืองแล้วคิดกำจัดเสีย จึงนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป ให้เป็นทูตมาเชิญพระองค์ลงไปยังเมืองจันทบุรี เป็นทำนองปรึกษาตระเตรียมกองทัพจะเข้าไปรบพุ่งพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบก็ทรงพอพระทัย จึงให้พระสงฆ์ทูตนำทางยกลงไปเมืองจันทบุรี เมื่อพระองค์ยกไปถึงบางกะจะ ระยะทางห่างจากเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร พระยาจันทบุรีให้หลวงปลัดลงมารับเพื่อนำพระองค์เข้าไปพัก ณ ทำเนียบ ซึ่งได้จัดรับรองไว้ที่ริมแม่น้ำ ขณะที่ยกกองทัพไปพระองค์ได้ทราบเป็นรหัสว่า พระยาจันทบุรีกับขุนราม หมื่นซ่อง ได้เรียกระดมพลขึ้นประจำหน้าที่ พระองค์จึงตรัสให้กองทัพเลี้ยวขบวนไปทางเหนือตรงเข้าไปตั้งที่วัดแก้วห่างจากประตูเมืองท่าช้างประมาณ 200 เมตร พระยาจันทบุรีตกใจรีบให้ไพร่พลขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทิน แล้วให้ขุนพรหมธิบาล ซึ่งเป็นพระยาท้ายน้ำออกไปเจรจาเพื่อเชิญเสด็จเข้าไปพบปะกับพระยาจันทบุรี พระองค์ขอให้พระยาจันทบุรีส่งตัวขุนรามกับหมื่นซ่องออกมาทำสัตย์สาบานเพื่อให้เห็นน้ำใจสุจริตต่อกันเสียก่อน เมื่อขุนพรหมธิบาลกลับเข้าไปแล้ว พระยาจันทบุรีก็นิ่งเฉยอยู่ พระองค์ทรงประจักษ์แน่ว่าพระยาจันทบุรีมิได้ตั้งอยู่ในไมตรีสัตย์สุจริต จึงตรัสให้พระยาจันทบุรีรักษาเมืองไว้
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตกอยู่ในที่คับขัน เพราะเข้าไปตั้งอยู่ในชานเมืองข้าศึกแล้วประกอบทั้งพระองค์ทรงเป็นนักรบ ทรงแลเห็นทันทีว่าต้องรีบชิงทำศึกก่อน จึงทรงเรียกบรรดานายทัพนายกองทั้งปวงมาประชุมว่า พระองค์จะตีเอาเมืองจันทบุรีในเพลาค่ำให้จงได้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วก็ให้ต่อยหม้อข้าวเสียให้หมด และให้ไปกินข้าวเช้าเอาในเมือง หากตีเมืองไม่ได้ก็ให้ตายเสียด้วยกันให้หมด
ครั้นได้ฤกษ์เวลาสามยาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงช้างพังคีรีบัญชร ทรงให้อาณัติสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน ชาวเมืองระดมยิงปืนใหญ่น้อยลงมาเป็นอันมาก นายท้ายช้างพระที่นั่งเกรงว่าพระองค์จะได้รับอันตรายจึงเกี่ยวช้างพระที่นั่งถอยออกมา พระองค์ขัดพระทัยเงื้อพระแสงหันมาจะฟัน นายท้ายช้างทูลขอชีวิตแล้วไสช้างกลับเข้าชนประตูเมืองพังลงทหารก็ตรูกันเข้าเมืองได้เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ปีกุน พ.2310 พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงเมืองให้เป็นปกติเรียบร้อยแล้วตรัสสั่งให้ต่อเรือรบได้ประมาณ 200 ลำ เตรียมการเข้ามาทำสงครามกู้กรุงศรีอยุธยาต่อไป นับว่าเมืองจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญ เคยเป็นที่ตั้งมั่นของวีรกษัตริย์มหาราชเจ้าพระองค์หนึ่งของไทยมาก่อน

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้นต่อมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยเกิดพิพาทกับประเทศญวนถึงกับทำสงครามกันด้วยเรื่องเจ้าอนุ การสงครามระหว่างญวนกับไทยในครั้งนั้นใช้กองทัพบกและกองทัพเรือ เมืองจันทบุรีเป็นเมืองชายทะเลทางทิศตะวันออกอยู่ใกล้ชิดกับญวนมาก สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าญวนจะมายึดเอาเมืองจันทบุรีเป็นที่มั่นเพื่อทำการต่อสู้กับไทย และตัวเมืองจันทบุรีตั้งมาแต่สมัยโน้นก็อยู่ในที่ลุ่ม ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นฐานทัพต่อสู้กับญวน ฉะนั้น จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาคเป็นแม่กองออกมาสร้างป้อมค่ายและเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านเนินวง ตำบลบางกะจะ ตำบลที่จะสร้างเมืองใหม่นี้ตั้งอยู่ในที่สูงเป็นชัยภูมิดี เหมาะแก่การสร้างฐานทัพต่อสู้ข้าศึก ลักษณะของเมืองที่สร้างมีกำแพง ป้อม คู ประตู 4 ทิศ เป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 14 เส้น ยาว 15 เส้น มีปืนจุกอยู่ตามช่องใบเสมา สร้างเมื่อ พ.2377 ใช้เวลาแรมปีและกำลังคนมากมายจนแล้วเสร็จ ภายในเมืองได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง คลังเก็บอาวุธ และวัดซึ่งมีชื่อว่า “วัดโยธานิมิต” เมืองที่สร้างใหม่ยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ พร้อมกับการสร้างเมืองใหม่นั้น ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เป็นแม่กองสร้างป้อมที่หัวหาดปากน้ำแหลมสิงห์ป้อมหนึ่ง และให้พระยาอภัยพิพิธ เป็นแม่กองสร้างไว้บนเขาแหลมสิงห์อีกป้อมหนึ่ง เดิมป้อมทั้งสองยังไม่มีชื่อ ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังมิได้ เสวยราชย์ได้เสด็จประพาสเมืองจันทบุรี จึงได้พระราชทานนามป้อมที่อยู่บนเขาแหลมสิงห์ว่า “ป้อมไพรีพินาศ” และป้อมที่อยู่หัวหาดแหลมสิงห์ว่า “ป้อมพิฆาตปัจจามิตร” (หนังสือของหลวงสาครคชเขต ว่าชื่อ “ป้อมพิฆาตข้าศึก”) แต่ป้อมพิฆาตปัจจามิตรได้ถูกฝรั่งเศสรื้อเสียแล้วเมื่อคราวฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเพื่อสร้างที่พักทหารฝรั่งเศสซึ่งเรียกกันว่า “ตึกแดง” ในเวลานี้
เมื่อได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นแล้ว รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้สั่งย้ายเมืองจันทบุรีจากที่ตั้งอยู่เดิม ไปอยู่ที่เมืองใหม่ และมีความปรารถนาที่จะให้ประชาชนอพยพจากเมืองเก่าที่ตั้งเป็นตัวจังหวัดเดี๋ยวนี้ไปอยู่ที่เมืองใหม่ด้วย แต่เนื่องด้วยตัวเมืองใหม่ตั้งอยู่บนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 30 เมตร และตั้งอยู่ห่างจากคลองน้ำใสซึ่งเป็นคลองน้ำจืดประมาณ 1 กิโลเมตร ไม่สะดวกแก่ประชาชนในเรื่องน้ำใช้ ประชาชนจึงไม่ใคร่สมัครใจอยู่คงอยู่ที่เมืองเก่าเป็นส่วนมาก พวกที่อพยพไปอยู่จนตั้งเป็นหลักฐานก็มีแต่หมู่ข้าราชการ ซึ่งปัจจุบันยังมีบุตรหลานของข้าราชการสมัยนั้น ตั้งเคหสถานอยู่ที่บ้านทำเนียบในเมืองใหม่มาจนทุกวันนี้และเมื่อการสงครามระหว่างไทยกับญวนสงบลงแล้ว เมืองใหม่ก็ไม่มีความสำคัญอย่างไรที่ประชาชนในเมืองเก่าจะต้องอพยพไปอยู่ ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองจันทบุรีจากเมืองใหม่ที่บ้านเนินวงกลับมาตั้งอยู่ที่เมืองเก่าตามเดิมและได้อยู่มาจนถึงทุกวันนี้ เมืองใหม่จึงกลายเป็นเมืองร้างมาแต่ครั้งนั้น
ใน พ.. 2436 (.112ไทยกับฝรั่งเศสได้เกิดกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสและได้ทำร้ายเจ้าพนักงานฝรั่งเศสด้วย ฝ่ายไทยได้แก้ว่าดินแดนนั้นเป็นของไทยฝรั่งเศสบุกรุกเข้ามา ฝ่ายไทยจำเป็นต้องขัดขวาง เมื่อการโต้เถียงไม่เป็นที่ตกลงปรองดองกันแล้ว ฝรั่งเศสจึงได้ใช้อำนาจโดยส่งเรือรบเข้าไปปิดปากน้ำเจ้าพระยา ไทยกับฝรั่งเศสจึงเกิดปะทะกันด้วยอาวุธเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.2436 ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหายด้วยกัน ฝ่ายไทยเห็นว่าจะสู้ฝรั่งเศสในทางกำลังอาวุธมิได้แล้วจึงได้ขอเปิดการเจรจากับรัฐบาลฝรั่งเศสด้วยสันติวิธี ฝ่ายฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.2436 รวม 6 ข้อด้วยกัน มีใจความสำคัญที่ควรกล่าวคือ ให้รัฐบาลไทยยอมสละสิทธิดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดจนเกาะทั้งหลายในลำน้ำนั้นเสีย กับให้ไทยต้องเสียเงินเป็นค่าปรับให้แก่ฝรั่งเศส เป็นจำนวนเงิน 2,000,000 แฟรงค์ และก่อนที่จะได้ตกลงทำสัญญากันนี้ฝรั่งเศสจะต้องยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน ฝ่ายไทยต้องยอมฝรั่งเศสทุกประการ
ในระหว่างที่มีการปะทะกับฝรั่งเศสนั้น ทางจันทบุรีได้เตรียมต่อสู้ป้องกันตามกำลังที่พอจะทำได้ เพราะในเวลานั้นมีกองทหารเรือตั้งอยู่ในตัวเมืองและที่ป้อมปากน้ำแหลมสิงห์ แต่เมื่อได้ทราบว่ารัฐบาลยอมให้ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี กองทหารเรือทั้งสองแห่งก็ได้รีบโยกย้ายไปอยู่ที่เกาะจิก และอำเภอขลุง ต่อมาอีกไม่กี่วัน ใน พ.2436 นั้นเอง ฝรั่งเศสก็ได้ยกกองทหารเข้าสู่เมืองจันทบุรี ทหารโดยมากเป็นทหารญวนที่ส่งมาจากไซ่ง่อนที่เป็นฝรั่งเศสมีไม่มากนัก และส่วนมากเป็นนายทหาร จำนวนทหารฝรั่งเศสและญวนรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 600 คนเศษ ได้แยกกันอยู่เป็น 2 แห่ง คือ ที่ป้อมปากน้ำแหลมสิงห์พวกหนึ่ง ได้รื้อป้อมพิฆาตปัจจามิตรเสียแล้วสร้างตึกแถวเป็นที่พัก ทั้งได้สร้างที่คุมขังนักโทษทหารไว้ด้วย อีกพวกหนึ่งตั้งอยู่ในเมืองจันทบุรี ในบริเวณที่เรียกว่า “ค่ายทหาร” เดี๋ยวนี้ได้จัดสร้างที่พักทหาร โรงพยาบาล ที่ขังนักโทษ ที่เก็บอาวุธขึ้นในค่ายหลายคลัง ซึ่งยังคงอยู่ต่อมาจนทุกวันนี้
ในระหว่างที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีนั้น ฝรั่งเศสได้ช่วยเหลือไทยทำการปราบปรามพวกอั้งยี่และช่วยเหลือพยาบาลประชาชนที่ป่วยไข้อันเป็นบุญคุณที่ได้กระทำไว้ในครั้งนั้น แต่สิ่งที่ชั่วร้ายเลวทรามที่ทหารฝรั่งเศสและทหารญวนได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้ก็มิใช่น้อย ทหารฝรั่งเศสที่เข้ามายึดครองจันทบุรีไม่มีอำนาจในการปกครองประชาชน อำนาจการปกครองยังเป็นของไทยอยู่ตลอดเวลาที่ฝรั่งเศสยึดครอง ฝรั่งเศสมีอำนาจเพียงปกครองทหารและคนที่ขึ้นในบังคับฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ในบางคราวฝรั่งเศสก็ก้าวก่ายอำนาจการปกครองของไทยบ้าง ฝ่ายไทยต้องพยายามผ่อนผันอะลุ้มอล่วยเสมอมาจึงไม่ใคร่มีเรื่องขัดใจกัน จนถึงเวลาที่ฝรั่งเศสถอนทหารออกไปจากจันทบุรี และเนื่องด้วยไทยยังมีอำนาจในการปกครองในขณะที่ฝรั่งเศสยึดครองอยู่ จึงได้มีชาวจีนและญวนพื้นเมืองบางคนไม่อยากอยู่ใต้อำนาจการปกครองของไทยพากันไปเข้าอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศสเพื่อหวังประโยชน์บางประการ จึงทำให้การบังคับบัญชาบุคคลจำพวกนี้ลำบากยิ่งขึ้น แต่พอฝรั่งเศสออกจากจันทบุรีไปแล้ว คนจำพวกนี้ก็พลอยหมดไปด้วยกลายเป็นไทยแท้ไม่มีคนในปกครองของฝรั่งเศส
กองทหารฝรั่งเศสได้ทำการยึดจันทบุรีอยู่เป็นเวลาถึง 11 ปีเศษ เมื่อรัฐบาลไทยและฝรั่งเศสได้ทำสัญญาตกลงกันเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2446 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยฝ่ายไทยยินยอมยกดินแดนจังหวัดตราด ตลอดจนถึงจังหวัดประจันตคีรีเขตให้แก่ฝรั่งเศส กองทหารฝรั่งเศสทั้งหมดก็เริ่มถอนออกไปจากจันทบุรีจนหมดสิ้น เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2447 และรัฐบาลไทยได้ย้ายกองทหารเรือที่เกาะจิกและที่อำเภอขลุงกลับเข้ามาตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรีตามเดิม

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลางโดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราช-การที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือระบบกินเมือง ให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.2437 จนถึง พ.2458 จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ “การเทศาภิบาล” ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยาอดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาค อันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑลรองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัดรองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวงทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็ว แก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความร่วมว่า เป็น “ระบบ” การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า “การปกครองส่วนภูมิภาค” ส่วน “มณฑลเทศาภิบาล” นั้น คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับดังนี้
.2437 เป็นปีแรก ที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.2451 จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด
.2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัด นั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1จังหวัด
2อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

 ประวัติศาสตร์จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตราประจำจังหวัด


รูปพระอุโบสถหลังใหม่วัดโสธรวรารามวรวิหาร
คำขวัญประจำจังหวัด

แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต
พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร
พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย
อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์

 “….ตั้งแต่เมืองฉะเชิงเทรา ตั้งปากน้ำเจ้าโล้แล้วยกมาตั้งแปดริ้ว แล้วยกไปตั้งโสธร….” เป็นประโยคที่ได้จากจารึกในแผ่นเงิน เมื่อ พ.2418 และถูกค้นพบเมื่อ พ.2495 ปัจจุบัน เงินแผ่นนี้เจ้าอาวาสวัดพยัคฆาอินทาราม (วัดเจดีย์เก็บรักษาไว้ คำว่า “แปดริ้ว” ปรากฏเป็นหลักฐานในข้อเขียนบรรยายภาพประวัติวัดสัมปทวน ความว่า “….บางช่องปั้นเป็นภาพของจังหวัดฉะเชิงเทรา สมัย 60 ปี สมัย 100 ปี ที่ล่วงมาแล้วให้ผู้ที่ยังไม่ทราบจะได้ทราบว่า จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเดิม เรียกเมืองแปดริ้วนั้น สมัยนั้น ๆ มีสภาพเป็นอย่างไร….” และ พ.2530 ความว่า “….เปลี่ยนจากเซาที่แปลว่า ความเงียบ ยังมีอีกคำหนึ่งที่เรียกว่า บางปลาสร้อยร้อยริ้ว บางปลาสร้อยก็คือ ชลบุรี ร้อยริ้วก็คือ แปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรานี้เอง…. ”
เมืองแปดริ้วอยู่ที่ไหน ถ้าแปดริ้วกับร้อยริ้ว คือเมืองเดียวกันด้วยอิทธิพลของภาษาจีนเพี้ยนเป็นคำไทย และถ้าเป็นเช่นนั้น เมืองฉะเชิงเทราเป็นเมืองโบราณเพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบขึ้นภายหลังล้วนอยู่ในบริเวณใกล้เมืองฉะเชิงเทราทั้งสิ้น ดังนั้นชุมชนโบราณของฉะเชิงเทราก็ควรเป็นเมืองร้อยริ้วที่คล้องจองกับบางปลาสร้อยนั่นเอง
ถึงอย่างไรชื่อเมืองแปดริ้ว ก็จัดอยู่ในประเภทตำนานหรือมีนิทานชาวบ้านที่เลียบชายฝั่งทะเล ยังมีมากกว่านี้ ถ้าหากนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์จะไม่หลงลืมดินแดนนี้ไปเสีย เพราะหลักฐานที่เกี่ยวกับมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังมีอีกมาก… "อย่างน้อยก็เป็นดินแดนปากทางเข้า และฐานเศรษฐกิจทางทะเลของที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเมืองไทยและที่ราบต่ำในเขมร…"
ทั้งหมดนี้คงพอจะเป็นพลังให้นักคิด นักเขียน สามารถนำไปศึกษาข้อมูลเพื่อสนับสนุนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้มีความก้าวหน้าและสมบูรณ์ขึ้น
พงศาวดารกับประวัติเมืองฉะเชิงเทรานั้น ปรากฏหลักฐานว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพไปกวาดต้อนครัวไทยกลับคืนมา หลังจากที่พระยาละแวกได้ฉวยโอกาสขณะที่ไทยติดสงครามพม่า เขมรเข้ามากวาดครัวไทย แถบจังหวัดจันทบูร ระยอง ฉะเชิงเทรา และชาวนาเริง (นครนายกในการศึกษาครั้งนี้ ชาวฉะเชิงเทราได้มีส่วนช่วยราชการสงครามได้รับความชอบซึ่งเป็นเกียรติมาแต่ครั้งนั้น เจ้าเมืองซึ่งเคยมีบรรดาศักดิ์เพียง "พระวิเศษก็ได้เลื่อนขึ้นเป็น "พระยาวิเศษตั้งแต่นั้นมา
ล่วงเข้าสมัยอยุธยาตอนปลาย กรมหมื่นเทพพิพิธได้รวบรวมกองทัพชาวเมืองแถบตะวันออกพร้อมด้วยชาวเมืองฉะเชิงเทราเข้าร่วมในกองทัพนั้น เพื่อเข้าไปช่วยแก้ไขอยุธยาที่กำลังเข้าตาจนในขณะนั้น แต่กองทัพไปเสียทีพม่าที่ปากน้ำโยธกาเสียก่อน
เมื่ออยุธยาคับขันถึงขนาดจะแก้ไขไม่ได้แล้ว พระยาตากได้คุมพลประมาณหนึ่งพันเศษ ตะลุยทหารพม่ามาข้ามฟากที่ปากน้ำเจ้าโล้ อำเภอบางคล้า แล้วเดินทัพมุ่งไปตั้งตัวที่จันทบุรี ใช้เวลาบำรุงฝึกปรือกองทัพเป็นเวลา 7 เดือนเต็ม แล้วจึงนำทัพขับไล่พม่าพ้นจากดินแดนไทย ในครั้งนั้นคนฉะเชิงเทราก็ได้เข้าร่วมไปกับกองทัพกู้ชาติอย่างสมภาคภูมิ และถือเป็นเกียรติยศของชาวเมืองฉะเชิงเทราที่มีเลือดของความเป็นผู้เสียสละและรักชาติอย่างแท้จริงตลอดมานั้นด้วย   
          เข้าสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองฉะเชิงเทราได้อยู่ในสายตาชาวตะวันตกแล้ว เพราะจากบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศสกล่าวว่า "…..จังหวัดแปดริ้ว และบางปลาสร้อย 300 คน….." (หมายถึงมีคริสต์ศาสนิกชนการบันทึกของฝรั่งนี้อยู่ในปี พ.2373 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวต่างประเทศก็ให้ความสำคัญต่อดินแดนแถบนี้เป็นอย่างมาก ยิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินทางของฝรั่งก้าวหน้าและทันสมัย ก็ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้มีการสำรวจบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงนี้อย่างกว้างขวางอย่างแน่นอนเพียงแต่เรายังไม่พบหลักฐานที่เขาเขียนไว้อย่างละเอียดในตอนนี้เท่านั้น และคาดว่าต่อไปเมื่อพบคงจะทราบของแปลก ๆ ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกเป็นแน่                                                                         ต่อมาไทยเกิดบาดหมางกับญวน สู้รบกันในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และภายหลังญวนได้ตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสจึงทำให้ไทยเล็งเห็นถึงภัยที่จะมาจากเรือต่างชาติ พระองค์จึงรับสั่งให้สร้างป้อมขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทราพร้อมกับเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมืองในปี พ.2377 เมืองฉะเชิงเทราจึงปรากฏหลักฐานเป็นเมืองคล้ายเมืองสมัยใหม่คือมีป้อมป้องกันแบบเมืองสมัยใหม่เพื่อทานแรงจากการยิงของปืนเรือศัตรูที่มาทางเรือ ข้อนี้นับเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ควรจะเล็งเห็นถึงอดีตของกำแพงเมืองที่ยังอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษาเป็นอย่างดี ป้อมเมืองหรือกำแพงเมืองฉะเชิงเทราสร้างขึ้นพร้อมกับวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎ์ซึ่งถือเป็นวัดหลวงในสมัยนั้น เพื่อประกอบพิธีการต่าง ๆ ต่อมาในปี พ.2390 เกิดจลาจล "อั้งยี่พวกนี้เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามารับจ้างทำไร่ และเป็นกรรมกรในงานอื่น ๆ เกิดมีความกำเริบยึดเมือง และฆ่าเจ้าเมืองฉะเชิงเทราในครั้งนั้นคือ พระยาวิเศษฤๅชัย (บัวมีผลให้บ้านเมืองฉะเชิงเทราร่วงโรยไประยะหนึ่ง
พอเข้าสู่ยุคการล่าอาณานิคมอย่างจงใจของชาติมหาอำนาจ เมืองฉะเชิงเทราจึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อเป็นฐานปฏิบัติการต่อสู้ในด้านทิศตะวันออกอีกครั้งหนึ่ง
เริ่มตั้งแต่การสร้างทางรถไฟมาถึงแปดริ้ว และสร้างที่ว่าการมณฑลปราจีนไว้ในย่านเดียวกัน คือริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง (ปัจจุบันคือศาลากลางไฟไหม้ สร้างเสร็จในปี พ.. 2449) สร้างกำลังทหารกองพล ขึ้นที่ตำบลโสธร (ค่ายศรีโสธรปัจจุบันสร้างโรงเรียนตัวอย่างมณฑลปราจีน "ฉะเชิงเทรารังสฤษฎิ์" (ปัจจุบันคือโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์การที่ต้องเร่งดำเนินการสร้างบ้านเมืองให้ทันสมัยก็เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนที่กำลังไม่แน่ใจในอธิปไตยของชาติ เพราะชาติมหาอำนาจใช้นโยบายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตคือ คนในบังคับของสถานกงสุลไปขึ้นศาลกงสุลสาหรับคนต่างด้าวโดยเฉพาะ ชาวจีนต่างก็สนใจที่จะไปเป็นคนในบังคับของต่างชาติ และพร้อมกับเมื่อมีข่าวเรื่องการเสียดินแดนให้กับชาติมหาอำนาจบ่อย ๆ ด้วย จึงทำให้รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสต่อการปกครองของรัฐบาลไทยและเมืองฉะเชิงเทรานี้ ก็ได้เป็นตัวอย่างให้มณฑลอื่น ๆ มาดูแบบอย่างการปกครองที่ก้าวหน้าและมั่นคงในครั้งนี้ด้วย จึงนับเป็นประวัติศาสตร์ที่ สมควรแก่การบันทึกให้เยาวชนชาวฉะเชิงเทราได้ภาคภูมิใจโดยถ้วนหน้าด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรจะได้ให้ทราบโดยทั่วกันคือ ดินแดนเมืองฉะเชิงเทรานี้มีประชาชนที่รวมกันอยู่หลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม แต่ทางราชการก็ได้ดำเนินการปกครองที่ก่อให้เกิดความกลมกลืนได้อย่างราบรื่นกล่าวคือ แต่งตั้งปลัดเขมรขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง เรียกว่า "พระกัมพุชภักดีเพื่อช่วยทางราชการปกครองคนไทยวัฒนธรรมเขมร หรือตั้งปลัดจีนขึ้นมาช่วยปกครองคนจีนที่เข้ามาทำมาหากินที่ฉะเชิงเทรามากขึ้นในขณะนั้น และเรียกตำแหน่งปลัดจีนว่า "หลวงวิสุทธิจีนชาติและถ้าเป็นระดับนายอำเภอก็ตั้งเป็น "หมื่นวิจารณกฤตจีนเป็นต้น                                 สรุปว่า เมืองฉะเชิงเทราได้คงความสำคัญของชาติบ้านเมืองมาแต่โบราณกาล เมื่อเข้าสู่ยุคการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปี พ.2475 การปกครองในระบบเทศาภิบาลที่เริ่มมาเมื่อ พ.2436 ก็ยุติลง เริ่มใช้ พ..ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2476 และรัฐบาลก็กระจายอำนาจมายังส่วนภูมิภาค ในปี พ.2495 จังหวัดฉะเชิงเทราได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งภาคมีเขตรับผิดชอบ 8 จังหวัด ซึ่งเป็นการตั้งภาคครั้งสุดท้ายแล้วก็ยกเลิกไป                            ในปัจจุบัน ฉะเชิงเทรามี 8 อำเภอ 1 กิ่ง (ดูที่มาอีกที????????????????????????) ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้าเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคราม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว และกิ่งอำเภอราชสาส์น                                                         มีกองพล ร.11 ตั้งขึ้นเมื่อ 29 มิถุนายน พ.2524 ที่ตำบลบางตีนเป็ด อเมือง จฉะเชิงเทรา ถือเป็นประวัติศาสตร์ด้านการทหาร ซึ่งในสมัยการล่าอาณานิคม รัฐบาลก็ได้เคยขยายกำลังทหารระดับกองพลมาตั้งไว้ครั้งหนึ่งแล้วคือ กองพล 9 ที่ได้กล่าวไปแล้วครั้งหนึ่ง มาปัจจุบันสถานการณ์ทางชายแดนตะวันออกส่อไปในทางไม่ปลอดภัย รัฐบาลจึงเตรียมการไว้โดยไม่ประมาทซึ่งนับว่าเป็นขวัญและกำลังใจกับลูกแปดริ้วอีกส่วนหนึ่งด้วย                                                                          การศึกษาของจังหวัดนั้นนับว่าเคยได้รับการเหลียวแลอย่างจริงจังมาตั้งแต่สมัยปรับตัวเผชิญกับการล่าอาณานิคมแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นความโชคดีที่คนเมืองนี้สามารถรับรู้แนวความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสะดวกโดยไม่รู้สึกขัดกับระเบียบชีวิตของตน เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ทาง องค์การยูเนสโก ก็ยังใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นศูนย์ทดลองการศึกษา ตั้งแต่ปี พ.2494 ซึ่งปัจจุบันสถานที่นี้ได้เป็นสำนักงานการศึกษาเขต 12 ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ บริเวณริมน้ำหน้าวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ นอกจากนั้นแล้วยังมีสถาบันชั้นสูงที่มีรากฐานจากการทดลองปรับปรุงการศึกษาในครั้งนั้น ช่วยสร้างคนแปดริ้วให้มีคุณภาพพร้อมกันอีกหลายโรงเรียนหลายวิทยาลัย                     ฐานเศรษฐกิจของจังหวัดนับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สมบูรณ์ยิ่งแห่งหนึ่งของประเทศไทยทีเดียว เพราะทั้งเรือกสวนไร่นา การปศุสัตว์ เจริญรุดหน้าไปกว่าแหล่งอื่นเป็นอันมาก
ประวัติศาสตร์จังหวัดชลบุรี
ตราประจำจังหวัด


รูปเขาสามมุกริมทะเลอ่าวไทย
คำขวัญประจำจังหวัด

ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย

 ประวัติความเป็นมา
ดินแดนที่เรียกว่าจังหวัดชลบุรีซึ่งประกอบด้วย 9 อำเภอ กับ 1 กิ่งอาเภอ (ดูอีกที????????????????????) คือ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ่อทอง และกิ่งอำเภอเกาะสีชัง มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 4,500 ตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันนี้ถ้าจะกล่าวถึงสภาพภูมิประเทศนับถอยหลังไปเพียงหลาย ๆ สิบปีเท่านั้น ก็คงจะแตกต่างกว่าปัจจุบันมาก สภาพที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดอย่างน้อย 2 ประการ คือ ความเปลี่ยนแปลงตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งนับวันแต่จะตื้นเขินเป็นแผ่นดินเพิ่มขึ้นนั้นประการหนึ่ง และสภาพป่าเขาลำเนาไพรซึ่งเคยหนาทึบรกชัฏด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ก็กลายสภาพเป็นที่โล่งเตียน ทำนาทำไร่ มีเจ้าของจับจองจนแทบหมดสิ้นนั้นอีกประการหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงใน 2 ลักษณะสำคัญดังกล่าวนี้ ทำให้เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายว่า สภาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปมากจนยากที่จะคำนึงถึงสภาพชุมชนดั้งเดิมของชาวชลบุรีในสมัยโบราณ
จากหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ภายในกรอบเนื้อที่ 4,500 ตารางกิโลเมตร ของเมืองชลบุรีในอดีต เคยเป็นที่ตั้งชุมชนหรือเมืองโบราณที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ 2 เมือง และนับว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏหลักฐาน คือ

เมืองศรีพะโร
ตั้งอยู่บริเวณบ้านอู่ตะเภา ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี หน้าเมืองมีอาณาเขตจดทะเลที่ตำบลบางทรายในปัจจุบัน เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปทองคำ สัมฤทธิ์ แก้วผลึก ขันทองคำ ถ้วยชามสังคโลกคล้ายของสุโขทัย จระเข้ปูน ก้อนศิลามีรอยเท้าสุนัข เป็นต้น เมืองศรีพะโรนี้ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นเมืองในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในภูมิภาคนี้ อาจจะรุ่นราวคราวเดียวกับสมัยลพบุรีซึ่งอยู่หลังยุคอู่ทอง และก่อนยุคอยุธยาคือประมาณ พ.1600 - 1900

เมืองพระรถ
เป็นเมืองโบราณยุคเดียวกันกับเมืองศรีพะโรหรือก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะปรากฏว่ามีทางเดินโบราณติดต่อกันได้ระหว่าง เมืองนี้ ในระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร และน่าเชื่อต่อไปว่าเมืองพระรถแห่งนี้คงอยู่ในสมัยเดียวกันกับเมืองพระรถหรือเมืองมโหสถ ที่ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ในปัจจุบันอีกด้วย
กำแพงเมืองพระรถ ตั้งอยู่ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม ในปัจจุบันห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ กิโลเมตร เมื่อถนนสายชลบุรี-ฉะเชิงเทรา ตัดผ่าน ทำให้กำแพงเมืองถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เป็นด้านตะวันตกและตะวันออกของถนน สภาพที่เห็นปัจจุบันด้านตะวันออกเป็นไร่-นาไปหมดแล้วเหลือแต่ด้านตะวันตกเห็นเป็นฐานกาแพงเมืองก่อเป็นเนินดินและอิฐโบราณ สูงประมาณ ศอก หนา 10 ศอก ยาว 30 เส้น กว้าง 25 เส้น ริมกำแพงเมืองด้านเหนือมีสระใหญ่เรียกว่า “สระฆ้อง
เมื่อ พ.2472 ได้มีผู้ขุดพบพระพุทธรูป “พระพนัสบดี” ได้ที่บริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นพระพุทธรูปจำหลักจากศิลาดา เนื้อละเอียด นักโบราณคดีกำหนดอายุว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะเช่น พระพนัสบดีนี้มีอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครหลายองค์ ทุกองค์งามสู้พระพนัสบดีองค์ที่ขุดพบนี้ไม่ได้
พระพนัสบดี มีพระพุทธลักษณะแปลกกว่าพระพุทธรูปอื่น ๆ คือ เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนดอกบัว ยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสอง เช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา บนฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองมีลายธรรมจักร เบื้องพระปฤษฎางค์มีประภามณฑล ประทับยืนบนสัตว์ที่แปลกพิเศษกว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นภาพสัตว์ที่เกิดจากจินตนาการจากประติมากรผู้สร้างพระพุทธรูป คือ นาโค ครุฑ หงส์ มารวมเป็นสัตว์ตัวเดียวกัน สัตว์นั้นหน้าเป็นครุฑ เขาเป็นโค ปีกเป็นหงส์ โค ครุฑ หงส์ เป็นพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวรทรงโค พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ เมื่อรวมกันเข้าจึงเป็นสัตว์พิเศษที่มีเขาเป็นโค มีจะงอยปากเป็นครุฑ และมีปีกเป็นหงส์ ผู้สร้างอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าอาศัยศาสนาพราหมณ์เป็นพาหนะ ในการประกาศพระศาสนาหรือหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงชัยชนะแล้วซึ่งศาสนาพราหมณ์ก็ได้
พระพนัสบดีที่ขุดพบนี้ สูง 45 เซนติเมตร สมัยพระยาพิพิธอำพลเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
นอกจากมีการขุดพบพระพนัสบดีแล้ว เมื่อ พ.2460 บริเวณหน้าวัดพระธาตุ มีคนขุดพบกรุพระพิมพ์เนื้อตะกั่ว สนิมแดง คราบไขขาว มีพระพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน สวรรคโลก พระร่วงหลังลายผ้าลพบุรี เป็นพุทธศิลปะสมัยทวารวดี พระเนตรโปนประหนึ่งตาตั๊กแตน ไม่ทรงเครื่องอลังการ พระเศียรไม่ทรงเทริด พระหัตถ์ขวาหงายทาบพระอุระ มีดอกจันทน์บนฝ่าพระหัตถ์ อาณาจักรพระเครื่องถวายนามว่า พระร่วงหน้าพระธาตุ มี 2 พิมพ์ คือ ชายจีวรแผ่กว้าง และชายจีวรธรรมดา องค์พระสูง 5 เซนติเมตร ชนิดชายจีวรแผ่กว้าง องค์พระกว้าง 2.5 เซนติเมตร ชนิดชายจีวรธรรมดา องค์พระกว้าง 2 เซนติเมตร นับเป็นพระกรุที่เลื่องชื่อลือชาในอาณาจักรพระเครื่องยิ่งนัก
นอกจากนั้น ยังขุดพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกหลายองค์ และพระพิมพ์เนื้อดินดิบขนาดใหญ่ บริเวณหน้าพระธาตุ วัดกลางคลองหลวง วัดห้วยสูบ ฯลฯ โบราณวัตถุที่ขุดพบ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยทวารวดีเช่นเดียวกับเมืองศรีพะโร แต่เมืองศรีพะโรนั้นไม่ปรากฏว่าได้พบพระพุทธรูปหรือกรุพระพิมพ์ เท่าเมืองพระรถหรือเมืองพนัสนิคม
ตราบมาถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงมีชื่อเมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานทำเนียบ ศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อมหาศักราช 1298 ตรงกับ พ.1919 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่วออกชื่อเมืองชลบุรีเป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้รักษาเมืองเป็นที่ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร นา 2400 ขึ้นประแดงอินทปัญญาซ้าย
ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงชาระเรียบเรียงว่า
เมื่อ พ.. 1927 ถึง 1929 รัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร กองทัพพระยากัมพูชายกเข้ามาถึงเมืองชลบุรี กวาดต้อนครอบครัวอพยพหญิงชายเมืองชลบุรีและเมืองจันทบูร คนประมาณ 6 -7 พันคน ไปเมืองกัมพูชา
เมื่อ พ.2130 รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทหารกัมพูชาก็ได้ยกทัพมากวาดต้อนครอบครัวเมืองชลบุรีไปอีกครั้งหนึ่ง
จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อ พ.2310 ชาวจังหวัดชลบุรีได้ให้ความร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้อิสรภาพอย่างใกล้ชิด จนสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมา
จังหวัดชลบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จประพาสชลบุรีหลายครั้งหลายหนเพราะชลบุรีเป็นเมืองชายทะเล เหมาะแก่การพักผ่อน มีทัศนียภาพงดงามและไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครนัก
ในจดหมายเหตุพระราชกิจประจาวัน จะมีหลักฐานปรากฏชัดว่า รัชกาลที่ 4, 5, 6  ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จประพาสชลบุรีเมื่อไร ทรงพระราชกรณียกิจใด ๆ บ้างล้วนแต่เป็นพระราชกรณียกิจพื้นฐานสร้างชลบุรีให้เจริญรุ่งเรืองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.2350 พระสุนทรโวหาร หรือ สุนทรภู่รัตนกวีของไทย ได้เดินทางจากกรุงเทพมหานครเพื่อไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง ได้เขียนไว้ในนิราศเมืองแกลง กล่าวถึงเมืองต่าง ๆ เมื่อเข้าเขตจังหวัดชลบุรีแล้วไปตามลำดับจากเหนือไปใต้คือ บางปลาสร้อย หนองมน บ้านไร่ บางพระ บางละมุง นาเกลือ พัทยา นาจอมเทียน ห้วยขวาง หนองชะแง้ว (ปัจจุบันเรียกบ้านชากแง้ว อยู่ในเขตอำเภอบางละมุงซึ่งเป็นทางที่จะไปอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.. 2437  ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักรที่เป็นหัวเมืองต่าง ๆ แบบโบราณที่แยกกันอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกรมท่า ดูไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยากแก่การปกครองดูแลให้ทั่วถึงและเสมอเหมือนกันได้ โดยให้หัวเมืองต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียวหรือหน่วยงานเดียว คือ การรวบรวมหัวเมืองทั้งหลายขึ้นเป็นมณฑลนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (.2435 - 2458ได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน “พระบันทึกความทรงจา” ซึ่งมีตอนที่กล่าวถึงเมืองชลบุรีไว้ว่า
รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือเมืองปราจีนบุรี 1 เมืองนครนายก 1 เมืองพนมสารคาม 1 เมืองฉะเชิงเทรา รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า “มณฑลปราจีน” ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน (ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ว่าการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 เมือง รวมเป็น เมืองด้วยกันแต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม
การปกครองหัวเมืองหรือที่รู้จักในปัจจุบันว่าเป็นราชการส่วนภูมิภาคนั้น ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมมาเป็นระบบมณฑลหรือระบบเทศาภิบาลจริงจัง ตั้งแต่ปี พ.. 2437 เป็นต้นมา กล่าวคือ จากมณฑลแบ่งย่อยออกมาเป็นเมือง เป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยมีผู้ปกครองบังคับบัญชาเรียกว่า สมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามลำดับ ครั้นถึง พ.2458 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รวมมณฑลจัดตั้งขึ้นเป็นภาค โดยมีอุปราชเป็นผู้ปกครอง มีอำนาจเหนือสมุุหเทศาภิบาล มีด้วยกัน 4 ภาค คือ ภาคพายัพ ภาคปักษ์ใต้ ภาคอีสาน และภาคตะวันตก สำหรับภาคกลางให้คงเป็นมณฑลอยู่อย่างเดิม เรียกว่า มณฑลอยุธยา มีอุปราชปกครองแทนสมุหเทศาภิบาล การปกครองหัวเมืองแบบแบ่งเป็นภาคและมีตำแหน่งอุปราชเช่นว่านี้ ได้ยกเลิกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2468 ในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยกลับไปใช้ในลักษณะเป็นมณฑลอย่างเดิมในลักษณะที่มีจำนวนมากขึ้นจนสูงสุดถึง 20 มณฑล และภายใน 10 ปีต่อมา คือก่อน พ.2475 ได้ยุบและยกเลิกหลาย ๆ มณฑลลง เหลือเพียง 10 มณฑลเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีรายชื่อมณฑลปรากฏอยู่ในระบบการปกครองหัวเมืองครั้งนั้น ดังนี้ คือ (1มณฑลพิษณุโลก (2มณฑลปราจีนบุรี (3มณฑลนครราชสีมา (4มณฑลราชบุรี (5มณฑลนครชัยศรี (6มณฑลนครสวรรค์ (7มณฑลกรุงเก่า (ต่อมาในรัชกาลที่ 6 เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) (8มณฑลภูเก็ต (9มณฑลนครศรีธรรมราช (10มณฑลชุมพร (11มณฑลไทรบุรี (12) มณฑลเพชรบูรณ์ (13มณฑลพายัพ (14มณฑลอุดร (15มณฑลอีสาน (16มณฑลปัตตานี (17มณฑลจันทบุรี (18มณฑลอุบล (19) มณฑลร้อยเอ็ด และ (20) มณฑลมหาราษฎร์ (แยกจากมณฑลพายัพ)
ที่กล่าวถึงเรื่องของมณฑลมาค่อนข้างยืดยาว ก็เพียงเพื่อจะชี้ให้เห็นนิดเดียวว่าเมืองชลบุรี คือ เมือง ๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนมาตั้งแต่ 2437 ถึง พ.2475
อย่างไรก็ตามเพื่อความสมบูรณ์ในสาระยิ่งขึ้น ก็คงจะเว้นเสียมิได้ที่จะต้องสรุปความเป็นมาของจังหวัดชลบุรีไว้ตามลาดับดังนี้

ยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา
มีเมืองศรีพะโร และเมืองพระรถ ตั้งอยู่แล้ว โดยปัจจุบันยังมีหลักฐานความเป็นเมืองบางอย่างปรากฏอยู่

ยุคกรุงศรีอยุธยา
เมืองศรีพะโร และเมืองพระรถ อาจเสื่อมไปแล้วและมีชุมชนที่รวมกันอยู่หลายจุดในลักษณะเป็นบ้านเมือง อาทิ บางทราย บางปลาสร้อย บางพระเรือ บางละมุง ฯลฯ เป็นต้น

ยุคกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงแรก (ก่อน พ.. 2440 หรือ ร.115ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ออกมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ชุมชนใหญ่ ๆ นอกกรุงเทพมหานคร เรียกว่าเมือง มีเจ้าเมืองปกครอง เป็นเมือง ๆ ไปไม่ขึ้นแก่กัน ในช่วงนี้จังหวัดชลบุรียังไม่เกิด แต่ได้มีเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่เกิดขึ้นแล้วคือ เมืองบางปลาสร้อย เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง
ช่วงสอง (หลัง พ.. 2440 - 2475) ได้มีอำเภอเกิดขึ้น เมืองใหญ่ ๆ ยังคงเป็นเมืองอยู่ ส่วนเมืองเล็ก ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอไปขึ้นอยู่กับเมือง โดยมีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา สูงสุดของเมือง ขณะนั้นคำว่าจังหวัดมีใช้อยู่แห่งเดียวในราชอาณาจักร คือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ปรากฏเรียกใน พ..ลักษณะปกครองท้องที่ พ.2457 มาตรา 2เข้าใจว่า คำว่าเมืองชลบุรีมีชื่อเรียกกันในช่วงนี้ โดยมีอำเภอบางปลาสร้อย (ที่ตั้งตัวเมืองอำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอบางละมุง อยู่ในเขตการปกครองในระยะต้น และในระยะหลังปี 2460 ก็มีอำเภอศรีราชา กิ่งอำเภอเกาะสีชัง กิ่งอำเภอบ้านบึง เกิดขึ้นรวมอยู่ในเขตเมืองชลบุรีตามมา
ช่วงสาม (ตั้งแต่ พ.2475ปัจจุบันเป็นระยะที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบเมืองทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็นจังหวัดแทน มีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา เมืองชลบุรีเดิมก็กลายเป็นจังหวัดชลบุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้ (แต่เปลี่ยนข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมีอำเภอและกิ่งอำเภออยู่ในเขตการปกครองเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วตามลำดับ คือ ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านบึงเป็นอำเภอบ้านบึง พ.2481 กิ่งอำเภอสัตหีบเป็นอำเภอสัตหีบ พ.2496 กิ่งอำเภอหนองใหญ่เป็นอำเภอหนองใหญ่ พ.. 2524 และตั้งกิ่งอำเภอบ่อทอง พ.. 2521

เหตุการณ์สำคัญ
1ในหนังสือ ชลบุรีภาคต้นของกรมศิลปากร พิมพ์ พ.2483 หน้า 7-10 ได้บรรยายถึงชลบุรีสมัยกู้ชาติไว้ดังนี้
เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมใน พ.2309 กรมหมื่นเทพพิพิธพยายามเกลี้ยกล่อมชาวหัวเมืองตะวันออก ตั้งแต่เมืองจันทบุรีตลอดถึงปราจีนบุรีเข้ากองทัพด้วยหวังว่าจะยกไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ชาวชลบุรีก็เต็มใจสนับสนุน พาสมัครพรรคพวกเข้ากองทัพกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นอันมาก จนแทบจะทิ้งให้ชลบุรีเป็นเมืองร้าง ขณะนั้นพระยาแม่กลอง (เสมเป็นข้าหลวงออกไปเร่งส่วยหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก พักค้างอยู่เมืองชลบุรี ไม่ยินดีเข้าร่วมมือในกรมหมื่นเทพพิพิธ พยายามรักษาเงินส่วยที่เก็บรวบรวมได้มานั้นแอบแฝงหลบภัยอยู่ในชลบุรี ครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธยกกองทัพไปตั้งมั่นที่เมืองปราจีนบุรีบอกเข้าไปยังกรุงให้กราบบังคมทูลขออาสาเป็นผู้ป้องกันพระนคร ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชดำริเห็นว่า กรมหมื่นเทพพิพิธทำการซ่องสุมกำลังโดยบังอาจ แล้วยังทนงเอื้อมเข้าไปขอป้องกันกรุงด้วยความมักใหญ่ใฝ่สูง ชะรอยจะมีความไม่สุจริตเคลือบแฝงอยู่ด้วย จึงโปรดให้กองทัพออกไปปราบ กรมหมื่นเทพพิพิธกลับต่อสู้กองทัพกรุง รบบุกบั่นผลัดกันแพ้ชนะ จนกำลังย่อยยับลงทั้งสองฝ่าย ครั้นพม่าล้อมกรุงกระชั้นชิดมั่นคงแล้ว ได้ทราบว่ากรมหมื่นเทพพิพิธยังตั้งทัพประจัญอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี พม่าจึงส่งกองทัพออกไปตีเพราะทัพกรมหมื่นเทพพิพิธบอบช้ำอยู่แล้ว ถูกกองทัพพม่าซ้ำเติมจึงพาลแตกเอาง่าย ๆ ผู้คนล้มตายมากต่อมาก ที่ยังเหลือก็กระจัดพรัดพรายไม่เป็นส่ำ เหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ทำให้เมืองฉะเชิงเทราและเมืองชลบุรีต้องร้างอยู่ชั่วคราว
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระยากำแพงเพชร ทรงพาพรรคพวกออกไปหากำลังทางหัวเมืองภาคตะวันออก เดินทางผ่านเมืองชลบุรีซึ่งขณะนั้นว่างร้างเสียแล้ว เสด็จเลยไปประทับแรมบางละมุง และเสด็จต่อไปยังเมืองระยอง ในระหว่างประทับอยู่ที่เมืองระยอง กรมการเมืองระยองมีขุนราม หมื่นซ่อง เป็นหัวหน้าคิดประทุษร้ายยกพวกลอบมาปล้นค่ายในเวลากลางคืน สมเด็จพระเจ้าตากสินต่อสู้ป้องกัน ปราบพวกคิดร้ายแตกกระจายไป แต่พวกนั้นยังไม่เลิกพยายามที่จะคิดกำจัด จึงแยกออกเป็น หน่วย ขุนราม หมื่นซ่อง คุมหน่วยหนึ่ง ไปตั้งระหว่างทางจากระยองไปเมืองจันทบุรี นายทองอยู่ นกเล็ก คุมหน่วยหนึ่ง เล็ดลอดมาตั้งซ่องสุมอยู่บางปลาสร้อยเมืองชลบุรี ทั้งสองหน่วยนี้ คงจะมุ่งหมายช่วยกันตีกระหนาบกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินรีบเสด็จไปทำลายกำลังขุนราม หมื่นซ่องเสียก่อน แล้วเสด็จวกกลับมาเมืองชลบุรีเพื่อจะปราบนายทองอยู่ นกเล็ก ให้สิ้นฤทธิ์ (บริเวณที่ตั้งค่ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินครั้งนั้น บัดนี้ก็ยังเรียกเป็นชื่อหมู่บ้าน และชื่อสะพาน คือบ้านในค่ายสะพานหัวค่ายฝ่ายนายทองอยู่ นกเล็ก ยอมอ่อนน้อมโดยดี จึงโปรดให้ช่วยรักษาเมืองชลบุรี เพื่อราษฎรจะได้ตั้งทำมาหากินเป็นกำลังแก่บ้านเมืองต่อไป และคอยช่วยปราบพวกสลัดซึ่งเวลานั้นชุกชุมที่สุด ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้ามีใครสมัครจะไปเข้ากองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน ให้นายทองอยู่ นกเล็ก ช่วยสนับสนุน อย่ากีดกันเป็นอันขาด เมื่อทรงจัดที่ชลบุรีเสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินก็เสด็จยกทัพไปยังเมืองระยอง แล้วต่อไปยังเมืองจันทบุรี ตั้งรวบรวมกำลังอยู่อย่างรีบร้อน ฝ่ายนายทองอยู่ นกเล็ก ชั้นต้นก็ปฏิบัติตามพระบัญชา แต่ต่อมากลับเหลวไหลเป็นใจด้วยพวกสลัด และคอยขัดขวางมิให้ใคร ๆ ไปสมัครเข้ากองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินโดยสะดวก ครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตระเตรียมกำลังได้เพียงพอสาหรับยกกลับไปปราบพม่าที่ยึดกรุงเก่าแล้วก็เคลื่อนกองทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรี ตรวจกวาดล้างสลัดทะเลฝั่งตะวันออกตลอดมาถึงชลบุรี ได้ความว่า นายทองอยู่ นกเล็ก และพวกกลับประพฤติการร้าย หากำลังโดยทุจริต มิได้คิดปลูกเลี้ยงชาวเมืองให้เป็นปึกแผ่นตามสมควรแก่หน้าที่ซึ่งทรงมอบหมายไว้ จึงโปรดให้ปลดนายทองอยู่ นกเล็ก และพวกออกหมดแต่จะทรงพระกรุณาให้ผู้ใดรักษาเมืองแทนต่อจากนายทองอยู่ นกเล็ก ยังไม่ได้ความ มาปรากฏเมื่อตอนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า พระยาชลบุรี [บุตรเจ้าพระยาจักรี (หมุดต้นสกุล สมุทรานนท์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีคนแรกสมัยกรุงธนบุรีเป็นผู้รักษาเมือง                                                          ข้อที่น่ายินดีสำหรับชาวชลบุรีครั้งนั้น ก็คือได้มีส่วนเข้ากองทัพทาการรบกู้ชาติไทยเป็นประวัติอันเพียบพร้อมด้วยเกียรติยศอันสูงสุด ที่บุตรหลานชาวชลบุรีจะพึงระลึกถึงด้วยความปลาบปลื้ม และช่วยกันรักษาไว้ให้เป็นคุณแก่ชาติบ้านเมืองทุกเมื่อ
จากข้อเขียนนี้มีหลักฐานปรากฏชัด
(1) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำทัพผ่านชลบุรีไปประทับแรมเมืองบางละมุง แล้วมุ่งไปเมืองระยอง กรมการเมืองระยองมีขุนราม หมื่นซ่อง เป็นหัวหน้า แบ่งกาลังเป็น 2 ฝ่าย โดยขุนราม หมื่นซ่องนาพวกปล้นค่ายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่เมืองระยองเวลากลางคืน ให้ นายทองอยู่ นกเล็ก มาซ่องสุมผู้คนที่เมืองชลบุรีเพื่อตีกระหนาบทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
        เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทำลายกำลังขุนราม หมื่นซ่องได้แล้ว จึงยกมาปราบนายทองอยู่ นกเล็ก ทรงตั้งค่ายที่บ้านในค่ายและสะพานหัวค่าย นายทองอยู่ นกเล็ก อ่อนน้อมแต่โดยดี จึงตั้งให้รักษาเมืองชลบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จกลับเมืองระยอง ไปเมืองจันทบุรี เพื่อรวบรวมกำลังปราบปรามพม่าที่ยึดกรุงศรีอยุธยาอยู่ เมื่อจะกลับกรุงศรีอยุธยา ทรงทราบว่า นายทองอยู่ นกเล็ก ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ประกอบมิจฉาชีพ จึงสั่งให้ลงโทษนายทองอยู่ นกเล็ก กับพวก 
                                       (2นายทองอยู่ นกเล็ก เป็นพวกขุนราม หมื่นซ่อง อยู่เมืองระยอง ไม่ใช่คนเมืองชล ลูกเมืองชล เป็นคนไม่ซื่อสัตย์สุจริต ประกอบมิจฉาชีพ มีความมักใหญ่ใฝ่สูง จึงถูกสำเร็จโทษ                                  (3) เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงลงโทษนายทองอยู่ นกเล็ก แล้วโปรดแต่งตั้งพระยาชลบุรีรักษาเมือง สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงสันนิษฐานว่า พระยาชลบุรีเป็นบุตรเจ้าพระยาจักรี (หมุดชื่อ “หวัง” เป็นคนเข้มแข็ง รักษาเมือง ออกปราบเหล่ามิจฉาชีพ ในรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาชลบุรีเป็นพระยาราชวังสัน 
2เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.2435 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงมีพระประสูติกาล ประสูติพระโอรส ณ พระตำหนักบนเกาะสีชัง พระราชทานนามว่า “เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก” และขนานนามที่เกาะสีชังว่า “พระราชวังจุฑาธุชราชฐาน” ขนานนามพระอารามซึ่งทรงพระราชศรัทธาสร้างขึ้นใหม่ว่า “วัดจุฑาธุชธรรมสภา”  เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.2447 ได้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามสมควรแก่พระเกียรติยศเจ้าฟ้า พระนามพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์-อินทราชัย” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย)

ประวัติศาสตร์จังหวัดชัยนาท
ตราประจำจังหวัด


รูปธรรมจักรหน้าภูเขา ซึ่งหมายเอาได้ทั้งเขาสรรพยาและเขาธรรมามูล
คำขวัญประจำจังหวัด

หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา
ประวัติความเป็นมา
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
เมืองชัยนาทเป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ตรงแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงที่ปากน้ำเมืองสรรค์ (ปากคลองแพรกศรีราชา-ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวอยู่ใต้ปากลำน้ำเก่าสมัยเมื่อลำน้ำเจ้าพระยาไหลแยกเดินลงมาทางอำเภอสรรพยา และอินทร์บุรี (ในปัจจุบันเป็นลำน้ำใหม่แล้วบางตำนานได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาทน่าจะปรากฏนามในราว ๆ ปี พ.1702 ว่า ขุนเสือฟ้า หรือ เจ้าคำฟ้า กษัตริย์เมืองเมา ได้ยกทัพมาทำสงครามกับเจ้าเมืองฟังคำแห่งอาณาจักรโยนก (ปัจจุบันเป็นอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาและได้ชัยชนะหลังจากเมืองแตกแล้ว เจ้าเมืองฟังคำได้อพยพผู้คนลงมาอยู่ที่เมืองแปป (กำแพงเพชร เดิมแล้วมาสร้างเมืองไตรตรึงค์ ที่ตำบลแพรกศรีราชา และหลังจากนั้นคงจะสร้าง "เมืองชัยนาทขึ้น เนื่องจากได้รบชัยชนะชนชาติท้องถิ่นเดิม"
บางท่านได้สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยรัชกาลพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.1860 - 1897 ซึ่งในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงปรากฏแต่ชื่อ "เมืองแพรกในหนังสือจามเทวีวงศ์ได้กล่าวถึงเมืองทวีสาขนคร ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะเป็น "เมืองแพรกหรือ "เมืองสรรค์บุรีอันเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ "เมืองชัยนาทจนถึงกับจะเรียกว่าเป็นเมืองเดียวกันก็ได้ ส่วนหนังสือชินกาลมาลีนั้น มีข้อความกล่าวไว้ชัดเจนว่า "ชยนาทปุรม ทุพภิกภย ชาตซึ่งหมายถึง ทุพภิกขภัยได้บังเกิดมีในเมืองชัยนาทบุรี ซึ่งกล่าวว่าทางพระราชอาณาจักรอยุธยาได้ส่งอำมาตย์ หรือพระราชโอรสมีนามว่า "เดชะมาครอง "เมืองชัยนาทในรัชสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไทแห่งอาณาจักรกรุงสุโขทัย ส่วนในตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้กล่าวถึงเมืองชัยนาทภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทนั้น ครั้งหนึ่งเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทองทรงออกอุบายนำข้าวมาขายที่เมืองชัยนาทแล้วยึดเมืองได้จึงโปรดให้อำมาตย์ชื่อ วัตติเดช (ขุนหลวงพะงั่วปกครองเมืองชัยนาท ซึ่งตรงกันกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาทบุรีปรากฏชื่อในราว ๆ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับ พ.1897 เป็นที่พญาเลอไทสวรรคต กรุงสุโขทัยเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเห็นโอกาสเหมาะ จึงโปรดให้ขุนหลวงพะงั่วซึ่งขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรียกทัพขึ้นไปยึดครอง "เมืองชัยนาทบุรีและอยู่รักษาเมืองไว้โดยขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมากรุงสุโขทัยสงบลงแล้ว พญาลิไทขึ้นครองราชย์ ได้ส่งทูตมาเจรจาขอ "เมืองชัยนาทบุรีคืนจากกรุงศรีอยุธยา โดยต่างฝ่ายจะเป็นอิสระ และมีความสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็ได้คืน "เมืองชัยนาทบุรีให้แก่กรุงสุโขทัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า ทางกรุงศรีอยุธยาเกรงว่า ทางฝ่ายกรุงสุโขทัยจะชวนแคว้นกัมพุช (ลพบุรีและอาณาจักรทางเหนือ ซึ่งเป็นมิตรกับกรุงสุโขทัยมาร่วมรบประกอบกับกรุงศรีอยุธยาเพิ่งจะสถาปนาได้ไม่นาน หากมีศึกกระหนาบข้างทั้งสองด้านจะสร้างปัญหาให้แก่กรุงศรีอยุธยาไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยายอมคืน "เมืองชัยนาทบุรีให้แก่กรุงสุโขทัยโดยดี เมื่อพระมหาธรรมราชา ที่ 1 (ลิไททรงได้ "เมืองชัยนาทบุรี " คืนแล้ว ทรงโปรดให้พระกนิษฐภคินี ทรงพระนามว่า พระสุธรรมกัญญา ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระมหาเทวี ครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยแล้ว พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไททรงอัญเชิญพระสิหล (พระพุทธสิหิงค์พร้อมทั้งเสด็จมาครองเมืองชัยนาทจนกระทั่งสวรรคต ในปี พ.1914
...ศึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มาปาฐกถาที่วัดมหาธาตุ อำเภอสรรคบุรี เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2510 ว่า ระบอบการปกครองและระบบเศรษฐกิจของ "เมืองชัยนาทบุรีในยุคนี้คล้ายคลึงกันกับกรุงสุโขทัย กษัตริย์ครองเมือง "ชัยนาทบุรีในฐานะพ่อเมืองปกครองแบบพ่อปกครองลูกบ้านอาศัยความเมตตากรุณาต่อกันเป็นหลักใหญ่ในการปกครอง ประชาชนที่อยู่ในเมือง มีเสรีภาพต่าง ๆ ฐานะความเป็นอยู่และเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันกับที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ได้อย่างเสรี ไม่มีทาส ประชาชนชาว "เมืองชัยนาทบุรีก็คงจะมีสิทธิที่จะทำมาหากินได้โดยเสรีเช่นเดียวกันกับที่เมืองสุโขทัย ทางผู้ปกครองแผ่นดินก็คงจะได้ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจโดยการสร้างทางคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบก และด้วยการสร้างระบบการชลประทานเพื่อให้ราษฎรทำไร่ไถ่นาให้ได้ผลดี ฐานะทางเศรษฐกิจของเมืองก็ย่อมดีขึ้นมาก ส่วนภาษีอากรนั้นย่อมมีบ้าง เพราะเมือง "ชัยนาทบุรีมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัย ฉะนั้น ก็จาต้องส่งส่วยอากรให้แก่กรุงสุโขทัยตามธรรมเนียม

สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้เข้มแข็งขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ และกรุงสุโขทัยได้เสื่อมอำนาจลงและได้สิ้นสุดเมื่อ ราว ๆ ปี พ.1921 โดยได้รวมตัวกับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา "เมืองชัยนาทบุรีก็ต้องขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาไปด้วย และได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ได้ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงค (จาดซึ่งได้บันทึกในราว ๆ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้กล่าวถึง "เมืองชัยนาทบุรีว่า ได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองลูกหลวงในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา (.1946...คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สันนิษฐานว่า สาเหตุที่สถาปนาให้เมือง "ชัยนาทบุรีเป็นเมืองลูกหลวงนั้น อาจจะเป็นเหตุผลทางทหารมากกว่าอย่างอื่น ชะรอยจะยังทรงไม่ไว้วางพระราชหฤทัยในความปั่นป่วนทางการเมืองของราชอาณาจักรทางฝ่ายเหนือ ว่าจะสงบราบคาบลงได้อย่างแท้จริง เมื่อพระองค์ทรงมีพระราชโอรส พระองค์ จึงส่งให้ไปครองหัวเมืองรอบ ๆ กรุงศรีอยุธยา เพื่อคอยรับสถานการณ์ความปั่นป่วนต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ดังนี้ 
1เจ้าอ้ายพญา ให้ไปครองเมืองสุพรรณบุรี
2เจ้ายี่พญา ให้ไปครองเมืองสรรค์บุรี
3เจ้าสามพญา ให้ไปครองเมืองชัยนาทบุรี
ครั้ง พ.. 1961 สมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคต เจ้าอ้ายพญา และเจ้ายี่พญา ได้ยกทัพเข้ามาชิงราชสมบัติกัน โดยมาพบกัน ณ ตำบลป่าถ่าน แขวงกรุงเก่า โดยเจ้าอ้ายพญาตั้งทัพอยู่ที่ตำบลป่ามะพร้าว ส่วนเจ้ายี่พญายกทัพมาตั้ง ณ วัดไชยภูมิ ทางเข้าตลาดเจ้าพรหม ทั้งสองฝ่ายปะทะกัน และได้กระทาการยุทธหัตถีที่เชิงสะพานป่าถ่าน ผลปรากฏว่า ทั้งสองพระองค์ถูกพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดคอช้างสิ้นพระชนม์พร้อม ๆ กัน มุขมนตรีจึงออกไปเฝ้าเจ้าสามพญาที่ "เมืองชัยนาทบุรีแล้วทูลเรื่องราวพร้อมทั้งอัญเชิญเสด็จไปครองกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ แล้วทรงโปรดให้ขุดพระศพของพระเชษฐาทั้งสองพระองค์ขึ้นมาถวายพระเพลิง ให้สถาปนาพระมหาสถูปและพระวิหารเป็นพระอารามแล้วให้ชื่อว่า วัดราชบูรณะ ส่วนสถานที่ที่เจ้าอ้ายพญาและเจ้ายี่พญากระทำยุทธหัตถีกันนั้น ให้ก่อพระเจดีย์ 2 องค์ไว้ที่เชิงสะพานป่าถ่าน
ครั้งที่ พ.1994 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์เมืองเชียงใหม่มีอำนาจมากขึ้นภายหลังจากที่ได้รวบรวมอาณาจักรทางเหนือไว้ในอำนาจแล้ว ก็ได้ยกทัพมาตีเมืองแปป (เมืองกำแพงเพชรและได้กวาดต้อนผู้คนบริเวณรอบ ๆ จนถึงเขต "เมืองชัยนาทบุรีทำให้ "เมืองชัยนาทบุรีกลายเป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา
ต่อมา พ.2072 ภายหลังขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ปราบปรามเจ้าแม่ยั่วเมือง ท้าวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งคบชู้กับขุนนางวรวงศาธิราช แล้วยึดอำนาจสถาปนาตนเป็นกษัตริย์ได้นาน 5 เดือนแล้วอัญเชิญพระเฑียรราชา พระอนุชาของพระไชยราชาธิราช ซึ่งได้อุปสมบทขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในรัชกาลของพระองค์มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองชัยนาท ซึ่งปรากฏในพงศาวดารคือ ในปี พ.2077 เดือนแปด ปีมะแม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้เสด็จไปกระทำพระราชพิธีมัธยมกรรม ที่ตำบล"ชัยนาทบุรี(ซึ่งในขณะนั้นยังร้างอยู่แล้วสถาปนาให้ตั้งเมือง "ชัยนาทขึ้นใหม่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งตรงข้ามกับเมืองร้างเดิม แต่เมือง "ชัยนาทก็ยังคงเป็นยุทธภูมิในการรบระหว่างไทย - พม่า กล่าวคือ
ในปี พ.ศ 2086 พระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพพม่าเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชาผู้เป็นพระราชบุตรเขยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ซึ่งครองเมืองพิษณุโลก ได้เกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิชัย รวมแล้วได้ไพร่พลประมาณห้าหมื่นคน ยกทัพมาตั้งค่ายที่ "เมืองชัยนาทเพื่อคอยช่วยเหลือป้องกันกรุงศรีอยุธยา และได้ส่งทัพหน้าออกไปลาดตะเวนสืบข่าวความเคลื่อนไหวของทัพพม่า แต่พม่าได้ตีทัพหน้าของพระมหาธรรมราชาแตกพ่ายกลับค่ายที่ "เมืองชัยนาทต่อมาพระเจ้ากรุงหงสาวดีไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตกได้ ก็เลิกทัพกลับ โดยเคลื่อนขบวนผ่านทาง "เมืองชัยนาทพระมหาธรรมราชาเห็นว่า มีลี้พลน้อยกว่าและพม่าไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ เลยถอยทัพกลับทิ้งค่ายที่เมืองชัยนาทร้างไว้ พระเจ้ากรุงหงสาวดีก็เคลื่อนทัพเข้าตั้งที่ค่ายดังกล่าว ขณะเดียวกันที่พม่าถอยทัพนั้น พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช พระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ยกทัพไทยเข้ามาตีกระหนาบท้ายโดยไม่รู้ว่าพระมหาธรรมราชาได้ถอยทัพกลับแล้ว จึงถูกพม่าตีแตกพ่ายกลับไปและพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ถูกพม่าจับตัวไว้ แล้วนำมาคุมขังที่ค่ายพม่า ณ "เมืองชัยนาทสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จำต้องแต่งพระราชสาส์นให้พระมหาราชครูปุโรหิต ขุนหลวงพระเกษมและขุนหลวงไกรศรี เป็นทูตไปเจรจาขอให้ส่งตัว พระราเมศวร และพระมหินทราธิราชคืนโดยพม่าขอแลกตัวกับช้างชนะงา 2 เชือก คือ พลายศรีมงคล และพลายมงคลทวีป เมื่อไทยนำช้างทั้งสองเชือกส่งที่ค่ายพม่า ณ "เมืองชัยนาทแล้ว ปรากฏว่าช้างทั้งสองเชือกเห็นหมอควาญชาวพม่าผิดเสียงก็อาละวาดไล่แทงช้าง แทงคน วุ่นวายทั้งกองทัพ พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงให้กรมช้างนำช้างทั้งสองเชือกดังกล่าวกลับคืนแก่กรุงศรีอยุธยาแล้วถอยทัพกลับสู่กรุงหงสาวดี
ต่อมาใน ปี พ.2111 รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายหลังได้ทรงประกาศ อิสรภาพ ณ แขวงเมืองแครง โดยหลั่งพระอุทกธาราต่อหน้าพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติ พระยาราม แล้วเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาและเสริมสร้างปราการ คูรบให้แข็งแรง ฝ่ายพระเจ้ากรุงหงสาวดีก็เกณฑ์ทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยาสองทาง คือ ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ และทัพพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งยกทัพมาทางเรือ มาตั้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงทราบข่าว ก็ยกทัพออกไปกระทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ณ ตำบลลุมพลี แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ แล้วยกทัพเข้าตีสกัดกองทัพพม่าของพญาพะสิม ทัพหน้าของพระเจ้ากรุงหงสาวดี ที่ยกทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แตกพ่ายกลับไปจนถึงทัพหลวง พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงสั่งให้เลิกทัพกลับไป ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ไม่ทราบว่า ทัพหลวงได้เลิกทัพกลับแล้ว ก็เคลื่อนทัพมาตั้งค่ายที่ "เมืองชัยนาทแล้วส่งทัพหน้าซึ่งนำโดยไชย กะยอสู และ นันทะกะยอสู เป็นทัพหน้าลงมาตั้งทัพ ณ บ้านบางพุทรา และบางเกี่ยวหญ้า สมเด็จพระนเรศวรฯ จึงสั่งให้พระราชมนู และขุนรามเดชะ นำทัพหน้าเข้าโจมตีทัพหน้าของพระเจ้าเมืองเชียงใหม่แตกกลับไปยังทัพหลวงที่ "เมืองชัยนาทพระเจ้าเชียงใหม่ทราบข่าวว่า กองทัพหลวงของพระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพกลับแล้ว ก็เลิกทัพกลับเชียงใหม่โดยกวาดต้อนผู้คนแถบหัวเมือง "ชัยนาทไปด้วย
สำหรับฐานะของ "เมืองชัยนาทในยุคกรุงศรีอยุธยานั้น ม...ศึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ปาฐกถาว่า เมื่อเมืองชัยนาทตกมาขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาใหม่ นั้น "เมืองชัยนาทมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงดังที่ได้กล่าวมาแล้ว "เมืองชัยนาทจะได้ดำรงตำแหน่งอันสำคัญนี้มาได้ช้านานเท่าไหร่ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ตามหลักฐานในพระราชบัญญัติศักดินาทหารหัวเมือง ซึ่งว่ากันว่าออกในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรฯ (.. 2121 - 2136) นั้น "เมืองชัยนาทได้ลดฐานะลงไปเป็นเมืองจัตวา เพราะตามกฎหมายฯ นั้น เมืองเอกมีอยู่เพียงสองเมืองคือ เมืองพิษณุโลก ในภาคเหนือ และเมืองนครศรีธรรมราช ในภาคใต้ เมืองโทนั้น ได้แก่ สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ โคราช และตะนาวศรี ส่วนเมืองตรีนั้น ได้แก่ เมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูร ไชยา พัทลุง และชุมพร ในยุคนี้ "เมืองชัยนาทได้ขาดความสำคัญไปแล้ว ทั้งในด้านการทหาร และด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับในยุคนั้นบ้านเมืองมีศึกสงครามหลายครั้งหลายครา พลเมืองที่ "เมืองชัยนาทก็คงจะร่อยหรอลงไปมาก เพราะชายฉกรรจ์คงจะถูกเกณฑ์ไปรักษาพระนครเหนือ ไปราชการทัพเสียเกือบหมด ที่เหลือก็คงจะหนีเข้าป่าไปพร้อม ๆ กับครอบครัว ทำให้เมืองชัยนาทกลายเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่เกือบจะไม่มีความสำคัญเหลืออยู่เลย นอกจากนั้น บริเวณเมือง "ชัยนาทได้กลายเป็นเขตยุทธภูมิแทบทุกครั้ง พลเมืองถูกกวาดต้อนไปยังบ้านเมืองของข้าศึกหลายครั้งอีกด้วย

สมัยกรุงธนบุรี
ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาได้แตกและเสียกรุงแก่พม่าในปี พ.2310 นั้น เมือง "ชัยนาทยังคงเป็นเมืองสำคัญในยุทธภูมิ ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของกรมศิลปากรว่า ในปี 2319 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 (ตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคม 2319พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ยกทัพขึ้นมาตั้งค่ายที่ "เมืองชัยนาทเพื่อขับไล่พม่า ซึ่งกาลังรบติดพันกับกองทัพไทยที่เขตเมืองนครสวรรค์ เมื่อพม่าทราบข่าว ก็ตกใจ จึงละทิ้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์ หนีไปทางเมืองอุทัยธานี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพติดตามข้าศึกไปจนถึงบ้านเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรีแล้วเข้าโจมตีข้าศึกแตกพ่ายยับเยิน ด้วยเหตุนี้ ทางจังหวัดชัยนาทจึงถือว่า วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นวันสถาปนาจังหวัด

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทางราชการได้สร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นที่ตำบลบ้านกล้วย และใน รัชกาลที่ ได้จัดตั้งกองทหารราบที่ 16 ขึ้นที่บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน (ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปตั้งค่ายที่ค่ายจิระประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ ) ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงจัดตั้งการปกครองเป็นแบมณฑลเทศาภิบาล โดยให้ยุบและรวมหัวเมืองทางริมฝั่งแม่น้าเจ้าพระยา ตอนเหนือขึ้นไปจนถึงแม่น้ำปิงคือ เมืองชัยนาท เมืองสรรค์บุรี เมืองมโนรมย์ เมืองพยุหคีรี เมืองนครสวรรค์ เมืองกาแพงเพชร เมืองตาก รวม 8 หัวเมือง ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาลและตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองนครสวรรค์ เรียกว่า "มณฑลนครสวรรค์โดยมีพระยาดัสกรปลาศ (อยู่เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก (ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นตำแหน่ง "สมุหเทศาภิบาลในสมัยรัชการที่ 6)
ครั้นสมัยรัชกาลที่ 8 ประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ในราว ๆ ปี พ.2484 ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้าร่วมรบกับญี่ปุ่น และยินยอมให้ญี่ปุ่นยกกองทัพผ่านประเทศไทยไปยังประเทศพม่า และยอมให้ญี่ปุ่นเสริมสร้างสนามบินตาคลีเดิม เพื่อใช้เป็นฐานบิน และกองทัพญี่ปุ่นได้ใช้ท่าเรือที่จังหวัด "ชัยนาทเป็นเส้นทางขนส่งเสบียงสัมภาระไปยังฐานบินตาคลี นามเป็นเวลา 4 ปีเศษ ขณะเดียวกันเมือง "ชัยนาทก็เป็นเขตปฏิบัติของหน่วยก่อวินาศกรรมสังกัดขบวนการเสรีไทย
ในปัจจุบัน จังหวัดชัยนาทได้เลือกบริเวณที่ตั้งค่ายทหารของกองทหารราบที่ 16 เก่า เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดชัยนาท โดยได้ก่อสร้างอาคารที่ทาการเป็นตึกทรงไทย ชั้น และเปิดทำการในปี พ.2521 จนถึงปัจจุบัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้ว่า "เมืองชัยนาทเป็นเมืองเก่าแก่ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของภาคกลาง และตั้งอยู่ระหว่าง กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ยามใดที่กรุงสุโขทัยเรืองอำนาจก็จะยึดเอาเมือง "ชัยนาทเป็นเมืองหน้าด่าน แต่ยามใดที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง กรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมือง "ชัยนาทก็จะกลายเป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองที่ใช้ในการสะสมเสบียงอาหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ในการรบระหว่าง ไทย-พม่า และยังเป็นสมรภูมิในสงครามทุกยุคทุกสมัยด้วยเหตุนี้ "เมืองชัยนาทจึงได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายเนื่องจากสงครามเป็นอย่างมากจึงไม่มีซากโบราณสถาน และศิลปกรรมมากมายนัก แต่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร 

ประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิ
ตราประจำจังหวัด


รูปธงสามชาย อันเป็นธงชัยประจำกองทัพสมัยโบราณ
คำขวัญประจำจังหวัด

ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล

 สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ผืนแผ่นดินไทยในอดีตเต็มไปด้วยอารยธรรมอันสูงส่งในนามของอาณาจักรต่าง ๆ ที่วิวัฒนาสืบต่อกันมาโดยมิขาดสาย เมืองไทย แผ่นดินไทย จึงเป็นขุมทรัพย์อันมหาศาลของวงการนักปราชญ์ทางโบราณคดีทั่วโลก ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันจึงกลายเป็นแผ่นดินแห่งประวัติศาสตร์ และอารยธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ซึ่งดินแดนแห่งนี้ เมื่อครั้งโน้นเรียกว่า “ดินแดนสุวรรณภูมิ” หรือแหลมอินโดจีนก่อนที่ชาติไทยจะได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนานั้น เดิมเป็นที่อยู่ของชน 3 ชาติ คือ ขอม, มอญและละว้า


ขอม
อยู่ทางภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้อันเป็นที่ตั้งของประเทศกัมพูชาปัจจุบันนี้


มอญหรือรามัญ
อยู่ทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำสาละวิน ตลอดจนถึงลุ่มแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นอาณาเขตของสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าในปัจจุบัน


ละว้า
อยู่ทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทยปัจจุบัน อาณาเขตละว้า แบ่งเป็น 3 อาณาจักร คือ

1. อาณาจักรทวารวดี หรือละว้าใต้ มีอาณาเขตทางภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกและตะวันออกของอ่าวไทยซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี
2. อาณาจักรยางหรือโยนกหรือละว้าเหนือ มีอาณาเขตที่เป็นภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบันมีราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
 3อาณาจักรโคตรบูรหรือพนม มีอาณาเขตที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบันตลอดไปจนถึงฝั่งซ้ายแม่น้าโขง มีเมืองนครพนมเป็นราชธานี แต่ก่อนที่จะมีคนไทยอพยพเข้ามานั้น ดินแดนแห่งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงในรูปของผู้เข้าครอบครอง
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ขอมได้เริ่มแผ่อำนาจเข้าไปในอาณาเขตของละว้า และสามารถครอบครองอาณาเขตละว้าทั้ง ได้ ราวพุทธศตวรรษที่ 14 โดยเฉพาะอาณาจักรโคตรบูรขอมได้รวมเข้าเป็นอาณาจักรของขอมโดยตรง
อาณาจักรทวารวดี ส่งคนมาเป็นอุปราชปกครอง
อาณาจักรยางหรือโยนก ให้ชาวพื้นเมืองปกครองตนเองแต่ต้องส่งส่วยให้แก่ขอม
ในระยะเวลาประมาณ 200 ปี ขอมได้แผ่ขยายศิลปวิทยาการอันเป็นความรู้ทางศาสนา ปรัชญา สถาปัตย์และอารยธรรมอีกมากมาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากอินเดีย และต่อมาพุทธศตวรรษที่ 16 อำนาจของขอมต้องเสื่อมลงดินแดนส่วนใหญ่ได้เสียแก่พม่าไป ซึ่งในเวลานั้นพม่ามีอาณาเขตอยู่ทางลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนเหนือ ได้รุกรานอาณาดินแดนของพวกมอญโดยลำดับมา และได้สถาปนาเป็นอาณาจักรขึ้น มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า อโนระธามังช่อ หรือพระเจ้าอนุรุทมหาราช ปราบได้ดินแดนมอญลาวได้ทั้งหมด แต่ภายหลังเมื่อพระเจ้าอนุรุทสิ้นพระชนม์แล้วพม่าก็หมดอำนาจ ขอมก็ได้อำนาจอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งหลังนี้ก็เป็นความรุ่งเรืองตอนปลาย จึงอยู่ได้ไม่นานนัก เปิดโอกาสให้ไทยซึ่งได้เข้ามาตั้งทัพอยู่เขตละว้าเหนือ โดยขยายอำนาจเข้ามาแล้วขับไล่ขอมเจ้าของเดิมออกไป
จากประวัติศาสตร์ดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรหนึ่งของละว้าซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 11 สืบต่อมาจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 16 เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่ แห่งขอมได้แยกขยายอำนาจออกมาตั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยา
อาณาจักรโคตรบูรหรือพนม มีอาณาเขตอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยขอมตอนปลาย
ถ้าอาศัยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ประกอบกับภูมิศาสตร์ก็น่าจะเชื่อว่าดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูร หรือพนมก็คงครอบคลุมมาถึงดินแดนที่เป็นที่ตั้งของเมืองชัยภูมิในปัจจุบัน
โดยศึกษาจากหลักฐานศิลปะวัดโบราณในจังหวัดชัยภูมิ อันได้แก่ใบเสมาหินทรายแดงที่พบที่บ้านกุดโง้ง ตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งแกะสลักเป็นรูปเสมาธรรมจักร บรรจุตัวอักษรอินเดียโบราณ (ซึ่งศิลปะอินเดียเองก็เป็นต้นฉบับของขอมศิลปวัตถุชิ้นนี้จัดอยู่ใน "ศิลปะทวารวดีนอกจากนี้ยังจะเห็นได้ชัดจากพระธาตุบ้านแก้ง หรือพระธาตุหนองสามหมื่น เป็นพระธาตุสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างประมาณ 10 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร ก่อด้วยอิฐถือปูนจากฐานของพระธาตุขึ้นไปประมาณ 10 เมตร ทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ แต่ละทิศจำหลักเทวรูป ลักษณะเป็นศิลปะทวารวดี
ปรางค์กู่ เป็นโบราณสถานที่ตั้งห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นปรางค์เก่าแก่ ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ภายในปรางค์มีพระพุทธรูปเป็นศิลปะทวารวดีประดิษฐานอยู่ ดูจากศิลปะและการก่อสร้าง ตลอดทั้งวัตถุก่อสร้างใช้ศิลาแลง สันนิษฐานว่าคงจะสร้างในสมัยเดียวกันกับประสาทหินพิมาย 
ภูพระ เป็นภูเขาเตี้ยอยู่ที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ ระยะห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร ตามผนังภูพระจำหลักเป็นพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่ง นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลาพระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต เรียกว่า "พระเจ้าตื้อและรอบพระพุทธรูปมีรอยแกะทับเป็นรูปพระสาวกอีกองค์หนึ่งสันนิษฐานว่า คงจะสร้างในสมัยขอมรุ่นเดียวกับที่สร้างปรางค์กู่ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 - 19
พระธาตุกุดจอก สร้างเป็นแบบปรางค์ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยทวารวดี อยู่ภายในตัวปรางค์สร้างในสมัยขอมเช่นกัน อาศัยจากหลักฐานต่าง ๆ ประวัติศาสตร์ประกอบกับทางด้านภูมิศาสตร์ก็น่าจะเชื่อว่า เมืองชัยภูมิในปัจจุบันเป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นร่วมสมัยเดียวกันกับลพบุรีพิมาย แต่ขอมจะสร้างขึ้นเมื่อใดหรือศักราชใดนั้นหาหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดไม่ได้ นอกจากจะสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยขอมมีอำนาจเข้าครอบครองในเขตลาว โดยอาศัยหลักโบราณคดีวินิจฉัย เปรียบเทียบตลอดจนศิลปะการก่อสร้างเทวรูป ศิลปกรรมเป็นต้น ว่าการแกะสลักตามฝาผนัง ตามปรางค์กู่มีส่วนคล้ายคลึงกับประสาทหินพิมายมากและอยู่ในบริเวณที่ราบสูงโคราชด้วยกัน ระยะทางระหว่างประสาทหินพิมายกับปรางค์กู่ ชัยภูมิห่างกันประมาณ 100 กิโลเมตรเศษ ๆ เท่านั้น                                                                                        เมื่ออนุมานดูแล้ว เมืองชัยภูมิปัจจุบันเป็นเมืองที่อยู่ในอิทธิพลของขอมมาก่อนและสร้างในสมัยเดียวหรือรุ่นเดียวกันกับเมืองพิมายหรือประสาทหินพิมายดังหลักฐานปรากฏข้างต้น

สมัยอยุธยา
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.2199 - 2231 ซึ่งในสมัยนี้เองเป็นครั้งแรกที่เมืองเวียงจันทน์ได้มาขอเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา หลังจากทางกรุงศรีอยุธยาได้รับเมืองเวียงจันทน์เข้าเป็นเมืองขึ้นแล้ว ชาวเมืองเวียงจันทน์ก็ได้อพยพเข้ามาประกอบอาชีพติดต่อกับกรุงศรีอยุธยามากขึ้นเรื่อย ๆ การเดินทางจากเวียงจันทน์เข้ามายังอยุธยาเส้นทางก็ผ่านพื้นที่ของเมืองชัยภูมิปัจจุบัน ข้ามลำชี ข้ามช่องเขาสามหมด (สามหมอชาวเวียงจันทน์ที่อพยพเดินทางผ่านไปผ่านมา เห็นทำเลแห่งนี้เป็นทำเลดีเหมาะในการเพาะปลูกทำไร่ ทำนา จึงได้พากันเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตลอดทั้งผู้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบนี้มีแต่ความสันติสุขสงบเรียบร้อย ดินแดนแห่งนี้จึงถูกขนานนามว่า "ชัยภูมิเริ่มสร้างบ้านเรือนอยู่กันเป็นหลักแหล่ง ผู้อพยพส่วนใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่นตามลุ่มลำชี ตามบึง ตามหนองน้าต่าง ๆ เมื่อมีคนเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็ตั้งเป็นหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อหมู่บ้านตามลักษณะที่ตั้ง เช่นบ้านอยู่ริมฝั่งชีก็ตั้งชื่อว่าบ้านลุ่มลำชี ถ้าใกล้หนองน้ำก็ตั้งชื่อบ้านตามหนองน้ำนั้น เช่น บ้านหนองนาแซง บ้านหนองหลอด ฯลฯ
ชาวพื้นเมืองชัยภูมิได้รับสืบทอดอารยธรรมต่าง ๆ จากบรรพบุรุษเหล่านี้ เช่น ทางด้านภาษาพูด ภาษาเขียน (ตัวหนังสือที่เขียนใส่ใบลานหรือหนังสือผูกวรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวชัยภูมิ
เมื่อมีคนอยู่ในแดนนี้มากขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้โปรดให้เมืองชัยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เพราะอยู่ใกล้กว่าและสะดวกในการปกครองดูแล ตั้งแต่นั้นมาเป็นอันว่าเมืองชัยภูมิ อยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมา ตลอดมา

สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากกรุงศรีอยุธยา เสียเอกราชแก่พม่า เมื่อ พ.. 2310 พม่าทำลายล้างผลาญโดยที่ต้องการจะมิให้ไทยตั้งตัวขึ้นอีก ได้ริบทรัพย์จับเชลย เผาผลาญทำลายปราสาทราชมณเฑียร วัดวาอารามตลอดจนบ้านเมืองของราษฎรครั้งนั้นพม่าได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยประมาณ 31,000 คน กรุงศรีอยุธยาเกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย นอกจากซากปรักหักพังสภาพเหมือนเมืองร้าง อยุธยาเมืองหลวงของไทย ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาหลายร้อยปีมีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 33 พระองค์ (417 ปี) ต้องมาเสียแก่พม่าก็เพราะการที่คนไทยแตกความสามัคคีกันเองแต่กรุงศรีอยุธยาก็ยังไม่สิ้นคนดี คือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พาสมัครพรรคพวกยกออกจากรุงศรีอยุธยา ไปรวมกาลังอยู่ที่เมืองจันทบุรีมีอาณาเขตตลอดบริเวณหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกต่อแดนกัมพูชา จนถึงเมืองชลบุรี ซึ่งขณะนั้นหัวเมืองต่าง ๆ ที่มิได้ถูกกองทัพพม่าย่ายี มีกำลังคน กำลังอาวุธ ก็ถือโอกาสตั้งตัวเป็นอิสระ เป็นชุมชนต่าง ๆ ขึ้น และหวังที่จะเป็นใหญ่ในเมืองไทยต่อไป
ชุมนุมที่สำคัญมี 5 ชุมนุม คือ
1ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรืองอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์
2ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือนอาณาเขตตั้งแต่เมืองเหนือพิชัยถึงเมืองแพร่ เมืองน่านและเมืองหลวงพระบาง
3ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตอนใต้ต่อแดนมลายูขึ้นมาถึงเมืองชุมพร
4ชุมนุมเจ้าพิมายหรือกรมหมื่นเทพพิพิธ โอรสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระพิมายเจ้าเมืองถือราชตระกูลและมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นใหญ่ ณ เมืองพิมาย ชุมนุมนี้มีอาณาเขตบริเวณหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือจดแดนลานช้าง กัมพูชา ตลอดลงมาจนถึงสระบุรี
ดูจากอาณาเขตของชุมนุมพิมายในสมัยนี้แล้ว ครอบคลุมเมืองนครราชสีมาและเมืองชัยภูมิด้วย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในอาณาบริเวณนี้ก็ตกอยู่ในอำนาจของกรมหมื่นเทพพิพิธแห่งชุมนุมพิมาย
5ชุมนุมพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีอาณาเขตตั้งแต่แดนกรุงกัมพูชาลงมาจนถึงชลบุรี
.2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกทัพมาปราบชุมนุมพิมายได้สำเร็จและให้ขึ้นต่อเมืองนครราชสีมาตามเดิมและในช่วง 15 ปี ของสมัยธนบุรี ประวัติเมืองชัยภูมิไม่ได้กล่าวไว้เลย แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเมืองพิมายและเมืองนครราชสีมาก็รวมอยู่เขตเมืองชัยภูมิและการปกครองก็มีรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะฉะนั้นเมืองชัยภูมิก็ยังขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เช่นเดิมตลอดรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เดิมท้องที่ชัยภูมิ มีผู้คนอาศัยมากพอควร กระจัดกระจายอาศัยอยู่ตามแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมา ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าในสมัยนี้ใครเป็นผู้นำหรือเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ อาจจะเป็นเพราะในเขตนี้ผู้คนยังน้อย ยังไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจึงยังไม่สมควรที่จะแต่งตั้งใครมาปกครองเป็นทางการได้
ประมาณ พ.2360 ได้มีขุนนางชาวเวียงจันทน์คนหนึ่งมีนามว่า อ้ายแล (แลตามประวัติเดิมมีตำแหน่งเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรเจ้าอนุเวียงจันทน์ ได้ลาออกจากหน้าที่แล้วอพยพครอบครัวและไพร่พลชาวเมืองเวียงจันทน์ข้ามแม่น้าโขง เลือกหาภูมิลำเนาที่เหมาะเพื่อตั้งหลักแหล่งทำมาหากินขั้นแรกตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้าน "น้ำขุ่นหนองอีจาน" (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา)
       ต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่ "โนนน้ำอ้อม" (ทุกวันนี้ชาวบ้านเรียกบ้านชีลองโดยมีน้ำล้อมรอบจริง ๆ โนนน้ำอ้อมอยู่ระหว่างบ้านขี้เหล็กใหญ่กับบ้านหนองนาแซงกับบ้านโนนกอกห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 6 กิโลเมตร และได้ตั้งหลักฐานมั่นคง เมื่อ พ.2362 คงใช้ชื่อเมืองตามเดิม คือเรียกว่าเมืองชัยภูมิ (เวลานั้นเขียนเป็นไชยภูมินายแลได้นำพวกพ้องทำนุบำรุงบ้านเมืองนั้นจนเจริญเป็นปึกแผ่น เป็นชัยภูมิทำเลที่เหมาะแก่การทำมาหากิน ผู้คนในถิ่นต่าง ๆ จึงพากันอพยพมาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ถึง 13 หมู่บ้าน คือ

1บ้านสามพัน
2บ้านบุ่งคล้า

3บ้านกุดตุ้ม
4บ้านบ่อหลุบ (ข้าง ๆ บ้านโพนทอง)

5บ้านบ่อแก
6บ้านนาเสียว (บ้านเสี้ยว)

7บ้านโนนโพธิ์
8บ้านโพธิ์น้ำล้อม

9บ้านโพธิ์หญ้า
10. บ้านหนองใหญ่

11. บ้านหลุบโพธิ์
12. บ้านกุดไผ่ (บ้านตลาดแร้ง)

13. บ้านโนนไพหญ้า (บ้านร้างข้าง ๆ บ้านเมืองน้อย)
นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวจากชายฉกรรจ์ ประมาณ 60 คน ในหมู่บ้านเหล่านั้นไปบรรณาการแก่เจ้าอนุเวียงจันทน์ เจ้าอนุเวียงจันทน์จึงได้ปูนบำเหน็จความชอบตั้งให้นายแลเป็นที่ "ขุนภักดีชุมพลซึ่งเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้าคุมหมู่บ้านขึ้นกับเวียงจันทน์
ในปี พ.. 2365 ขุนภักดีชุมพล (แลเห็นว่าบ้านโนนน้ำอ้อม (ชีลองไม่เหมาะเพราะบริเวณคับแคบและอดน้ำ (น้ำสกปรกจึงย้ายเมืองชัยภูมิมาตั้งที่แห่งหนึ่งระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอดต่อกัน (ห่างจากศาลากลางจังหวัดเวลานี้ประมาณ 2 กิโลเมตรและให้ชื่อบ้านใหม่นี้ว่า "บ้านหลวง"
.. 2366 ที่บ้านหลวงนี้ได้มีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานหนาแน่นขึ้นอีก มีชายฉกรรจ์ 660 คนเศษ ขุนภักดีชุมพล (แลไปพบบ่อทองคำที่บริเวณเชิงเขาภูขี้เถ้า ที่ลาห้วยซาดเรียกว่า "บ่อโขโลซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาพญาฝ่อ (พระยาพ่ออยู่ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้เกณฑ์ชายฉกรรจ์ทั้งปวงไปช่วยเก็บหาทอง มีครั้งหนึ่งที่ขุดร่อนทองอยู่ฝั่งแม่น้ำลำห้วยซาด ได้พบทองก้อนหนึ่งกลิ้งโข่โล่ ทุกวันนี้เสียงเพี้ยนมาเป็นบ่อโขโหล หรือบ่อโขะโหละ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวแดง (ภาชนะที่นายแลและลูกน้องใช้ร่อนทองคำนั้นเป็นภาชนะไม้รูปคล้ายงอบจับทำสวน ชาวบ้านเรียกว่า "บ้างหาได้ง่ายในจังหวัดชัยภูมิ)
นายแลได้นำทองก้อนโข่โล่นั้นไปถวายเจ้าอนุเวียงจันทน์ ได้รับบำเหน็จความชอบคือได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองไชยภูมิ
ในเวลานั้นเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เมืองชัยภูมิ เช่น มืองสี่มุม เมืองเกษตรสมบูรณ์ เมืองภูเขียว ได้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมาและกรุงเทพมหานครหมดแล้ว ด้วยเกรงพระบรมเดชานุภาพ
ขุนภักดีชุมพลจึงหันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมาและส่งส่วยให้กรุงเทพฯ แต่บัดนั้นมา
.2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เป็นขบถยึดเมืองนครราชสีมากวาดต้อนผู้คนไปเมืองเวียงจันทน์ เมื่อถึงทุ่งสัมฤทธิ์ คุณหญิงโมภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมาได้คุมคนลุกขึ้นต่อสู้กับทหารของเจ้าอนุวงศ์ นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโมตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์แตกพ่ายไป
ฝ่ายทหารลาวที่ล่าถอยแตกพ่าย มีความแค้นนายแลมากที่เอาใจออกห่างมาเข้ากับไทย จึงยกพวกที่เหลือเข้าจับตัวนายแลที่เมืองชัยภูมิ เกลี้ยกล่อมให้เป็นพวกตน แต่นายแลไม่ยอมจึงถูกจับฆ่าเสียที่ใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่าซึ่งประชาชนได้สร้างศาลไว้เป็นที่สักการะจนปัจจุบัน
เมื่อพระยาภักดีชุมพล (แลเจ้าเมืองชัยภูมิถึงแก่อนิจกรรมบ้านเมืองเกิดระส่ำระสายเพราะขาดหัวหน้าปกครอง ประมาณปี พ.. 2375 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้า ฯ ให้นายเกต มาเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ โดยตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระภักดีชุมพล นายเกตเดิมเป็นชาวอยุธยา บ้านอยู่คลองสายบัวกรุงเก่า ตามประวัติเดิมว่าเป็นนักเทศน์ เคยเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งเมืองชัยภูมิไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายเมืองจากที่ตั้งเดิมมาตั้งอยู่ที่ "บ้านโนนปอปิด" (คือบ้านหนองบัวเมืองเก่าปัจจุบันและได้เก็บส่วยทองคำส่งกรุงเทพฯ เป็นบรรณาการ พระภักดีชุมพล (เกตรับราชการสนองพระเดชพระคุณเรียบร้อยมาเป็นเวลา 15 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม
.2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งให้หลวงปลัด (เบี้ยวรับราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองได้ 18 ปี ก็ถึงอนิจกรรม ลำดับต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง ผู้คนเกิดระส่ำระสาย อพยพแยกย้ายไปหากินในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
เมื่อ พ.. 2406 พระยากำแหงสงคราม (เมฆผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมาได้ส่งกรมการเมืองออกไปสอบสวนดูว่า มีข้าราชการเมืองไชยภูมิคนใดบ้างที่มีเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า ก็ได้ความว่ามีอยู่ คน คือ
1หลวงวิเศษภักดี (ทิบุตรพระยาภักดีชุมพล (แล)
2หลวงยกบัตร (บุญจันทร์บุตรพระภักดีชุมพล (เกต)
3หลวงขจรนพคุณบุตรพระภักดีชุมพล (เบี้ยว)
พระยากำแหงสงคราม (เมฆจึงได้หาตัวกรมการทั้งสามดังกล่าวนำเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพิจารณาหาตัวผู้เหมาะสมตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงวิเศษภักดี (ทิเป็นพระภักดีชุมพลตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ หลวงยกบัตรเป็นหลวงปลัด หลวงขจรนพคุณเป็นหลวงยกบัตร แล้วให้ป่าวร้องให้ราษฎรที่อพยพโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น กลับภูมิลำเนาเดิม
ในสมัยพระภักดีชุมพล (ทิเป็นเจ้าเมืองนั้นพิจารณาเห็นว่าบ้านหินตั้งมีทำเลกว้างขวางเป็นชัยภูมิดี จึงย้ายตัวเมืองจากบ้านโนนปอปิด มาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านหินตั้งและมาอยู่จนทุกวันนี้ พระภักดีชุมพล (ทิรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยดีเป็นเวลา 12 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม
.. 2418 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งหลวงปลัด (บุญจันทน์บุตรพระภักดีชุมพล (เกตเป็นพระภักดีชุมพล ตำแหน่งเจ้าเมืองไชยภูมิสืบต่อมา ในระยะเวลานี้การส่งส่วยเงินยังค้างอยู่มาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เก็บส่งลดลงกว่าเดิมเป็นคนละ 4 บาท พระภักดีชุมพล (บุญจันทร์รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความเรียบร้อย 13 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม
.2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงภักดีสุนทร (เสงบุตรหลวงขจรนพคุณเป็นพระภักดีชุมพล ตำแหน่งเจ้าเมืองไชยภูมิสืบต่อมา และได้ออกจากราชการเพราะชราภาพ รับเบี้ยหวัดปีละ ชั่ง

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล
ในปี พ.. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระหฤทัย (บัวมาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ ได้เปลี่ยนเขตเมืองชัยภูมิเสียใหม่ โดยยกท้องที่เมืองสี่มุม (ปัจจุบันคืออำเภอจัตุรัส เหตุที่เรียกเมืองสี่มุมเพราะเรียกตามชื่อสระสี่เหลี่ยมเมืองบำเหน็จณรงค์ เมืองภูเขียว เมืองเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งเดิมขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมาให้ยุบเป็นอำเภอขึ้นต่อเมืองชัยภูมิ เมื่อรวมทั้งอำเภอเมืองชัยภูมิด้วยเป็น 5 อำเภอ พระหฤทัย (บัวจัดการบ้านเมืองอยู่ 4 ปีเศษ เมื่อราชการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้กลับกรุงเทพฯ
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบแบ่งเขตหัวเมืองต่าง ๆ ใหม่เป็นมณฑลเป็นจังหวัดเมืองชัยภูมิเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในเขตมณฑลนครราชสีมา ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแบ่งเขตการปกครองแผ่นดิน ให้ยุบมณฑลทั้งหมดเป็นจังหวัด เมืองชัยภูมิเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งมีเจ้าเมืองหรือข้าหลวง หรือผู้ว่าราชการรับผิดชอบในการบริหารแผ่นดินจนถึงปัจจุบันนี้

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด อำเภอจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลด้วย เมื่อได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย สาเหตุที่ยกเลิกก็เนื่องจากการคมนาคมสะดวกขึ้นการสื่อสารรวดเร็ว เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของแผ่นดิน และรัฐบาลมุ่งกระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น
ต่อมาในปี พ.2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด มีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล อำนาจบริหารในจังหวัดได้เปลี่ยนมาอยู่กับคน ๆ เดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษา และได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.. 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็น
1จังหวัด
2อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น ๆ
ประวัติศาสตร์จังหวัดชุมพร
ตราประจำจังหวัด

รูปเทวสตรียืนประทานพรหน้าค่าย มีต้นมะเดื่อขนาบอยู่ ข้าง
คำขวัญประจำจังหวัด
ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม
ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี
ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

ประวัติการตั้งเมือง
คำว่า "จังหวัดชุมพรเพิ่งเริ่มใช้ในปี 2459 โดยทางราชการได้เปลี่ยนนามท้องที่ที่เรียกว่า เมืองอันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลว่า "จังหวัดส่วนคำว่าเมืองให้ใช้สำ หรับเรียกตำบลที่ประชาชนได้เคยเรียกว่าเมืองมาแล้วแต่เดิมอันเป็นเขตชุมชนเท่านั้น ในสมัยโบราณมีชื่อว่า "เมืองชุมพรเมืองชุมพรเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งแต่จะตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน เพิ่งมาปรากฏตามตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหอสมุดแห่งชาติมีความตอนหนึ่งว่า เมื่อศักราชได้ 1098 ปี พระยาศรีธรรมาโศกราช ก็สร้างเมืองลงบนหาดทรายรายรอบเป็นเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสั่งให้ทำ อิฐทำปูนก่อพระธาตุครั้งนั้น และยังมีพระพุทธสิหิงค์ล่องทะเลมาแต่เมืองลังกาถึงเกาะปีนัง และลอยมาถึงหาดทรายแก้วที่จะก่อพระธาตุนั้น ต่อมาพระยาศรีธรรมาโศกราชได้ขุดพบพระธาตุแล้วแบ่งให้พระยาศรีธรรมาโศกราชไปก่อพระเจดีย์ บรรจุพระบรมธาตุที่เหลือไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้วตั้งเมืองสิบสองนักษัตรตามปูมโหรขึ้นแก่เมืองนครศรีธรรมราช ให้ใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีเป็นตราของเมือง นั้น ๆ คือ ปีชวดตั้งเมืองสายถือตราหนูหนึ่ง ปีฉลูเมืองตานีถือตราโคหนึ่ง ปีขาลเมืองกลันตันถือตราเสือหนึ่ง ปีเถาะเมืองปาหังถือตรากระต่ายหนึ่ง ปีมะโรงเมืองไทรถือตรางูใหญ่หนึ่ง ปีมะเส็งเมืองพัทลุงถือตรางูเล็กหนึ่ง ปีมะเมียเมืองตรังถือตราม้าหนึ่ง ปีมะแมเมืองชุมพรถือตราแพะหนึ่ง ปีวอกเมืองปันทายสมอถือตาลิงหนึ่ง ปีระกาเมืองอุลาถือตราไก่หนึ่ง ปีจอเมืองตะกั่วป่าถือตราสุนัขหนึ่ง ปีกุนเมืองกระถือ ตราหมูหนึ่งเข้ากัน 12 เมือง มาช่วยทำอิฐปูนก่อพระธาตุขึ้นตามตำนานนี้เมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้นมีอำนาจมาก ปรากฏว่ามีเมืองชุมพรเป็นเมืองขึ้นอยู่เมืองหนึ่งตั้งแต่ปี พ.1098 เมืองชุมพรในสมัยนั้นปรากฏว่า เป็นเมืองด่านเพราะอยู่ระหว่างช่องแคบมลายู เป็นเมืองด่านหรือแคว้นเทพนครหรือ แคว้นอู่ทอง ในสมัยต่อมาไม่มีหลักฐานที่อ้างอิงหรือกล่าวถึงเมืองชุมพรไว้เลย จึงมีผู้เข้าใจว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา
เมื่อปีจอ พุทธศักราช 1997 (.816ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเจ้าอยู่หัวในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งได้โปรดให้ชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ได้มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าสั่งว่า บรรดาข้าราชการอยู่บนหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงให้ถือศักดินาตามพระราชบัญญัติ และปรากฏว่ามีออกญาเคางะทราธิบดีศรีสุรัตวลุมหนักพระชุมพร เมืองตรีถือศักดินา 5,000 ไร่ เป็นอันรับรู้ว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองตรี และเกิดขึ้นแล้วในแผ่นดินของพระองค์ แต่ต้องเข้าใจว่าก่อนที่จะได้เป็นเมืองตรี เมืองชุมพรจะต้องเป็นเมืองเล็กมาก่อน จึงไม่มีหลักฐานในประวัติศาสตร์ไว้ให้เห็นชัด เพิ่งมาปรากฏแน่ชัดขึ้นว่าเมืองชุมพร เป็นหัวเมืองหนึ่งในหัวเมืองปักษ์ใต้ตั้งแต่ปี พ.1997 เป็นต้นมา หรือประมาณ 500 ปีเศษแล้ว
ประวัติที่ตั้งเมือง
เมืองชุมพรจะตั้งอยู่ ณ ตำบลใด ที่ใดไม่มีหลักฐานที่แน่นอน ทั้งนี้เมืองชุมพรไม่มีโบราณวัตถุที่เป็นพยานหลักฐานว่าเป็นเมืองแต่โบราณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงไว้ในตำนานเมืองระนอง ความตอนหนึ่งว่า เมืองชุมพรประหลาดผิดกับเมืองอื่นในแหลมมลายู เมืองที่ตั้งมาแต่โบราณ เช่นเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นต้น ล้วนมีโบราณวัตถุและมีตัวเมืองปรากฏอยู่บ้าง รู้ได้ว่าเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่เมืองชุมพรยังไม่ได้พบโบราณสถานวัตถุเป็นสำคัญแต่อย่างใด อาจจะเป็นด้วยเหตุ 2 ประการ คือ มีที่นาไม่พอกับคนประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอยู่ตรงคอคอดแหลมมลายู มักเป็นสมรภูมิรบพุ่งกันตรงนี้ จึงไม่สร้างเมืองถาวรไว้ แต่ก็ต้องรักษาไว้เป็นเมืองด่าน นอกจากเหตุผล ประการดังกล่าวแล้ว พิจารณาจากสภาพตามธรรมชาติ แล้วยังมีเหตุผลอีกอย่างหนึ่ง คือ ที่ท้องที่ตั้งจังหวัดชุมพรเป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร เรือกสวนไร่นาเสียหายอยู่เสมอ บางปีน้ำท่วม 2-3 ครั้ง ภัยจากน้ำท่วมอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่นิยมสร้างถาวรวัตถุไว้ให้ปรากฏแก่ชนรุ่นหลังก็ได้ แม้แต่บ้านเรือนราษฎรในเมืองก็ไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างอาคารถาวรเป็นเรือนตึก หรือคอนกรีต เพิ่งจะมีตึกขึ้นเป็นครั้งแรกในตลาดชุมพร เมื่อ พ.2491 นี้เอง
อย่างไรก็ดี จากหลักฐานบางอย่างปรากฏว่ามีหมู่บ้านหนึ่งอยู่ใกล้วัดประเดิม อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำชุมพรเรียกว่า "บ้านวัดประเดิมหรือ "บ้านประเดิมปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 20 ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร พิจารณาตามลักษณะภูมิประเทศจะเห็นว่ามีคลองสองคลองไหลมาเกือบบรรจบกัน และในระหว่างคลองทั้งสอง คือ คลองชุมพรและคลองท่าตะเภา ซึ่งขณะนี้เรียกกันว่าคลองร่วม เมืองชุมพรตั้งอยู่ ณ คลองท่าตะเภา หาใช่ตั้งที่คลองชุมพรตามชื่อเมืองไม่ จึงเป็นเหตุหนึ่งทำให้สันนิษฐานว่า เมืองชุมพรแต่เดิมน่าจะอยู่ที่คลองชุมพรโดยใช้ชื่ออย่างเดียวกัน นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงวัดประเดิมมีวัดใหญ่อยู่บริเวณใกล้เคียงหลายวัดคือ วัดประเดิม วัดนอก วัดพระขวางและวัดวังไผ่ ส่วนวัดประเดิมเป็นวัดใหญ่ที่สำคัญ ชาวบ้านนับถือและพากันไปทำบุญมากกว่าวัดอื่น ๆ ซึ่งตามธรรมดาที่ตั้งเมืองโบราณมักจะมีวัดมากและตั้งอยู่ติด ๆ กัน บริเวณวัดประเดิม ถัดมาทางทิศเหนือ มีอิฐแผ่นใหญ่จมอยู่ในดินบางแห่ง และมีหลักเมืองแห่งหนึ่งใกล้ ๆ วัดประเดิม หลักเมืองนี้ชาวบ้านในปัจจุบันมักไม่ค่อยรู้จักว่าเป็นอะไร เพราะสภาพในปัจจุบันเป็นเพียงหินก้อนหนึ่งปักอยู่ในดินใต้ต้นข่อยใหญ่ ชาวบ้านใกล้เคียงเรียกกันว่า "พระข่อยถือเป็นเทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ตามธรรมดาเมืองโบราณจะต้องมีหลักเมือง พระเสื้อเมืองเป็นประจำเมือง ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ จึงสันนิษฐานว่าเมืองชุมพรเดิมตั้งอยู่ ณ บ้านประเดิม ทางฝั่งซ้ายของเมืองชุมพร จึงมีชื่อตรงกับชื่อคลอง อยู่ห่างจากเมืองชุมพรในปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ต่อมาสันนิษฐานว่าได้ย้ายตัวเมืองไปตั้งอยู่ ณ บ้านท่ายาง ตาบลท่ายาง โดยมีหลักฐานอ้างอิงจากหลักฐานใด เมื่อ พ.. 2357 ปีจอ ฉศก (.. 1176ในรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงส่งสงฆ์ไทย จานวน รูป เป็นสมณทูตออกไปเมืองลังกาโดยทางเรือ โดยมีขุนทรงวิชัยหมื่นไกรคุมเครื่องดอกไม้เงินทองไปบูชาพระเจดีย์ฐานทั้ง 15 ตำบล ครั้นวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 2 เวลา 4 โมง มีคลื่นจัดเรือได้เกยหาดมัทรีปากน้ำชุมพรแตก คณะทูตได้ส่งคนออกหาบ้านคนแล้วโดยสารเรือจับปลามาถึงเมืองชุมพร ได้ขออาหารจากเจ้าอธิการวัดท่ายางบริโภค แล้วพากันมาหาเจ้าเมืองกรมการเมืองชุมพรได้ป่าวร้องให้ราษฎรจัดแจงหาอาหารมาถวายพระสมณทูตแล้วออกไปรับพระสงฆ์สมณทูตกับคณะเข้ามา ณ เมืองชุมพรนิมนต์ให้พระสงฆ์อาศัยในวัดท่ายาง คราวนี้จะเห็นได้ว่า เมืองชุมพรในปี พ.2357 ตั้งอยู่ ณ ตำบลท่ายาง ภูมิฐานของตำบลท่ายางในปัจจุบันนี้ยังมีบ้านเรือนหนาแน่น และใกล้กับปากอ่าวมีเรือสินค้าขนาดใหญ่ไปมาสะดวกบัดนี้ก็ยังเป็นท่าเรือสินค้า มีเรือต่าง ๆ จากกรุงเทพมหานครบรรทุกสินค้ามาขึ้นแล้วบรรทุกรถยนต์ไปในเมืองอยู่เสมอ ท่ายางเป็นตำบลใหญ่ตำบลหนึ่ง ขณะนี้มีวัดถึง 7 วัด วัดที่อยู่ใกล้เคียงตลาดเก่ามีถึง 3 วัดติดกัน คือ วัดท่ายางใต้ วัดท่ายางกลาง และวัดท่ายางเหนือ ตำบลท่ายางจึงน่าจะเป็นที่ตั้งเมืองชุมพรในสมัยต่อมา แต่ย้ายมาเมื่อใดยังไม่พบหลักฐานแน่นอน
เมื่อตรวจสอบหลักฐานที่พอเชื่อถือได้พบว่าเมื่อปี พ.2433 (.. 109) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายู ได้เสด็จประทับที่เมืองชุมพรแล้วทรงม้า ทรงช้างพระที่นั่ง ไปยังเมืองกระบุรี จังหวัดระนอง พลับพลาที่ประทับที่ชุมพรอยู่ทางใต้ของคลองท่าตะเภา โดยมีทุ่งตีนสาย หนองหว้า หนองหวาย ตำบลกรอกธรณี ปัจจุบันขึ้นกับคลองท่าตะเภา โดยมีทุ่งตีนสาย หนองหว้า หนองหวาย ตำบลกรอกธรณี (ปัจจุบันคือตำบลตากแดดอยู่หลังพลับพลาทุ่งตีนสายยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ อยู่ใกล้วัดสุบรรณนิมิตรไปทางทิศตะวันตกและได้ทรงเรือข้ามไปที่บ้านท่าตะเภา ขึ้นที่หน้าบ้านเจ้าเมืองก่อนแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปตามริมฝั่งบ้านเรือนราษฎร จึงเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อพ.2433 (.109เมืองชุมพรได้มาตั้งอยู่ที่คลองท่าตะเภาแล้ว ตัวเมืองและสถานที่ราชการหาใช่ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ อยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับทุ่งตีนสายและบริเวณบ้านท่าตะเภาเหนือ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จโดยทางเรือพระที่นั่ง 12 กรรเชียง ถึงพลับพลาที่ท่าตะเภาเหนือไปถึงหมู่บ้านที่เป็นเมืองชุมพร เวลาจวนค่ำเสด็จพระราชดำเนินที่หมู่บ้านท่าตะเภาอำเภอเมืองชุมพรตลาดท่าตะเภาเดิมอยู่ตรงข้ามบ้านทุ่งตีนสาย บริเวณระหว่างที่ทำการป่าไม้จังหวัดกับตลาดในปัจจุบันนี้ตลาดท่าตะเภานี้แต่เดิมเป็นป่ามีเสือชุกชุมมากจนขึ้นชื่อว่า เสือชุมพรดุมาก เมื่อทางราชการตัดทางรถไฟสายใต้ผ่านตัวเมืองชุมพร ป่าเสือก็กลายสภาพเป็นตลาดการค้า ต่อมาตัวเมืองได้ย้ายอีกแต่ไม่ทราบว่าเมื่อใด เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่จะต้องหลังจาก พ.2433 (.109แล้ว ปรากฏว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดการปกครองท้องที่ใหม่ โดยแบ่งการปกครองออกเป็นเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หลายเมืองรวมเป็นมณฑลเทศาภิบาล ในปีพุทธศักราช 2439 (.. 115) ได้ตั้งมณฑลชุมพรขึ้น ตั้งศาลารัฐบาล ณ จังหวัดชุมพร ปรากฏหลักฐานว่าตัวเมืองชุมพร ได้ย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่ริมคลองท่าตะเภา คือที่ปลูกบ้านพักนายอำเภอเมืองชุมพรอยู่ใกล้จวนผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบัน
เหตุผลที่จำเป็นต้องย้ายเมืองจากบ้านประเดิม และตำบลท่ายางมาอยู่ที่คลองท่าตะเภา ไม่พบหลักฐาน ณ ที่ใด แต่เท่าที่ค้นคว้าน่าจะเป็นเพราะเหตุสองประการดังต่อไปนี้ คือ
(1คลองชุมพรอันเป็นที่ตั้งเมืองมาแต่เดิม เคยใช้เป็นทางเรือสำเภาใหญ่ ๆ สัญจรและบรรทุกสินค้าไปมากับจังหวัดใกล้เคียงและต่างประเทศมีระยะไกลจากปากอ่าว ประกอบกับคลองท่าตะเภาเป็นท่าเรืออยู่ก่อนแล้ว ความเจริญก็มีมาก ทำเลการทำมาหากินก็ดีขึ้น ประกอบกับขณะนั้นประชาชน ณ เมืองชุมพรเดิมคงจะถูกพม่ารุกรานจึงเที่ยวหลบซ่อนหาที่ตั้งบ้านเรือนใหม่ จึงได้อพยพกันมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินที่บ้านท่าตะเภามากขึ้นกลายเป็นท้องที่ที่ประชาชนหนาแน่น จึงเป็นเหตุหนึ่ง ให้ย้ายเมืองชุมพรไปจากบ้านประเดิม
(2ปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมืองชุมพรถูกพม่าข้าศึกยกทัพมาย่ำยีหลายครั้ง ที่สำคัญมี 2 ครั้ง คือ
ในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ เมื่อ พ.2307  ปีจอ ฉศก (.1126 พระเจ้าอังวะมังระแห่งพุกามประเทศ ได้จัดกองทัพใหญ่พลฉกรรจ์สองหมื่นห้าพันมาตีกรุงศรีอยุธยา แยกไปทางเหนือทัพหนึ่ง แยกไปทางใต้ทัพหนึ่ง มีมังมหานรธาโบชุกเป็นแม่ทัพถือพลหมื่นห้าพันยกมาตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี หุยตองจาเจ้าเมืองทวายสู้ไม่ได้หลบหนีเข้าไปทางเมืองกระเข้ามาอยู่เมืองชุมพร ทัพพม่ายกติดตามไป เมื่อตีได้แล้วเผาเมืองชุมพรเสียแล้วยกเข้ามาตีเมืองปะทิว เมืองกุย เมืองปรานแตกทั้งสามเมือง แล้วกลับเข้าไปเมืองทวาย
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.2238 ปีมะเส็ง สัปตศก (.1147 พระเจ้าปดุงแห่งประเทศพม่า จัดกองทัพใหญ่มีพลหนึ่งแสนสามพันคน แยกเป็นหลายกองทัพมาย่ายีประเทศไทย ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่มาจนถึงเมืองถลาง (ภูเก็ตทางด้านปักษ์ใต้ได้แก่หวุ่นแมงญีเป็นแม่ทัพใหญ่ให้เนมโยตุงนรัตน์เป็นแม่ทัพหน้ายกมาทางเมืองกระ เมืองระนองเข้าตีเมืองชุมพร เจ้าเมืองกรมการเมืองชุมพรมีไพร่พลสำหรับป้องกันเมืองน้อยก็เทครัวเข้าป่า ทัพพม่ายกเข้าตีเมืองชุมพรได้แล้วเผาเมืองชุมพรเสีย ทัพหน้าเลยเข้าไปตีเมืองไชยา แล้วก็เผาเมืองไชยาเสียด้วย ส่วนทัพใหญ่ยังคงตั้งอยู่เมืองชุมพรต่อมากองทัพหลวงมาจากกรุงเทพฯ จึงตีกองพม่าแตกไป ในสมัยนี้บ้านเมืองก็คงจะร่วงโรย มีผู้คนเหลือน้อย ต่างกระจัดกระจายกันไป เช่นเดียวกับเมืองระนอง เมื่อเมืองชุมพรได้มาตั้งอยู่คลองท่าตะเภาแล้วที่ตรงนั้นอยู่ริมน้าตกถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้ย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งเป็นบริเวณหน้าศาลจังหวัดชุมพรในปัจจุบันเป็นสมัยที่พระสาเริงนฤปการเป็นเจ้าเมือง
ในปี พ.2460 พระยาคงคาธราธิบดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลสุราษฎร์ ได้ขอเงินงบประมาณเพื่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ที่ตำบลท่าตะเภา คือ บริเวณเทศบาลเมืองชุมพร และสานักงานที่ดินจังหวัดในปัจจุบัน ก่อสร้างเสร็จเปิดทำงาน ณ ศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ เมื่อ 3 เมษายน 2462 เวลา 08.00 นในสมัยอำมาตย์ตรีพระชุมพรศรีสมุทรเขต (บัวเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงถือว่า วันที่ เมษายน เป็นวันที่ระลึกของจังหวัดชุมพร เมืองชุมพรได้เป็นที่ศาลารัฐบาลมณฑลชุมพรด้วย เมื่อเริ่มตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้ว ในปี พ.. 2437 มีเมืองขึ้นกับมณฑลนี้ 3 เมือง คือ เมืองสุราษฎร์ธานี เมืองชุมพร และเมืองหลังสวน ต่อมาใน พ.2448  (.124ได้ย้ายศาลาเทศบาลมณฑลชุมพรไปอยู่ที่บ้านดอน ซึ่งเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน เพราะเหตุน้ำท่วมในปี พ.2458 ได้เปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็นมณฑลสุราษฎร์ธานี ให้ตรงกับท้องที่ที่ตั้งมณฑลในปี พ.2468 ได้ประกาศยกเลิกมณฑลสุราษฎร์ธานี และโอนการปกครอง 3 จังหวัด รวมทั้งจังหวัดชุมพรด้วยไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช หลังจากยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลทุกมณฑลในปี พ.2476 เป็นเหตุให้ยกเลิกมณฑลนครศรีธรรมราชไปด้วย จังหวัดชุมพรจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักร ขึ้นตรงต่อราชการบริหารส่วนกลางจนทุกวันนี้
ประวัติคำว่าชุมพร
คำว่า “ชุมพร” ตามอักษรแยกได้เป็น คำ คือ “ชุม” คำหนึ่งและ “พร” คำหนึ่ง คำว่า “ชุมตามปทานุกรมของกระทรวงศึกษาธิการแปลว่า รวม,ชุก,มาก รวมกันอยู่ คำว่า “พร” แปลว่า ของดีของที่เลือกเอา.ของประเสริฐ คำว่า ชุมพรตามตัวอักษร จึงแปลได้ความว่าเป็นที่รวมของประเสริฐ แต่ชื่อเมืองชุมพรนั้น ไม่มีความหมายเฉพาะตามตัวอักษร
ชุมพรเป็นชื่อเมืองมาแต่โบราณ ตามตำนานการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชได้มีการสร้างเมืองสิบสองนักษัตร เมืองชุมพรเป็นเมืองหนึ่งในสิบสองนักษัตรเป็นปีมะแม ถือตราแพะ และปรากฏหลักฐานแน่นอนว่า มีชื่อชุมพรมาแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ชื่อนี้มีความหมายหรือประวัติความเป็นมาอย่างไร ยากที่จะค้นคว้าหาหลักฐานได้ การที่จะสืบสวนไปว่ามีความอย่างใด ก็ต้องพิจารณาประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาแต่โบราณสมัย พิจารณาดูตามเหตุผล เท่าที่รวบรวมและพิจารณาดู พอจะแยกออกได้เป็น ประการ คือ
(1เนื่องด้วยเมืองชุมพร ว่าโดยสภาพเป็นเมืองหน้าด่านในทางภาคใต้ เพราะสมัยโบราณยังไม่มีรถไฟ เรือยนต์ หรือ เรือกลไฟ ใช้ในกองทัพและพื้นที่ก็เป็นคอคอดที่แคบของแหลมมลายู การยกทัพต้องยกมาทางบก และตั้งค่ายที่ชุมพร ฉะนั้น การสงครามหรือการรบทุกครั้งไม่ว่าจะรบกับพม่าหรือปราบกบฏภายในราชอาณาจักรก็ตาม เมื่อยกทัพหลวงมาครั้งใด เมืองชุมพรก็ต้องเป็นที่ชุมนุมพลหรือชุมนุมกองทัพ ชาวชุมพรในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักรบ เมื่อพม่าได้เคลื่อนทัพเข้ามาในดินแดนทางเมืองท่าแซะและตำบลรับร่อ เจ้าเมืองจะเกณฑ์ไพร่พลเข้าป้องกันอย่างเข้มแข็งและเมืองชุมพรต้องร่วมสมทบกับกองทัพด้วย จะเห็นได้ว่าเมืองชุมพรมีส่วนร่วมในการสงครามเกือบทุกครั้งตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จึงเชื่อกันว่าชุมพรมาจาก คาว่า “ประชุมพลหรือชุมนุมพล” นั่นเอง คำว่าประชุมพล แปลได้ความว่า รวมกำลัง ทั้งนี้โดยเหตุที่ว่า ก่อนจะยาตราทัพต้องมาประชุมพลหรือรวมกำลังออกเป็นหมวดหมู่ทุกครั้ง แต่คำว่าประชุมพลนี้เรียกผิดเพี้ยนไปจากเดิมจนกลายเป็นชุมพร เพราะคนไทยทางใต้ชอบพูดคำสั้น ๆ จึงตัดคำว่าประออกเสีย ส่วนคำว่าพลต่อมาใช้คำว่าพรแทน เพราะการเพี้ยนไปจากเดิมจึงกลายเป็นชุมพรมาจนทุกวันนี้ ซึ่งตามธรรมดา ชื่อเมือง ชื่อตำบล มักจะเรียกเพี้ยนไปจากเดิมเสมอ อย่างไรก็ดีเมืองชุมพร นับว่าเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์มาแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบัน แม้แต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.2484 กองทัพญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกที่ปากน้ำชุมพรแล้วจึงยาตราทัพต่อไปยังประเทศพม่าตามแผนการที่วางไว้ขณะนี้ชุมพรยังมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ จะเห็นได้ว่าเป็นจังหวัดทหารบกและมีกองกำลัง ร25 พัน 1 ตั้งอยู่ ฉะนั้น ความหมายจากคำว่าประชุมพล จึงมีความหมายตรงกับประวัติศาสตร์ของเมืองที่ว่าเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์
(2โดยเหตุที่ที่ตั้งเมืองเดิม อยู่บ้านประเดิมฝั่งขวาของคลองชุมพร ที่คลองชุมพรมีต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ทั่วไปทั้งสองฟากคลองเรียกกันว่า “มะเดื่อชุมพร” เป็นพืชยืนต้น ปัจจุบันก็มีอยู่มาก ใช้เปลือกและต้นทำยาสมุนไพร คลองนี้เดิมยังคงไม่มีชื่อ ภายหลังจึงถูกตั้งชื่อว่า คลองชุมพร ตามต้นไม้ไปด้วย เพราะตามปกติการตั้งชื่อท้องที่หรือแม่น้ำลำคลองมักจะเรียกตามชื่อต้นไม้หรือตามสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ ณ ที่นั้น เช่นเดียวกับที่อำเภอท่าแซะมีชื่อต้นไม้แซะซึ่งขึ้นอยู่ข้างคลอง ต่อมาเมืองที่มาตั้งจึงมีชื่อตามต้นไม้ไปด้วย เช่นเดียวกับชื่อชุมพร อาจเรียกตามชื่อคลองหรือชื่อต้นไม้ก็เป็นได้ คำว่าชุมพรนอกจากจะมีต้นไม้แล้ว ยังเรียกชื่อหวายชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสินค้าของชุมพร คือหวายชุมพรอีกด้วย ซึ่งมีอยู่มากมายตามต้นคลองชุมพรโดยทั่วไป
(3ตามตัวอักษรที่แปลว่า เป็นที่รวมของประเสริฐหรือของดีนั้น ผู้ที่จะให้ของประเสริฐได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีอำนาจหรืออิทธิพลยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา จึงอาจหมายถึงเทวดาเป็นผู้ให้ หรือเป็นสถานที่ที่เทวดาประทานพรทั้งหลายให้ ซึ่งตามธรรมดาบุคคลชอบสิ่งที่เจริญหรือเป็นมงคล จึงต้องการให้ชื่อเมืองเป็นมงคลนาม เป็นที่รวมแต่สิ่งที่เป็นมงคลทั้งหลาย ต่อมาได้เรียกผิดเพี้ยนไปคงเหลือแต่ชุมพร เพราะคนไทยทางใต้ชอบเรียกคำสั้น ๆ ตามความหมายที่มาจากคำว่า “ประชุมพร
เมื่อได้ทราบประวัติความเป็นมาทั้งสามประการแล้วจะเห็นได้ว่า คำว่าประชุมพรนั้นมีเหตุผลทางประวัติศาสตร์สมกับที่จารึกไว้ว่า ชาวชุมพรมีน้ำใจเป็นนักรบ เพราะการตั้งชื่อเมืองหรือการตั้งชื่อใด ๆ ก็ตาม ย่อมจะมีความหมายสำคัญในชื่อที่ตั้งนั้น ส่วนที่ว่าชุมพรมาจากคำว่ามะเดื่อชุมพรนั้นหรือมาจากเทวดาประชุมพรให้ก็ดี สันนิษฐานว่ามาคิดค้นหาเหตุผลภายหลังไม่มีความหมายตรงตามประวัติศาสตร์ 
ประวัติอาณาเขต
เมืองชุมพรมีศักดิ์เป็นเมืองตรี จึงมีเมืองเล็ก ๆ เป็นเมืองขึ้น เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาชุมพรตามนามของเมืองในสมัยโบราณ มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมีอาณาเขตจดทะเลทั้งสองข้าง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดเมืองตะนาวศรี ทิศเหนือจดเมืองกำเนิดนพคุณ ทิศใต้จดเมืองไชยา ทิศตะวันออกจดอ่าวไทย ทิศตะวันตกจดมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองขึ้นในครั้งนั้น 7 เมือง คือ เมืองปะทิว เมืองท่าแซะ เมืองตะโก เมืองหลังสวน เมืองตระ (อำเภอกระบุรีในปัจจุบันเมืองมะลิวัน เมืองระนอง ภายหลังได้รวมเอาเมืองกำเนิดนพคุณ (อำเภอบางสะพานในปัจจุบันมาขึ้นด้วย ส่วนเมืองตะโกเดิมต่อมาได้ยุบเป็นตำบลขึ้นต่ออาเภอสวี ปัจจุบันเป็นอำเภอทุ่งตะโก เมืองขึ้นเหล่านี้ในครั้งหลังได้ถูกตัดแยกออกไปตั้งเมืองใหม่บ้าง ด้วยเหตุอื่นบ้าง จึงทำให้อาณาเขตของชุมพรลดน้อยลงไปตามลำดับ เฉพาะเมืองที่ตัดแยกออกไปอยู่ในปกครองของจังหวัดอื่น มีประวัติดังต่อไปนี้
(1) เมืองมะลิวัน
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อังกฤษได้มาปกครองเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในครั้งก่อน อังกฤษขอปันเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ ณ เมืองมะลิวัน โดยกำหนดให้แม่น้ำกระบุรีเป็นเขตแดนฝ่ายไทย ส่วนเขตแดนอังกฤษอยู่เพียงแนวเขาเป็นเขต โดยถือเอาแม่น้ำปากจั่นเป็นฝ่ายไทย จึงโปรดเกล้าให้พระยายมราชสุด (จ๋อกับพระยาเพชรกาแหงสงคราม(ครุฑไปเจรจากับอังกฤษ แต่ไม่เป็นที่ตกลง จนถึงรัชกาลที่ โปรดให้พระยาเพชรบุรี พระยาเพชรกำแหงสงคราม และพระยาชุมพร (กล่อมไปเจรจาปันเขตแดน ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า ความเรื่องนี้ 2 แผ่นดินแล้วยังไม่ตกลงกันได้ควรประนีประนอมผ่อนผัน จึงให้กรรมการปันเขตแดนทั้ง ท่านทำความตกลงเอง โดยถือเอาแม่น้ำกระบุรีเป็นเขตแต่มีข้อสัญญาปลีกย่อยเรื่องโจรผู้ร้ายข้ามแดนอังกฤษ เมืองมะลิวันซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นชุมพรและเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย จึงตกเป็น
เมืองขึ้นของอังกฤษด้วยความจำเป็น เมื่อปีชวดพุทธศักราช 2407 เมืองมะลิวันเมื่อขึ้นอยู่กับอังกฤษตั้งชื่อว่า Victoria Point ไทยเรียกว่าเกาะสอง ขณะนี้เป็นอำเภอชั้นเอก ขึ้นอยู่กับเขตทวาย จังหวัดมะริด ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
(2) เมืองระนอง
เมืองระนองแต่เดิมเป็นเมืองแขวง (ปัจจุบันเทียบเท่ากับอำเภอขึ้นต่อเมืองชุมพรเมื่อปีขาลพุทธศักราช 2397 ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งเจ้าเมืองว่างลงจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง ต้นตระกูล ณ ระนองขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เจ้าเมืองระนอง แต่ยังเป็นเมืองขึ้นของชุมพรอยู่ ต่อมาเมื่อปีจอ พ.2405 (.. 1224พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี เจ้าเมืองระนองขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐีและยกฐานะเมืองระนองขึ้นมีศักดิ์เป็นเมืองจัตวา ขึ้นต่อกรุงเทพมหานคร ครั้นปี พ.. 2459 เปลี่ยนชื่อมาเป็นจังหวัดระนองจนกระทั่งทุกวันนี้
(3) เมืองตระ
เมืองตระปัจจุบันเรียกว่าอำเภอกระบุรี ขึ้นกับจังหวัดระนอง แต่เดิมเมืองตระเป็นเมืองเล็กขึ้นต่อเมืองชุมพร เมื่อปีจอ พุทธศักราช 2405 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองตระกับเมืองระนองเป็นเมืองจัตวาขึ้นต่อกรุงเทพฯ โดยแยกเมืองตระให้ไปขึ้นกับเมืองระนองที่ตั้งใหม่ เมืองตระจึงแยกจากเมืองชุมพรแต่นั้นมา
(4) เมืองกำเนิดนพคุณ
เมืองกำเนิดนพคุณ สมัยก่อนเป็นตำบลเล็กๆ ขึ้นต่อเมืองกุยบุรีในสมัยอยุธยา พ.. 2290 (.1109ได้พบแร่ทองคำในตำบลนี้ ภายหลังในปีพ.2392 ในรัชกาลที่ ทรงตั้งเป็นเมืองชื่อว่าเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งหมายถึงเมืองที่มีแร่ทองคำ ต่อมาได้มาขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.2449 (.125มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองปราณบุรี ซึ่งแต่เดิมเป็นอำเภอขึ้นเมืองเพชรบุรี และเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งเป็นอำเภอขึ้นเมืองชุมพร รวม เมืองเป็นเมืองเดียวกัน โดยโอนท้องที่เมืองกำเนิดนพคุณมารวมกับเมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ ตั้งเป็นเมืองจัตวาอีกเมืองหนึ่ง เรียกว่า "เมืองปราณบุรีขึ้นกับมณฑลราชบุรี ต่อมาเมืองปราณบุรีได้เปลี่ยนเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเมืองกำเนิดนพคุณมีชื่อว่าอำเภอบางสะพาน โดยมีอาณาเขตหลักคือเขาไชยราชเป็นที่แบ่งเขตแดนระหว่างชุมพร (อำเภอปะทิวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาจนทุกวันนี้
ประวัติเหตุการณ์สำคัญ
โดยเหตุที่เมืองชุมพรเป็นเมืองหน้าด่านมาแต่โบราณ โดยเฉพาะในการสงครามกับพม่า และมีส่วนร่วมในการปราบปรามภายในราชอาณาเขตหลายครั้งหลายหน จึงเชื่อว่า ชาวชุมพรมีน้ำใจเป็นนักรบซึ่งบางเรื่องก็ได้กล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วแต่อย่างไรก็ดียังมีการสงครามเกี่ยวกับชุมพรอีกหลายครั้ง ซึ่งควรจะนามากล่าวไว้ ณ ที่นี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวชุมพรในอนาคตจึงได้รวบรวมประวัติการสงครามและการรบ ซึ่งเมืองชุมพรมีส่วนร่วมในสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตามที่ปรากฏในพงศาวดารโดยสังเขปมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วย
สมัยอยุธยา
1. ในแผ่นดินของสมเด็จพระมหาบุรุษ (สมเด็จพระเพทราชาเมื่อปีขาลอัฐศก พ.2229 (.. 1048 )เจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นขบถแข็งเมืองจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสงครามเป็นแม่ทัพบก พระยาราชวังสันเป็นแม่ทัพเรือคุมกองทัพไปปราบปรามเมืองนครศรีธรรมราช ในทางกองทัพบกได้ยาตราทัพผ่านมาทางเมืองชุมพร และได้เกณฑ์เอาผู้รั้งเอากรมการเมืองชุมพร เมืองไชยาถือพลหัวเมืองทั้งปวงเข้ามาบรรจบทัพบกไปราชการสงครามนั้นด้วย
2เมื่อ พ.2307 ปีจอ ฉศก จ.1126 ในแผ่นดินพระบรมราชาที่ 3 (พระที่นั่งสุริยามรินทร์) พระเจ้าอังวะมังระแห่งกรุงพุกามประเทศได้จัดกองทัพพลฉกรรจ์สองหมื่นห้าพันคนมาตีกรุงศรีอยุธยาจัดทัพใหญ่แยกเป็น 2 ทัพไปทางเหนือทัพหนึ่งให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพไปทางใต้ทัพหนึ่ง ให้มังมหานรธาโบชุกเป็นแม่ทัพ ถือพลหนึ่งหมื่นห้าพันยกมาตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี หุยตองจาเจ้าเมืองทวายสู้ไม่ได้หนีไปทางเมืองกระแล้วไปอาศัยอยู่ในเมืองชุมพร ทัพพม่ายาตราทัพตามลงมาไปตีได้เมืองชุมพร แล้วเผาเมืองชุมพรเสียครั้นแล้วยกไปตีเมืองปะทิว เมืองกุย เมืองปราณแตก ทั้งสามเมือง แล้วยกกลับเมืองทวาย
สมัยธนบุรี
เมื่อ พ.. 2317 ปีกุน นพศก (.1129หลวงนายสิทธิ์เป็นที่พระปลัดว่าราชการเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ ยังหาได้ตั้งเจ้าเมืองไม่ ครั้นทราบว่ากรุงเทพฯ เสียแก่พม่าข้าศึก จึงตั้งตัวเป็นเจ้าครองเมืองนครศรีธรรมราช คนทั้งหลายเรียกว่า เจ้านคร มีอาณาเขตแผ่ไปข้างนอกถึงแดนเมืองแขกข้ามไปถึงเมืองชุมพร ปะทิว แบ่งแผ่นดินออกไปอีกส่วนหนึ่งและแต่งตั้งขุนนางตามตำแหน่ง เหมือนในกรุงเทพฯ ทุกอย่าง
ครั้นถึง พ.. 2312 ปีฉลู เอกศก (.1131หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ข้าศึก และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทาการกู้อิสรภาพได้และได้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีแยกเป็นแม่ทัพกับพระยายมราช พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาเพชรบุรี ถือพลห้าพันพร้อมด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ยกกองทัพไปทางเมืองเพชรบุรีไปถึงเมืองปะทิว ชาวเมืองชุมพรยกครอบครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น และนายมั่นคนหนึ่งได้พาสมัครพรรคพวกเข้ามาหาแม่ทัพขอสวามิภักดิ์เป็นข้าราชการ เจ้าพระยาจักรีจึงบอกมาให้กราบทูล จึงมีพระราชดำรัสโปรดให้มีตราตั้งให้นายมั่นเป็นพระชุมพร (เจ้าเมืองชุมพรให้เกณฑ์เข้าในกองทัพด้วยแต่คราวนั้นเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราชไม่สาเร็จต่อเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยาตราทัพเรือมาช่วยจึงตีเมืองนครศรีธรรมราชได้
สมัยรัตนโกสินทร์
1เมื่อ พ.. 2328 ปีมะเส็ง สัปตศก (.1147ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจ้าปดุงแห่งประเทศพม่าจัดกองทัพใหญ่มีพลหนึ่งแสนสามพันคน แบ่งออกเป็นหลายกองทัพเข้ามาย่ายีประเทศไทยจากเหนือมาใต้ ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ตลอดมาจนถึงเมืองถลาง (ภูเก็ตทางภาคใต้ได้ยกกองทัพมาพร้อมกัน ณ เมืองมะริด แกงหวุ่นแมงญีเป็นแม่ทัพใหญ่ ให้กีหวุ่นเป็นแม่ทัพเรือไปตีเมืองถลางให้เนยโยตุงนรัตเป็นแม่ทัพบกยกมาทางเมืองกระ เมืองระนองเข้าตีเมืองชุมพร เมื่อแกงหวุ่นแมงญีแม่ทัพใหญ่หนุนมาสองทัพ เป็นคนเจ็ดทัพ ทัพหน้ายกเข้าตีเมืองชุมพร เจ้าเมืองกรมการเมืองมีไพร่พลน้อยเห็นจะต่อรบไม่ได้จึงเทครัวหนีเข้าป่า ทัพพม่าเข้าเมืองได้ เผาเมืองชุมพรเสีย กองทัพพม่าก็ล่องออกไปตีเมืองไชยา แม่ทัพใหญ่ยังตั้งค่ายอยู่ ณ เมืองชุมพร ครั้งนั้นทัพหลวงยังหายกทัพออกมาช่วยไม่ได้ ด้วยราชการศึกยังติดพันอยู่ทางเมืองกาญจนบุรี เมื่อเจ้าเมืองกรมการเมืองได้ทราบข่าวเมืองชุมพรเสียแล้วก็มิได้สู้รบยกครัวหนีเข้าป่าไป ทัพพม่าเข้าเผาเมืองไชยาแล้วก็ยกเลยไปตีเมืองนครศรีธรรมราช และยึดเมืองไว้เมื่อเสร็จศึกพม่าทางด้านเมืองกาญจนบุรีแล้ว จึงมีพระราชดารัสให้พระอนุชาธิราช สมเด็จพระนครราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทยกกองทัพเรือ พลรบพลแจวสองหมื่นเศษไปช่วยหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อทัพเรือมาถึงเมืองชุมพรก็ยกพลขึ้นบกตั้งค่ายหลวง ณ เมืองชุมพร จัดกองทัพใหญ่ไปตั้งอยู่ ณ เมืองไชยา กองทัพไทยกับกองทัพพม่าได้สู้รบกันใหญ่ทางเมืองไชยา พม่าสู้ไม่ได้แตกหนีกระจัดกระจายไป และการรบครั้งนี้พม่าถูกจับเป็นเชลยส่งมายังกรุงเทพฯ มากมาย
2เมื่อ พ.2329 ปีมะเมีย อัฏฐศก (.1148ในรัชกาลที่ 1 พม่ายกกองทัพเข้าไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปต่อสู้กับพม่า ผ่านไปทางเมืองชุมพร แล้วกองทัพไทยได้ตีกองทัพพม่าแตกหนีไปสิ้น
3เมื่อ พ.2336 ปีฉลู (.1155ในรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทยกกองทัพไปตีเมืองมะริด และมาตั้งทัพต่อเรือรบอยู่ริมทะเลหน้านอกเขตแขวงเมืองชุมพร (เมืองระนองเมื่อต่อเรือเสร็จแล้วได้ยาตราทัพตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี มีชัยชนะจวนจะได้อยู่แล้วก็พอดีมีพระราชโองการให้นำกองทัพกลับกรุงเทพฯ เสียก่อน
4เมื่อพ.2338 ปีเถาะ (.1157ในรัชการที่ 1 พม่าข้าศึกได้ยกกองทัพเรือไปย่ำยีฝั่งทะเลตะวันตกและตีได้เมืองถลาง จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพลภาพ (บุนนาคเป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพเรือมาขึ้นบกที่เมืองชุมพร เดินทัพทางบกไปยังเมืองถลาง ตีได้เมืองถลางคืน กองทัพพม่าแตกหนีไปและจับพม่าเป็นเชลยมากมาย
5เมื่อ พ.2352 ปีมะเส็ง เอกศก (.. 1171) ในรัชกาลที่ 2 พระเจ้าปดุงแห่งประเทศพม่าได้ให้อะเติ่งวุ่นเป็นแม่ทัพยกมาตั้งเมืองทวายแล้วให้แยมองเป็นแม่ทัพเรือไปตีเมืองถลางให้คุเรียสาระภะยอคุมพลสามพันขึ้นที่เมืองระนองตีเมืองมะลิวัน เมืองระนองและเมืองกระบุรี คุเรียง สาระกะยกกองทัพมาตั้งอยู่ที่ปากจั่นแขวงเมืองกระบุรีและเข้าเมืองชุมพรได้เมื่อวันเสาร์เดือนสิบสอง ขึ้นสิบสองค่ำ ยังไม่ทันที่จะตีต่อไปที่อื่นก็พอดีมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมพลยกกองทัพไปสู้กับพม่า กองทัพไทยได้ยกมาทางบกเมื่อมาถึงเมืองชุมพร พม่ากาลังตั้งค่ายรักษาเมืองอยู่ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ให้พระยาจ่าแสนยากร (บัวเข้าตีกองทัพพม่าที่เมืองชุมพร พม่าต้านทานไม่ได้ก็แตกหนีไปกองทัพไทยได้เข้าฟันพม่าและตามจับได้ที่เมืองชุมพรและเมืองตะกั่วป่าเป็นอันมาก กองทัพหลวงที่ยกมาคราวนี้ยังคงอยู่ในที่เมืองชุมพรเป็นเวลานานและได้ส่งกองทัพออกไปปราบปรามทำลายกองทัพพม่าจนหมดสิ้นจึงได้ยกกองทัพกลับกรุงเทพมหานคร
6เมื่อ พ.2367 ปีวอก (.1186ในรัชกาลที่ 3 ไทยได้เข้าร่วมกับอังกฤษเพื่อรบพม่า จึงทรงให้จัดกองทัพให้พระยามหาโยธาคุมกองทัพหนึ่ง พระสุรเสนา พระยาพิพัฒน์โกษาทัพหนึ่งไปทางด่านเจดีย์สามองค์ และได้มีตราสั่งให้เกณฑ์กองทัพเมืองชุมพร เมืองไชยา โปรดเกล้าฯ ให้พระยาชุมพร (ซุยคุมกองทัพเรือยกขึ้นไปทางเมืองมะริดและเมืองทวายอีกพวกหนึ่งเพื่อไปจัดทัพฟังข้อราชการว่าศึกจะผันแปรประการใด ต่อมาพระยาชุมพรคุมเรือรบเก้าลาขึ้นไปจับพม่าถึงปากน้ำเมืองทวาย ได้ครัวพม่า 70 ครัวเศษ ส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เวลานั้นอังกฤษตีได้เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แล้วทรงดำริว่า ลักษณะสงครามทางเมืองพม่าผันแปรไป เดิมคิดว่าผู้คนพม่าจะเป็นข้าศึกต่อสู้กับไทยกลับไปเป็นข้าศึกพม่าอ่อนน้อมต่อไทยบ้างต่ออังกฤษบ้าง จะเอากำลังไปกวาดต้อนครอบครัวในฐานะเป็นข้าศึกก็ไม่สมควรจึงจัดกองทัพไปสมทบอีกเพื่อฟังเหตุการณ์ต่อไป
เมื่อเดือนยี่ปีวอก พ.2376 นายพันตรีปริม คุมทหารรักษาเมืองมะริด ได้ทราบความว่ามีกองทัพเรือไทยไปเที่ยวต้อนจับคนในเมืองมะริด จึงแต่งตั้งให้นายร้อยโทเครเวอ คุมทหารลงเรือไปสืบความไปพบเรือไทยอยู่ห่างเมืองมะริดทางสัก 3 ชั่วโมง เป็นเรือขนาดใหญ่ มีกันเชียง ตีลำละ 60 ถึง 80 กรรเชียง อยู่ด้วยกันประมาณ 30 ลำ นายร้อยโทเครเวอ จึงให้ยกธงอังกฤษกับธงขาวขึ้นเป็นสัญญาณเรือรบไทยจึงยกธงตอบแล้วรออยู่ นายร้อยโทเครเวอ ไปพบนายทัพไทย คือ พระยาชุมพร (ซุยจึงบอกว่าอังกฤษตีเมืองมะริดได้แล้ว ขอให้ปล่อยพวกเมืองมะริดที่จับมา นายทัพไทยชี้แจงว่าไม่ทราบว่าอังกฤษตีได้ รับว่าพรุ่งนี้จะปล่อยเชลย 400 คนที่จับได้มา แต่ต้องขอหนังสือสำคัญของเจ้าเมืองมะริดเพื่อจะบอกไปทางกรุงเทพฯ อยู่ต่อมา 3 วัน กองทัพไทยได้ส่งเชลยให้ 90 คนคืนนั้น เรือรบไทยก็ออกจากเมืองมะริดหมด อังกฤษติดตามพบเรือรบไทยหลงอยู่ 6 ลำ จึงจับเรือและคนรวม 145 คน มีพระเทพชัยบุรินทร์ เจ้าเมืองท่าแซะเป็นหัวหน้าเอาไปไว้เมืองมะริด ว่าถ้าคนไทยส่งเชลยเมืองมะริดคืนให้หมดเมื่อใดจึงจะปล่อย อังกฤษได้ร้องเรียนไปกรุงเทพฯ เพื่อทรงทราบเห็นว่าพระยาชุมพรละเมิดท้องตราที่ได้สั่งไปครั้งหลังจึงให้หาพระยาชุมพร (ซุยเข้ามาถอดเสียจากตาแหน่งแล้วไว้ ณ กรุงเทพฯ เพราะมีความผิดไปตีครัวชาวมะริดของอังกฤษ เขามาตามขอดี ๆ ไม่ได้สู้รบกันก็แพ้เขา ทาให้เสียพระเกียรติยศต่อมาพระยาชุมพร (ซุยได้ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ
7เมื่อ 8 ธันวาคม พ.. 2484 กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ปากน้ำอำเภอเมืองชุมพร เพื่อจะเดินทางไปยึดครองประเทศพม่าตามแผนการ จึงได้เกิดการสู้รบกันขึ้นกับชาวเมืองชุมพร อันมียุวชนทหารตารวจ ทหารบก ข้าราชการพลเรือนและประชาชนผู้รักชาติ หลังจากสู้รบกันอยู่ ชั่วโมงเศษ ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นได้ตกลงทำสัญญาร่วมรบกัน จึงได้หยุดการสู้รบและกองทัพญี่ปุ่นก็ได้รับอนุญาตให้เดินทัพผ่านไปยังเมืองพม่าได้สะดวก ในระหว่างสงครามคราวนี้เมืองชุมพรถูกทำลายโดยเครื่องบินของศัตรูญี่ปุ่นอย่างมาก อาคารของทางราชการ เช่น สถานีตารวจ อาคารต่าง ๆ ของกรมรถไฟตลอดจนบ้านเรือนทรัพย์สินของราษฎร ชีวิตของประชาชนสูญเสียเป็นอันมาก เฉพาะการสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชุมพรมีหลายครั้ง นับเป็นประวัติสำคัญอันหนึ่ง เฉพาะหมู่บ้านและตำบลบางแห่งได้มีนามเนื่องมาจากสงครามในครั้งนั้นเล่ากัน
ต่อมาควรจะกล่าวไว้บ้างคือ ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ ครั้งหนึ่งกองทัพพม่าได้เดินทัพผ่านมาทางตำบลดังกล่าวก็รอทัพไว้ จึงเรียกนามตำบลนี้ว่า “ตาบลทัพรอ” แต่ต่อ ๆ มาได้เรียกเพี้ยนไปเป็นตาบลรับรอ อันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอท่าแซะ มาจนทุกวันนี้ ตำบลท่าแซะ หมู่ที่ เรียกบ้านหนองโคลนเดินเมื่อกองทัพพม่ายกมาเคยได้สู้รบกับกองทัพไทย ณ ตรงนี้จนมากลายเป็นโคลน ชาวบ้านจึงเรียกว่าบ้านโคลน  ตำบลแหลมทราย หมู่ที่ 1 อำเภอหลังสวน มีชื่อว่าบ้านทัพยอ มีประวัติเล่ากันว่า เมื่อสมัยกองทัพพม่า ซึ่งมีคุเรียงสะระภะยอเป็นแม่ทัพในราว พ.2352 เมื่อตีเมืองชุมพรได้แล้วได้ยกกองทัพไปพักอยู่ที่เมืองหลังสวน ภายหลังหมู่บ้านที่กองทัพพม่าตั้งอยู่ที่นี้ได้ชื่อว่า “บ้านคุเรียงสะระภะยอ” ต่อมาเรียกสั้นลงไปว่า “บ้านทัพยอ” มาจนทุกวันนี้
ในท้องที่อำเภอเมืองชุมพร หมู่ที่ 2 ตำบลตากแดด มีบ้านหนึ่งเรียกว่าบ้านหัวครู ซึ่งขณะนี้ยังมีคูใหญ่เหลืออยู่เล่ากันว่า เมื่อพม่าเข้าตีได้เมืองชุมพร และเผาเมืองชุมพรราวปี พ.2307 ได้จับเชลยคนไทยได้ และกำลังจะเผาที่คูนี้ แต่ขณะนั้นบังเอิญฝนตกหนักจึงไม่สามารถเผาได้เชลยคนไทยจึงรอดตายและเมื่อฝนตกหนักกองทัพพม่าซึ่งได้ยกทัพมาเป็นส่วนมากใช้ม้าและพาหนะจึงเปียกฝนด้วย หลังจากฝนหายแล้วพม่าจึงเอาม้าออกตากแดด ท้องที่ดังกล่าวแล้ว จึงมาภายหลังเรียกว่า “ตำบลตากแดด” และที่คูนั้นเรียกว่าบ้านหัวคู มาจนทุกวันนี้ ในตำบลวังไผ่ หมู่ที่ 8 มีที่แห่งหนึ่งเรียกว่า “หาดพม่าตาย” เล่ากันว่าเมื่อสมัยกองทัพพม่ายกกองทัพมาตีเมืองชุมพรได้มาพักแรมที่ตรงนี้ และได้ใช้ใบตะลังตังช้าง (เป็นใบไม้ที่คันและมีพิษรองนอนเพราะไม่รู้ว่ามีพิษ เมื่อนอนเกิดคันและร้อน จึงวิ่งลงไปแช่น้ำ จึงตายลงเป็นอันมากจึงขนาดนามว่าหาดพม่าตายมาจนทุกวันนี้
ประวัติคอคอดกระ
ความสำคัญเป็นพิเศษของชุมพรยังมีอีกประการหนึ่งซึ่งควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ คอคอด อยู่ระหว่างอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กับอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เรียกกันว่า “คอคอดกระ” เป็นส่วนแคบที่สุดของแหลมมลายู เคยเป็นทางผ่านสำหรับเดินตัดข้ามมาจากทะเลตะวันตกมาทะเลตะวันออกในสมัยโบราณ ระยะทางตอนที่แคบประมาณ 50 กิโลเมตร
เรื่องของคอคอดกระ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกรู้จักกันมานานแล้ว และเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศสาหรับประเทศไทยเริ่มสนใจคอคอดกระในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏตามตำนานเมืองระนองตอนหนึ่งความว่า เมื่อปีชวด พ.2409 รัฐบาลมีข้อวิตกขึ้น เนื่องด้วยในปัจจุบันฝรั่งเศสขุดคลองสุเอชในประเทศอียิปต์สำเร็จ ฝรั่งเศสคิดหาที่ขุดคลองทำนองเดียวกันในประเทศอื่นต่อไป จึงคิดจะขุดคลองจากเมืองกระบุรีออกมาเมืองชุมพร เพื่อให้เป็นทางเรือจากยุโรปไปเมืองจีนโดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายูไปทางสิงคโปร์ และเรียกว่า “คลองตระ” ความคิดของฝรั่งเศสในเรื่องคลองตระนั้น เป็นเรื่องลืออื้อฉาว แต่ยังไม่ปรากฏในทางราชการว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะสนับสนุนสักเพียงใด แต่ฝ่ายไทยคิดเห็นว่า ถ้าฝรั่งเศสมีอำนาจถึงได้ขุดคลองตระในครั้งนั้น คงจะมีผล 2 อย่างคือ อาจถือโอกาสให้เสียดินแดนทางด้านแหลมมลายูประการหนึ่ง และไทยต้องแสดงให้อังกฤษ เชื่อว่าไทยมิได้สนับสนุนฝรั่งเศสในเรื่องการขุดคลองนั้น
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษได้เรียกร้องให้ไทย ยอมรับข้อกำหนดบางประการที่ทำให้ทรัพย์สินสูญหายไปในระหว่างสงครามได้กลับคืนมาและป้องกันมิให้เกิดสงครามขึ้นในอนาคต หรือที่เรียกกันว่า ความตกลงสมบูรณ์ระหว่างรัฐบาลไทยฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดียฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำกัน ณ สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2489 ข้อ 7 มีความว่า รัฐบาลไทยจะไม่ตัดคลองข้ามอาณาเขตไทย เชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย โดยรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรเห็นพ้องด้วยกัน
การเลือกสถานที่ขุดคลองตอนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูตอนนี้มีเทือกเขาสูงกั้นทางเหนือมีภูเขาเตี้ยทางใต้จากเมืองชุมพรถึงปากน้ำปากจั่น ที่เมืองกระ ลำน้ำตอนที่เมืองกระตื้น เรือยนต์ เรือกลไฟขนาดที่เดินในแม่น้ำเจ้าพระยาจะเดินทางได้เมื่อน้ำขึ้น และเป็นเช่นนี้ตลอดไปจนถึงตำบลทับหลี เรือขนาดเล็กเดินทางได้ทุกเวลา จากทับหลีลงไป แม่น้ำกว้างออกไปเป็นลำดับ เรือกลไฟต้องเดินตามลำน้ำปากจั่นประมาณ 10 ชั่วโมง ไปออกทะเลที่หน้าเมืองระนอง อังกฤษถือลำน้ำปากจั่นเป็นที่กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ (หรือพม่าถ้าจะขุดคลองต้องอาศัยน้ำปากจั่นเป็นทางเดินขึ้นไปจนถึงเมืองกระแล้วจึงขุดคลองที่ช่องเขาข้ามมาชุมพร และจำเป็นต้องขุดลำน้ำปากจั่นให้ลึกและกว้างจนเรือกำปั่นใหญ่เดินได้ การขุดลำน้ำปากจั่นจำต้องขุดในดินแดนของอังกฤษด้วย เพราะแนวศูนย์กลางอยู่กลางลำน้ำปากจั่น ถ้าอังกฤษไม่ยอมให้ขุดก็เป็นอันขุดคลองกระไม่ได้ ถ้าไม่ขุดที่คลองกระจะเลื่อนลงไปขุดด้านใต้ เช่นที่เมืองระนองก็เป็นเทือกเขาสูงทั้งนั้น เพราะความขัดข้องมีอยู่เช่นนี้ ฝรั่งเศสซึ่งมีความปรารถนาจะขุดคลองกระครั้งหนึ่งจึงได้เลิกความพยายามแต่หากได้กล่าวแก้ว่าจะต้องตัดเทือกเขายากนักจึงไม่ขุด
ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงราย
ตราประจำจังหวัด


รูปช้างสีขาวกับเมฆ ลายที่ขอบตรามีรูปนาคเกี้ยว
คำขวัญประจำจังหวัด

เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

1. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ครั้นพญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ประสูติแล้ว และเมื่อเจริญพระชันษาได้ 21 พรรษา ได้เสวยราชย์ครอบครองสมบัติที่เมืองหิรัญนครเงินยาง เมื่อ พ.. 1802 พระองค์ให้เจ้าพระยามหานครทั้งหลายไปถวายบังคม หากเจ้าเมืองขัดขืนก็แต่งตั้งกองทัพออกไปปราบปราม ตีได้เมืองมอบ เมืองไร เมืองเชียงคำ แล้วปลดเจ้าผู้ครองนครเหล่านั้น แต่งตั้งขุนนางของพระองค์ครองเมืองนั้นแทน ต่อมาหัวเมืองทั้งหลาย เช่น เมืองเชียงช้าง เป็นต้น ก็พากันมาอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น เพราะเกรงเดชานุภาพ ของพญามังราย
เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้ว จึงดำริจะทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในด้านการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงไปรวมพล ณ เมืองลาวกู่เต้า เผอิญช้างมงคล (ช้างพระที่นั่ง) ของพระองค์ได้พลัดหายไป พญามังรายจึงเสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยจอมทอง ริมแม่น้ำกก เห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงให้สร้างเมืองใหม่ขึ้น โดยก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางขนานนามเมืองว่า "เมืองเชียงราย" ใน พ.. 1805  แล้วพญามังรายก็อพยพจากเมืองหิรัญนครเงินยางมาประทับอยู่ ณ เมืองเชียงราย ต่อมาอีก 3 ปี พญามังรายก็ไปตั้งเมืองใหญ่ขึ้นอีกเมืองหนึ่ง ณ ตำบลเมืองฝาง (เมืองไชยปราการเดิม) ต่อจากนั้นอีกหนึ่งปีก็ยกกองทัพไปตีเมืองผาแดงเชียงของ เมื่อได้เมืองผาแดงเชียงของแล้ว กลับมาประทับ ณ เมืองฝางอีกประมาณ 6 ปี จึงได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชิงแล้วก็ทรงกลับมาประทับเมืองฝางตามเดิม พญามังรายมีพระโอรส 3 องค์ คือ 1. เจ้าเครื่อง 2. เจ้าราชบุตรคราม 3. เจ้าราชบุตรเครือ
เมืองฝางที่พญามังรายประทับอยู่ติดกับแว่นแคว้นล้านนา พ่อค้าวาณิชย์ชาวเมืองหริภุญชัย ไปมาค้าขายที่เมืองฝาง พญามังรายทราบว่าเมืองหริภุญชัยเป็นเมืองมั่งคั่งสมบูรณ์ก็อยากได้ไว้ในอำนาจ ก็ทรงแต่งตั้งให้อ้ายฟ้า เข้าไปเป็นไส้ศึกอยู่ในเมืองหริภุญชัยในปี พ.. 1818 และใน พ.. 1824 พญามังรายก็ยกกองทัพมาตีเอาหริภุญชัยได้ จึงให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือขุนเครื่องไปครองเมืองเชียงราย ขุนเครื่องหลงเชื่อถ้อยคำ ขุนใสเรืองคิดการกบฏ พญามังรายจึงให้อ้ายเผียนไปซุ่มดักยิงด้วยหน้าไม้ปืนยา (หน้าไม้อาบยาพิษ) ถูกขุนเครื่องตายแล้วใส่สถาปนาเจ้าราชบุตรคราม โอรสองค์ที่ 2 สืบราชสมบัติเมืองเชียงรายแทน
ใน พ.. 1819 พญามังรายได้ยกกองทัพมาติดเมืองพะเยา พระยางำเมืองเห็นว่าจะสู้ด้วยกำลังไม่ได้ จึงยกกองทัพออกไปรับปลายแดน ต้อนรับด้วยไมตรี แล้วยกตำบลบ้านปากน้ำให้แก่พญามังราย ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับปฏิญาณเป็นมิตร ต่อมาอีก 4 ปี พ่อขุนรามคำแหง พญามังราย พระยางำเมือง ได้ทรงกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อกัน โดยทรงเอาโลหิตที่นิ้วพระหัตถ์ผสมกับน้ำสัตย์ เสวยทั้ง 3 พระองค์ สัญญาว่าจะไม่เบียดเบียนกันตลอดชีวิต
ในปี พ.. 1829 พญามังรายทรงสร้างเมืองใหม่ชื่อ เวียงกุมกาม (ในท้องที่ อ. สารภี จ. เชียงใหม่) เป็นที่ประทับและในปีนั้นได้ยกกองทัพไปตีเมืองหงสาวดี พวกมอญยอมอ่อนน้อมโดยดี ได้เครื่องราชบรรณาการและราชธิดามอญมาเป็นบาทบริจาริกา ในปี พ.. 1832 ได้ยกกองทัพไปตีเมืองพุกามของพม่าได้สำเร็จ ได้พาเอาช่างฝีมือพม่ามาทำงานที่อาณาจักรล้านนาไทยหลายสาขา ในปี พ.. 1834 ได้พิจารณาสร้างเมืองใหม่ ณ บริเวณเชิงดอยสุเทพ โดยมีพ่อขุนรามคำแหง และพระยางำเมือง ช่วยวางผังเมืองให้สร้างเมืองเสร็จในปี พ.. 1839 โดยขนานนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แล้วทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย และสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทย ต่อมาเมื่อ พ.. 1860 พญามังรายได้เสด็จประพาสตลาดในเมืองเชียงใหม่ ถูกอสนีบาต (ฟ้าผ่า) สวรรคตลง
พระยาไชยสงคราม (เดิมชื่อเจ้าราชบุตรครามได้รับสถาปนาเป็นพระยาไชยสงคราม) เนื่องจากอาสาพระบิดายกทัพไปรบกับกองทัพของพระยาเบิก เจ้าเมืองเขลางค์ จนมีชัยชนะ เมื่อได้จัดการถวายพระเพลิงพระศพพญามังรายแล้ว ได้สถาปนาให้พระยาแสนภูราชโอรสองค์ใหญ่พระชนมายุ 41 พรรษา ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ใน พ.. 1861 ส่วนพระยาไชยสงคราม กลับไปประทับที่เมืองเชียงราย พ.. 1870 พระยาไชยสงครามสวรรคต พระยาแสนภู จึงให้เจ้าคำฟู โอรสองค์ใหญ่ครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์กลับไปครองเมืองเชียงราย พ.. 1871 พระยาแสนภู มีพระประสงค์จะสร้างนครอยู่ใหม่ ต้องการชัยภูมิที่ดีจึงให้เสนาอำมาตย์ไปตรวจตราสถานที่ จึงได้เมืองเก่ารอบริมแม่น้ำโขง อันเป็นบริเวณเมืองโบราณของเมืองไชยบุรี จึงได้สร้างเมืองขึ้น ณ สถานที่นั้น โดยเอาแม่น้ำโขงเป็นคูปราการด้านตะวันออกอีก 3 ด้าน ให้ขุดคูโอบรอบนครไว้ ทำพิธีฝังหลักเมืองเมื่อวันศุกร์ เดือน 5 หรือเดือน 7 เหนือ ขึ้น 2 ค่า ปีมะโรง พ.. 1871 และขนานนามเมืองใหม่ว่า "หิรัญนครชัยบุรีศรีเชียงแสน" ปัจจุบันนี้เรียกว่าเชียงแสน หรือเวียงเก่า

2. สมัยกรุงศรีอยุธยา
กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ได้ครอบครองราชสมบัติเมืองเชียงแสนสืบ ๆ มา จนกระทั่งถึง พ.. 1908 มีพวกฮ่อมารบกวนแต่ก็ถูกตีแตกพ่ายไป พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้านครเชียงใหม่ได้ตั้งให้เจ้าขุนแสน ลูกพระยาวังพร้าวไปครองเมืองเชียงแสน สถาปนาให้เป็น "พระยาสุวรรณคำล้านนาไชยสงคราม" ต่อมาสมัยพระยากมลเป็นเจ้าเมืองเชียงแสน ซึ่งขณะเดียวกันกับพระเจ้าเมกุฎิราช ครองเมืองเชียงใหม่ ใน พ.. 2101 เชียงใหม่ เชียงราย และเชียงแสน ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ตกลงเป็นของยินนอง (บุเรงนอง) เจ้ากรุงหงสาวดีและตกอยู่ในความปกครองพม่านับตั้งแต่นั้นมา

3. สมัยกรุงธนบุรี
พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ยกกองทัพมาปราบปรามขับไล่พม่าทางหัวเมืองฝ่ายเหนือแต่ก็ไม่สำเร็จเด็ดขาด ในราว พ.. 2347 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีกรมหลวงเทพหริรักษ์ พระยายมราช ยกกองทัพขึ้นไปขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนได้สำเร็จ และให้เผาเมืองเชียงแสนเสียสิ้นกวาดต้อนผู้คนพลเมืองประมาณ 23,000 ครอบครัวแบ่งเป็น 5 ส่วน แต่ละส่วนให้ไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ลำปาง น่าน เวียงจันทน์ และอีกส่วนหนึ่งลงมายังกรุงเทพฯ แล้วโปรดฯ ให้ตั้งอยู่ที่สระบุรี ราชบุรี

4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
.. 2412 ในสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ มีใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพฯ ว่า พม่า ลื้อ เขิน จากเมืองเชียงตุง 381 คน ยกครอบครัวมาอยู่เมืองเชียงแสน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตอบไปให้เจ้าอุปราชว่าให้จัดการแต่งคนไปว่ากล่าวให้พวกพม่า ลื้อ เขิน เหล่านั้นถอยออกไปจากราชอาณาเขตไทยเสีย แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะพวกนั้นไม่ยอมออกไป พ.. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่ เกณฑ์ไพร่พลจากเชียงใหม่ ลาปาง ลำพูน จานวนทั้งสิ้น 4,500 คน ยกออกจากเมืองเชียงใหม่ไปเชียงรายและเชียงแสนไล่ต้อนพวกพม่า ลื้อ เขิน เหล่านั้นออกจากเชียงแสนตั้งแต่นั้นมา เชียงแสนก็เป็นเมืองร้าง รัชกาลที่ 5 จึงได้โปรดให้เจ้าอินต๊ะ บุตรเจ้าบุญมา (เจ้าบุญมาเป็นน้องเจ้ากาวิละ เจ้าครองนครเชียงใหม่) เจ้าผู้ครองนครลำพูนเป็นหัวหน้านาราษฎรเมืองลำพูน เชียงใหม่ ประมาณ 4,500 ครอบครัว ไปหักร้างถางพงที่เมืองเชียงแสนเดิม เพื่อให้เป็นเมืองใหม่
เจ้าอินต๊ะ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาราชเดชดำรง ตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองหัวเมืองฝ่ายเหนือมี ถ ชื่อ ประจาเมืองต่าง ๆ คือ
พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา
พระยามหิทธิวงศา เจ้าเมืองฝาง
พระยารัตนาเขตต์ เจ้าเมืองเชียงราย
พระยาราชเดชดำรง เจ้าเมืองเชียงแสน
พระยาจิตวงศ์วรยรังษี เจ้าเมืองเชียงของ
เมื่อ พ.. 2437 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสหเทพ (เสง วิริยศิริ) จัดการปกครองมณฑลพายัพชั้นใน พระยาศรีสหเทพ จึงร่างข้อบังคับสำหรับที่ว่าการเมือง เรียกว่า "เค้าสนามหลวง" คือจัดให้มี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ละแคว้นขึ้นกับเมืองเรียกว่า "เจ้าเมือง" เมืองขึ้นกับบริเวณเรียกว่า "ข้าหลวงบริเวณ" ข้าหลวงบริเวณขึ้นกับ "เค้าสนามหลวง" จัดการเก็บเงินรัชชูปการเรียกว่า "ค่าแรงแทนเกณฑ์" คนหนึ่งปีละ 4 รูปี (ต่อมาเรียก 4 บาท) ในที่สุดวิธีการนี้ได้จัดทำขึ้นเป็นพระราชบัญญัติเรียกว่า "พระราชบัญญัติตั้งมณฑลพายัพ" ตั้งนครเชียงใหม่เป็นที่ตั้งมณฑล
เมืองเชียงแสน สมัยนี้ขึ้นต่อกระทรวงกลาโหม และต่อมา เมื่อประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.. 2257 จึงมาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย พ.. 2240 พระอาราชดำรงถึงแก่กรรม ต่อมาเกิดมีพวกไทยใหญ่รวมกันเป็นโจรเข้าปล้นเมือง บุตรพระยาราชเดชดำรงกับญาติและไพร่พลช่วยกันต่อสู้ชนะและปราบปรามได้สำเร็จ
.. 2442 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายไชยวงศ์ บุตรพระยาราชเดชดำรงเป็นพระราชเดชดำรง สืบสกุลแทนบิดา และต่อมาย้ายที่ทำการมาตั้งที่ตำบลกาสา ตั้งเป็นอำเภอปี พ.. 2442 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอแม่จัน ส่วนเมืองเชียงแสนเดิมให้เป็นกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวงซึ่งในสมัยต่อมาก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเชียงแสน พ.. 2443 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายคำหมื่น บุตรพระราชเดชดำรง (เจ้าอินต๊ะ) เป็นพระยาราชบุตรขึ้นกับเมืองเชียงรายในสมัยนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (ไชย กัลยาณมิตร) เป็นเสนาบดีและองค์มนตรีสมุหเทศาภิบาลพายัพประจำมณฑลพายัพ ต่อมา พ.. 2453 หรือ ร.. 129 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกเมืองเชียงราย ขึ้นเป็นเมืองเชียงราย อันรวมอยู่ในมณฑลพายัพฯ

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทย ในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการในท้องที่ต่าง ๆ ระบบการ ปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบอบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยที่สมเด็จเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดารงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. 2437 จนถึง พ.. 2458 จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของการเทศาภิบาลซึ่งพระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำอยู่แต่ในราชธานีนั้นออกไปดำเนินการในส่วนภูมิภาคเป็นสื่อกลางระหว่างประชากรของประเทศ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลที่อยู่ในกรณีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชประเทศชาติด้วย ฯลฯ จึงแบ่งเขตการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับกันดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑลรองถัดไปเป็นเมือง คือ จังหวัดรองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง ทบวงกรมของราชธานีและจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทางานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อยและรวดเร็วแก่ราชการและกิจธุระของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความรวมว่า เป็นระบบการปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าการปกครองส่วนภูมิภาคส่วน มณฑลเทศาภิบาลนั้น คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดการปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกันแต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบการปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มี พระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพาและมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ก็ได้จัดตั้งเป็นลำดับดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีน มณฑลราชบุรี ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง มณฑลเพชรบูรณ์ตั้งขึ้น พ.. 2442
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2458 ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ เมื่อวันที่ 9  มิถุนายน พ.. 2458 (ร.ศ. 129)
.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑาพายัพ

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1. การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น 
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2. อานาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ในฐานะของคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด
2. อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น คณะกรรมการจังหวัดประกอบด้วยปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการจังหวัดโดยตำแหน่ง และในกรณีที่มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมเป็นคณะกรรมการจังหวัดด้วย

ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่
ตราประจำจังหวัด

รูปช้างเผือกยืนอยู่ในเรือนแก้ว
คำขวัญประจำจังหวัด

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า
บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (สมัยราชวงศ์มังราย และสมัยพม่าปกครอง)
เมืองเชียงใหม่มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่านพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พญามังรายได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.. 1839 นับถึงปัจจุบันมีอายุร่วมเจ็ดร้อยปี และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 200 ปี (ระหว่าง พ.. 1839 - 2101) ในปี พ.. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงช่วยเหลือล้านนาไทยภายใต้การนำของพระยากาวิละและพระยาจ่าบ้าน ในการทำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่และเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนาพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงเทพฯ และมีเชื้อสายของพระยากาวิละซึ่งเรียกว่าตระกูลเจ้าเจ็ดตนปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน และลำปางสืบต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราชได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนปัจจุบัน
เพื่อให้สะดวกในการอ่านเรื่องราวของเชียงใหม่และล้านนาไทย จึงขอแบ่งยุคสมัยใน ประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่เป็น 4 สมัย ดังนี้

1. สมัยก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ (ก่อน พ.. 1839)

2. สมัยราชวงศ์มังรายปกครอง (.. 1839 - 2101)

3. สมัยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า (.. 2101 - 2317)

4. สมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (.. 2317 - 2476)

สมัยก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ (ก่อน พ.. 1839)
ก่อนที่พญามังรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่นั้น ได้มีบ้านเมืองและชุมชนใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ เมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน เมืองหริภุญชัย เมืองพะเยา และยังได้มีการค้นพบเมืองเล็กๆ อีกมากมายหลายเมืองตามลุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น เวียงฝาง เวียงปรึกษา เวียงสีทวง เวียงพางคำ เวียงสุทโธ เวียงห้อ เวียงมะลิกา และเวียงท่ากาน) ฯลฯ เป็นต้น เชื่อกันว่าบริเวณตอนบนของภาคเหนือ ลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ เช่น แม่น้ำกก แม่น้ำโขง เป็นที่ตั้งของชุมชนที่มีวัฒนธรรมอยู่มาก่อน ในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวและเมืองต่าง ๆ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พอสังเขปดังนี้
จากข้อมูลเอกสารประเภทตำนานและพงศาวดาร ได้กล่าวถึงการที่ชุมชนเผ่าไทเข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนบนของภาคเหนือในสมัยแรกนั้น มีผู้นำสำคัญ 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ไทยเมืองของพระเจ้าสิงหนวัติกุมารและราชวงศ์ลวจังกราช ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในตำนานสิงหนวัติกุมาร พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานสุวรรณโคมคำ
ราชวงศ์สิงหนวัติกุมาร ตำนานเล่าว่ามีราชบุตรชื่อ สิงหนวัติกุมาร ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองไทยเทศเมื่อมหาศักราช 17 (ตอนต้นพุทธกาล) มาตั้งบ้านเมืองใกล้กับแม่น้ำโขงและไม่ไกลจากเมืองสุวรรณโคมคำมากนัก เมืองใหม่ชื่อ นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร ข้อความในตำนานต่อมาสับสนแต่จับใจความได้ว่า เมืองนาคพันธุ์ฯ นี้ได้เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า โยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน เมืองนี้มีกษัตริย์ปกครองสืบมาถึง พ.. 1547 มีคนจับปลาไหลเผือกได้ ลำตัวโตขนาดต้นตาล ยาวประมาณ 7 วา เมื่อฆ่าแล้วแจกจ่ายให้ผู้คนในเมืองได้นำไปประกอบอาหารรับประทาน ในเวลากลางคืน คืนนั้น เมืองนี้ได้เกิดภัยพิบัติฟ้าคะนอง แผ่นดินไหว และเมืองได้ล่มจมเป็นหนองน้าไป ชาวเมืองที่ไม่ประสบภัยได้ร่วมใจกันสร้างเมืองใหม่ชื่อ เวียงปรึกษาขึ้น ราชวงศ์สิงหนวัติก็สิ้นสุดลง สำหรับศักราชส่วนใหญ่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน

เมืองหิรัญเงินยางเชียงแสน และเมืองเชียงแสน
ประมาณ พ.. 1181 ได้เกิดเมืองชื่อ หิรัญเงินยางเชียงแสนขึ้นบริเวณดอยตุง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามตำนานเล่าว่า พระยาลวจังกราชได้รับบัญชาจากพระอินทร์ให้ลงมา ปกครองเมืองหิรัญเงินยางเชียงแสน ซึ่งขณะนั้นไม่มีกษัตริย์ปกครองและพระยาอนิรุทธได้เชิญเจ้าเมืองทุกเมืองไปประชุมตัดศักราช เมืองนี้ไม่มีกษัตริย์ไปประชุม จึงทูลขอผู้ปกครองจากพระอินทร์ เทพบุตร ลวจังกราชจึงได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ พร้อมทั้งมเหสีและบริวารไต่ตามบันไดเงินลงมาบริเวณดอยตุง ชาวบ้านจึงพร้อมใจให้เป็นผู้ปกครองเมืองนี้ชื่อ หิรัญเงินยางเชียงแสน และทรงมีกษัตริย์ปกครองสืบมาหลายพระองค์จนถึงพระยาลาวเมง พระราชบิดาพญามังราย ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องจากตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน
มีนักวิชาการบางท่านตีความเรื่องนี้ว่า พระยาลวจังกราชนั้น เดิมเป็นชาวพื้นเมืองในเขตดอยตุง เดิมคงเรียกว่า ปู่เจ้าลาวจก เพราะเป็นผู้มีจอบมาก (จก = จอบ) และให้ประชาชนเช่าจอบเพื่อทำนา ที่เป็นเช่นนี้เพราะการทำจอบเป็นเทคนิคชั้นสูง ผู้ใดผลิตจอบได้ก็จะสามารถควบคุมการผลิตได้ ปู่เจ้าลาวจกคงจะได้รับยกย่องให้เป็นหัวหน้าเผ่าไทบริเวณนั้น และปกครองเมืองเงินยางเชียงแสน และมีเชื้อสายสืบมาจนถึงพญามังราย
          นอกเหนือจากเมืองต่าง ๆ ดังกล่าวนามข้างต้นแล้ว บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงมีชุมชนสำคัญอีกชุมชนหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีวิวัฒนาการสืบต่อกันมาเป็นเวลานานคือ เมืองหริภุญไชย หรือลำพูน มีเอกสารหลายเรื่องที่กล่าวถึงเมืองนี้ ได้แก่ ตำนานลำพูน ตำนานพระธาตุหริภุญไชย จามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา และชินกาลมาลีปกรณ์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาค้นคว้าจากโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซากเมืองโบราณต่างๆ เช่น เมืองท่ากาน เวียงมะโน เวียงเถาะ ซึ่งเป็นเมืองบริวารของลำพูน อาจารย์ ร..ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด ในรายงานเรื่องแคว้นหริภุญไชย : โบราณคดีไทยในทศวรรษที่ผ่านมา หลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ได้กล่าวถึงเมืองลำพูน ซึ่งตรงสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถมผู้ปกครองสุโขทัยก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง จาก หลักฐานต่างๆ พอช่วยให้ทราบเรื่องราวของหริภุญไชยได้พอสรุปดังนี้
เมืองนี้ตามตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นโดย ฤๅษี ชื่อวาสุเทพ เมื่อสร้างเสร็จได้ไปทูลเชิญ พระนางจามเทวีจากเมืองละโว้มาปกครอง ราว พ.. 1200 พระนางได้นำบริวารและพระสงฆ์เสด็จขึ้นมาทางนำมาปกครองเมืองหริภุญไชย และมีเชื้อสายของพระนางปกครองสืบมาหลายพระองค์ นับเวลานานถึงหกร้อยปี จนกระทั่งถึงสมัยพระยาบาหรือยีบา ได้เสียเอกราชแก่พระยามังรายในราว พ.. 1824 หริภุญไชยจึงมีสภาพเป็นเมืองหนึ่งของดินแดนล้านนาไทยเรื่อยมา และในสมัยพระยากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองลำพูนให้เจริญขึ้น และมอบให้เชื้อสายของพระองค์ไปปกครองเรื่อยมา อนึ่งในสมัยพระนางจามเทวีนี้ พระนางได้ทรงสร้างเมืองลำปางหรือเขลางค์นครให้ราชบุตรปกครองอีกเมืองหนึ่งด้วย
เมืองหริภุญไชยเป็นเมืองโบราณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีศิลปวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก มีศิลปกรรมที่มีลักษณะของตนเอง คือ ศิลปะสกุลช่างหริภุญไชย ตลอดจนพบว่ามีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญไชยด้วย ปัจจุบันหริภุญไชยหรือลำพูนมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือของไทย

เมืองพะเยา
เมืองพะเยาเป็นเมืองเก่าที่สำคัญอีกเมืองหนึ่งก่อน พ.. 1839 ตามเอกสารตำนานต่าง ๆ เรียกชื่อว่า ภูกามยาว เรื่องราวของเมืองนี้ก็เช่นเดียวกับหริภุญไชย สามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ เอกสารประเภทตำนาน เป็นต้นว่า ตำนานพะเยา ฉบับวัดศรีโคมคำ ตำนานเมืองพะเยา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ประชุมพงศาวดารภาค 61 ข้อมูลจากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่สอง ปรากฏชื่อเมืองพะเยาด้วยดังข้อความว่า
 “ … เมืองใต้ออกพ่อขุนนำถุม เบื้องตะวันออกเถิงเบื้องหัวนอนเถิงลุนคา ขุนคา ขุนด่านเบื้องในหรดีถึงฉอด เวียงเหล็กเบื้องตะวันตกเถิงลำพูน บู .. เบื้องพายัพถึงเชียงแสนและพะเยา ลาว … ”
ข้อความในจารึกแสดงว่ามีเมืองพะเยาก่อน พ.. 1839 ตามตำนานเมืองพะเยา เขียนว่าเมืองนี้สร้างขึ้นโดยพ่อขุนจอมธรรม ซึ่งพระองค์ได้เป็นราชบุตรของพ่อขุนลาวเงินหรือขุนเงินแห่งเมืองเงินยางเชียงแสน พ่อขุนจอมธรรมได้อพยพประชาชนมาสร้างเมืองพะเยา และมีเชื้อสายของพระองค์ปกครองสืบมา กษัตริย์พระองค์สำคัญอีกพระองค์หนึ่งของพะเยาเป็นที่รู้จักของปัจจุบันดี คือ พระยางำเมือง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าพระองค์เป็นพระสหายของพญามังราย ได้ทรงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ด้วย
นอกจากพระยางำเมืองแล้ว ตามตำนานต่าง ๆ ได้เล่าว่า พระยาเจือง หรือขุนเจือง ผู้นำที่พะเยามีความสามารถมาก พระองค์มีพระชนมายุระหว่าง พ.. 1625 - 1705 โดยพระยาเจืองเป็นกษัตริย์พะเยา ในสมัยของพระองค์ ดินแดนล้านนาไทยได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางถึงสิบสองพันนา เวียตนาม (แกว) ล้านช้าง สมัยของพระองค์เป็นสมัยสำคัญอีกสมัยหนึ่งของล้านนาไทย อนึ่งจากการศึกษาค้นคว้าทางด้านโบราณคดีที่เมืองพะเยาของ ร..ศรีศักดิ์ ได้พบเครื่องมือหินและโลหะ คือ หัวขวานสำริดและผาลไถ ทำด้วยเหล็กกำหนดอายุไม่ได้ที่เมืองพะเยา สันนิษฐานบริเวณที่ราบลุ่มเชียงรายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ได้พัฒนาเป็นสังคมบ้านเมืองก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ เมืองพะเยายังมีความเจริญทางศิลปกรรม ได้พบศิลปวัตถุจำนวนมากที่พะเยา เรียกว่า ศิลปะสกุลช่างพะเยา และได้พบศิลาจารึกเป็นจำนวนมากอีกด้วย
เมืองพะเยามีกษัตริย์ปกครองสืบมาต่อจากพระยาจอมธรรมหลายพระองค์จนถึงสมัย พระยาคำลือ ซึ่งขณะนั้นเชียงใหม่มีกษัตริย์ชื่อพระยาคำฟู ปกครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.. 1866 - 1879 กษัตริย์ลำดับที่ 5 พระยาคำฟูได้ร่วมมือกับพระยาเมืองน่านยกกองทัพไปตีพะเยาและยึดครองพะเยาได้ในปี พ.. 2038 ซึ่งปรากฏข้อความในศิลาจารึกวัดลี แต่ในตำนานพะเยาเขียนว่า พระยาคำฟูยกทัพไป พ.. 1881 อย่างไรก็ตาม สงครามครั้งนี้ ทำให้พะเยาเสียเอกราชตกเป็นเมืองในอาณาเขตของแคว้นล้านนาตั้งแต่นั้นมา
โดยสรุป ดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย บริเวณแม่น้ำต่าง ๆ คือ แม่น้ำกก แม่น้ำโขง แม่น้ำปิง แม่น้ำอิง ฯลฯ มีชุมชนตั้งอยู่แล้วก่อนที่พญามังรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ดินแดนบริเวณนี้มีวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองหลายด้าน และเมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว สันนิษฐานว่าจะมีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดและรับเอาวัฒนธรรมของชุมชนที่มีอยู่และเจริญรุ่งเรืองแล้วมาเป็นของตนเอง เป็นต้นว่าล้านนาไทยเชียงใหม่อาจจะรับเอากฎหมายธรรมสัตถของมอญซึ่งใช้อยู่ในหริภุญไชยมาตราเป็นกฎหมายมังรายศาสตร์ และรับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเป็นอักษรพื้นเมืองล้านนาหรืออักษรไทย นอกจากนี้อาจจะรับเอาพุทธศาสนาของแคว้นหริภุญไชยมาด้วย เพราะหริภุญไชยมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพุทธศาสนา เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนามาจนถึงอย่างน้อยสมัยพระเจ้า กือนา กษัตริย์ราชวงศ์มังรายปกครองเชียงใหม่เป็นลำดับที่ 6 (.. 1898 - 1928) พระยากือนาจึงได้พยายามสร้างให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา
อนึ่ง สันนิษฐานว่า ก่อนที่พญามังรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่นั้น ดินแดนบริเวณนี้คงจะเป็นที่อยู่ของพวกละว้าหรือลัวะ (Lawa, Sua) กล่อมหรือขอมดำ พวกนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้เมื่อใด สันนิษฐานว่าจะอยู่นานแล้วก่อนจะสร้างเมืองเชียงใหม่ ดังปรากฏหลักฐานในจามเทวีวงศ์และชินกาลมาลีปกรณ์ได้เล่าว่า ขุนหลวงวิลังคะเป็นกษัตริย์ลัวะปกครองบ้านเมืองอยู่บริเวณดอยสุเทพ และเป็นผู้ที่ประสงค์จะได้พระนางจามเทวีเป็นพระมเหสีของตน
หลักฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับลัวะพบทั่วไปในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ได้พบเนินดินหรือกู่เก่าๆ ในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และปัจจุบันพวกลัวะก็ยังอาศัยอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอแม่สะเลียง อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอจอมทองและอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อปี พ.. 2512 อาจารย์ถิ่น รัติกนก และคณะ ได้ทำการศึกษา วิจัยด้านประวัติศาสตร์และมนุษยวิทยาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของละว้า ที่บ้านบ่อหลวง บ้านกองลอย บ้านอุมลอง บ้านแม่โถ บ้านวังกอง บ้านขุน และบ้านนาฟ่อน รวม 7 หมู่บ้าน อำเภอฮอด เชียงใหม่ ซึ่งประชาชนเป็น ชาติลัวะ และพวกลัวะนอกจากจะอาศัยอยู่ในดินแดนดังกล่าวแล้ว ยังมีชนเผ่าลัวะอาศัยอยู่ที่เวียงหนองสอง อำเภอป่าซาง ลำพูน และที่บ้านแม่เหียะ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ผลของการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมประเพณีของลัวะหลายประการที่อาจจะตกทอดมาถึงคนในเชียงใหม่เพราะมีประเพณีคล้ายกับประเพณีเชียงใหม่ปัจจุบัน คือ ประเพณีการเกิดมีแม่ฮับหรือหมอตำแย ประเพณีการอยู่ไฟหลังการคลอดบุตรเรียกว่าอยู่เดือนความเชื่อเรื่องผีบ้าน ผีเมือง ผีบรรพบุรุษ ประเพณีการบูชาเสาหลักเมือง หรือเสาอินทขิล ความเชื่อเรื่องการปลูกบ้านที่เสามงคลหรือเสาเอก หลังคาบ้านนิยมทำไม้ไขว้เป็นรูปสามเหลี่ยมเรียกว่ากาแลและประเพณีทำศพที่มีการจุดไฟยามหน้าศพ ตุงสามหางและตุงห่อข้าวใช้ในกระบวนแห่ศพไปฌาปนกิจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมประเพณีของลัวะที่พบในประเพณีของเชียงใหม่ในปัจจุบัน
ดังนั้น สันนิษฐานว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่โดยพระยามังราย พ.. 1839 นั้น บริเวณลุ่มน้ำต่าง ๆ มีเมืองสำคัญ ๆ เกิดขึ้นหลายเมือง เป็นต้นว่า หริภุญไชย พะเยา เชียงแสน มี วัฒนธรรมที่เป็นของตนเอง และได้มีการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชนต่าง ๆ ด้วย

พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่
พญามังรายตำนานเล่าว่าทรงเป็นราชบุตรของพระยาลาวเมงและพระนางเทพคำข่าย เจ้าหญิงแห่งเมืองเชียงรุ้ง เสด็จขึ้นครองราชย์ที่เมืองเงินยางเชียงแสน ประมาณ พ.. 1805 พระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมแคว้นต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายและเป็นอิสระต่าง ๆ ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยจะทรงขยายอำนาจลงมาทางใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง และพยายามขยายลงไปถึงบริเวณ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและสาละวิน บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงขณะนั้นมีเมืองหริภุญไชยเป็นเมืองสำคัญและมีความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งทางเศรษฐกิจ พญามังรายมีพระประสงค์จะยึดครองเมืองหริภุญไชยไว้ในอำนาจ จึงทรงย้ายเมืองหลวงหรือทรงมาสร้างเมืองอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองเชียงรายทางใต้ลงมาในราว พ.. 1806 แต่พระองค์พบว่าภูมิประเทศไม่เหมาะแก่การขยายอำนาจลงมาทางใต้ จึงทรงย้ายไปประทับที่เมืองฝางในราวปี พ.. 1817 ที่เมืองนี้อยู่ไม่ไกลจากเมืองหริภุญไชยมากนัก พระองค์ทราบถึงความมั่นคงและความมั่งคั่งของรัฐหริภุญไชยดี จึงดำเนินนโยบายแบบบ่อนทำลาย โดยให้อ้ายฟ้าทหารของพระองค์มาเป็นไส้ศึกในเมืองหริภุญไชย โดยใช้เวลาทั้งหมดเกือบ 7 ปี อ้ายฟ้าสามารถทำให้ประชาชนในเมืองนี้ไม่พอใจพระยายีบาหรือพระยาบา กษัตริย์ของตนโดยอ้ายฟ้าดำเนินกลวิธีต่างๆ หลายวิธี เช่น เกณฑ์แรงงานอย่างหนักในการไปขุดเหมืองชลประทาน ที่เรียกว่า เหมืองอ้ายฟ้าหรือเหมืองแข็ง เกณฑ์ประชาชนตัดไม้ลากไม้ในฤดูฝนมาทำคุ้มที่ประทับของพระยาบา ทำให้ไร่นาของประชาชนได้รับความเสียหายมาก นอกจากนี้อ้ายฟ้ายังได้กราบทูลให้พระยาบาห้ามประชาชนเข้ามาร้องทุกข์กับกษัตริย์โดยตรงดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา ให้ทุกคนติดต่อร้องทุกข์กับอ้ายฟ้า แล้วอ้ายฟ้าก็ตัดสินไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก
อ้ายฟ้าได้กล่าวกับประชาชนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนทำไปนั้นเป็นบัญชาจากพระยาบา ทั้งสิ้น ประชาชนจึงไม่ชอบพระยาบามาก และเมื่อมีศึกพญามังรายมาประชิด ประชาชนจึงไม่กระตือรือร้นจะช่วยรบกับผู้ปกครอง ในที่สุดพญามังรายจึงยึดหริภุญไชยไว้ในอำนาจได้สำเร็จเมื่อ พ.. 1824
ปัญหามีว่า ทำไมพระยาบาจึงเชื่อคำแนะนำของอ้ายฟ้า จึงให้อ้ายฟ้าเข้ามามีอำนาจในเมืองหริภุญไชยเช่นนี้ ทั้งที่อ้ายฟ้าเป็นขุนนางจากเมืองอื่น คำตอบหรือข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้มีได้หลายทาง ข้อแรกผู้เขียนขอเสนอข้อสันนิษฐานจากหลักฐานกฎหมายว่า ที่พระยาบาเชื่อคำแนะนำอ้ายฟ้าเพราะมีข้อความตอนหนึ่งในกฎหมายหลายฉบับระบุว่าบุคคลผู้รู้สันฐานต่างประเทศเป็นบุคคลหรือไพร่เมืองชั้นดีและจัดว่าเป็นไพร่ที่หาได้ยาก ถ้าทำผิดให้ลงโทษสูงสุดให้เนรเทศแทนการประหารชีวิต อ้ายฟ้าเป็นขุนนางที่มาจากต่างประเทศและเป็นผู้รู้สัณฐานเรื่องราวของต่างประเทศ นอกเหนือจากเมืองหริภุญไชย พระยาบาจึงยอมรับความเป็นผู้รู้ของอ้ายฟ้า และพร้อมที่ยกย่องอ้ายฟ้าโดยง่ายเพราะอ้ายฟ้าอาจจะมีความรู้เรื่องเมืองหิรัญเงินยางเชียงแสน เมืองเชียงราย และเมืองฝางดีกว่าทุกคนในเมืองหริภุญไชย อีกประการหนึ่งสันนิษฐานว่าพระยาบาอาจจะมีความขัดแย้งกับขุนนางของตน จึงได้ยกย่องอ้ายฟ้าขึ้นเป็นผู้ช่วยของพระองค์ทุกด้านโดยไม่เฉลียวใจว่าจะมาเป็นไส้ศึกของพญามังราย
เมื่อพญามังรายได้เมืองหริภุญไชยแล้ว ได้ประทับอยู่ระยะหนึ่ง แล้วยกให้อ้ายฟ้าไป ปกครองแทนพระองค์ โดยพระองค์ได้สร้างเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองชะแว เมืองนี้นํ้าท่วมจึงได้ย้ายมาสร้างเมืองอีกเมืองหนึ่ง คือ เวียงกุมกาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอสารภีในปัจจุบัน เมืองนี้น้ำก็ท่วมอีก ไม่เหมาะจะให้เป็นเมืองหลวงถาวรได้ จึงได้พยายามแสวงหาทำเล ภูมิประเทศเพื่อสร้างเมืองใหม่
ในที่สุดทรงพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ตอนเหนือของเวียงกุมกาม บริเวณเชิงภูเขาสุเทพ จึงได้เชิญพระสหายของพระองค์มาช่วยคิดการสร้างเมือง คือ พระยาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) แห่งเมืองสุโขทัย พระยางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ดังปรากฏข้อความเรื่องนี้ในตำนาน ราชวงศ์พื้นเมืองเชียงใหม่ ความว่า 

“ … สหายคำพระยางำเมือง พระยาร่วงทั้งสองนั้น กูจักเรียกร้องเสงปองโฟ่จา (ปรึกษา) แล้วจึงควรตั้งชะแลพระยามังรายก็ใช้อำมาตย์ผู้รู้ผู้หลวกไปเมืองพรุยาว (พะเยา) ที่อยู่พระยางำเมือง และเมืองสุกโขทัยที่พระยาล่วง (ร่วง) ก็เรียกร้องเอาพระยาทั้งสองอันเป็นมิตรรักกับด้วยพระยามังราย ก็ชักเชิญว่า จักตั้งบ้านใหญ่เมืองหลวงพระยา มังราย พระยางำเมือง พระยาร่วง 3 คน ทั้งเสนาอำมาตย์ไพร่บ้านไพเมือง สมณพรามณ์ ช่างไม้ ช่างต้อง (แกะสลัก) ช่างแต้ม ทั้งหลายพร้อมเพรียงเสงปองกัน จักเบิกบายชื่อโสรกยังเวียงว่า ชนพบุรีศรีนครเชียงใหม่ ก็โสรกมีสิ้นนี้”  
เมื่อสร้างเสร็จใน พ.. 1839 จึงให้ชื่อเมืองนี้ว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็น ศูนย์กลางการเมืองการปกครองและศูนย์กลางความเจริญของล้านนาตลอดมา

เชียงใหม่สมัยราชวงศ์มังราย
เมื่อพ่อขุนมังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว ได้ทรงปกครองและประทับอยู่เมืองนี้ตลอด พระชนม์ชีพของพระองค์ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นนักรบ นักปกครอง และอาจจะกล่าวว่าพระองค์เป็นนักพัฒนาก็ได้ ด้วยทรงเป็นผู้นำในการสร้างบ้านเมืองหลายเมือง ด้านการปกครองในสมัยนี้สันนิษฐานว่าพ่อขุนมังรายจะทรงปกครองเฉพาะเมืองเชียงใหม่เท่านั้น ส่วนเมืองอื่นเช่นเมืองเชียงราย เมืองหริภุญไชยนั้น คงแต่งตั้งให้ราชโอรสหรือข้าราชการขุนนางที่มีความสามารถไปปกครองแทน เช่น เมืองเชียงรายได้ให้ราชโอรสขุนครามไปปกครอง เมืองหริภุญไชยให้อ้ายฟ้าอามาตย์เอกไปครอง ส่วนด้านการตุลาการหรือการพิจารณาคดีนั้น สันนิษฐานว่าพ่อขุนมังรายจะทรงรวบรวมกฎหมายขึ้นใช้ปกครองที่เรียกว่า มังรายศาสตร์ ซึ่งสันนิษฐานว่ามังรายศาสตร์นี้อาจจะได้รับ อิทธิพลมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญจากหริภุญไชยก็อาจเป็นได้ และกฎหมายนี้คงได้ใช้ ปกครองบ้านเมืองสืบมา
ด้านการส่งเสริมอาชีพประชาชน พ่อขุนมังรายได้ส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพหลายอาชีพ นอกเหนือจากการเกษตรกรรม ได้พบข้อความในตำนานต่างๆ กล่าวว่าพระองค์ได้นำช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างต้อง ช่างเหล็ก ช่างเงิน ฯลฯ มาจากเมืองพุกามเมื่อคราวเสด็จไปเมืองพุกาม ระบุว่า
“ … ดังเจ้าอังวะพุกามนั้นก็เสงปองโฟ่จากันแลคันแสงปองกันแล้ว ยังช่างหล่อ ช่างตี ช่างฆ้อง ผู้ทรงสราด (ฉลาด) ทั้งหลายมาก็เลือกเอาผู้อันช่างหล่อ ช่างตีทั้งหลาย ช่างตีฆ้อง 2 หัว ทังลูกสิถ (ศิษย์) ลูกน้องทังมวล 500 ทังเครื่องพร้อมแล้ว จักยื่นถวายท้าวล้านนา …”
ด้านความสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้านนั้น เชียงใหม่มีความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรพะเยาตลอดจนอาณาจักรพุกาม ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนและการรับเอาวัฒนธรรมระหว่างล้านนาไทยเชียงใหม่กับอาณาจักรใกล้เคียง เช่น ในเวลาต่อมาเชียงใหม่รับเอาพุทธศาสนานิกายหินยานจากสุโขทัย เป็นต้น พ่อขุนมังรายสิ้นพระชนม์ราว พ.. 1854
เมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนมังรายแล้ว เชียงใหม่ได้ปกครองโดยราชโอรสเชื้อสายราชวงศ์มังรายอีกหลายพระองค์ คือ พระยาคราม (.. 1855 - 1855) พระยาแสนภู (.. 1855 - 1887) พระยาน้าท่วม (.. 1865 - 1866) พระยาคาฟู (.. 1866 - 1869) และ (.. 1878 - 1879) และ พระยาผายู (.. 1880 - 1899) ในช่วงระยะเวลาที่พระยาดังกล่าวปกครองบ้านเมืองนั้น บ้านเมืองอยู่ในระยะก่อร่างสร้างเมืองให้มั่นคงยิ่งขึ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของกษัตริย์เชียงใหม่เฉพาะพระองค์ที่สำคัญเท่านั้น หลังจากสมัยพระยาผายูแล้วกษัตริย์องค์ต่อมาคือ พระยากือนา ครองราชย์ระหว่าง พ.. 1898 - 1928

พระยากือนา ทรงเป็นราชโอรสของพระยาผายูเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 6 ของราชวงศ์มังราย ในรัชสมัยของพระองค์นั้น พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้เข้ามาแพร่หลายและประดิษฐานในล้านนาไทย กล่าวคือ ในราว พ.. 1912 พระยากือนาได้อาราธนาพระสงฆ์จากอาณาจักรสุโขทัย สุมนเถระนำเอาพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่ประดิษฐานในล้านนาไทยและเจริญรุ่งเรืองสืบมาจนทุกวันนี้ ในสมัยโบราณก่อนที่รับลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในล้านนานั้น จากหลักฐานทางโบราณคดีตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่าง สันนิษฐานว่าล้านนาไทยจะนับถือพุทธศาสนามาก่อนแล้ว เป็นนิกายมหายาน เพราะได้มีการขุดพบเศียรพระพุทธรูปแบบทวารวดีที่หริภุญไชย และพบเจดีย์มนต์ตามคติมหายาน เพราะได้มีการขุดพบเศียรพระพุทธรูปแบบทวารวดีที่หริภุญไชย และพบเจดีย์มนต์ตามคติมหายานที่อำเภอเชียงแสนและล้านนาไทยมีประเพณีทำบุญปอยข้าวสัง อุทิศส่วนกุศลแก่ ผู้ตายซึ่งประเพณีนี้เหมือนพิธีกงเต๊กตามคติมหายาน เป็นต้น
เมื่อพุทธศาสนาเข้ามาแพร่หลายในล้านนาแล้ว มีผลทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างล้านนาไทยกับอาณาจักรสุโขทัย ทั้งทางศาสนา ศิลปกรรม ประเพณีและพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของคนล้านนาไทยด้วย พระสงฆ์มีบทบาทและได้รับการยกย่องจากสังคมล้านนามาก เช่น ทางด้านการศึกษา พระสงฆ์มีฐานะเป็นครูของประชาชน ด้านการเมืองตั้งแต่สมัย พระยากือนาเป็นต้นไปพบหลักฐานว่าพระสงฆ์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินคดีต่าง ๆ  ร่วมกับขุนนางของบ้านเมือง นอกจากนี้พระสงฆ์ยังมีบทบาทในการว่ากล่าวตักเตือนกษัตริย์ล้านนาไทยผู้ประพฤติไม่ถูกต้องอีกด้วย และเป็นที่พึ่งของประชาชนในยามบ้านเมืองอยู่ในความยุ่งยาก เช่น สงคราม เป็นต้น นับว่าพระสงฆ์เริ่มมีบทบาทตั้งแต่สมัยพระเจ้ากือนาเป็นต้นไป
เมื่อสิ้นสมัยพระยากือนาแล้ว กษัตริย์องค์ต่อมาคือ พระยาแสนเมืองมา (.. 1929 - 1945) และต่อมาก็ถึงสมัย พระยาสามฝั่งแกน (พระเจ้าสามฝั่งแกน ตามตำนานกล่าวว่าประสูติ ณ เมืองแกน ปัจจุบันสันนิษฐานว่าอยู่ที่ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่ บริเวณเมืองเก่านี้มีแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ 1. แม่น้ำแกน (สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า กั่งแก๊น ซึ่งตำนานเมืองแกนกล่าวว่า เป็นอาการคับแค้นใจของประชาชนในเมืองแกนที่ถูกศัตรูรุกราน แล้วกวาดต้อนผู้คนไปทำให้พลัดพรากกัน หรืออาจจะมาจากคำว่า แก๋น แปลว่า กลาง) 2. แม่น้ำปิง และ 3. แม่น้ำสงัด หรืองัด บริเวณเมืองที่เรียกว่า ทุ่งพันแอกพันเผือเมืองแกน อุดมสมบูรณ์มาก กรรมการศูนย์วัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่ได้ทำการวิจัยเรื่องนี้แล้ว พระเจ้าสามฝั่งแกนอาจจะมาจากแม่น้ำสามฝั่งแกนหรือพันนาแกน  ในรัชกาลของพระองค์ พ.. 1967 มีพระเถระชาวเชียงใหม่ 28 องค์ พระชาวลพบุรี 8 องค์ พระรามัญ 1 องค์ ได้ไปศึกษาภาษาบาลีและพุทธศาสนาในลังกา เมื่อกลับมาได้นิมนต์พระพุทธศาสนา 3 คณะ คือ 1. คณะพื้นเมือง 2. คณะรามัญ 3. คณะสีหล (.. 1945 - 1985) กษัตริย์ต่อมาเป็นกษัตริย์องค์สำคัญพระองค์หนึ่งของล้านนาไทย คือ พระยาติโลกราช ครองราชย์ระหว่าง พ.. 1984 - 2030

พระยาติโลกราช หรือพิลกราช ทรงเป็นราชโอรสของพระยาสามฝั่งแกน เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 10 ของราชวงศ์มังราย ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถพระองค์หนึ่ง ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน โดยเฉพาะทางด้านการเมืองและศาสนา ทางด้านการเมืองนั้นฐานะของเมืองเชียงใหม่มั่นคงมาก พระองค์ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน หัวเมืองไทยใหญ่ เช่น เมืองปั่น เมืองสี่ป้อ เมืองนาย เมืองลอกจอก เป็นต้น นอกจากนี้เชียงใหม่ยังได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถหลายครั้ง ในปี พ.. 1994 เชียงใหม่กับอยุธยาทำสงครามชิงดินแดน เนื่องจากพระยายุทธิษเฐียร เจ้าเมืองสองแคว เอาใจออกห่างจากอยุธยามาสวามิภักดิ์ต่อเชียงใหม่ ได้นำทัพเชียงใหม่ไปตีหัวเมืองเหนือของอยุธยา อยุธยาจึงส่งกองทัพมาขับไล่ และ พ.. 2003 พระยาเชลียง เจ้าเมืองสวรรคโลก เอาใจออกห่างจากอยุธยามาสวามิภักดิ์ต่อเชียงใหม่ นำกองทัพเชียงใหม่ไปตีหัวเมืองของอยุธยา จึงเกิดสงครามนี้ขึ้นปรากฏว่าเชียงใหม่ไม่สามารถตีเมืองได้ พอดีเกิดศึกฮ่อ เชียงใหม่จึงยกทัพกลับ พ.. 2018 พระยาติโลกราชจึงทรงติดต่อขอทำไมตรีต่ออยุธยาเป็นการยุติสงคราม อยุธยาเองก็บอบช้ำจากการทำสงครามกับล้านนาไทย ประกอบกับอยุธยาสามารถตีหัวเมืองเหนือคือสุโขทัยจากล้านนาไทยได้ใน พ.. 2005 เมื่อได้ดินแดนทั้งหมดกลับคืนจึงไม่มีเหตุทำสงครามกันอีกต่อไป สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยอมรับไมตรีจากล้านนาไทย ในตอนปลายสมัยพระยาติโลกราช อย่างไรก็ตามสงครามนี้ยังผลให้ล้านนาไทยอ่อนกำลังและเสียรี้พลเป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียเอกราชแก่พม่าในที่สุด
ในสมัยพระยาติโลกราช พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด พระองค์ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนามาก ทรงสร้างวัดขึ้นหลายวัด เช่น วัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ซึ่งต่อมาพระองค์ได้โปรดให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดนี้ ประมาณ พ.. 2020 นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกโลก ครั้งที่ 8 นอกจากนี้ยังได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง มาประดิษฐานไว้ที่วัดเจดีย์หลวงด้วย อาจกล่าวได้ว่า ในสมัยพระยาติโลกราชนี้ล้านนาไทยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสมัยหนึ่ง หลังจากสมัยพระยามังรายแล้ว บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก อาจเรียกว่าเป็นยุคทองล้านนาไทยก็ได้
เมื่อสิ้นสมัยพระยาติโลกราชแล้ว กษัตริย์พระองค์ต่อมาคือ พระยายอดเชียงราย (.. 2031 - 2040) และหลังจากนี้ก็เป็นสมัยของพระยาเมืองแก้ว ครองราชย์ระหว่าง พ.. 2038 - 2068 ในสมัยนี้เป็นสมัยที่สำคัญอีกสมัยหนึ่ง พระยาเมืองแก้วเป็นราชโอรสของพระยอดเชียงรายในสมัยนี้เป็นสมัยที่วรรณคดีของล้านนาไทยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระสงฆ์มีความรู้แตกฉานเชี่ยวชาญในภาษาบาลีมาก ซึ่งเป็นภาษาในพระไตรปิฎกฝ่ายหินยาน พระสงฆ์ในสมัยนี้ได้แต่งคัมภีร์ไว้มากมาย มีความไพเราะมาก เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์หรือชินกาลมาลินี แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ คัมภีร์ มังคลัตถทีปนี และเวสันตรปนี แต่งโดยพระศิริมังคลาจารย์ จามเทวีวงศ์ แต่งโดยพระโพธิรังสี เป็นต้น (คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ปัจจุบันใช้เป็นหลักสูตรสอบปริยัติธรรมประโยค 4, 5, 6, 7) หลังจากสมัยพระเมืองแก้วแล้ว พระสงฆ์ล้านนาก็ได้แต่งคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงไว้อีกหลายเล่ม เช่น สารัตถทีปนี แต่งโดยพระญาณวิลาสเถระ รัตนพิมพวงศ์ แต่งโดยพระพรมปัญญาชาวลำปาง และสิหิงคนิทาน ฯลฯ อาจจะกล่าวได้ว่าสมัยนี้เป็นยุคทองของวรรณกรรม
สิ้นสมัยพระเมืองแก้วแล้ว ข้าราชการประชาชนได้แต่งตั้งพระยาเกษเกล้า อนุชาของพระยาเมืองแก้วขึ้นเป็นกษัตริย์สืบมา ด้วยพระเมืองแก้วไม่มีราชโอรส พระยาเกษเกล้าหรือพระเมืองเกษเกล้าครองราชย์ระหว่าง พ.. 1069 - 2081 สมัยนี้บ้านเมืองตกอยู่สมัยเสื่อม ซึ่งเริ่มอ่อนแอลงตั้งแต่สิ้นสมัยพระยาติโลกราชแล้ว ได้เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติในสมัยพระเมืองเกษเกล้า อำนาจการ ปกครองตกอยู่ในมือของข้าราชการขุนนาง ข้าราชการมีอำนาจมากถึงกับสามารถถอดถอนและแต่งตั้งกษัตริย์ได้ ข้าราชการขุนนางได้พร้อมใจกันปลดพระเมืองเกษเกล้าออกจากตำแหน่งกษัตริย์เชียงใหม่แล้วเนรเทศพระองค์ไปอยู่เมืองน้อย และได้อัญเชิญท้าวซายคำ ราชโอรสของพระเมืองเกษเกล้าขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่แทน ต่อมาข้าราชการเห็นว่าท้าวซายคำปกครองบ้านเมืองไม่ชอบด้วยราชธรรม ปกครองไม่เป็นธรรม ข้าราชการจึงได้ร่วมมือกันปลงพระชนม์ท้าวคำซายเสีย แล้วกลับไปอัญเชิญ พระเมืองเกษเกล้าจากเมืองน้อยกลับมาครองราชย์อีกครั้งหนึ่ง และต่อมาไม่นานพระเมืองเกษเกล้า ถูกลอบปลงพระชนม์อีก ในระยะนี้ขุนนางเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระนางจิรประภาเทวีขึ้นปกครองอยู่ ระยะหนึ่ง
หลังจากนั้น ข้าราชการขุนนางได้พร้อมใจกันเชิญพระไชยเชษฐาธิราชแห่งเมืองล้านช้าง ซึ่งเป็นราชโอรสของพระนางยอดคำทิพ พระราชธิดาของพระเมืองเกษเกล้ากับพระเจ้าโพธิสารให้มา ปกครองเชียงใหม่ พระไชยเชษฐาปกครองระหว่าง พ.. 2089 – 2090 ปกครองเชียงใหม่ได้ประมาณสองปี พระเจ้าโพธิสารราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์จึงได้เสด็จกลับไปปกครองเมืองล้านช้าง เมืองเชียงใหม่จึงว่างกษัตริย์ลงอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมา ข้าราชการขุนนางจึงพิจารณาเห็นพ้องกันว่าให้อัญเชิญพระเมกุฏิ (เจ้าฟ้าแม่กุ) แห่งเมืองนาย ซึ่งพระเมกุฏิทรงเป็นเชื้อสายของขุนเครือราชบุตรพ่อขุนมังรายมาปกครองเชียงใหม่ พระ เมกุฏิปกครองระหว่าง 2094 - 2101 นับเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์มังรายที่ปกครองเชียงใหม่ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
จากหลักฐานตำนานเชียงใหม่ฉบับวัดหมื่นล้านกล่าวว่า บ้านเมืองในสมัยพระเมกุฏินั้นอยู่ในสภาพยุ่งเหยิง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนนานัปประการจากการกระทำของขุนนางพม่าที่พระเมกุฏิมอบอำนาจให้ปกครองบ้านเมือง ได้มีการสั่งเกณฑ์แรงงานจากประชาชนอย่างหนัก เรียกเก็บภาษีมาก ทำให้ประชาชนไม่พอใจและเดือดร้อนมาก ดังปรากฏข้อความว่า
 “ … ในขณะนั้นบ้านเมืองทั้งมวลก็คว่ำเขือก เป็นทุกข์ด้วยกาน (การ) บ้านกานเมืองมากนัก ผัวไปทางหนึ่งเมียไปทางหนึ่ง ต่อเก็บส่วยไรก็พ้นประหมาน (มาก) ชุอันเป็นหย่อมหญ้าข้าเมืองนั้นแล เขานั่งไหนไห้ (ร้องไห้) หั้นด้วยมหาราชเจ้ามีอาชญา หื้อคนพาลาเก็บส่วนไร้ร่ำล้นพ้นประมาณ ไพร่ฟ้าข้าเมืองหาสังจักออกจักเสียก็บ่ได้ เขาก็นั่งไหนไห้หั้นขณะนั้นบ้านเมืองทังมวลเกิดโกลาหนชุบ้านชุที่ ทุกขภัยอยากน้ำกั้นข้าวมากนัก บ้านเหนือรบบ้านใต้ บ้านใต้รบบ้านเหนือ ครุบชิงกัน (แย่งชิงกัน) เอาข้าวของหั้นแล บ้านเมืองทังมวล ก็ตระหมอดหอดหิว (อดอยาก) แห้งแล้งมากนัก น้ำฟ้าน้ำฝนก็บ่ตกมาได้แล …”
สำหรับความเสื่อมของเมืองเชียงใหม่ ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณซึ่งได้เขียนไว้ในตำนานเชียงใหม่ ฉบับวัดหมื่นล้าน (พิมพ์โดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2519 ปัจจุบันเท่าที่พบเป็นตำนานเรื่องเดียวที่กล่าวถึงความเสื่อมของเชียงใหม่) กล่าวว่าเมื่อบ้านเมืองกำลังระสํ่าระสายนั้น ประชาชนและขุนนางได้อาราธนาสมเด็จสามีสังฆราชมหาเถระไปกราบทูลพระเมกุฏิทรงทราบว่า บ้านเมืองจะพินาศฉิบหายด้วยพระองค์ได้ละทิ้งจารีตประเพณีดั้งเดิมของบ้านเมือง และการกระทำบางอย่างเป็นเหตุให้บ้านเมืองเสื่อมหรือฉิบหาย ซึ่งภาษาล้านนาไทยเรียกว่าต้องขึดสมเด็จสามีสังฆราชมหาเถระ กราบทูลขอให้พระเมกุฏิทรงปฏิบัติตามจารีตประเพณีของล้านนาไทย ทั้งนี้เพราะพระเมกุฏิและขุนนางจากเมืองนายมีวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างแตกต่างจากล้านนาไทย การกระทำบางอย่างคนเมืองเหนือถือว่าไม่เสียหายแต่คนล้านนาไทยถือว่าจะเป็นเหตุให้บ้านเมืองเสื่อมหรือต้องขึดจากตำนานเชียงใหม่พอสรุปว่าบ้านเมืองเชียงใหม่เสื่อมเพราะการกระทำของพระเมกุฏิและขุนนางของพระองค์ได้ดังนี้
ประการแรก พระเมกุฏิอนุญาตให้สร้างกำแพงใหม่ล้อมกำแพงเก่าในลักษณะราหูอมจันทร์ ประการที่สอง พระเมกุฏิไม่ควบคุมดูแลขุนนางพม่า (ที่มาจากเมืองนาย) อนุญาตให้ประชาชนนำศพผ่านออกประตูช้างเผือก อ้อมไปทางแจ่งหัวริน ผ่านประตูสวนดอกและแจ่งกู่เฮืองแล้วจึงเผา เชื่อว่าเป็นการยํ่าอายุเมืองเชียงใหม่ ประการที่สาม ขุนนางอนุญาตให้ประชาชนนำโลงศพที่เผาศพแล้วเหลือโลงไว้นำโลงกลับเข้ามาในเมือง ซึ่งผิดจารีตประเพณีเดิม ประการที่สี่ ขุนนางอนุญาตให้ประชาชนบางคนเผาศพภายในกำแพงเมือง ริมฝั่งแม่นํ้า บริเวณเกาะ และในวัด ซึ่งไม่ทำกันมาก่อน ประการที่ห้า อนุญาตให้ประชาชนกวนนํ้าและระบายนํ้าในหนองบัว 7 กอให้แห้ง (ปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือบริเวณที่ลุ่มตรงข้ามคูเมืองบริเวณแจ่งศรีภูมิ) ซึ่งเป็นหนองน้ำสำคัญของเมือง ประการที่หก ลำน้ำห้วยแก้วมีประชาชนไปกั้นทางนํ้าให้ไหลเข้าเมืองโดยสะดวก ประการที่เจ็ด เกณฑ์ประชาชนตัดไม้ชักลากมาในฤดูฝนล่องตามแม่น้ำและเหมืองฝาย ทำให้ทำนาได้ไม่สะดวก ประชาชนได้รับความลำบากมาก ประการที่แปด พระเมกุฏิห้ามประชาชนบูชาบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ เสาอินทขีล และผีบ้านผีเมือง ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของคนล้านนาไทย การกระทำดังกล่าวของพระเมกุฏิและขุนนางของพระองค์ คนล้านนาไทยเชื่อว่าทำให้บ้านเมืองเสื่อม เทพยดาอารักษ์ไม่ปกปักษ์รักษาบ้านเมือง เมื่อพม่ายกกองทัพมาโจมตี จึงเสียเมืองแก่พม่า (พระเจ้าบุเรงนอง) โดยง่าย
ดังนั้น จะเห็นว่าเมืองเชียงใหม่สมัยพระเมกุฏิปกครองนั้น บ้านเมืองอ่อนแอ ประชาชน ข้าราชการ ขุนนาง แตกความสามัคคี จนยากจะแก้ไขให้เข้มแข็งดังเดิมได้ จึงเสียเอกราชแก่พระเจ้า บุเรงนองในปี พ.. 2101 ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานนับสองร้อยปีเศษ จึงสามารถขับไล่พม่าออกไปในสมัยราชวงศ์กาวิละ

เชียงใหม่เมืองประเทศราชของพม่า
เมื่อบุเรงนองยึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว ในระยะแรกนี้พม่ามิได้เข้ามาปกครองโดยตรง แต่ได้แต่งตั้งให้พระเมกุฏิเจ้าเมืองเชียงใหม่ปกครองบ้านเมืองตามเดิม ในฐานะเมืองประเทศราชของพม่าซึ่งเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง จะต้องเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย จะต้องส่งส่วยเป็นสิ่งของตามที่พม่าต้องการ เช่น ช้าง ม้า น้ำรัก เครื่องแพรพรรณต่างๆ และจะต้องจัดหากำลังคน เสบียงอาหารช่วยพม่าในยามเกิดศึกสงคราม  ต่อมาพม่าได้ปลดพระเมกุฏิออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ใน พ.. 2107 โดยพม่าอ้างว่าพระเมกุฏิคิดการเป็นกบฏ พม่าได้แต่งตั้งสตรีเชื้อสายราชวงศ์มังรายเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่คือ นางพระยาราชเทวี หรือพระนางวิสุทธิเทวี ซึ่งนับเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่เชื้อสายราชวงศ์มังรายองค์สุดท้ายที่ปกครองบ้านเมืองฐานะประเทศราชของพม่า เมื่อนางพระยาราชเทวีสิ้นพระชนม์ พม่าก็ได้แต่งตั้งให้เจ้านายและข้าราชการของพม่ามา ปกครองเมืองเชียงใหม่โดยตรง กษัตริย์เชียงใหม่สมัยที่พม่าปกครองรวมทั้งสิ้นจำนวน 13 พระองค์
การปกครองของพม่าในล้านนาไทย พม่าพยายามปกครองหัวเมืองล้านนาไทยอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการกบฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นผู้ปกครองบ้านเมือง พม่าจะควบคุมเป็นพิเศษ พม่าได้ควบคุมนโยบายสำคัญ ๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ โดยได้ควบคุมการแต่งตั้งโยกย้ายถอดถอนเจ้าเมืองล้านนาไทย ตลอดจนการปูนบำเหน็จและการลงโทษด้วย ควบคุมการเกณฑ์กำลังคนเพื่อใช้ในยามสงคราม และพม่าได้นำตัวราชบุตรหรืออนุชาเจ้าเมืองประเทศราชไปไว้เป็นตัวประกันที่เมืองพม่าด้วย
สำหรับการปกครองภายในบ้านเมืองนั้น กิจการใดที่ไม่ขัดกับผลประโยชน์ของพม่า สันนิษฐานว่าพม่าคงอนุโลมให้เจ้าเมืองในล้านนาไทยมีอิสระ ปกครองกันเองภายใต้อำนาจของพม่า สำหรับเมืองเชียงใหม่นั้นในฐานะที่เป็นเมืองสำคัญ พม่าได้แต่งตั้งขุนนางและกษัตริย์พม่าเข้ามาทำการปกครองโดยตรง นับตั้งแต่สิ้นสมัยนางพระยาราชเทวีเป็นต้นมา ได้พบหลักฐานข้อความในเอกสารคัมภีร์โบราณ ได้เขียนเกี่ยวกับกฎหมายที่พม่าใช้ปกครองในเมืองเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่าพม่า ดำเนินการปกครองตามจารีตประเพณีที่เคยปกครองมาแต่ก่อน เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเชียงใหม่เกลียดชังผู้ปกครองพม่าซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการต่อต้านพม่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามพม่าก็ได้ควบคุมและจัดการเกี่ยวกับบางเรื่องอย่างเข้มงวดกวดขัน ซึ่งได้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคัมภีร์ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดเชียงมั่น พอสรุปได้ดังนี้
พม่ากับไพร่เมืองเชียงใหม่ (ไพร่เมืองหมายถึงประชาชนในล้านนาไทยที่เป็นอิสระชน มีหน้าที่มาทำงานหรือเข้าเวรให้กับทางราชการหรือบ้านเมือง ในสมัยโบราณตามกฎหมายต่างๆ เรียกว่าไพร่เอาการเมือง) ได้พบว่าพม่ามีคำสั่งให้ข้าราชการขุนนางพม่าเลี้ยงดู รักษาไพร่ไทอย่าให้ไพร่ไทเดือดร้อนทุกข์ยาก ให้ไพร่มีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ และให้ไพร่ยินดีที่จะทำงานให้ทางบ้านเมือง ดังปรากฏข้อความว่า
 “ … สักราชได้ 931 ตัว (.. 2112) เดือน 11 ออก 10 ค่ำ วัน 7 รักชื่อโกชนะ 16 ลูก กินเมืองพิง จาเรนั้นก็หื้อมังแรส่วย ต้องเข้าภิทูรไหว้สาเจ้าตนบุญใหญ่ ธัมมราชาหลวงเมืองเชียงใหม่แต่เช่นเกล่า (เก่า) ราชาทั้งหลายมีรีดเกล่ารอยหลังมา อันได้แต่งกินเมืองเชียงใหม่ เก็บหอมไพร่ไทอวบฟักรักสา บ่หื้อรีดมล้าง เยืองสันใด (ฉันใด) ไพร่ไทไพร่บ้านไทเมืองบ่ร้อนบ่ไหม้บ่ทุกข์ยาก ก็หื้อเสมอกับด้วยกัน หื้อมีสมันตหื้อสุขหนุกชุ่มเย็นดั่งข้าใหญ่ไพร่ไทกูทั้งหลาย เช่น กูนี้ก็มีใจชื่นชมยินดีเวียกส้าง (ทำงาน) ซื้อขายกินไปใกล้ไปไกลนั่งนอนก็เสมอดั่งพร้อมกันพร้อมเพรียง …”
เกี่ยวกับการบุกเบิกที่นาของไพร่หรือประชาชน พม่าให้อนุโลมตามกฎหมายมังรายศาสตร์ว่าเรือกสวนไร่นาใดกลายเป็นนาร้างนาน 10 ปี ต่อมาไพร่ไทได้แผ้วถางบุกเบิกให้เป็นไร่นา ให้ไพร่ทำนาโดยไม่เก็บค่านา 3 ปี ถ้าเกิน 3 ปีไปแล้ว ให้ขุนกินเมืองเก็บภาษีตามประเพณีโบราณ ดัง ข้อความว่า
“ … ประการ 1 ดั่งข้าเจ้าคนในทั้งหลาย ไร่นาเรือกสวนห้วยร้องปลาบวกหนองทั้งหลายนั้น เปล่าห่าง 10 ปี ไพร่ไทข้าเจ้า (ข้า หมายถึงทาส) เอาการทั้งหลาย แผ้วถางถากฟันเยียะไร่ แปลงนานั้น บ่ล้ำสามปี อย่าได้เอาของฝาก (ภาษีหรือค่าเช่า) คันล้ำสามปีไปหากเยียะสร้างก็ดี ขุนกินเมืองกินแคว้น แก่หัวทั้งหลาย หื้อได้หยั่งแยงหยุดผ่อน อย่าเอาเต็มอาเจียรบูราณ (โบราณ)”
กรณีที่ไพร่ไปรบในสงครามได้กู้เงินในระหว่างทำสงคราม เมื่อกลับมาถึงบ้านเมืองแล้ว ให้ผู้กู้ใช้คืนสองเท่า ถ้าลูกหรือสามีไปกู้เงินในระหว่างไปรบ มีผู้รู้เห็นหลายคนว่ากู้ไปจริง (สันนิษฐานว่ากรณีนี้ผู้กู้อาจจะตายในสงครามผู้เขียน) ให้ลูกเมียใช้หนี้แทนถ้าไม่มีเงินใช้เพราะยากจน ให้เจ้านายของไพร่ (อมวยขระกูล) ใช้แทน ถ้าเจ้านายไม่ใช้แทน ให้ข้าราชการขุนนางพม่าประชุมปรึกษากันแล้วใช้เงินแทนไพร่๓๓เพื่อให้ไพร่ไปรบข้าศึก นับเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของพม่าที่ให้แก่ไพร่ผู้อุทิศเวลาและชีวิตไปรบในสงคราม นอกจากนี้ พม่ายังได้ออกกฎหมายไพร่เกี่ยวกับความสะดวกสบายของลูกหลานไพร่ที่ไปรบว่า ถ้าลูกหรือสามีของไพร่ผู้ใดไปช่วยรบในสงครามต่างบ้านต่างเมือง ขุนกินเมืองหรือผู้ปกครองไพร่ผู้นั้นจะเรียกลูกหรือภรรยาของผู้ศึกษาไปใช้งานมิได้๓๔ ข้อนี้นับเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่ลูกและภรรยาของผู้ไปรบสงครามประการหนึ่งเช่นกัน
เกี่ยวกับการควบคุมไพร่เมืองหรือประชาชนนั้น ได้พบข้อความที่แสดงให้เห็นว่าพม่าได้พยายามควบคุมไพร่เมือง เพราะไพร่เป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองทั้งยามสงบและยามสงคราม พม่าอนุญาตให้ไพร่เมืองย้ายถิ่นฐานได้ แต่ห้ามมิให้ไพร่เมืองหลบหนีไปอยู่ป่า หรือหลบออกจากเมืองไปอยู่ในที่ๆ พม่าควบคุมไม่ถึง ถ้าพบว่าคนใดหลบหนีไปอยู่ป่าให้จดชื่อของคนผู้นั้นแล้วนำไปแจ้งให้เจ้านายทราบ เพื่อจะได้สั่งดำเนินการกับไพร่ผู้นั้นต่อไป ดังปรากฏข้อความว่า
ประการ 1 ดั่งเมืองอันได้แต่งเก็บหอมนั้น แต่บ้าน 1 ก็ย้ายออกไปอยู่บ้าน 1 แก่หัวสิบซาว (นายสิบนายซาว) ทั้งหลายเรียกร้องเอานั้น ดังแก่บ้านพ่อเมืองนั้น อย่าเกิ้งอย่าเกิ๊ด (อย่าขัดขวาง) อย่าห้ามทาประมาณ 1 ออกแต่บ้านนั้น ไปลี้ลับซงอยู่นั้น (ไปซ่อนอยู่) หื้อได้เหมียดหมายซื่อแล้ว หื้อได้เข้าไหว้สาที่สนามคา… ”
อนึ่ง พม่าได้กำหนดให้ไพร่ทำงานให้กับทางราชการบ้านเมืองตามประเพณีแต่โบราณมา ซึ่งในสมัยราชวงศ์มังรายไพร่ทุกคนมีหน้าที่มาทำงานให้บ้านเมืองตามที่กำหนด เรียกว่าไพร่เอาการเมืองพม่าได้ควบคุมมิให้ไพร่หนีงาน ถ้าราชการมีงานให้ไพร่ทำ แล้วไพร่ทำอุบายหลบหนีงานให้ ควบคุมไว้ หากเมื่อทำงานเสร็จแล้วขุนนางพม่าอนุญาตให้กลับบ้าน ไพร่ต้องไปอยู่ที่เดิมหรือสังกัดเดิม แต่ทำอุบายจะหลบหนีอีกให้ลงโทษจำคุก (ปันราชวัตร) ไพร่ผู้นั้น
ถ้ากรณีบ้านเมืองมีงานให้ไพร่ทำ พ่อแม่ของไพร่ผู้นั้นทราบแล้วว่าจะต้องให้ลูกของตนไปทำงานนั้น แต่พ่อแม่ละเลยหลีกเลี่ยงโดยได้ส่งลูกของตนไปอยู่ที่อื่น หรือให้ลูกของตนไปหลบอยู่ตามป่าเขา ถือว่าหลีกเลี่ยงงานราชการ ให้จับกุมพ่อแม่แล้วให้ลงโทษประหารชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นโทษสถานหนัก แสดงว่าพม่าควบคุมแรงงานไพร่อย่างเข้มงวดกวดขันมาก ในทางตรงกันข้ามก็สันนิษฐานได้ว่า พม่า ลงโทษอย่างรุนแรงนี้ก็อาจจะเป็นเพราะมีไพร่เมืองพยายามหลบหนีงานราชการมากก็เป็นได้ จึงลงโทษสถานหนักเพื่อให้คนเกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับนั้น ซึ่งข้อนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเชียงใหม่ไม่พอใจการปกครองของพม่าแล้วหาทางเป็นกบฏจากพม่าตลอดเวลา เกี่ยวกับเรื่องนี้มีความระบุว่า
ประการ 1 ดั่งกิจการราชการเจ้าเกิดมีก็หากรู้จักว่า จักได้ลูกเอาราชการก็เอาลูกเต้าไปส่งเสียที่ไกลแล้ว ก็ซุกซ่อนหว่างห้วยพูดอยป่าเถื่อนบุบุ่นไปซุกซ่อนตั๋วอยู่ยังหว่างห้วยพูดอยพูเขา (ภูเขา) เป็นผู้หลีกเว้นยังการเจ้าดั่งเขาทั้งหลายนั้น ก็หื้อไล่กุมกำยับเอาทั้งแม่หญิงพ่อชายหื้อเสี้ยงแล้ว หัวเขาตกดินนับเสี้ยง (ฆ่าเสีย)”
เกี่ยวกับเรื่องของข้าทาสนั้น พม่ากำหนดว่าผู้ใดทุบตีทาส (ข้า) ของผู้อื่นตายให้แจ้งความให้ขุนนางพม่าทราบ อย่าได้ปิดบังไว้ แสดงว่าพม่าควบคุมทาสในเชียงใหม่ด้วย
ขบวนการยุติธรรมในบ้านเมือง กรณีมีคดีพิพาทเกิดขึ้นในบ้านเมืองให้ผู้ปกครองหรือ เจ้าขุนเป็นผู้ตัดสินคดี ถ้าเป็นคดีสำคัญหรือคดีใหญ่ให้มีการประชุมเจ้าเมือง (ขุนกินเมือง) เลขานุการ (จาเรแคว้น) หัวหน้าแคว้นและล่าม ให้ประชุมพร้อมกันที่กว้าน (ศาล) แล้วจึงให้พิจารณาตัดสินตามธรรมศาสตร์ (รีดคลองธัมมสาด) ราชศาสตร์ อย่าได้ตัดสินโดยเห็นแก่สินบนหรือตัดสินโดยลำเอียง นับว่าพม่าได้ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนในปกครองของพม่าพอสมควร
เกี่ยวกับการควบคุมข้าราชการของพม่านั้น ได้พบข้อความที่แสดงว่าพม่าปกครองเชียงใหม่อย่างมีระเบียบแบบแผน ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของขุนนางพม่าที่ทำหน้าที่ผู้ปกครอง บ้านเมืองอย่างรัดกุม เพื่อให้การปกครองเป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและตามที่พม่าต้องการ และเป็นการป้องกันมิให้ข้าราชการพม่าใช้อำนาจข่มเหงประชาชน ดังพอจะสรุปถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับ ข้าราชการพม่าได้ดังนี้
ห้ามข้าราชการพม่า ปรับไหมหรือลงโทษประชาชน โดยที่กฎหมายมิได้กำหนดว่าเป็นความผิด ถ้าจะมีการพิจารณาตัดสินคดีห้ามตัดสินคดีตามใจชอบ ให้พิจารณาโดยละเอียด รอบคอบก่อนแล้วจึงตัดสิน
ลูกหลานของขุนนางพม่าในเชียงใหม่ หากไปเที่ยวตามหมู่บ้านต่างๆ ห้ามใช้อำนาจไปบังคับประชาชนให้นำอาหาร หมู เป็ด ไก่ หมาก เมี่ยง พลู ของขบเคี้ยวต่างๆ จากชาวบ้าน ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
สำหรับทหารพม่าที่มาจากหงสาวดีและอังวะ เข้าตั้งเมืองเชียงใหม่แล้วให้ปลูกโรงช้างโรงม้าบ้านเรือนขึ้นใหม่ อย่าได้ข่มเหงขุนนาง (ขุนกินบ้านกินเมือง) เชียงใหม่ทั้งหลายให้เดือดร้อน เขาแบ่งปันให้เท่าใดให้รับเอาเพียงเท่านั้น อย่าได้แก่งแย่งครุบชิงเอาของเขา
ส่วนประชาชนพม่าในเมืองเชียงใหม่นั้น ห้ามแอบอ้างเอากฎหมายหรือหนังสือทางบ้านเมืองไปข่มเหงเบียดเบียน ปรับไหมประชาชน ถ้าผู้ใดได้กระทำเช่นนี้ ให้ขุนนางทั้งหลายจับกุมผู้ทำผิดและครอบครัวที่คนพม่าผู้นั้นไปละเมิดปรับไหมข่มเหงเขา ให้นำมามอบให้ขุนนางผู้ใหญ่พิจารณา ลงโทษ
ด้านภาษีอากร พม่าได้พยายามควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ ให้นำมาใส่พระคลังไว้ มิให้ ข้าราชการซ่อนหรืออำหรือใช้สอยของของทางราชการ ดังความว่า
“ … วัตถุกับน้ำ คันไร่นา เรือกสวนบ้านป่าคนทั้งหลายฝูงนั้น ดั่งขุมกินบ้านกินเมืองทั้งหลาย อย่าซ่อนอย่าอำไว้อย่าได้ใช้สอย ก็หอบขมาเข้าที่ราชสมบัติ …”
สำหรับของที่เป็นของทางราชการบ้านเมืองมาก่อน (สมัยราชวงศ์มังราย) อย่าได้ เปลี่ยนแปลงล้มล้างเสีย เดิมเคยเก็บเข้าคลังอย่างใดก็ให้ปฏิบัติตามเดิมเช่นนั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้สมบัติของบ้านเมืองในสมัยพม่าปกครองลดจำนวนลง
กรณีที่ประชาชนหรือเจ้าขุนนำส่วยมาให้เป็นส่วยเดือนหรือส่วยปี เป็นน้ำมันดิน หรือ สิ่งของอื่นๆ ข้าราชการขุนนางพม่าอย่าได้เก็บไว้เป็นของตน ดังปรากฏข้อความว่า
“… คันข้าเจ้าคนในทั้งหลาย อันส่วยเขาด้วยเขาปลี (ปี) เขาเดือน เชาเดือน เชานํ้ามันดิน กาง (กลาง) ท่า หอบสิ่ง ดั่งข้าเจ้าคนในทั้งหลายฝูงนี้อย่าได้เก็บเอา
ส่วนฉางหลวงหรือพระคลังหลวงนั้น ให้ได้นำข้าว พืชพันธ์ (เครื่องปลูก) อาหารต่างๆ มาเก็บรักษาไว้ตามประเพณีที่เคยมา เพื่อฉางหลวงคลังหลวงจะได้มีข้าวของเงินทองไว้ใช้สอยในกิจการบ้านเมืองหรือคราวจำเป็น เช่น ยามสงคราม ดังปรากฏข้อความว่า
“… ประการ 1 ดังสาง (ฉาง) หลวงเหล้ม (เล่ม หลวง อันได้หล่อได้ปันตาม เช่นเกล่า ตามเช่นเกล่า (เก่า) รอยหลัง ก็หื้อได้จัดถามแล้ว หื้อได้เปล่าเติน (ประกาศเตือน) สร้างแปลง ข้าว ยา ยาเคี้ยว เครื่องปลูกทั้งหลาย หื้อได้ใส่ได้หล่อ ตามเช้นเกล่าบูราณ …”
ในกรณีที่ทางราชการบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการจะเรียกเกณฑ์เงินทอง ข้าวเปลือก ข้าวสาร เช่น ในภาวะสงคราม ทางราชการจะเรียกเก็บจากประชาชนก็ไม่ทันการณ์ ให้ข้าราชการเจ้าเมืองทั้งหลายจ่ายทดแทนไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากไพร่และอย่าได้เก็บค่าดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนที่จ่ายทดแทนครั้งนั้น ให้เรียกเก็บเท่าที่จ่ายทดแทนไป ดังปรากฏข้อความว่า
ประการ 1 ขุนกินบ้านกินเมืองแก่หัวจาเรทั้งหลาย ดั่งกิจจราชการหากเกิดมีมานั้นและดั่งเงินทองข้าวเปือก (เปลือก) ข้าวสาน (สาร) นั้น หากบ่ทันเก็บเป็นการอันรีบนั้น หื้อแก่ หัวขุนกินบ้านกินเมืองทั้งหลายได้ออกปันก่อน คันออกแล้วเบี้ยเงินข้าวเปือกข้าวสานนั้นดั่งขุนกินบ้านกินเมืองทั้งหลาย ดั่งคนเวียกคนการทั้งหลาย ลูกบ้านลูกเมืองทั้งหลาย ก็อย่าได้ขึ้นดอกออกปลายเอามาเสียกว่า (มากกว่า) อันออกนั้น …”
จากข้อความในกฎหมายพม่า เกี่ยวกับเรื่องไพร่เมือง การควบคุมไพร่เมืองและข้าราชการพม่าด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนพ่อค้าประชาชนพม่าในเชียงใหม่ และเรื่องความยุติธรรมดังกล่าวข้างต้น อาจจะกล่าวได้ว่า พม่าได้พยายามปกครองเมืองเชียงใหม่อย่างรัดกุมและมีระเบียบ เพื่อให้การปกครองเป็นไปอย่างถูกต้องและเรียบร้อย ตลอดจนได้พยายามปกครองโดยอนุโลมตามประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติมา เช่น เรื่องเกี่ยวกับการบุกเบิกไร่นาของพม่า เป็นต้น
การที่พม่าอนุโลมให้ใช้กฎหมายมังรายศาสตร์และได้แก้ไขเพิ่มเติมบางตอนนั้น ด้วยได้พบข้อความในกฎหมายมังรายศาสตร์ว่า
ตามคลองยายีม่าน ว่าด้วยลักษณะมักเมียท่าน อันนี้อยู่นอกคลองมังรายศาสตร์แล …”
หมายว่าตามกฎหมายพม่าว่าด้วยการไปชอบเมียผู้อื่นให้ลงโทษหนัก ซึ่งข้อนี้ไม่ใช่กฎหมายมังรายศาสตร์ ที่พม่าอนุโลมเช่นนี้อาจเป็นเพราะพม่าได้ป้องกันมิให้คนเชียงใหม่หรือล้านนาไทยเดือดร้อน และรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงด้านการปกครองจากพม่า อันจะก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือประชาชนเกลียดชังพม่าทำให้ยากแก่การควบคุมและอาจจะมีการจลาจลขึ้นได้ อย่างไรก็ตามก็จะพบว่า แม้พม่าอนุโลมตามประเพณีดั้งเดิมของล้านนาไทยบางเรื่องที่ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของพม่าก็ตาม แต่เรื่องที่สำคัญและเป็นผลประโยชน์ของพม่า เช่น เรื่องการควบคุมไพร่ การทำงานของไพร่ ฯลฯ จะเห็นว่าพม่าได้เข้ามาควบคุมอย่างเข้มงวดกวดขัน อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่คนล้านนาไทยไม่พอใจและคิดการกบฏต่อพม่าตลอดมา เมื่อฝ่ายไทยมาช่วยเหลือเพื่อขับไล่พม่าออกจากบ้านเมืองคนล้านนาไทยจึงร่วมมือกับฝ่ายไทยด้วยดี จนสามารถขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ

วัฒนธรรมประเพณีพม่าในล้านนาไทย
ตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครองล้านนาไทยเป็นเวลาตั้งแต่ พ.. 2101 ถึง พ.. 2317 นั้น พม่าได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนเข้ามาเผยแพร่ในล้านนาไทยหลายด้าน ทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความเชื่อ การแต่งกาย อาหาร ฯลฯ ทางด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น เจดีย์ในเชียงใหม่หลายวัดสร้างตามแบบเจดีย์พม่า เช่น เจดีย์วัดแสนฝาง เป็นต้น ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามวัดต่าง ๆ นิยมสร้างตามประเพณีพม่า ด้านปติมากรรมพบพระพุทธรูปแบบพม่าในวัดต่าง ๆ ในล้านนาไทยทั่วไป เช่น พระพุทธรูปวัดพระแก้วดอนเต้า อำเภอลำปาง การที่คนล้านนาไทยนิยมบวชเณรมากกว่าบวชพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีนิยมของพม่าอย่างหนึ่งเช่น การนิยมสักตามร่างกายเป็นประเพณีของพม่า ซึ่งคนพม่าถือว่าเด็กผู้ชายของพม่าจะถือว่าเป็นหนุ่มต่อเมื่อได้สักตามร่างกายแล้ว โดยสักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และเชื่อว่าทำให้คงกระพัน ประเพณีการสักนี้ พม่านำเข้ามาใช้ในล้านนาไทยด้านศาสนา พม่าได้เอาพุทธศาสนาหีนยานแบบพม่า เรียกว่า นิกายม่าน เข้ามา เผยแพร่ในล้านนาไทย แต่สันนิษฐานว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร แม้ว่าพม่าจะนำเอาพระสงฆ์เข้ามาและสร้างวัดพม่าก็ตาม ส่วนความนิยมและสิ่งที่พม่านำไปจากเชียงใหม่หรือล้านนาไทยนั้น สันนิษฐานว่าพม่าคงนำไปน้อยมาก เพราะคนพม่าที่เข้ามาปกครองล้านนาไทยนั้นมีจำนวนน้อยและอยู่ในฐานะผู้ปกครองล้านนา จึงไม่เลื่อมใสยกย่องวัฒนธรรมของคนที่ตนปกครองอยู่ อย่างไรก็ตามพม่าได้นำเอาวิธีการบางอย่างที่พม่าไม่สามารถทำได้นำไปใช้ในบ้านเมืองของตน เช่น พม่านำเอาวิธีขุดพื้นรักลงเป็นรูปภาพต่างๆ ไปจากเชียงใหม่๕๗ พม่าปกครองเชียงใหม่นาน 200 ปี จนถึงสมัยพระยากาวิละได้ร่วมมือกับฝ่ายไทยขับไล่อำนาจพม่าออกไปได้สำเร็จ ล้านนาไทยจึงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทยเรื่อยมา
เชียงใหม่ในช่วงเวลานับตั้งแต่เป็นประเทศราชของไทยใน พ.. 2317 จนถึง พ.. 2476 ได้เปลี่ยนแปลงรูปลักษณะการปกครองต่างไปจากสมัยก่อนหน้านั้น และเมื่อพิจารณาสามารถแบ่งออกเป็น 2 สมัย ดังนี้
1. เชียงใหม่สมัยเป็นประเทศราชของไทย (.. 2317 - ก่อนการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5)
2. เชียงใหม่สมัยปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ (.. 2427 - 2476)

1.1 เชียงใหม่สมัยเป็นประเทศราชของไทย (.. 2317 - ก่อนการปฏิรูปสมัย รัชกาลที่ 5)
การฟื้นม่านและการเข้าสวามิภักดิ์ต่อไทย
เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นพม่าระหว่าง พ.. 2101 - 2317 ในช่วงเวลาสองร้อยกว่าปี เชียงใหม่ยังคงเป็นศูนย์กลางของหัวเมืองล้านนาไทยที่พม่ายึดเป็นฐานที่มั่น โดยส่งข้าหลวงมาปกครองโดยตรง เข้าใจว่ามีการควบคุมอย่างเข้มงวด ชาวเชียงใหม่ได้ก่อการกบฏหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ซึ่งเป็นช่วงที่กษัตริย์พม่าอ่อนแอลง เชียงใหม่สามารถแยกตัวเป็นอิสระอยู่ระยะหนึ่งและถึงปี พ.. 2306 พม่าก็สามารถตีเชียงใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งในครั้งหลังนี้พม่าได้กวาดต้อน ผู้คนไปเป็นเชลยจำนวนมาก ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า “… ไพร่ไทยชาวเชียงใหม่ไปอังวะนับ เสี้ยง …”  ทั้งนี้เพื่อบั่นทอนกำลังมิให้เชียงใหม่รวมกำลังต่อต้านพม่าได้อีก
อย่างไรก็ตามความคิดของชาวเชียงใหม่ที่จะฟื้นม่านก็ยังมีอยู่เสมอดังปรากฏเหตุการณ์การต่อสู้กับโป่มะยุง่วน (โป่หัวขาว) เจ้าเมืองเชียงใหม่ ที่กลางเมืองเชียงใหม่มีสองครั้ง ครั้งแรก พ.. 2312 จักกายน้อยพรหมเสียชีวิตในที่รบ ครั้งที่สอง พ.. 2314 โดยพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) ซึ่งมีกำลังน้อยและอาวุธก็ไม่พร้อมจึงพ่ายแพ้ พระยาจ่าบ้านหนีไปหาพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางเพื่อปรึกษาทางฟื้นม่านซึ่งได้ตกลงจะร่วมมือกัน โดยใช้วิธีหันไปสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายไทยแล้วช่วยกันขับไล่พม่าออกไปในปี พ.. 2317
ความคิดที่จะฟื้นม่านของผู้นำชาวล้านนาไทย ตรงกับความต้องการของฝ่ายไทยที่พยายามขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาไทยอยู่แล้ว กล่าวคือเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้อิสรภาพและจัดตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ทรงปราบปรามชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนสามารถรวบรวมหัวเมืองภายในให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่งในราว พ.. 2313 หลังจากนั้น ทรงเห็นความจำเป็นที่ต้องขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาไทยให้ได้ ทั้งนี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจุดยุทธศาสตร์ของล้านนาไทย ซึ่งอยู่ระหว่างพม่ากับไทย หากไทยไม่สามารถครอบครองล้านนาไทยไว้ในอำนาจ อันตรายจากพม่าจะมาถึง และเข้าใจว่าสาเหตุที่พระเจ้าตากสินและกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ให้ความสำคัญต่อหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทยมากนั้น เพราะเป็นบทเรียนจากการเสียกรุงศรีอยุธยาทั้งสองครั้งพม่าสามารถยึดเอาล้านนาไทยเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ และกำลังคนเข้าร่วมในสงคราม ทำให้ไทยเสียเปรียบมากจนพ่ายแพ้สงคราม ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของไทยต้องยึดล้านนาไทยให้ได้ แนวความคิดดังกล่าวเห็นได้จากพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 1 มีความตอนหนึ่งว่าและราชการข้างหัวเมืองฝ่ายเหนือ แม้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์คิดทำไม่สำเร็จ พระเศียรก็จะไม่ได้คงอยู่กับพระกายเป็นแท้
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกทัพไปตีเชียงใหม่ครั้งแรก พ.. 2313 โดยให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เป็นทัพหน้า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนำทัพหลวง 15,000 คน เข้าล้อมเมืองไว้ กองทัพไทยสามารถยกขึ้นไปถึงลำพูนได้โดยสะดวก ไม่ได้รับการต่อสู้ขัดขวางจากหัวเมืองรายทางเลย แต่การตีเชียงใหม่ครั้งแรกไม่ได้ผล๕๖ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพไปอีกครั้งในปี พ.. 2317 ครั้งนี้เป็นโอกาสของผู้นำชาวล้านนาไทยจะได้ร่วมมือกับกองทัพไทยขับไล่พม่าออกไป
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้นำล้านนาไทยทำการฟื้นม่านและตัดสินใจเลือกข้างฝ่ายไทยนั้น ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏเข้าใจว่าเป็นผลมาจากการปกครองของโป่มะยุง่วน (โป่หัวขาว) ที่ใช้นโยบาย แข็งกร้าวกระทำการกดขี่ข่มเหงชาวล้านนาไทยมากยิ่งกว่าโป่อภัยคามิณีเจ้าเมืองคนก่อนซึ่งปรากฏในหลักฐานพื้นเมืองว่า
ในกาลหว่างนั้น อาชญามารก็แฮงกล้าแข็งฮ้อนไหม้ หาที่จักไว้อก วางใจก็บ่ได้ เก็บเงินคำใส่ฑัณฑ์กรรมผูกมัดฮักมุบแขนขา เอาแม่ฮ้าง นางสาว ส่งหาบนาบคาว ยามโป่หัวหงอก มาเป็นมยุโหงวร นั่งแต่งอยู่เมืองพิงซํ้าฮ้ายนักบางปีก็บ่มีสักเตื่อแล
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่าโป่หัวขาวกระทำร้อนไหม้แก่บ้านเมืองแล
นอกจากนั้นหลักฐานทางฝ่ายพม่าคือพงศาวดารฉบับหอแก้ว กล่าวถึงโป่มะยุง่วน (โป่ หัวขาว) กระทำการลิดรอนอำนาจของพระยาจ่าบ้าน พระยาสามล้าน พระยาแสนหลวงแห่งเมืองเชียงใหม่และพระยากาวิละ เจ้าเมืองลำปาง ซึ่งผู้ปกครองพื้นเมืองดังกล่าวเคยคุมไพร่พลไปช่วย ราชการศึกจีนที่กรุงอังวะ มีความดีความชอบกษัตริย์พม่าให้อำนาจปกครองตามเดิม ความบาดหมางระหว่างพระยาจ่าบ้านกับโป่มะยุง่วน (โป่หัวขาว) ทำให้มีการปะทะกันที่กลางเมืองเชียงใหม่และพระยาจ่าบ้านชักชวนพระยากาวิละฟื้นม่านส่วนโป่มะยุง่วนใช้วิธีจับครอบครัวของพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละคุมขังไว้ และออกคำสั่งจับพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละส่งไปชำระโทษที่กรุงอังวะ ซึ่งน่าจะเป็นแรงบีบคั้นให้พระยาทั้งสองเข้ามาสวามิภักดิ์กับฝ่ายไทย
เมื่อพิจารณาการตัดสินใจเข้ากับฝ่ายไทยของพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ล้านนาไทยที่สำคัญ จากฐานะเมืองขึ้นของพม่ามาเป็นประเทศราชของไทย โดยที่ก่อนหน้านั้นผู้นำชาวล้านนาไทยต่างยอมรับในอำนาจของพม่า เช่น พระยาสุลวะลือไชย (ทิพย์ช้าง) ในที่สุดต้องยอมรับอำนาจของกษัตริย์อังวะโดยส่งบรรณาการไปให้ ซึ่งความดีความชอบครั้งนั้น กษัตริย์อังวะได้พระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า พระยาไชยสงคราม เจ้าชายแก้ว ได้รับความ ช่วยเหลือจากกษัตริย์อังวะโดยส่งกองทัพมาช่วยปราบท้าวลิ้นกาง บุตรพ่อเมืองคนเก่าที่แย่งชิงเมืองไป เมื่อการสู้รบยุติลงกษัตริย์อังวะแต่งตั้งให้เจ้าชายแก้วเป็นเจ้าเมืองลำปางในปี พ.. 2307
แผนการของพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละที่จะเข้าสวามิภักดิ์กับฝ่ายไทยนั้นเริ่มต้นโดยพระยาจ่าบ้านอาสากับโปสุพลาแม่ทัพพม่าที่อยู่เชียงใหม่ว่าจะเป็นกองหน้าล่องลงไปก่อนเพื่อเอาสวะและไม้ซุงออก ทัพเรือจะได้ยกไปตีกรุงธนบุรีสะดวก โปสุพลาเห็นชอบเกณฑ์ไพร่พลติดตามพระยา จ่าบ้านไป เมื่อสบโอกาสพระยาจ่าบ้านสังหารไพร่พลพม่าแล้วรีบไปหาเจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ 1) แม่ทัพฝ่ายไทยที่กำแพงเพชร
ส่วนพระยากาวิละได้ออกอุบายให้เจ้าคำโสมแต่งกองทัพคุมกำลังพม่าส่วนใหญ่แสร้งยกทัพไปสกัดกองทัพไทยเพื่อไม่ให้พม่าระแวงสงสัย เมื่อได้โอกาสพระยากาวิละคุมไพร่พลสังหารทหารพม่าซึ่งอยู่รักษาการณ์ในเมืองลำปางล้มตายจำนวนมาก รวมทั้งจักกายศิริจอสูแม่ทัพพม่าด้วย จากนั้นมอบให้เจ้าดวงทิพย์ล่วงหน้าไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วพระยากาวิละก็นำบรรณาการออกต้อนรับกองทัพหลวง และกองทัพพระยากาวิละได้ร่วมกับกองทัพหลวงเข้าตีเมืองเชียงใหม่สำเร็จ
เมื่อเสร็จสงครามเมืองเชียงใหม่ พ.. 2317 พระเจ้าตากสินมหาราชทรงตอบแทนความดีความชอบ โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละครองเมืองลำปาง พร้อมทั้งทรงแต่งตั้งญาติพี่น้องของพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เพื่อช่วยราชการบ้านเมืองทั้งสองด้วย๖๔ นับเป็นการวางรากฐานการปกครองหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทยเป็นครั้งแรก และครั้งนี้พระเจ้าตากสินมหาราชทรงมอบอาญาสิทธิ์แก่ เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองกันเองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนาไทย
หลังจากที่เชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของไทยแล้ว พม่ายังพยายามยึดเชียงใหม่กลับคืนโดยยกกองทัพเข้าเมืองมาหลายครั้ง (ครั้งแรก พ.. 2318) พระยาจ่าบ้านป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดก็รักษาเมืองไว้ไม่ได้เพราะผู้คนมีน้อยและอยู่ในสภาพอดอยาก ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงสภาพบ้านเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นว่า
“… เจ้าพระยาจ่าบ้านมีกำลังฉกรรจ์ 1,900  ข้ามขางเวียงอยู่ ผู้คนเป็นอันอยากน้ำกั้นเข้ามามากนัก ช้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ หมู หมา หัวบุกหัวบอน หัวกล้วยจั๊กก่า จะเล้อ จิ้งหรีด ตึ๋กแตน ก็บ่ค้าง …” และยามนั้นเวียงเชียงใหม่เป็นห่ารกอุกต้นอันด้วยคุ่มเครือเขาเถาวัลย์ เป็นที่แรดช้างเสือหมีผู้คนก็บ่หลายข้อนกันอยู่เท่าพอหมดแต่ร่มชายคาแลฯ หนทางเดินไปมาหากันเหตุว่าบ่มีโอกาสจักแผ้วจักถาง
พระยาจ่าบ้านจึงต้องถอยไปตั้งมั่นที่วังพร้าวและลำปาง เมื่อกองทัพพม่ากลับไปพระยา จ่าบ้านก็จะกลับไปตั้งเมืองเชียงใหม่อีกในช่วงเวลาสั้นๆ จึงเป็นลักษณะกลับไปกลับมา และช่วงปลายสมัยธนบุรี เชียงใหม่ถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้างรวมทั้งเมืองอื่นๆ ในล้านนาไทยด้วย จะมีแต่เมืองลำปางที่เป็นแหล่งที่มั่นของฝ่ายไทย

การฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ (.. 2337 - 2347)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์ พ.. 2325 พระยากาวิละพร้อมด้วยเจ้านายพี่น้องลงมาเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการและกราบบังคมทูลข้อราชการ ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทนพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) ซึ่งเสียชีวิตลงในปลายสมัยธนบุรี (ในช่วงปลายสมัยธนบุรี พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละถูกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชลงโทษพระยาจ่าบ้านในข้อหาฆ่าอุปราชก้อนแก้วผู้เป็นหลานใน พ.. 2319 เนื่องจากไม่พอใจที่อุปราชก้อนแก้วเก็บเสบียงอาหารโดยไม่แบ่งปันให้ พระยาจ่าบ้านเสียชีวิตในที่คุมขัง ส่วนพระยากาวิละต้องโทษฐานฆ่าข้าหลวง กล่าวคือ ปี พ.. 2322 พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเวียงจันทน์ แม่ทัพทั้งสองได้แต่งข้าหลวง 300 คนให้มาตรวจราชการทางเมืองน่าน แพร่ และลำปาง พวกข้าหลวงฉุดคร่าสตรีชาวพื้นเมือง พระยากาวิละขัดใจฆ่าข้าหลวงตายจำนวนมาก พระเจ้าตากสินมหาราชเรียกตัวให้พระยากาวิละเข้าเฝ้าถึงสองสามครั้งก็ไม่ไปเพราะพระยากาวิละคิดจะทำความชอบเสียก่อน หลังจากถูกลงโทษแล้วพระยากาวิละอาสาไปตีเมืองเชียงแสนแก้โทษ เมื่อกวาดเชลยมาไว้ที่ลำปางแล้วก็เป็นช่วงที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์ พระยากาวิละจึงลงมาเฝ้า)  และโปรดเกล้าฯ ให้น้องพระยากาวิละดำรงตำแหน่งสำคัญในเมืองเชียงใหม่และลำปาง ดังนี้ เจ้าคำโสมเป็นเจ้าเมืองลำปาง เจ้าธรรมลังกาเป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่ เจ้าดวงทิพย์เป็นอุปราชเมืองลำปาง เจ้าหมูล่าเป็นพระยาราชวงศ์เมืองลำปาง และเจ้าคำฝั้นเป็นเจ้าบุรีรัตน์เมืองเชียงใหม่๖๗ ต่อมาใน พ.. 2357 จึงได้เป็นเจ้าเมืองลำพูน
จากการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวจะเห็นว่าเมืองเชียงใหม่มีฐานะสูงกว่าเมืองลำปางและลำพูน ในระยะแรกบรรดาเจ้าเจ็ดตนจะเลื่อนตำแหน่งจากเจ้าเมืองลำพูนเป็นเจ้าเมืองลำปาง และจากเจ้าเมืองลำปางเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นลำดับ แต่ในเวลาต่อมาการเลื่อนตำแหน่งเจ้าเมืองจะแต่งตั้งจากเจ้านายบุตรหลานของเมืองนั้นเอง จึงเป็นการแยกราชวงศ์เชียงใหม่ วงศ์ลำปาง และลำพูนเด่นชัดยิ่งขึ้น สำหรับอำนาจสิทธิขาด เจ้าเมืองเชียงใหม่มีอาญาสิทธิ์สูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบตัดศีรษะ เจ้าเมืองลำปางเข้าใจว่ามีสิทธิเพียงใช้หอกเสียบอก๖๙ และเจ้าเมืองลำพูนมีสิทธิลดลงอีกโดยใช้หอกเสียบบั้นเอว๗๐ อำนาจของเจ้าเมืองจึงลดหลั่นตามลำดับ
การฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่เริ่มตั้งแต่ตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.. 2339 จนถึงขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาไทยในปี พ.. 2347 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการรวบรวมพลเมืองเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ เป็นยุคที่เรียกว่าเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองพระยากาวิละกวาดต้อนชาวเมืองเชียงใหม่ที่หลบหนีเข้าป่าให้กลับสู่เมือง และเริ่มกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองปันนา ไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และยอง ผู้คนที่กวาดต้อนมามีหลายชนิดเข้าใจว่าเป็นช่างฝีมือหรือไพร่เมืองชั้นดีจะให้ตั้งถิ่นฐานในตัวเมือง เช่น เขิน ที่ถนนวัวลาย ส่วนไพร่ที่ไม่เป็นช่างฝีมือจะไว้นอกเมือง เช่น เขินที่สันทราย ยองที่ลำพูน ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาก็จะตั้งชื่อหมู่บ้านของตนตามชื่อบ้านเมืองเดิมที่ตนถูกกวาดต้อนลงมา เช่น เมืองวะ เมืองเลน เมืองขอน เมืองกาย พยาก เป็นต้น เชียงใหม่สมัยพระยากาวิละจึงพ้นจากสภาพเมืองร้าง
นอกจากพระยากาวิละจะเก็บข้าใส่เมืองดังกล่าวแล้ว ยังมีการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ใน รูปแบบต่างๆ เช่น ราชประเพณี โดยการกระทำพิธีราชาภิเษก สถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนขึ้นปกครองสืบต่อจากราชวงศ์มังราย การทำนุบำรุงพุทธศาสนา โดยสร้างวัด พระพุทธรูป การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นรัตนตึงษาอภินวบุรี เป็นต้น๗๒ นับว่าพระยากาวิละและเจ้านายบุตรหลานได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงแก่เมืองเชียงใหม่ และล้านนาไทยยิ่ง

การปกครองภายในเมืองเชียงใหม่ก่อนการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ
ในสมัยพระยากาวิละได้นำระบบการปกครองบางอย่างของไทยไปปรับปรุงใช้ที่เชียงใหม่ เช่น การแต่งตั้งพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้าน และพระยาเด็กชาย ให้อยู่ในตำแหน่งปฐมอัครมหาเสนาบดี ทั้ง ๔ ทำหน้าที่เหมือนจตุสดมภ์ของไทย คือเป็น เวียง วัง คลัง นา ตามลำดับ โดยถือว่าตำแหน่งดังกล่าวสูงกว่าข้าราชการอื่นๆ ดังตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า “ … มีพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้าน พระยาเด็กชาย๗๓ เป็นใหญ่แก่ท้าวพระยาทั้งหลาย …” และการตั้งตำแหน่งวังหน้าและวังหลังเพิ่มขึ้น ซึ่งพระยากาวิละแต่งตั้งให้พระยาอุปราชดำรงตำแหน่ง วังหน้า พระยาบุรีรัตน์ดำรงตำแหน่งวังหลังเป็นครั้งแรก สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของไทยในด้านความคิดและแบบอย่างทางการปกครองที่มีต่อเมืองเชียงใหม่
โครงสร้างทางการปกครองของเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วยเจ้าขัน 5 ใบ ได้แก่ เจ้าเมือง และผู้ช่วยเหลือในการปกครองอีก 4 ตำแหน่ง คือ พระยาอุปราช พระยาราชบุตร พระยาราชวงศ์ และพระยาบุรีรัตน์ ในทางทฤษฎีตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบนี้ จะได้รับการแต่งตั้งและถอดถอนจากกรุงเทพฯ แต่ในทางปฏิบัติเจ้านายชั้นสูงในเชียงใหม่จะเสนอชื่อผู้เห็นสมควรจะได้รับตำแหน่งนี้ขึ้นมา โดยทางรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ จะแต่งตั้งตามที่เสนอมา นับว่าการเมืองภายในเชียงใหม่มีอิสระอยู่มาก
ส่วนหน้าที่ของตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบ ในระยะแรกซึ่งอยู่ในช่วงสงครามระหว่างไทยกับพม่า จึงเข้าใจว่าหน้าที่หลักคือการควบคุมกำลังรบ แต่ในระยะต่อมาเมื่อราชการสงครามเบาบางลง หน้าที่ของเจ้าขัน 5 ใบ จึงเปลี่ยนแปลงไปดังมีผู้สันนิษฐานว่า ตำแหน่งอุปราชทำหน้าที่การคลัง เจ้าราชบุตรและเจ้าราชวงศ์มีหน้าที่เกี่ยวกับทหาร และเจ้าบุรีรัตน์เป็นผู้จัดการปกครองภายในเมือง๗๕ โดยมี เจ้าเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดควบคุมกิจการทั่วไป
ตำแหน่งผู้ช่วยราชการของเจ้าเมืองนี้ ในสมัยต่อมาเมื่อราชการขยายออกไปและเจ้านายบุตรหลานก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น จึงทำการแต่งตั้งเพิ่มเติมอีกหลายตำแหน่งและหลายครั้งเป็นลำดับดังนี้คือ เดิมนั้นมีเพียงเจ้าขัน 5 ใบ ครั้นในสมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ (.ศ 2399 - 2412) รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มอีก 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าราชภาคินัย พระยาอุตรการโกศล พระยาไชยสงคราม ในสมัยต่อมาเจ้าอินทวิชยานนท์ (.. 2413 - 2439) รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเพิ่มอีก 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าราชภาติกวงษ์ เจ้าราชสัมพันธ์สงศ์ และเจ้าสุริยวงศ์ ราว พ.. 2437 ทรง โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง คือ เจ้าทักษิณนิเกตน์ และเจ้านิเวศอุดร ครั้น พ.. 2441 หลังจากตราพระราชบัญญัติศักดินาเจ้านายแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มอีก 4 ตำแหน่ง คือ เจ้าประพันธ์พงษ์ เจ้าวรญาติ เจ้าราชญาติ และเจ้าไชยวรเชษฐ   
นอกจากตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบ และตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าผู้ครองนครที่แต่งตั้งเพิ่มขึ้นตามลำดับดังกล่าวแล้ว ในการบริหารบ้านเมืองยังมีคณะกรรมการชุดหนึ่งเรียกว่าเค้าสนามหลวง ซึ่งจะประกอบด้วยเจ้านายชั้นสูง 32 คน เข้าใจว่าจะมีเจ้าขัน 5 ใบ และเจ้านายอื่นๆ เช่น พระยาจ่าบ้าน พระยาสามล้าน พระยาแสนหลวง เค้าสนามหลวงมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองของเจ้าเมืองและช่วยเหลือในการบริหารบ้านเมือง มีที่ทำการอยู่ที่คุ้มของเจ้าเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการ ปกครอง ตำแหน่งเค้าสนามหลวงไม่ปรากฏชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 (.. 2352 - 2367) ก็ปรากฏว่ามีตำแหน่งเค้าสนามหลวงนี้แล้ว
ส่วนการปกครองในระดับท้องถิ่น จะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นตำบลและหมู่บ้าน ตำบลมีกำนัน (แคว่น) ปกครอง หมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้าน (แก่บ้าน) ปกครอง โดยทำหน้าที่ดูแลความทุกข์สุข ทั่วไปแต่อำนาจแท้จริงอยู่ที่เค้าสนามหลวง ทั้งแคว้นและแก่บ้านจะมียศเป็นแสนท้าว หรือพญา ซึ่ง เข้าใจว่าท้องถิ่นที่อยู่ใกล้และขึ้นตรงต่อเชียงใหม่ เจ้าเมืองจะเป็นผู้แต่งตั้ง
การปกครองในส่วนหัวเมือง อาจจะแบ่งเป็นหัวเมืองภายใน และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองภายในจะขึ้นโดยตรงต่อเชียงใหม่ เช่น ฝาง เชียงดาว พร้าว เข้าใจว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่จะแต่งตั้งคนที่ไว้วางใจไปปกครองและทำหน้าที่เก็บส่วยข้าวส่งฉางหลวง และในกรณีเมืองที่อยู่ห่างไกลจะให้ส่งของป่าหายากแทนการส่งส่วยข้าว ส่วนหัวเมืองชายแดนซึ่งขึ้นเชียงใหม่มีหลายเมือง เนื่องจากเชียงใหม่ในสมัยพระยากาวิละได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ในทางเหนือจดเมืองเชียงรุ้ง เชียงขวาง สิบสองปันนา ส่วนทางตะวันตกสามารถครอบครองหัวเมืองด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เช่น เมืองจวด เมืองทา เมืองต่วน เมืองสาด เมืองหาง หรือที่เรียกว่าหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าเมืองเหล่านี้ได้มาด้วยวิธีการ 2 อย่าง คือ การเกลี้ยกล่อมเข้าไว้ในอำนาจโดยไม่ต้องสู้รบกัน ซึ่งหากไม่ยอมก็จะใช้วิธีการปราบปรามเมื่อปราบสำเร็จก็จะกวาดต้อนผู้คนในเมืองนั้นมา โดยปล่อยให้เมืองนั้นร้างไว้ ขณะ เดียวกันก็ถือว่าเมืองร้างนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของเชียงใหม่และหัวเมืองชายแดนจะปกครองตามธรรมเนียมเดิมของตน

การปกครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะประเทศราชของไทย
ในการปกครองเมืองเชียงใหม่ รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ ได้ใช้นโยบายและวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. นโยบายการปกครองเมืองเชียงใหม่

รัฐบาลกลางทั้งในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นต่างมีนโยบายสนับสนุนให้เชียงใหม่เป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือที่เข้มแข็งเพียงพอที่จะป้องกันการรุกรานจากพม่า ดังจะเห็นได้ว่าพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือให้เชียงใหม่ฟื้นตัวโดยเร็ว โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจ่าบ้านเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้รักษาเมืองจากการโจมตีของพม่า แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากเชียงใหม่อยู่ในสภาวะสงครามมานานบ้านเมืองจึงทรุดโทรม ขาดแคลนกำลังคนที่จะช่วยกันรักษาเมืองไว้ได้ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์มีพระบรมราโชบายเช่นเดียวกับพระเจ้า ตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางให้ขึ้นไปครองเมืองเชียงใหม่ เพราะ พระยากาวิละมีฝีมือในการรบสามารถป้องกันการรุกรานของพม่าได้หลายครั้ง ด้วยเหตุนี้เมืองเชียงใหม่จึงได้รับการฟื้นฟูให้มั่นคงเป็นศูนย์กลางของดินแดนล้านนาไทยอีกครั้งหนึ่ง
วิธีการดำเนินงานเพื่อให้เชียงใหม่มีความเข้มแข็ง รัฐบาลกลางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้กระทำการช่วยเหลือเชียงใหม่หลายรูปแบบ
ประการแรก การช่วยเหลือด้านอาวุธเพื่อใช้ในราชการสงครามนับเป็นสิ่งที่รัฐบาลกลางให้ความช่วยเหลือเสมอมา ดังปรากฏหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 1 ปี พ.. 2345 เมื่อทรงมีพระราชดำริให้เมืองเชียงใหม่และลำปางยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นที่มั่นของฝ่ายพม่า ทรงพระราชทานอาวุธปืนและกระสุนจำนวนหนึ่ง และในสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.. 2400๐ เมืองเชียงใหม่ขอพระราชทานปืนหามแล่น 100 กระบอก
ประการที่สอง การส่งกองทัพหลวงช่วยเหลือป้องกันเมืองเชียงใหม่ ในระยะที่เพิ่งจะตั้งเมืองในสมัยพระยากาวิละในปี พ.. 2340 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่าพระยากาวิละไม่สามารถป้องกันเมืองเชียงใหม่ตามลำพัง เนื่องจากกำลังคนมีไม่เพียงพอจึงขอทัพหลวงมาช่วย ซึ่งรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ ยกกองทัพไปช่วย ได้ร่วมกันสู้รบจนพม่าพ่ายไป และในสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนใน พ.. 2347 กองทัพหลวงก็ขึ้นไปช่วยกองทัพเชียงใหม่ด้วย
ประการที่สาม การคืนครัวเรือนที่เชียงใหม่กวาดต้อนมาได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นกำลังช่วยกันรักษาและทำนุบำรุงบ้านเมือง ดังเช่น พระยากาวิละยกทัพไปตีเมืองสาด เมืองปัน เมืองปุ แล้วกวาดครัวมาถวายรัชกาลที่ ๑ พระองค์ทรงพระราชทานคืนครัวเรือนที่กวาดต้อนมาได้คืนเชียงใหม่ไป อีกทั้งยัง พระราชทานเงินและเสื้อผ้าเป็นบำเหน็จความดีความชอบแก่นายทหารในครั้งนั้นด้วย การคืนครัวนี้สืบมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระราชทานกลับคืนไปเช่นกัน
ประการที่สี่ การตั้งเมืองลำพูนและเชียงรายเพื่อเป็นกำลังช่วยเหลือเชียงใหม่ เมื่อมีราชการสงครามเกิดขึ้น โดยตั้งเมืองลำพูนสมัยรัชกาลที่ 2 พ.. 2357 ซึ่งเป็นช่วงที่เชียงใหม่มีความมั่นคงระดับหนึ่งแล้ว ส่วนเมืองเชียงรายจัดตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.. 2386 โดยเจ้าเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูนขอพระราชทานตั้งเมืองขึ้นใหม่ อาจกล่าวได้ว่าเมืองลำพูนและเชียงราย ตลอดจนลำปางในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่เพราะทรงถือว่าเมืองเชียงใหม่มีเจ้าเมืองเป็นญาติผู้ใหญ่กว่าเมืองอื่นๆ ซึ่งสืบสายตระกูลเจ้าเจ็ดตนเช่นเดียวกัน จึงให้สิทธิ์แก่เจ้าเมืองเชียงใหม่ เช่น สามารถว่ากล่าว ตักเตือน และลงโทษเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานเมืองอื่นๆ ได้๘๗ และยังมีสิทธิเสนอชื่อผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองและอุปราชเมืองลำพูน
อนึ่ง สารตราสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน จะเน้นเสมอถึงการให้ทั้งสามเมืองช่วยกันปกครองบ้านเมืองและป้องกันภัยจากพม่า
จากความพยายามสนับสนุนให้เชียงใหม่มีความเข้มแข็งได้ประสบความสำเร็จในปลาย รัชกาลที่ 1 เมืองเชียงใหม่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว สามารถขับไล่พม่าจากฐานที่มั่นในเมืองเชียงแสนในปี พ.. 2347 และหลังจากสงครามครั้งนั้นพม่าไม่ได้ยกทัพมาโจมตีหัวเมืองล้านนาไทยเป็นกองทัพใหญ่อีก จะมีแต่กองทัพจากเมืองเชียงใหม่และเมืองอื่นๆ ในล้านนาไทยร่วมกันยกไปตีเขตหัวเมืองขึ้นของพม่า ซึ่งในปี พ.. 2348 ก็สามารถขยายอาณาเขตไปถึงเชียงตุง เชียงรุ้ง เมืองลื้อ สิบสองปันนา อาณาเขตของล้านนาไทยจึงขยายออกไปอย่างกว้างขวาง

2) วิธีการควบคุมเชียงใหม่ในฐานะเมืองประเทศราช
เมื่อพิจารณาลักษณะการปกครองภายในเมืองเชียงใหม่ตามหัวข้อที่กล่าวมาแล้วจะ เห็นว่ารัฐบาลกลางให้เชียงใหม่มีอิสระในการปกครองตนเองอย่างมาก โดยที่รัฐบาลกลางไม่เข้าไป ยุ่งเกี่ยวในกิจการภายใน เชียงใหม่สามารถกำหนดรูปแบบการปกครองตนเองตามขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางก็ไม่ปล่อยให้เป็นอิสระเสียทีเดียว เพราะรัฐบาลกลางใช้วิธีการ ควบคุมโดยอ้อม ซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกันที่จะให้เชียงใหม่ต้องตระหนักถึงอำนาจของรัฐบาลกลางที่เหนือกว่าอยู่เสมอ
วิธีการซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการควบคุมที่สำคัญคือ การแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูงที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานตำแหน่งให้ โดยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งใหม่จะต้องเข้าเฝ้าที่กรุงเทพฯ ทุกครั้งเพื่อรับตราตั้งและเครื่องยศ ในการ พระราชทานเครื่องยศแล้วแต่โอกาส ตำแหน่งเดียวกันอาจจะรับเครื่องยศต่างกัน และเครื่องยศทุกชิ้น จะต้องคืนเมื่อถึงแก่กรรม โดยทางกรุงเทพฯ จะตรวจนับเครื่องยศ มีหลักฐานว่าการส่งคืนเครื่องยศของเจ้าเชียงใหม่พุทธวงษ์ (.. 2367 - 2389) ขาดไป 5 สิ่ง ซึ่งทางกรุงเทพฯ ไม่ทวงถาม
นอกจากนั้นมีพิธีการต่างๆ ที่ต้องแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯ เช่น เมื่อมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานต้องลงมาร่วมในงานพระบรมศพและเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ด้วย การกระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา ปีละ 2 ครั้ง โดยประกอบพิธีที่วัดสำคัญ มีเจ้าขัน 5 ใบและเจ้านายบุตรหลานอื่นๆ ร่วมด้วย พิธีนี้มีการให้สัตย์สาบาน รัฐบาลกลางจึงถือว่าเป็นพิธีสำคัญที่แสดงความจงรักภักดี ผู้ที่ไม่ร่วมพิธีจะถูกเพ่งเล็ง ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 พบหลักฐานเสมอที่ทรงย้ำให้กระทำพิธีนี้
อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาเป็นรูปพิธีการยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางมากกว่า ส่วน วิธีการควบคุมที่แสดงอำนาจที่เฉียบขาด เช่น การเรียกตัวให้เข้าเฝ้าเพื่อสอบสวนความผิดดังกรณีพระเจ้าตากสินมหาราชเรียกตัวพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละซึ่งมีการลงโทษตัดขอบหูพระยา กาวิละและขังพระยาจ่าบ้านตามที่กล่าวมาแล้ว และกรณีรัชกาลที่ 4 เรียกตัวเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์เข้าเฝ้าเพราะได้ข่าวว่าฝักใฝ่พม่า ซึ่งผลปรากฏว่าไม่มีความผิดจึงให้กลับไปครองเมืองตามเดิม นอกจากนั้นถ้ารัฐบาลกลางไม่แน่ใจว่าจะจงรักภักดีก็จะให้ทำราชการในกรุงเทพฯ เช่นกรณีพระยาแพร่มังไชยเคยถูกพม่าจับตัวไปและอยู่กับพม่า 10 ปี (.. 2318 - 2328) ได้หันมาช่วยกองทัพไทยโดยยกทัพไปตีเชียงแสนและสามารถจับตัวเจ้าเมืองเชียงแสนนำส่งมากรุงเทพฯ ได้ นับว่ามีความดีความชอบมาก แต่รัชกาลที่ 1 ยังแคลงพระทัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาแพร่มังไชยรับราชการที่กรุงเทพฯ มิให้กลับไปครองเมือง

3) พันธะของเมืองเชียงใหม่ต่อรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ
สิ่งที่เชียงใหม่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของเมืองประเทศราชแบ่งได้เป็น 2 ประการ
ประการแรก การส่งเครื่องราชบรรณาการ ส่วย และสิ่งของต่าง ๆ
เครื่องราชบรรณาการ ต้องส่ง 3 ปีต่อครั้ง เป็นเครื่องหมายของการยอมอยู่ใต้การบังคับบัญชา หากไม่ส่งจะถือว่ากบฏ เครื่องราชบรรณาการประกอบด้วยสิ่งสำคัญคือต้นไม้ทองเงินขนาดเท่ากัน 1 คู่ และสิ่งของอีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม โดยไม่กำหนดชนิดและจำนวน หลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 พบว่าส่งต้นไม้ทองเงินสูง 3 ศอกคืบ 7 ชั้น และไม้ขอนสัก 300 ต้น หรือ บางปีส่งน้ำรักแทนในจำนวน 150 หรือ 300 กระบอก ต้นไม้ทองเงินที่ส่งมาถวายเข้าใจว่าไม่น่าจะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากนัก เมื่อเทียบกับส่วยและการเกณฑ์สิ่งของซึ่งมีมูลค่าสูงกว่ามาก
ส่วย เป็นสิ่งของที่ต้องส่งทุกปี ในอัตราที่ค่อนข้างแน่นอน ส่วยที่สำคัญของเชียงใหม่ คือ ไม้ขอนสัก ซึ่งเป็นของหาง่ายในท้องถิ่น ตามหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 3 พบว่าเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ส่งไม้ขอนสัก 500 ต้น น่าน 400 ต้น ลำปาง 400 ต้น แพร่ 200 ต้น ลำพูน 200 ต้น
อย่างไรก็ตามการส่งส่วยบางครั้งไม่ครบจำนวน มีการค้างส่วย ซึ่งสำหรับเมืองเชียงใหม่ไม่พบหลักฐานการทวงส่วยให้ส่งให้ครบหรือเร่งให้ส่ง เท่าที่พบมีเมืองแพร่ส่งไม้ขอนสักไม่ครบรัฐบาลกลางเร่งให้ส่งด่วน และเมืองน่านเจ้าเมืองของดส่งส่วยไม้ขอนสัก 3 ปี ซึ่งรัชกาลที่ 4 ไม่ยอมและ ถูกว่ากล่าวตักเตือน
นอกจากไม้ขอนสักแล้วเชียงใหม่ส่งผ้าขาวเพลา ปีละ 200 เพลา และน้ำรัก 537 ทะนาน
นอกจากจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและส่วยแล้ว เมื่อมีงานพระราชพิธี เช่น พระบรมศพ รัฐบาลกลางจะเกณฑ์สิ่งของ ตามหลักฐานในงานพระราชพิธีบรมศพรัชกาลที่ 1 .. 2352 เชียงใหม่ถูกเกณฑ์กระดาษหัว 20,000 แผ่น ลำปางส่งกระดาษหัว 15,000 แผ่น ลำพูนส่งกระดาษหัว 5,000 แผ่น แพร่ส่งกระดาษหัว 20,000 แผ่น ป่าน 5 หาบ และเมืองน่านต้องส่งกระดาษหัว 3,000 แผ่น ป่าน 5 หาบ100 และเมื่อรัฐบาลกลางมีการก่อสร้างพระราชวังและวัดก็จะเรียกเกณฑ์ไม้ขอนสัก เช่น รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระราชวังที่ลพบุรีต้องใช้ไม้ขอนสักจำนวนมาก เท่าที่ค้นคว้าไม่พบหลักฐานว่าเมืองเชียงใหม่ถูกเกณฑ์เท่าไร พบแต่หลักฐานว่าเมืองลำปางต้องส่งไม้ขอนสักครั้งนั้นถึง 1,000 ต้น
อย่างไรก็ตามเมื่อเชียงใหม่ส่งเครื่องราชบรรณาการและส่วยลงมา รัฐบาลกลางจะส่ง สิ่งของตอบแทนให้กลับไปใช้สอยในบ้านเมือง โดยพระราชทานแก่ผู้คุมบรรณาการหรือส่วย สิ่งของที่พระราชทานมักจะเป็นของที่ทางเชียงใหม่ขาดแคลนและขอร้องมา แต่ในการพระราชทานไม่แน่นอนว่าเป็นอะไร และมีจำนวนเท่าใด สมัยรัชกาลที่ 1 พ.. 2345 พระราชทาน ดังนี้

ปืนนกคุ้มกระสุน 2 นิ้ว
2 บอก

ปืนเล็กกระสุน 3 นิ้ว
                   3 นิ้ว
2 บอก

กระสุนปืนใหญ่ 4 นิ้ว
2,500 ลูก




                    5 นิ้ว


ดีบุกหนัก
5 หาบ

สุพันถันหนัก
3 หาบ

ฉาบพล
2,000 ใบ

กระทะเหล็ก
7 ใบ

ทองคำเปลว
5,000 แผ่น

กระจกหนัก
10 หาบ

                                      ฯลฯ
ในสมัยรัชกาลที่ 3 .. 2390 พระราชทานพานไถนาโดยให้แวะรับเจ้าภาษีเหล็กที่เมืองชัยนาท และพบว่าการเข้าเฝ้าครั้งนั้นมีเจ้าอุปราชเชียงใหม่นำมา มีผู้คนติดตามถึง 349 คน ในระหว่างการเข้าเฝ้าและเดินทางกลับทรงพระราชทานสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคซึ่งประกอบด้วย ข้าวสาร 349 ถัง ฟืน 500 ดุ้น เสื่อ 42 ผืน น้ำมันมะพร้าว 130 ทะนาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาจากการตอบบรรณาการและส่วยแล้วนับว่าทั้งเมืองเชียงใหม่และรัฐบาลกลางต่างมีพันธะที่ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และคงมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ สมัยก่อนการปฏิรูปการปกครองดำเนินไปด้วยความราบรื่น
ประการที่สอง การป้องกันประเทศ ถือเป็นหน้าที่สำคัญของเมืองประเทศราชที่ต้อง ช่วยเหลือรัฐบาลกลาง เช่น ยามมีศึกสงครามจะถูกเกณฑ์กำลังทหารซึ่งจะต้องส่งกำลังมาช่วยอย่าง รวดเร็วเพื่อไม่ให้ถูกเพ่งเล็ง กองทัพเชียงใหม่เคยถูกเกณฑ์ราชการศึกหลายครั้ง เช่น คราวกบฏ เจ้าอนุวงศ์ พ.. 2369 และเมื่อสถานการณ์ปกติเมืองประเทศราชต้องอยู่ในสภาพเตรียมพร้อมป้องกันบ้านเมืองเสมอ ดังสารตราในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ส่งถึงเมืองเชียงใหม่ตอนหนึ่งมีความว่า
“… อีกประการหนึ่งให้ตรวจตราค่ายคูประตูเมือง ป้อมกำแพง หอรบเชิงเทินตึก ปืนดิน สำหรับบ้านเมือง สิ่งใดชำรุดหักอยู่ให้จัดแจงตกแต่งซ่อมแปลงทำขึ้นไว้ให้มั่นคงจะได้เป็นสง่างามกับบ้านเมือง สัตรูจะไม่ได้ประมาตขึ้นได้ กับให้บำรุงทหาร จัดแจงปืน กระสุนดินดำ เครื่องสาตราวุธ รวบรวมเสบียงอาหารใส่ยุ้งฉางให้พร้อมสรรพไว้กับบ้านเมือง มีราชการกิจสงครามคุกคามคํ่าคืนประการใดก็ให้พร้อมมูล อีกประการหนึ่งให้แต่งกองลาดตระเวนตรวจตรารักษาด่านสืบราชการปลายแดนอย่าให้ขาด ถ้ามีเหตุการณ์ชายแดนให้บอกเมืองลคอร, ลำพูน แลหัวเมืองที่ไกลให้รู้ราชการ ให้เร่งรีบบอกลงกรุงเทพฯ ให้เมืองเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปางช่วยกันรบพุ่งต้านทานไว้กว่ากองทัพกรุงเทพฯ กองทัพหัวเมืองจะขึ้นไปถึง อย่าให้เสียเขตแดนบ้านเมือง …”

1.1 เชียงใหม่สมัยปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ (.. 2427 - 2476)
ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าเชียงใหม่นับตั้งแต่ตกเป็นประเทศราชของไทยใน พ.. 2317 จนถึงช่วงก่อนการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 สถานการณ์โดยทั่วไปในเชียงใหม่อาจกล่าวได้ว่าไม่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างใดต่อรัฐบาลกลาง แม้ว่าวิธีการควบคุมเมืองเชียงใหม่จะไม่รัดกุมเท่าไรนักก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในรูปที่รัฐบาลกลางต้องเข้าไปควบคุมกิจการภายในมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่ง ในที่สุดก็ผนวกเอาเชียงใหม่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทยนั้น เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมืองมีการยกเลิกระบบการปกครองเมืองประเทศราชซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลที่รัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติรัฐ ซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์
มูลเหตุของการปฏิรูปการปกครอง เกิดจากปัญหา 2 ประการ คือ ปัญหาเกี่ยวกับ กิจการป่าไม้และปัญหาความวุ่นวายในหัวเมืองชายแดน ซึ่งเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ในเชียงใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากอังกฤษเข้าครอบครองดินแดนพม่า ทำให้คนในบังคับอังกฤษเข้ามามีความสัมพันธ์กับเชียงใหม่มากขึ้นและกลายเป็นปัญหาในเวลาต่อมา
ประการแรก ปัญหาเกี่ยวกับกิจการป่าไม้ ที่มาของปัญหาเกิดจากแต่เดิมป่าไม้ทั้งหมดเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานและยังไม่มีราคามากนัก มีการตัดไม้ขายแต่น้อย การขายมักจะอยู่ในรูปเจ้าของป่าอนุญาตให้ลูกหลานใช้บ่าวไพร่ตัดขายคราวละ 100 - 200 ต้น โดยไม่คิดเงินทอง ต่อมาคนในบังคับอังกฤษเข้ามาทำกิจการป่าไม้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 และกิจการได้ขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ป่าไม้จึงมีมูลค่ามหาศาล เกิดการแข่งขันกันเพื่อให้ได้ทำสัมปทานป่าไม้ ซึ่งเจ้าของป่าไม้ก็ให้สัมปทานซํ้าซ้อนในป่าเดียวกันเสมอ จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทฟ้องร้องต่อกงศุลอังกฤษและรัฐบาลไทยเป็นคดีความมากมาย ดังปรากฏว่า พ.. 2416 ที่เชียงใหม่มีคดีฟ้องร้องด้วยเรื่องป่าไม้ 42 เรื่อง เมื่อมีการชำระคดีต้องยกฟ้อง 3 เรื่อง อีก 11 เรื่อง มีหลักฐานว่าจำเลยคือเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ (.. 2413 - 2439) ผิดจริงต้องชดใช้เป็นค่าปรับถึง 466,015 รูปี (1 รูปี (แถบ) มีค่าประมาณ 80 สตางค์) ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก รัฐบาลกลางจึงจ่ายให้ก่อนโดยให้เจ้าอินทรวิชยานนท์ผ่อนใช้ 7 ปี
ประการที่สอง ปัญหาความวุ่นวายในหัวเมืองชายแดน หัวเมืองชายแดนที่เกิดเป็นปัญหาคือบริเวณที่เรียกว่าหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้า ประกอบด้วยเมืองหาง เมืองสาด เมืองต่วน เมืองทา และเมืองจวด (จวาด) เมืองเหล่านี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินและอยู่ระหว่างเขตแดนของเชียงใหม่กับพม่า เชียงใหม่ได้หัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าในสมัยพระยากาวิละฟื้นฟูบ้านเมือง แต่ด้วยวิธีการปกครองเมืองขึ้นของเชียงใหม่ที่ปล่อยให้ปกครองตนเองอย่างอิสระ จึงมีฐานะเป็นเมืองขึ้นแต่เพียงในนาม เท่านั้น และเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองพม่า บรรดาหัวเมืองชายแดนพม่าต่างพยายามแยกตัวเป็นอิสระมีการรบพุ่งกันเสมอ และมักจะลํ้าแดนเข้ามาเกณฑ์ราษฎรในเขตหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าเสมอ และ สถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขจากทางเชียงใหม่ ทำให้ความวุ่นวายในหัวเมืองชายแดนขยาย วงกว้างยิ่งขึ้น เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมมีการปล้นฆ่าคนในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายในล้านนาไทย ดังเช่นในปี พ.. 2424 เกิดกรณีปล้นฆ่ามองตาทวย มองอุนอง และลูกจ้าง ซึ่งต่างเป็นคนในบังคับอังกฤษ โดยเจ้าเมืองเชียงใหม่ไม่สามารถจับตัวคนร้ายได้ รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียจึงต้องการให้ รัฐบาลไทยรักษาความสงบในหัวเมืองชายแดนเพื่อคนในบังคับอังกฤษจะได้ปลอดภัย
จากปัญหาทั้งสองประการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลกลางต้องจัดการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพในเวลาต่อมา และเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของคนในบังคับอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียกับรัฐบาลไทยจึงตกลงทำสัญญาเชียงใหม่ (The Treaty of Chiengmai) ฉบับแรก พ.. 2416 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อที่จะจัดการป้องกันผู้ร้ายที่ปล้นสะดมตามชายแดนเชียงใหม่ และอังกฤษยินยอมให้คนเอเชียในบังคับอังกฤษที่มีคดีแพ่งขึ้นศาลที่จะจัดตั้งขึ้นที่เชียงใหม่ แต่มีข้อแม้ว่าในกรณีที่คนในบังคับอังกฤษยินยอมเท่านั้น หากไม่ยินยอมต้องส่งคดีนั้นให้แก่กงสุลอังกฤษที่กรุงเทพฯ หรือเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ยองสะลินในพม่าเป็นผู้ดำเนินการตัดสิน
สนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับนี้นับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษยินยอมให้อำนาจทางการศาลแก่ไทยบ้าง แม้จะไม่สมบูรณ์นักก็ตาม อย่างไรก็ดีสนธิสัญญาฉบับนี้มีข้อบกพร่องหลายประการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการป้องกันโจรผู้ร้ายตามบริเวณหัวเมืองชายแดน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่เกินกำลังที่เมืองเชียงใหม่จะจัดการให้เรียบร้อยได้๑๑๒ และด้านคดีความต้องส่งมาฟ้องร้องต่อกงสุลอังกฤษที่กรุงเทพฯ เสมอ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจึงเกิดทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่สอง พ.. 2426 โดยขยายอำนาจศาลไทยให้กว้างขึ้นอีกคือ กำหนดให้คนในบังคับอังกฤษต้องขึ้นศาลต่างประเทศทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งเป็นการยกเลิกสิทธิของคนในบังคับอังกฤษที่เคยได้รับตามสัญญาเชียงใหม่ฉบับแรกที่ว่า จะขึ้นศาลไทย ต่อเมื่อตนเองยินยอม อย่างไรก็ตามการพิจารณาคดีต่างๆ กงสุลหรือรองกงสุลมีสิทธิถอนคดีจากศาลต่างประเทศไปชำระที่ศาลกงสุลได้ทุกเวลาที่เห็นสมควร
จากสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่สอง ทำให้รัฐบาลไทยยินยอมให้รัฐบาลอังกฤษจัดตั้งกงสุลประจำเมืองเชียงใหม่ และจากการทำสัญญาเชียงใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งสองครั้ง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของตะวันตกที่เข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอังกฤษมีผลประโยชน์ผูกพันอยู่เป็นอันมาก จนรัฐบาลไทยต้องเร่งดำเนินงานแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ การปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.. 2427

ข้าหลวงสามหัวเมืองกับการแก้ไขปัญหาที่เชียงใหม่ (.. 2417 - 2426)
หลังจากทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ พ.. 2416 รัฐบาลกลางได้ส่งพระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมืองประจำที่เชียงใหม่ เพื่อควบคุมดูแลและแก้ไขปัญหาในเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ตามที่ระบุในสัญญานั้นซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงขึ้นไปประจำการ ความมุ่งหมายของการส่งข้าหลวงสามหัวเมืองพอสรุปได้ 3 ประการคือ ประการแรกเพื่อให้ข้าหลวงทำหน้าที่ชำระคดีความที่เกี่ยวข้องกับคนในบังคับอังกฤษจึงมีฐานะเป็นข้าหลวงตระลาการ ศาลต่างประเทศประการที่สองเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ ประการที่สามเพื่อแนะนำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาเชียงใหม่และปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล ดังนั้น ในระยะแรกนี้จึงไม่มีนโยบายถึงขั้นยกเลิกฐานะเมืองประเทศราชหรือยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ เพียงแต่ต้องการให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ยอมปฏิบัติตามความต้องการของรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ จึงอาจเปรียบเสมือนหุ่นหรือเครื่องจักรที่รัฐบาลกลางจะหมุนไปทางไหนก็ได้ นับว่าเป็นการเริ่มใช้วิธีการดำเนินงานแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะไม่สร้างความรู้สึกบังคับจิตใจของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้เห็นได้จากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ซึ่งมีไปถึงข้าหลวงสามหัวเมือง (.. 2426 - 2428) มีความตอนหนึ่งว่า
 “ … การที่เป็นข้าหลวงสามหัวเมืองนี้ ต้องถือว่าเป็นผู้รักอำนาจแลรักษาคำสั่งกรุงเทพฯ ที่จะให้เป็นไปได้ตามคำสั่งทุกประการ แลต้องรู้ความประสงค์ของกรุงเทพฯ ว่าเราถือว่าเมืองเชียงใหม่ ยังไม่เป็นพระราชอาณาเขตรของเราแท้ เพราะยังเป็นประเทศราชอยู่ตราบใด แต่เราก็ไม่ได้คิดจะรื้อถอนวงษ์ตระกูลมิให้เป็นประเทศราช เป็นแต่อยากจะถือยึดเอาอำนาจ ที่จริงเมื่อจะว่าโดยย่อแล้ว ให้ลาวเป็นเหมือนหนึ่งเครื่องจักร ซึ่งเราจะหมุนไปข้างน่าฤามาข้างหลังก็ได้ตามชอบใจแต่เป็นการจำเป็นที่จะต้องทำการอย่างนี้ด้วยสติปัญญาเป็นมากกว่าอำนาจกำลัง ต้องอย่าให้ลาวเห็นว่าเป็นการบีบคั้นกดขี่ ต้องชี้ให้เห็นในการที่เป็นประโยชน์ แลไม่เป็นประโยชน์เป็นพื้น …”
พระบรมราโชบายที่รัชกาลที่ 5 ทรงวางไว้ดังกล่าวนับว่าเหมาะสมกับหัวเมืองประเทศราชเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าเมืองเชียงใหม่เคยปกครองบ้านเมืองอย่างค่อนข้างจะอิสระและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกรุงเทพฯ เมื่อเทียบกับหัวเมืองประเทศราชในภาคใต้เช่น ไทรบุรี และปัตตานี ซึ่งพยายามต่อต้านอำนาจรัฐบาลกลางเสมอ การที่จะดำเนินการควบคุมเชียงใหม่ให้มากขึ้นกว่าเดิมย่อมจะต้องกระทบกระเทือนจิตใจต่อเจ้าเมืองผู้ต้องสูญเสียอำนาจต่างๆ ที่เคยได้รับ รัชกาลที่ 5 จึงทรงกำชับข้าหลวงที่ส่งมาประจำการที่เชียงใหม่เสมอ เช่น ให้ระมัดระวังไม่ให้เจ้าเมืองเชียงใหม่รู้สึกว่าถูกกดขี่, สิ่งที่ข้าหลวงกระทำต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าเมือง ข้าหลวงต้องสร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับเจ้าเมือง หากข้าหลวงคนใดมีเรื่องบาดหมางกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานจะเรียกตัวกลับ นอกจากนั้นยังห้ามเรียกร้องกะเกณฑ์สิ่งใดที่จะสร้างความเดือดร้อนแก่เจ้าเมืองเชียงใหม่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลกลางจะแก้ไขปัญหาโดยส่งข้าหลวงมาประจำการที่เชียงใหม่ แต่ปัญหาทั้งกรณีพิพาทเรื่องป่าไม้และปัญหาความวุ่นวายทางชายแดนก็หาได้ยุติลงไม่ ในที่สุดรัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลไทยต้องทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 2 ปี พ.. 2426 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
สาเหตุที่ทำให้ข้าหลวงสามหัวเมืองไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ พอสรุปได้ 2 ประการ ประการแรก ข้าหลวงสามหัวเมืองไม่มีอำนาจชำระคดีเต็มที่ โดยข้อบังคับกำหนดให้มีอำนาจชำระความไม่เกิน 5,000 รูปี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิน ดังนั้นคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่จะมาสิ้นสุดกันที่กรุงเทพฯ เสมอ ประการที่ 2 นโยบายของรัฐบาลกลางยังไม่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงใด ๆ มากนัก ทั้งนี้เพราะเกรงปฏิกิริยาจากเจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้านายบุตรหลานจึงเป็นแต่เพียงส่งข้าหลวงสามหัวเมืองมาปูทางให้กับการปฏิรูปในครั้งต่อไป ดังนั้นข้าหลวงที่ส่งมาประจำเชียงใหม่ใน พ.. 2417 จึงมียศเพียงชั้นพระ (พระนรินทรราชเสนี พุ่ม ศรีไชยยันต์) ข้าหลวงคนแรกตำแหน่งเดิมเป็นปลัดบัญชีกรมพระกลาโหม ซึ่งมีส่วนทำให้เจ้านายบุตรหลานไม่ยำเกรงเท่าที่ควร

การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่
หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลไทยทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ 2 .. 2426 ซึ่งสัญญาฉบับนี้อังกฤษมุ่งหมายให้ไทยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เชียงใหม่อย่างแท้จริง โดยอังกฤษต้องการให้ไทยส่งข้าหลวงที่มีอำนาจเต็มขึ้นไปดำเนินการ เพราะขณะที่กำลังเจรจาทำสัญญาฉบับนี้ บรรดาหัวเมืองขึ้นพม่าต่างเป็นอิสระทำการสะสมเสบียงอาหารโดยยกกำลังเข้าโจมตีหัวเมืองชายแดนลานนา ไทย และความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นเกินกำลังที่เมืองเชียงใหม่จะจัดการให้เรียบร้อยได้ ประกอบกับสถานการณ์ภายในเชียงใหม่ขณะนั้นกำลังยุ่งยาก เพราะเจ้าเทพไกรษรชายาของเจ้าอินทรวิชยานนท์ผู้มีความสามารถในการปกครองถึงแก่พิราลัย ในปี พ.. 2426 เจ้าอินทรวิชยานนท์ก็ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอ เจ้านายชั้นสูงในเชียงใหม่จึงแย่งชิงอำนาจกัน นับเป็นโอกาสดีของรัฐบาลกลางที่จะดำเนินการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพโดยมีศูนย์กลางการดำเนินงานที่เชียงใหม่
การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ ซึ่งเป็นกระบวนการรวมหัวเมืองประเทศราชลานนาไทยเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวาง เป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว ในการดำเนินการจะต้องกระทำสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมา ปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลางลิดรอนอำนาจของ เจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป ประการที่สอง การผสม กลมกลืนชาวพื้นเมืองให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ กล่าวคือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาใน ลานนาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยซึ่งเป็นระบบการศึกษาแบบใหม่เข้าแทนที่ การเรียนในวัดและกำหนดให้เรียนภาษาไทยกลางแทนภาษาไทยยวน
การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่มีลักษณะการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 สมัย
- สมัยก่อนจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. 2427 - 2442)
- สมัยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. 2442 - 2476)

เชียงใหม่สมัยก่อนจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. 2427 - 2442)
เชียงใหม่สมัยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองลาวเฉียง (.. 2427 - 2435)
การปฏิรูปหัวเมืองลาวเฉียงเป็นการเข้าควบคุมเมืองเชียงใหม่อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก ซึ่งรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าในการวางรากฐานการปฏิรูปต้องส่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากรไปปูทางเพราะนอกจากเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความสามารถรอบรู้และมีความตั้งพระทัยในการดำเนินงาน ทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้านายบุตรหลานยำเกรงและยอมรับการ เปลี่ยนแปลง
การดำเนินงานกรมหมื่นพิชิตปรีชากรทรงปรับปรุงด้านการปกครองให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยยังคงให้มีตำแหน่งเค้าสนามหลวงแต่ลดความสำคัญลงจนยกเลิกไปเอง จากนั้นทรงแต่งตั้งเสนา 6 ตำแหน่งขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วยกรมมหาดไทย กรมทหาร กรมคลัง กรม ยุติธรรม กรมวัง และกรมนา แต่ละกรมมีเจ้านายบุตรหลานดำรงตำแหน่งเสนา เป็นผู้บังคับบัญชากรม ข้าราชการจากส่วนกลางเป็นผู้ช่วยเสนา ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเจ้านายบุตรหลานที่ยังไม่ เข้าใจรูปแบบการปกครองอย่างใหม่ ดังนั้น ผู้ช่วยเสนาจึงเป็นผู้คุมอำนาจการปกครองและทำหน้าที่ จัดการด้านต่างๆ อย่างแท้จริง นอกจากนั้นมีตำแหน่งพระยารองซึ่งสงวนไว้ให้เจ้านายบุตรหลาน หรือขุนนางพื้นเมืองเป็นตำแหน่งที่ไม่มีความสำคัญมาก แต่มีไว้เพื่อถนอมนํ้าใจชาวพื้นเมือง ในแต่ละกรมจึงประกอบด้วยตำแหน่งพระยาว่าการกรม (เสนา) พระยาผู้ช่วยไทย (ผู้ช่วยเสนา) และพระยา รองลาว

ตำแหน่งเสนาทั้ง 6 ตั้งขึ้นเพื่อมิให้เจ้านายบุตรหลานรู้สึกว่าต้องสูญเสียอำนาจและ เกียรติยศไป สำหรับเหตุผลของการตั้งเสนา 6 ตำแหน่ง เพื่อจะกระจายอำนาจของเจ้าเมือง ซึ่งเคยมีอย่างมากไปสู่เจ้านายบุตรหลานและโดยเฉพาะข้าราชการจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นกลจักรสำคัญของการควบคุมอำนาจ
อย่างไรก็ตามตำแหน่งเสนาทั้ง 6 เป็นตำแหน่งการเมืองซึ่งคัดเลือกโดยเค้าสนามหลวงแล้วเสนอให้เจ้าเมืองแต่งตั้งและมีสิทธิโยกย้ายหรือถอดถอนได้ ซึ่งเป็นการให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่ควบคุมเสนาทั้ง 6 ด้วย และเป็นนโยบายที่ต้องการไม่ให้ตำแหน่งเสนาทั้ง 6 เป็นอิสระจนเกินไป ซึ่งมีผลทำให้เสนาทั้ง ๖ และเค้าสนามหลวงมีความสัมพันธ์กัน
การจัดการปกครองแบบใหม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องเก็บภาษีจาก ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย โดยที่รัฐบาลกลางไม่ต้องส่งเงินมาช่วย และเมื่อมีเงินเหลือจ่ายตามงบประมาณในแต่ละปีกำหนดว่าต้องนำส่งรัฐบาลกลาง เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของการปฏิรูปการปกครองจึงมีการปรับปรุงการเก็บภาษีอากรให้เป็นแบบเดียวกับระบบกรุงเทพ ดังนี้
ประการแรก การจัดระบบผูกขาดให้เจ้าภาษีนายอากรประมูล ครั้งแรกมีภาษี 5 ชนิด คือ ภาษีสุรา ภาษีสุกร ภาษีนา ภาษีครั่ง และสมพัตสรต้นไม้
ประการที่สอง การเพิ่มชนิดของภาษีอากรขึ้นใหม่หลายอย่าง แยกตามหมวดหมู่ได้ถึง 9 ประเภท ซึ่งแต่เดิมเท่าที่พบมีภาษีข้าวและภาษีหลังคาเรือนเท่านั้น
ประการสุดท้าย รูปแบบการเก็บภาษี เดิมเก็บเป็นผลผลิต เช่น ปลูกข้าวเสียภาษีเป็นข้าว แต่ระบบใหม่ต้องเสียภาษีเป็นเงิน ทั้งที่ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรายังไม่แพร่หลาย ราษฎรยังเคยชินกับการแลกเปลี่ยนสิ่งของและระบบเศรษฐกิจคงเป็นแบบเลี้ยงตัวเอง
การจัดเก็บภาษีระบบกรุงเทพฯดังกล่าว นับว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ครั้งใหญ่ในล้านนาไทยที่มีผลกระทบกระเทือนต่อราษฎรอย่างยิ่ง เพราะราษฎรนอกจากจะถูกขูดรีดจากเจ้าภาษีนายอากรแล้วยังต้องจ่ายภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ราษฎรจึงเดือดร้อน
กรมหมื่นพิชิตปรีชากรทรงทำหน้าที่วางรากฐานกับการปฏิรูปหัวเมืองลาวเฉียงเท่านั้น โดยใช้เวลาเพียงปีเศษ (.. 2427 - 2428) ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ เพื่อช่วยราชการด้านอื่นต่อไป รัฐบาลกลางได้จัดส่งข้าหลวงคนต่อมาปกครอง โดยมีนโยบายให้จัดการปกครองตามแบบที่กรมหมื่นพิชิตปรีชากรทรงวางรากฐานไว้ แต่รูปแบบที่กรมหมื่นพิชิตปรีชากรทรงวางไว้เสื่อมคลายลงเป็นลำดับนับตั้งแต่พระยาเพชรพิไชย (จิน จารุจินดา) (.. 2431) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงห้าหัวเมือง พระยาเพชรพิไชยแทนที่จะรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของรัฐบาลกลาง กลับเป็นใจให้เจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ล้มเลิกระเบียบแบบแผนต่างๆ โดยเจ้าอินทรวิชยานนท์ออกหนังสือประกาศเรียกร้องให้รัฐบาลกลางยกเลิกเสนา 6 ตำแหน่ง ยกเลิกระบบภาษีอากรแบบกรุงเทพฯ ขอใช้ระบบเดิมคือเก็บส่วยในอัตรา 10 ชัก 2 แล้วให้นำส่งเค้าสนาม ขอเก็บภาษีข้าวเป็นผลผลิตและเก็บภาษีหลังคาเรือน ในคำประกาศนั้นอ้างว่าเทพยดาที่รักษาบ้านเมืองไม่พอใจการดำเนินงานของกรมหมื่นพิชิตปรีชากร จึงบันดาลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และพืชพันธุ์ธัญญาหารก็ไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนสมัยเจ้าเมืองเชียงใหม่คนก่อน ๆ นับเป็นวิธีการที่อ้างความเชื่อถือของราษฎรเป็นเครื่องมือต่อรอง ซึ่งเข้าใจว่าราษฎรบางส่วนคงเห็นด้วยกับคำประกาศ เพราะกำลังเดือดร้อนกับการกดขี่ของเจ้าภาษีนายอากรอยู่แล้ว
หลังจากเจ้าอินทรวิชยานนท์ออกหนังสือประกาศให้ราษฎรทราบแล้ว ก็นำความกราบบังคมทูลต่อรัชกาลที่ 5 ซึ่งรัชกาลที่ 5 ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เข้าสู่ระบบเดิม แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่เดือน พระยาเพชรพิไชยกลับยินยอมให้เจ้าอินทรวิชยานนท์ยกเลิกระบบการเก็บภาษีแบบกรุงเทพฯ โดยพลการ นอกจากนั้นพระยาเพชรพิไชยยังใช้ตำแหน่งหาผลประโยชน์ เช่น ทุจริตเงินหลวงถึง 16,377 รูปี และร่วมมือกับเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้อนุญาตเปิดบ่อนการพนัน ทั้งที่เมื่อสมัยกรมหมื่นพิชิตปรีชากรทรงมีประกาศห้ามเล่นการพนันทุกชนิดเป็นอันขาด
พระยาเพชรพิไชยกระทำผิดอย่างร้ายแรงดังกล่าว จึงถูกเรียกตัวกลับกรุงเทพฯ ทันที และผลการปฏิบัติงานของพระยาเพชรพิไชยสร้างความแตกแยกในหมู่ข้าราชการไทยที่ส่วนกลางส่งมา เนื่องจากมีข้าราชการไทยอีกกลุ่มหนึ่งพยายามรักษาอำนาจรัฐบาลกลางอย่างเต็มที่ ความแตกแยกของข้าราชการไทยทำให้ราชการต่าง ๆ หยุดชะงักลง และเป็นโอกาสให้เจ้าเมืองเชียงใหม่เรียกร้องอำนาจและผลประโยชน์คืน
ในการแก้ไขปัญหารัฐบาลกลางส่งข้าหลวงชุดใหม่มา ประกอบด้วย พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงพิเศษ และพระยามหาเทพในตำแหน่งข้าหลวงห้า หัวเมือง ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์โดยพยายามรักษาอำนาจรัฐบาลกลาง แต่สถานการณ์กลับทวีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นกบฏพระยาปราบสงคราม (พญาผาบ)
กบฏพระยาปราบสงครามเกิดขึ้นในปี พ.. 2432 ที่ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  เรื่องราวเกี่ยวกับกบฏพระยาปราบสงครามเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง จึงมีการศึกษา ค้นคว้ากันมาบ้างแล้ว แต่ยังสามารถตีความในแนวทางอื่นได้อีก ซึ่งผู้เขียนพยายามศึกษาเรื่องนี้โดยใช้หลักฐานจากการสัมภาษณ์บุคคลที่สูงอายุในท้องถิ่น ประกอบกับหลักฐานของทางราชการที่ หอ จดหมายเหตุแห่งชาติ
จากการศึกษาพบว่า พระยาปราบสงครามผู้นำกบฏมีตำแหน่งเป็นแม่ทัพเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีความสามารถสูง และเป็นผู้ปกครองระดับท้องถิ่นโดยได้รับความไว้วางใจจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้ ปกครองและเก็บภาษีด้านฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าปิง คือบริเวณแขวงจ๊อม (หนองจ๊อม) แขวงคือ (แม่คือ) และแขวงกอก๑๓๓ จากหลักฐานของทางราชการระบุชัดเจนว่าพระยาปราบสงครามเป็นแคว่น (กำนัน) แต่เมื่อพิจารณาหน้าที่ของพระยาปราบสงครามซึ่งได้ปกครองแคว่นและแก่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) โดยพิจารณาจากคำกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ของเจ้าพระยาพลเทพ มีความตอนหนึ่งว่าเป็นต้นท้าวขุนกรมการแขวงกำนันนายบ้าน  เพราะฉะนั้นหากเทียบอำนาจหน้าที่นี้คงเท่ากับนายอำเภอ แต่ในสมัยนั้นบริเวณ 3 แขวงดังกล่าวขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ ยังไม่มีการจัดตั้งเป็นอำเภอดังปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์บุคคลในท้องถิ่นต่างมีความเห็นตรงกันว่า พระยาปราบสงครามเป็นผู้นำท้องถิ่นที่เก่งกล้าด้านไสยศาสตร์และการรบพุ่ง เป็นที่ยอมรับนับถือและเลื่องลือในหมู่บ้านละแวกนั้น ซึ่งคงมีส่วนทำให้ราษฎรที่เดือดร้อนจากการเก็บภาษีเข้าร้องเรียนต่อพระยาปราบสงคราม พระยาปราบสงครามจึงออกปกป้องราษฎรจนลุกลามเป็นกบฏพระยาปราบสงคราม
เหตุการณ์กบฏพระยาปราบสงครามมีจุดเริ่มต้นจากระบบเก็บภาษีอากรผูกขาด โดยเฉพาะภาษีหมาก พลู มะพร้าว เมื่อพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์กำหนดให้เก็บอากรพืชสวนแบบกรุงเทพฯ คือออกเก็บปีละครั้งแทนระบบเดิมที่กรมหมื่นพิชิตปรีชากรกำหนดให้มีการเสียภาษีเฉพาะเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นระบบใหม่แม้ไม่มีการซื้อขายก็ต้องถูกเก็บภาษีหรือยังไม่ทันขายก็ต้องเสียภาษีแล้ว ทำให้ราษฎรไม่สามารถหาเงินมาเสียได้ทัน ราษฎรจึงต้องการเสียภาษีเป็นผลผลิตทางเกษตรตามระบบการเก็บภาษีแบบเดิมของลานนาไทย
น้อยวงษ์เป็นผู้ประมูลภาษีหมาก มะพร้าว พลู ได้ในอัตราปีละ 41,000 รูปี ซึ่งสูงกว่าอัตราเดิมถึง 16,000 รูปี  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเก็บภาษีอย่างเข้มงวดเพื่อให้ได้เงินกลับคืนมาให้มากที่สุด น้อยวงษ์ได้ออกเก็บภาษีตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.. 2432 เป็นต้นมา ในอัตราที่สูงกว่าเดิม คือ หมาก 2 ต้น ต่อวิ่น มะพร้าว 1 ต้น ต่อวิ่น (1 วิ่น = 12.5 สตางค์) ราษฎรที่ปลูกพืชสวนดังกล่าวได้รับการเดือดร้อนจากการข่มเหงของพวกเจ้าภาษีที่บังคับให้จ่ายค่าภาษีตามที่ตนกำหนดซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก โดยเฉพาะแขวงคือ แขวงจ๊อม และแขวงกอก ในเขตพระยาปราบสงครามปกครอง เป็นบริเวณที่นิยมปลูกต้นหมากกันมากมายจนต้องใช้วิธีการนับโดยจักตอกมัดละร้อย นำไปมัดตามโคนต้นหมาก แล้วหักลบออกจากตอกที่เหลือ  แต่ละบ้านจะต้องเสียภาษีระหว่าง 80 - 200 รูปี ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก เมื่อเทียบกับสมัยที่พระยาปราบสงครามทำหน้าที่เก็บภาษีส่งให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จะเก็บภาษีหลังคาเรือนครอบครัวละ 5 รูปี ส่วนข้าวก็เก็บตามจำนวนพันธุ์ที่ใช้ปลูกในอัตราพันธุ์ข้าวปลูก 1 ถัง เสียส่วย 2 ถัง
เมื่อพวกเจ้าภาษีมาเก็บอากรพืชสวนดังกล่าวในเขตแขวงจ๊อม (ตำบลหนองจ๊อม อำเภอ สันทรายในปัจจุบัน) ราษฎรส่วนหนึ่งไม่สามารถนำเงินมาชำระค่าภาษีได้จึงขอเสียเป็นผลผลิต พวก เจ้าภาษีไม่ยอมกลับข่มเหงจำขื่อมือเท้าราษฎร สร้างความไม่พอใจแก่ราษฎรที่พบเห็นเกิดรวมตัวกันต่อต้านพวกเจ้าภาษีโดยมีพระยาปราบสงครามเป็นผู้นำ ซึ่งเริ่มต่อต้านด้วยการประกาศห้ามไม่ให้ เจ้าภาษีเก็บภาษีในเขตตำบลหนองจ๊อมแล้วลุกลามใหญ่โตถึงกับวางแผนจะเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ โดยมุ่งหมายจะสังหารข้าราชการจากส่วนกลางและเจ้าภาษีชาวจีนในฐานะผู้สร้างความเดือดร้อน แต่ถูกทางการปราบปรามเสียก่อนโดยที่พระยาปราบสงครามหลบหนีไปได้จึงรวมกำลังขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งหลังได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองเชียงตุง สามารถยึดเมืองฝางได้ อย่างไรก็ตามในที่สุดก็ถูกทางการปราบปรามจนสำเร็จ
สาเหตุของกบฏพระยาปราบสงครามเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการ ปกครองและเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้านายบุตรหลานต้องสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงพยายามต่อต้านการดำเนินงานปฏิรูปการปกครองตลอดมา และในเหตุการณ์กบฏพระยาปราบสงคราม เจ้านายในเมืองเชียงใหม่ก็มีส่วนสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
ในการตีความเท่าที่ผ่านมาต่างก็ยอมรับว่าเจ้านายในเมืองเชียงใหม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกบฏด้วย แต่ไม่มีผู้ใดพิจารณาต่อไปว่าการปฏิรูปการปกครองของกรมหมื่นพิชิตปรีชากรนั้น ได้กระทบกระเทือนถึงโครงสร้างทางการปกครองในระดับล่างทั้งหมด ซึ่งรวมถึงแคว่นและแก่บ้านด้วย ข้าราชการท้องถิ่นเหล่านี้ ก่อนหน้าจะปฏิรูปการปกครองเป็นกลุ่มที่เคยมีผลประโยชน์ต่อการเก็บ รวบรวมภาษีอากรให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ ข้าราชการท้องถิ่นจึงสูญเสียผลประโยชน์ และรู้สึกว่ารัฐบาลกลางเข้ามายุ่งเกี่ยวมากเกินไป หลักฐานที่สนับสนุนนั้นเห็นได้ชัดว่าผู้ร่วมก่อการกบฏครั้งนี้ล้วนเป็น ข้าราชการระดับท้องถิ่นทั้งสิ้น เช่น พระยาปราบสงคราม แคว่นและแก่บ้าน ประกอบด้วย พระยาขัติยะ (แคว่นแม่คือ) ท้าวยาวิไชย (แก่บ้านป่าบง) พระยารัตนคูหา (แก่บ้านถํ้า) พระยาจินใจ (แคว่นจ๊อม) พระยาชมภู (แก่หัวฝาย) ท้าวเขื่อนคำ (แคว่นกอก) และท้าวขัด ท้าวใจ ท้าวเขื่อนแก้ว ท้าวราช ท้าวขันคำ แสนเทพสุรินทร์ เป็นต้น
สำหรับสาเหตุที่ผลักดันให้พระยาปราบสงครามก่อการกบฏผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นผลโดยตรงจากการสูญเสียผลประโยชน์ด้านการจัดเก็บภาษีด้านแม่ปิงฝั่งตะวันออก นอกจากนั้นยังมีสาเหตุประกอบการตัดสินใจของพระยาปราบสงครามอีกด้วย ได้แก่ การได้รับความสนับสนุนจากเจ้านายในเมืองเชียงใหม่ และไม่พอใจการทำทารุณต่อราษฎรในความปกครอง ซึ่งพระยาปราบสงครามตาม คำบอกเล่าเป็นคนดีรักความยุติธรรม
หลังจากเกิดกบฏพระยาปราบสงคราม อำนาจของรัฐบาลกลางเริ่มลดลงตามลำดับจนมีลักษณะคล้ายระบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเข้าพระทัยถึงความรู้สึกกระทบกระเทือนใจของเจ้านายในเมืองเชียงใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ดำเนินการปฏิรูป ในช่วงหลังกบฏพระยาปราบสงคราม (.. 2432 - 2435) จึงไม่มีการแก้ไขปัญหาทันที

เชียงใหม่สมัยปฏิรูปการปกครองมณฑลลาวเฉียง (.. 2436 - 2442)
ความจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองมณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพในเวลาต่อมาเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่รัฐบาลไทยต้องยอมยกหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าและหัวเมืองกะเหรี่ยง ซึ่งมีปัญหาวุ่นวายเสมอมาให้แก่รัฐบาลอังกฤษในปี พ.. 2435 และในปี พ.. 2436 ไทยก็เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศสในวิกฤตกาล ร.. 112 ทำให้เขตแดนด้านตะวันออกของมณฑลลาวเฉียงต้องเผชิญกับการรุกรานของฝรั่งเศสตลอดมา ในที่สุดไทยต้องเสียหัวเมืองฝั่งขวาแม่นํ้าโขง ซึ่งขึ้นกับเมืองน่านแก่ฝรั่งเศสใน พ.. 2446
การดำเนินงานครั้งนี้มีพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียงเป็นเวลา 6 ปี (.. 2436 - 2442) และได้ขยายเขตการปฏิรูปออกไปจากเดิมถึงเมืองแพร่และเมืองน่านด้วย ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเมืองเชียงใหม่เท่านั้น พระยาทรงสุรเดชจัดการหลายด้านซึ่งสามารถรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง
ด้านการปกครองในระดับมณฑล พระยาทรงสุรเดชริเริ่มจัดตั้งกองมณฑลลาวเฉียงซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญมาก กองมณฑลมีพระยาทรงสุรเดชข้าหลวงใหญ่เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีข้าหลวงรองในตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทย ข้าหลวงยุติธรรม ข้าหลวงคลัง ข้าหลวงป่าไม้ และมี ข้าราชการระดับเสมียนพนักงานประจำอยู่ในกองมณฑล รูปแบบการปกครองดังกล่าวจะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับการปกครองมณฑลเทศาภิบาลซึ่งจะจัดในสมัยต่อมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่รัฐบาลกลางได้เตรียมพื้นฐานที่จะปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลในมณฑลพายัพให้เป็นแบบแผนเช่นเดียวกับมณฑลภายใน และข้อบกพร่องครั้งนี้จะได้รับการแก้ไขในสมัยมณฑลเทศาภิบาล
ส่วนการปกครองในเมืองเชียงใหม่ พระยาทรงสุรเดชตั้งตำแหน่งพระยาผู้ช่วยเสนาทั้ง 6 ให้ครบทุกตำแหน่ง หลังจากที่ถูกเจ้าเมืองเชียงใหม่ยกเลิกไปในครั้งที่เจ้าพระยาพลเทพเป็นข้าหลวงพิเศษใน พ.. 2433 การตั้งเสนา 6 ตำแหน่ง พระยาทรงสุรเดชใช้วิธีการที่เรียกว่าอุบายเกี้ยวลาวโดยเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้แต่งตั้งผู้ช่วยเสนา 6 ตำแหน่งขึ้น ซึ่งประสบความสำเร็จ พระยาทรงสุรเดชดึงตัวข้าราชการที่ทำการในกองมณฑลมาดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ผู้ช่วยเสนาคลังและ ผู้ช่วยเสนานา ทั้งยังดึงเอาตำแหน่งสำคัญทั้งสองมารวมไว้ที่ว่าการมณฑลลาวเฉียง การกระทำดังกล่าวก็เท่ากับที่ว่าการมณฑลแย่งตำแหน่งและงานต่าง ๆ ที่ระดับเมืองเคยทำ ซึ่งเจ้านายบุตรหลานเริ่มไม่พอใจเพราะเกรงว่าจะสูญเสียอำนาจต่างๆ ที่มีอยู่อย่างรวดเร็ว และเกรงว่ารัฐบาลจะยกตำแหน่งต่างๆ ไปไว้ ณ ที่ว่าการมณฑลเสียหมดจนกระทั่งตนไม่มีอำนาจหน้าที่จะทำกิจการใดๆ ความไม่พอใจการกระทำของพระยาทรงสุรเดช เป็นสาเหตุให้เจ้านายในเมืองเชียงใหม่ทำหนังสือร้องเรียนนำขึ้นกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5
การปกครองในเมืองอื่น ๆ พระยาทรงสุรเดชจัดส่งข้าหลวงไปประจำเมืองตามลำดับความสำคัญคือ พระยาทรงสุรเดชถือเป็นข้าหลวงที่ 1 ประจำอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ โดยเขตการปกครองรวมไปถึงเมืองลำพูนด้วย รองลงมามีข้าหลวงที่ 2 ประจำอยู่ที่เมืองลำปางและเมืองน่าน และข้าหลวงที่ 3 ประจำที่เมืองแพร่ ข้าหลวงที่ส่งไปประจำเมืองจะเป็นตัวแทนของข้าหลวงใหญ่ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่เจ้านายบุตรหลานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลกลาง
อย่างไรก็ตามในช่วงที่พระยาทรงสุรเดชดำเนินการปฏิรูปไม่ปรากฏว่า ได้มีการ เปลี่ยนแปลงในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านแต่อย่างใด คงปล่อยให้มีสภาพดังเดิม การเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นจะเด่นชัดในสมัยที่มีการปกครองแบบเทศาภิบาล
ในด้านการคลัง พระยาทรงสุรเดชรวบอำนาจไว้ไม่ให้เจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้านาย บุตรหลานใช้จ่ายอย่างอิสระ โดยกำหนดให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้รับเงินผลประโยชน์ (ไม่รวมค่าตอไม้) ปีละ 80,000 รูปี ซึ่งในขณะที่ดำเนินการอยู่นั้นเจ้าเชียงใหม่อินทรวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัย พระยา ทรงสุรเดชจึงตัดเงินผลประโยชน์ให้เหลือปีละ 30,000 รูปี พร้อมทั้งลดเงินเดือนเจ้านายบุตรหลานที่รับ ราชการ และจัดการโยกย้ายถอดถอนบางตำแหน่งแล้วให้ข้าราชการไทยเป็นแทนพร้อมกับเพิ่มเงินเดือนให้
การจัดการของพระยาทรงสุรเดชสร้างความรู้สึกบีบคั้นต่อเจ้านายบุตรหลานในเมืองเชียงใหม่มากจนเกิดการแตกแยกแบ่งเป็นฝ่ายข้าหลวงและฝ่ายเจ้านายบุตรหลาน ซึ่งมีความรุนแรงถึงขนาดแบ่งเขตแดนกัน โดยฝ่ายข้าหลวงอยู่ด้านริมแม่น้ำปิง  ส่วนเจ้านายบุตรหลานอยู่ในกำแพงเมืองและทั้งสองฝ่ายมุ่งประทุษร้ายต่อกัน สถานการณ์จึงตึงเครียดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ 5 ทรงแก้ไขโดยเรียกตัวพระยาทรงสุรเดชกลับกรุงเทพฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) ซึ่งไม่เข้มงวดเช่นพระยาทรงสุรเดชขึ้นไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลแทน และจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยมีพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ดำเนินการปฏิรูป (ธันวาคม 2442 - เมษายน 2443)

เชียงใหม่สมัยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. 2442 - 2476)
การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลเริ่มจากหัวเมืองชั้นในก่อน แล้วขยายไปยังหัวเมืองประเทศราชเริ่มตั้งแต่ พ.. 2437 จนถึง พ.. 2449 จึงทั่วพระราชอาณาจักร มณฑลพายัพจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล พ.. 2442 อย่างไรก็ตามดินแดนส่วนนี้ได้รับการปฏิรูปมาตั้งแต่ก่อนหน้าเป็นมณฑลเทศาภิบาลแล้ว (.. 2427 - 2442) การจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นการยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชลานนาไทย มาเป็นดินแดนส่วนหนึ่งในพระราชอาณาจักรอย่างแท้จริง
รูปแบบของมณฑลเทศาภิบาลได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการปกครองแบบเดิม โดยกำหนดให้แต่ละเมืองมีคณะกรรมการบริหารเรียกว่าเค้าสนามหลวง ประกอบด้วยข้าหลวงประจำเมือง เจ้าเมือง และข้าหลวงผู้ช่วย ซึ่งตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ คือ พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ (...ประยูร อิศรศักดิ์) เจ้าอุปราช (เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์) รั้งตำแหน่งเจ้าเมือง และขุนรัฐกิจข้าหลวงผู้ช่วย ด้านอำนาจหน้าที่เป็นของข้าหลวงประจำเมือง โดยเจ้าเมืองไม่มีหน้าที่ปกครองบ้านเมืองโดยตรง ได้แต่ยกย่องให้เกียรติในนามเท่านั้น อย่างไรก็ตามเจ้าอุปราชซึ่งรั้งตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ไม่พอใจการเข้าควบคุมของรัฐบาล จึงเรียกร้องให้ข้าหลวงเทศาภิบาลลดอำนาจของข้าหลวงประจำเมืองลง และขอมีอำนาจกลับคืนดังเดิม๑๔๗ แต่ไม่ได้ผล
นอกจากจัดตั้งเค้าสนามหลวงเป็นคณะกรรมการบริหารสูงสุดแล้ว ยังคงรูปแบบเสนา ๖ ตำแหน่งไว้ตามเดิม แม้ว่าจะไม่เหมาะสมกับกาลสมัยนักก็ตาม แต่เพื่อไม่ให้เจ้านายบุตรหลานซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาต่างๆ ไม่พอใจการดำเนินงานของรัฐบาล และรัฐบาลใช้วิธีค่อยๆ เลิกเสนา 6 ตำแหน่งไป โดยจัดข้าราชการจากส่วนกลางเข้าดำรงตำแหน่งกรมการเมืองต่างๆ แทน เช่น ปลัดเมือง ยกกระบัตร จ่าเมือง และสัสดี เป็นต้น
ในด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรัฐบาลเข้าควบคุมมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้เจ้าเมืองต้องเสียภาษีที่ดินเช่นเดียวกับราษฎรทั่วไป วิธีการนี้ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า เพราะที่ดินส่วนใหญ่เป็นของเจ้านายเมืองเหนือ และรัฐบาลก็ได้จัดสรรรายได้ของเจ้าเมืองออกเป็นเงินเดือน เงินส่วนแบ่งค่าตอไม้ และเงินส่วนแบ่งค่าแรงแทนเกณฑ์ รวมแล้วปีหนึ่งเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์จะมีรายได้ไม่น้อยนักคือ ประมาณ 240,277 บาท  แต่รายได้นี้ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินค่าตอไม้และเงินแทนเกณฑ์ซึ่งเก็บได้ไม่แน่นอน และในปี พ.. 2451 ได้ขอรับพระราชทานผลประโยชน์เป็นเงินเดือน ๆ ละ 20,000 บาท อย่างไรก็ตามในระยะแรกที่จัดสรรรายได้ดังกล่าว เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ไม่พอใจนักแต่ก็ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ส่วนราษฎรก็ได้รับการกระทบกระเทือนจากการปฏิรูประบบการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการเก็บเงินแทนเกณฑ์จากชายฉกรรจ์จำนวน 4 บาทต่อปี ซึ่งมักจะเสียเงินแล้วยังถูกเกณฑ์แรงงานเสมอ โดยทางการไม่จ่ายค่าตอบแทนให้ ซึ่งตามปกติกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้จ่ายค่าตอบแทนในอัตราวันละ 2 สลึง ราษฎรจึงเดือดร้อนและไม่พอใจข้าราชการจากส่วนกลางที่กวดขันเกณฑ์แรงงานสร้างถนนและสะพานทั้งในเมืองและนอกเมือง
หลังจากจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลผ่านไป 3 ปี ปัญหาต่างๆ ก็ตามมา เนื่องจากความไม่พอใจของราษฎรและเจ้านายเมืองเหนือผู้เสียอำนาจและผลประโยชน์และปัญหาการขาดแคลนข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะตำแหน่งนายแขวง (นายอำเภอ) ซึ่งรัฐบาลกำหนดว่าต้องเป็นข้าราชการจากส่วนกลางนั้นมีจำนวนน้อยมาก ดังนั้นแต่ละแขวงที่จัดตั้งขึ้นจึงมีพื้นที่กว้างขวางมาก ทั้งการคมนาคมก็ยากลำบากนายแขวงจึงดูแลไม่ทั่วถึง ซํ้านายแขวงส่วนหนึ่งไม่เข้าถึงประชาชน ดูหมิ่นชาวพื้นเมืองและใช้อำนาจกดขี่เกณฑ์แรงงานจนเกินไป ปัญหาเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปตามเมืองต่าง ๆ ในมณฑลพายัพ แต่ที่ลุกลามเป็นการต่อต้านครั้งใหญ่เกิดที่เมืองแพร่ในเหตุการณ์กบฏเงี้ยว พ.. 2445 พวกกบฏเป็นกองโจรเงี้ยวที่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้านายเมืองแพร่ ครั้นพวกกบฏยึดเมืองสำเร็จ เงี้ยวชาวเมืองและราษฎรได้ร่วมมือกับโจรเงี้ยวเข่นฆ่าข้าราชการจากส่วนกลางถึง 20 กว่าคน
สำหรับเมืองเชียงใหม่มีการต่อต้านเช่นเดียวกันซึ่งเกิดก่อนกบฏเงี้ยวเมืองแพร่แต่ไม่รุนแรงเท่า การต่อต้านการเกณฑ์แรงงานของราษฎรในเมืองเชียงใหม่เท่าที่พบหลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติครั้งแรกวันที่ 18 มีนาคม ปลายปี พ.. 2444 โดยพระยานริศรราชกิจโทรเลขแจ้งทางกรุงเทพฯ ว่าราษฎรแลแก่บ้านแขวงเมืองเชียงใหม่ร้องว่าเค้าสนามหลวงได้กะเกณฑ์ทำถนนหนทาง แลว่าได้เสียเงินแทนเกณฑ์แล้วยังถูกเกณฑ์อีกและวันที่ 23 เมษายน ต้นปี พ.. 2445 ราษฎรแขวงแม่วังและแขวงเกืองหลายร้อยคนขัดขืนไม่ยอมทำถนน ความรุนแรงของการประท้วงไม่ยอมทำตามคำสั่งของทางราชการเกิดขึ้นอีกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.. 2445 ณ ที่ทำการแขวงแม่งัด มีราษฎรประมาณ 600 คน พร้อมอาวุธมีดดาบและไม้ พากันไปชุมนุมประท้วงกรมการแขวงแม่งัดและได้เกิดการปะทะกัน ตำรวจซึ่งอยู่ร่วมกับกรมการแขวงแม่งัดจำนวน 10 นาย ใช้ปืนยิงถูกราษฎร ผลราษฎรตาย 6 คน บาดเจ็บ 2 คน ส่วนพวกกรมการแขวงบาดเจ็บ 2 คน
ผลของกบฏเงี้ยวเมืองแพร่เปิดโอกาสให้รัฐบาลเข้าจัดการปกครองมณฑลพายัพได้อย่างเต็มที่ โดยส่งกำลังทหารเข้าปราบพวกกบฏอย่างเฉียบขาด พร้อมกับลงโทษเจ้านายเมืองแพร่ด้วยการปลดออก แล้วให้ข้าราชการจากส่วนกลางดำรงตำแหน่งใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่างให้เมืองอื่นๆ เห็นว่าการต่อต้านรัฐบาลไม่มีทางสำเร็จ นอกจากยอมสนับสนุนแต่โดยดี หลังจากเกิดกบฏเงี้ยวท่าทีของเจ้านายเมืองเหนือจึงยอมรับอำนาจรัฐทุกอย่าง
ในการดำเนินงานปฏิรูปการปกครองช่วงหลังกบฏเงี้ยวมีพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) (.. 2445 - 2458) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง พระยา สุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์เริ่มต้นแก้ไขปัญหาบุคลากร โดยคัดเลือกข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถและเข้าถึงราษฎร นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนั้นก็ใช้นโยบายผ่อนปรนไม่เกณฑ์แรงงานจนเกินไป ขณะเดียวกันก็สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น ทั้งด้านการศึกษา การไปรษณีย์โทรเลข การสาธารณสุข และการซ่อมสร้างถนนและสะพานอย่างมากมาย
ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเจ้าเมืองเชียงใหม่ปรากฏว่าเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ขอรับเป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยรัฐบาลกลางใช้วิธีคำนวณจากรายได้เท่าที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยแล้วกำหนดเป็นเงินเดือนซึ่งได้เดือนละ 20,000 บาท ส่วนเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าเมืองคนสุดท้ายได้เงินเดือน ๆ ละ 10,000 บาท ต่อมาเพิ่มเป็น 12,000  บาท เงินเดือนนี้ถือเป็นการพระราชทานเฉพาะบุคคลเมื่อสิ้นชีวิตจะงดจ่ายทันที และการให้ผลประโยชน์เป็นเงินเดือนก็เท่ากับว่าเจ้าเมืองมีฐานะเหมือน ข้าราชการทั่วไป นับเป็นความสำเร็จที่จะนำไปสู่การยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองประเทศราชในเวลาต่อมา
พระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์จัดการปกครองอยู่ 13 ปี (.. 2445 - 2458) ก็ประสบความสำเร็จเป็นที่พอใจของรัฐบาลยิ่ง โดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นช่วงที่เกิดการปฏิรูปการศึกษาในล้านนา ราษฎรนิยมเรียนหนังสือไทยกันมาก การผสมกลมกลืนให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยค่อยประสบความสำเร็จเป็นลำดับ ส่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้านายบุตรหลานให้การสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลทั้งด้านการศึกษา และการทำนุบำรุงบ้านเมือง
มณฑลพายัพในช่วง พ.. 2458 - 2468 จะจัดเป็นระเบียบแบบแผนเช่นเดียวกับมณฑลภายในทุกประการ และช่วงนี้มีการจัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ประกอบด้วย ลำปาง แพร่ น่าน แล้วรวมกับมณฑลพายัพเป็นมณฑลภาคพายัพ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเชียงใหม่จะเกิดหลังจากทางรถไฟสายเหนือมาถึงปลายทางที่เชียงใหม่ในปี พ.. 2464 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว มีการขยายเนื้อที่เพาะปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อส่งเป็นสินค้าออก และสินค้าจากส่วนกลางก็เข้ามาเชียงใหม่มากขึ้น รวมทั้งวิทยาการความเจริญในทุกๆ ด้านด้วย

บทสรุป
เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ โดยเป็นอิสระในสมัยที่ราชวงศ์มังรายปกครอง ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนองพม่ามีความเข้มแข็งมากสามารถตีเชียงใหม่สำเร็จใน พ.. 2101 และในเวลาต่อมาก็โจมตีอยุธยาสำเร็จอีกใน พ.. 2112 อยุธยาสามารถเป็นอิสระจากพม่าหลังจากถูกครอบครอง 15 ปี ส่วนล้านนาไทยพยายามดิ้นรนเป็นอิสระอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถพ้นจากอิทธิพลของพม่าได้ ล้านนาไทยมีสภาพที่อ่อนแอถูกพม่าครอบครองเกือบตลอดเวลา มีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ฝ่ายอยุธยาเข้าครอบครอง
อย่างไรก็ตามความคิดที่จะฟื้นม่าน” (ต่อต้านพม่า) ของชาวเชียงใหม่เกิดขึ้นเสมอ แต่ไม่สำเร็จเชียงใหม่ไม่สามารถขับไล่พม่าโดยลำพังได้ ในที่สุดใน พ..  2317 พระยาจ่าบ้านและพระยา กาวิละเข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วร่วมกับกองทัพไทยขับไล่พม่าออกไปนับ ตั้งแต่นั้นมาเชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย
ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น พม่ายังคงรุกรานเชียงใหม่และหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทยเพื่อหวังจะกลับมาปกครองอีก รัฐบาลสมัยนั้นต้องช่วยเหลือให้ล้านนาไทยเข้มแข็งสามารถต่อต้านกับพม่าได้ สมัยรัชกาลที่ 1 มีนโยบายฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของล้านนาไทยที่เข้มแข็ง โดยแต่งตั้งพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่ฟื้นเมืองเชียงใหม่และขับไล่ อิทธิพลพม่าให้หมดไป ซึ่งประสบความสำเร็จในปลายรัชกาลที่ 1 เมืองเชียงใหม่ฟื้นตัวอย่างมั่นคงและสามารถขับไล่พม่าออกไปจากที่มั่นที่เมืองเชียงแสนใน พ.. 2347
การปกครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองประเทศราช รัฐบาลกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวใน กิจการภายในทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และขนบธรรมเนียมประเพณี เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงมีอิสระในการบริหารบ้านเมืองของตนเป็นอันมาก แต่มิได้หมายความว่ารัฐบาลกลางจะไม่ควบคุมเชียงใหม่เสียทีเดียว เพราะรัฐบาลกลางใช้วิธีการที่แสดงตนว่ามีฐานะที่เหนือกว่าเชียงใหม่ เช่น การแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูง บุคคลที่ได้รับตำแหน่งต้องยอมรับในอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยการเข้าเฝ้าเพื่อรับตราตั้งและเครื่องยศ และวิธีการให้กระทำพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัจจาซึ่งมีการสาบานว่าจะจงรักภักดี นอกจากนั้นยังให้เมืองเชียงใหม่ปฏิบัติตามพันธะของเมืองประเทศราชในรูปของการส่งต้นไม้เงินทอง เครื่องราชบรรณาการ ส่วยและการเกณฑ์ของ และการเกณฑ์ช่วยราชการสงคราม เป็นต้น
วิธีการปกครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองประเทศราชดังกล่าว นับว่าเหมาะสมกับ สภาวการณ์ในสมัยนั้น ซึ่งรัฐบาลกลางมีกำลังน้อยควบคุมไม่ถึง การคมนาคมไม่สะดวก และไม่จำเป็นต้องเพิ่มภาระเพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับก็เพียงพออยู่แล้ว ในส่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็ต้องการมีสิทธิในการปกครองตามขนบธรรมเนียมของตน อย่างไรก็ตามเมื่อตะวันตกเข้ามาสภาพการปกครองหัวเมืองประเทศราชดังกล่าว ได้กลายเป็นปัญหาที่ทำให้รัฐบาลกลางต้องเข้าไปควบคุมมากขึ้นตามลำดับ การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่จึงเกิดขึ้นใน พ.. 2427 ซึ่งพร้อมกับเมืองลำปางและลำพูน รวมเรียกว่าหัวเมืองลาวเฉียง นับเป็นดินแดนแห่งแรกในพระราชอาณาจักรที่รัฐบาลกลางต้องเร่งดำเนินการด้วยมีปัญหาเกี่ยวพันกับคนในบังคับอังกฤษ
การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของการปฏิรูป ลักษณะการดำเนินงานเป็นการผนวกดินแดนหัวเมืองประเทศราชเชียงใหม่และล้านนาไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพระราชอาณาจักรที่ใช้เวลายาวนานถึง 49 ปี (.. 2427 - 2476) โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษา และอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ รัฐบาลไม่ยกเลิกในทันทียังคงให้ดำรงตำแหน่งอย่างมีเกียรติ แต่ขณะเดียวกันก็พยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ของเจ้าเมืองเชียงใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังจะเห็นว่าในช่วงแรกที่รัฐบาลกลางส่งข้าหลวงสามหัวเมืองขึ้นมาแก้ไขปัญหาที่เมืองเชียงใหม่ พ.. 2417 - 2426 ยังไม่ได้ควบคุมเจ้าเมืองเชียงใหม่โดยตรง เพียงแต่ส่งข้าหลวงขึ้นไปแนะนำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสนธิสัญญาเชียงใหม่และตามคำสั่งของรัฐบาลเท่านั้น ครั้นต่อมาในช่วง พ.. 2427 - 2442 รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปการปกครองซึ่งเริ่มเข้าควบคุมอำนาจและผลประโยชน์บางอย่างและเป็นการวางรากฐานก่อนการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เพราะเมื่อจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลใน พ.. 2442 เป็นเวลาที่รัฐบาลสามารถดำเนินการขั้นตอนยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช พร้อมกับเข้าควบคุมอำนาจทางการปกครองและผลประโยชน์จากเจ้าเมืองเหนือได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะหลังกบฏเงี้ยว พ.. 2445
ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 (ปี พ.2451) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ (.. 2445 - 2452) ขอรับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนประจำจึงเริ่มมีฐานะเหมือนข้าราชการทั่วไป และสมัยรัชกาลที่ 6 เจ้าเมืองเหนือที่เหลืออยู่ก็ขอรับพระราชทานเงินเดือนเช่นเดียวกันหมด ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงดำเนินการในขั้นต่อมาคือ ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง โดยกำหนดว่าหากเจ้าเมืององค์ใดถึงแก่พิราลัยแล้วจะไม่โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งอีก เท่ากับยกเลิกตำแหน่งไปโดยปริยาย สัญลักษณ์ของเมืองประเทศราชจึงค่อยสลายตัวลง ครั้นเมื่อคณะราษฎรยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลใน พ.. 2476 มณฑลพายัพจึงถูกยุบ แต่ผลของการเปลี่ยนแปลงในช่วงการปฏิรูปการปกครองคงเป็นรากฐานสืบมาถึงปัจจุบัน

หมายเหตุ
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (.. 2133 - 2148) และสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (.. 2199 - 2231) อยุธยาครอบครองเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่ง

การปกครองเมืองเชียงใหม่ช่วง พ.. 2468 - 2476 เป็นการปรับปรุงช่วงสุดท้ายก่อนยกเลิกระบบเทศาภิบาล ได้เริ่มเมื่อรัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์ ทรงยกเลิกระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในช่วง พ.. 2458 - 2468 ทรงยุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น ยุบมณฑลมหาราษฎร์เข้ากับมณฑลพายัพ ยุบเลิกตำแหน่งเสนาทั้ง 6 ซึ่งว่างมานานแล้ว และทรงดำเนินนโยบายยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองโดยเด็ดขาด ซึ่งกำหนดว่านับตั้งแต่ พ.. 2469 เป็นต้นไป  หากตำแหน่งเจ้าเมืองใดว่างลงจะไม่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นอีก ส่วนเจ้าเมืองที่มีชีวิตอยู่ก็ได้เงินเดือนจนถึงแก่พิราลัย ซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัยใน พ.. 2482 จึงเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ และหลังจากคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลลงใน พ.. 2476 มณฑลพายัพจึงสลายตัว ส่วนเมืองเชียงใหม่ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยในอดีตก็มีฐานะเป็นเพียงจังหวัดเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ สืบมาจนปัจจุบัน

ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงสมัยรัชกาลที่ 4
ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงราชการ ร.ศ. 129
ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129
ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)
ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ที่มา:

การผังเมือง กระทรวงมหาดไทย,กรม. การผังเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป,(2542).

กำธร กุลชล และคณะ.วิวัฒนาการทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันออก: ตั้งแต่เริ่มสร้างงกรุงจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง. วารสาร ม. ศิลปากร ฉบับ พิเศษ กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี.กรุงเทพฯ: 2525, . 221 – 243.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์. ถิ่นกำเนิดชนชาติไท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

ชิน อยู่ดี. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2510.

ชำระประวัติศาสตร์ไทย,กรม. รายพระนามพระมหากษัตริย์อยุธยา.ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2515.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. หนังสือเรียน สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2 ( 32101). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2547.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. คู่มือครู สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2551.

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ราชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอเดีย สแควร์. 2546.

ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. (2545).

นิธิ เอียวศรีวงศ์.การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท พิฆเนศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำำกัด, 2536

เนตรนิมิต.ประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมาและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์.นครราชสีมา: หจก. มิตรภาพการพิมพ์1995, 2547

บังอร ปิยะพันธ์.ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์.พิมพ์ครั้งแรก, กรุงสยามการพิมพ์,สิงหาคม 1433

พลับพลึง คงชนะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์. 2543.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปากร,กรม.โบราณคดีประวัติศาสตร์.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2529.

สุด แสงวิเชียร. เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, (2517).

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ประวัติศาสตร์ ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, มปป.