ประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด

ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก

ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย/การนับศักราช

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนิยมแบ่งตามหลักเกณฑ์ตามประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์สากลที่นักวิชาการฝรั่งทำขึ้น คือ
        1.  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็นยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ ยุคโลหะ
ยุคหินในดินแดนประเทศไทย
         ยุคต่าง ๆ ในดินแดนประเทศไทยแบ่งเป็นยุคหินเก่ายุคหินกลางยุคหินใหม่
        ก. ยุคหินเก่า มีอายุระหว่าง 500,000 หรือ 200,000 ปีถึง 10,000 ปีมนุษย์ในยุคนี้รู้จักใช้หินนำมากระเทาะแบบหยาบหน้าเดียวแบบสับตัดมีขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามถ้ำเพิงผาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์เก็บผลไม้ตามธรรมชาติมีการย้ายถิ่นฐานไปตามแหล่งอาหาร
        ข. ยุคหินกลาง อายุ 10,000 – 8,000 ปีมนุษย์ในยุคนี้มีมากกว่ายุคหินเก่ามีการปรับปรุงเครื่องมือหินให้ประณีตขึ้นนำเปลือกหอยมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ทำเครื่องปั้นดินเผานำพืชมาใช้ประโยชน์มีพิธีการฝังศพอาศัยตามถ้ำย้ายถิ่นฐานไปตามแหล่งอาหาร
. ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 8,000 – 3,000 ปีมนุษย์ในยุคนี้มีความเจริญพอสมควรมีเทคนิคการทำเครื่องมือหินที่ก้าวหน้าขึ้นรู้จักทำเครื่องจักสานทำเครื่องปั้นดินเผาทำหินใช้เปลือกหอยมาทำเครื่องประดับมีพิธีกรรมรู้จักการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์มีการตั้งหลักแหล่งอยู่กับที่มนุษย์ในยุคนี้จึงมีการพัฒนาสร้างสรรค์วัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องต่อมา

 
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ. อุดรธานี
อายุกว่า 5,600 - 3,000 ปี

 
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ. อุดรธานี
อายุกว่า 5,600 - 3,000 ปี

ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย
          มีอายุประมาณ 3,000 ปีหรือ 500 ปีก่อนพุทธศักราชถึงประมาณพ.. 1000 เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะบางชนิดมาทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหินเริ่มจากการนำเอาทองแดงกับดีบุกมาหลอมรวมกันเป็นสำริดแล้วพัฒนาต่อมาจนมีความรู้เรื่องถลุงเหล็กทำเครื่องมือเหล็กใช้ซึ่งแข็งแรงกว่าสำริดมีความรู้ทางด้านการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มทำเครื่องปั้นดินเผารู้จักทำคูน้ำขุดสระเก็บน้ำการเดินทะเลมีพิธีกรรมมีศิลปะและภาพเขียนต่าง ๆ
        2.  สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ที่มีรัฐโบราณต่าง ๆ ในดินแดนที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในปัจจุบัน
        3.  สมัยสุโขทัย
        4.  สมัยอยุธยา
        5.  สมัยกรุงธนบุรี
        6.  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ก่อนยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475)
        7.  สมัยรัตนโกสินทร์หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475– ปัจจุบัน
   
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ช่วงระยะเวลา 500,000 – 1,500 ปีมาแล้ว
ยุคหิน

ช่วงระยะเวลา 500,000 – 4,000 ปีมาแล้ว


เครื่องมือเครื่องใช้และอื่น ๆ
วิถีการดำเนินชีวิต


ยุคหินเก่า
เครื่องมือหินทำจากหินกรวดอาวุธทำจากหินอย่างง่ายๆเป็นเครื่องมือขุดและสับตัด

อยู่กันเป็นครอบครัวขนาดเล็กเร่ร่อนตามล่าฝูงสัตว์และเก็บพืชตามธรรมชาติอาศัยอยู่ในถ้าและเพิงผา



    ยุคหินกลาง
เครื่องมือหินขนาดเล็กลงประณีตขึ้นเครื่องปั้นดินเผาผิวเกลี้ยง
อยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ยังเร่ร่อนตามแหล่งอาหารมีการประกอบพิธีฝังศพ



ยุคหินใหม่
เครื่องมือหินขัดสิ่วขวานเครื่องจักสานทอผ้าเครื่องปั้นดินเผา

อยู่รวมกันเป็นชุมชนเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์รู้จักค้าขายมีการแบ่งงานกันทำ
ยุคโลหะ

ช่วงระยะเวลา 4,000 – 1,500 ปีมาแล้ว


เครื่องมือเครื่องใช้และอื่น ๆ
วิถีการดำเนินชีวิต


ยุคเหล็ก
สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากสำริดภาชนะดินเผาตกแต่งสวยงามมีลวดลายระบายสีแดง

อยู่รวมกันเป็นชุมชนมีการปกครองมีความเชื่อมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


ยุคทองแดง
สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยเหล็กมีการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้หลากหลายประเภท

อยู่รวมกันเป็นเมืองบางเมืองพัฒนาเป็นอาณาจักรมีการค้าขายมีระบบการปกครอง


พัฒนาการของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย

แหล่งโบราณคดี
ร่องรอย/หลักฐาน/ลักษณะสังคม
แหล่งโบราณคดีที่แม่ทะ
อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง


พบเครื่องมือหินกะเทาะทำมาจากหินกรวดกำหนดอายุได้ประมาณ5ถึง4แสนปีมาแล้ว
แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน
อำเภอเมืองจังหวัดกระบี่

พบร่องรอยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะทั้งเครื่องมือแกนหินและเครื่องมือสะเก็ดหินอายุ 37,000-27,000 ปีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบินเนียนอายุ 9,000-7,500 ปีพบภาชนะดินเผา 6,000-4,000 ปี

แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว
อำเภอเมืองจังหวัดกระบี่
พบร่องรอยการอยู่อาศัยของคนหลายช่วงเวลามีการใช้เครื่องมือหินหลายลักษณะตั้งแต่ช่วง 2,500-4,000 ปี

แหล่งโบราณคดีถ้าผีแมนอำเภอปางมะผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน
พบเครื่องมือหินแบบฮัวบินเนียนทำจากหินกรวดแม่น้ากำหนดอายุได้6,000ถึง9,000๐ปีมาแล้วพบหลักฐานของเมล็ดพืชจึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่ามีการเริ่มต้นเพาะปลูก

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
บ้านเชียงสมัยต้น
อายุระหว่าง 4,300-3,000 ปีพบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์โบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับประเพณีฝังศพพบภาชนะเผาสีดำ-เทาเข้มตกแต่งลายเส้นและมีการพัฒนาภาชนะดินเผาจนระยะสุดท้ายพบภาชนะก้นกลมระบายสีแดงเรียกว่าภาชนะแบบบ้านอ้อมแก้ว

บ้านเชียงสมัยกลาง
อายุระหว่าง 3,000-2,300 ปีมาแล้วคนในยุคนี้เริ่มรู้จักทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ใช้โลหะทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับภาชนะดินเผาที่พบมีขนาดใหญ่มีการตกแต่งปากภาชนะด้วยการทำสีแดง

บ้านเชียงสมัยปลาย
มีอายุระหว่าง 2,300-1,800 ปีใช้เหล็กทำเครื่องมือเครื่องใช้แพร่หลาย

แหล่งโบราณคดีโนนนกทา
อำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น
โนนนกทาสมัยต้น

มีอายุระหว่าง 5,500-4,500 ปีรู้จักทำการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์รู้จักใช้สำริดทำเครื่องมือเครื่องใช้
โนนนกทาสมัยกลาง
มีอายุระหว่าง 4,500-1,800 ปีรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์รู้จักใช้สำริดทำเครื่องมือเครื่องใช้ภาชนะดินเผามีหลายรูปแบบ
โนนนกทาสมัยปลาย

อายุ 1,000 ปีมาแล้วพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็กและเครื่องมือเกษตรกรรม

แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรีจังหวัดกาญจนบุรี
พบร่องรอยของหมู่บ้านสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีอายุราว 4,000 ปีมีการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์มีภาชนะหลายรูปแบบ

แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรตาบลพนมทวนจังหวัดกาญจนบุรี
พบโครงกระดูกมนุษย์เครื่องมือเกษตรกรรมทำด้วยเหล็กและสำริดพบเคียวเกี่ยวข้าวและเมล็ดข้าวในเนื้อภาชนะดินเผามีอาชีพทำนาจับปลาล่าสัตว์

แหล่งโบราณคดีบ้านจันเสน
อำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์
พบภาชนะดินเผาวัตถุสำริดเครื่องมือเหล็กลูกปัดทำด้วยหินแก้วกระดูกชุมชนบ้านจันเสนพัฒนาเป็นเมืองรุ่นแรก

วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย

การศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของไทยเริ่มต้นค้นพบเมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้วระหว่างพ.. 2503-2505 หลักฐานที่พบคือเครื่องมือหินชนิดต่างๆพบบริเวณ ลุ่มแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่  แหล่งโบราณคดีที่สำคัญพบเครื่องมือหินกะเทาะที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อายุประมาณ  4-5 แสนปีมาแล้วและยังพบว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ใช้เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบินเนียนที่ถ้ำหลังโรงเรียนเป็นเพิงผาในเทือกเขาหินปูน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีการพบแหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีทาให้สันนิษฐานได้ว่ากลุ่มคนในยุคนี้ไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ดารงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาของป่าการเพาะปลูกนั้นพบว่ามีอายุระหว่าง 4,300 และ 3,000 มาแล้วที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และยังมีหลักฐานการฝังศพโดยนาภาชนะดินเผาฝังร่วมกับโครงกระดูกและมีหลักฐานการใช้สำริดในประเทศไทยที่โนนนกทา เขตบ้านนาดี อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นมีการพบภาชนะดินเผามีลักษณะเด่นคือภาชนะดินเผาสามขาที่ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบเคียวเกี่ยวข้าวเมล็ดข้าวในเนื้อภาชนะดินเผาพบลูกหินมีลายเขียนสีที่บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี  แหล่งโบราณคดีพบโบราณวัตถุวัฒนธรรมอินเดียเช่นดวงตราสัญลักษณ์ตุ๊กตาดินเผาทั้งผู้ชายผู้หญิงเด็กสวมใส่เครื่องประดับเครื่องแต่งกาย บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  โบราณวัตถุที่โดดเด่นคือภาชนะดินเผาที่ลวดลายประทับรูปสัตว์เหมือนกับโบราณวัตถุที่พบที่ศรีเกษตรแว่นแคว้นพม่าโบราณทาให้นักวิชาการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์เชื่อว่าที่แห่งนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่และเข้าสู่สมัยทวารวดี


แหล่งโบราณคดีบ้าเก่า
แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
มีอายุราว 4,000 ปี



แหล่งโบราณคดีบ้าเก่า
แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
มีอายุราว 4,000 ปี



การนับศักราช
        ปัจจุบันการนับศักราชไทยนิยมใช้สองแบบ คือ แบบทางราชการ จะใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) และแบบสากลนิยมหรือทั่วโลกนิยม หรือศักราชของฝรั่งชาติตะวันตกที่ใช้คริสต์ศักราช (ค.ศ.) ในสมัยประวัติศาสตร์นิยมใช้จุลศักราช (จ.ศ.) ต่อมาใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) โดยมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้
        พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 1 ปี (คือ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานครบ 365 วัน หรือ 1 ปี) เป็น พ.ศ. 1 ส่วนในประเทศพม่าและศรีลังกา ซึ่งนับถือพุทธศาสนาเหมือนไทยเราจะนับเร็วกว่า 1 ปี เนื่องจากนับปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเป็น พ.ศ. 1  คือ ไทยนับหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1 ส่วนพม่าและศรีลังกานับปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเลยเป็น พ.ศ. 1 (คือพอพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 1 วัน พม่าและศรีลังกานับเป็น พ.ศ. 1 เลย จนครบ 365 วันก็นับเป็น พ.ศ. 2) จึงเร็วกว่าเรา 1 ปี เช่น พ.ศ. 2557 พม่าและศรีลังกาจะเป็น 2558 ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 2557 ปี หรือ 2558 ปีความจริงแล้วก็ไม่ต่างกัน ต่างกันเฉพาะวิธีนับเท่านั้น เพราะเรานับ 1 เมื่อครบปีแล้ว แต่พม่าและศรีลังกานับ 1 ในปีนั้นเลย
        คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระเยซูคริสต์ประสูติ เป็น ค.ศ. 1 ปัจจุบันก็เป็น ค.ศ. 2014  ก็หมายความว่า พระเยซูคริสต์ทรงมีชนมายุครบ 2014 ปี
        จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) เป็นศักราชของไทยแท้ นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะประสูติ เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนาอาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมา จึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่) การนับ จ.ศ. นี้เป็นแบบจันทรคติ โดยนับข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 – 15 วันตามด้วยปีนั้นปีนี้ เช่น ปีมะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม เป็นต้นคนไทยสมัยเก่ายังติดนิสัยนับแบบนี้กันอยู่ก็มีในปัจจุบัน คือ ท่านจะไม้รู้ว่าเกิด พ.ศ. ใด จะรู้แต่ว่า เกิดปีมะโรง ปีมะเส็ง รอบนั้นรอบนี้เท่านั้น  ต้องมาคำนวณให้ตรงกับศักราชใหม่อีกที (ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
        รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พ.ศ. 2325  นับเป็น ร.ศ.
          ส่วนทางพี่น้องชาวมุสลิมของเราจะนับแบบฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) ฮิจเราะห์เป็นการเดินทางของท่านนบีมูฮัมมัดและผู้ติดตามจากนครเมกกะไปยังเมดินา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 622 (พ.ศ. 1165) เนื่องจากท่านนบีได้รับคำเตือนว่า มีแผนจะลอบสังหารท่าน จึงเดินทางออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินากับอะบูบักรอย่างลับ ๆ ผู้จัดทำก็ไม่เข้าใจวิธีนับ แต่เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ. 622 ตรงกับ พ.ศ. 1165


การเทียบศักราช

         ถ้าเทียบ พ.ศ. เป็น ค.ศ. ให้นำ 543 ไปลบออกจาก พ.ศ. (พระพุทธเจ้าปรินิพพานก่อนพระเยซูประสูติ543 ปี โดยประมาณ) เช่น พ.ศ. 2310  ลบด้วย 543 จะได้ 1767  ก็ตรงกับ ค.ศ. 1767  ในทางตรงกันข้าม การเทียบ ค.ศ. เป็น พ.ศ. ก็นำ 543 ไปบวก พ.ศ. เช่น 1767 + 543 = 2310  เป็นต้น เราก็สามารถเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของทั่วโลกได้โดยเทียบศักราชกัน
          ถ้าเทียบ จ.ศ. เป็น พ.ศ. ก็นำ 1181 ไปบวกกับ พ.ศ. เช่น จ.ศ. 243 + 1181 = 1424 ก็เป็น พ.ศ. 1424  ในทางตรงกันข้ามก็ลบ เช่น พ.ศ. 2557 – 1181 = 1376 ก็เป็น จ.ศ. 1376  เป็นต้น
ถ้าเทียบ ร.ศ. เป็น พ.ศ. ก็นำ 2325 ไปบวก เช่น ร.ศ. 200 + 2325 = 2525  เราก็ทราบว่า กรุงเทพฯ ครบ 200 ปี เมื่อ พ.ศ. 2525 ในทางตรงกันข้าก็ลบ เช่น พ.ศ. 2557 – 2325 = 232  เราก็ทราบว่า ปี พ.ศ. 2557 ตรงกับ ร.ศ. 232 กรุงเทพฯ อายุครบ 232 ปี เป็นต้น (มีมหาศักราช หรือ ม.ศ. ด้วยแต่ไม่นิยมใช้จึงไม่กล่าวถึง)

การนับเป็นศตวรรษ

          ศตวรรษ  แปลว่า  ร้อยปี  มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศต (ร้อย) + วรฺษ (ปี) การนับจะนับเมื่อครบ 100 ปี เป็น 1 ศตวรรษ
          วิธีนับ คือ ศตวรรษที่х 100 – 99 ถึง ศตวรรษที่ х 100 เช่น  ศตวรรษที่ 10 ( 10 х 100 = 1000 – 99  = 901 ถึง 10х 100 = 1000)ก็คือ ระหว่าง 901 – 1000 เป็นศตวรรษที่ 10ถ้าเป็น ค.ศ. จะเรียก คริสต์ศตวรรษที่ 10 ถ้าเป็น พ.ศ. จะเรียก พุทธศตวรรษที่ 10
          ยกอีกหนึ่งตัวอย่าง เช่น ศตวรรษที่ 11 (11 х 100 = 1100 – 99 = 1001 ถึง 11 х 100 = 1100)ก็คือ ระหว่าง 1001 – 1100  เป็นศตวรรษที่ 11
          อีกตัวอย่าง (กลัวไม่เข้าใจ) ศตวรรษที่ 2  (2 х 100 = 200 – 99 = 101 ถึง 2 х 100 = 200) ก็คือ ระหว่าง 101 – 200 เป็นศตวรรษที่ 2
เวลาเขียนเป็นฝรั่งหรือภาษาอังกฤษเขาจะเติมตัว s ไว้หลัง เช่น ศตวรรษที่ 17 จะเป็น 1700s เป็นต้น

การนับเป็น ทศวรรษ

          ทศวรรษ แปลว่า สิบปี มาจากภาษาสันสกฤตว่า ทศ (สิบ) + วรฺษ (ปี) เมื่อครบ 10 ปี จะเป็น 1 ทศวรรษ
          การนับแบบ ทศวรรษ นี้ นิยมใช้เฉพาะใน ค.ศ. หรือคริสต์ศักราชของฝรั่ง ไม่นิยมใช้ในศักราชอื่น ๆ การนับจะนับช่วง 10 ปี เช่น ค.ศ. 1920 – 1929 เรียกว่า ทศวรรษที่ 1920 เวลาเขียนจะเติม s ต่อท้าย เป็น 1920เป็นต้น

ข้อคิด

          ความจริงแล้วศักราชต่าง ๆ ไม่ตรงกันเลย เช่น ถ้าจะนับ พ.ศ. จริง ๆ ก็ต้องนับในวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานครบปีนั้น ๆ ในวันวิสาขบูชา ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ถ้า ค.ศ. ต้องนับในวันพระเยซูประสูติ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม (วันคริสต์มาส) ประชาชนทั่วโลกจึงตกลงกันเอาวันที่ 1 มกราคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันเริ่มปีใหม่เพื่อให้ศักราชตรงกันทั้งโลก เช่น ปี ค.ศ. 2014 จริง ๆ แล้วครบรอบในวันที่ 25 ธันวาคม  ปี พ.ศ. 2557 ครบรอบแล้วตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม  ซึ่งจะเห็นว่าสมัยก่อนวันขึ้นปีใหม่ในแต่ละชนชาติจะไม่เหมือนกัน ของไทยเราเป็นวันสงกรานต์ ก็คือ จ.ศ. นั่นแหละ ประมาณกลางเดือนเมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ของจีนก็เป็นวันตรุษจีน เป็นต้น 

เหตุที่เอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

การนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปี ก็เอามาจากฝรั่งเช่นกัน (เพราะฝรั่งชาติตะวันตกมีอิทธิพลเหนือชาติอื่น ๆ ในโลก มีมุสลิมบ้างที่ไม่ค่อยก้มหัวให้ฝรั่ง) ชาวตะวันตกชาติแรกที่เอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ คือ ชาวโรมันโบราณ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ 713 ปี ก่อนพระเยซูคริสต์ประสูติ จักรพรรดิโรมันนามว่า Numa Pompiliusได้สร้างปฏิทินมาให้ชาวโรมันใช้กัน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะสมัยนั้นชาวโรมันสังเกตเห็นว่า ช่วงเวลานี้กลางคืนยาวมากกว่าช่วงเวลาอื่น (ความจริงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ช่วงนี้ดวงอาทิตย์อยู่จากเส้นศูนย์มาก ในยุโรปช่วงนี้กลางคืนจะยาวจริง ๆ เนื่องจากดวงอาทิตย์คล้อยลงมาทางขั้วโลกใต้ บางประเทศ เช่น ฟินแลนด์ จะไม่เห็นดวงอาทิตย์เลยตลอด 6 เดือน– เรียกช่วงนี้ว่า Winter solstice) ชาวโรมันโบราณกลัวว่าดวงอาทิตย์จะไม่กลับมาอีกตลอดกาล จึงไปอ้อนวอนเทพเจ้า “เจนัส” (God Janus)ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นเทพถือกุญแจท้องฟ้าให้ประทานดวงอาทิตย์กลับคืนมา พอดวงอาทิตย์กลับมาตามปกติของมัน พวกเขาเชื่อว่าเป็นเพราะเทพเจ้าเจนัสประทานมาให้ จึงเฉลิมฉลองกัน และเพื่อให้เกียรติแก่เทพเจ้าเจนัส จึงตั้งวันที่ 1 ซึ่งเป็นวันแรกของเดือน Januaryซึ่งมีรากศัพท์มา Janus นั่นแหละเป็นวันขึ้นปีใหม่
          อย่างที่เราทราบแล้วว่า อารยธรรมโรมันนี้มีอิทธิพลต่อฝรั่งชาติตะวันตกเป็นอย่างมาก ก็จึงเอาวันที่ 1 เดือน January เป็นวันเริ่มต้นปีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเกิดลัทธิล่าอาณานิคมและลัทธิทุนนิยมของฝรั่งกระจายไปทั่วโลก วัฒนธรรมนี้จึงแพร่กระจายไปทั่วโลก

ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงสมัยรัชกาลที่ 4
ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงราชการ ร.ศ. 129
ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129
ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)
ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ที่มา:

การผังเมือง กระทรวงมหาดไทย,กรม. การผังเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป,(2542).

กำธร กุลชล และคณะ.วิวัฒนาการทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันออก: ตั้งแต่เริ่มสร้างงกรุงจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง. วารสาร ม. ศิลปากร ฉบับ พิเศษ กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี.กรุงเทพฯ: 2525, . 221 – 243.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์. ถิ่นกำเนิดชนชาติไท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

ชิน อยู่ดี. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2510.

ชำระประวัติศาสตร์ไทย,กรม. รายพระนามพระมหากษัตริย์อยุธยา.ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2515.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. หนังสือเรียน สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2 ( 32101). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2547.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. คู่มือครู สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2551.

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ราชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอเดีย สแควร์. 2546.

ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. (2545).

นิธิ เอียวศรีวงศ์.การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท พิฆเนศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำำกัด, 2536

เนตรนิมิต.ประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมาและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์.นครราชสีมา: หจก. มิตรภาพการพิมพ์1995, 2547

บังอร ปิยะพันธ์.ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์.พิมพ์ครั้งแรก, กรุงสยามการพิมพ์,สิงหาคม 1433

พลับพลึง คงชนะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์. 2543.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปากร,กรม.โบราณคดีประวัติศาสตร์.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2529.

สุด แสงวิเชียร. เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, (2517).

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ประวัติศาสตร์ ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, มปป.