ประเทศไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
กรุงรัตนโกสินทร์: ราชธานีแห่งใหม่
จากธนบุรี สู่ดินแดนกว้างใหญ่ฝั่งตะวันออก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
องค์พระปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
โปรดเกล้าให้ย้ายที่ตั้งราชธานีมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาแต่เพียงฝั่งเดียว
ด้วยเหตุผลหลักหลายประการ ทางด้านยุทธศาสตร์
รูปลักษณะของพื้นที่ฝั่งตะวันออกคล้ายแหลมใหญ่ มีแม่น้ำโอบล้อมทั้งทางทิศเหนือ
ทิศตะวันตก และทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่
นับเป็นชัยภูมิที่ดีในการป้องกันศึก ทางด้านถูมิศาสตร์ พื้นที่ฝั่งธนบุรี
ถูกกัดเซาะจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากมาทางเหนือ
ทำให้ตลิ่งด้านตะวันตกทรุดพังทลายเร็วกว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออก
ทางด้านการพัฒนาเมือง พื้นที่ฝั่งธนบุรีมีจำกัด มีวัดขนาบอยู่สองด้าน
และมีการใช้ที่ดินหนาแน่นมาก ทำให้การขยายตัวของเมืองในอนาคตเป็นไปได้โดยยาก
และพื้นที่นอกกำแพงเมืองฝั่งตะวันตกที่ไกลออกไปเต็มไปด้วยร่องสวนผลไม้
ในขณะที่ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ท้องนา การพัฒนาเมืองกระทำได้ง่ายกว่า
|
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรับสั่งย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งกรุงเทพฯ |
สภาพการใช้ที่ดินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามิได้ว่างเปล่า
หากแต่เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในเขตกำแพงเมืองของกรุงธนบุรี
และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงคุ้นเคยกับพื้นที่ฝั่งนี้มาตั้งแต่สมัยที่ทรงดำรงตำแหน่ง
เจ้าพระยาจักรีในสมัยกรุงธนบุรี
ด้วยทรงเป็นนายงานรับพระบรมราชโองการสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการบูรณะปรับปรุงพื้นที่พระนครทั้งสองฟากแม่น้ำแล้วสร้างกำแพงเมืองและป้อมให้มั่นคงบริบูรณ์ดังกล่าวมาแล้ว
ดังนั้นการที่ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์บนพื้นที่ปัจจุบัน จึงมิได้เป็นการย้ายพระนครมาบนพื้นที่ว่างเปล่า
หากแต่เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินค่อนข้างเบาบางกว่าทางฝั่งตะวันตก
ลักษณะทางกายภาพของที่ดินทางฝั่งตะวันออกก่อนปีพุทธศักราช 2325 นั้น
คงเป็นเรือกสวนริมแม่น้ำและทุ่งนาที่เรียกว่า ทะเลตม ลึกเข้าไปในแผ่นดินกว้าง
ชุมชนคงเกาะตัวริมแม่น้ำและลำคลองต่าง ๆ
ซึ่งขุดแยกเข้าไปหล่อเลี้ยงนาข้าวและสวนผลไม้ภายใน สิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ๆ
ได้แก่คูเมือง และกำแพงเมืองตามแนวคลองคูเมืองเดิม (ที่เรียกกันว่า
คลองหลอดในปัจจุบัน) วัดโพธิ์ และวัดสลัก (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ในปัจจุบันตามลำดับ) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
นอกจากนี้ก็มีบ้านเรือนของพระยาราชาเศรษฐีและชาวจีนตรงบริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน
และบ้านเรือนของชาวญวนตรงบริเวณท่าเตียน
เหตุผลที่องค์พระปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงเลือกที่ตั้งเมืองหลวงใหม่ทางฝั่งตะวันออก
พอสรุปได้ดังนี้ (วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
ฉบับพิเศษ กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี)
1.
ในทางยุทธศาสตร์ – ลักษณ์พื้นที่คล้ายแหลมใหญ่ โอบด้วยแม่น้ำทั้งสามทิศ
และมีทะเลตมทางทิศตะวันออก
เหมาะสำหรับเป็นชัยภูมิที่ป้องกันข้าศึกได้อย่างดีเลิศทั้งทางน้ำและทางบก
2.
ในทางภูมิศาสตร์ – ฝั่งธนบุรีเป็นฝั่งโค้งด้านนอกของแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวจากทางเหนือ
จึงทำให้ตลิ่งทรุดพังเร็วกว่าฝั่งตรงกันข้าม
3.
ในการพัฒนาเมือง – การใช้ที่ดินฝั่งธนบุรีหนาแน่นมาก
โดยเฉพาะในเขตพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นเกือบจะขยายไม่ได้เลย
เพราะถูกขนาบด้วยวัดแจ้งและวัดท้ายตลาด (วัดอรุณราชวราราม และวัดโมลีโลกยารามในปัจจุบันตามลำดับ) พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันตกเป็นสวนผลไม้ซึ่งพัฒนายากกว่าพื้นที่ท้องนาทางฝั่งตะวันออก
¨ ภาพถ่ายพระบรมมหาราชวัง
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ถอดแบบแนวคิดอยุธยา
ทั้งการกำหนดทำเลที่ตั้งของพระบรมมหาราชวัง
การขุดคลองรอบกรุง การสร้างป้อมและกำแพงเมือง เสาหลักเมือง
รวมถึงการรื้อป้อมบางกอกฝั่งพระนครมาสร้างเมือง
และความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ประกอบการกำหนดองค์ประกอบหลักของเมือง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ พ.ศ.
2325 แล้วทรงทรงทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก หรือตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ย้ายที่ตั้งราชธานีจากเมืองธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
พระราชวังหลวงสร้างด้วยไม้ (ที่ประทับชั่วคราว) โดยลักษณะพระนครคล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์มาก่อน
งานสถาปัตยกรรมบนพื้นที่ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของพระนครหลวง
ย่อมได้รับความสำคัญเหนือสิ่งก่อสร้างอื่นใด ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่า
ความงามสุดยอดของศิลปะการช่างแขนงต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์
จะถูกระดมไปอยู่รวมกันในพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ตลอดจนวังและวัดอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ตามหลักฐานจากพระราชพงศาวดาร
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ว่าจะทรงสร้างกรุงตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งเรืองมานานหลายศตวรรษ
ซึ่งยังคงประทับอยู่ในความทรงจำของผู้คนส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ร่วมสมัยกับพระองค์
ดังนั้นรูปแบบและชื่อของปราสาทราชวัง วัดวาอาราม คูคลอง
และป้อมปราการจึงล้วนแต่ได้รับการลอกแบบหรือจำลองมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งสิ้น
นอกเหนือไปจากงานสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างอื่น
ๆ แล้ว
การเลือกที่ตั้งหรือการวางผังการใช้ที่ดินของกรุงรัตนโกสินทร์ยังแสดงให้เห็นว่า
พระองค์ได้ทรงพยายามดำเนินตามแบบอย่างของกรุงศรีอยุธยาด้วย กล่าวคือ ที่ดินว่างเปล่าผืนใหญ่สองผืนริมแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนั้น
อยู่ระหว่างวัดโพธิ์และวัดสลักผืนหนึ่ง
และอยู่เหนือวัดสลักขึ้นไปจรดคลองคูเมืองเดิมอีกผืนหนึ่งนั้น
ทรงเลือกให้สร้างพระราชวังบวรสถานมงคลสำหรับสมเด็จพระอนุชาธิราช (สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) บนผืนด้านเหนือน้ำ
ดังที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วังหน้า (ปัจจุบันคือที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
โรงละครแห่งชาติ วิทยาลัยช่างศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์) ส่วนพระบรมมหาราชวัง
หรือวังหลวงนั้น โปรดให้สร้างบนที่ดินผืนใต้ การวางผังลักษณะนี้คล้ายคลึงกับผังของกรุงศรีอยุธยาที่มีวังหน้า (พระราชวังจันทร์เกษม) อยู่เหนือน้ำและวังหลวงอยู่ใต้ลงไป
สิ่งที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ
ทั้งสองกรุงต่างก็ใช้กำแพงพระราชวังชั้นนอกของทั้งวังหน้าและวังหลังเป็นกำแพงเมืองด้านแม่น้ำเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาอีกแง่มุมหนึ่งจะพบว่าความแตกต่างของผังเมืองทั้งสองอยู่ที่แม่น้ำนั่นเอง
แม่น้ำที่ไหลผ่านพระราชวังในกรุงศรีอยุธยานั้น คือ แม่น้ำลพบุรี
ซึ่งถึงแม้จะปรากฏในผังว่ามีการใช้ที่ดินค่อนข้างหนาแน่นกว่าแม่น้ำสายอื่น ๆ
แต่ในปัจจุบันก็มีสภาพตื้นเขินและแคบแทบเหมือนลำคลอง และถ้าพิจารณาผังโดยส่วนรวมแล้ว
ดูคล้ายว่าแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านทางด้านหลังของเมือง (ถือว่าด้านหน้าของเมืองหันสู่ทิศใต้) ซึ่งผิดกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้างใหญ่และไหลเชี่ยวผ่านทางด้านหน้าของกรุงรัตนโกสินทร์ (ถือว่าด้านหน้าของเมืองอยู่ทางทิศตะวันตก)
ความแตกต่างอย่างชัดเจนสำหรับผังเมืองทั้งสอง
ได้แก่ ระบบถนนภายในเมืองซึ่งกรุงศรีอยุธยาใช้ระบบตาตะแกรงอย่างเต็มรูป
เพราะสภาพที่ตั้งคล้ายเกาะสี่เหลี่ยมล้อมรอบด้วยแม่น้ำสายใหญ่นั้นเอื้ออำนวย
แต่พื้นที่ลักษณะเกาะรูปสามเหลี่ยมมนโอบด้วยแม่น้ำสามด้านของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น
บังคับให้แนวการขยายตัวเมืองพุ่งผ่านคูเมืองออกไปจากจุดศูนย์กลาง
ประดุจเส้นรัศมีสู่ทิศทางต่าง ๆ ในลักษณะที่เหมือนนิ้วมือ
|
แผนผังแสดงป้อมในเมืองบางกอก พ.ศ. 2330 |
|
ผังเมืองอยุธยา |
|
|
ผังเมืองรัตนโกสินทร์ |
|
ภาพผังเมืองสมัยอยุธยา เปรียบเทียบกับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
|
ก่อร่างสร้างเมือง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อเริ่มสร้างกรุง โปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายชุมชนชาวจีนไปตั้งยังพื้นที่ใหม่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ของตัวเมือง
คือบริเวณสำเพ็งปัจจุบัน และให้ชาวญวนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ
บริเวณบ้านหม้อและพาหุรัดนอกกำแพงเมือง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง
หลังจากเสด็จเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 ได้เพียง 15 วัน และอีก 15 วันต่อมาก็โปรดให้เริ่มสร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน
เป็นอาคารไม้ชั่วคราวเสร็จภายในเวลาเพียง 35 วัน จากนั้นจึงทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก
และได้สถาปนาขึ้นเป็นราชธานีขนานนามว่า “กรุงรัตนโกสินทร์”
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “กรุงเทพฯ” การก่อสร้างนครได้เริ่มอย่างจริงจังเมื่อปี
พ.ศ. 2326 โดยโปรดเกล้าให้ขุดคลองรอบกรุงเพื่อขยายอาณาเขตเมืองให้กว้างขวางขึ้น
ขยายออกไปทางทิศตะวันออก และทิศใต้ โดยโปรดให้เกณฑ์เขมร 10,000 คน
เข้ามาขุดคลองคูพระนครด้านตะวันออก
ตั้งแต่วัดสังเวชบางลำพูบนมาออกแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดสามปลื้ม ยาว 85 เส้น 13 วา
กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก พระราชทานชื่อว่าคลองรอบกรุง ด้านแม่น้ำตั้งแต่ปากคลองรอบกรุงข้างใต้ไปจนปากคลองข้างเหนือ
ยาว 91 เส้น 16 วา รวมทางน้ำรอบพระนคร 177 เส้น 9 วา พร้อมทั้งสร้างกำแพงเมือง
ประตูเมือง และป้อมขึ้นมาใหม่ ตามแนวคลองรอบกรุงนี้
แล้วขุดคลองหลอดจากคลองคูเมืองเดิมที่ขุดในสมัยธนบุรี
ออกไปบรรจบคลองรอบกรุงที่ขุดใหม่ เพื่อการปรับระดับน้ำ 2 คลอง
และขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแก (ปัจจุบัน คือ วัดสระเกศ) อีกคลองหนึ่ง พระราชนามว่าคลองมหานาค
แล้วโปรดให้รื้อกำแพงของกรุงธนบุรีทั้งสองฟากแม่น้ำลงเหลือไว้แต่เขตพระราชวังชั้นในและป้อมฝั่งธนบุรี
แล้วมีการย้ายสถานที่ราชการมายังพระนครใหม่ทั้งหมด สร้างกำแพงเมืองสูง 3.60 เมตร ขนานคลองรอบกรุงด้านใน และสร้างป้อมปืน จำนวน 14 ป้อม
|
แผนที่ที่ตั้งป้อมปืน 14 ป้อมรอบพระนคร |
การก่อร่างสร้างเมือง (โดยเน้นพัฒนาฝั่งตะวันออก) โดยการสร้างพระนครใหม่อย่างถาวร
แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก
ย้ายเฉพาะวังและสถานที่สำคัญมายังฝั่งตะวันออก (รักษากรุงธนบุรีเป็นที่มั่น) ระยะสอง
รื้อกำแพงกรุงธนบุรีฝั่งตะวันตก และพระราชวังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีลงกึ่งหนึ่ง
เรียก “พระราชวังเดิม” การย้ายศูนย์กลางจากฝั่งธนบุรีมาฝั่งพระนคร
การสร้างกรุงในระยะแรกใช้เวลาประมาณ 3 ปี เน้นการสร้างประเทศ
การฟื้นฟูโดยมีอิทธิพลจากอยุธยาในหลายด้าน ได้แก่ การวางผังเมือง ตำแหน่งวัด วัง
การขุดคลอง เป็นต้น และได้ฉลองกรุงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2328 สภาพการใช้ที่ดินขณะนั้น
พอจะแบ่งได้เป็นพื้นที่เขตเมืองชั้นใน และพื้นที่เขตเมืองชั้นนอก
โดยพื้นที่เขตเมืองชั้นในมีพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) เป็นศูนย์กลางขนาบด้วยวัดโพธิ์
และวัดสลัก ด้านทิศเหนือถัดจากวัดสลักขึ้นไปเป็นพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ทางด้านตะวันออกของวัดสลักมีพื้นที่โล่งว่าง
ระหว่างด้านทิศเหนือของวังหลวงและด้านทิศใต้ของวังหน้าเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ
ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทุ่งพระเมรุ เป็นที่ตั้งของศาลหลวง
วังเจ้านาย โรงม้าหลวง และตึกดิน (คลังดินดำ) ด้านหลังของพระบรมมหาราชวังและวัดโพธิ์ เป็นที่ตั้งของกรมพระนครบาล
คุกและหอกลอง ทางด้านหน้าวัดโพธิ์ มีวังท่าเตียนอันเป็นที่ประทับของพระเจ้าหลานเธอ
ส่วนพื้นที่ระหว่างกำแพงวังหลวงด้านใต้กับวัดโพธิ์นั้น
เป็นบ้านเรือนของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีการสร้างถนนปูอิฐหลายสายเพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมต่อพื้นที่ต่าง
ๆ พร้อมทั้งได้ก่อสร้างสะพาน 3 แห่ง ข้ามคูเมืองชั้นใน
เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่เมืองชั้นในและชั้นนอก ส่วนพื้นที่เขตเมืองชั้นนอก
ถูกแบ่งด้วยคลองหลอด 2 คลอง ทำให้พื้นที่แยกเป็น 3 ส่วน การใช้ที่ดินทั่วไปเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของข้าราชบริพาร และข้าราชการชั้นผู้น้อย
รวมทั้งราษฎรทั่วไป ปรากฏชุมชนมลายู มอญ และญวนอยู่ในเขตนี้ด้วย
พื้นที่บอกกำแพงเมืองเป็นพื้นที่ลุ่มกว้างใหญ่ สลับป่าละเมาะ
มีชุมชนจีนตั้งอยู่ในบริเวณทางทิศใต้ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา
คลองในสมัยรัชกาลที่ 1
เป็นระยะของ “การก่อร่างสร้างบ้านเรือนใหม่” พระบรมราโชบายในการขุดคลอง คือ
เพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์
เป็นเครื่องป้องกันพระนครประกอบกับกำแพงเมืองและป้อมปราการ
เป็นเส้นทางคมนาคมเป็นการเปิดแหล่งที่พักอาศัย เป็นงานสาธารณูปโภคให้น้ำใช้น้ำกิน
เป็นแหล่งสินในน้ำ คือ มีสัตว์น้ำให้อาศัยจับกิน และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง เช่นเดียวกับสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี
ซึ่งก็นับว่ามีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ของบ้านเมืองและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น
ประกอบกับสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเอง
ก็ทรงต้องการรักษารูปแบบของเดิมของสมัยอยุธยาไว้ ทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ราษฎรของพระองค์
เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นที่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกับของเดิมด้วย
ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นทางด้านจิตวิทยาโดยเฉพาะในขณะที่บ้านเมืองกำลังต้องการความสามัคคีของคนในชาติ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเป็นพิเศษก็คือ การขุดคลองมหานาค ซึ่งในราชพงศาวดารบอกไว้ชัดเจนว่าเพื่อให้ชาวพระนครได้ลงเรือร่วมชุมนุมกันเล่นเพลงและสักวาในฤดูน้ำเหมือนครั้งกรุงเก่า
เพื่อเป็นเครื่องโน้มน้าวจิตใจให้คนไทยที่ยังแตกฉานซ่านกระเซ็นจากกรุงแตกและจากเหตุการณ์ไม่สงบปลายสมัยธนบุรีได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในกรุงเทพฯ
มากยิ่งขึ้น
ผังเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
จำกัดพื้นที่อยู่ภายในเขตกำแพงเมืองเท่านั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชั้น
คือ คลองชั้นใน (คลองคูเมือง) และคลองชั้นนอก (คลองรอบกรุง) คลองทั้งสองนอกจากทำหน้าที่เป็นคูเมืองเองป้องกันพระนคร
และใช้ในการสัญจรไปมาทางน้ำ คลองทั้งสองยังถูกนำมาใช้เป็นแนวแบ่งเขตของการวางผังเมืองให้เป็นสัดส่วนและเป็นระเบียบแบบแผนเป็นชั้น
ๆ โดยคลองรอบกรุงนั้นอาจมองไปได้ว่าเป็นเส้นกำหนดขอบเขตของตัวเมืองกรุงเทพฯ
กับชานเมืองในขณะนั้นด้วย
และต่อไปเมื่อพลเมืองเพิ่มมากขึ้นก็สามารถขยายชุมชนออกไปตามแนวคลองรอบกรุงทั้งทางด้านเหนือ
ด้านตะวันออก และด้านใต้
ซึ่งในขณะนั้นมีคลองมหานาคเป็นเส้นทางเชื่อมตัดกับคลองรอบกรุงไปทางตะวันออก
และแบ่งชานเมืองออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนด้านเหนือและส่วนด้านใต้
พร้อมกันนั้นยังเป็นเครื่องจูงใจให้ชาวไทยเข้ามาตั้งหลักแหล่งในกรุงเทพฯ ได้ไปจับจองที่ดินตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
และประกอบธุรกิจค้าขายตามริมคลอง เพื่อใช้ประโยชน์จากคลองได้อย่างเต็มที่
ในขณะนั้นแม่น้ำลำคลองเป็นโครงข่ายคมนาคมขนส่งแต่เพียงอย่างเดียว
แม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเจ้าพระยา และมีคลองและคลองซอยมากมาย
เชื่อมติดต่อถึงกันได้เป็นโครงข่าย ด้วยการที่กรุงเทพฯ สมัยนั้น
เต็มไปด้วยคลองและการสัญจรทางน้ำที่คับคั่งด้วยเรือแพในการขนส่งผู้คนและสินค้า
จึงได้รับสมญาจากชาวต่างประเทศว่า เวนิชตะวันออก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง
กล่าวคือได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญ
โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย
เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทำศึกสงครามกับพม่าก็ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร การพัฒนาเมือง เน้นรูปแบบการวางผังและสถาปัตยกรรมแบบกรุงศรีอยุธยา
ได้แก่ ขยายเขตเมืองออกมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จากการขุดคลอง (คลองรอบกรุง คลองหลอด และคลองมหานาค) และสร้างกำแพงเมืองและประตูเมืองต่าง
ๆ โดยภายในพระนครจะแบ่งเขตพระราชวัง วังเจ้านาย
สถานที่ราชการอยู่ภายในเขตคลองคูเมืองเดิม
ส่วนบ้านเรือนของราษฎรจะอยู่บริเวณระหว่างคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง
การสร้างป้อม ประตูเมือง และกำแพงเมือง ด้วยการก่ออิฐถือปูน
มีใบบังบนสันกำแพงเป็นรูปเสมา (ในปัจจุบันที่ยังคงเหลือ
ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุ ป้อมมหากาฬ และกำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร) การสร้างพระราชวังหลวง
พระราชวังบวรสถานมงคล
รวมถึงการสร้างพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทด้วยไม้ทั้งหลัง
การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง และอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจากหอพระแก้วพระราชวังเดิมมาประดิษฐาน
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เหมือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา และการสร้างเสาชิงช้า
เพื่อใช้ในพิธี “ตรียัมปวาย” หรือ “โล้ชิงช้า” ตามพิธีแบบพราหมณ์ที่จัดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
การสร้างกรุงในระยะแรกใช้เวลาประมาณ 3 ปี
และได้ฉลองกรุงครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2328 สภาพการใช้ที่ดินสำคัญ ๆ
เริ่มจากเขตชั้นในออกไปได้แก่ พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดารามบนพื้นที่ 132 ไร่ ซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงวัง
พระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงวังอีกเช่นกัน ระหว่างวังทั้งสองคือ
วัดมหาธาตุฯ ซึ่งทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ บริเวณหน้าวัดมหาธาตุฯ
เป็นที่ตั้งฉางข้าวเปลือก ส่วนหลังวัดเป็นท้องทุ่งรกมีน้ำขัง
ในฤดูแล้งใช้เป็นที่เผาพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ จึงเรียกกันว่า ทุ่งพระเมรุ
หรือท้องสนามหลวงในปัจจุบัน ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของทุ่งพระเมรุ
คือที่ตั้งของศาลหลวง วังเจ้านาย โรงม้าหลวง ตึกดิน (คลังดินดำ) ลงไปตามลำดับ
จนถึงด้านหลังของพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ซึ่งก็ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ด้วยนั้น เป็นที่ตั้งของกรมพระนครบาล คุก และหอกลอง สำหรับทางด้านหน้าของวัดพระเชตุพนฯ ก็มีวังท่าเตียน ซึ่งโปรดให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ
เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ส่วนพื้นที่ระหว่างกำแพงวังด้านใต้กับวัดพระเชตุพนฯ
นั้น เป็นบ้านเรือนของเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่
ตัดถนนใหม่ ซึ่งปูด้วยอิฐ 9 สายแรกที่ตัดขึ้นเพื่อการเดินหน้า
และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงอาคารและสถานที่สำคัญ ๆ ภายในเขตพระนครชั้นใน ได้แก่ ถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง (ถนนสนามไชย) ถนนเสาชิงช้า (ถนนบำรุงเมือง) ถนนพระจันทร์
ถนนท่าช้างวังหลวง ถนนหน้าวัดมหาธาตุ ถนนหน้าโรงไหม ถนนท่าขุนนาง ถนนสามเพ็ง
|
วังหน้าในอดีตปัจจุบัน คือ พื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ- พระนคร โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฏศิลป์ (ภาพนี้น่าจะถ่ายสมัย ร.4) |
การป้องกันราชอาณาจักร
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงเป็นผู้นำทัพในการทำสงครามกับพม่าทั้งหมด 7 ครั้งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่
- สงครามครั้งที่ 1
พ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ
สงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่า
โดยในครั้งนั้นพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า
มีพระประสงค์จะเพิ่มพูนพระเกียรติยศและชื่อเสียงให้ขจรขจายด้วยการกำราบอาณาจักรสยาม
จึงรวบรวมไพร่พลถึง 144,000 คน
กรีธาทัพจะเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งเป็น 9 ทัพใหญ่
เข้าตีจากกรอบทิศทาง ส่วนทัพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีกำลังเพียงครึ่งหนึ่ง
ของทหารพม่าคือมีเพียง 70,000 คนเศษเท่านั้น
|
ภาพวาดสงครามเก้าทัพ |
ด้วยพระปรีชาสามารถในการทำสงคราม
ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทไป สกัดทัพพม่าที่บริเวณทุ่งลาดหญ้า
ทำให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณช่องเขา แล้วทรงสั่งให้จัดทัพแบบกองโจรออกปล้นสะดม
จนทัพพม่าขัดสนเสบียงอาหาร เมื่อทัพพม่าบริเวณทุ่งลาดหญ้าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงยกทัพไปช่วยทางอื่น
และได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพตั้งแต่เหนือจรดใต้
- สงครามครั้งที่ 2
พ.ศ. 2329 สงครามท่าดินแดงและสามสบ
ในสงครามครั้งนี้ ทัพพม่าเตรียมเสบียงอาหารและเส้นทางเดินทัพอย่างดีที่สุด
โดยแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ จากศึกครั้งก่อน โดยพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
มาตั้งค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงและสวนสามสบ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงยกทัพหลวงเข้าตีที่ค่ายดินแดง
พร้อมกับให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเข้าตีค่ายพม่าที่สามสบ หลังจากรบกันได้
3 วันค่ายพม่าก็แตกพ่ายไปทุกค่าย
และพระองค์ยังได้ทำสงครามขับไล่อิทธิพลของพม่าได้โดยเด็ดขาด และตีหัวเมืองต่างๆ
ขยายราชอาณาเขต ทำให้ราชอาณาจักรสยามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ดินแดนล้านนา
ไทยใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เขมร และด้านทิศใต้ไปจนถึงเมืองกลันตัน
ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเประ
- สงครามครั้งที่ 3
พ.ศ. 2330 สงครามตีเมืองลำปางและเมืองป่าซาง
หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้แก่สยาม
ก็ส่งผลทำให้เมืองขึ้นทั้งหลายของพม่า เช่น เมืองเชียงรุ้งและเชียงตุง เกิดกระด้างกระเดื่อง
ตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้าปดุงจึงสั่งให้ยกทัพมาปราบปราม รวมถึงเข้าตีลำปางและป่าซาง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทราบเรื่องจึงสั่งให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล
60,00 นาย
มาช่วยเหลือและขับไล่พม่าไปเป็นผลสำเร็จ
- สงครามครั้งที่ 4
พ.ศ. 2330 สงครามตีเมืองทวาย
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ
ให้เกณฑ์ไพร่พล 20,000 นาย
ยกทัพไปตีเมืองทวาย แต่สงครามครั้งนี้ไม่มีการรบพุ่ง
เพราะต่างฝ่ายต่างก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร รี้พลก็บาดเจ็บจึงโปรดเกล้าฯ
ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพ
- สงครามครั้งที่ 5
พ.ศ. 2336 สงครามตีเมืองพม่า
ในครั้งนั้นเมืองทวาย ตะนาวศรี และมะริด ได้เข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปช่วยป้องกันเมือง แต่เมื่อพระเจ้าปดุงยกทัพมาปราบปรามเมืองทั้งสามก็หันกลับเข้ากับทางพม่าอีก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพฯ
- สงครามครั้งที่ 6
พ.ศ. 2340 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่
เนื่องจากสงครามในครั้งก่อนๆ
พระเจ้าปดุงไม่สามารถตีหัวเมืองล้านนาได้ จึงทรงรับสั่งไพร่พล 55,000 นาย
ยกทัพมาอีกครั้งโดยแบ่งเป็น 7 ทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง
โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 20,000 นาย ขึ้นไปรวมไพร่พลกับทางเหนือเป็น 40,000 นาย
ระดมตีค่ายพม่าเพียงวันเดียวเท่านั้นทัพพม่าก็แตกพ่ายยับเยิน
- สงครามครั้งที่ 7
พ.ศ. 2346 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่
ครั้งที่ 2
ในครั้งนั้นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละได้ ยกทัพไปตีเมืองสาด
หัวเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้าปดุงจึงยกทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่เพื่อแก้แค้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ
และสงครามครั้งนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายไทย
|
แผนที่ประเทศสมัยรัชกาลที่ 1 |
การขยายพระนครและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทางด้านกายภาพเป็นการเสริมและขยาย แต่จะมุ่งฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม โปรดเกล้าฯ
ให้มีการสร้างเมือง ตกแต่งพระนครให้งดงาม ได้แก่ การขยายวังด้านใต้
โยกย้ายที่อยู่อาศัยเสนาบดีเก่าออก ตัดถนนท้ายวังแยกเขตวัดกับวังไม่ให้อุปจาร
สร้างพระที่นั่งสนามจันทร์ (ตั้งแต่ปลาย
ร.1-ร.2)ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม
สร้างพระปรางค์ใหญ่ ย้ายเมืองพระปะแดงไปที่บางเจ้าพระยา เรียก “สมุทรปราการ” สร้างเมืองด่านมีป้อมปราการสองฝั่งแม่น้ำที่เมืองพระปะแดงเดิม
เรียก ”นครเขื่อนขันธ์” โดยให้ครอบครัวมอญเมืองปทุมธานีพวกพระยาเจ่งมาอยู่อาศัย การพัฒนาที่สำคัญคือ
การขยายพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดโพธิ์ โดยมีถนนท้ายวังคั่นกลาง
และมีการขุดคลองเพียงคลองเดียว คือ คลองปากลัด
คลองนี้ขุดลัดหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ไปทะลุออกคลองตาลาว ต่อมายังกรุงเทพฯ
เป็นคลองที่ขุดขึ้นเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการคมนาคมสำหรับบริเวณที่เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงเทพฯ
และเอื้อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ในการป้องกันเมืองหลวงและเป็นเส้นทางที่กระชับการปกครองเข้าสู่เมืองหลวงด้วย
การฟื้นฟูศิลปกรรม เช่น
ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังของช่างฝีมือรุ่นแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ประติมากรรมยักษ์ทวารบาลที่วัดต่าง ๆ (วัดพระศรีฯ
วัดโพธิ์ วัดแจ้ง) และบานประตูไม้แกะสลักฝีพระหัตถ์ ร.2 ที่วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
การพัฒนาเศรษฐกิจ และพุทธศาสนา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และบำรุงพระพุทธศาสนา โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะวัด
ตกแต่งพระนครให้งดงาม ได้แก่ การบูรณะวัง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อตามแบบอยุธยา เช่น วัดบางว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) วัดเลียบ (วัดราชบุรณะ) สร้างและบูรณะวัดที่สำคัญต่าง
ๆ เช่น เสริมยอดพระปรางค์วัดอรุณ สร้างเจดีย์ภูเขาทองที่วัดสระเกศ ริมคลองมหานาค
สร้างโลหะปราสาทที่วัดราชนัดดา สร้างวัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ฯลฯ
มีการชักชวนขุนนางสร้างวัด เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (วัดประยุรวงศาวาส) ท่านผู้หญิงน้อยในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยชาติ (วัดอนงคาราม) เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (วัดกัลยาณมิตร) พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (วัดทองนพคุณ)
มีการสร้างวัดมากมาย
ส่วนใหญ่เป็นวัดประจำตระกูล
ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของผู้คนพลเมืองด้วยศาสนา
และให้บ้านเมืองเป็นปึกแผ่น มั่นคง จึงทำให้บ้านเมืองงดงาม (ดังที่พระสังฆราชปาลเลอกัวได้พรรณนาถึงความงามของกรุงเทพฯ
ไว้ในปี พ.ศ. 2373) วัดที่สร้างขึ้นใหม่
ได้แก่ วัดเบญจบพิตร (วัดแหลม) (ต่อมาสร้างใหม่ในรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนชื่อเป็นวัดเบญจมบพิตร)
(พ.ศ. 2370) เริ่มสร้างวัดสามจีน (หรือวัดไตรมิตร) ผลงานออกแบบของพระพรหมพิจิตร (พ.ศ. 2375) สังฆราชปัลเลอกัวซ์ ดำริให้สร้างโบสถ์วัดซางตาครู้สหลังใหม่
นับเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมชนคริสต์ย่านกุฎีจีน (พ.ศ. 2377) วัดเทพธิดารามวรวิหาร” (ร.3 พ.ศ. 2379 ) สร้างโลหะปราสาท แห่งที่ 3 ของโลก (ต่อจากอินเดียและศรีลังกา พ.ศ. 2389)
เริ่มการขนส่งสาธารณะทางบก
ในปี พ.ศ. 2363 การขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ เริ่มต้นด้วยการบริการรถม้า
ก่อนที่จะมีโครงข่ายถนนที่ทันสมัย
ทางสัญจรทางบกในลักษณะทางเท้าและทางรถลากด้วยสัตว์และแรงคน มีบ้างในเขตเมืองเท่านั้น
ถนนส่วนใหญ่เป็นถนนดิน แคบและสั้น เมื่อถึงฤดูแล้งก็เป็นฝุ่น
พอถึงฤดูฝนก็เฉอะแฉะเป็นโคลนตม ถึงแม้ว่าบางถนนจะใช้อิฐเรียงตะแคง
แต่ก็เอาทรายและดินถมเป็นหน้าถนน ถนนดังกล่าว
จึงมีสภาพไม่แตกต่างกับถนนดินเท่าไหร่นัก
ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการขุดคลองแสนแสบเชื่อมต่อกับคลองบางกะปิ
จนถึงบางขนากจังหวัดฉะเชิงเทรา
ใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเดินทัพไปรบกับญวนและยังมีประโยชน์ในการคมนาคม
และการชลประทานอีกด้วย ขุดคลองบางขนากทะลุออกแม่น้ำบางประกง
เพื่อลำเลียงสินค้าระหว่างเมืองฉะเชิงเทรากับพระนคร (พ.ศ. 2384) ขุดคลองอื่น ๆ เช่น
คลองด่าน คลองบางขุนเทียน ขุดลอกคลองสุนัขหอน
อาณาเขตเดิมของพระบรมมหาราชวังมีเนื้อที่ 123 ไร่
ต่อมาในปี พ.ศ. 2360 ได้ขยายออกเป็น 152 ไร่ 2 งาน
พื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 4.14 ตารางกิโลเมตร
กำเนิดเอกลักษณ์
ศิลปะรัตนโกสินทร์
การก่อสร้างสถาปัตยกรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ร.1 - ร.3) ถ่ายทอดจากประสบการณ์ (พ.ศ. 2325-2393) รูปแบบที่อยู่อาศัยมีทั้งลักษณะสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิม
และรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากจีน รูปแบบลักษณะสถาปัตยกรรมเฉพาะ (ไทยประเพณี) เช่น
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ฯลฯ
รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น วัดเทพธิดารามวรวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร (เป็นวัดทีได้รับอิทธิพลทั้งจากจีนและตะวันตก) ฯลฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม รูปแบบอิทธิพลจีนปรากฏอยู่ทั่วไปในอาคารการก่อสร้าง เช่น
อุโบสถวัดราชโอรส วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสามพระยา วัดจักรวรรดิ วัดพระพิเรนทร์
วัดเศวตฉัตร วัดพิชัยญาติ วัดนางนอง และวัดอัปสร พระปรางค์ที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์
คือ งานก่ออิฐถือปูน แต่งผิวพระปรางค์ด้วยการประดับกระเบื้องเคลือบสีเบญจรงค์
ส่วนอิทธิพลชาวตะวันตกได้เข้ามา รวมทั้งการเผยแพร่ศาสนาของเหล่ามิชชันนารี
อาคารที่มีลักษณะของอิทธิพลนี้ เช่น พระปั้นหยา (อยู่ในวัดบวรวิหาร)
กรุงเทพฯ ในช่วง 50 ปีแรกนี้
มีประชากรประมาณ 170,000 คน
สิ่งปลูกสร้างที่ถาวรมีเพียงพระราชวังต่าง ๆ และวัดวาอารามเท่านั้น ประชากรส่วนใหญ่ในขณะนั้น
อาคารบ้านเรือนยังเป็นเรือนแพ สร้างด้วยไม้ สร้างบ้านเรือนบนแพไม้ไผ่
หรือเรือที่ลอยไปตามแม่น้ำและคลองเล็ก ๆ ทางด้านฝั่งธนบุรี
การขนส่งทางบกยังไม่เป็นที่นิยมกัน เนื่องจากการขาดถนนหนทาง ที่สะดวกและปลอดภัย
การสัญจรใช้เรือเป็นส่วนใหญ่ (ใช้ภาพเขียนของชาวต่างประเทศประกอบ)
- ช่างไทย: ปลูกสร้างเรือนไม้ ไม้ไผ่ (เรือนเครื่องผูก เครื่องสับ)
- เรือนเครื่องผูก: ที่อยู่อาศัยราษฎรทั่วไป
สร้างด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยตับจาก
- เรือนเครื่องสับ: ที่อยู่อาศัยเจ้านาย ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้อง เช่น พระตำหนักแดง
- เรือนแพริมน้ำ: ที่อยู่อาศัยและร้านค้าของราษฎรที่ทำการค้าเร่
มีทั้งสร้างตัวเรือนด้วยไม้ไผ่ ไม้ วางอยูบนแพไม้ไผ่ (จำนวนประมาณ 1 ใน 4 ของที่อยู่อาศัยราษฎร)
- ชาวจีน: อาคารก่ออิฐถือปูน (ตึกแบบจีน)
- อาคารก่ออิฐถือปูน: ที่อยู่อาศัยเจ้านาย ข้าราชการ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบจีน
ก่ออิฐฉาบปูนทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้อง
ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในเวลา 40 กว่าปีต่อมา
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีเพียงเล็กน้อย
กล่าวคือในด้านการใช้ที่ดินนั้นมีการขยายเขตพระบรมมหาราชวังออกไปทางทิศใต้อีก 20 ไร่ครึ่ง จนเกือบจดกับเขตวัดพระเชตุพนฯ ในปีพุทธศักราช 2361 เป็นการเปลี่ยนการใช้ที่ดิน
ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งบ้านเรือนเสนาบดีเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และได้โปรดให้ตัดถนนสายใหม่เพื่อคั่นเขตระหว่างพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ
ถนนสายนี้ชื่อ ถนนท้ายวัง ซึ่งมีความสำคัญในการบรรจบกับถนนสายเดิม
ทำให้ขบวนแห่สามารถเคลื่อนรอบกำแพงพระบรมมหาราชวังได้เช่นที่ปรากฏในปัจจุบัน
สถาปัตยกรรมเด่น ๆ
ในสมัยนี้ได้แก่ พระที่นั่งและพระราชมณเฑียรเพียงสองสามองค์ภายในเขตพระบรมมหาราชวังเท่านั้น
เมื่อเปลี่ยนรัชกาลใหม่
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้มีการก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคารสำคัญ ๆ ในพระบรมมหาราชวัง
และวัดพระศรีรัตนศาสดารามจำนวนมาก ส่วนวัดต่าง ๆ ที่โปรดให้ปฏิสังขรณ์นั้น
มีหลายวัดที่โปรดให้เปลี่ยนชื่อให้เหมือนวัดในกรุงศรีอยุธยาด้วย
ภายนอกเขตกำแพงเมือง
ตรงบริเวณปากคลองมหานาคต่อกับคลองรอบกรุง
ได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ให้เหมือนพระเจดีย์วัดภูเขาทอง
ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองที่ชื่อมหานาคเช่นเดียวกันในสมัยกรุงศรีอยุธยา เจดีย์ภูเขาทองได้กลายเป็น LANDMARK ที่สำคัญอย่างหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ตราบจนถึงทุกวันนี้
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สังคมของขุนนางคล้ายกับสังคมของขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ
นิยมการสร้างวัดประจำตระกูลกันมาก และการสร้างอาคารอย่างถาวรก็จำกัดอยู่เพียงพระราชวัง
และวัดวาอารามเท่านั้น ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะทรงพยายามชักนำให้มีการก่อสร้างอาคารประเภทอื่น ๆ ด้วยวัสดุถาวร เช่น อิฐ
ให้มากขึ้น แต่ปรากฏว่าอาคารส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบ้านพักอาศัย ยังคงใช้ไม้
หรือกระทั่งไม้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้างกันอยู่ด้วยความเคยชิน
การปกครองแบบอยุธยาตอนปลาย
– ราชาธิบดี
รูปแบบการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ที่ดำเนินตามรูปแบบที่ได้ปรับปรุงแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – 2031) การปกครองส่วนกลางเป็นแบบ “จตุสดมภ์” (เมือง
วัง คลัง นา) ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาค เป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี และประเทศราช
สมุหนายก เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือน (จตุสดมภ์) และสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร ต่อมาภายหลังในสมัยของพระเพทราชา (พ.ศ.
2234) สมุหนายกและสมุหกลาโหมต้องทำงานทั้งทางด้านทหารและพลเรือนพร้อมกัน
โดยสมุหนายกควบคุมหัวเมืองทางเหนือ และสมุหกลาโหมควบคุมหัวเมืองภาคใต้ ต่อมา
มีการใช้กฎหมายตราสามดวง (พ.ศ. 2347) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เป็นประมวลกฎหมายใหม่ที่ชำระกฎหมายเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะเป็นกฎหมายธรรมชาติที่บัญญัติขึ้นโดยกรรมการและพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค
โดยกระบวนการนิติบัญญัติเช่นปัจจุบัน มีการลงอาลักษณ์ชุบเส้นหมึก ให้สมุหนายก
สมุหกลาโหม และเจ้าพระยาคลัง ประทับตราพระราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้วตามลำดับ
กรุงรัตนโกสินทร์มีศูนย์กลางการปกครองประเทศอยู่ที่พระบรมมหาราชวัง หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า
“วังหลวง” เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
ศูนย์กลางที่สองของการปกครองประเทศอยู่ที่พระราชวังบวรสถานมงคล
หรือที่เรียกเป็นสามัญว่า “วังหน้า” เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช
ศูนย์ที่สามคือ พระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า “วังหลัง” พระราชวังแห่งนี้เกิดขึ้นหลังสงครามเก้าทัพกับพม่าได้สงบลง
สงครามเก้าทัพ
สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับราชอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ
ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า
หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ
เผยแผ่อิทธิพล
โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น
แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย
โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา
สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง
9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง
1.
ทัพที่ 1
ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
2. ทัพที่ 2 ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์
3. ทัพที่ 3 และ 4
เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด
4. ทัพที่ 5-7
เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 3 4 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา
เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
5. ทัพที่ 8-9 เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง
50,000 นาย
ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ
เวลานั้นทางฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง 2 เท่า
ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาไว้ได้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ
สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
คือจัดกองทัพออกเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ
1. ทัพที่ 1 ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
2. ทัพที่ 2
ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่
มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ
คอยไปรับทัพหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
3. ทัพที่ 3
ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี
4. ทัพที่ 4 เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน
สมเด็จพระอนุชาธิราช
พระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี
ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด
สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้
นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียงอาหาร
แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน
ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ
เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับครั้นคร้ามคิดว่ากองทัพไทยมีกำลังมากกว่า
จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ 8-9
จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบทั้งกองทัพขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ
สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น
ทางด้านเหนือพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ
ส่วนทัพที่บุกมาทางด่านแม่ละเมามีกำลังมากกว่าจึงสามารถตีเมืองพิษณุโลกได้
แต่เมื่อเสร็จศึกทางด้านพระเจดีย์สามองค์แล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยหัวเมืองทางเหนือ
ส่วนทางปักษ์ใต้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมืองเสร็จศึกที่ลาดหญ้าแล้ว
เสด็จยกทัพลงไปช่วยทางปักษ์ใต้ต่อ แต่ก่อนที่จะเสด็จไปถึง
ทัพพม่าได้โจมตีเมืองระนอง เมืองถลาง
เวลานั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองคนใหม่
แต่ชาวเมืองถลางนำโดยคุณหญิงจันภริยาเจ้าเมืองถลางที่ถึงแก่กรรมและนางมุกน้องสาว
ได้รวบรวมกำลังชาวเมืองต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ
สามารถป้องกันข้าศึกพม่าไม่ให้ยึดเมืองถลางไว้ได้
หลังเสร็จศึกแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรีย์ (หรือท้าวเทพสตรี)
นางมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร
นอกจากนี้ทัพพม่าบางส่วนสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ และยกลงไปตีเมืองสงขลาต่อ
เจ้าเมืองและกรมการเมืองสงขลาพอทราบข่าวทัพพม่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ด้วยความขลาดจึงหลบหนีเอาตัวรอด
แต่เจ้าเมืองพัทลุงพระยาขุนคางเหล็กและได้นิมนต์ภิษุรูปหนึ่งนามว่าพระมหาช่วยมีชาวบ้านนับถือศรัทธากันมาก
ได้ชักชวนชาวเมืองพัทลุงให้ต่อสู้ป้องกันสกัดทัพพม่าไม่ให้เข้ายึดเมืองพัทลุงได้
เมืองกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพลงมาช่วยหัวเมืองปักษ์ใต้
ตีทัพพม่าตั้งแต่เมืองไชยาลงมาจนถึงนครศรีธรรมราช
เมื่อทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นไปพ้นจากหัวเมืองปักษ์ใต้แล้ว พระมหาช่วยต่อมาได้ลาสิกขาบทและเข้ารับราชการ
คำพูดของพระราชวังบวรสุรสีหนาท
ก่อนเข้าตีค่ายพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า
“พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง
ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้าเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นคนไทย เป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่าเราหวงแหนแผ่นดินแค่ไหน รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีกจนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้นชายแดน ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใคร นอกจากรบเพื่อแผ่นดินของเจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้ามอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสืบไป”
|
ถนนราชดำเนินในอดีต ถ่ายบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ |
กึ่งศตวรรษ
กรุงรัตนโกสินทร์
- เมืองรุ่งเรืองด้วยการค้าและศิลปวัฒนธรรม
- การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- สรุปความ ภาพลักษณ์ของเมืองที่เป็นชุมชนเกษตรกรรม โดยมีศูนย์กลางหลักของเมืองอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวังและมีย่านการค้าของชาวจีนอยู่ทางตอนใต้
- การพัฒนาถนนราชดำเนิน เชื่อมโยงพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิต
กรุงรัตนโกสินทร์: การเปลี่ยนแปลงสู่เมืองกรุงเทพฯ
สองกษัตริย์หนึ่งแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่เดิมมีพระนามว่า “สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายจุฑามณี” (ในบันทึกทำนองจดหมายเหตุในครั้งรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวถึงพระนามของพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอสุนีบาต) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี อีกทั้งยังเป็นพระราชอนุชาโดยสายพระโลหิตในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 และเป็นพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 อีกด้วย
ในปี พ.ศ.2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นพระมหาอุปราช
แต่ให้มีพระเกียรติยศเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดิน จึงโปรดเกล้าฯ
ให้แก้ไขประเพณีการฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล ให้สมกับพระเกียรติยศที่ทรงยกย่องสมเด็จพระอนุชาธิราชนั้นหลายประการ
เป็นต้นว่า นามวังหน้า ซึ่งเคยเรียกในราชการว่า “พระราชวังบวรสถานมงคล”
ให้เปลี่ยนพระนามเรียกว่า “พระบวรราชวัง”
พระราชพิธีอุปราชาภิเษก ให้เรียกว่า “พระราชพิธีบวรราชาภิเษก”
พระนามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏแบบเดิมว่า “พระมหาอุปราช
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” พระราชทานพระนามอย่างพระเจ้าแผ่นดินว่า
“สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศรังสรรค์ฯ
พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว”
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ หรือทรงทราบเกี่ยวกับข้อราชการต่าง ๆ
ตามพระราชประสงค์ของฝ่ายวังหลวง ในเวลาที่พระองค์ไม่ได้ประทับอยู่ในพระนคร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแจ้งข่าวทางราชการให้ทรงทราบ
โดยพยายามที่จะให้พระราชอนุชา เข้ามามีบทบาทในการร่วมปรึกษาราชการแผ่นดินมากขึ้น
และในบางครั้ง เวลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองจะทรงมอบพระราชอำนาจให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดูแลพระนคร
จากการที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงศึกษาภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดีทั้งการเขียนและการพูด
จึงเป็นหนทางให้พระองค์สามารถผลิตผลงานทางด้านต่าง ๆ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์
การช่าง ออกสู่สายตาประชาชนชาวไทยและต่างประเทศ จนได้รับการยกย่อง นายเทาเซนต์
แฮริส (TOWNSEND HARRIS) ผู้แทนรัฐบาลอเมริกันที่เข้ามาติดต่อทำสัญญากับไทย ได้บันทึกไว้ว่า “พระเกียรติยศในด้านความรอบรู้ ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในภาษาหลายภาษา
และในสาขาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชา (ทรงรอบรู้ ผิดไปจากคนในหมู่ชาติตะวันออกมาก) ได้แพร่สะพัดมาถึงสหรัฐอเมริกาและเป็นเหตุให้เกิดความชื่นชมเลื่อมใสเป็นอันมาก”
ในการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทที่สำคัญโดยทรงเข้าร่วมในการเจรจาทำสนธิสัญญากับ
เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (SIR JOHN BOWRING) และมีพระนามปรากฏอยู่ในประกาศอารัมภบทให้ดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วยในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองคู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
¨ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
¨ ภาพเก่าพระราชวังหน้า
|
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
|
วังหน้าในอดีต ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
|
ขยายอาณาเขตพระนคร (พ.ศ. 2394)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้
พณหัวเจ้าท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กอง
เจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นพนักงานจ่ายเงิน จ้างจีนขุดคลองคูพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง
ปากคลองข้างทิศใต้ออกไปริมวัดแก้วฟ้า ข้างทิศเหนือออกไปริมวัดเทวราชกุญชร คลองนั้นกว้าง
10๐ วา ลึก 6 ศอก ยาว 137 เส้น 10 วา เริ่มขุดใน พ.ศ. 2394 ใช้เวลา 10
เดือนจึงแล้วเสร็จ พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม นอกจากจะเป็นการขยายอาณาเขตพระนครแล้ว
ยังอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคม ราษฎรได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อยใจ
ลงเรือเล่นสักวาตามโบราณราชประเพณี ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้สร้างป้อมปีกกาตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ
จำนวน 8 ป้อม ที่เรียกว่า
ป้อมปีกกา คือมีแต่ตัวป้อมไม่มีกำแพง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินก็จะจัดกำลังต้านทานโดยชักปีกการะหว่างป้อมให้ถึงกันตลอด
นอกจากนั้น ยังโปรดให้ขุดคลองแล้วให้นำดินมาถมทำถนนชื่อคลองถนนตรง
เพื่อประโยชน์ทางการค้าของชาวต่างประเทศ
ทำให้เป็นพื้นฐานของการขยายตัวเมืองในอนาคต
ซึ่งมุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้
รัชกาลที่ 4 โปรดให้มีการขุดคลองมหาสวัสดิ์
เมื่อ พ.ศ.2403
เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมกรุงเทพมหานครกับลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีในการส่งออกอ้อย
และน้ำตาล ทำให้เปิดท้องที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น
และยังเป็นเส้นทางนมัสการพระปฐมเจดีย์โดยเชื่อมต่อกับคลองเจดีย์ และคลองภาษีเจริญ
วัตถุประสงค์ในการขุดคลองเพื่อประโยชน์ในการค้า โดยเฉพาะเพื่อความรวดเร็วในการส่งอ้อยและน้ำตาล
เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน
สร้างความสะดวกสบายในการติดต่อคมนาคมทางฝั่งตะวันตก
การขยายพื้นที่เมืองไปยังทิศเหนือโดยการสร้างพระราชวังดุสิต (รัชกาลที่ 5) และทิศตะวันออกช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 6
(วังพญาไท) และวังของเจ้านายต่าง ๆ เช่น วังบูรพา วังลดาวัลย์ วังเทวะเวสม์ (ร.6 - ปัจจุบันเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารแห่งประเทศไทย)
¨ ภาพคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณหน้าวัดเทพศิรินทราวาส
¨ ภาพวัดโสมนัสวิหาร เป็นวัดแห่งแรกที่เกิดขึ้นบนคลองผดุงกรุงเกษม
¨ ป้อมป้องปัจจามิตร
ป้อมริมคลองผดุงกรุงเกษมที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวใน ปัจจุบัน
¨ ภาพแผนที่แสดงตำแหน่งป้อม 8 ป้อมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4
¨ ภาพพระราชวังสราญรมย์
¨ ภาพวังสระปทุม
|
ปากคลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดเทวราชกุญชร |
|
|
วังสระปทุม |
|
สู่เศรษฐกิจนานาชาติ
จากนโยบายการเปิดประเทศ
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2393-2411) ทำให้เกิดสนธิสัญญาเบาว์ริง
เปิดประเทศทำการค้ากับชาวต่างชาติ เลิกการค้าขายแบบผูกขาด เป็นการค้าระบบทุนนิยม
ระบบการค้าเสรีและผลของสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง
ทำให้ระบบสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง (รัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5) เปลี่ยนไป พ่อค้าคนกลางที่ทำหน้าที่ติดต่อการค้าขาย
ระหว่างผู้ประกอบการชาวยุโรปกับประชาชนทั่วไปเกิดขึ้น นอกจากนี้
การประกอบการค้าเป็นอาชีพใหม่ที่ขยายตัวในหมู่คนไทยแทนการรับราชการ
มีการค้ากับต่างประเทศเจริญขึ้นมาก
พ่อค้าตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาตั้งห้างค้าขาย ประกอบอุตสาหกรรม เช่น
อุตสาหกรรมต่อเรือ โรงสี โรงเลื่อย ประกอบการขนส่ง เช่น การเดินเรือทะเล
การขนส่งสินค้า การโดยสารรถไฟ เรือ ฯลฯ เศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้กรุงเทพฯ
และเมืองในภูมิภาคขยายตัวเป็นเมืองธุรกิจการค้า การประกอบการอุตสาหกรรมและการขนส่ง
ระบบส่วนและการเกณฑ์แรงงาน เปลี่ยนเป็นการให้สัมปทานและการจ้างงาน
รัฐมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศจากการประกอบการ
และการจัดเก็บภาษีแทนการเกณฑ์แรงงาน เกิดสถานกงสุลประเทศต่าง
ๆ ใต้ปากคลองผดุงกรุงเกษมลงไป ต่อมากลายเป็นย่านของชาวตะวันตก
ย่านการค้าริมถนนเริ่มก่อตัวขึ้นที่ริมถนนประปราย เช่น ตามถนนเจริญกรุง (ตลาดบ้านทะวาย ตลาดบางรัก ตลาดเก่า ตลาดบ้านหม้อ
และตลาดหน้าคุก)
|
|
ถนนเจริญกรุงในอดีตและปัจจุบัน ตรงแยกกั๊กพระยาศรี
|
จากเมืองน้ำสู่เมืองบก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ทรงเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท
เพื่อสำแดงความสุจริตในการปฏิบัติพระราชภารกิจราชการแผ่นดิน การวางแนวรากฐานของ ร.4 ผ่านการสนับสนุนให้มีการศึกษาอารยธรรมตะวันตก
ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับทราบถึงความเจริญก้าวหน้าในหลักการปกครองของตะวันตก
และนำมาปรับปรุงในการปกครองของไทย
จากการปรับนโยบายการปกครองประเทศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยทรงยอมรับอิทธิพลจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรป
ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของกรุงเทพฯ อย่างยิ่ง
ที่สำคัญคือเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระบบการสัญจรทางน้ำมาเป็นทางบก
มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประเทศชาติกลับสู่สภาวะปกติจึงทำให้มีการตัดถนนหลายสายในพื้นที่ทางทิศใต้ของตัวเมือง
ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านย่านการค้าและสถานกงสุลของประเทศต่าง ๆ
ที่โปรดเกล้าพระราชทานพื้นที่ให้เพื่อเปิดความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ถนนสายที่สำคัญได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนสีลม และถนนตรง (ถนนพระรามที่ 4) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบวิถีชีวิตของชาวกรุงเทพฯ
จากที่เคยใช้ชีวิตอยู่กับน้ำมาแต่โบราณให้เริ่มมาตั้งถิ่นฐานบนบกแทน
ส่งผลให้จำนวนเรือนแพนับพันหลังลดน้อยลงในช่วงปลายรัชกาล
ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้ตัดถนนเจริญกรุง (พ.ศ. 2404) เป็นถนนสายแรกที่สร้างให้รถม้าวิ่ง
จากวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม ผ่านสามเพ็ง (ย่านชาวจีน) สร้างเสร็จเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2407 ถนนสายนี้จึงมีชื่อว่า New Road หรือมีชื่อเป็นทางการว่าถนนเจริญกรุง
ถนนสายนี้สร้างขึ้นทางตอนล่างของถนนกรุงเทพฯ เลียบไปตามริมฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชาวต่างประเทศ ได้ใช้ขี่ม้าเล่นตามแบบวัฒนธรรมตะวันตก
ต่อมาถนนสายนี้ได้กลายเป็นที่ตั้งรกรากของพ่อค้าชาวยุโรปที่เข้ามาค้าขายในเมืองไทย
มีบริษัทห้างร้านฝรั่งอยู่กันอยู่หนาแน่น เป็นแหล่งธุรกิจที่คึกคัก
มีผู้คนนิยมมาจับจ่ายใช้สอยกันมาก สองข้างโปรดให้สร้างตึกแถวตามแบบยุโรป (ร้านค้าของคนจีนและห้างฝรั่ง)
พัฒนาถนนบำรุงเมือง เป็นถนนเก่าตั้งแต่สะพานช้างโรงสี ถึงตลาดเสาชิงช้า มีท่อระบายน้ำ
พร้อมสร้างตึกแถวตลอดสองฟากถนน (พ.ศ. 2406) ตัดถนนเฟื่องนคร จากปากคลองตลาดผ่านบ้านหม้อ บ้านญวน ผ่านถนนเจริญกรุง (สี่กั๊กพระยา) และผ่านถนนบำรุงเมือง (สี่กั๊กเสาชิงช้า) พร้อมสร้างตึกแถวตลอดสองฟากถนน
(พ.ศ. 2406)
ถนนทำให้รูปแบบการอยู่อาศัยเปลี่ยนจากเรือนแพในน้ำ
ขึ้นมาอยู่ตึกแถว และอาคารบ้านเรือนบนบก
การก่อสร้างถนนจากการร้องขอของชาวต่างประเทศ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง
เฟื่องนคร ราชดำเนิน เยาวราช ฯลฯ ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองไปมาก
ถนนบางสายมาจากการรื้อกำแพงและประตูเมือง แต่บางสาย เช่น สุขุมวิท พระรามสี่
มีคลองคู่ขนานที่เกิดจากการขุดเอาดินมาถมเป็นถนน รวมทั้งสะพาน
พ.ศ.
2430 เอกชนตัดถนนสาธร
ถนนสุรวงศ์ และถนนสี่พระยา ขนานกับถนนสีลม
ทำให้กลายเป็นย่านที่พักอาศัยและธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ พ.ศ. 2490 ถนนสีลมเริ่มมีความเป็นย่านธุรกิจจากการสร้างตึกแถวและอาคารพาณิชย์สูง 3-5 ชั้น ทางด้านบางรักและศาลาแดง พ.ศ. 2509 เริ่มมีอาคารสูงมากกว่า 10 ชั้นมากขึ้น เช่น อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย โรงแรมนารายณ์
อาคารอาคเนย์ประกันภัย โรงแรมดุสิตธานี อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยทนุ
อาคารบุญมิตร พ.ศ. 2525 ถนนสีลมเริ่มกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
“วอลล์สตรีทแห่งประเทศไทย” เนื่องจากเป็นที่ตั้งของธนาคารพาณิชย์ทั้งของไทยและต่างประเทศ
บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทประกันภัยต่าง ๆ
พ.ศ. 2527 มีโครงการร้อยท่อสายไฟฟ้าของอาคารต่าง ๆ บนถนนสีลมมาไว้ใต้ดินแทนการใช้เสาไฟฟ้า
พ.ศ. 2528-2535 มีการสร้างอาคารสูง 20-30 ชั้น เช่น
อาคารสีลมเซนเตอร์ (2528) อาคารไอทีเอฟสีลมพาเลซ (2530) อาคารธนิยะพลาซ่า (2530) อาคารซีพีทาวน์เวอร์ (2533) อาคารตรินิตี้คอมเพล็กซ์ (2533) อาคารซีเคเค (2535) เป็นต้น
รัชกาลที่ 5 พระองค์โปรดให้ขยายและปรับปรุงถนนสายเดิม
รวมทั้งโปรดให้สร้างถนนสายใหม่ขึ้นหลายสายในเขตพระนครตัดเชื่อมกันเป็นโครงข่าย
ตามแบบเมืองในแถบประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นผลจากการเสด็จประเทศต่าง ๆ ในทวีปแถบยุโรป
เมื่อ พ.ศ. 2440 ซึ่งได้ส่งผลโดยตรงต่อนโยบายการพัฒนากรุงเทพฯ ให้สวยงามและสะอาดทัดเทียมเมืองหลวงอื่น
ๆ ที่ทรงพบเห็น จึงก่อให้เกิดถนนราชดำเนินอันกว้างใหญ่ สง่างาม
ประกอบด้วยทางเท้าที่กว้างขวางและปลูกต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ความร่มรื่น
ตลอดทางเท้าก็ติดตั้งเสาโคมไฟ และม้านั่งเหล็กหล่อ เพื่อให้แสงสว่างยามค่ำคืน และให้เป็นถนนสวยงามตามแบบอย่างถนนบางสายที่ใช้เดินชมเมืองในกรุงลอนดอน
และกรุงปารีส ถนนราชดำเนินสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างพระบรมมหาราชวัง
กับพระราชวังดุสิต
โดยปลายสุดของถนนราชดำเนินนอกพุ่งตรงไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งตั้งตระหง่านปะทะสายตาอยู่
ถนนตอนที่ข้ามคลอง 3 แห่งมีสะพานสมัยใหม่
เป็นโครงเล็กสองสะพาน และเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหนึ่งสะพาน
ราวสะพานทั้งสามแห่งเป็นสำริดหล่อลวดลายสวยงามมาก
เชิงสะพานมีเสาหินอ่อนแกะสลักและประดับด้วยสำริดหล่อเป็นลวดลายวิจิตรงดงามตามแบบฉบับของศิลปะยุโรป
กล่าวได้ว่า การออกแบบชุมชนเมืองได้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยที่ถนนราชดำเนิน
นอกจากนั้นคูคลองต่าง ๆ
ยังได้รับการปรับปรุงให้มีความร่มรื่นสวยงามด้วยการปลูกต้นใหม่ใหญ่ตลอดแนว
รวมทั้งการประดับตกแต่งด้วยส่วนประกอบบริเวณที่งดงาม เช่น
โคมไฟและสะพานข้ามตลองไปทั่วทั้งเมือง ตลอดจนอาคารร้านค้า บ้านเรือน
และสถานที่ราชการก็ได้ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบที่กลมกลืนกันไปทั้งหมด ทำให้กรุงเทพฯ
ในขณะนั้น แม้จะมีความหลากหลายของงานสถาปัตยกรรมทั้งแบบไทยประเพณี
แบบจีนและแบบตะวันตก
แต่เป็นความหลากหลายที่สอดคล้องกันด้วยรูปทรงและสีของหลังคางดงาม กล่าวได้ว่า กรุงเทพฯ
ในขณะนั้น เป็นเมืองหลวงอีกแห่งหนึ่งในโลก ที่สง่างามและรื่นรมอีกเมืองหนึ่ง
ต่อมามีการตัดถนนเพิ่ม
ได้แก่ ถนนทรงวาด ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนอนุวงศ์ ถนนซอยผลิตผล สร้างถนนของเอกชน ถนนสุรวงษ์ ถนนเดโช (พ.ศ. 2440) สร้างถนนทางด้านตะวันออกของพระนคร ถนนในเวิ้งนครเกษม ถนนวรจักร
ถนนจักรพรรดิพงษ์ ถนนหลวง ถนนหลานหลวง ถนนพญาไท และถนนราชปรารภ และถนนเอกชน
ถนนรองเมือง(พ.ศ. 2446) ถนนสี่พระยา (พ.ศ. 2447) สร้างถนนทางด้านเหนือของพระนคร
ถนนราชวัตร (ถนนนครไชยศรี) ถนนดวงเดือน (ถนนสุโขทัย) ถนนดวงตะวัน (ถนนศรีอยุธยา) ถนนคอเสื้อ (ถนนพิษณุโลก) ถนนลูกหลวงสร้างถนนฮก (ถนนหน้าวัดเบญจมบพิตร) ถนนซิ่ว (ถนนสวรรคโลก) ถนนประทัดทอง (ถนนพระรามที่ 6)
จากระบบราชาธิราช สู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
เริ่มมีการเปลี่ยนจากการปกครองระบบราชาธิราช
ที่กษัตริย์อยู่ในฐานะสมมติเทพ
มาเป็นรูปแบบที่พระมหากษัตริย์ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น
ลักษณะการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กฎมนเทียรบาล ลำดับชั้นของการปกครอง ได้แก่
พระมหากษัตริย์ วังหน้า วังหลัง พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง รวมถึงการแบ่งชั้นวรรณะของไพร่ฟ้าต่าง
ๆ
การปฏิรูปการปกครองเข้าสู่รูปแบบสากลตามแบบอารยประเทศ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2435) พ.ศ. 2435 ยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์
ซึ่งใช้มาแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา รวมถึงตำแหน่งอัครเสนาบดี
คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก มาจัดเป็นกระทรวงต่าง ๆ ตามลักษณะงาน
ได้ทรงจัดให้กรุงรัตนโกสินทร์สังกัดอยู่ในความปกครองของกระทรวงนครบาล
ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ ขึ้นอยู่ในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งได้จัดการปกครองโดยรวมเมืองต่าง ๆ หลาย ๆ เมืองเข้าเป็นมณฑล
การตั้งมณฑลเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 กรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นมณฑลด้วย
และเป็นมณฑลเดียวของกระทรวงนครบาล ในชื่อว่า “มณฑลกรุงเทพพระมหานคร”
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยออกเป็นกระทรวง (12 กระทรวง) และให้เสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง
โดยที่เสนาบดีแต่ละกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็น “เสนาบดีสภา (Council of State)” ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
จัดตั้ง “สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council)” เพื่อทานพระราชอำนาจพระเจ้าแผ่นดิน
ในกรณีที่ทรงพระราชดำริเป็นการไม่ต้องด้วยยุติธรรม ต่อมา พ.ศ.
2407 ได้ตั้งเป็นรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน
จัดตั้ง “องค์มนตรีสภา” เพื่อให้ราชการสามารถติดต่อกับพระมหากษัตริย์ได้โดยตรง
ไม่ต้องผ่านเสนาบดีเป็นการดุลยอำนาจเสนาบดี ซึ่งมีบทบาทและอิทธิพลมาก
การป้องกันประเทศเริ่มมีการใช้ระบบทหารตามหลักสากล
โดยการจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาทหารสำหรับทหารบกทั่วไปในปี พ.ศ.
2430 เรียก “คะเด็ตสกูล (Cadet School)” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนายร้อยทหารบก” ในปี
พ.ศ. 2441 การออกพระราชบัญญัติเลิกทาส เรียก “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ. 124” (พ.ศ. 2448) โดยประกาศให้เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยโดยเด็ดขาด
ซึ่งได้รับการวิเคราะห์ว่าเป็นพระราชกรณียกิจที่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ผลจากการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่
ตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 5 ทำให้เริ่มมีการแบ่งพื้นที่การปกครองในกรุงเทพฯ
ออกเป็นอำเภอต่าง ๆ มีทั้งเขตอำเภอชั้นใน และชั้นนอก โดยพื้นที่เขตอำเภอชั้นใน คือ
พื้นที่ที่ได้มีการขยายถนนออกไปถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 การพัฒนารูปแบบการบริหารการปกครอง
และการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) พ.ศ.
2454 เกิดกลุ่มกบฏ (กลุ่มนายทหารกองทัพบก) วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้
และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย เรียก “กบฏ ร.ศ. 130” การปรับเปลี่ยนแบ่งเขตการปกครองให้เหมาะสม
โดยออก “ประกาศขยายเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
2458” ”ประกาศยกเลิกอำเภอชั้นใน 7 อำเภอ และแต่งตั้งอำเภอขึ้นใหม่ 25 อำเภอ พ.ศ. 2458” และ ”ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง กำหนดเขตท้องที่การปกครองกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2458” รวมถึงการยุบรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ.
2465
|
กระทรวงกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 5 |
การสร้างพระราชวังดุสิต
พระราชวังดุสิตเป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น เมื่อเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2440 โดยใน พ.ศ. 2442 โปรดเกล้าฯ
ให้ซื้อที่ตอนชายทุ่งนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาขึ้นเป็นที่เสด็จประทับแรมชั่วคราว
และพระราชทานนามว่า "สวนดุสิต" เนื่องจากเดิมนั้น
นายแพทย์ประจำพระองค์ได้กราบบังคมทูลว่า ในพระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับมาแต่เดิมไม่ถูกสุขลักษณะ
ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ
ต่อมา เมื่อมีการสร้างพระที่นั่งขึ้น
และพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาประทับบ่อยครั้ง จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระราชนิเวศน์แห่งใหม่ และพระราชทานนามว่า “วังสวนดุสิต”
เมื่อมีการขยายพระนครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยโปรดเกล้าฯ
ให้ตัดถนนสามเสน, ถนนราชดำเนินใน, ถนนราชดำเนินนอก
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างที่ประทับถาวรขึ้น และเสด็จมาประทับบ่อยครั้ง
จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระที่นั่งต่าง ๆ
ขึ้นเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีได้เช่นเดียวกับพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศเปลี่ยนนามวังสวนดุสิตเป็น พระราชวังสวนดุสิต จนกระทั่ง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เรียกพระราชวังสวนดุสิตว่า "พระราชวังดุสิต" นอกจากสร้างพระที่นั่งต่าง
ๆ ขึ้นในพระราชวังสวนดุสิตแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนต้นขึ้นใน พ.ศ. 2444 เพื่อใช้เป็นที่เสด็จให้ประชาชนที่พระองค์ได้ทรงรู้จักเมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นมาเฝ้า
และยังโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างสวนและพระตำหนักพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระอัครมเหสี, พระราชเทวี, พระอัครชายา, พระราชชายา, เจ้าจอม และ พระธิดา
ยังมีสวนอีกมากมายได้แก่ สวนสี่ฤดู, สวนหงส์, สวนบัว, สวนฝรั่งกังไส , สวนนกไม้, สวนม้าสน, สวนผักชีเข้ม, สวนญี่ปุ่น, สวนวิลันดา และ
สวนโป๊ยเซียน และโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบพระราชวังดุสิตเป็นเขตพระราชฐาน ฝ่ายหน้า
ฝ่ายใน อย่างถาวร
ต่อมาเมื่อเสด็จกลับจากประพาสทวีปยุโรปเป็นครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.
2451 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระราชฐานด้านหลังพระราชวังดุสิต
เป็นเขตพระราชอุทยานส่วนพระองค์ พร้อมทั้งเป็นที่ประทับถาวรของพระราชธิดา
เจ้าจอมมารดา ที่อยู่ของเจ้าจอมและข้าราชบริพารในพระองค์ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว
พระราชอุทยานนี้พระราชทานนามว่า "สวนสุนันทา" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่พระราชวังดุสิตจนกระทั่งเสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
ซึ่งเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชวังดุสิต
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสวนจิตรลดาในบริเวณระหว่างพระราชวังดุสิตกับวังพญาไท เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสและประทับแรม และสร้างพระตำหนักขึ้นหลังหนึ่ง
พระราชทานนามว่า พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้ผนวกสวนจิตรลดาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต
พระราชวังดุสิตได้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเป็นที่ทำการของรัฐบาล
ยังคงเหลือเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นเขตพระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
คือ บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
|
พระราชวังดุสิต |
ปรับปรุงทุกด้าน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ สู่มาตรฐานตะวันตก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 กำเนิดรถลาก (พ.ศ.
2417) เมื่อเริ่มตัดถนนเจริญกรุงเป็นถนนมาตรฐานสายแรก
ตรอกซอยต่าง ๆ ก็ถูกขยายเป็นถนนในกาลต่อมา การคมนาคมสัญจรไปมาก็กว้างขวางออกไป
จำเป็นที่จะต้องมีพาหนะใช้ในการเดินทางขนส่งเพื่อความสะดวกรวดเร็ว
จึงมีรถรับจ้างเกิดขึ้น ซึ่งใช้คนจีนเป็นผู้ลากจึงเรียกว่า รถเจ๊ก
แต่ต่อมาเมื่อมีรถเมล์ใช้ม้าลาก รถราง รถแท็กซี่ ที่มีความสะดวกและรวดเร็วกว่า
ประกอบกับเทศบาลออกเทศบัญญัติห้ามใช้รถที่ใช้แรงคนลากรับจ้างในถนนหลวง
จึงทำให้รถเจ๊กเป็นอันต้องหมดและล้มเลิกไปเมื่อ พ.ศ.
2478
¨ ถนนและการคมนาคมในบางกอก
เริ่มก่อสร้างวังบูรพา
ในปี พ.ศ. 2418 มีชื่อเต็มว่า “วังบูรพาภิรมย์” แต่เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าน้องยาเธอสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์
กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช พระอนุชาของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กล่าวได้ว่าในสมัยนั้นเป็นศูนย์รวมทันสมัยและงดงามอย่างที่สุด
จะเป็นรองก็แต่พระบรมมหาราชวังเท่านั้น ทั้งยังเป็นสถานที่จัดงานหรูหราต่าง ๆ เช่น
งานฉลองพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ งานราตรีสโมสร เป็นต้น
แต่แล้วเมื่อท่านเจ้าของวังเสด็จทิวงคต
ทายาทจึงขายวังบูรพาให้เป็นสมบัติพ่อค้าจีนกลุ่มหนึ่ง
โดยพ่อค้ากลุ่มนี้ได้เปลี่ยนย่านนี้ให้กลายเป็นแหล่งการค้าและความบันเทิง
มีสินค้าจำหน่ายมากมายทั้งของไทยและของต่างประเทศ รวมถึงโรงภาพยนตร์และภัตตาคาร
ชาวบ้านทั่วไปยังคงเรียกย่านศูนย์การค้าแห่งนี้กันติดปากว่า “ย่านการค้าวังบูรพาภิรมย์”
เริ่มมีไฟฟ้าใช้ครั้งแรกในปี
พ.ศ. 2423 โดยพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้สั่งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากอังกฤษเข้ามาใช้ในกรมทหาร ต่อมาปี พ.ศ.2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
ให้กับสังคมสยามอย่างอเนกอนันต์ เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสงชูโต) เป็นผู้นำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 2 เครื่องจากประเทศอังกฤษมาติดตั้ง ณ ท้องพระโรง ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
และเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2427 อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ และเริ่มจ่ายไฟฟ้าภายในพระบรมมหาราชวัง
นับเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะขยายออกไปทั่วทุกอณูของสังคมไทย
การผลิตไฟฟ้าระยะแรกดำเนินงานโดยรัฐ ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้โอนให้เอกชน คือ บริษัท บางกอก อิเล็คตริคไลท์ ซินดิเคต
ซึ่งมีสัญญาจ่ายไฟฟ้าให้แก่ถนน และสถานที่ราชการต่าง ๆ
แต่ดำเนินการได้ไม่นานก็ต้องเลิกกิจการไป เพราะประสบกับการขาดทุน
จึงได้ขายกิจการให้บริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด ซึ่งได้ตั้งโรงไฟฟ้าและที่ทำการอยู่ในบริเวณวัดราชบูรณะวรวิหารหรือวัดเลียบ (ที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงในปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ.2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาลสร้างโรงประปาและโรงไฟฟ้าพร้อมกันที่สามเสน
ซึ่งโรงไฟฟ้าสามเสน ขนาดกำลังผลิต 25,500 กิโลวัตต์
ก็ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่บริเวณตอนเหนือของพระนคร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2493 รัฐบาลได้เข้าดำเนินการเกี่ยวกับไฟฟ้า
แทนบริษัทไฟฟ้าไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ซึ่งหมดสัมปทานลงโดยจัดเป็นรูปองค์การกึ่งราชการ โดยขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย
พร้อมทั้งได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “การไฟฟ้ากรุงเทพ” ครั้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2501 จึงได้มีการรวมการไฟฟ้ากรุงเทพเข้ากับกองไฟฟ้าหลวงสามเสน
ซึ่งขึ้นอยู่กับกรมโยธาเทศบาลเป็นองค์การเดียวกันเรียกชื่อว่า “การไฟฟ้านครหลวง” ทำหน้าที่ผลิต
และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในเขตนครหลวง
ต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กำหนดให้รวมการไฟฟ้าต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังไฟฟ้า คือ การไฟฟ้ายันฮี การลิกไนท์
และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือเข้าด้วยกันเป็น “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย”
ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512
เริ่มต้นกิจการโทรศัพท์ พ.ศ.
2425 ครั้งแรกยังต้องอาศัยสายโทรเลข
ต่อมาปี พ.ศ. 2441 จึงได้จัดตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในกรุงเทพฯ หลังจากนี้อีก 8 ปี จึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องเซนแตรลแบตเตอรี (central battery) แทนเครื่องแมกนีโตแบบเดิมและทำเป็นสายคู่
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2480 จึงเปลี่ยนเป็นเครื่องอัตโนมัติเหมือนปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ก่อตั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขขึ้นในปี พ.ศ. 2426 กระทั่งในปี พ.ศ. 2441 จึงรวมเป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข
ซึ่งมีที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ปากคลองโอ่งอ่าง
โดยในตอนต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มมีการวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ
ไปยังเมืองสมุทรปราการและประภาคารที่ปากน้ำเป็นครั้งแรก
|
ภาพที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จากหนังสือ ๘๐ ปี กรมไปรษณีย์โทรเลข |
การพัฒนาสาธารณูปการอื่น ๆ
ได้แก่โรงพยาบาลศิริราช มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย โรงเรียน มหาวิทยาลัย ราชติณมัย
สถานเสาวภา
กำเนิดรถราง (พ.ศ. 2430) นายจอห์น ลอฟตัน
ชาวเดนมาร์คได้ขออนุญาตรัฐบาลขอสัมปทานจัดเดินรถรางขึ้น
โดยใช้ม้าลากคันแรกเริ่มเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431เดินรถจากบางคอแหลม (ถนนตก) ถึงพระบรมมหาราชวัง
ได้จัดการเดินรถอยู่ไม่กี่ปี ก็โอนให้บริษัทอังกฤษมีชื่อว่า บางกอกแทรมเวส์
คอมปะนีลิมิเต็ด ดำเนินต่อ และดำเนินอยู่ไม่นานมีแต่ขาดทุน
จึงโอนคืนให้บริษัทเดนมาร์คในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 และบริษัทได้ปรับปรุงเปลี่ยนกิจการใหม่เป็นใช้กำลังไฟฟ้า (เป็นประเทศแรกในโลก) เริ่มเปิดเดินเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2437 (อังกฤษเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2446) และได้ขยายกิจการต่อไป
เปิดเดินรถสายสามเสนเพิ่มขึ้นอีกในเดือนกันยายน พ.ศ.
2444 ต่อมาปี พ.ศ. 2448 ได้มีผู้ก่อตั้งบริษัทรถรางไทย ได้รับพระราชานุมัติให้เดินรถรางในพระนครได้อีกหนึ่งบริษัท (ตัวรถทาสีแดง) กิจการของรถรางไทยเปิดดำเนินการอยู่ถึงวันที่ 1กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ก็ได้โอนไปอยู่กับบริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น
บริษัทไฟฟ้าไทย คอปอร์เรชั่น จำกัด และในที่สุดได้โอนไปเป็นของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2493 พร้อมกับเปลี่ยนรูปร่างตัวรถเป็นแบบใหม่
จนกระทั่งเลิกไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 (รถราง 2 ชั้นในกรุงลอนดอนเลิกเดินรถไปเมื่อปี พ.ศ.
2494)
¨ รถรางบางกอก ระบบขนส่งมวลชนระบบแรกในเอเชียอาคเนย์ เริ่มบริการ พ.ศ. 2437
การขนส่งทางน้ำ
ยังคงมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะระยะก่อนการสะพานพระพุทธยอดฟ้า และสะพานอื่น ๆ
ที่เชื่อมการจราจรฝั่งพระนครและธนบุรี
การติดต่อสัญจรระหว่างประชาชนสองฝั่งใช้เรือพาย
การติดต่อกับหัวเมืองมีเรือเก๋งสี่แจว เรือแม่ปะ เรือบัลลังก์
เริ่มการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 ข้ามฟากระหว่างท่าเตียนกับวัดอรุณราชวราราม ของบริษัทแม่น้ำฟลอทิลล่าทุน
จำกัด ต่อมามีเรือเมล์ของกรมไปรษณีย์ รับส่งผู้โดยสารข้ามฟาก
และเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ อยุธยา นครสวรรค์ สระบุรี และชุมชนในคลองบางหลวง
คลองบางกอกน้อย มายังฝั่งพระนคร
กำเนิดรถไฟไทย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกเหนือจากการสร้างถนนและขุดคลองแล้ว
ระบบคมนาคมที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งที่โปรดให้ดำเนินการ คือ การเดินรถไฟ
ทรงดำริเห็นว่าการสร้างทางรถไฟไปมาระหว่างหัวเมืองไกล ๆ นอกจากจะย่นระยะทางแล้ว
ยังเป็นเหตุให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองอย่างสำคัญยิ่ง
ทรงโปรดให้สร้างสถานีรถไฟกรุงเทพฯ และวางเส้นทางรถไฟสายเหนือ
ตะวันออกเฉียงเหนือและสายตะวันออก ในระยะเริ่มต้น โดยมีการประกาศลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 จะสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ
ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก โดยเริ่มสร้างจริงเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 และเปิดเดินรถเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 (เป็นวันกำเนิดการรถไฟไทย) หลังจากนั้น
ได้ขยายกิจการเพิ่มอีก คือ
- สร้างทางจากบางกอกน้อยถึงเพชรบุรี เป็นทางขนาดรางกว้าง 1 เมตร ระยะทาง 150 กิโลเมตร เริ่มเมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 และแล้วเสร็จเมื่อ 19 มิถุนายน 2446
- สร้างทางจากหัวลำโพงถึงช่องนนทรีย์
เพื่อนระบายความคับคั่งการสินค้าที่กรุงเทพฯ และเปิดเดินรถเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452
- สร้างทางจากหัวลำโพงถึงแปดริ้ว (61 กิโลเมตร) และเปิดเดินรถ เมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2450
- ขยายย่านสถานีหัวลำโพงและสร้างที่ทำการรับส่งสินค้า
¨ รถไฟสายหัวลำโพง-ปากน้ำ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งตรงกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กรุงเทพฯ ก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ถนนและทางรถไฟได้กลายมาเป็นเส้นทางคมนาคมหลักของเมือง
ประกอบกับการค้นพบพลังงานความร้อนจากถ่านหินและพลังงานไฟฟ้า
ทำให้มีการผลิตวัสดุก่อสร้างใหม่ ๆ เช่น เหล็กหล่อ และปูนซิเมนต์
ได้ทำให้เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพอย่างรวดเร็ว
การคมนาคมทางบก
เริ่มสร้างถนนในสมัยรัชกาลที่ 4 พาหนะคือ รถม้า
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 รถลาก หรือรถเจ๊ก
เป็นที่นิยมอย่างมาก รถจักรยานสองล้อ สามล้อ ให้กันอย่างแพร่หลาย
การขนส่งมวลชนเริ่มมีรถรางของบริษัทบางกอกแตรมเวย์ พ.ศ.
2430 ใช้ม้าลาก
เมื่อมีโรงไฟฟ้าราชบูรณะ บริษัทสยามอิเล็กตริกซิตี้ เริ่มกิจการรถรางสำหรับขนส่งมวลชน
ในตอนปลายรัชกาลที่ 5 รถยนต์เป็นที่นิยมอย่างสูง
รถยนต์รุ่นแรกมีหลังคาเป็นประรำ ใช้น้ำมันปริโตเลียม นำเข้ามาในปี พ.ศ. 2447 หลังจากนั้นในไม่ช้า รถยนต์ในกรุงเทพฯ มีมากขึ้น ทั้งรถบรรทุกของ
รถใช้ส่วนตัว และรถรับผู้โดยสาร การจราจรบนถนนเป็นที่รวมของ รถลาก รถราง รถยนต์
รถม้า จนต้องมีพระราชบัญญัติการจราจร
ร. 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ก่อตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. 2445 ซึ่งต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้ขยายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลจากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้เมืองขยายออกไปทั้งทางเหนือ ตะวันออก และใต้
แต่ความหนาแน่นของประชากรยังคงอยู่ในบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้
ในด้านการคลัง
ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒฯ ขึ้นในปี พ.ศ.2417 เพื่อดำเนินการจัดเก็บภาษีให้รัดกุมยิ่งขึ้น กำหนดอัตราภาษี
รวบรวมรายได้จากภาษีอากร และทรงโปรดให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี
พ.ศ.2439 รัฐสามารถประมาณการรายได้และคาดคำนวณรายจ่ายในแต่ละปี
พระองค์ทรงจ้างที่ปรึกษาด้านการคลังจากต่างประเทศ
เพื่อถวายคำแนะนำในการจัดเก็บรายได้และวางแผนการใช้จ่ายตามหลักวิชาการสมัยใหม่
ทำให้สามารถวางแผนการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลงทุนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ได้เป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการเงินการคลังที่มีความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ
จึงทรงสร้างระบบการเงินการคลังสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย โดยด้านการเงิน
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยเงินทุนของชาวไทย คือ บริษัท
แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด นอกจากการตั้งธนาคารแล้ว ยังทรงจัดตั้งกรมธนบัตรขึ้น
และตราพระราชบัญญัติธนบัตร เมื่อปี พ.ศ.2445 ต่อมาตราพระราชบัญญัติทองคำ
ปี พ.ศ.2421 เพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราของไทยกับเงินตราต่างประเทศ
โดยใช้มาตรฐานทองคำตามแบบสากล
กำเนิดรถเมล์ พ.ศ.
2450 กรุงเทพฯ
มีรถม้า (ตั้งแต่
พ.ศ. 2363) รถลาก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2417) และรถราง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2430) ใช้เดินรับจ้างอยู่แล้วหลายสิบปีก็ตาม
แต่ก็ไม่แพร่หลาย รถรางมีเพียง 2 สายไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกมาก
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2450 พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) จึงได้จัดให้มีรถเมล์รับจ้างขึ้น
โดยใช้ม้าลากจูง ตัวรถทำด้วยไม้มี 4 ล้อ คล้ายเกวียน
บรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 2 คน ในปี พ.ศ. 2456 นายเลิศจึงได้เปลี่ยนแปลงกิจการ จากการใช้ม้าลากเป็นใช้รถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด
ที่นั่งของผู้โดยสารยาว 2 แถว
บรรจุคนโดยสารมากขึ้นอีก ทำการรับส่งให้ความสะดวกสบายที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า
รถเมล์นายเลิศสีขาว มีคนนิยมแพร่หลาย ทำให้กิจการเดินรถเมล์ขยายออกไปเรื่อย ๆ จนมีผู้เอาเยี่ยงอย่างคิดสร้างรถเมล์เดินกันทวีเส้นทางอยู่เสมอ
มีบริษัทเมล์ใหญ่ ๆ อยู่หลายบริษัท เช่น ศรีนคร ไทยประดิษฐ บุญผ่อง พีระ เมล์แดง
รวมทั้งบริษัทรถเมล์สีขาวกากะบาดแดงของพระยาภักดีนรเศรษฐ และมีหน่วยงานของรัฐ คือ
บขส. (รถเมล์สีส้ม) และ ร.ส.พ. (รถเมล์สีฟ้า) ขยายเส้นทางออกไปทั่วพระนคร
รวม 24 บริษัท ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 การโอนกิจการรถเมล์มาจัดตั้งในรูปแบบรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลทั้งหมด
ภายใต้ชื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชดำริการหาน้ำบริโภคสำหรับประชาชนในเขตพระนคร
เพื่อให้บรรดาพสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ
ปราศจากโรคภัยร้ายแรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าในขณะนั้นประชาชนทั่วไปยังคงใช้น้ำ
ซึ่งปราศจากความสะอาดบริสุทธิ์
ประกอบกับได้ทรงพบเห็นความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาการต่าง ๆ ของการผลิตและการจำหน่ายน้ำจากต่างประเทศเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปปี
พ.ศ. 2440 ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้กรมสุขาภิบาลเป็นหน่วยงานรับสนองพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้างพระบรมมหาราชวังสำหรับแจกอาหารและน้ำสะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกินและโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นเพื่อจัดทำน้ำประปาให้ประชาชนใช้เมื่อปีพุทธศักราช 2440 ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ประกาศพระบรมราชโองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลจัดการที่จะนำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ
การที่จะต้องทำนั้นคือ (1) ให้ตั้งทำที่ขังน้ำที่คลองเชียงราก
แขวงเมืองปทุมธานีอันเป็นที่พ้นเขตน้ำเค็มขึ้นถึงทุกฤดู (2) ตั้งโรงสูบขึ้น ณ ที่ตำบลนั้น
สูบน้ำขึ้นยังที่เกรอะกรองตามวิธีให้น้ำสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งซึ่งจะเป็นเชื้อโรคแล้วจำหน่ายน้ำไปในที่ต่าง
ๆ ตามควรแก่ท้องที่ของเขตพระนคร กิจการอย่างนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เรียกตามภาษาสันสกฤตเพื่อจะให้เป็นคำสั้นว่า “การประปา”
นับจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชดำริ การหาน้ำบริโภคสำหรับประชาชนในเขตพระนครจนกระทั่งได้มีการเปิดโรงกรองน้ำแห่งแรกเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2457 อีก 39 ปีต่อมา ใน พ.ศ.2496 รัฐบาลในขณะนั้น
จึงได้มีการอนุมัติให้กรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างการประปา ณ
ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม ให้ชื่อว่า การประปาพิบูลสงครามผลิตและจำหน่ายน้ำประปาบริหารทหารและประชาชน
ซึ่งนับเป็นการประปาในส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรก ต่อจากนั้นในปี พ.ศ.2497 รัฐบาลได้อนุมัติให้กรมโยธาธิการกู้เงินธนาคารออมสิน
มาดำเนินการก่อสร้างการประปา ขอนแก่น ราชบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ ปากพนัง ภูเก็ต
รวม 6 แห่ง
รวมทั้งอนุมัติให้ทำสัญญาผ่อนชำระกับบริษัทเอกชน รวม 2 ฉบับ เพื่อก่อสร้างการประปา 70 แห่ง
โดยใช้เงินกู้จากธนาคารออมสิน ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าเป็นวงเงินจำนวนมาก
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของรัฐบาล ที่จะกระจายความเจริญไปสู่ชนบท
กำเนิดรถแท็กซี่ พ.ศ.
2466 นายพลโทพระยาเทพหัสดินทร์ (ผาด เทพหัสดินทร์ ณ
อยุธยา) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาพิชัยชาญฤทธิ์
ได้สังเกตเห็นว่า ทั้งรถเมล์และรถรางยังให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสารไม่เพียงพอ
จึงได้ตกลงใจซื้อรถยนต์ยี่ห้อออสตินขนาดเล็ก 4 คัน แล้วเริ่มออกวิ่งรับส่งคนโดยสารบนถนนสารต่าง ๆ ในพระนคร
ปัจจุบันมีแท็กซี่มิเตอร์ประมาณ 80,000 คัน นอกจากนี้
ยังมีรถสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) จกทะเบียนประมาณ 7,400 คัน
และรถจักรยานยนต์รับจ้างอีกประมาณ 50,000 คัน (ที่มา:สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), 2547.)
การพัฒนาเมืองโดยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก
สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น
ต่อมาในยุคที่มีการล่าอาณานิคม พระมหากษัตริย์ทรงพระปรีชาสามารถเลือกหนทาง
การประนีประนอม ไม่ให้เสียเอกราชไปโดยที่เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่ของตัวเอง
สถาปัตยกรรมไทยในสมัยนั้นจึงมีหน้าตาเป็นแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก บ้านเรือนเปลี่ยนรูปแบบเป็นตึกก่ออิฐถือปูน
มีการวางผังแบบสากลและตายตัว ไม่ใช้ Open Plan แบบเก่า
มีการกั้นห้องเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับแขก รับประทานอาหาร นั่งเล่น เป็นต้น
การเข้ามาของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก (ร.4) ปรับปรุง ลอกเลียนรูปแบบต่างชาติ (พ.ศ. 2393-2411) ได้แก่ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานตะวันออกและตะวันตก
รูปแบบตึกแถวและบ้านที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิงคโปร์ มาละกา และปีนัง
ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากยุโรป (ผ่านทางสถาปนิกต่างชาติและการเสด็จประพาส) โดยเฉพาะยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ยุคบารอก ปรากฏในพระราชวัง วัง วัด (เช่นกุฏิในวัดบรมนิวาส) อาคารราชการ
และตึกแถว มีการว่าจ้างสถาปนิกชาวตะวันตกเข้ามารับราชการ
ทำงานสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม และถ่ายทอดให้ช่างไทย
รูปแบบสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตก (ผ่านทางช่างชาวตะวันตกที่เข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการและการเสด็จประพาสยุโรปของ
ร.5) เช่น
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (ผสมผสานไทยประเพณีกับตะวันตก) พระที่นั่งอนันตสมาคม วังบางขุนพรหม ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
พระที่นั่งนงคราญสโมสรในสวนสุนันทา พระราชวังสวนดุสิต (พระที่นั่งวิมานเมฆ)
(สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์) การพัฒนาสถาปัตยกรรมไทย
อาคารทางศาสนายังคงรูปแบบไทยดั้งเดิม แต่ปรับปรุงเทคนิคการก่อสร้าง เช่น วัดเบญจมบพิตร (สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 โดยว่าจ้างสถาปนิกชาวอังกฤษจากสิงคโปร์
ชื่อ มิสเตอร์ ยอน คลูนิช ทำหน้าที่เป็นนายช่างออกแบบถวายตามพระราชดำริ
สร้างตามแบบอย่างศิลปกรรมตะวันตก มีหลังคากลมซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น
แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าสมควรสร้างเป็นปราสาทจึงจะเหมาะสม
เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการสร้างปราสาทเรียงกัน 3 องค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการสร้างอยู่แล้ว 2 องค์ คือ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
กับ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
จึงมีพระราชดำริเห็นชอบและโปรดเกล้าให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมตะวันตก
โดยองค์พระที่นั่งเป็นแบบตะวันตกแต่ส่วนหลังคาเป็นแบบไทย
ภูเขาทอง หรือพระบรมบรรพต
สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2421 โดยเริ่มสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เรื่อยมาถึงรัชกาลที่ 4 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ
ให้พระยาศรีพิพัฒน์เป็นแม่กองคุมการก่อสร้างจนเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระเจดีย์ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของปวงชน
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้แบ่งประเภท
ของบ้านเรือนในกรุงเทพฯ ตามแบบวัฒนธรรมออกเป็น 3 แบบ คือ
- แบบเดิม คือ แบบเรือนของผู้มีฐานะ (ระดับ) เดียวกัน เคยทำมาอย่างไรก็ทำมาอย่างนั้น
มิได้คิดเปลี่ยนแปลงยกตัวอย่างเช่น วังเจ้าบ้านนายขุน
- แบบผสม คือ เอาตึกฝรั่งหรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกเข้าบ้าง
เข้าใจว่าเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4 และต่อมาจนต้นรัชกาลที่ 5 ดังตัวอย่างที่มีเก๋ง และ การแก้ไขตำหนักที่วังท่าพระ เป็นต้น
- เปลี่ยนเป็นอย่างใหม่ คือ เลิกสร้างเรือนแบบไทยเดิม และตึกฝรั่ง เก๋งจีน คิดทำเป็นตึกฝรั่งทีเดียว
เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่
5
อย่างไรก็ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้นก็คงเอกลักษณ์ไทยเอาไว้บ้าง
เช่นการนำหน้า ตาสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใส่ด้านหน้าของตึก ไม่ว่าจะเป็น ลายฉลุไม้
หลังคา ทรงจั่ว
การรับอารยธรรมจากตะวันตก
เพื่อพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ให้ทัดเทียมกับเมืองของอารยประเทศอื่น ๆ
การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเน้นรูปแบบการพัฒนาแบบตะวันตก ได้แก่
- การตัดถนน: เข้ามาแทนที่การขุดคลอง โดยมีถนนที่สำคัญ เช่น ถนนเจริญกรุง
ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช ถนนพระอาทิตย์ ถนนประแจจีน ถนนพาหุรัด
ฯลฯ
- การสร้างสะพาน: ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ชัดเจน เช่น
สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานชุดเฉลิม 17 สะพาน
(ร.5) และสะพานชุดเจริญ 6 สะพาน (ร.6) ฯลฯ
- การพัฒนาย่านการค้า: เปลี่ยนรูปแบบการค้าจากทางน้ำขึ้นมาบนบก
โดยสร้างตึกเพื่อทำการค้า เช่น ห้างทองตั้งโต๊ะกังในย่านสามเพ็ง
และตึกแถวตามสองฟากถนน เช่น บริเวณถนนเจริญกรุง (ร้านค้าคนจีนและห้างฝรั่ง) และถนนบำรุงเมือง
- การพัฒนาบริการอื่น ๆ: ก่อสร้างอาคารที่มีประโยชน์ใช้สอยรูปแบบอื่น ๆ นอกจากวัด วัง
ที่อยู่อาศัย โดยเน้นการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงไฟฟ้าสามเสน สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) (พ.ศ. 2453-2475) โรงแรมโอเรียลเต็ล
แบงก์สยามกัมมาจล สถาบันสุนันทาลัย โรงเรียนเผยอิง ฯลฯ
โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
¨ ภาพถ่ายวังพญาไท (รัชกาลที่ 5)
¨ ภาพถ่ายพระที่นั่งอนันตสมาคม (รัชกาลที่ 5)
¨ ภาพถ่ายสถานีรถไฟหัวลำโพง (รัชกาลที่ 6)
|
วังพญาไท |
|
|
หัวลำโพง |
|
การสร้างรากฐานประชาธิปไตย
·
ร.
5 ทรงสร้างรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในสมัย ร. 6 เช่น การสร้างเมืองจำลองดุสิตธานี
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเมืองดั้งเดิม (รื้อป้อม กำแพง ถมคูคลอง)
ในสมัยสมัยรัชกาลที่ 5
จากการที่ไม่มีการขุดคลองคูเมืองขึ้นอีกเลย
เมื่อบ้านเมืองขยายตัวต่อไปอีกในเวลาต่อมา
คลองผดุงกรุงเกษมเองภายหลังก็ได้กลายเป็นคลองที่ให้ประโยชน์ทางด้านคมนาคมและการค้าขายมากกว่าทางด้านการเป็นคลองคูเมืองตามวัตถุประสงค์เดิม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราโชบายในการปรับปรุงประเทศในทันสมัย
โดยทรงทำการปฏิรูปบ้านเมืองแทบทุกด้าน
สำหรับในด้านการคมนาคมทรงเห็นว่าการคมนาคมทางน้ำและถนนซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
4 ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของบ้านเมืองที่กำลังเติบโตในขณะนั้น
ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการขุดคลองเพราะทรงเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการคมนาคมขนส่ง
การค้าขาย และยังมีประโยชน์ต่อการเพาะปลูกทำนาอีกด้วย จึงโปรดฯ
ให้ขุดคลองเปรมประชากรขึ้น ในปี พ.ศ. 2413 เกิดจากการตั้งพระทัยที่จะนำความเจริญนั้นไปสู่ผืนแผ่นดินด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน
โดยเริ่มจากคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณหน้าวัดโสมนัสวรวิหารไปทะลุตำบลเกาะใหญ่
แขวงกรุงเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นระยะทาง 1,271 เส้น 3 วา ช่วยร่นระยะทางไปมาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงรัตนโกสินทร์ให้สั้นขึ้น
อีกทั้งยังช่วยขยายพื้นที่การเพาะปลูกในบริเวณดังกล่าวให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วย นับเป็นคลองขุดคลองแรกในรัชกาลที่
5 ในขณะที่การสร้างถนนอย่างจริงจังเพิ่งมาปรากฏเด่นชัดในช่วงกลางรัชกาล คือราว พ.ศ. 2430 เป็นต้นมา และในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้
นอกจากจะไม่มีการขุดคลองคูเมืองแล้ว
ยังมีการให้รื้อป้อมริมคลองผดุงกรุงเกษมออกเสียด้วย
ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าป้อมที่มีอยู่ไม่มีประโยชน์นักด้วยเหตุผลข้างต้น
ประกอบกับในรัชกาลของพระองค์ บ้านเมืองมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประชากรก็เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
จึงจำเป็นต้องมีการขยายเมืองออกไปทุกทิศทาง รวมทั้งทางด้านคลองผดุงกรุงเกษมด้วย
ป้อมที่มีอยู่ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องกีดขวางการขยายของเมืองจึงถูกรื้อออกไป ปัจจุบันป้อมทั้ง
8 ป้อมริมคลองผดุงกรุงเกษม คงเหลือแต่ป้อมป้องปัจจามิตร
ซึ่งอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา
มีสำนักงานเขตคลองสานสร้างบังตัวป้อมอยู่ด้านหนึ่ง
กรมเจ้าท่าสร้างอาคารที่พักอาศัยของเจ้าพนักงานระเกะระกะขึ้นไปถึงตัวป้อมอีกด้านหนึ่ง
นอกจากนั้นรื้อถอนหมด สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์นั้นสร้างทับตัวป้อมปิดปัจจานึกพอดี
เป็นการประหยัดเงินงบประมาณไม่ต้องถมที่
ส่วนป้อมปราบศัตรูพ่ายเหลืออนุสรณ์เป็นชื่อเขต
การขุดคลองมีจำนวนมากตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
และความต้องการการใช้ที่ดิน การคมนาคมขนส่ง และการขยายพื้นที่ผลผลิต การมีเครื่องจักรขุดได้รวดเร็วกว่าการใช้แรงงานคนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
มีการขุดคลองเพิ่มในกรุงเทพฯ หลายสาย เช่น ขุดคลองขวาง (คลองช่องนนทรี) คลองวัดสามปลื้ม
คลองโรงกระทะ คลองวัดปทุมคงคา คลองบางรัก คลองสาธร คลองอรชร คลองสวนหลวง
คลองสระปทุม คลองราชดำริ ผ่านย่านชุมชน และทุ่งนา ฯลฯ
ในรัชกาลต่อมาปลายรัชกาลที่
5 ต่อกับรัชกาลที่ 6 เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนเพิ่มจำนวนมากขึ้น
และภัยจากข้าศึกที่จะเข้ามาประชิดพระนครเหมือนสมัยโบราณไม่มีแล้ว
ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
ทางราชการจึงได้ยินยอมให้รื้อป้อมและกำแพงเมืองลงเสียบ้าง และใช้ที่ดินนั้นๆ
ทำประโยชน์อย่างอื่น จนในปัจจุบันคงเหลือป้อมเพียง 2 แห่งเท่านั้นคือ
ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ ส่วนกำแพงเมืองก็เหลือเพียงเล็กน้อยเช่นกัน (จากป้อมมหากาฬถึงคลองหลอด) คงเหลือแต่ชื่อป้อมบางป้อมเป็นอนุสรณ์โดยกลายเป็นชื่อถนนไป
เช่น ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร ถนนพระจันทร์ และถนนพระอาทิตย์ (ต่อมาราชบัณฑิตยสภาเสนอให้อนุรักษ์เพื่อประโยชน์ทางโบราณคดี)
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ยังทรงดำเนินการตามพระบรมราโชบายเดิมตามแบบพระมหากษัตริย์องค์ก่อน คือ
โปรดให้ตัดถนน และสร้างสะพานเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง พระราชกรณียกิจสำคัญ คือ
การพระราชทานที่ดินในบริเวณทุ่งศาลาแดงให้เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย คือ
สวนลุมพินี ซึ่งก่อนหน้านี้ พระองค์ได้ทรงใช้จัดนิทรรศการราชอาณาจักรสยามเพื่อแสดงความก้าวหน้าของชาติ
นอกจากนั้น
ทางทิศเหนือของพระนครได้ทรงโปรดให้มีการขยายเขตของพระราชวังสวนดุสิตออกไปทางทิศตะวันออก
และสร้างพระตำหนักจิตรดารโหฐานขึ้นเป็นที่ประทับของพระองค์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
รวมทั้งโปรดเกล้าให้ก่อตั้งโรงเรียนประจำตามแบอย่างโรงเรียนวชิราวุธ
ขึ้นทางทิศเหนือของพระราชวังสวนดุสิต
เพื่อให้เป็นโรงเรียนประจำแบบอย่างโรงเรียนที่พระองค์ทรงเคยประทับศึกษาเล่าเรียนในประเทศอังกฤษ
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7) มีการตัดถนนเพิ่มขึ้นมาก
โดยส่วนหนึ่งเป็นการถมคลอง รวมถึงในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ได้แก่ ถนนเจริญเมือง
ถนนจารุเมือง ถนนจรัสเมือง ถนนมหาพฤฒาราม ถนนมเหสักข์ ถนนปราโมทย์ ถนนประดิษฐ์
ถนนท่าขนอน ถนนประชาราษฎร์ สร้างถนนประทัดทอง ถนนปทุมคงคา ถนนมหรรณพ ถนนเสือป่า
ถนนยมราชสุขุม ถนนเจ้าคำรบ ถนนศรีธรรมาธิราช ถนนเพลินจิต ถนนวิทยุ สร้างถนนเพลินจิตถึงจังหวัดสมุทรปราการ (พ.ศ. 2467)
การสร้างโรงเรียนแทนวัด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงให้ความสำคัญการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ทรงเห็นว่าการศึกษาคือปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ
จึงทรงดำเนินการปฏิรูปศึกษาของไทยให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยนำวิธีการศึกษาแบบตะวันตกมาใช้ในประเทศไทย
รวมทั้งส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อในประเทศต่าง ๆ
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็กลับมารับราชการ
นำความรู้มาใช้ในการสร้างความเจริญแก่ประเทศชาติในด้านต่าง ๆ ทุกพระองค์
ความสำคัญของการจัดการศึกษานั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่ที่ชุมนุมในโอกาสที่ทรงเสด็จไปพระราชทานรางวัลนักเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบเป็นครั้งแรกว่า
“…เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป
ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุดจะได้มีโอกาสได้เล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า พระ
ขุนนาง ไพร่ เพราะฉะนั้นจึงขอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมือง
เรานี้จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่งซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้…”
การปฏิรูปศึกษาดังกล่าวนั้น
พระองค์ทรงจัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมารับผิดชอบงานด้านการศึกษา
ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้แก่ราชวงศ์ บุตรหลานข้าราชการ
และมหาดเล็กหลวง สร้างวังนันทอุทยาน หรือโรงเรียนสวนอนันต์ ในปี พ.ศ.2421 โรงเรียนสวนกุหลาบใน พ.ศ.2424 จากนั้นทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงให้บุตรหลานของราษฎรขึ้นแห่งแรกคือ
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ.2427
ในด้านการศึกษาของสตรี
พระองค์ทรงตั้งโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้นแห่งแรก คือ โรงเรียนบำรุงสตรีวิทยา
โรงเรียนเสาวภา ในกรุงเทพฯ ส่วนโรงเรียนสตรีที่ไม่ใช่โรงเรียนหลวงก็คือ
โรงเรียนสุนันทาลัยหรือโรงเรียนราชินีในปัจจุบัน
ในด้านการพัฒนาวิชาชีพของราษฎร
พระองค์ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกฝนผู้ที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้านต่าง ๆ คือ
โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนฝึกหัดครูชาย โรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนนายร้อย
โรงเรียนไปรษณีย์ โรงเรียนเกษตร โรงเรียนทหารเรือ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังโปรดให้จัดทำแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นขึ้น
เพราะหนังสือแบบเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการศึกษา
ในส่วนการสนับสนุนการศึกษาแก่ราษฎร
พระองค์ทรงพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงให้แก่ผู้ที่เรียนดีที่ผ่านการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
เพื่อกลับมาเป็นแรงสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
|
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม |
|
|
โรงเรียนวชิราวุธ |
|
ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 ไทยตั้งตัวเป็นกลาง จนกระทั่งวันที่
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ไทยจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และได้ส่งทหารอาสาสมัครไปช่วยรบประมาณ 1,200 คน ทั้งนี้รวมทั้งนายและพลทหาร สมทบกับนักเรียนไทยในนานาประเทศอีกประมาณ
400 คน รวมทหารอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 1,600 คนทหาร
อาสาออกเดินทางเมื่อ พ.ศ. 2461 ถึงประเทศฝรั่งเศสอยู่ใต้บัญชาการของนายพล
เปแตง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ไปปฏิบัติการในสมรภูมิประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม
ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
1. เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศ
2. ได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์
3. เมื่อสงครามสงบได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ
เป็นหลักประกันเอกราชและความปลอดภัยของประเทศ
4. ได้แก้ไขสัญญาที่ทำไว้แต่รัชกาลที่
4 เป็นผลสำเร็จ ยกเลิกสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยทำกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และทำสัญญากับประเทศต่าง ๆ ใหม่
5. ได้ยึดทรัพย์จากเชลย
6. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์
เพื่อนำไปใช้ในกองทัพไทยที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
7. สร้างอนุสาวรีย์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือ
อนุสาวรีย์ทหารอาสา วงเวียน 22 กรกฎา สมาคมสหายสงคราม เป็นต้น
8. มีการจัดทหารแบบยุโรป และเริ่มจัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก
ผลพวงจากสงครามโลก
อนุสาวรีย์รูปบุคคลและสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นแทนเจดีย์ในสมัยอยุธยา
เริ่มมีในรัชกาลที่ 5 คือ พระบรมรูปทรงม้า
บริเวณสี่แยกจุดตัดถนนและทางแยกที่บรรจบกันของถนน เริ่มเปลี่ยนเป็นวงเวียน มีอนุสาวรีย์อยู่ตรงกลาง
ในรัชกาลที่ 6 เมื่อมีการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สร้างวงเวียนยี่สิบสองกรกฎาคม
จานั้นมีวงเวียนเกิดขึ้นอีกหลายแห่งในเวลาต่อมา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินกระทำพิธีบรรจุอัฐิวีรชน ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2462 ตัวอนุสาวรีย์เป็นสถาปัตยกรรมศรีวิชัย
อันมีต้นแบบมาจากศาสนสถานในชวาภาคกลาง มีชื่อว่า “จันทิ”
มีจารึกอักษรสีดำที่กล่าวถึงสาเหตุที่ไทยต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
|
อนุสาวรีย์ทหารอาสา |
|
|
วงเวียน 22 กรกฎา |
|
หนึ่งศตวรรษพระนคร
รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างสะพานทางรถไฟและรถยนต์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสะพานแห่งแรกของประเทศไทย
และพระราชทานพระนามว่า สะพานพระราม 6 ซึ่งสามารถเชื่อมทางรถไฟสายใต้ให้เข้าสถานีรถไฟหัวลำโพงได้
โดยให้บริษัทเอสเอตาบลิสม้องต์ไดย์เด แห่งฝรั่งเศส เป็นผู้สร้าง
เริ่มลงมือสร้างเมื่อ พ.ศ. 2465 และแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468 รัชกาลที่ 7 ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469 มีความยาว 442 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นทางเดินรถยนต์ 5 เมตร ทางเท้าข้างละ 1.50 เมตร เดิมสะพานนี้สร้างขึ้นตามแบบคานยืน (Cantilever) แต่หลังจากถูกทำลายโดยภัยสงครามโลกครั้ง 2 รูปลักษณะของสะพานพระราม 6 ที่ซ่อมแซมใหม่เป็นแบบ Warren
type with post & hangers
รัชกาลที่ 7 ยังทรงพระราชดำริเกี่ยวกับการขยายความเจริญของพระนครออกไปทางฝั่งธนบุรีด้วย
เพราะนับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา
พระนครได้ขยายออกไปทางด้านฝั่งตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ต้องถมที่นาห่างออกไปทุกที
แต่ฟากตะวันตกหรือธนบุรี ซึ่งอยู่ใกล้ ยังมีสภาพไม่เจริญ
ด้วยขาดเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ จึงโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
อำนวยการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปลายถนนตรีเพชร
ไปเชื่อมกับพื้นที่ทางใต้วัดประยูรวงศาวาสฝั่งธนบุรี มีการเชื่อมกรุงเทพฯ
กับธนบุรีโดยทางรถยนต์ ทำให้กรุงเก่าธนบุรีขยายตัวตามกรุงเทพฯ ด้วย
ได้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 คือ
สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อ พ.ศ. 2475 ในโอกาสเฉลิมฉลองพระนครครบรอบ 150 ปี พร้อมกับสร้าง
พระปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทางฝั่งตะวันออก
สะพานแห่งนี้เชื่อมพระนครฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตก พร้อมทั้งวางแผนตัดถนนต่อจากปลายสะพานให้เป็นถนนสายหลักของฝั่งธนบุรี
ได้แก่ ถนนประชาธิปก ถนนตากสิน ถนนอิสรภาพ และถนนลาดหญ้า
ส่วนปลายตะวันออกได้เชื่อมปลายสะพานกับสถานีรถไฟหัวลำโพง ด้วยการขยายถนนทรงวาด
จากการพัฒนาสาธารณูปโภคดังกล่าว ทำให้มีการขยายตัวของชุมชนทางฝั่งธนบุรีมากขึ้น
แต่ลักษณะการขยายตัวระยะแรกยังคงยึดบริเวณริมแม่น้ำลำคลองเป็นหลัก
การสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
คราวสมโภชพระนครครบ 150 ปี
เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม และกระจายความเจริญไปยังฝั่งธนบุรี
รวมทั้งตัดถนนเพิ่มเติมในฝั่งดังกล่าว เช่น ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนอิสรภาพ ฯลฯ พร้อมกับการขยายตัวของชุมชนตามแนวถนน
|
สะพานพระราม 6 |
|
|
สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ |
|