ประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด

ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก

ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

ประเทศไทยสมัยอาณาจักรสุโขทัย

ประเทศไทยสมัยอาณาจักรสุโขทัย

         ดังที่ได้กล่าวแล้ว เมื่อสมัยผู้จัดทำได้เรียนในชั้นประถมศึกษา อาณาจักรแรกของประเทศไทยหรือประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เรียนมา คือ อาณาจักรสุโขทัย หรือสมัยสุโขทัย เนื่องจากว่า สมัยนี้มีกษัตริย์ผู้ทรงปรีชาสามารถ (น่าจะเรียนแบบพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย) คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยไว้ในหลักศิลาจารึกประชาชนรุ่นหลังได้ศึกษาความเป็นมาทุกวันนี้ อาณาจักรสุโขทัยจึงเสมือนเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย แต่ความเป็นจริงอย่างที่กล่าวแล้ว คือ อาณาจักรอื่นก็เป็นคนไทยเช่นกัน และปกครองเป็นอิสระจากกัน
   
แผนที่อาณาจักรสุโขทัย
แผนที่อาณาจักรสุโขทัย
     อาณาจักรที่ร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัยคืออาณาจักรล้านนาที่มีนครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มีพญามังรายหรือพ่อขันเม็งรายมหาราชปกครองในขณะนั้น ยังมีมิตรสัมพันธ์อันดีต่อกันเนื่องจากมีเชื้อสายไทยด้วยกัน แต่การปกครองไม่ได้ขึ้นต่อกัน เป็นอิสระจากกัน  ดังที่เราเห็นอนุสาวรีย์สามกษัตริย์หน้าที่ว่าการจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน เหตุที่เราเรียนกันมาตอนแรกว่า สุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกของไทย อาจเป็นเพราะกษัตริย์ได้สืบเชื้อสายกันมาเรื่อย ๆ จนถึงสมัยปัจจุบันก็เป็นได้ ดังจะได้กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยต่อไป
             อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด
อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้
1.   ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
2.   ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
3.   ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
4.   ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ 

ความเจริญรุ่งเรือง
สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า " และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน และ ส่งออกเครื่องถ้วยชามสังคโลก.
ด้านสังคมและศาสนา
อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสรเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"
ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 ว่า "เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"
พ่อขุนผาเมือง
พ่อขุนผาเมือง ผู้ร่วมสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น
ด้านการปกครอง
อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ
1.แบบพ่อปกครองลูก
ในระยะแรกสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์เรียกว่า "พ่อขุน" ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบนี้ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
2.แบบธรรมราชา
การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบนี้ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 - 4
ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้
ในแนวราบ
จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช
พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
ในแนวดิ่ง
ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
·         พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"
·         ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
·         ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
·         ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)

ลักษณะการเมืองการปกครองแบ่งออกเป็น 4 ช่วง
1. ช่วงแรก (.. 1792 – 1822) เป็นช่วงที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นยุคก่อตั้งบ้านเมืองขยายอาณาเขตไปถึงศรีสัชนาลัยตากกำแพงเพชรพิษณุโลกพิจิตรนครสวรรค์ทางใต้ลงไปเพชรบุรีและราชบุรี
2. ช่วงที่ 2 (.. 1822 – 1842) เป็นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีการขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวางไทยยังคงส่งบรรณาการให้จีนสมัยมองโกลถือว่าเป็นสมัยที่เจริญสูงสุด
3. ช่วงที่ 3 (.. 1842 – 1921) เป็นช่วงหลังที่พ่อขุนรามคำแหงมีอำนาจบ้านเมืองอ่อนแอลงในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) พยายามเอาศาสนามาผูกใจประชาชนแต่ก็ไม่สำเร็จมากนักในที่สุดสุโขทัยก็ยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาในพ.. 1921 สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2
4. ช่วงที่ 4 (.. 1921 – 1981) สุโขทัยเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาเรียบร้อยแล้วมีบางช่วงที่สุโขทัยแยกตัวได้คือระหว่างพ.. 1931 – 1962 แต่ในที่สุดอยุธยาก็เข้าไปปกครองสุโขทัยโดยตรงพ.. 2006

การจัดรูปแบบการปกครอง
จัดรูปแบบการปกครองโดยจัดลำดับความสำคัญของเมืองดังนี้
1. เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมี 2 แห่งคือสุโขทัยและพิษณุโลก
2. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน
3. เมืองชั้นนอก
4. เมืองประเทศราช
พ่อปกครองลูก
ภาพวาดลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
1. อาณาจักรล้านช้างอยู่ทางตอนเหนือมีความสัมพันธ์กับสุโขทัยเป็นอย่างดีเพราะพ่อขุนรามคำแหงเป็นเพื่อนกับพญามังรายแห่งโยนกเชียงแสนและพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา
2. อาณาจักรมอญกษัตริย์มอญเป็นบุตรเขยของพ่อขุนรามคำแหงคือพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ทำให้สุโขทัยมีเมืองเมาะกะมะเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเล
3. แคว้นนครศรีธรรมราชพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไม่ติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์จากลังกามาประดิษฐานที่สุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงได้โปรดเกล้าให้อาราธนาพระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชไปสั่งสอนสัทธิสังกาวงศ์ที่สุโขทัย
4. ประเทศลังกามีความสัมพันธ์กับสุโขทัยทางด้านพระพุทธศาสนามีพระเถรศรีศรัทธาจุฬามณีฯเชื้อสายสุโขทัยไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากลังกาโดยตรงและในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้สั่งทูตไปอาราธนาพระสังฆราชจากเมืองเมาะตะมะซึ่งมีวัตรปฏิบัตรแบบลังกามายังสุโขทัย
5. จีนสุโขทัยกับจีนติดต่อกันโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้แก่จีนแลกเปลี่ยนทูตกันคนไทยมีโอกาสเรียนรู้การปั้นเครืองปั้นดินเผาแบบใหม่จากจีนเรียกว่าเครื่องสังคโลก

ลักษณะทางเศรษฐกิจ มีอาชีพหลัก 3 อย่าง
1. เกษตรกรรมมีลำน้ำใหญ่ผ่าน 3 สายคือปิงยมและน่าน
2. หัตถกรรมที่มีชื่อมากคือการทำเครื่องสังคโลกแหล่งผลิตมี 2 แหล่งด้วยกันคือสุโขทัยและศรีสัชนาลัยเพราะพบเตาเผาเรียกว่าเตาทุเรียงจำนวนมาก
3. การค้ายกเว้นการเก็บภาษีผ่านด่านเรียกว่าจังกอบแสดงว่าประชาชนมีโอกาสประกอบอาชีพได้โดยเสรี
 
เตาทุเรียง
เตาทุเรียง



ชามสังคโลก
ชามสังคโลก


การค้าในประเทศ
เป็นการค้าขายระหว่างเมืองมีถนนพระร่วงเชื่อมเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยและกำแพงเพชรมีตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าในชุมชนเรียกว่าตลาดปสาน

การค้ากับต่างประเทศ มีเส้นทางการค้าคือ
1. เส้นทางจากสุโขทัยไปเมาะตะมะ
2. เส้นทางจากสุโขทัยสู่อ่าวไทย

ศิลปกรรม
ลักษณะเด่นของเมืองโบราณสมัยสุโขทัยคือมีการวางผังเมืองสร้างกำแพงคูเมืองสระน้ำถนนทางน้ำและศาสนสถานที่เหมาะสมองค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชรเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อพ.. 2534

สถาปัตยกรรมมีเจดีย์ 3 แบบ
1. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูมเป็นแบบเฉพาะของสุโขทัย
2. เจดีย์กลมหรือทรงลังกาบางแห่งมีรูปปั้นช้างครึ่งตัวหันศีรษะออกรายรอบฐานเจดีย์ตามความเชื่อของลังกา
3. เจดีย์ทรงเรือนธาตุฐานเป็นสี่เหลี่ยมแห่งศรีวิชัยเลียนแบบมาจากลังกาเช่นกัน
วัดมหาธาตุ สุโขทัย
วัดมหาธาตุ สุโขทัย
ประติมากรรม
นิยมสร้างพระพุทธรูปพระพุทธรูปปางลีลาเป็นแบบเฉพาะของสุโขทัยพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่คือพระศรีศากยมุนีเดิมอยู่วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัยปัจจุบันอยู่ที่วัดสุทัศเทพวรารามพระพุทธชินราชอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุจังหวัดพิษณุโลกพระพุทธชินสีห์พระศาสดาอยู่วัดบวรนิราศกรุงเทพ

ระบบชลประทาน
สร้างทำนบกั้นน้ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัยเรียกว่าสรีดภงส์หรือทำนบพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ    
        วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรกสวรรค์การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุคการล้างโลกพระศรีอาริย์มหาจักรพรรดิราชแก้วเจ็ดประการ ฯลฯ
ไตรภูมิพระร่วง
หนังสือไตรภูมิพระร่วง

        ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1864 (ปีเก่า) จ.ศ.683 ม.ศ.1243 เป็นปีครองราชย์ที่ 6 โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึกซึ้ง ในด้านพุทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดีโลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ อ.สินชัย กระบวนแสง ได้วิเคราะห์เหตุผลการแต่งไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไท ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองด้วย เนื่องจากไตรภูมิเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนรก-สวรรค์ สอนให้คนรู้จักการทำความดีเพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ หากแต่ใครทำชั่วประพฤติตนผิดศีลก็จะต้องตกนรก กล่าวคือ ประชากรในสมัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทปกครองนั้นเริ่มมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้การปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้ายเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น การดูแลของรัฐก็ไม่อาจดูแลได้ทั่วถึง พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นมาเพื่อที่ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิตที่สุขสบาย และหากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมทางสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุกคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกันแต่อย่างไร      
        ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภูมิ (แดน) ทั้ง 31 คือ กามภูมิ11
,รูปภูมิ16 และอรูปภูมิ4 ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้รวมเรียกว่าเขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า มหานทีสีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล

ประวัติไตรภูมิพระร่วงในแพนก หอสมุดวชิรญาณ
าณ
          หนังสือไตรภูมิฉบับนี้ว่าเป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัยผู้ทรงพระนามว่าพระญาลิไทยได้แต่งขึ้นไว้เมื่อปีระกาศักราชได้23ปี(พ.ศ. 1864) ต้นฉบับหอสมุดวชิรญาณได้มาจากเมืองเพชรบุรีเป็นหนังสือ10ผูกบอกไว้ข้างท้ายว่าพระมหาช่วยวัดปากน้ำชื่อวัดกลาง(คือวัดกลางเมืองสมุทรปราการเดี๋ยวนี้) จารขึ้นไว้ในรัชกาลเจ้าเมืองกรุงธนบุรีเมื่อณเดือนสี่ปีจอสัมฤทธิศกจุลศักราช1140 เมื่ออ่านตรวจดูเห็นได้ว่าหนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือเก่ามากมีศัพท์เก่าๆที่ไม่เข้าใจและที่เป็นศัพท์อันเคยพบแต่ในศิลาจารึกครั้งสุโขทัยหลายศัพท์น่าเชื่อว่าหนังสือไตรภูมินี้ฉบับเดิมจะได้แต่งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจริงแต่คัดลอกสืบกันมาหลายชั้นหลายต่อจนวิปลาสคลาดเคลื่อนหรือบางทีจะได้มีผู้ดัดแปลงสำนวนและแทรกเติมข้อความเข้าเมื่อครั้งกรุงเก่าบ้างก็อาจจะเป็นได้ถึงกระนั้นโวหารหนังสือเรื่องนี้ยังเห็นได้ว่าเก่ากว่าหนังสือเรื่องใดใดในภาษาไทยนอกจากศิลาจารึกที่ได้เคยพบมาจึงนับว่าเป็นหนังสือเรื่องดีด้วยอายุประการ1
        ว่าถึงผู้แต่งหนังสือไตรภูมินี้พระเจ้าแผ่นดินสยามที่ได้ครอบครองราชสมบัติครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีตามที่สอบในศิลาจารึกประกอบกับหนังสืออื่นๆได้ความว่ามี6 พระองค์คือ
1. ขุนอินทราทิตย์หนังสือตำนานพระสิหิงค์เรียกว่าพระเจ้าไสยณรงค์หนังสือชินกาลมาลินีเรียกว่าโรจนราชาเสวยราชย์เมื่อใดอยู่ในราชสมบัติเท่าใดไม่
ปรากฏ
2. ขุนบาลเมืองหนังสืออื่นเรียกปาลราชเป็นราชบุตรของขุนอินทราทิตย์
ศักราชไม่ปรากฏเหมือนกัน
3. ขุนรามคำแหงหนังสืออื่นเรียกรามราชเป็นราชบุตรขุนอินทราทิตย์เสวยราชย์เมื่อไรไม่ปรากฏแต่เมื่อจุลศักราช654ขุนรามคำแหงครองราชสมบัติอยู่
4. พระญาเลลิไทยหรือเลือไทยหนังสืออื่นเรียกอุทโกสิตราชบ้างอุทกัช์โฌต์ถตราชบ้าง (การเขียนหนังสือสมัยก่อน ถ้ามีตัวไม่การันต์หรือไม้ทัณฑฆาต (-) บนตัวใด ตัวนั้นเป็นตัวสะกด)ความหมายว่าพระยาจมน้ำเห็นจะเป็นพระร่วงองค์ที่ว่าจมน้ำหายไปในแก่งหลวงเป็นราชบุตรขุนรามคำแหงศักราชเท่าใดไม่ปรากฏ
5. พระญาลิไทยหรือฤไทยราชหรือฤาไทยไชยเชฐพระนามเต็มที่ถวายเมื่อราชาภิเษกว่าศรีสุริยพระมหาธรรมราชาธิราชซึ่งแต่งหนังสือไตรภูมินี้เป็นราชบุตรพระญาเลลิไทยหนังสืออื่นเรียกลิไทยราชเมื่อจุลศักราช679เสวยราชย์อยู่
สิ้นพระชมน์เมื่อจุลศักราช709
6. พระเจ้าศรีสุริยพงษ์รามมาธรรมิกราชาธิราชนอกจากศิลาจารึกหนังสืออื่นไม่ได้กล่าวถึงเป็นราชบุตรพระญาลิไทยเสวยราชย์เมื่อจุลศักราช709 อยู่จนเสียพระนครแก่สมเด็จพระบรมราชาธิราชกรุงศรีอยุธยาเมื่อจุลศักราช730 บรรดาพระเจ้ากรุงสุโขทัยดูเหมือนจะปรากฎพระนามในนานาประเทศแลข้าขัณฑสีมาเรียกว่าสมเด็จพระร่วงเจ้าต่อๆกันมาทุกพระองค์ไม่เรียกแต่เฉพาะพระองค์หนึ่งพระองค์ใดใน6พระองค์นี้และมูลเหตุไม่น่าเชื่อว่าเกี่ยวแก่เรื่องนายร่วงนายคงเคราอะไรอย่างที่เพ้อในหนังสือพงศาวดารเหนือซึ่งคนภายหลังอธิบายเมื่อยังอ่านอักษรจารึกศิลาไม่ออกเพราะฉะนั้นเมื่อพิมพ์หนังสือนี้จึงให้เรียกว่าไตรภูมิพระร่วงจะได้เป็นคู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วงซึ่งคนภายหลังได้แต่งเป็นสำนวนใหม่เสียแล้วในศิลาจารึกปรากฏว่าพระญาลิไทยอยู่ในราชสมบัติกว่า30ปีและทรงเลื่อมใสในพระศาสนามากอาจจะให้แต่งหนังสือเช่นเรื่องไตรภูมินี้ได้ด้วยประการทั้งปวงแต่ศักราชที่ลงไว้ในหนังสือว่าแต่งเมื่อปีระกาศักราชได้23ปีนั้นจุลศักราช23เป็นปีระกาจริงแต่เวลาช้านานก่อนรัชกาลพระญาลิไทยมากนักจะเป็นจุลศักราชไม่ได้เดิมเข้าใจว่าจะเป็น
พุทธศักราชหรือมหาศักราชแต่ถ้าหากผู้คัดลอกทีหลังจะตกตัวเลขหน้าหรือเลขหลังไปสองตัวลองเติมลองสอบดูหลายสถานก็ไม่สามารถจะหันเข้าให้ตรงหรือแม้แต่เพียงจะให้ใกล้กับศักราชรัชกาลชองพระญาลิไทยตามที่รู้ชัดแล้วในศิลาจารึกได้ศักราช23นี้จะเป็นศักราชอะไรต้องทิ้งไว้ให้ท่านผู้อ่านสอบหาความจริงต่อไป
เรื่องไตรภูมิเป็นเรื่องที่นับถือกันแพร่หลายมาแต่โบราณถึงคิดขึ้นเป็นรูปภาพเขียนไว้ตามฝาผนังวัดและเขียนจำลองลงไว้ในสมุดมีมาแต่ครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้แต่ที่เป็นเรื่องหนังสือในครั้งกรุงเก่าจะมีฉบับอื่นนอกออกไปจากไตรภูมิพระร่วงฉบับนี้หรือไม่มีไม่ทราบแน่ด้วยยังไม่ได้พบหนังสือไตรภูมิครั้งกรุงเก่านอกจากที่เขียนเป็นรูปภาพไว้ในสมุดแต่ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้เมื่อปีเถาะจุลศักราช๑๑๔๕พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระราชาคณะและราชบัณฑิตช่วยกันแต่งนังสือไตรภูมิขึ้นจบ1ต่อมาอีก19ปีเมื่อปีจอจุลศักราช1164ทรงพระราชดำริว่าหนังสือไตรภูมิที่ได้แต่งไว้แล้วคารมไม่เสมอกันทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาธรรมปรีชาแต่งใหม่อีกครั้ง1แต่ในบานแพนกพระราชดำริเรื่องแต่งหนังสือไตรภูมิทั้ง2ฉบับนั้นไม่ได้กล่าวให้ปรากฏว่ามีหนังสือไตรภูมิของพระญาลิไทยเลยแม้เพียงแต่จะว่าไตรภูมิของเก่าเลอะเทอะวิปลาสจึงให้แต่งใหม่ก็ไม่มีไตรภูมิฉบับซึ่งหอพระสมุดได้มาจากเมืองเพชรบุรีนี้ก็เป็นหนังสือจารแต่ครั้งกรุงธนบุรีเห็นจะซุกซ่อนอยู่แห่งใดที่เมืองเพชรบุรีในเวลานั้นไม่ปรากฏในกรุงเทพฯจึงมิได้กล่าวถึงในบานแพนกโดยเข้าใจกันในครั้งนั้นว่าหนังสือไตรภูมิ
ของเดิมจะเป็นฉบับพระญาลิไทยนี้ก็ตามหรือฉบับอื่นครั้งกรุงเก่าก็ตามสาบสูญไปเสียแต่
เมื่อครั้งเสียกรุงเก่าจึงโปรดให้แต่งขึ้นใหม่อย่างไรก็ดีหนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้เป็นหนังสือเก่าซึ่งมีต้นฉบับแต่ในหอพระสมุดวชิรญาณจบ1กับมีผู้ได้จำลองไว้ที่เมืองเพชรบุรีอีกจบ1 สมควรจะพิมพ์ขึ้นจนไว้ให้แพร่หลายมั่นคงอย่าให้สาบสูญไปเสียกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณคิดเนดังนี้เมื่อเจ้าภาพในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าประสานศรีใสพระองค์เจ้าประเพศรีสอาดมีความประสงค์จะพิมพ์หนังสือแจกในงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นั้นมาขอความแนะนำกรรมการจึงได้เลือกเรื่องไตรภูมิพระร่วงให้พิมพ์ด้วยเห็นความสมควรมีอยู่เป็นหลายประการคือเป็นหนังสือเก่ายังไม่มีใครจะได้เคยพบเห็นประการ1 เป็นหนังสือหายากถ้าไม่พิมพ์ขึ้นไว้จะสูญเสียประการ1 เป็นหนังสือชนิดที่ไม่มีใครจะพิมพ์ขายเพราะจะไม่มีใครซื้อควรพิมพ์ได้แต่ในการกุศลประการ1 ถ้าท่านผู้ใดอ่านหนังสือนี้เกิดความเบื่อหน่ายขอจงได้คิดเห็นแก่ประโยชน์ที่ได้พรรณนามาแล้วและอนุโมทนาเฉพาะต่อที่ความเจตนาจะรักษาสมบัติของภาษาไทยมิให้สาบสูญเสียนั้นเป็นข้อสำคัญ
หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้ต้นฉบับเดิมเป็นอักษรขอมและมีวิปลาสมากดังกล่าว
มาแล้วในการคัดเป็นหนังสือไทยนอกจากตัวอักษรแล้วไม่ได้แก้ไขถ้อยคำแห่งหนึ่งแห่งใดให้ผิดจากฉบับเดิมเลยแม้คาถานมัสการเองถ้าจะแปลเป็นภาษาไทยจะต้องแก้ไขของเดิมบ้างจึงมิได้ให้แปลทิ้งไว้ทั้งรู้ว่าบางแห่งผู้ลอกคัดเขียนผิดต่อๆกันมาแต่ก่อนขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดูตามอัตโนมัติแห่งตนๆเทอญฯ
หอสมุดวชิรญาณ
วันที่1พฤษภาคมรัตนโกสินทรศก131

เงินตราในสมัยสุโขทัย
        ในสมัยสุโขทัยเมื่อมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสิ้นค้าจะใช้เบี้ยหอยเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน เรียกว่า เงินพดด้วง มีลักษณะกลม ๆ คล้ายตัวด้วง มีตรารูปช่างเป็นสัญลักษณ์ มีหลายชนิด เช่น 1 ตำลึง 1 บาท ครึ่งบาท มีค่ำต่ำสุดคือเบี้ย
        เบี้ย เป็นหอยทะเลจำพวกหนึ่งที่หายาก เป็นหอยกาบเดี่ยว เรียกว่า COWRIE SHELL มีแหล่งกำเนิดจำกัดเฉพาะในเกาะกลางมหาสมุทรอินเดีย เช่นที่เกาะมัลดีฟ ในสมัยโบราณมีพ่อค้าอินเดียนำมาขายที่เมืองนครศรีธรรมราช แล้วทางกรุงสุโขทัยได้นำมาใช้แลกเปลี่ยนสินค้าที่มีมูลค่าน้อยที่สุดทีกรุงสุโขทัย

 
เงินพดด้วง
เงินพดด้วง
 
เงินเบี้ย
เงินเบี้ย


ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย
        ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกจนตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาในปี พ.ศ. 2006  โดยสรุป ดังนี้
        ปัจจัยภายใน  เกิดจากความเสื่อมโทรมของระบบการปกครอง เดิมทีสุโขไทย ใช้ระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทำให้พระเจ้าแผ่นดินกับราษฎรใกล้ชิดสนิทสนมกัน ร่วมแรงร่วมใจกันในการปกครองประเทศ พระเจ้าแผ่นดินถือว่าราษฎรเป็นลูก ราษฎรก็ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพ่อ จึงเกิดความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ต่อมาในสมัยหลังตั้งแต่รัชสมัยพญาเลอไทเป็นต้นมา ได้นำระบบการปกครองแบบเขมรมาใช้โดยถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นสมมติเทวราช คือ เป็นเทพอวตารลงมาเกิดตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่เขมรนับถือ มีอำนาจสิทธิขาดในการปกครองแต่ผู้เดียว ประชาชนไม่มีสิทธิในการร่วมบริหารการปกครองดังเดิม ทำให้พระเจ้าแผ่นดินเหินห่าจากราษฎร ความสนิทสนมกันดังพ่อกับลูกในสมัยก่อนก็ขาดสะบั้นลง  เมื่อเกิดศึกษาสงครามจึงอาศัยผู้ที่จะเต็มใจออกศึกยาก
        อีกประการหนึ่ง คือ การขาดกษัตริย์ที่มีพระเดชานุภาพหลังจากสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็ไม่มีกษัตริย์ที่เข้มแข็งเหมือนพระองค์ในการปกครอง  และเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันในปี พ.ศ. 1962 โดยราชโอรสสองพี่น้องของพระมหาธรรมราชาที่ 3 (พญาไสยลือไท) หลังจากพระราชบิดาสวรรคตลง
          ปัจจัยภายนอก เนื่องจากสุโขทัยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจวัฒนธรรม จึงเป็นที่ต้องการของบรรดาอาณาจักรที่มีอำนาจเหนือกว่า ซึ่งอาจเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ที่มุ่งจะเอาอาณาจักรต่าง ๆ มาไว้ในปกครองของตนเอง ด้วยหวังจะแผ่อำนาจและต้องการส่วยภาษาอากรตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนอื่น สุโขทัยก็ตกอยู่ในวัฏจักรนี้ เนื่องจากมีอาณาจักรต่าง ๆ ล้อมรอบ เช่น อาณาจักรขอมทางตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรอยุธยาทางใต้ อาณาจักรล้านช้างทางตะวันออก เป็นต้น ในที่สุดก็ตกเป็นของอยุธยาในที่สุด
รายพระนามพระมหากษัตริย์สุโขทัย
ลำดับ
พระนาม/นาม
ตำแหน่ง
ราชวงศ์
ช่วงเวลา
รัฐอิสระ
-
พระยาพาลีราช
ตำนานกล่าวว่า พ.ศ. 1043 พระยาพาลีราชแห่งอาณาจักรละโว้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองสุโขทัย
เจ้าเมืองสุโขทัย
-
พ.ศ. 1043 -
ไม่ทราบปี
-
พระยาอภัย
เจ้าเมืองสุโขทัย
-
ไม่ทราบปี
-
พระอรุณกุมาร
เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย
-
ไม่ทราบปี
-
พระยาพสุจราช
เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย
-
ไม่ทราบปี
-
พระยาธรรมไตรโลก
เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย
-
ไม่ทราบปี
-
พระยาศรีจันทราธิบดี
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
(อดีตภิกษุ)
พ.ศ. 1502 - ไม่ทราบปี
-
พระยาศรีจันทราธิบดี
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
(อดีตภิกษุ)
พ.ศ. 1502 - ไม่ทราบปี
1
พ่อขุนศรีนาวนำถุม
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
นำถม
ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1724
2
ขอมสบาดโขลญลำพง
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
-
ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1780
3
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1780 - ประมาณ พ.ศ. 1801
4
พ่อขุนบานเมือง
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
ประมาณ พ.ศ. 1801 - พ.ศ. 1822
5
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1822 - 1842
6
พญาไสสงคราม
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1842
7
พญาเลอไท
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1842 - 1866
8
พญางั่วนำถุม
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1866 - 1890
9
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1890 - 1913
10
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1913 - 1921
รัฐบรรณาการอยุธยา
10
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1921 - 1931
11
พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท)
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1931 - 1962
12
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมบาล)
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 1962 - 1989
13
พระราเมศวร
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
สุพรรณภูมิ
พ.ศ. 1989 - 1991
-
ว่าง
-
-
พ.ศ. 1991 - 2011
รัฐบรรณาการอาณาจักรล้านนา
14
พระยายุทธิษฐิระ
พระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระร่วง
พ.ศ. 2011 - 2017
·      พระยายุทธิษฐิระ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2011) (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ. 2011)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
·         สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2031) (สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก จนสิ้นรัชกาล)
·         พระเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2031 - พ.ศ. 2034) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
·         พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
·         พระไชยราชา (พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2077) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
ราชวงศ์สุโขทัย
·         พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) (พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2111) (เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ)
·         พระนเรศวร (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี พ.ศ. 2115 - พ.ศ. 2133) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา) 
·         พระเอกาทศรส (พ.ศ. 2133 - พ.ศ. 2148) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
·         จากนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถทรงยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฯผู้ครองเมืองพิษณุโลก

ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

             พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ในสมัยสุโขทัยอย่างเป็นทางการ (คือเป็นอาณาจักรหลังเป็นประเทศราชจากขอม) พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระนามต่อท้ายว่า “มหาราช” องค์แรกของอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการ (นอกนั้นอาจมีบ้างที่กษัตริย์เชื้อสายไทยเป็นมหาราช แต่ทางราชการไม่รับรอง คือ พระเจ้าพรหมมหาราช และพ่อขุนเม็งรายมหาราช) และทรงเป็นผู้มีคุณูปการแก่ชาติไทยเป็นอย่างยิ่ง คือทรงริเริ่มในการประดิษฐ์อักษรไทยเป็นครั้งแรกจนพัฒนามาถึงปัจจุบันนอกจากนี้พระองค์ทรงนำแบบอย่างของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียมาใช้ในการปกครองบ้าน คือ ใช้ธรรมนำหน้าในการปกครอง และทรงริเริ่มในการประดิษฐ์หลักศิลาจารึกเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ซึ่งเราจะเห็นได้ในปัจจุบัน  จึงขอนำประวัติพระองค์ท่านโดยย่อมาประกาศไว้ ณ ที่นี้ (ส่วนรายละเอียดจะว่าในบทว่าด้วยมหาราชของชาติไทย) ดังต่อไปนี้  
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงปกครองประชาชนแบบพ่อปกครองลูก

             พ่อขุนรามคาแหงหรือพ่อขุนรามคาแหงมหาราช  กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกรุงสุโขทัยในราชวงศ์พระร่วงเป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสืองทรงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1

ทรงเป็นนักรบ
        ความเป็นนักรบของพระองค์นั้นเห็นได้ตั้งแต่ยังมิได้ครองราชย์พระองค์ทรงได้รับชนะในการกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาและทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามขยายอาณาเขตตลอดรัชสมัยของพระบิดาและพ่อขุนบานเมือง

ทรงนักปกครอง
        พระองค์ทรงมีพระเมตตาเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชนโดยการสนับสนุนการประกอบอาชีพอย่างเสรีทรงยกเลิกจังกอบซึ่งเป็นภาษีที่คิดตามความกว้างของเรือให้กรรมสิทธิที่ดินทำกินตลอดจนเสรีภาพให้แก่ราษฎร

ทรงเป็นนักการทูตที่หลักแหลม
        พระองค์มีนโยบายกระชับมิตรกับดินแดนต่างๆทั้งที่ใกล้เคียงและแม้แต่ดินแดนอันห่างไกลที่มีอำนาจเช่นล้านนาพะเยาศิริธรรมนคร (นครศรีธรรมราช) ตลอดจนถึงจีนนอกจากนี้ยังปรากฏทรงให้ความช่วยเหลือสนับสนุนรัฐที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารด้วยเช่นมอญและล้านช้างเป็นต้น

ทรงเป็นนักปราชญ์
             พระองค์นั้นทรงเห็นความสำคัญของพระศาสนาพระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกและสนับสนุนทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดังปรากฏว่าพระองค์ทรงนิมนต์พระเถระจากเมืองศิริธรรมนครมาสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในสุโขทัยทรงจัดสร้างพระอารามทั้งในและนอกราชธานีรวมทั้งทรงสนับสนุนการเผยแผ่หลักธรรมและการสร้างศาสนวัตถุอีกด้วยนอกจากพระราชกรณียกิจทางด้านพระศาสนาแล้วยังมีความสำคัญเช่นกันคือทรงส่งเสริมความเจริญทางภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่นคือการประดิษฐ์อักษรไทยหรือลายสือไทยเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการประดิษฐ์ลายสือไทยจนถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของพระองค์อีกด้วยและเนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ปวงชนชาวไทยจึงยกย่องให้พระองค์ทรงเป็น"มหาราช" พระองค์แรกแห่งประวัติศาสตร์ไทย

ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงสมัยรัชกาลที่ 4
ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงราชการ ร.ศ. 129
ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129
ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)
ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ที่มา:

การผังเมือง กระทรวงมหาดไทย,กรม. การผังเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป,(2542).

กำธร กุลชล และคณะ.วิวัฒนาการทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันออก: ตั้งแต่เริ่มสร้างงกรุงจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง. วารสาร ม. ศิลปากร ฉบับ พิเศษ กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี.กรุงเทพฯ: 2525, . 221 – 243.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์. ถิ่นกำเนิดชนชาติไท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

ชิน อยู่ดี. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2510.

ชำระประวัติศาสตร์ไทย,กรม. รายพระนามพระมหากษัตริย์อยุธยา.ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2515.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. หนังสือเรียน สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2 ( 32101). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2547.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. คู่มือครู สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2551.

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ราชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอเดีย สแควร์. 2546.

ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. (2545).

นิธิ เอียวศรีวงศ์.การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท พิฆเนศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำำกัด, 2536

เนตรนิมิต.ประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมาและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์.นครราชสีมา: หจก. มิตรภาพการพิมพ์1995, 2547

บังอร ปิยะพันธ์.ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์.พิมพ์ครั้งแรก, กรุงสยามการพิมพ์,สิงหาคม 1433

พลับพลึง คงชนะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์. 2543.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปากร,กรม.โบราณคดีประวัติศาสตร์.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2529.

สุด แสงวิเชียร. เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, (2517).

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ประวัติศาสตร์ ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, มปป.