ประเทศไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2475
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การสร้างเมืองจำลองดุสิตธานีขึ้นใน
พ.ศ. 2461 ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ประกอบด้วยพระราชวัง รัฐบาล วัดวาอาราม
ส่วนราชการ โรงทหาร โรงเรียน โรงหมอ ตลาดร้านค้า ธนาคาร โรงละคร
ประมาณเกือบสองร้อยหลัง เพื่อเป็นแบบทดลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ซึ่งดัดแปลงรูปแบบมาจากธรรมนูญการปกครองเทศบาลอังกฤษ
ทดลองการปกครองตนเองให้กับราษฎร และข้าราชการ ภายในมีการจัดตั้งพรรคการเมือง
และดำเนินการเลือกตั้งตาม “ธรรมนูญลักษณะการปกครองนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พ.ศ.
2461” โดยกำหนดเป็นการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบ “เทศบาล” หรือ “นคราภิบาล” ปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยจัดตั้ง “สุขาภิบาล” มีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบัน
โดยจัดตั้งครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครและท่าฉลอม ต่อมาได้ตรา “พระราชบัญญัติสุขาภิบาล
พ.ศ. 2485” โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็นสุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล
ท้องถิ่นใดเหมาะสมกับสุขาภิบาลประเภทใดก็ประกาศตั้งเป็นประเภทนั้น
|
เมืองจำลองดุสิตธานี |
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
จำนวนประชากรในเขตชั้นในเพิ่มสูงขึ้น
โดยเฉพาะในเขตเมืองชั้นในตอนใต้ซึ่งมีกิจกรรมของชุมชนเมืองหลากหลาย
มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างหนาแน่น
เริ่มมีการขยายตัวของกิจกรรมบางประเภทลงไปทางตอนใต้สุดของพื้นที่ ได้แก่ ท่าเรือ
อู่เรือ โรงเลื่อย โรงสี สลับกับสวนผลไม้
และส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินเป็นที่นา สำหรับส่วนอื่น ๆ
การกระจายตัวเกาะติดไปตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่
การพัฒนาเมืองที่สำคัญในช่วงนี้อยู่ในเขตอำเภอชั้นนอก คือ
การตัดถนนประชาราษฎร์เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไปทางทิศเหนือ
และการตัดถนนสุขุมวิทจากบริเวณวังสระปทุมทอดยาวไปทางทิศตะวันออก
ทำให้การขยายตัวของเมืองเกาะตามถนนสายหลักทั้ง 2 นี้ ก่อให้เกิดชุมชนหลักในเขตอำเภอชั้นนอก คือ ชุมชนบางซื่อทางเหนือ
ซึ่งประกอบด้วยสถานีรถไฟกรมทหารและโรงปูนซิเมนต์ และชุมชนทางทิศตะวันออก คือ
ชุมชนบางกะปิเป็นที่อยู่อาศัย
การยกร่าง “พระราชบัญญัติเทศบาล” ที่ส่งเสริมให้ราษฎรในท้องถิ่นปกครองตนเอง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7) แต่มิได้ออกบังคับใช้ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยใน
พ.ศ. 2475 กลุ่มทหารและพลเรือน เรียก “คณะราษฎร” ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้อัญเชิญ
ร.7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ
มีการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (ภาษาอังกฤษ: Siamese revolution of 1932)
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยาม
เปลี่ยนรูปแบบประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง
ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกันขึ้น เป็นพรรคการเมืองแรกของสยาม
เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร"
โดยเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าว
ยังทำให้ประชาชนชาวสยาม ได้รับรัฐธรรมนูญฉบับแรกอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายด้าน
แต่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งสร้างความไม่พอใจในหมู่พวกหัวก้าวหน้าและพวกหัวรุนแรง
ในปี พ.ศ. 2454 ได้เกิดกบฏ
ร.ศ. 130
ซึ่งดำเนินการโดยคณะนายทหารหนุ่ม แต่ล้มเหลว
เป้าหมายของคณะคือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและล้มล้างระบอบเก่าและแทนที่ด้วยระบบรัฐธรรมนูญตะวันตกที่ทันสมัย
และอาจต้องการเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นด้วยการปฏิวัติดังกล่าวล้มเหลวและผู้ก่อการถูกจำคุก
นับแต่นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงละเลิกความพยายามส่วนใหญ่ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและทรงปกครองประเทศต่อไปภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
โดยมีข้อยกเว้นบ้างที่โปรดฯ แต่งตั้งสามัญชนบางคนสู่สภาองคมนตรีและรัฐบาล
|
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา |
ต่อมา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงสืบราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐาเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
พระองค์ทรงสืบช่วงปกครองประเทศในวิกฤตการณ์
พระเชษฐาของพระองค์ทรงได้ทำให้สถานะของประเทศเกือบจะล้มละลาย
เพราะทรงมักจะใช้เงินจากกองคลังมาปกปิดการขาดดุลของท้องพระคลังข้างที่
และข้อเท็จจริงยังมีว่ารัฐและประชาชนถูกบังคับให้จ่ายเงินแก่พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ซึ่งมีวิถีชีวิตอันหรูหราฟุ่มเฟือย
พระองค์ได้ทรงรีบจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเป็นองค์กรหลักในการปกครองรัฐ
เพื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้กลายเป็นว่าเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เห็นอกเห็นใจ
โดยทรงตัดรายจ่ายในพระราชวังและเสด็จพระราชดำเนินทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง
และเมื่อเสด็จกลับมายังพระนคร
พระองค์ทรงทำให้เป็นที่ยอมรับและโดดเด่นแก่หมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครซึ่งเติบโตขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยทรงประกอบพระราชกรณียกิจสาธารณะหลายอย่าง
จนถึงเวลานี้ นักเรียนหลายคนที่ถูกส่งไปศึกษา ณ
ต่างประเทศเมื่อหลายทศวรรษก่อนได้เริ่มเดินทางกลับประเทศแล้ว
แต่นักเรียนเหล่านี้กลับขาดโอกาส
การตั้งมั่นโดยพระบรมวงศานุวงศ์และความล้าหลังของประเทศ
ซึ่งที่สุดแล้วได้กลายมาขจัดภาพลวงตาของสถานะเดิมมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึง พ.ศ.
2473
สถานการณ์โลกได้ทวีความเลวร้ายมากขึ้นเกินกว่าที่ประเทศจะสามารถรับไหวเมื่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่มและความล่มสลายทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบมาถึงสยาม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไปและภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนยากจน
แต่นโยบายดังกล่าวถูกปฏิเสธอย่างรุนแรงจากสภา
ซึ่งสภาได้เปลี่ยนไปลดค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนและลดงบประมาณด้านการทหารแทน
ทำให้ชนชั้นสูงในประเทศส่วนใหญ่และโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายทหารโกรธมาก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงยอมรับว่าพระองค์ทรงขาดพระราชกรณียกิจด้านการคลังอย่างเปิดเผย
พยายามต่อสู้กับพระบรมวงศานุวงศ์ที่อาวุโสกว่าในประเด็นดังกล่าว
แต่ก็สำเร็จเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนพระราชปณิธานไปเป็นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จะนำประชาธิปไตยเข้าสู่สยาม
ด้วยความช่วยเหลือจากพระบรมวงศานุวงศ์อีกสองพระองค์และที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศชาวอเมริกัน
เรย์มอนด์ บาร์ทเล็ตต์ สตีเฟนส์
ถึงแม้ว่าจะได้รับการกราบทูลทัดทานว่าประชาชนสยามยังไม่พร้อม
แต่พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะมอบรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนก่อนงานเฉลิมฉลองครบรอบ 150
ปีราชวงศ์จักรี ในปี พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ตาม
เอกสารดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธโดยพระบรมวงศานุวงศ์ในอภิรัฐมนตรีสภา
เมื่อสิ้นเดือนเมษายน พ.ศ.
2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากกรุงเทพมหานครในช่วงเสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน
โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
โดยพระองค์เสด็จไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อาจกล่าวได้ว่า "กบฏ ร.ศ. 130" เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร
ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว
พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ
ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ
ร.ศ. 130"
ตัวหลวงสินธุฯ
เองนั้นได้เกณฑ์กะลาสีเรือติดอาวุธ 500 นายพร้อมที่จะยึดพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งตั้งอยู่ ณ
ใจกลางพระนครและเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต หลังจากนั้น ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งการนายทหารเสนาธิการหนุ่มและได้สั่งยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร
ซึ่งมีหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) รวมอยู่ด้วย
การสื่อสารทั้งหมดระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโสจึงถูกตัดขาด
บ้านพักทั้งหมดยังได้อยู่ภายใต้การตรวจตราและเฝ้าระวังโดยสมาชิกคณะราษฎรทั้งพลเรือนและทหาร
ถึงแม้ว่าจะมีการระมัดระวังล่วงหน้าและการเตรียมการไว้ทั้งหมดแล้วก็ตาม
ข่าวของแผนการดังกล่าวก็ยังได้รั่วไหลไปถึงตำรวจ ในช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน
พ.ศ. 2475 อธิบดีตำรวจได้โทรศัพท์ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
โดยกราบทูลขออำนาจในการจับกุมและจำคุกทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแผนการดังกล่าว
พระองค์ดำริว่าผู้ก่อการหลายคนเป็นผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจมาก
จึงทรงตัดสินพระทัยเลื่อนพระบรมราชโองการออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น
การเลื่อนคำสั่งนี้จะมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ก่อการทั้งหลาย
ในช่วงเย็นวันเดียวกัน
หนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนของหลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
ในกองทัพเรือได้เกณฑ์เรือปืนจากอู่เรือขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และเมื่อถึงตอนเช้าก็ได้เล็งปืนเรือตรงเข้าใส่พระราชวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตในกรุงเทพมหานคร ตัวหลวงสินธุฯ
เองนั้นได้เกณฑ์กะลาสีเรือติดอาวุธ 500 นายพร้อมที่จะยึดพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งตั้งอยู่ ณ
ใจกลางพระนครและเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต หลังจากนั้น ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งการนายทหารเสนาธิการหนุ่มและได้สั่งยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร
ซึ่งมีหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) รวมอยู่ด้วย
การสื่อสารทั้งหมดระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโสจึงถูกตัดขาด
บ้านพักทั้งหมดยังได้อยู่ภายใต้การตรวจตราและเฝ้าระวังโดยสมาชิกคณะราษฎรทั้งพลเรือนและทหาร
เมื่อถึงเวลาประมาณ 04.00 น.
ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้ดำเนินการตามแผนการในส่วนของตนเรียบร้อยแล้ว
พระยาพหลพลพยุหเสนาและผู้สนับสนุนบางส่วนได้รวมตัวกันใกล้กับพระที่นั่งและรอคอยสัญญาณขั้นต่อไป
ขณะที่พระยาทรงสุรเดชเดินทางไปกับผู้สมคบคิดจำนวนหนึ่งไปยังค่ายทหารของกรมทหารม้าที่
1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่เก็บยานยนต์หุ้มเกราะส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
เมื่อมาถึง
พระยาทรงสุรเดชได้กล่าวตำหนินายทหารผู้รับผิดชอบค่ายที่กำลังหลับอยู่ขณะที่มีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นในพระนคร
ทั้งหมดเกิดขึ้นขณะกำลังเปิดประตูค่ายทหารและมีการระดมทหารทั้งหมด
อุบายดังกล่าวเป็นผล และแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางความสับสนและความโกลาหล
พระประศาสน์พิทยายุทธสามารถจับกุมผู้บัญชาการกรมทหารได้และนำตัวไปคุมขัง หลวงพิบูลสงครามได้รับคำสั่งให้เฝ้านักโทษ
ยานยนต์หุ้มเกราะ รวมไปถึงรถถังจำนวนหนึ่ง
ถูกเกณฑ์และทั้งหมดได้รับคำสั่งให้มุ่งหน้าไปยังพระที่นั่ง พระยาฤทธิ์อัคเนย์
หลังจากทราบข่าวความสำเร็จของพระยาทรงสุรเดช
ได้เดินทางไปยังค่ายทหารของกรมทหารราบที่ 1
และหลังจากเรียกระดมเหล่าทหารราบได้สำเร็จแล้ว
ก็ได้มุ่งหน้าไปยังพระที่นั่งด้วยเช่นกัน
ทหารในพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมกับผู้ก่อการด้วยเช่นกัน
เนื่องจากได้รับคำสั่งหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ากำลังจะมีการฝึกซ้อมทางทหารเกิดขึ้น
และไม่ทราบเลยว่าพวกตนจะเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติ
ทหารหน่วยอื่นที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ตัดสินใจที่จะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใด
ๆ โดยการเก็บตัวอยู่ในกรมกอง
เมื่อทหารราบและทหารม้ามาถึงลานพระราชวังดุสิตหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อเวลาราว
6.00 น. ก็ได้มีกลุ่มประชาชนเนืองแน่นเฝ้าดูทหารที่มาชุมนุมนั้น
ความสับสนเกิดขึ้นท่ามกลางผู้ที่มาชุมนุมนั้น
หลายคนไม่เชื่อทั้งหมดว่ามีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นจริง
หรือว่าทหารมาชุมนุมที่จัตุรัสนี้เพื่อการฝึกซ้อมเท่านั้น พระยาพหลพลพยุหเสนาปีนขึ้นไปบนยอดรถหุ้มเกราะคันหนึ่งและอ่านประกาศคณะราษฎร
ซึ่งเป็นแถลงการณ์ประกาศถึงจุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและการสถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม
ผู้ก่อการเปล่งเสียงด้วยความยินดี ตามมาด้วยเหล่าทหาร
ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นการคล้อยตามมากกว่าความเข้าใจในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด
แท้ที่จริงแล้ว
พระยาพหลพลพยุหเสนาเพียงแต่ขู่ขวัญเท่านั้น
ความสำเร็จของการปฏิวัติยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่อื่นของกรุงเทพมหานคร
พระประศาสน์พิทยายุทธถูกสั่งไปยังบ้านพักของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสมาชิกระดับสูงคนอื่น ๆ ในรัฐบาลและพระบรมวงศานุวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิตขณะกำลังทรงฉลองพระองค์บรรทมเมื่อพระองค์ทรงถูกจับกุม
ไม่มีผู้ใด ยกเว้นผู้บัญชาการเหล่าทหารบกที่หนึ่ง ต่อสู้ขัดขืนแม้เพียงเล็กน้อย
มีการสู้กันเกิดขึ้นและนายทหารคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
แต่สุดท้ายก็ถูกนำตัวไปคุมขัง
และกลายมาเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่ได้รับบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติ
หากนับทั้งหมดแล้ว มีเจ้าหน้าที่ทางการเกือบ 40 คนถูกจับกุมและถูกกักขังไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม
เว้นเสนาบดีว่าการกระทรวงพาณิชย์และการสื่อสาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ผู้ซึ่งได้ทรงหลบหนีไปทางหัวรถจักรเพื่อไปกราบบังคมทูลเตือนพระมหากษัตริย์ที่หัวหิน
เมื่อถึงเวลา 8.00 น. ปฏิบัติการยึดอำนาจได้เสร็จสิ้นและผู้ก่อการประสบความสำเร็จ
เจ้าหน้าที่รัฐทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนส่วนใหญ่ต่อสู้ขัดขืนเพียงเล็กน้อย
เพราะพวกเขาคุ้นชินกับการรับคำสั่งและสายการสื่อสารถูกตัดขาด
พวกเขาจึงไม่สามารถทำอะไรได้ ขั้นต่อไปของการปฏิวัติเหลือเพียงแต่สายพลเรือนของคณะราษฎร
หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน ด้วยความช่วยเหลือจากผู้สนับสนุน
ได้แจกจ่ายใบปลิวและแผ่นพับโฆษณาชวนเชื่อ
ตลอดจนการกระจายเสียงทางวิทยุซึ่งทั้งหมดสนับสนุนการปฏิวัติทั้งสิ้น
ข้อความในประกาศคณะราษฎรซึ่งเขียนขึ้นโดยหลวงประดิษฐมนูธรรมวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง
|
คณะราษฎร |
อารมณ์ของประกาศคณะราษฎรแตกต่างกันมากกับอารมณ์ของโทรเลขที่ถูกส่งไปให้แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งลงนามโดยพันเอกและทหารเสือทั้งสามนาย
ได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา,
พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิ์อัคเนย์
โทรเลขนี้ใช้ราชาศัพท์มีใจความว่า
หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงปรารถนาที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
คณะราษฎรจะเต็มใจถอดพระองค์ออกและแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น
แต่ถึงแม้ว่าจะใช้ราชาศัพท์ก็ตาม โทรเลขดังกล่าวย้ำพระองค์ด้วยถ้อยคำแข็งกร้าวว่าหากสมาชิกคณะราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ
พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกคุมขังก็จะทรงทรมานไปด้วย
การปกครองระบอบใหม่
เมื่อถึงช่วงเย็นของวันที่ 24
มิถุนายน ผู้ก่อการรู้สึกมั่นใจพอที่จะเรียกประชุมรัฐมนตรีอาวุโส ในการประชุมนั้น
ปรีดีพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมให้ข้าราชการพลเรือนอาวุโสสนับสนุนคณะราษฎร
โดยขอการสนับสนุนคณะและบอกให้พวกเขายังคงสามัคคี
มิฉะนั้นแล้วการแสดงออกซึ่งความสับสนอาจนำไปสู่การแทรกแซงจากต่างชาติได้
ปรีดีขอให้กระทรวงการต่างประเทศส่งข่าวไปยังคณะทูตต่างประเทศทั้งหมดโดยกล่าวว่าคณะราษฎรให้คำมั่นว่าจะคุ้มครองชีวิตและธุรกิจของชาวต่างชาติและบรรลุพันธกรณีตามสนธิสัญญาของสยาม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงกรุงเทพมหานครในวันที่
26 มิถุนายน สิ่งที่พระองค์ทรงทำในทันทีคือการเรียกผู้ก่อการเข้าพบ
เมื่อสมาชิกเข้ามาถึงห้องแล้ว พระองค์ทรงลุกขึ้นประทับยืนและตรัสทักทายว่า
"ข้าพเจ้ายืนขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะราษฎร"
นี่เป็นพระราชอิริยาบถที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากในวัฒนธรรมสยาม
พระมหากษัตริย์จะทรงประทับนั่งเสมอและประชาชนจะถวายบังคับ มิใช่กลับกัน
ปรีดีจึงได้กราบทูลพระกรุณาจากพระองค์ที่ได้หมิ่นพระเกียรติในประกาศคณะราษฎร
และหลังจากนั้น ประกาศคณะราษฎรทุกเล่มได้ถูกนำกลับ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตอบสนองพฤติการณ์ดังกล่าวโดยการประทับตราบนเอกสารพระราชทานอภัยโทษแก่สมาชิกคณะราษฎรทุกคนจากการปฏิวัติดังกล่าว
จากนั้นคณะราษฎรได้ปล่อยตัวประกันทั้งหมดโดยกเว้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ผู้ซึ่งทางคณะพิจารณาว่ามีพระราชอำนาจมากเกินไปและกราบทูลขอให้พระองค์เสด็จออกนอกประเทศแทน
พระองค์เสด็จไปยังเกาะชวาและไม่เคยเสด็จกลับมาประเทศเลย
ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นเสด็จออกนอกประเทศโดยสมัครใจไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น
ๆ และบางพระองค์เสด็จไปยังทวีปยุโรป
ผลที่ตามมาในทันทีหลังจากการปฏิวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะราษฎรได้เริ่มจัดการเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ประชาชนชาวสยาม
พระราชบัญญัติธรรมนูญชั่วคราวมีการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เมื่อวันที่
27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อเวลา 5.00 น.
ซึ่งเป็นเอกสารร่างเขียนขึ้นล่วงหน้าไว้แล้วโดยปรีดี
ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม แม้ว่าจะยังเป็นเพียงฉบับชั่วคราวอยู่ก็ตาม
ข้อความในรัฐธรรมนูญเริ่มต้นมาตรา 1 ความว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย"
รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยยกเลิกพระราชอำนาจที่มีมาแต่โบราณ
อาทิ พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ
และพระราชสิทธิในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท หรือจะกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวจำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์
โดยยังมิได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ไปเท่านั้น รัฐธรรมนูญยังได้จัดตั้งคณะกรรมการราษฎรเป็นฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คน
|
พระบาทสมเด็จพระปกกล้าเจ้าอยู่หัว ประธานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 10 นายน 2475 |
อย่างไรก็ตาม
"ประชาธิปไตย" สำหรับสยามนั้น ถูกมอบให้แก่ประชาชนในรูปของการผ่อน
โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสามช่วง ช่วงแรก
สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจะถูกแต่งตั้งโดยสี่ทหารเสือเท่านั้น (ซึ่งเป็นฝ่ายทหาร)
สมาชิกรัฐสภาเหล่านี้จะใช้อำนาจแทนประชาชน และสมัยแรกมีกำหนดวาระหกเดือน
ช่วงที่สอง อันเป็นช่วงเวลาซึ่งประชากรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้จำต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
รัฐสภาจะถูกเปลี่ยนเป็นประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่กึ่งหนึ่ง
และอีกกึ่งหนึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาตามแบบประชาธิปไตยทางอ้อม
แต่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจะต้องได้รับการตรวจสอบจากคณะราษฎรก่อนการเลือกตั้งทุกครั้ง
ช่วงที่สามและช่วงสุดท้าย
พระราชบัญญัติธรรมนูญบัญญัติว่าการเป็นตัวแทนประชาธิปไตยเต็มตัวในรัฐสภานั้นจะบรรลุได้เฉพาะเมื่อเวลาผ่านไปแล้วสิบปีหรือประชากรมากกว่ากึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาเกินกว่าระดับประถมศึกษา
แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดก่อน
สมัยประชุมแรกของรัฐสภาผู้แทนราษฎรประชุมกันในพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ตาม
พระราชบัญญัติธรรมนูญดังกล่าวก็ไม่ได้มีอายุยาวนานอะไรนัก เมื่อถึงปลายปีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรและมีความเป็นสายกลางมากขึ้น
ก็ได้มีผลใช้บังคบแทนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้คืนพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์หลายประการจากเดิมที่เคยถูกจำกัดภายใต้พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับก่อน
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระมหากษัตริย์นั้น "ศักดิ์สิทธิ์และจะล่วงละเมิดมิได้"
สภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 156 คน เลือกตั้ง 76 คน และอีก 76
คนได้รับการแต่งตั้ง
การจำกัดประชาธิปไตยถูกยกเลิกและรัฐบาลมีกำหนดจะจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในเดือนตุลาคม
พ.ศ. 2476
สิ่งที่ตามมา
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์นี้เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ
ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร นิยมเรียกกันว่า หมุดคณะราษฎร
มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง
คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"
|
หมุดคณะราษฎร |
แม้ว่าปรีดีจะมีอุดมการณ์อันสูงส่งและได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมา
แต่รูปแบบประชาธิปไตยของเขาได้เผชิญกับสถานการณ์ลำบากแบบเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเผชิญ
ซึ่งเป็นปัญหาที่อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า สยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรในชนบท
ยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย ในไม่กี่วัน คณะราษฎรได้เปลี่ยนสยามไปเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว โดยมีสถาบันที่ชื่อฟังเหมือนคอมมิวนิสต์ อย่างเช่น "สภาประชาชน"
และตำแหน่ง "ประธานคณะกรรมการราษฎร" อย่างไรก็ตาม
คณะราษฎรแสดงออกซึ่งความเป็นสองพรรคเมื่อพวกเขาเสนอให้แต่งตั้งทนายความและองคมนตรี
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
เป็นประธานคณะกรรมการราษฎรคนแรก หรือนายกรัฐมนตรีคนแรกของสยาม
ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะออกนอกปฏิบัตินิยมและความเฉลียวฉลาดมากกว่าเจตนาอันมีเกียรติที่แท้จริง
ทว่า ความขัดแย้งภายในระหว่างรัฐบาลกับการกระทำของนายกรัฐมนตรีอนุรักษนิยมได้นำไปสู่รัฐประหารอีกครั้งในอีกหนึ่งปีต่อมา คือ ในเดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2476 นำไปสู่การแต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสยาม
การปฏิวัติดังกล่าวมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถูกจำกัดพระราชอำนาจและเอกสิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณ
แม้จะทรงได้รับถ้อยคำที่อบอุ่นและเป็นมิตร
แต่พระองค์ก็ยังทรงอยู่ในความหวาดกลัวและทรงวิตกว่าการเผชิญหน้าระหว่างพระองค์กับคณะราษฎรในภายภาคหน้าจะทำให้พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินีจะทรงได้รับอันตราย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2475
พระองค์ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระนัดดา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
เกี่ยวกับการตัดสินพระทัยเสด็จกลับกรุงเทพมหานครว่า "...
เราทั้งหมดต่างก็ค่อนข้างรู้ดีว่าเราอาจกำลังจะตาย"
บทบาทที่ไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและความไม่พอใจต่อการยึดอำนาจของพระยาพหลพลพยุหเสนาลงเอยด้วยรัฐประหารซ้อน
ที่เรียกว่า กบฏบวรเดช ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มนิยมเจ้าในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 นำโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
และเจ้านายอีกหลายพระองค์ที่สูญเสียอิทธิพลและตำแหน่งไปยังถาวรเนื่องจากการปฏิวัติและคณะราษฎร
กบฏดังกล่าวล้มเหลว
และแม้จะไม่มีหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าแทรกแซง
แต่การวางพระองค์เป็นกลางและการตัดสินพระทัยที่ไม่เด็ดขาดระหว่างความขัดแย้งช่วงสั้น
ๆ นี้ทำให้พระองค์สูญเสียความเชื่อมั่นและบารมี ทำให้สามปีหลังการปฏิวัติ
พระองค์ทรงสละราชสมบัติและเสด็จออกนอกประเทศโดยไม่เสด็จกลับมาอีกเลย
คณะราษฎร
คณะราษฎร (มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ
กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม
พ.ศ. 2475
ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย
เบื้องหลัง
ราชอาณาจักรสยามปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชาติได้ประสบกับปัญหาซึ่งเกิดจากรัฐบาลต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรงและภัยคุกคามจากต่างชาติ
(จักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิฝรั่งเศส) นอกจากนี้ ประเทศยังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่เมื่อชาวเมืองและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครเริ่มขยายจำนวนขึ้น
และเริ่มแสดงความต้องการสิทธิเพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล
และวิจารณ์ว่ารัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ
คณะราษฎรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ในทวีปยุโรป โดยเริ่มต้นจากปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย และประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์
ก่อนที่จะหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่
1.
ปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส
2.
ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์
ประเทศฝรั่งเศส
3.
ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ
นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
4.
ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี
นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
5.
ตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
6.
หลวงศิริราชไมตรี (จรูญ
สิงหเสนี) ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
7.
แนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ
และได้ทำการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่
9 ถนนซอมเมอราร์ด ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ซึ่งติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน และได้ตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย
โดยตกลงที่ใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน"
รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติรัสเซีย
ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น
คือ อังกฤษและฝรั่งเศส
ในการประชุมครั้งนั้น
กลุ่มผู้ก่อการได้ตั้งปณิธานในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้สยามบรรลุเป้าหมาย
6 ประการ ซึ่งต่อมาหลังจากปฏิวัติยึดอำนาจได้แล้ว ก็ได้ประกาศเป้าหมาย 6
ประการนี้ไว้ในประกาศคณะราษฏร ฉบับที่ 1 และต่อมาได้เรียกว่าเป็น "หลัก 6 ประการของคณะราษฎร" โดยหลัก 6
ประการนั้นคือ
1.
จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น
เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.
จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ
ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.
จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย
รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ
ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.
จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
5.
จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6.
จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
และที่ประชุมได้ลงมติให้ปรีดี
พนมยงค์ เป็นหัวหน้า จนกว่าจะหาผู้ที่เหมาะสมกว่าได้
หลังจากการประชุมนั้น
เมื่อคณะผู้ก่อการได้กลับมาประเทศสยาม
ก็ได้พยายามหาสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการก่อการปฏิวัติ โดยได้ติดต่อประชาชนทุกอาชีพ
ทั้งพ่อค้า ข้าราชการพลเรือน และทหาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูงที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกันมานานก่อนหน้านี้
4-5 ปีแล้ว จนได้สมาชิกทั้งสิ้น 115 คน แบ่งเป็นสายต่าง ๆ คือ
- สายพลเรือน
นำโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
- สายทหารเรือ
นำโดย นาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์
กมลนาวิน)
- สายทหารบกชั้นยศน้อย
นำโดย พันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)
- และสายนายทหารชั้นยศสูง
นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
โดยที่ประชุมคณะราษฎรตกลงกันว่า
ในเรื่องของการปฏิวัติ ตลอดจนสถาปนาความมั่นคง และความปลอดภัยของบรรดาสมาชิก
และของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหาร และในส่วนของการร่างคำประกาศ ตลอดจนการร่างกฎหมาย
และการวางเค้าโครงต่าง ๆ ของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน
สมาชิกคณะราษฎร
สมาชิกคณะราษฎรแบ่งเป็นสามสายคือ
สายทหารบก สายทหารเรือ สายพลเรือน โดยสมาชิกที่สำคัญในการก่อตั้งคณะราษฎร
ในแต่ละสายได้แก่
- สายทหารบก: พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน),
พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน), พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ), พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น),
และ หลวงพิบูลสงคราม (แปลก
ขีตตะสังคะ)
- สายทหารเรือ: หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน),
หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย), หลวงสังวรยุทธกิจ (สังวรณ์ สุวรรณชีพ),
และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
(ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)
- สายพลเรือน: หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์),
หลวงศิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์), ตั้ว
ลพานุกรม, แนบ พหลโยธิน, ทวี
บุณยเกตุ, และประยูร ภมรมนตรี
ซึ่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้ว
นับว่าคณะราษฎรได้มีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงในทางการเมืองและสังคมของประเทศไทย
เป็นระยะเวลายาวนานถึง 25 ปี จนกระทั่งมาหมดบทบาทอย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2500
จากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม้สมาชิกคณะราษฎรหลายคนจะยังมีชีวิตอยู่
และยังอยู่ในเส้นทางสายการเมืองก็ตาม
แต่ก็มิได้มีบทบาทอย่างสูงเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว
ปัจจุบันสมาชิกคณะราษฎรทั้งหมดเสียชีวิตแล้ว
โดยคนสุดท้ายที่เสียชีวิตคือ ร.ท.กระจ่าง
ตุลารักษ์
เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอายุ 98 ปี
ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร
ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร
แสดงถึงเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี พ.ศ. 2469 ไปจนถึง พ.ศ. 2503
เหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะถูกเรียกว่าอย่างไรก็ตาม
(บ้างก็เรียก "การยึดอำนาจ" "การเปลี่ยนแปลงการปกครอง"
"การปฏิวัติ" หรือ "การอภิวัฒน์")
เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก
และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด
อย่างไรก็ตาม
ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475
การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง
ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบเก่า กับระบอบใหม่ หรือความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง
โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า
25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา
จนถือว่าหมดอำนาจทั้งในทางการเมืองและในทางสัญลักษณ์อุดมการณ์ เมื่อวันชาติ 24
มิถุนายน ซึ่งระลึกถึงวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถูกยกเลิกใน พ.ศ. 2503
ลำดับเหตุการณ์ก่อนการปฏิวัติ (พ.ศ.
2469-2475)
พ.ศ. 2469
- 5 กุมภาพันธ์ - คณะราษฎรได้ถูกจัดตั้ง
และประชุมครั้งแรก ที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน คือ
1.
ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี (นายทหารกองหนุน
อดีตผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 6)
2.
ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ
(นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส)
3.
ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี
(นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส)
4.
นายตั้ว ลพานุกรม
(นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์)
5.
หลวงสิริราชไมตรี
(ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส)
6.
นายแนบ พหลโยธิน (เนติบัณฑิตอังกฤษ)
7.
นายปรีดี พนมยงค์
(ดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ ฝรั่งเศส)
การประชุมกินเวลานานถึง 5 วัน
และลงมติให้นายปรีดีเป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎร
จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นในกาลต่อไป
พ.ศ. 2474
- 19 มิถุนายน - พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ลาออกจากตำแหน่ง
หลังจากมีความขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
อภิรัฐมนตรี ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เปิดโอกาสอย่างมากให้แก่คณะราษฎร
พ.ศ. 2475
- 12 มิถุนายน - คณะราษฎรได้วางแผนการที่บ้าน
ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เพื่อจะดำเนินการควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
- 24 มิถุนายน -
คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย
ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
ลำดับเหตุการณ์หลังการปฏิวัติ (พ.ศ.
2475-2503)
พ.ศ. 2475
- 25 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร
โดยทางรถไฟ ถึงสถานีจิตรลดา เวลา 0.37 น. เข้าวันอาทิย์ที่ 26 มิถุนายน
- 26 มิถุนายน -
เวลา 11.00 น. คณะราษฎรจำนวน 6 นาย ประกอบด้วย พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
พ.ต.หลวงวีระโยธิน หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ร.ท.ประยูร
ภมรมนตรี นายจรูญ ณ บางช้าง นายสงวน ตุลารักษ์ และมี พล.ร.ต.พระศรยุทธเสนี
เป็นผู้นำเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- 27 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว"
ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ ซึ่งปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ร่าง
- 28 มิถุนายน - สภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก
ตามธรรมนูญการปกครองประเทศชั่วคราว มีสมาชิก 70 คน โดยแต่งตั้งจากคณะราษฎร 31
คน และจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ในระบอบเดิม 39 คน ทำการเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร
(เทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนแรกของประเทศไทย) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และมีปรีดี พนมยงค์ เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก
- 25 สิงหาคม -
คณะราษฎรโดย พระยานิติศาสตร์ไพศาล จดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร
ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย
(เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีบัญญัติคำว่า "พรรคการเมือง")
- 10 ธันวาคม - รัฐธรรมนูญฉบับถาวรผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้บริหารชุดใหม่ในนามใหม่ คือ
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน 20 นาย (โดยไม่ได้ใช้ชื่อตำแหน่งว่า
ประธานคณะกรรมการราษฎร และ กรรมการราษฎร อีกต่อไป)
คณะบริหารชุดใหม่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี
และมีรัฐมนตรีประจำกระทรวง 7 กระทรวง และรัฐมนตรีลอยอีก 13 คน
- 15 มีนาคม -
นายปรีดีเสนอ "เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ" หรือที่เรียกกันว่า
"สมุดปกเหลือง"
เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลักสำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
|
พ.อ. พระยาพหลฯ หัวหน้้าคณะราษฎรานแถลงการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ณ พระสนามพระบรมรูปทรงม้า 24 มิถุนายน 2475 |
พ.ศ. 2476
- 1 เมษายน -
มีพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา
(บางข้อมูลอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการยึดอำนาจตัวเอง
เพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่
- 2 เมษายน -
พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ถูกประกาศใช้ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง (ในที่นี้
อาจหมายถึง คณะราษฎร เพราะนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอยู่ตรงข้ามกับคณะราษฎร)
- 12 เมษายน -
นายปรีดีถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังฝรั่งเศส
เนื่องจากความเห็นของนายปรีดีถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ ที่เจ้าและขุนนางต้องเสียผลประโยชน์
- 10 มิถุนายน -
พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์
ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก
- 20 มิถุนายน - พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาทำการยึดอำนาจพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี
หลังจากการรัฐประหารได้มีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
- 29 กันยายน -
นายปรีดี พนมยงค์เดินทางกลับสยาม และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 11 ตุลาคม - กบฏบวรเดช:
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล
เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์
ฤทธิเดชฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดี
พนมยงค์ ("สมุดปกเหลือง") โดยออกเป็นสมุดปกขาว
แต่กระทำการไม่สำเร็จ
- 23 ตุลาคม -
นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารจากกองพันทหารราบที่
6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา
- 25 ตุลาคม -
พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและพระชายา
ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส
- 7 พฤศจิกายน -
ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ
อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล (ในที่นี้ อาจหมายถึง
ฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎร)
- 16 ธันวาคม -
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี
และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาแบบ 2 ชั้น (1 ตุลาคม
- 15 พฤษภาคม)
- 25 ธันวาคม - หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่นายปรีดี
เป็นคอมมิวนิสต์ ได้ลงมติว่าตัวนายปรีดี มิได้เป็นคอมมิวนิสต์
พ.ศ. 2477
- 2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ
ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ
- 2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่
8 แห่งราชจักรีวงศ์ ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา 5 เดือน 10 วัน
ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- 13 กันยายน -
รัฐบาลลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาเรื่องสัญญาการจำกัดยาง
- 22 กันยายน -
ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายปรีดี พนมยงค์
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2479
- 14 ตุลาคม -
เปิด อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ที่บางเขน (ปัจจุบันเรียกเพียงว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่")
พ.ศ. 2480
- 27 กรกฎาคม -
พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จากกรณีอื้อฉาวที่มีกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลังข้างที่มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ
เพื่อเป็นแสดงความบริสุทธิ์และแสดงให้เห็นถึงความไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว
- 5 สิงหาคม - จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
รับสนองพระบรมราชโองการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยนามประเทศ
โดยให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และเปลี่ยนคำว่า "สยาม"
ให้เป็น "ไทย" แทน โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงหลักการของ "ลัทธิชาติ-ชาตินิยม"
ว่า "รัฐบาลเห็นควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ
ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน"
- 7 พฤศจิกายน -
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ไทย
พ.ศ. 2481
- 18 กรกฎาคม -
รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม
2481 เรื่อง "วันชาติ" กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ
ซึ่งตรงกับวันที่ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- 1 สิงหาคม -
ประกาศใช้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ลงในราชกิจจานุเบกษา
- 11 กันยายน -
พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา
เนื่องจากรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงเรื่องการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำเสนอ
- 16 ธันวาคม -
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.
2484
- 8 ธันวาคม - สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย:
กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์และอีกหลายจังหวัดในภาคกลางที่ติดอ่าวไทย
- 11 ธันวาคม -
รัฐบาลไทยยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น
และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง
- 12 ธันวาคม - ม.ร.ว.เสนีย์
ปราโมช เอกอัครทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา
ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น
โดยต่อมาคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น นายปรีดี พนมยงค์ นายทวี บุณยเกตุ
นายควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมาร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ
เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาล
พ.ศ.
2486
- 8 มิถุนายน -
นายปรีดีได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้เป็นไปตามวิธีทางของรัฐธรรมนูญ
หลังจากรัชกาลที่ 8 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
แต่รัฐสภาก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง
พ.ศ.
2487
- 24 กรกฎาคม -
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ ที่ จอมพล ป. นำเสนอ
- 1 สิงหาคม - พลโท
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์
เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
- 24 สิงหาคม -
จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ.
2488
- 16 สิงหาคม -
นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ออกประกาศสันติภาพในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.
2485 เป็น "โมฆะ" ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย
และประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในการสถาปนาสันติภาพในโลกนี้
- 20 สิงหาคม -
รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง
เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่มีขึ้นในสมัยสงคราม
- 1 กันยายน -
นายทวี บุณยเกตุ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลรักษาการ
โดยมีอายุเพียง 17 วัน โดยรัฐมนตรีในรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสรีไทย
- 17 กันยายน -
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา
เพื่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
และได้ดำเนินการเจราเอาทหารอังกฤษและข้อตกลงสัญญาบางประการกับประเทศอังกฤษ
ภายหลังสงครามยุติ
เนื่องจากอังกฤษไม่ยอมรับสถานภาพของประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่น
- 27 กันยายน -
รัฐบาลเสนอพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อใช้จัดการกับ
จอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะ
- 15 ตุลาคม - ม.ร.ว.เสนีย์
ปราโมช ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
- 5 ธันวาคม -
นายปรีดี พนมยงค์ อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติประเทศไทยเพื่อทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองต่อไป
พ.ศ.
2489
- 1 มกราคม -
ม.ร.ว.เสนีย์ ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ
- 6 มกราคม -
มีการเลือกตั้งทั่วไป
- 31 มกราคม - นายควง
อภัยวงศ์ ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎร
ให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 และจัดตั้งรัฐบาลต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์
ปราโมช
- 18 มีนาคม -
นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เพราะแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร
เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ
- 24 มีนาคม -
นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี
- 5 เมษายน -
ม.ร.ว เสนีย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์
โดยนายควง เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ปราโมช ที่ยุบพรรคก้าวหน้ามารวมเป็นเลขาธิการพรรค และนายชวลิต อภัยวงศ์
เป็นรองเลขาธิการพรรค
- 9 พฤษภาคม -
รัฐสภามีรัฐพิธีลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 3
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระราชทานให้นายปรีดี พนมยงค์
นายกรัฐมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
- 9 มิถุนายน - เหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล:
นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า
ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระอนุชา
เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว
- 9 มิถุนายน -
ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดี
ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง
โดยการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"
ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ร้ายแรงมาก จนกลายเป็นกระแสข่าวลือ
และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
- 5 สิงหาคม -
การเลือกตั้งเพิ่มเติม
- 23 สิงหาคม -
พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.
2490
- 19 -26
พฤษภาคม - พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์
ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า "มหกรรม 7
วัน" การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์
ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น
แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น
แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
- 8 พฤศจิกายน -
พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม
นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และได้ทำการฉีกรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี พ.ศ. 2489 ทิ้ง จากเหตุการณ์รัฐประหารนี้
ทำให้นายปรีดี และ พล.ร.ต.ถวัลย์ฯ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา
ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร
นายปรีดีจึงเดินทางไปจีนแทน อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองฝ่ายนายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากเวทีการเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย
- 9 พฤศจิกายน -
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (หรือที่รู้จักกันว่า
"รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม") ในการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้
เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการยึดอำนาจแล้วทำลายรัฐธรรมนูญเดิมเสีย
- 10 พฤศจิกายน -
นายควง อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกเป็นวาระที่
3
พ.ศ.
2491
- 6 มกราคม -
การเลือกตั้งทั่วไป
- 29 มกราคม - พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาล
และนายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ
หลังจากกำลังทหารทำการยึดอำนาจและได้มีกำหนดให้เลือกตั้ง
- 6 เมษายน -
คณะทหารในกลุ่ม 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ได้บีบบังคับให้นายควงลาออกและ
แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
ในการรัฐประหารครั้งนี้ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง
เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะทหาร
และที่สำคัญการรัฐประหารนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์
ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง ส่งผลให้นายปรีดี
ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศตราบจนเสียชีวิต
พ.ศ.
2492
- 26 กุมภาพันธ์ -
กบฏวังหลวง: นายปรีดีเดินทางกลับเข้าเมืองไทย
และร่วมกับพรรคพวกกลุ่มหนึ่งพยายามยึดอำนาจคืน แต่ประสบความล้มเหลว
นายปรีดีจึงต้องหนีกลับไปประเทศจีนอีกครั้ง
- 4 มีนาคม - นายทองอินทร์
ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง สามใน "สี่เสืออีสาน"
ถูกยิงคารถระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ต้องหาโดยไม่มีตำรวจได้รับความบาดเจ็บสักคน
กลายเป็นที่มาของคดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492
พ.ศ.
2494
- 29 มิถุนายน - กบฏแมนฮัตตัน:
เกิดการกบฏเมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.อ.อานน บุญฑริกธาดา รน. และ
น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม จากเรือแมนฮัตตัน
ไปคุมขังไว้ที่เรือศรีอยุธยา
- 29 พฤศจิกายน - รัฐประหารเงียบ:
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
พ.ศ.
2495
- 26 กุมภาพันธ์ -
มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านคว่ำบาตรการเลือกตั้ง
จากเหตุที่ จอมพล ป. ทำการรัฐประหารตัวเอง
- 13 ธันวาคม -
นายเตียง ศิริขันธ์ หนึ่งใน "สี่เสืออีสาน"
ถูกฆ่ารัดคอและเผาศพทิ้งในสมัยรัฐบาลคณะรัฐประหาร
พ.ศ.
2498
- 17 กุมภาพันธ์ -
นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน ถูกประหารชีวิต
จากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8
พ.ศ.
2500
- 26 กุมภาพันธ์ -
รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดการเลือกตั้งทั่วไป
แต่ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ร่ำลือว่าสกปรกที่สุด เต็มไปด้วยการโกงจากฝ่ายรัฐบาล
ต้องนับคะแนนยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน
- 16 กันยายน -
คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญคือ
ฝ่ายรัฐบาลจัดการเลือกตั้งสกปรกจึงหมดความชอบธรรม
- 21 กันยายน -
คณะทหารที่ทำการยึดอำนาจ ได้แต่งตั้ง นายพจน์ สารสิน
อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา และเลขาธิการซีโต้
มาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวราวสามเดือน
เพื่อจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
พ.ศ.
2501
- 1 มกราคม - พลโทถนอม
กิตติขจร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก
- 20 ตุลาคม -
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ
พ.ศ.
2502
- 9 กุมภาพันธ์ -
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.
2503
- 21 พฤษภาคม -
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
"ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย" ยกเลิกวันชาติ 24
มิถุนายน
แล้วกำหนดให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน
และให้เปลี่ยนวันที่ 24 มิถุนายนไปเป็น "วันปลูกต้นไม้แห่งชาติ"
- 8 มิถุนายน -
รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 24
มิถุนายน เพราะไม่ได้เป็นวันชาติอีกต่อไปแล้ว
หมายเหตุ
- ในลำดับเหตุการณ์ข้างต้น
ระหว่างปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2503 ซึ่งปีพุทธศักราชมีการเปลี่ยนแปลงวันเริ่มศักราช
จากเดิมเริ่มต้นปีในวันที่ 1 เมษายน แต่หลังจากปี พ.ศ. 2483
ประเทศไทยได้ปรับวันขึ้นปีเป็นวันที่ 1 มกราคม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลในปีก่อน
พ.ศ. 2483 เกิดความสับสนในการเรียงลำดับ
การเมืองกับการพัฒนาเมือง
ในช่วงนี้เป็นระยะเวลาที่มีการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
โดยเฉพาะถนนหลักสายต่าง ๆ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยทางการเมืองในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
และป้องกันจากลัทธิคอมมิวนิสต์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนน
จึงมีความเกี่ยวพันกับความมั่นคงของประเทศ
ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างรากฐานทางการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย
- ถนนวิภาวดีรังสิต (Vibhavadi
Rangsit Road) หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ดินแดง - บรรจบทางหลวงหมายเลข 1
(อนุสรณ์สถานแห่งชาติ) เริ่มต้นตั้งแต่เขตพญาไท ผ่านพื้นที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จากจุดเริ่มต้นที่สามแยกดินแดง (จุดบรรจบถนนดินแดงและเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วน 1) สายดินแดง-ท่าเรือ) ถนนสายนี้ตัดผ่านสี่แยกสุทธิสาร (ตัดถนนสุทธิสาร) ห้าแยกลาดพร้าว (ตัดถนนพหลโยธิน โดยมีถนนลาดพร้าวมาบรรจบเป็นแยกที่ห้า) สี่แยกบางเขน (ตัดถนนงามวงศ์วานหรือ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) สี่แยกหลักสี่ (ตัดถนนแจ้งวัฒนะหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) ไปสิ้นสุดที่สามแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (จุดบรรจบถนนพหลโยธิน
หรือ ทางหลวงหมายเลข 1) ถนนสายนี้มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษหรือ superhighway ซึ่งแบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางด่วนหรือทางหลัก (main road) และทางคู่ขนาน (frontage road) ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นช่องทางด่วนและทางคู่ขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยสนามบินและทางรถไฟ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนพิเศษยกระดับเก็บค่าผ่านทาง
อยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย
เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่ต้องการความรวดเร็วกว่าเดิม
ถนนวิภาวดีรังสิตตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ซึ่งพระนามเดิมคือหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต พระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่บำเพ็ญพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง
ได้ทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโดยเสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตที่ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอยู่
จนกระทั่งเฮลิคอปเตอร์ที่เสด็จถูกผู้ก่อการร้ายระดมยิงจนสิ้นชีพิตักษัยในวันที่ 16
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และรัฐบาลได้นำพระนามมาเป็นชื่อถนนซึ่งเป็นทางหลวงหมายเลข 31 ซึ่งเดิมคนทั่วไปมักเรียกว่า "ถนนซูเปอร์ไฮเวย์" อนึ่ง
ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งตะวันออก ช่วงตั้งแต่แยกดินแดงถึงคลองบางซื่อ
เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตพญาไทกับเขตดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิตช่วงตั้งแต่ถนนแจ้งวัฒนะถึงสนามบินดอนเมืองเดิมเป็นถนนท้องถิ่นมีชื่อว่า "ถนนศรีรับสุข"
- ถนนพหลโยธิน หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1
(กรุงเทพมหานคร - แม่สาย (เขตแดน)) เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.
2475 และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธินเมื่อวันที่ 10
ธันวาคม พ.ศ. 2489 ก่อนหน้านี้ถนนพหลโยธินมีชื่อเดิมว่า "ถนนประชาธิปัตย์"
ถนนพหลโยธินตอนแรกไปถึงดอนเมืองเมื่อปี 2479 แต้ได้ขยายต่อมาถึงจังหวัดลพบุรีเมื่อ 24 มิถุนายน 2483 จากนั้นจึงขยายตัวไปเรื่อย
ๆ ที่สุดได้มีการรวมทางหลวงสาย ลำปาง - เชียงราย
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของถนนพหลโยธินด้วย
ถนนพหลโยธินเริ่มต้นที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยตัดผ่าน เขตพญาไท เขตจตุจักร เขตบางเขน และเขตดอนเมือง ขึ้นไปสู่จังหวัดทางภาคเหนือ เริ่มตั้งแต่ จังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ แล้วออกไปทาง กำแพงเพชร (โดยไม่ผ่านพิษณุโลก) ตาก ลำปาง พะเยา ไปที่จังหวัดเชียงราย และสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย ระยะทางยาวประมาณ 1,005 กิโลเมตร
- ถนนเพชรเกษมสร้างเสร็จเมื่อ
พ.ศ. 2493 ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ (แถม เพชรเกษม) อดีตอธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 7 ซึ่งตั้งชื่อเมื่อวันที่ 10
ธันวาคม พ.ศ. 2493
หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์เป็นนักเรียนทุนหลวงของกรมรถไฟ
ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาที่ประเทศอังกฤษ และกลับมารับราชการที่กรมรถไฟหลวง ต่อมาย้ายไปสังกัดกรมทางหลวง. ถนนเพชรเกษม
เป็นถนนที่สร้างขึ้นในสมัยที่หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ เป็นอธิบดีกรมทางหลวง โดยตั้งชื่อตามนโยบายของรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อนายช่างใหญ่ผู้ควบคุมการก่อสร้าง
หรือการบังคับบัญชารับผิดชอบ
ถนนเพชรเกษมเริ่มต้นที่ สะพานเนาวจำเนียร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เข้าสู่เขตภาษีเจริญ เขตบางแค และเขตหนองแขม แล้วผ่านลงไปยังจังหวัดภาคใต้ผ่าน จังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร แล้วตัดเข้า ระนอง (โดยไม่ผ่านสุราษฎร์ธานี) พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุง สิ้นสุดที่อำเภอสะเดาจังหวัดสงขลา รวมระยะทาง 1,274 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
- ถนนมิตรภาพ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ปากเพรียว - สะพานมิตรภาพไทย-ลาว) เป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านงบประมาณการก่อสร้าง
เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง
นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน
และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟัลต์ติคคอนกรีต(Asphaltic Concrete) ตั้งชื่อว่าถนนมิตรภาพเมื่อวันที่ 20
กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2500 เป็นถนนหลักที่จะเดินทางไปสู่ภาคอีสาน โดยแยกจากถนนพหลโยธินที่ชุมทางต่างระดับมิตรภาพ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ไปสิ้นสุดที่ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว จังหวัดหนองคาย
- เริ่มก่อสร้างทางหลวง (พ.ศ. 2478) ได้แก่ เปิดถนน กรุงเทพ - สมุทรปราการ เมื่อ 8
กันยายน พ.ศ. 2479 (ปัจจุบันคือ ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่
พ.ศ. 2493 เปิดถนนกรุงเทพ - ดอนเมือง (ปัจจุบันคือ ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2489) และมีการขยายเมืองออกไปรอบนอกมากขึ้น
- “ท่าอากาศยานกรุงเทพ” หรือที่เรียกกันว่า “ดอนเมือง” นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อมีการยกเลิกใช้สนามบินสระปทุม
ส่วนหนึ่งของสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ซึ่งถือเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย
เนื่องจากสาเหตุคับแคบ มีเนื้อที่จำกัด และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม
ทางราชการจึงได้คิดหาสถานที่ใหม่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม
ไม่ห่างไกลจากพระนคร และเป็นพื้นที่ที่
สามารถพัฒนาเป็นสนามบินขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งเป็นที่ดอนทางตอนเหนือของอำเภอบางเขนกรมเกียกกายทหารบกได้ดำเนินการปรับพื้นที่ให้เป็นสนามหญ้า
ที่เครื่องบินสามารถวิ่งและบินขึ้น - ลงได้
พร้อมทั้งสร้างโรงเก็บเครื่องบิน และอาคารสถานที่ทำการตามความจำเป็น
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2457 กรมเกียกกายทหารบกได้ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ
และส่งมอบให้กรมการช่างทหารบก พร้อมกับได้เรียกชื่อสนามบินนี้ว่า “สนามบินดอนเมือง”
- สร้างวงเวียนใหญ่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เพื่อเน้นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย และสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เป็นอนุสรณ์เทิดทูนเกียรติคุณความดีของผู้กล้าหาญที่ได้เสียชีวิตในสงคราม (พ.ศ. 2480) อันเป็นเวลาที่รถยนต์เข้ามามีบทบาทในการเป็นพาหนะสัญจรมากขึ้น
และเป็นรูปแบบระบบคมนาคมทางบกในเมืองยุคใหม่
- มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
และมหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2486)
- ปี พ.ศ. 2502 เป็นอีกปีหนึ่งที่จัดให้มีการซ่อมแซมเสาชิงช้า
บริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม
ทางกรุงเทพมหานครได้จัดพิธีตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
เสาชิงช้าแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 เดิมเคยอยู่บริเวณถนนดินสอ
และย้ายมาอยู่หน้าวัดสุทัศน์ฯ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 มีการซ่อมแซมเสาชิงช้าและแล้วเสร็จในปี
พ.ศ. 2463 ก่อนจะซ่อมแซมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 และปี พ.ศ. 2548 กระทั่งครั้งล่าสุด พ.ศ. 2550
- การขยายชุมชน เกิดหมู่บ้านจัดสรรชานเมือง
เกิดการพัฒนาชุมชนเมืองรูปแบบตึกแถว-ตลาด ย่านการค้า เช่น
สยามสแควร์ ห้างสรรพสินค้า (เซ็นทรัล)
- ห้างเซ็นทรัลสาขาราชประสงค์เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507 แต่ในเวลานั้น ไม่อาจสู้กับความนิยมของห้างคู่แข่งอย่างไดมารู จากญี่ปุ่น
ซึ่งในในเวลานั้นถือว่ามีความทันสมัยกว่า กระทั่ง
ห้างเซ็นทรัลสาขาราชประสงค์ต้องปิดตัวไปในที่สุด
- ปี พ.ศ. 2509 สยามแสคว์กำเนิดขึ้นหลังจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแบ่งพื้นที่ด้านข้างเพื่อนสร้างสาธารณูปโภคสำหรับรองรับประชาชนย่านปทุมวัน
ที่รับวันมีจำนวนมากขึ้น ในเวลานั้นทางสำนักจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ
จึงกำหนดให้มีการพัฒนาที่ดินจำนวน 352 ไร่ เพื่อสร้างเป็นตึกแถว
และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ตามมา
¨ ภาพถ่ายสนามบินดอนเมือง
¨ ภาพถ่ายห้างสรรพสินค้า
การเริ่มต้นระบบผังเมืองสมัยใหม่
- กรมโยธาธิการ ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติการผังเมืองและชนบท พ.ศ. 2495” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.9) นับว่าเป็นกฎหมายผังเมืองฉบับแรก
- ไม่สามารถดำเนินการตามหลักวิชาการด้านผังเมืองให้ครอบคลุมของเขตได้สำเร็จ
เนื่องจากขาดเงินทุนการพัฒนาและความชัดเจนของกฎหมาย
- การจัดทำแผนเป็นการจัดทำโครงการพัฒนาเฉพาะเรื่องและเฉพาะพื้นที่บางส่วนของเมือง
ขาดการวางผังเมืองในรูปแบบเบ็ดเสร็จที่เรียก “ผังเมืองรวม (Comprehensive Plan)”
จัดแผนแม่บทการพัฒนาประเทศฉบับแรกขึ้น
เรียก “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
เพื่อชักจูงการลงทุนโดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรม
- จัดผังเมืองรวมกรุงเทพ-ธนบุรี ฉบับแรก ในปี พ.ศ. 2503 เรียก “ผังลิทช์ฟิลด์” หรือ “Greater Bangkok Plan” มีผลบังคับใช้ 30 ปี
จัดทำโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ USOM บริษัทที่ปรึกษา Litchfield Whiting Browne and
Associates และเจ้าหน้าที่เทศบาลนครกรุงเทพ
และเทศบาลธนบุรี ผังขาดกฎหมายให้อำนาจในการดำเนินการ
มีประชากรอพยพเข้ากรุงเทพมหานครเกินที่คาดไว้ สำนักผังเมือง (กรมการผังเมือง) นำผังมาปรับปรุงใหม่ ในปี
พ.ศ. 2513 เรียก “ผังนครหลวง (ปรับปรุงครั้งที่1)”
- เมื่อกรุงเทพฯ มีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น โครงการถนนวงแหวนชั้นในระยะแรก หรือถนนรัชดาภิเษกก็ได้เริ่มขึ้นพร้อม
ๆ กับโครงการตัดถนนสายหลักอื่น ๆ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ กับชานเมืองโดยรอบ
ซึ่งส่งผลให้กรุงเทพฯ ขยายตัวอกไปทุกทิศทุกทางกลายเป็นมหานครที่ใหญ่ติดอันดับโลก
และเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจสังคมที่สำคัญของประเทศไทย เฉกเช่นเดียวกับเมืองใหญ่
ๆ ทั้งหลาย กรุงเทพฯ จึงประสบกับปัญหาหลัก ๆ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจราจร
ปัญหาสภาพแวดล้อม และปัญหาการอพยพของคนเข้ามาในกรุงเทพฯ
ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนได้ทุ่มเทสติปัญญา หาแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้
ปัจจุบันมีโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร และดำเนินการไปบ้างแล้ว ได้แก่
โครงการทางด่วน โครงการตัดถนนวงแหวนให้ครบ 3 วง เพื่อเป็นทางเลี่ยงเมือง โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ
ทั้งระหว่างเมือง ชานเมือง และในเมือง ทำให้มีการพัฒนาที่ดินหนาแน่นยิ่งขึ้น
- พัฒนาระบบคมนาคมต่าง ๆ ได้แก่ รถสามล้อ (2506) การพัฒนาท่าเรือระหว่างประเทศ
เริ่มโครงการถนนวงแหวนรัชดาภิเษกจากพระราชประสงค์
คราวเฉลิมฉลองพระราชพิธีรัชดาภิเษกของ ร.9 (8) โครงการวางผังนครหลวง 2533 (Greater Bangkok Plan) โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การยูซอม (USOM) Litch field Whiting Bowne &
Associates (8) (2503/1960)
- ตั้งทางการพิเศษแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ (8) (2515/1972) สร้างทางด่วน เฉลิมมหานคร
ดินแดง-ท่าเรือ บางนา-ท่าเรือ
สร้างทางด่วนดาวคนอง-ท่าเรือ
¨ ภาพถ่ายรถราง
¨ ภาพรถเมล์ขาว
¨ ภาพถ่ายผังลิทช์ฟิลด์
|
รถรางผ่านเสาชิงช้า |
|
|
รถเมล์ขาวนายเลิศ |
|
พัฒนาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
- เกิดอาคารสงเคราะห์ประเภทบ้านแถวของรัฐเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (หลัง พ.ศ. 2488)
- ยุคบุกเบิกสถาปัตยกรรมแผนใหม่ (Modern
Architecture) (ร.7-ร.8) (หลัง พ.ศ. 2475)
- การลดลงของสถาปนิกต่างชาติในหน่วยงานของรัฐ (เริ่มมีนักเรียนจบด้านสถาปัตย์จากเมืองนอก)
- จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม (พ.ศ. 2477)
- สถาปัตยกรรมแผนใหม่ที่นักเรียนนอก (อังกฤษ ฝรั่งเศส) นำเข้ามา เช่น วังสระปทุม
บ้านพระสาโรชรัตนนิมมานต์ บ้าน ม.จ. สมัยเฉลิม กฤดากร ฯลฯ
- รัชกาลที่ 7 สถาปนิกไทยเริ่มเข้ารับราชการในหน่วยงานรัฐ
แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจตกต่ำ
อาคารมีรูปแบบเรียบง่าย ประหยัด เน้นรูปแบบที่เข้ากับสภาพแวดล้อมของไทย
เริ่มมีการเกิดขึ้นของรูปแบบไทยสมัยใหม่
- รัชกาลที่ 8 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและรัฐบาลใหม่ดำเนินนโยบายชาตินิยมไทย
ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการสลายตัวของอิทธิพลตะวันตก
- สถาปัตยกรรมมีการเปลี่ยนเป็นรูปแบบสากล โดยประยุกต์รูปแบบอาคารจากตะวันตก
รูปทรงอาคารอิสระมากขึ้น เป็นอาคารแนวราบ มีความสูงขนาดกลางไม่เกิน 10 ชั้น(พ.ศ. 2503-2512) มีการใช้วัสดุสมัยใหม่ตามแบบตะวันตก เกิดการพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีใหม่
ๆ มาใช้ในการก่อสร้างอาคารมากขึ้น เพื่อรองรับสถาปัตยกรรมรูปแบบสากล
- สนามกีฬาหลังคาโดมของเวทีมวยราชดำเนินทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่
ซึ่งทันสมัยที่สุดในเอเชียยุคนั้น (พ.ศ. 2496)
- บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เริ่มมีการผลิตอิฐทนไฟออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก (พ.ศ. 2496) ผลิตรวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (พ.ศ. 2514) และร่วมกับ Monitor Co., Ltd. แห่งประเทศออสเตรเลีย
ผลิตกระเบื้องซีแพคโมเนียออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (พ.ศ. 2513)
- มีการนำเข้าอลูมิเนียมจากประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง
โดยบริษัท เบ๊ย่งฮง จำกัด (พ.ศ. 2498)
- บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี จำกัด
ผลิตกระจกแผ่นออกจำหน่ายในตลาดประเทศและนอกประเทศ (พ.ศ. 2509)
- อาคารโชคชัยอินเตอร์เนชั่นแนล ได้ใช้ระบบผนังภายนอกอาคารแบบ “Curtain
Wall” โดยการนำเข้าจากต่างประเทศ (พ.ศ. 2512)
- การทำลายอาคารเก่า สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ เช่น
วังต่าง ๆ กลายเป็นศูนย์การค้า
- เกิดอาคารที่เกี่ยวข้องเชิงพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม เช่น ตึกแถว โรงงาน
ศูนย์การค้า อีกทั้งอาคารทางราชการ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ (พ.ศ. 2503-2512)
- การขยายตัวของอาคารที่มีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น
ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ โรงแรม โรงพยาบาลเอกชน
อาคารที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม (พ.ศ. 2513-2522)
200 ปี
กรุงรัตนโกสินทร์
- ปี พ.ศ. 2525 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วโปรดเกล้าให้ย้ายพระนครจากฟากตะวันตกข้ามฟากมาทางฝั่งตะวันออก
และยกหลักเมืองในวันที่ 21 เมษายน ศกเดียวกัน
หลักฐานในอดีตปรากฏว่าเคยมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์มาก่อนหน้านี้ คือ
ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ครั้งที่สองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นการฉลองสมโภชพระนครครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2425
กรุงเทพฯ เอกะมหานคร
การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง
ศูนย์กลางเศรษฐกิจ สังคมและศูนย์รวมในทุก ๆ ด้านของประเทศ
ก่อให้เกิดการดึงดูดประชากรจากทั่วทุกภาคสู่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เป็นเหตุของปัญหาของเมืองที่มิได้มีการจัดการวางแผนเพื่อรองรับการเติบโตที่รวดเร็ว
ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การจราจรติดขัด ความแออัด ชุมชนแออัดและแหล่งเสื่อมโทรม
รวมทั้งมลพิษต่าง ๆ ทั้งน้ำเสีย อากาศเสีย ฝุ่นละออง เสียง
รวมทั้งอุทกภัยและการทรุดตัวของแผ่นดิน ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีบทบาทอย่างยิ่ง
ด้วยพระอัจฉริยะภาพและพระปรีชาญาณในการแก้ไขปัญหาของเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจราจร การป้องกันน้ำท่วม การบำบัดน้ำเสีย
และการจัดหาพื้นที่โล่งและสวนสาธารณะ
การเติบโตของเมืองกับปัญหา
·
ปัญหาของกรุงเทพฯ มีรากมาจากการย้ายถิ่นและการขาดการวางแผน
·
ความแออัด ชุมชนแออัด เริ่มที่คลองเตย
·
การจราจรติดขัด
·
มลพิษ น้ำเสีย ขยะ อากาศ เสียง
·
น้ำท่วม
·
การรื้อทำลายอาคารเก่า
¨ ภาพถ่ายแสดงปัญหาต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
¨ ภาพเก่าการสร้างถนนในกรุงเทพฯ
การเติบโตจากเทศบาลสู่มหานคร
- ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518” เพื่อให้ผังนครหลวง (ปรับปรุงครั้งที่ 1) มีความชอบธรรมในการบังคับใช้ตามกฎหมาย
- ประการใช้ “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
2518” กำหนดให้กรุงเทพมานครเป็นทบวงการเมือง
มีฐานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่นนครหลวง
มีเขตการปกครองท้องถิ่นเดิมพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการเลือกตั้งคณะผู้บริหาร
ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ
พร้อมกับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพฯ นายธรรมนูญ เทียนเงิน ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์
เป็นผู้ว่าราชการคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากนั้น (ตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2527) กลับมาเลือกใช้การแต่งตั้งเหมือนเดิม
- ประการใช้ “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2528” แทน พ.ร.บ. พ.ศ.
2518 ซึ่งทำให้กรุงเทพมหานครมีอิสระในการบริหารมากขึ้น
เช่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ สามารถพิจารณาแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้ 4 คน และไม่มีการลงประชามติให้ผู้ว่าพ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ พล.ต. จำลอง
ศรีเมือง ตัวแทนกลุ่มรวมพลัง เป็นผู้ว่าราชการคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งด้วย พ.ร.บ. ใหม่ โดยดำรงตำแหน่งถึง 2 สมัยติดต่อกัน (พ.ศ.
2528-2535)
แต่เดิม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก คือ นายชำนาญ
ยุวบูรณ์ เป็นข้าราชการการเมืองที่มาจากแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ.
2516 เป็นต้นมา
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.
2518 สืบเนื่องจากมีการประกาศใช้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
2518 ขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง
มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามวาระ 4 ปี การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรก
จากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
2518 ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ในครั้งนั้น นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จากการเลือกตั้งคนแรก
|
นายชำนาญ ยุวบูรณ์ ผู้ว่ากรุงเทพฯ คนแรก เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2516 - 22 ตุลาคม 2516 จากการแต่งตั้ง |
การวางแผนแก้ไขปัญหาจราจรโดยกรุงเทพมหานคร
· ถนนรัชดาภิเษก
เป็นโครงการในพระราชดำริที่เกี่ยวกับการจราจรโครงการแรก
· โครงการในพระราชดำริในภายหลัง มีหลายโครงการ เช่น
โครงการจตุรทิศตะวันตก -ตะวันออก (รวมทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
สะพานพระราม 8 จตุรทิศตะวันออก) โครงการถนนพระราม
และวงแหวนอุตสาหกรรม
· พระปรีชาญาณในการวางแผนและแก้ไขปัญหาจราจร
- ถนนรัชดาภิเษกเป็นถนนที่สร้างขึ้นตามกระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
เมื่อ พ.ศ. 2514 จอมพล
ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ได้เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูลเรื่องพระราชพิธีรัชดาภิเษก (Silver Jubilee)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรเป็นครั้งแรก
โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนเพิ่มขึ้นเป็นถนนวงแหวนเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชนแทนการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์
เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.
2514 ให้จัดสร้างถนนวงรอบขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 25 ปี
ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 โดยรัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนวงรอบว่า "ถนนรัชดาภิเษก" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก ณ บริเวณเชิงสะพานกรุงเทพตัดกับถนนเจริญกรุงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.
2514 บริเวณแนวถนนตัดจากสะพานกรุงเทพผ่านถนนเจริญกรุงและต่อเชื่อมจนครบวงแหวน
ปัจจุบันถือเป็นถนนวงแหวนรอบในโดยมีถนนกาญจนาภิเษก หรือทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนวงแหวนรอบนอก
ถนนวงแหวนรอบในส่วนที่ 1 เริ่มจากสามแยกท่าพระถึงถนนเพชรบุรีตัดใหม่ส่วนที่2 จากถนนพระรามที่ 4 ถึงสามแยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร และมีพิธีเปิดถนนรัชดาภิเษกใน พ.ศ. 2519
ถนนรัชดาภิเษก
เป็นถนนวงแหวนรอบใน (inner ring road) ของกรุงเทพมหานคร
ส่วนถนนวงแหวนอีกเส้นหนึ่ง คือ ถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นถนนวงแหวนรอบนอก
ถนนรัชดาภิเษก สร้างในช่วงปี พ.ศ. 2415 ถึง พ.ศ. 2536 มีความยาวรวมทั้งสิ้น 45 กิโลเมตร
วงรอบของถนนรัชดาภิเษก ประกอบไปด้วยถนนหลายช่วง บางช่วงเป็นถนนที่มีอยู่แต่เดิม
บางช่วงเป็นถนนที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบรอบวงแหวน ถนนที่มีอยู่แต่เดิม ได้แก่
ถนนอโศกในฝั่งพระนครและถนนจรัญสนิทวงศ์ในฝั่งธนบุรี ส่วนถนนที่สร้างขึ้นใหม่
แบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1
จากแยกถนนประชาชื่น ผ่านแยกรัชวิภา แยกรัชโยธิน แยกลาดพร้าว แยกห้วยขวาง ถึงแยก
อสมท. ช่วงนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า
ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเชื่อมกับถนนเดิมคือถนนอโศกจนถึงแยกถนนสุขุมวิท
ช่วงที่ 2 จากถนนสุขุมวิท
ผ่านแยกคลองเตย แยกถนนนางลิ้นจี่ ถึง แยกถนนตก ช่วงนี้เรียกถนนพระรามที่ 3
ซึ่งมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรี คือ สะพานพระรามที่ 3
ช่วงที่ 3 จากแยกมไหศวรรย์
ถึง แยกท่าพระ เรียก ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งจะเชื่อมกับถนนเดิม
คือถนนจรัญสนิทวงศ์ไปจนถึงบางพลัด บางอ้อ ข้ามสะพานพระรามที่ 7 ไปยังฝั่งพระนครบริเวณวงศ์สว่าง
ช่วงที่ 4 จากแยกวงศ์สว่าง
ถึง แยกถนนประชาชื่น ส่วนนี้เรียก ถนนวงศ์สว่าง
- โครงการจตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก
เป็นโครงการที่ประกอบไปด้วยการก่อสร้างและปรับปรุงถนน สะพาน
และทางยกระดับหลายโครงการต่อเนื่องกัน สืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2536
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปยังโรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำเพื่อทรงเฝ้าพระอาการของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ได้ทอดพระเนตรเห็นปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณสะพานข้ามสี่แยกอรุณอมรินทร์และสี่แยกจรัญสนิทวงศ์
เนื่องจากมีที่ตั้งและสัญญาณไฟจราจรอยู่ใกล้กันมาก
รถที่จะเลี้ยวหรือจะกลับรถต้องหยุดรอสัญญาณไฟโดยไม่จำเป็น ทำให้การจราจรติดขัดมาก
จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้สร้างทางคู่ขนานยกระดับข้ามสี่แยกเพื่อเชื่อมทั้งสองสะพานเข้าด้วยกัน
ทำให้สามารถระบายรถที่จะออกนอกเมืองได้เร็วขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องในการบรรเทาการจราจรในฝั่งพระนครด้วย
ในวันที่ 13 มิถุนายน2538 นายประเสริฐ
สมะลาภา ปลัดกรุงเทพมหานครในขณะนั้น
ได้รับแผนผังปัญหาจราจรที่เป็นลายพระหัตถ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพลเอก
เทียนชัย จั่นมุกดา รองสมุห-ราชองครักษ์
และได้จัดทำแบบร่างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเวลาต่อมา
โดยพระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยให้ปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง
ต่อจากนั้นก็ได้มีโครงการเกี่ยวเนื่องอีกหลายโครงการ (กรุงเทพมหานคร, 2541, น. 102) (กรุงเทพมหานคร, 2540, น. 257 -
267) โดยในฝั่งตะวันตก
ได้มีโครงการก่อสร้างทางยกระดับที่เชื่อมต่อกับทางแยกต่างระดับสิรินธร ถึง
แยกต่างระดับฉิมพลี (แยกพุทธมณฑลสาย 2) ทั้งนี้
มาจากพระราชดำรัสเพิ่มเติมในเรื่องการจราจรขาออกนอกเมืองทางฝั่งธนบุรีว่า “... หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้
จะมีประโยชน์มาก...” (กรมทางหลวง, มปป., น. 7)
ส่วนการเชื่อมโยงฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออก
เดิมกรุงเทพมหานครมีแนวคิดที่จะขยายสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าจาก 6 ช่องทางจราจร
เป็น 10 ช่องทาง
แต่ได้ถูกระงับไว้เนื่องจากจะทำลายสภาพแวดล้อมในเกาะรัตนโกสินทร์และทำให้ปริมาณการจราจรในเกาะรัตนโกสินทร์เพิ่มขึ้น (กรุงเทพมหานคร, 2540, น. 269) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริในเรื่องนี้
โดยทรงชี้แนะว่าควรสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นอีกหนึ่งแห่ง
บริเวณอรุณอมรินทร์ และให้กรุงเทพมหานครศึกษาให้ดี
ซึ่งกรุงเทพมหานครได้รับพระราชดำริเพื่อศึกษาและพิจารณาทางเลือกได้เป็น 3 - 4
แนวทางสรุปเป็นแนวสะพานพระราม 8 ในปัจจุบัน (กรุงเทพมหานคร, 2541) ซึ่งเป็นแนวที่เหมาะสมเนื่องจากผ่านชุมชนน้อยที่สุด (บุญญวัฒน์ ทิพทัส, สัมภาษณ์, 15
พฤศจิกายน 2550)
โครงการจตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก
เป็นส่วนหนึ่งของระบบถนนแบบรัศมี (radius
road) ที่เชื่อมโยงพื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันตกเข้ากับพื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าด้วยกันด้วยถนนที่มีการจราจรคล่องตัว (freeway) ใช้ความเร็วได้
โครงการนี้อาจแบ่งย่อยได้เป็น 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะมีโครงการย่อยหลายโครงการ
ดังนี้
1) โครงการจตุรทิศฝั่งตะวันตก
ประกอบไปด้วยโครงการย่อย 2 โครงการซึ่งเป็นการก่อสร้างถนนยกระดับ ได้แก่ ก) โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี
และ ข)โครงการทางยกระดับแยกต่างระดับสิรินธร – แยกต่างระดับฉิมพลี (แยกพุทธมณฑลสาย 2)
2) โครงการจตุรทิศฝั่งตะวันออก
ประกอบไปด้วยโครงการย่อย 4 โครงการ มีทั้งการขยายผิวถนน
การสร้างสะพานและทางยกระดับ รวมทั้งการการปรับปรุงช่องทางเดินรถ
โดยแบ่งตามช่วงของถนน ได้แก่ ก) ช่วงราชดำเนินนอก – สะพานศรีอยุธยา (ข้ามคลองเปรมประชากร) ข) ช่วงแยกศรีอยุธยา –
บึงมักกะสัน ค) ช่วงบึงมักกะสัน – ถนนเลียบคลองบางกะปิ และ ง) ช่วงถนนเลียบคลองบางกะปิ –
ถนนพระราม 9
3) โครงการสะพานพระราม 8
ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ก) ช่วงถนนยกระดับจากคลองบางยี่ขันไปบรรจบกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี
และ ข) ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
จากคลองบางยี่ขัน ถึงถนนวิสุทธิกษัตริย์
โครงการจตุรทิศฝั่งตะวันตกและโครงการสะพานพระราม
8 มีการเริ่มดำเนินการในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คือระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2541
ส่วนโครงการจตุรทิศฝั่งตะวันออกนั้นเริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2541 โดยโครงการทั้งหมด แล้วเสร็จครบทุกเส้นทางในปี พ.ศ. 2548
เชื่อมโยงสองฝั่งเป็นหนึ่งเดียว
- พ.ศ.
2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่งอีกแห่งหนึ่ง
เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้าที่คับคั่ง สะพานพระราม 8 เชื่อมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี
บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขันจรดปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สะพานนี้ติดอันดับ 5 ของโลก ในฐานะสะพานขึงแบบอสมมาตร สะพานพระราม 8 ได้ผสมผสานศิลปะแบบไทย ๆ
สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
รัชกาลที่ 8 สิ่งที่พิเศษสุดของสะพานพระราม 8 คือ ที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมวิว ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจก
การพัฒนาเมืองแบบมีแผนและนโยบาย
การวางผังเมืองของประเทศไทยมีมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2411) โดยได้ทรงเริ่มออกประกาศพระบรมราชโองการ
ซึ่งถือกันว่าเป็นกฎหมายเพื่อป้องกันและรักษาสภาพแวดล้อมของพระนคร และในสมัยต่อมาได้มีการประกาศและออกกฎหมายมาเพื่อใช้บังคับสำหรับป้องกัน
แก้ไขปัญหาของเมือง เป็นลำดับ
ตลอดจนมีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาวะของบ้านเมืองมาจนถึงปัจจุบันนี้
ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นในกระทรวงนครบาลแล้วโอนมาให้สังกัดกระทรวงมหาดไทย
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2468 ได้มีการปรับปรุงกรมสุขาภิบาล โดยเปลี่ยนชื่อเป็นกรมนคราธร
มีหน้าที่ทางด้านการก่อสร้าง และบำรุงรักษาสาธารณูปโภคบางประเภท เช่น การสร้างถนน
บำรุงรักษาคลองประปา การควบคุมโรงฆ่าสัตว์
รวมถึงการรักษาความสะอาดกำจัดสิ่งโสโครกที่จำเป็น
พ.ศ.2476 กรมนคราธรได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมโยธาเทศบาล
แบ่งส่วนราชการออกเป็น 11 กอง
งานที่เกี่ยวข้องในระยะแรก อยู่ในกองสถาปัตยกรรม และกองช่างนคราธร จน พ.ศ.2480 ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นกองผังเมือง และลดฐานะลงเป็นแผนกผังเมือง
และช่างสุขาภิบาล อยู่ภายในกองสถาปัตยกรรมในปี พ.ศ.2485 จนได้รับการคืนฐานะเดิมเป็นกองในสังกัดกรมโยธาธิการ
ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2491-2493 หัวหน้าแผนกผังเมืองและการช่างสุขาภิบาล
คือ ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านผังเมืองจาก Harvard University สหรัฐอเมริกา
การขยายตัวของระบบบริหารราชการนับจาก
พ.ศ.2475 เป็นต้นมามีการจัดตั้งกองผังเมือง กรมโยธาธิการ เมื่อ พ.ศ.2480 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้างการดูแลรักษาบูรณะคู คลอง ถนน สะพาน อาคาร
รวมทั้งงานสุขาภิบาลชุมชน เช่น การระบายน้ำ การรักษาความสะอาด
อันเป็นลักษณะงานผังเมืองเฉพาะเรื่องในพื้นที่บางส่วนของเมือง
เพื่อให้การดำเนินงานผังเมืองเป็นไปอย่างกว้างขวาง
เหมาะกับเมืองสมัยใหม่และการเติบโตของเมืองที่มีขึ้นทั่วไป
และเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่เป็นหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
จึงได้ตราพระราชบัญญัติการผังเมืองและชนบท พ.ศ.2495 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองฉบับแรกของไทย
แต่ไม่สามารถดำเนินการตามหลักวิชาการด้านผังเมืองให้ครอบคลุมขอบเขตงานอันกว้างขวางให้เป็นผลสำเร็จได้
เนื่องจากขาดเงินทุนการพัฒนาและความชัดเจนของกฎหมาย
นับเป็นการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองฉบับแรก
เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเพียงครั้งเดียว
และไม่ได้ประกาศใช้บังคับโครงการผังเมืองตามอำนาจของพระราชบัญญัติการผังเมืองและผังชนบท
พ.ศ.2495 อีกเลย เพราะนอกจากกรมโยธาเทศบาลจะไม่ได้รับงบประมาณ
เพื่อปฏิบัติตามโครงการผังเมืองแห่งนี้แล้ว ยังมีบทบัญญัติของพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ชัดเจนพอที่จะปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปได้
การวางผังเมืองโดยกรมโยธาธิการ
มีลักษณะเป็นการจัดทำโครงการพัฒนาเฉพาะเรื่องและเฉพาะพื้นที่บางส่วนของเมือง
ขาดการวางผังเมืองในลักษณะเบ็ดเสร็จที่เรียกว่า ผังเมืองรวม (Comprehensive Plan)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเมืองในสังคมไทยนับจาก
พ.ศ.2475 เป็นต้นมา คือ ความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคชนบทกับเมือง
โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงกับเมืองในภูมิภาค
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผูกพันอยู่กับการค้าโลก
ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าและธุรกิจจากการลงทุนบริษัทข้ามชาติ
เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง เป็นศูนย์กลางการศึกษาและสาธารณสุข
ประชากรอพยพหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ เพื่อแสวงหาโอกาสการศึกษาและการทำงาน
พื้นที่ในชนบทยังคงเป็นเกษตรกรรม แหล่งผลิตที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศ
การพัฒนาเมืองส่วนกลาง
คือกรุงเทพมหานครที่ขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว
บริการสาธารณะไม่สามารถจัดทำได้เพียงพอและทั่วถึง ทันกับการเพิ่มขึ้นของประชากร
รายได้ของประเทศส่วนใหญ่
ถูกจ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครมากกว่าการจัดสรรให้เมืองในชนบทพัฒนาตนเอง
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
เมื่อรัฐบาลคณะปฏิวัติ พ.ศ.2500 สามารถรักษาเสถียรภาพในการบริหารราชการได้
แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแม่บทในการพัฒนาประเทศ
ฉบับแรกได้จัดทำขึ้น ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นการลงทุนระยะยาว ถนนทางหลวงหลายสายได้สร้างขึ้น เช่น
ถนนมิตรภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อขนส่งผลผลิต
เขื่อนขนาดใหญ่สำหรับเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม
การชลประทานจัดส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อทำให้เพิ่มผลผลิตและรายได้
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีระยะเวลา 5 ปี
สำหรับงานวางผังเมืองในระดับท้องถิ่นในประเทศไทย
ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2498 โดยการขอความช่วยเหลือจากองค์การ USOM United States Operation Missionประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ.2499 ได้มีการจัดตั้งแผนกผังเมืองขึ้นในเทศบาลนครกรุงเทพ
และเทศบาลนครธนบุรี เพื่อเตรียมรับความช่วยเหลือในด้านการวางผังเมืองจากUSOM จนปี พ.ศ.2500 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านผังเมือง (Mr. Harold E. Miller) มาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงการผังเมืองกรุงเทพ-ธนบุรี ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการวางผังเมืองแบบสมัยใหม่ของไทย
กรุงเทพมหานครในยุคหลังจากรัชกาลที่ 5 มีการพัฒนาการใช้ที่ดินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปราศจากการวางแผนผังล่วงหน้าไว้รองรับการเปลี่ยนแปลง
ส่วนมากเป็นการใช้ที่ดินตามยถากรรม (Haphazard
Land Uses) โดยเฉพาะเกาะติดตามริมฝั่งถนนสายหลัก (Ribbon Development) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมามีการเปลี่ยนแปลงของเมืองอย่างมาก ในปี พ.ศ.2500 มีการจัดทำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อใช้เป็นแม่บทการพัฒนาประเทศ
แต่ก็ยังขาดแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือการวางแผนด้านกายภาพ
จนกระทั่งได้มีความพยายามจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับเมืองกรุงเทพฯ
โดยเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกันส่งผู้เชี่ยวชาญคือ
คณะที่ปรึกษาลิชฟิลด์
เพื่อให้กรุงเทพมีการพัฒนาเมืองทางกายภาพที่เหมาะสม
สอดคล้องกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว สหรัฐอเมริกาโดยความช่วยเหลือผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ (USOM) (องค์การยูซอม) ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา Litchfield Whiting Browne and
Associates (บริษัทลิทช์ฟิลด์ ไวทิง บราวน์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์)ดำเนินการวางผังเมืองรวมกรุงเทพ-ธนบุรี
ตามขั้นตอนกระบวนการตามหลักวิชาการผังเมือง ร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลนครกรุงเทพ
และเทศบาลธนบุรี จัดทำผังแม่บทฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.2503 คือ Greater Bangkok Plan 2533 เรียกกันว่า “ผังลิทซ์ฟิลด์” คาดหมายผลการผังเมือง 30 ปี
แผนผัง Greater Bangkok 2533 นี้ ได้นำเสนอกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี พ.ศ.2503 เพื่อใช้เป็นผังแม่บทในการพัฒนาบ้านเมือง Greater Bangkok 2533 เป็นผังเมืองนครหลวงโครงการ 30 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ถึงปี พ.ศ.2533 โดยครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ธนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และพระประแดง
ผังเมืองรวมกรุงเทพ-ธนบุรี
หรือผังลิทซ์ฟิลด์ ประกอบด้วยผลการศึกษา ด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ด้านประชากร
ด้านเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคมขนส่ง ระบบการจราจร การใช้ที่ดิน พร้อมด้วยแผนผัง
ข้อเสนอแนะ และมาตรการเพื่อการนำผังไปสู่การปฏิบัติในระดับประเทศ ระดับภาค
จนถึงระดับเมือง คือ กรุงเทพ-ธนบุรี แผนผังในผังลิทซ์ฟิลด์
ประกอบด้วยแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนผังระบบคมนาคมขนส่ง
แผนผังระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม รวมทั้งข้อเสนอแนะและมาตรการต่าง ๆ เช่น
โครงการสร้างทางหลวง โครงการจัดระบบการจราจรกรุงเทพ โครงการขยายการศึกษา
จัดตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค รวมทั้งเสนอแนะให้มีการจัดตั้งสำนักผังเมือง
เป็นหน่วยงานระดับกรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกรมการผังเมือง ปัจจุบันคือกรมโยธาธิการและผังเมือง) สังกัดกระทรวงมหาดไทย
เพื่อดำเนินการงานผังเมืองทั่วราชอาณาจักร
ในปี พ.ศ.2504 กรมโยธาเทศบาลได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามคำแนะนำของคณะผู้เชี่ยวชาญให้จัดตั้ง
“สำนักผังเมือง” ขึ้นมารับผิดชอบดำเนินงานเกี่ยวกับผังนครหลวง
และทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางวางผังเมืองทั่วราชอาณาจักร
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการและดำเนินตรา
พระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีการปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2505 จัดตั้งสำนักผังเมืองเป็นส่วนราชการเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย
และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น กรมการผังเมือง ปัจจุบันเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง
แม้ว่ากรุงเทพและธนบุรีได้มีการวางผังเมืองแล้ว
คือ ผังลิทซ์ฟิลด์ แต่ขาดกฎหมายให้อำนาจในการดำเนินการให้เป็นไปตามผังที่วางไว้
ขณะเดียวกัน
ประชากรยังคงอพยพเข้ากรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องจนเกินเป้าหมายที่ผังลิทซ์ฟิลด์คาดหมายไว้
ผังลิทซ์ฟิลด์
ต้องนำมาทบทวนปรับปรุงใหม่ใน พ.ศ.2513 โดยสำนักผังเมือง (กรมโยธาธิการและผังเมือง) ขอบเขตพื้นที่วางผังขยายจากพระนคร-ธนบุรี
เป็นเขตปริมณฑลโดยรอบตามการขยายตัวของเมือง ผังที่ปรับปรุงนี้เรียกว่า ผังนครหลวง (ปรับปรุงครั้งที่ 1) ประกอบด้วยแนวนโยบายพัฒนาเมืองระดับชาติและระดับภาค แผนผังการใช้ที่ดิน
แผนผังการคมนาคมขนส่ง แผนผังสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การจัดโครงการ
การปฏิบัติตามผังพร้อมด้วยข้อเสนอแนะการใช้ที่ดิน ประชากร ระบบการจราจร
การคมนาคมขนส่ง
แผนผังนครหลวง (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) นี้ ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้รับหลักการแล้ว
และหน่วยงานสาธารณูปโภคของราชการต่าง ๆ ก็ได้นำผังนครหลวง (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) ไว้ใช้เป็นแม่บทในการวางแผนพัฒนา อย่างไรก็ดีจากการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2518 ปรากฏว่าผังเมืองนครหลวงปัจจุบันนี้การใช้ที่ดินต่าง ๆ
ยังไม่เป็นไปตามแผนผังนครหลวง ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เพราะยังขาดกฎหมายผังเมืองเพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมผัง
และประชากรในเขตนครหลวงยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้ ก็เพราะรัฐบาลยังไม่ได้ทำการพัฒนาความเจริญในส่วนภูมิภาคอย่างจริงจังเหมือนกันกับเมื่อครั้งที่ผัง Greater Bangkok 2533 ได้เสนอแนะไว้
ผังนครหลวง (ปรับปรุงครั้งที่ 1) ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการที่กระทรวงมหาดไทยตั้งขึ้น
และใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน เช่น เรื่องการระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วม
การคมนาคมขนส่งฯลฯ แต่ไม่มีผลบังคับโดยกฎหมาย
เป็นเพียงการปฏิบัติตามแผนงานของกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งมักเลือกปฏิบัติบางโครงการที่เห็นความสำคัญ เช่น การระบายน้ำ
การป้องกันน้ำท่วม การพัฒนาแหล่งน้ำ การควบคุมการขยายตัวของชุมชนให้มีขนาดพอเหมาะ
ฯลฯ ดังนั้น เพื่อให้แผนผังที่วางไว้มีความชอบธรรมในการบังคับใช้ตามกฎหมาย
จึงได้ตราพระราชบัญญัติการผังเมืองขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518
การวางผังเมืองของประเทศไทยดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการผังเมืองและผังชนบท
พ.ศ.2495 มาเป็นเวลากว่ายี่สิบปี จนกระทั่งปี พ.ศ.2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ.2518 แทนพระราชบัญญัติการผังเมืองและผังชนบท พ.ศ.2495 ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของวิชาการผังเมืองและสภาพท้องที่
ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาด้านต่าง ๆ รวมทั้งการเพิ่มของจำนวนประชากรในท้องที่ต่าง
ๆ มากขึ้น มาตรการและโครงการที่กำหนดไว้เดิมจึงไม่เหมาะสม
ซึ่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 เป็นกฎหมายหลักด้านการผังเมืองของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่พระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ.2518 ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2518 สำนักผังเมืองจึงได้ดำเนินการปรับปรุงผังเมืองนครหลวงอีกครั้ง
โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ประการแรกจะให้ผังเมืองนครหลวงที่จะใช้เป็นผังแม่บทในการพัฒนาบ้านเมืองในอนาคตซึ่งจะใช้กฎหมายผังเมืองบังคับให้เป็นไปตามแผนดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายได้ระบุไว้
ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้
และประการที่สองต้องการให้ผังนครหลวงนี้เหมาะสมกับสภาพของเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และสอดคล้องกับนโยบายของชาติ
ผังนครหลวงที่จะใช้เป็นผังแม่บทในการพัฒนานครหลวงในอนาคต
ซึ่งสำนักผังเมืองได้จัดทำขึ้นใหม่นี้ เรียกว่าผังนครหลวง 2543 เป็นแผนผังโครงการระยะ 25 ปี ระหว่างปีพ .ศ.2518 ถึง พ.ศ.2543 สำนักผังเมืองได้จัดทำขึ้นเป็นผังเมืองรวม
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 ผังเมืองรวมนี้
เป็นแผนผังซึ่งแสดงนโยบายและเป้าหมายหลักเกี่ยวกับประชากร การใช้ที่ดินในอนาคต
การคมนาคมขนส่ง ตลอดจนการกำหนดสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ให้เพียงพอกับประชากรซึ่งคาดว่าจะมีอยู่ในชุมชนนครหลวงนี้
เมื่อสำนักผังเมืองได้จัดทำผังเมืองรวมแล้ว ส่วนราชการท้องถิ่น คือ กทม. เทศบาลเมืองนนทบุรี
เทศบาลเมืองสมุทรปราการ และเทศบาลเมืองพระประแดง จะนำผังนี้ไปใช้เป็นผังนโยบายหลัก
และจัดทำผังรายละเอียดต่อไป
ผังนครหลวง 2543 ขณะนี้ได้วางผังเสร็จแล้ว
ทางด้านวิชาการเทคนิคการวางผัง
และได้ผ่านการพิจารณารับหลักการจากคณะกรรมการผังเมืองเรียบร้อยแล้ว
เหลือการดำเนินงานอีกเพียง 2-3 ขั้นตอนเท่านั้นก็จะประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับได้
ขึ้นตอนต่อไปคือสำนักผังเมืองจะปิดประกาศผังนครหลวงและข้อกำหนดการใช้ที่ดินให้ประชาชนตรวจสอบภายใน 90 วัน และในระหว่างนี้ถ้ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดดังกล่าว
ก็สามารถที่จะร้องเรียนต่อคณะกรรมการผังเมือง เพื่อขอให้เปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือยกเลิกได้
อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าผังนครหลวงนี้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์และใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
แต่ก็ได้วางผังเสร็จทางด้านเทคนิคการวางผังแล้ว และหน่วยงานต่าง ๆ
ของรัฐได้ใช้เป็นแผนผังแม่บทในการพัฒนาบ้านเมือง และ กทม. ได้นำเอาผังนครหลวงนี้ไปใช้เป็นผังนโยบายหลักในการจัดทำผังเฉพาะอยู่แล้ว
ในการวางผังนครหลวง 2543 นี้
ส่วนใหญ่ยังยึดถือนโยบายและหลักการของแผนผัง Greater Bangkok 2533 และของผังนครหลวงฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 นอกจากเป้าหมายของผังนครหลวง 2543 และยืดระยะเวลาของโครงการออกไปอีก 10 ปี เป็นผังโครงการ พ.ศ.2543
ปี พ.ศ.2518 ได้มีการตรา “พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518” เป็นกฎหมายหลักด้านการผังเมืองของไทย
จึงนำผังลิชฟิลด์มาปรับปรุงเพื่อการบังคับใช้แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่ง พ.ศ.2535 ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จึงประกาศใช้บังคับได้เป็นครั้งแรก
แต่ก็หลังจากที่มีการขยายตัวของการใช้ที่ดินมากมาย กระจัดกระจายแล้ว จึงทำให้กรุงเทพเติบโตแบบไม่มีผังนำ
ทำให้สั่งสมปัญหาตามมา
“ผังเมือง” เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาเมือง ทั้งการพัฒนาพื้นที่ใหม่
และการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่เมืองเดิม
พระราชบัญญัติการผังเมืองของไทยได้กำหนดให้มี “ผังเมือง” 2แบบ คือ “ผังเมืองรวม” (General
Plan หรือ Master Plan หรือ Comprehensive Plan) และ “ผังเมืองเฉพาะ” (Specific
Plan) ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติและผลการบังคับใช้ที่แตกต่างกัน
“ผังเมืองรวม” จะเป็นรูปแบบของกฎหมาย
ข้อกำหนดการห้ามหรือควบคุมการก่อสร้างกิจกรรมบางชนิดบางประเภท ในพื้นที่บางบริเวณ
ส่วน “ผังเมืองเฉพาะ” จะเป็นแผนผังพัฒนาพื้นที่บางบริเวณเฉพาะแห่ง
เพื่อวัตถุประสงค์หลักคือ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม
ความสะดวกสบายและความปลอดภัย เป็นต้น
การพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเก่าให้ดีขึ้นนั้นก็ใช้แผนผังเฉพาะเป็นเครื่องมือ
ในประเทศไทย “ผังเมืองรวม”
เป็นกฎหมายที่ประกาศบังคับใช้ในรูปของกฎกระทรวง
มีความทันสมัยเพราะปรับปรุงทุก ๆ 5 ปี
มีวิสัยทัศน์เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
และยึดมั่นเจตนารมณ์เพื่อให้ทุกคนในสังคมเมืองได้รับประโยชน์ร่วมกันโดยมี “ข้อกำหนด” เป็นเครื่องมือในการป้องกันการลิดรอนสิทธิซึ่งกันและกันในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
คือ แผนแม่บทในการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานคร จัดทำโดย สำนักผังเมือง
กรุงเทพมหานคร ซึ่งในการวางผังได้คำนึงถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
·
ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
·
การบริหารปกครองพื้นที่
·
การคมนาคมขนส่ง
·
สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
·
การกระจายความหนาแน่นของจำนวนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร
·
นโยบายของภาครัฐ และความคิดเห็นของประชาชนโดยส่วนรวม
ข้อมูลต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาประกอบการพิจารณาและกำหนดเป็นกรอบชี้นำการพัฒนา ส่งเสริม
และควบคุมลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นเมืองที่มีความสมดุล
ทั้งนี้จากการที่กรุงเทพมหานครได้มีการขยายตัวของที่อยู่อาศัย การเจริญเติบโต
และเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงผังเมืองรวมทุก ๆ 5 ปี
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพต่าง ๆ ที่แท้จริง
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ประกาศใช้บังคับเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2535 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 116 ซึ่งกฎหมายแม่บทคือ
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 ได้กำหนดให้ทบทวนปรับปรุงผังเมืองรวมทุก
ๆ 5 ปี
เพื่อให้มีความทันสมัยต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งนโยบายที่อาจเปลี่ยนไปจากขณะจัดทำผัง
กรุงเทพมหานคร
มีผังเมืองรวมใช้บังคับครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 116
(พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ.2518 โดยเป็นผังเมืองรวมที่วางและจัดทำโดยกรมการผังเมือง (ปัจจุบัน คือ
กรมโยธาธิการและผังเมือง) กระทรวงมหาดไทย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการควบคุมเมือง
โดยกำหนดสิทธิและข้อห้าม ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครตามประเภทการใช้ที่ดิน
ในระหว่างการบังคับใช้ผังเมืองฉบับแรกนี้
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดกฎกระทรวงฉบับที่ 116 ในส่วนของการประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 181 (พ.ศ.2537) เมื่อใกล้ครบกำหนดการใช้บังคับผังเมืองรวมฉบับแรก คณะกรรมการผังเมือง
ได้อนุมัติให้กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น รับไปดำเนินการ
และจัดทำผังเมืองรวมฉบับที่ 2
(หรือที่เรียกเป็นภาษาราชการว่า
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) ประกาศใช้บังคับโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 414 ถือเป็นฉบับแรกที่ดำเนินการโดยท้องถิ่น ฉบับนี้เริ่มบังคับใช้ เมื่อ 5 กรกฎาคม 2542 ครบวาระ 5 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2547 และได้ขยายเวลาไปอีก 2 ครั้งในระหว่างประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงฉบับที่ 414กรุงเทพมหานครได้พิจารณาเห็นว่าสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนทั้งของภาครัฐ
เอกชน ได้ส่งผลให้รูปแบบ
แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาเมืองไม่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาเมือง ทำให้นโยบาย
แผนงานและโครงการต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ไม่เป็นไปตามผังเมืองรวมฉบับดังกล่าว ได้แก่
นโยบายการจัดระเบียบเมือง การปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
และระบบคมนาคมขนส่ง
รวมทั้งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนการวางและจัดทำผังเมืองรวม
กรุงเทพมหานครครั้งที่ 3 จะเรียกชื่อว่า
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ครอบคลุมการปกครองทั้ง 50 เขต รวมพื้นที่ 1,568.787 ตารางกิโลเมตร
ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549
กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานท้องถิ่นแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจให้จัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติเอง (ผังเมืองรวมของพื้นที่เขตชุมชนเมืองในจังหวัดอื่น
ๆ จัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย) ดังนั้น กรุงเทพมหานคร
โดยสำนักผังเมืองจึงดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
ทบทวนการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์และนโยบายการพัฒนาเมืองในทุกระดับ
เพื่อแก้ไขปรับปรุง และประกาศบังคับใช้ผังเมืองรวมฯ
เพื่อให้ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และนโยบายการพัฒนาเมือง
การปรับปรุงและประกาศใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 414 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542เป็นต้นมา
ซึ่งครบวาระการบังคับใช้ผังในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2547 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงผังใหม่ที่เรียกว่า
“ร่างผังเมืองรวม” (Draft
Master Plan) ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
ก่อนที่จะลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) พ.ศ. 2542 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) พ.ศ. 2542 แล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. 2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 57 ก ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานครได้มีการใช้บังคับผังเมืองรวม
ที่ได้มีการวางและจัดทำโดยอาศัยแห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 เป็นครั้งแรก โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 116 พ.ศ.2535 ซึ่งเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวสิ้นสุดระยะเวลาในการใช้บังคับ
และหลังจากที่ได้มีการขยายระยะเวลาการใช้บังคับไปอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี
แล้วจึงได้มีการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 1) โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 414 พ.ศ.2542 ในปี พ.ศ.2546 หรือ 1ปี ก่อนที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 1) จะสิ้นสุดลง
กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยงานท้องถิ่นจึงได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 2) ซึ่งในขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนในการออกกฎกระทรวง
ในขณะเดียวกันก็ได้มีการขยายระยะเวลาในการใช้บังคับกฎกระทรวงฉบับที่ 414 ต่อไปอีก 1 ปีเป็นครั้งที่ 2
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.2549) บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2549 นอกจากการแบ่งประโยชน์การใช้ที่ดินที่ละเอียดกว่าเดิมแล้ว ยังมีเรื่องของ F.A.R. และ O.S.R. ด้วยซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับผังเมืองรวม
การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน
- รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรก
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ใน 2 เส้นทางเศรษฐกิจหลักของเมือง
ได้แก่ สายสุขุมวิท ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า “รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สายที่ 1” และสายสีลม
ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า “รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สายที่ 2”
- รถไฟฟ้ามหานคร
หรือที่ชาวกรุงเทพฯ นิยมเรียกว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้ามหานครนั้นเป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจากระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) เส้นทางสายแรกซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่ารถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล หรือรู้จักกันในชื่อไม่เป็นทางการว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) มีการเปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันมีเส้นทางรวมระยะทาง 21 กิโลเมตร
วิ่งจากสถานีบางซื่อถึง สถานีหัวลำโพง ผ่านสถานีรวม 18 สถานี
และมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสีลม/ศาลาแดง
สุขุมวิท/อโศก และสวนจตุจักร/หมอชิต
เส้นทางสายสีน้ำเงินนี้สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ 80,000 คนต่อทิศทางต่อชั่วโมง