ประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด

ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก

ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

ความหมาย/วิธีการทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ไทย

ความหมาย ความสำคัญ และวิธีการทางประวัติศาสตร์

ความหมายของประวัติศาสตร์
        คำว่า “ประวัติศาสตร์” นักวิชาการส่วนมากจะบอกว่า มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ความจริงแล้วไม่ใช่ (อาจจะด้วยความไม่รู้ คือ แปลประวัติศาสตร์มาจากคำว่า History) ต้องแยกภาษาให้ออกก่อนระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ เป็นบัญญัติในภาษาไทย ซึ่งบัญญัติขึ้นมาให้แปลคำภาษาอังกฤษว่า “History
        ประวัติศาสตร์ คำนี้จริง ๆ แล้ว มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสกฤตสองคำ คือ ประวัติ กับ ศาสตร์  ประวัติ ถ้าเป็นคำบาลีจะเขียนเป็น ปวตฺติ  ถ้าเป็นคำสันสกฤตจะเขียนเป็น ปฺรวรฺติ  คำว่า ปวตฺติ (บาลี) เขียนแบบไทยจะเป็น ปะวัตติ ตัด ต. เต่าตัวหน้าออก (ตามหลักการบัญญัติคำภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย เช่น คำว่า วฑฺฒน จะตัด ฑ. นางมณโฑออกเป็น วัฒน  สัญญลักษณ์ ตัด ญ. หญิงตัวแรกออกเป็น สัญลักษณ์  วิมุตติ เป็น วิมุติ  เป็นต้น) จึงเป็น ปะวัติ  ส่วนคำว่า ปฺรวรฺติ (สันสกฤต) เขียนแบบไทยจะเป็น ประวรรติ (ตัว ร ที่มีจุดอยู่ข้างล่างในภาษาสันสกฤตเรียกว่า ร เรผะ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยนิยมเปลี่ยนเป็น ร หัน หรือ รร เช่น สฺวรฺค จะเป็น สวรรค์  วรฺธน เป็น วรรธนะ  เป็นต้น)  ทั้งสองคำแปลว่า “ความเป็นไปหรือความเป็นมา” เอา ประ คำหน้าของสันสกฤตกับ วัติ คำหลังของบาลีมารวมกันจึงเป็น ประวัติ
        ศาสตร์ เป็นคำสันสกฤต เขียนแบบไทยจะเป็น ศาสฺตฺร (อักษรสันสกฤตไม่มีในแป้นพิมพ์จึงพิมพ์ให้เห็นเป็นตัวอย่างไม่ได้ คำนี้บาลีจะเป็น สตฺถ)  แปลว่า คำสอน ความรู้ อาวุธ เมื่อเอาทั้งสองคำมารวมกัน (ตามหลักภาษาเรียกว่า สมาส) จะเป็น  ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด แปลว่า ความรู้เรื่องความเป็นไปหรือความเป็นมา แปลว่าเอาความ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวในการดำเนินชีวิต ไทยเราบัญญัติให้แปลคำว่า “History” ในภาษาอังกฤษ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติริเริ่มใช้
        คำว่า “History” ต่างหากที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Historia โดยมีรากศัพท์เดิมมาจาก Histor แปลว่า “ถักหรือทอ” ผู้ตั้งคำนี้คือ เฮโรโดตัส (Herodotos หรือ Herodotus) ซึ่งเป็นบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ เพราะวิชาประวัติศาสตร์ต้องใช้การค้นคว้า เลือกเฟ้น คัดสรรค์ ตรวจสอบ ด้วยการใช้เวลาและความอุตสาหะเหมือนกับการทอผ้า
        ความหมายของประวัติศาสตร์ กว้างที่สุดหมายถึง ประสบการทั้งมวลของมนุษยชาติที่ไม่สามารถบันทึกหรือถ่ายทอดได้ทั้งหมด จึงเหลือแต่เพียงหลักฐานหรือการตีความจากการค้นคว้าวิจัยของมนุษย์ยุคหลัง ซึ่งเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์ในอดีตที่เป็นว่ามีคุณค่าขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์ของมนุษยชาติโดยให้ใกล้เคียงที่สุดกับข้อเท็จจริง ด้วยการค้นคว้าหาหลักฐานตามหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น โบราณคดี ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา บรรพชีวินวิทยา เป็นต้น  ประวัติศาสตร์อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีการค้นพบหลักฐานใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น แต่ก่อนเราเรียนรู้ว่า ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดที่ภูเขาอัลไต แต่ต่อมาเมื่อมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีใหม่ ๆ เช่น บ้าเชียง ก็เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมประวัติศาสตร์ขึ้นมาอีกว่า ชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ตรงประเทศไทยนี่แหละ (หรือหลายแห่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์)

ความสำคัญของประวัติศาสตร์
        วิชาประวัติศาสตร์มีความสำคัญมากต่อมวลมนุษยชาติ   เพราะทำให้มนุษย์ยุคปัจจุบันหรือยุคต่อ ๆ ไป ได้ศึกษาเรียนรู้วิวัฒนาการของชนชาติ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของบรรพบุรุษ ความรุ่งเรืองตลอดจนความเสื่อมสลาย สาเหตุแห่งความเสื่อมสลายของอารยธรรมของตนเอง เพื่อนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมประเพณีให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปแก่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป ละเว้นการกระทำอันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมสลายของวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง พัฒนาสาเหตุที่จะทำให้สังคมวัฒนธรรมประเพณีของตนเองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น เราศึกษาประวัติศาสตร์การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายว่า เกิดมาจากความแตกสามัคคีของชนในชาติ ความเห็นแก่ตัวของชนในชาติ เป็นต้น ก็นำมาปรับปรุงให้เกิดความสามัคคีกัน 
        อีกประการหนึ่ง เราสามารถต่อยอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นก่อน ๆ ไปสู่คนรุ่นหลังได้ ก็ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์เช่น ชาวยุโรปสมัยก่อนซึ่งชอบคิดเรื่องโลกกลมหรือแบน (ต่างจากคนตะวันออกที่ชอบคิดเรื่องชาตินี้ชาติหน้า) แต่ก่อนสอนกันว่าโลกแบน โลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล ทำให้คนรุ่นหลังค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนพบว่า โลกกลม และดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล คนรุ่นก่อนมีการเริ่มสร้างสิ่งที่จะทำให้คนบินได้เหมือนนก โดยการสร้างเครื่องช่วยบินหรือเครื่องบินด้วยการทดลองต่าง ๆ นานา จนสำเร็จ คนรุ่นหลังนำมาต่อยอดจนเป็นเครื่องบินที่เห็นได้ในปัจจุบัน ซึ่งบินได้ทั่วโลกและอาจจะทั่วจักรวาลในยุคต่อ ๆ ไป คนรุ่นก่อนรู้จักผลิตเครื่องจักรทำให้ล้อเกวียนวิ่งได้โดยไม่ต้องใช้สัตว์ลาก โดยการใช้พลังงานความร้อนเกิดไอน้ำดันชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ล้อเกวียนวิ่งได้ คนรุ่นหลังก็นำมาต่อยอดจนเป็นเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่เห็นในปัจจุบันที่วิ่งได้เร็วย่นระยะเวลาลงได้เป็นหลายชั่วโมงหลายวัน
          สรุป ความสำคัญของประวัติศาสตร์ช่วยให้คนรุ่นหลังนำความรู้ที่คนรุ่นก่อน ๆ นำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ลดละเลิกพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่คนรุ่นก่อนทำแล้วเป็นเหตุให้เกิดการเสื่อมสลายของสังคมและวัฒนธรรม ก็จะทำให้สังคมวัฒนธรรมของตนเองเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป

วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุดซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร  ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการศึกษาและการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐาน  และนำไปใช้อย่างถูกต้องทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริง ที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย   หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย
การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5คำถามคือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where),   "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร"  (How) วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
  • การรวบรวมหลักฐาน
  • การคัดเลือกหลักฐาน
  • การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  • การนำเสนอข้อเท็จจริง
        ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์  จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้า  และสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันอันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยม  ในชาติหรือเผ่าพันธุ์ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม     ที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีต  เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบันองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา   สาเหตุของปัญหาและผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์   ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบาย  ให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิเคราะห์ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆคุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคม   ที่เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง  
ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
  • มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  • มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  • มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  • มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  • มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  • มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  • มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  • มีจินตนาการ (Historical imagination)
รายละเอียดวิธีการทางประวัติศาสตร์มีขั้นตอนการศึกษาดังนี้
ลำดับขั้นตอนที่สำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์คือ
        1. การตั้งคำถามเพื่อกำหนดหัวข้อการศึกษาซึ่งคำถามสำคัญมีดังนี้ใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไรทาไม/อย่างไร
           2. การค้นคว้า/รวบรวมข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
       3. การวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แก่การวิพากษ์ภายนอกและการวิพากษ์ภายใน
           4. การตีความหลักฐานเพื่อให้รู้ว่าหลักฐานข้อมูลที่แท้จริงคืออะไร
           5. การสังเคราะห์ข้อมูลคือการรวบรวมและเรียบเรียงข้อเท็จจริงต่างๆ
          6. การเรียบเรียงและนาเสนอผลการศึกษาตามระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์

 
ศิลาจารึก
ศิลาจารึกเป็นหลักฐานชั้นต้น
และเป็นลายลักษณ์อักษร
 
จดหมายเหตุ
ศิลาจารึกเป็นหลักฐานชั้นต้น
และเป็นลายลักษณ์อักษร


หลักฐานทางประวัติศาสตร์แบ่งออกตามลำดับความสำคัญเป็น 2 ประเภทคือ
        1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary Source) คือหลักฐานที่เกิดร่วมสมัยกับเหตุการณ์เช่นคาบอกเล่าของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจารึกจดหมายเหตุบันทึกเป็นต้น
        2. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary Source) คือหลักฐานที่จัดทาขึ้นภายหลังเหตุการณ์เช่นพระบรมราชานุสาวรีย์ตำนานบทความหนังสืองานนิพนธ์
ตัวอย่างของหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
        1. จารึกคือการบันทึกเรื่องราวไว้บนวัสดุที่มีความคงทนถาวรเช่นศิลาโลหะถือเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่มีอายุยาวนานที่สุดที่พบในประเทศไทยเช่นจารึกเยธัมมาจารึกที่เขางูเป็นต้น
        2. จดหมายเหตุคือการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในเวลานั้นมักบอกเวลาตามลำดับเหตุการณ์เป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
        3. พงศาวดารเป็นบันทึกที่ราชสำนักจัดทำขึ้นซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ตามลำดับเหตุการณ์และยุคสมัยถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความแม่นยาของข้อมูลเป็นที่ยอมรับโดยนักประวัติศาสตร์

ตัวอย่างหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
        1. หลักฐานทางโบราณคดีคือหลักฐานวัตถุสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เช่น อาวุธเครื่องประดับภาชนะหลักฐานชนิดนี้มีความสำคัญต่อนักประวัติศาสตร์ในการตรวจสอบหลักฐานประเภทเอกสารแน่ชัดขึ้น
        2. หลักฐานทางศิลปกรรมเช่นสถาปัตยกรรมประติมากรรมจิตรกรรมที่สะท้อนให้เห็นพัฒนาการของมนุษย์ในอดีตเช่นรูปแบบการสร้างบ้านเรือนการผลิตสิ่งของเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
3. หลักฐานประเภทโสตทัศน์เช่นภาพถ่ายแผนที่แผ่นเสียงภาพยนตร์เป็นหลักฐานที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์มีวิธีการตรวจสอบหลักฐานได้โดยการวิพากษ์หลักฐานซึ่งมีวิธีการ2ขั้นตอนคือ
1. การวิพากษ์หลักฐานภายนอกเป็นการตรวจสอบถึงลักษณะโดยทั่วไปของหลักฐานเช่นใครเป็นผู้แต่งเวลาที่เขียนลักษณะการเขียน
2. การวิพากษ์หลักฐานภายในเป็นการตรวจสอบที่เน้นการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระของเอกสารนั้นๆว่ามีความถูกต้องเพียงใด

 
ธรรมจักร
ธรรมจักรสมัยทวารวดี
เป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร




พระปรางค์สามยอด  จังหวัดลพบุรี
พระปรางค์สามยอด  จังหวัดลพบุรี
เป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร


ความหมายทางประวัติศาสตร์
เจมส์ ฮาร์เวย์ รอบินสันให้ความหมายประวัติศาสตร์ว่าทุกสิ่งซึ่งเรารู้เกี่ยวกับทุกสิ่งที่มนุษย์ได้ทาได้คิดได้หวังหรือได้รู้สึก
เลโอโปลด์ ฟอนรันเก อธิบายความหมายประวัติศาสตร์ว่าประวัติศาสตร์ได้รับการยกย่องให้มีหน้าที่พิพากษาอดีตให้บทเรียนแก่ปัจจุบันเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคต
นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์ ได้ให้ความหมายประวัติศาสตร์ว่า ประวัติศาสตร์คือการศึกษาเพื่ออธิบายอดีตของสังคมมนุษย์ในมิติของเวลาหรือประวัติศาสตร์คือการศึกษาเพื่อเข้าใจอดีตของสังคมมนุษย์ในมิติเวลา
ความหมายโดยสรุป       ประวัติศาสตร์คือการศึกษาอดีตของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงตามมิติของเวลาโดยอาศัยหลักฐานหรือร่องรอยที่หลงเหลือในปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์
ประโยชน์ของประวัติศาสตร์ที่มีต่อตนเองท้องถิ่นและประเทศชาติ ประวัติศาสตร์บอกที่มาและวิวัฒนาการของตนเองสังคมและโลกเพื่อให้เข้าใจปัจจุบันอย่างถ่องแท้ซึ่งนาไปสู่การดารงชีวิตอย่างมีสติรอบคอบและมีเหตุผลทั้งยังช่วยให้สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ต่าง ในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลจากประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐานได้อีกด้วย

หลักฐานทางประวิติศาสตร์
หลักฐานชั้นต้น/
หลักฐานปฐมภูมิ
(Primary Source)
หลักฐานชั้นรอง/
หลักฐานทุติยภูมิ
(secondary source)
   ความหมายหลักฐานชั้นต้นหมายถึงบันทึกหรือคาบอกเล่าของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรงหรือผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์รวมทั้งหลักฐานด้านโบราณคดีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
ความหมายหลักฐานชั้นรองหมายถึงหลักฐานที่จัดทำขึ้นภายหลังเหตุการณ์ทั้งประเภทวัตถุและงานเขียนรวมทั้งพจนานุกรมและสารานุกรมจัดทาขึ้นเพื่อประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิง
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่จารึก, ปูมตำนาน, จดหมายเหตุ, บันทึกส่วนบุคคล, จดหมายเอกสารการปกครอง, หนังสือพิมพ์รายวัน,นิตยสารร่วมสมัย, วารสารร่วมสมัย
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่โครงกระดูกแผ่นศิลาโลหะใบลานเจดีย์สิ่งก่อสร้างร่วมสมัยเป็นต้นคาบอกเล่านาฏศิลป์ดนตรีเพลงพื้นบ้าน
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่บทความ 
งานพิมพ์ทางประวัติศาสตร์
พจนานุกรม
สารานุกรม
แบบเรียน
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่พระบรม- ราชานุสาวรีย์
พระอนุสาวรีย์
ภาพยนตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ลายลักษณ์อักษร
ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
จารึก
หลักฐานทางโบราณคดี
ปูม บันทึก จดหมายเหตุร่วมสมัย
หลักฐานทางศิลปกรรม
ตำนาน
หลักฐานทางโสตทัศน์
พงศาวดาร
นาฏศิลป์
วรรณกรรมร่วมสมัย
คำบอกเล่า
หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร

จดหมาย

วิทยานิพนธ์

กฎหมายโบราณ

หลักฐานด้านภาษา สัททศาสตร์


ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ความหมาย
ตัวอย่าง
ความสำคัญ
1.  จารึกเป็นการบันทึกเรื่องราวในอดีตลงบนวัสดุที่มีความคงทนเช่นศิลาโลหะ
ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย, จารึกคาถาสั้น ๆ เรียกว่าจารึกเยธัมมา”, จารึกที่เมืองโบราณที่เมืองนครไชยศรี, จารึกที่เขางู, จารึกที่ภาคอีสาน, จารึกปราสาทพระขรรค์

จารึกเป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่มีอายุยาวนานที่สุดและเก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทยใช้ยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้เป็นอย่างด

2.ปูมบันทึกและจดหมายเหตุร่วมสมัยเป็นการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในเวลานั้น

จดหมายเหตุวันวลิต, จดหมายเหตุของโยสเซาเตน, บันทึกการเดินทางไปสยามของเดอชัวซี, บันทึกของนิโคลัสแชร์แวส
เอกสารโบราณที่สาคัญประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและบันทึกขณะที่มีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมักบอกเวลาตามลาดับเหตุการณ์

3.  ตำนาน คือหลักฐานประวัติศาสตร์ที่มาจากการบอกเล่าสืบต่อกันส่วนใหญ่พบนิทานนิยายเรื่องเหลือเชื่อปนอยู่

ตานานมูลศาสนา, ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์, ตำนานพระแก้วมรกต, ตำนานสิงหนวัติ, ตำนานจามเทวีวงศ์
ตำนานเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทบอกเล่าซึ่งสะท้อนทัศนคติความเชื่อความคิดและสีสันเข้าไปด้วยการนามาใช้ต้องแยกแยะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ก่อน

4. พงศาวดาร เป็นบันทึกที่ราชสานักจัดทาขึ้นจะเน้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ตามลาดับเหตุการณ์

พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด), พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์, พระราชพงศาวดารฉบับหัตถเลขา
พงศาวดารเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้รู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจในสมัยต่างๆซึ่งมีความแม่นยำของข้อมูลเป็นที่ยอมรับ





ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 1
ธงสมัยรัชกาลที่ 1

ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 2
ธงสมัยรัชกาลที่ 2

ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงสมัยรัชกาลที่ 4
ธงสมัยรัชกาลที่ 4

ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงราชการ ร.ศ. 129
ธงราชการ ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงค้าขาย ร.ศ. 129
ธงค้าขาย ร.ศ. 129

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)
ธงไตรรงค์ (ปัจจุบัน)

ที่มา:

การผังเมือง กระทรวงมหาดไทย,กรม. การผังเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป,(2542).

กำธร กุลชล และคณะ.วิวัฒนาการทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันออก: ตั้งแต่เริ่มสร้างงกรุงจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง. วารสาร ม. ศิลปากร ฉบับ พิเศษ กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี.กรุงเทพฯ: 2525, . 221 – 243.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์. ถิ่นกำเนิดชนชาติไท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

ชิน อยู่ดี. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2510.

ชำระประวัติศาสตร์ไทย,กรม. รายพระนามพระมหากษัตริย์อยุธยา.ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2515.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. หนังสือเรียน สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2 ( 32101). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2547.

ณรงค์ พํวงพิศ และคณะ. คู่มือครู สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2551.

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ราชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอเดีย สแควร์. 2546.

ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. (2545).

นิธิ เอียวศรีวงศ์.การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท พิฆเนศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำำกัด, 2536

เนตรนิมิต.ประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมาและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์.นครราชสีมา: หจก. มิตรภาพการพิมพ์1995, 2547

บังอร ปิยะพันธ์.ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์.พิมพ์ครั้งแรก, กรุงสยามการพิมพ์,สิงหาคม 1433

พลับพลึง คงชนะ.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์. 2543.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปากร,กรม.โบราณคดีประวัติศาสตร์.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2529.

สุด แสงวิเชียร. เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, (2517).

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ประวัติศาสตร์ ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, มปป.