รายการ

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

อุทยาประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

อุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่งนี้ ผู้จัดทำได้ไปเรียนและศึกษามาทั้ง 3 แห่งตลอด ในขณะที่เรียนอยู่ปริญญาตรีกับท่านอาจาย์อภัย  นาคคง (ประมาณ พ.ศ. 2532) ซึ่งขณะนั้นท่านสอนอยู่ที่วิทยาเขตเพาะช่างพระนคร ติดกับโรงเรียนสวนกุหลาบแถวตลาดพาหุรัด ท่านเป็นที่บรรยายประวัติศาสตร์ที่น่าประทับใจมาก โดยบรรยายจนนักศึกษามองเห็นภาพในสมัยที่เมืองต่าง ๆ อยู่คงดำรงอยู่
        อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชรได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่๑๕เมื่อปีพุทธศักราช 2534 ที่เมืองคาร์เทจประเทศตูนิเซียโดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่1และข้อที่ 3 ดังนี้
(i) เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าอำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัยห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก12กิโลเมตรตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพักมีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ3ชั้นมีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตกส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่านซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 12 กิโลเมตร
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองเก่าสุโขทัยตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2478 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2502 ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ 2,050 ไร่ต่อมาในปีพุทธศักราช 2518 ได้ประกาศเขตเพิ่มเติมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 43,750 ไร่หรือประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัยมีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ 60 กิโลเมตรตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตกลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำมีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัยตั้งแต่ปีพุทธศักราช2478และต่อมาในปีพุทธศักราช 2531 ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ 28,217 ไร่หรือ 45.14 ตารางกิโลเมตร
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชรมีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ 70 กิโลเมตรอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูวางแนวยาวขนานกับลำน้ำปิงมีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปีพุทธศักราช2478และต่อมาในปีพุทธศักราช 2511 ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ 2,114 ไร่หรือประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร
แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ประวัติศาสตร์โบราณคดีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

เมืองสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 18 - 20)
        เมืองโบราณ 700 กว่าปีอดีตราชธานีที่รุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมืองเศรษฐกิจการค้าศาสนาภาษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีและเทคโนโลยีที่มีการสร้างสรรค์สั่งสมและสืบทอดมาสู่ชนชาติไทยในปัจจุบันหากย้อนอดีตเพื่อสืบค้นความเป็นมาของบรรพชนในดินแดนสุโขทัยแล้วอาจกล่าวได้ว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ณดินแดนแห่งนี้มาไม่ต่ำกว่า 2,500 ปีจากหลักฐานหลุมฝังศพโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือหินที่พบณแหล่งโบราณคดีบ้านบึงหญ้าอำเภอคีรีมาศจังหวัดสุโขทัยนอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีเขาเขนเขากาอำเภอศรีนครแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นอำเภอศรีสัชนาลัยที่แสดงให้เห็นถึงความสืบเนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์สู่สมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนแถบนี้
สมัยประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มบังเกิดขึ้นเมื่อวัฒนธรรมจากต่างแดนเผยแผ่เข้ามาอันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นอย่างมากมายอาทิแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาดบ้านตลิ่งชันในอำเภอบ้านด่านลานหอยซึ่งเป็นแหล่งถลุงและผลิตเครื่องมือเหล็กได้ค้นพบโบราณวัตถุสำคัญคือเหรียญเงินรูปสัตว์คล้ายลิงและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหรียญเงินรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะที่มักพบได้ตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) นอกจากนี้ในบริเวณเมืองสุโขทัยเก่ายังพบพระพุทธรูปหินทรายศิลปะทวารวดี 2 องค์คือที่วัดมหาธาตุและวัดสะพานหินตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาวัฒนธรรมแบบขอมหรือบางทีเรียกว่าสมัยลพบุรีได้ปรากฏขึ้นในดินแดนสุโขทัยมีหลักฐานคือปราสาทเขาปู่จาอำเภอคีรีมาศซึ่งกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 วัฒนธรรมแบบขอมเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากก่อนที่จะมีการสถาปนาราชธานีสุโขทัยศรีสัชนาลัย (ในพุทธศตวรรษที่ 19) ดังปรากฏหลักฐานโบราณสถานแบบขอม (ในพุทธศตวรรษที่ 17 - 18) ที่เมืองศรีสัชนาลัยได้แก่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง(ซุ้มประตูทางเข้า) และวัดเจ้าจันทร์ส่วนที่เมืองสุโขทัยเก่าได้แก่วัดพระพายหลวงวัดศรีสวายและศาลตาผาแดง

ศิลาจารึกหลักที่ 2 จารึกวัดศรีชุม ให้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่18ว่าพ่อขุน2 องค์คือพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกันต่อสู้ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเมืองสุโขทัยได้สำเร็จอันแสดงนัยสำคัญว่าเป็นการปฏิเสธอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมแบบขอมที่เคยแพร่หลายอยู่แต่เดิมออกไปเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่อันเป็นเอกลักษณ์แห่งชนชาติตนคือความเป็นคนสุโขทัยนั่นเองภายหลังจากเหตุการณ์ข้างต้นพ่อขุนบางกลางหาวได้ขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปกครองเมืองสุโขทัยเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
ศิลาจารึกวัดศรีชุม
ศิลาจารึกวัดศรีชุม
ราชวงศ์พระร่วงมีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อมารวมทั้งสิ้น9 พระองค์เป็นระยะเวลาประมาณเกือบ 200 ปี (พุทธศักราช 1792 - 1981) ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ในทางประวัติศาสตร์และทางศิลปะจัดว่าเป็นสมัยสุโขทัยกำหนดช่วงระยะเวลาไว้โดยประมาณว่าระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ซึ่งมีเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเกิดขึ้นมากมายสรุปความสำคัญได้ว่าในรัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ราวพุทธศักราช 1800) สันนิษฐานว่าเป็นยุคสมัยแห่งการสร้างบ้านแปงเมืองภายใต้วัฒนธรรมทางพุทธศาสนาแบบเถรวาทสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ไว้ณใจกลางเมืองวางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างคันดินขุดคูน้ำล้อมรอบสร้างป้อมปราการและประตูเมืองสี่ด้านเป็นต้น
ในรัชสมัยของพ่อขุนบานเมือง (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19) เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆไม่ปรากฏเหตุการณ์สำคัญในหลักฐานทางประวัติศาสตร์แต่สันนิษฐานว่าคงมีการก่อสร้างบ้านสร้างเมืองสืบต่อจากรัชกาลก่อน
ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช(พุทธศักราช 1822 - 1841) ปรากฏหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุโขทัยหลายประการพระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรไทย (ลายสือไท) ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 1826 ทรงสร้างขดานหินมนังศิลาบาตรเมื่อปีพุทธศักราช 1834 สำหรับพระสงฆ์นั่งเทศนาธรรมไพร่ฟ้าประชาชนยึดมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งไว้สำหรับบำบัดทุกข์บ้านเมืองจึงร่มเย็นเป็นสุขมีความอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลาในนามีข้าวอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลการเมืองมั่นคงผูกสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่างๆ
        ในรัชสมัยของ
พระยาเลอไท(พุทธศักราช 1842ไม่สามารถระบุได้) และรัชสมัยของพระยางั่วนำถุม(ไม่สามารถระบุได้พุทธศักราช 1890) ตามลำดับไม่ปรากฏเหตุการณ์สำคัญในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เด่นชัดแต่อาจเชื่อมโยงกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลานี้มีหลักฐานที่สำคัญคือจารึกวัดศรีชุมกล่าวถึงเมืองสุโขทัยได้ร่วมมือกันกับเมืองสองแควยกทัพออกไปร่วมรบพระศรีศรัทธาราชจุฬามณีแห่งเมืองสองแควได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะเหนือข้าศึกคือขุนจังและตำนานมูลศาสนากล่าวถึงพระภิกษุชาวสุโขทัย 2 รูปคือพระสุมนะและพระอโนมทัสสีได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่นครพันแล้วกลับมาเผยแผ่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย
ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่1หรือพระยาลิไท(พุทธศักราช 1890 - 1911) ทรงรวบรวมเมืองต่าง ๆ ภายในแว่นแคว้นสุโขทัยทรงเป็นทั้งนักรบและนักปราชญ์ทรงใช้ศาสนาเพื่อสร้างพันธมิตรทางการเมืองอาทิเมืองน่านหลวงพระบางและกรุงศรีอยุธยาที่สำคัญเมื่อปีพุทธศักราช 1905 ทรงออกผนวชและจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วงนอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตกทรงมีความรอบรู้ทางด้านศาสนาดังเช่นเมื่อปีพุทธศักราช1888เมื่อครั้งยังทรงเป็นอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัยทรงนิพนธ์ เตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง         
 เรื่องราวจักรวาลวิทยาทางพุทธศาสนานอกจากนี้บรรดางานศิลปกรรมที่งดงามต่างๆอาทิรอยพระพุทธบาทพระพุทธรูปเจดีย์และวัดวาอารามหลายแห่งล้วนมีหลักฐานชี้ชัดหรือบางแห่งเป็นที่น่าเชื่อกันว่าสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลานั้นอย่างไรก็ตามในรัชสมัยของพระยาลิไทได้มีอาณาจักรแห่งใหม่เกิดขึ้นคือ กรุงศรีอยุธยาซึ่งทวีกำลังและอำนาจจนเหนือกว่าและเข้ามามีอิทธิพลต่อแคว้นสุโขทัยเริ่มตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองทรงยกทัพมายึดเมืองพิษณุโลกแล้วตั้งเงื่อนไขให้พระยาลิไทต้องย้ายไปประทับที่พิษณุโลกถึง7ปีอันเป็นการทำให้ศูนย์กลางราชบัลลังก์แห่งเมืองสุโขทัยไม่มั่นคง                                  
 เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระยาลิไทสุโขทัยยังดำรงฐานะเป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองในตำแหน่งพระมหาธรรมราชาสืบต่อมาอีกคือพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) และพระมหาธรรมราชาที่ (บรมปาล) ตามลำดับแม้สถานภาพทางการเมืองจะไม่ค่อยมั่นคงแต่ชาวสุโขทัยก็ยังคงยึดมั่นในพระพุทธศาสนาดังเช่นที่ปรากฏตามหลักฐานการสร้างวัดและงานศิลปกรรมทางศาสนามาโดยตลอดอาทิวัดช้างล้อม (พุทธศักราช 1927) วัดอโสการาม (พุทธศักราช 1942) วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (พุทธศักราช 1947) และวัดสรศักดิ์ (พุทธศักราช 1960) เป็นต้นสำหรับสถานภาพทางการเมืองของสุโขทัยที่มิได้มั่นคงดังเช่นแต่ก่อนนั้นทั้งนี้ก็เนื่องมาจากอิทธิพลจากภายนอกที่สำคัญคือกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้บางคราสุโขทัยก็เข้มแข็งบางคราก็อ่อนแอจนกระทั่งปีพุทธศักราช 1981 เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) สิ้นพระชนม์สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) แห่งกรุงศรีอยุธยาก็มิได้แต่งตั้งพระมหาธรรมราชาอีกแต่โปรดให้พระราเมศวร (ตำแหน่งอุปราชซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) พระราชโอรสผู้มีมารดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยไปปกครองเมืองพิษณุโลกและเมืองต่างๆในแคว้นสุโขทัยพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าพระพุทธชินราชมีน้ำพระเนตรเป็นโลหิตนั่นคือสุโขทัยสูญสิ้นเอกราชให้แก่พระนครศรีอยุธยาอันเป็นการยุติอำนาจทางการเมืองของแคว้นสุโขทัยลงอย่างแท้จริงรวมระยะเวลาแห่งการดำรงเอกราชของแคว้นสุโขทัยประมาณเกือบ 200 ปี
        ภายหลังการสิ้นสุดอำนาจของแคว้นสุโขทัยแล้วศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองในแถบภาคเหนือตอนล่างเปลี่ยนมาอยู่ที่เมืองพิษณุโลกซึ่งก็มีฐานะเป็นเพียงเมืองลูกหลวงของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาอีกต่อหนึ่งนับจากนี้ไปเมืองสุโขทัยไร้ซึ่งกำลังในการสร้างสรรค์และทำนุบำรุงบ้านเมืองแม้บางคราประวัติศาสตร์กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของผู้คนในดินแดนแห่งนี้แต่ก็มิได้สลักสำคัญเฉกเช่นในอดีตกระทั่งบางคราเมื่อเกิดศึกสงครามก็ต้องกวาดต้อนผู้คนออกไปจนสิ้นอันทำให้เมืองสุโขทัยต้องกลายเป็นเมืองร้างอยู่กลางป่าดงนานนับร้อยปี

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

เมืองศรีสัชนาลัย(พุทธศตวรรษที่ 18 - 20)
        บริเวณที่ราบริมแม่น้ำยมและที่ลาดเชิงเขาพระศรีเขาใหญ่เขาสุวรรณคีรีเขาพนมเพลิงเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานเนื่องจากมีแม่น้ำและภูเขาเป็นปราการล้อมรอบประกอบกับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำยมและคลองเล็กคลองน้อยที่ไหลเชื่อมโยงในพื้นที่ทำให้มีชุมชนก่อตัวขึ้นบริเวณนี้ตลอดมาจากหลักฐานที่พบเช่นขวานหินขัดที่บ้านท่าชัยตำบลท่าชัยอำเภอศรีสัชนาลัยในตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยและที่บริเวณเขาเขนเขากาอำเภอศรีนครทำให้ทราบว่าบริเวณพื้นที่ตั้งเมืองศรีสัชนาลัยและบริเวณโดยรอบปรากฏชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในสังคมเกษตรกรรมที่รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์และดำรงชีวิตบนพื้นราบริมลำน้ำเป็นหลักแหล่งแล้ว
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
        จากการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณบริเวณวัดชมชื่นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงและวัดเจ้าจันทร์เมืองศรีสัชนาลัยพบว่ามีชุมชนเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมาและได้พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน15โครงพร้อมลูกปัดแก้วและแท่งดินเผารูปสี่เหลี่ยมปลายเรียวอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 16เป็นชุมชนร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลางถัดจากชั้นนี้ขึ้นไปเป็นชั้นวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรีแต่ยังนิยมใช้อิฐเป็นวัสดุในการก่อสร้างและพบร่วมกับกระเบื้องเชิงชายดินเผาทำเป็นรูปนางอัปสรกระเบื้องกาบกล้วยตามรูปแบบที่นิยมในศิลปะเขมรสมัยบายนหลักฐานที่พบเหล่านี้น่าจะร่วมสมัยกับซุ้มประตูวัดพระศรีมหาธาตุเชลียงซึ่งมีปูนปั้นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร4พักตร์รูปเทพธิดาและนางอัปสรร่ายรำเทียบได้กับศิลปะเขมรสมัยบายนราวพุทธ
ศตวรรษที่18       
        นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเอกสารจีนประมาณพุทธศตวรรษที่16ได้กล่าวถึงชุมชนโบราณแห่งหนึ่งเรียกเมืองนี้ว่า 
"เฉิงเหลียง" เมื่อพิจารณาจากหลักฐานฝ่ายไทยปรากฏในพงศาวดารโยนกมีคำเรียกพื้นที่บริเวณหนึ่งว่า แดนเฉลี่ยง” สันนิษฐานว่าคือบริเวณที่ต่อมาสมัยหลังเป็นเมืองเชลียงศรีสัชนาลัยนั่นเองก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้นมีหลักฐานศิลาจารึกยืนยันว่าในลุ่มน้ำยมได้มีเมืองสุโขทัยกับเมืองเชลียงหรือศรีสัชนาลัยปรากฏขึ้นอยู่ก่อนแล้วมีพ่อขุนศรีนาวนำถุมเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองทั้งสองเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงขอมสบาดโขลญลำพงใช้กำลังยึดเมืองสุโขทัยต่อมาพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยางและพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมร่วมกันยึดที่มั่นที่เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลังแล้วนำทัพกลับลงมายึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้พ่อขุนผาเมืองแม้จะเข้ายึดเมืองสุโขทัยได้ก่อนแต่ได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยโดยมีพระนามว่า ศรีอินทรปตินทราทิตย์เรียกกันต่อมาในภายหลังว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
        ผู้ปกครองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยต่อจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คือพ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงโอรสทั้งสองของพระองค์ตามลำดับเมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์สุโขทัยแล้วพระองค์ทรงพัฒนาฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองการศาสนาและศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างดียิ่งโดยเฉพาะการทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบหรือสังคโลกส่วนด้านศาสนาพระองค์ได้ขุดพระธาตุขึ้นมาสมโภชและได้ก่อสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระธาตุไว้กลางเมืองพร้อมทั้งก่อกำแพงล้อมรอบสันนิษฐานว่าพระธาตุกลางเมืองที่พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างนี้น่าจะเป็นเจดีย์วัดช้างล้อมหรืออาจจะเป็นพระปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงก็เป็นได้เมื่อพระยาเลอไทสิ้นพระชนม์และต่อมาพระยางั่วนำถุมจึงได้ทรงเป็นกษัตริย์ครองสุโขทัยซึ่งในเวลานั้นพระยาลิไททรงเป็นอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัยจนกระทั่งปีพุทธศักราช1890พระยาลิไทได้เสด็จนำพลจากเมืองศรีสัชนาลัยไปยึดอำนาจที่สุโขทัยได้และเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัยต่อมา
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดเจดีย์เจ็ดแถว  ศรีสัชนาลัย
        พระยาลิไททรงเป็นทั้งนักปกครองและนักปราชญ์ขณะที่ทรงครองเมืองศรีสัชนาลัยในฐานะอุปราชนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์ ไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นหนังสือที่สะท้อนถึงความคิดเกี่ยวกับภพภูมิต่างๆของคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาและเมื่อเสวยราชย์ที่กรุงสุโขทัยแล้วก็ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุจากพระราชกรณียกิจและพระจริยวัตรดังกล่าวพระองค์จึงมีพระนามว่า พระมหาธรรมราชาพระองค์ได้โปรดให้ก่อสร้างศาสนสถานขึ้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะที่เมืองศรีสัชนาลัยในปัจจุบันนี้ก็ยังคงปรากฏหลักฐานที่เป็นโบราณสถานซึ่งก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยของพระองค์อยู่เป็นจำนวนมาก
        เมืองศรีสัชนาลัยคงดำรงความเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัยต่อมาอีกหลายชั่วกษัตริย์แม้เมื่อสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาเชื้อพระวงศ์ผู้สูงศักดิ์แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติให้ปกครองดูแลเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ตามเดิมเมืองศรีสัชนาลัยหรือสวรรคโลกของกรุงศรีอยุธยาในช่วงสมัยแรกๆเป็นเมืองสำคัญในการผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกจัดส่งไปขายยังดินแดนโพ้นทะเลเช่นฟิลิปปินส์ญี่ปุ่นอินโดนีเซียเป็นต้นนับเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยาสมัยหลังเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้วกรุงศรีอยุธยาได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามาปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท
        ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อปีพุทธศักราช 2310 เมืองต่างๆถูกปล่อยทิ้งร้างเนื่องจากถูกข้าศึกโจรผู้ร้ายรบกวนแต่หลังจากบ้านเมืองสงบลงแล้วเมืองสวรรคโลกได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ที่บ้านเมืองเก่าซึ่งอยู่ใต้ลงมาจากเมืองเดิมและต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ปัจจุบันที่ตั้งตัวอำเภอสวรรคโลกอยู่ฝั่งแม่น้ำยมตรงกันข้ามกับบ้านวังไม้ขอนส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปใช้เป็นชื่อตั้งอยู่อีกอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัยซึ่งมีเขตการปกครองท้องที่ครอบคลุมส่วนที่เป็นเมืองศรีสัชนาลัยโบราณซึ่งพื้นที่เมืองโบราณศรีสัชนาลัยในปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชร(นครชุมกำแพงเพชรชากังราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 22)
        บริเวณพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่นแหล่งโบราณคดีบ้านบึงหญ้าแหล่งโบราณคดีเขากะล่อนและแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเมืองซึ่งพบโบราณวัตถุเช่นเครื่องมือหินขัดเครื่องปั้นดินเผาและโครงกระดูกมนุษย์เป็นต้นที่เมืองโบราณไตรตรึงษ์บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงได้พบโบราณวัตถุเก่าแก่ถึงวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) เป็นจำนวนมากเช่นลูกปัดแก้วเศษภาชนะดินเผาแบบไม่เคลือบและโดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนตะเกียงดินเผาเป็นแบบที่พบโดยทั่วไปตามแหล่งชุมชนสมัยทวารวดีในเขตภาคกลางหลักฐานดังกล่าวได้แสดงถึงการเป็นที่ตั้งชุมชนบนเส้นทางคมนาคมระหว่างบ้านเมืองในที่ราบลุ่มภาคกลางกับชุมชนที่อยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปเช่นเมืองหริภุญชัยจังหวัดลำพูน
แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) และศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ได้กล่าวถึงบทบาทของเมืองสำคัญในระดับนครของแคว้นสุโขทัยในระยะแรกประกอบด้วยเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัยในเขตลุ่มแม่น้ำยมเมืองสระหลวงสองแควในเขตลุ่มแม่น้ำน่านโดยไม่กล่าวถึงเมืองนครชุมและกำแพงเพชรในเขตลุ่มแม่น้ำปิงเลยแต่อย่างไรก็ดีเมืองโบราณที่เหลือร่องรอยคูน้ำคันดินบนสองฝั่งแม่น้ำปิงก็น่าจะก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้นได้แก่เมืองไตรตรึงษ์เมืองคณฑีและเมืองเทพนคร                                                                                    
 ในสมัยสุโขทัยการสถาปนาเมืองสำคัญบริเวณสองฝั่งแม่น้ำปิงเกิดขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทเมืองนครชุมบนฝั่งตะวันตกริมคลองสวนหมากน่าจะเป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญมาก่อนศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) กล่าวว่าเมื่อพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาลิไทได้เสด็จมาสถาปนาพระมหาธาตุและปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้มาจากลังกาทวีปไว้ที่กลางเมืองนครชุมนอกจากนี้ยังทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแต่เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทั้งในศิลาจารึกและโบราณสถานจะพบว่าบทบาทของเมืองนครชุมในฐานะเมืองศูนย์กลางบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงดำรงอยู่ในระยะเวลาค่อนข้างสั้นเพราะต่อมาได้มีการย้ายศูนย์กลางมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงหรือฝั่งเมืองกำแพงเพชรแทน
หลังจากพระมหาธรรมราชาลิไทสวรรคตเมืองต่างๆในแคว้นสุโขทัยได้แตกแยกบางเมืองเข้าเป็นพันธมิตรกับกรุงศรีอยุธยาบางเมืองยังอยู่กับแคว้นสุโขทัยดังเดิมในขณะเดียวกันสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่วกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพขยายอำนาจขึ้นมาปราบปรามหัวเมืองต่างๆหลายเมืองในดินแดนแคว้นสุโขทัยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเมืองกำแพงเพชรได้มีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าการจัดตั้งเมืองกำแพงเพชรเป็นนโยบายของกรุงศรีอยุธยาเพื่อดึงอำนาจจากเมืองนครชุมซึ่งเคยเป็นหัวเมืองของสุโขทัยมาก่อนโดยเจ้าเมืองกำแพงเพชรน่าจะมีเชื้อสายผสมระหว่างราชวงศ์สุโขทัยกับฝ่ายอยุธยาเรื่องราวตามที่ปรากฏในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์และหนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองกำแพงเพชรชื่อติปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิศได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากกรุงศรีอยุธยามาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรโดยอาศัยความสัมพันธ์ในฐานะมารดาของพระยาญาณดิศซึ่งเป็นชายาองค์หนึ่งของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1
        ชื่อเมืองกำแพงเพชรปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 38 (จารึกกฎหมายลักษณะโจร) กล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองกำแพงเพชรเมื่อพุทธศักราช 1940 ศิลาจารึกหลักที่ 46 (จารึกวัดตาเถรขึงหนัง) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาโอรสของพระมหาธรรมราชาลิไทและสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาได้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรเพื่อมาอำนวยการสร้างวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยารามที่กรุงสุโขทัยในปีพุทธศักราช 1947 ตอนต้นของจารึกหลักนี้ได้กล่าวถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระมหาธรรมราชาแต่การนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรย่อมชี้ให้เห็นว่าสุโขทัยยอมรับบทบาทของเมืองกำแพงเพชรในฐานะเมืองศูนย์กลางด้านการศาสนาและศิลปกรรมเมื่อดินแดนสุโขทัยอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาในกลางพุทธศตวรรษที่ 20 แล้วเมืองกำแพงเพชรมีฐานะเป็นหัวเมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในกลุ่มของเมืองเหนือทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านในการป้องกันข้าศึกจากทางเหนือในสมัยพระบรมไตรโลกนาถกรุงศรีอยุธยาได้จัดการปกครองให้เมืองกำแพงเพชรอยู่ในฐานะเมืองพระยามหานครเช่นเดียวกับเมืองพิษณุโลกศรีสัชนาลัยและสุโขทัยในการศึกสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมืองกำแพงเพชรมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองหน้าด่านทางทิศเหนือตามเส้นทางแม่น้ำปิงของกรุงศรีอยุธยา
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
บทบาทด้านการทหารของเมืองกำแพงเพชรปรากฏมาตลอดในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะในการทำสงครามกับพม่าเมื่อทัพหลวงจากกรุงศรีอยุธยายกทัพไปตีพม่าหรือเมืองเชียงใหม่จะเลือกตั้งทัพที่เมืองกำแพงเพชรและพม่าเองก็ทราบถึงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเมื่อยกทัพจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาก็จะยึดเมืองกำแพงเพชรเป็นฐานกำลังและเตรียมสะสมเสบียงอาหารในบางครั้งถึงขึ้นพักพลตั้งทำนาดังเช่นในปีพุทธศักราช 2128 จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรได้กล่าวไว้ว่าเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชได้ประดิษฐานพระอิศวรไว้ในเมืองกำแพงเพชรเมื่อพุทธศักราช 2053 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยาศิลาจารึกยังได้กล่าวถึงการซ่อมแซมวัดวาอารามทั้งในเมืองและนอกเมืองตลอดจนได้บูรณะปรับปรุงถนนและระบบการชลประทานคลองส่งน้ำที่นำน้ำจากเมืองกำแพงเพชรไปยังเมืองบางพานการทำนุบำรุงสิ่งก่อสร้างต่างๆในเมืองกำแพงเพชรครั้งนี้ถือว่าเป็นพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทั้งสองพระองค์คือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และพระอาทิตยวงศ์ก่อนได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2310 แล้วเมืองกำแพงเพชรได้ลดบทบาทและคงจะร้างไปในที่สุดผู้คนในเมืองกำแพงเพชรคงจะแตกกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆหรือหัวเมืองใหญ่อยู่ใกล้เคียงเมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้วมีการอพยพเข้าตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำปิงนอกตัวเมืองเก่าทางทิศตะวันออกภายในเขตกำแพงเมืองจึงปรากฏร่องรอยโบราณที่รกร้างอยู่ทั่วไป