ประเทศไทยสมัยกรุงธนบุรี
กรุงธนบุรี เป็นราชธานีของไทยในช่วง พ.ศ. 2310 -
2325 มีที่ตั้ง ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เมืองธนบุรีเดิม
หลังจากกรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 แล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้นพระราชทานนามว่า
"กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" เมื่อจุลศักราช
1130 ปีชวด สัมฤทธิศกตรงกับ พ.ศ. 2310 จวบจนถึง พ.ศ.
2325 นับเป็นเวลาแห่งราชธานีเพียง 15 ปีเท่านั้น
แผนที่กรุงธนบุรี สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
พระยาตาก มีชาติกำเนิดเป็นคนสามัญธรรมดา
บิดาชื่อ นายไหฮอง เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ มารดาชื่อ นางนกเอี้ยง
สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่มีหลักฐานปรากฏ ทราบแต่ว่าพระนาม “สิน”
นั้นเป็นที่รู้จักภายหลัง เมื่อทรงเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาจักรี อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน
ซึ่งได้ตั้งชื่อให้ว่า สิน
เด็กชายสินได้รับการศึกษาเล่าเรียนระยะแรกกับพระอาจารย์ทองดี
วัดโกษาวาส
(บางท่านว่าเป็น วัดคลัง) จนกระทั่งอายุได้
13 ปี ท่านอัครมหาเสนาบดีจึงพาเข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตร (สิน)
ครั้นเมื่อเจ้าเมืองตากถึงแก่กรรม หลวงยกกระบัตร (สิน) จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตาก เป็นเหตุให้คนทั่วไปเรียกว่า
พระยาตากสิน
เมื่อพม่าล้อมกรุง ได้ถูกเรียกตัวเข้ามาป้องกันกรุงศรีอยุธยา
พระยาตากช่วยรบพุ่งอย่างเข้มแข็ง จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร
แต่ยังไม่ทันได้รับตำแหน่ง ทางเมืองหลวงได้เรียกตัวเข้าช่วยป้องกันพระนครในการทาสงครามกับพม่า
ขณะที่ทาการรบอยู่นั้น พระยาตากเกิดความท้อใจถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกพระยาตากตีได้ค่ายพม่า
แต่ไม่มีกำลังหนุนจึงต้องถอยทัพ ครั้งที่ 3 ถูกเกณฑ์ให้ไปรับมือพม่าที่วัดใหญ่กับพระยาเพชรบุรี
พระยาตากเห็นว่ากำลังของพม่าเหลือที่จะเอาชนะได้ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เห็นด้วยยกทัพไปจนแพ้แก่พม่า
พระยาตากจึงถูกต้องข้อหาว่าทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย และครั้งที่ 3 เมื่อก่อนเสียกรุงเพียง
3 เดือน
พระยาตากยิงปืนใหญ่โดยไม่ได้ขออนุญาตจึงถูกภาคทัณฑ์
พระยาตากเกิดความท้อใจในความอ่อนแอของ พระเจ้าเอกทัศ และเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะต้องเสียแก่พม่าอย่างแน่นอน
จึงได้รวบรวมพรรคพวกได้ราว 500 คน พร้อมกับขุนนางนายทหารผู้ใหญ่ตีฝ่าวงล้อมพม่า โดยนายทหารและขุนนางผู้ใหญ่มี
พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา ขุนอภัยภักดี และ หมื่นราชเสน่หา
พอค่ามืดก็ยกออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา กองกาลังของพระยาตากปะทะกับทัพพม่าหลายครั้ง
ดังนี้
ครั้งแรก
รบกันที่บ้านหันตรา แขวงอยุธยา พม่าแตกหนีกลับไป
ครั้งที่
๒ พม่าตามไปทันที่บ้านโพธิ์สังหาร แต่ถูกพระยาตากตีแตกกลับมา
ครั้งที่
๓ พระยาตากพักพลที่บ้านพรานนก (แขวงนครนายก) แล้วให้ทหารไปหาเสบียง
เกิดปะทะกับทัพพม่าที่ลาดตระเวนมาจากบางคาง แขวงเมืองปราจีนบุรีเข้าอย่างไม่รู้ตัว
จึงตั้งตัวไม่ติด หนีแตกกระจายกลับมาทางบ้านพรานนก พระยาตากได้เข้าแก้ไขสถานการณ์ไว้ได้และตีขนาบทัพพม่าจนถอยร่นกลับไป
การรบจนมีชัยชนะในครั้งนี้ ทาให้ชาวบ้านพอใจเข้ามาเป็นสมัครพรรคพวกมากขึ้น จากนั้นจึงยกพลผ่านนครนายกไปทางบ้านกบแจะ
ครั้งที่
๔ พวกพม่าที่แตกไปจากบ้านพรานนก นำเรื่องรายงานนายทัพที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำเจ้าโล้ นายทัพจึงยกทัพบก
ทัพเรือ ติดตามมาจนทันกันที่ดงศรีมหาโพธิ์ เขตปราจีนบุรี พระยาตากมีทหารน้อยกว่า จึงใช้อุบายลวงพม่าให้ไล่ตามไปในทางแคบซึ่งได้จัดทหารและปืนดักไว้
ทหารพม่าบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นมาพม่าจึงเลิกติดตามกองกำลังของพระยาตากอีกต่อไป
จากนั้นพระยาตากยกกำลังไปทางฉะเชิงเทรา
ชลบุรี ได้กาลังคนและกาลังอาวุธเพิ่มเติมอีกมาก
ภาพวาดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
ทัพพระยาตากเคลื่อนไปทางเมืองระยอง
ตั้งมั่นอยู่ที่วัดลุ่ม ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากเจ้าเมืองระยองและกรมการเมือง เพราะทางเมืองระยองเห็นว่ากองทัพของพระยาตากมีกาลังเหนือกกว่า
ในขณะเดียวกันก็คบคิดกันจะแอบยกพวกเข้าปล้นค่ายของพระยาตากเพราะเห็นว่าพระยาตากเป็นกบฏต่อกรุงศรีอยุธยา
พระยาตากไหวตัวทันและทราบว่ากรมการเมืองหลายคน เช่น หลวงพล ขุนว่าเมือง ขุนรามหมื่นซ่อง
จะยกพวกลอบเข้าปล้นค่าย พระยาตากสงสัยพระยาระยองจะร่วมด้วย จึงให้พระยาระยองอยู่ในค่ายดับไฟในค่ายมืดแล้วซุ่มรออยู่
ขุนว่าเมืองคุมทหารลอบเข้าไปจึงถูกพระยาตากปราบปรามอย่างเด็ดขาด เมืองระยองจึงตกเป็นของพระยาตากเมืองแรก
ในราวเดือน มกราคม พ.ศ. 2310
หลังจากนั้นพระยาตากจึงแต่งศุภอักษรไปยังพระยาจันทบุรีเพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือ
เมืองจันทบุรีหรือจันทบูรในสมัยนั้นเป็นเมืองใหญ่แถบชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์ทั้งกำลังคนและเสบียงอาหาร
ผู้คนมีขวัญและกำลังใจดีเพราะยังไม่ถูกโจมตีจากพม่า ภูมิประเทศก็เหมาะในทางยุทธศาสตร์
ด้วยเหตุนี้พระยาตากจึงหมายเอาเมืองจันทบุรีเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมผู้คนและอาวุธเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชต่อไป
เบื้องต้นพระยาจันทบุรีส่งเสบียงอาหารมาช่วยแต่โดยดี
ภายหลังเกิดไม่ไว้วางใจพระยาตาก ประกอบกับขุนรามหมื่นซ่อง กรมการเมืองระยอง ซึ่งหนีไปหลังจากเข้าปล้นค่ายพระยาตากไม่สำเร็จ
ได้ไปตั้งค่ายอยู่เขตเมืองแกลงซึ่งเป็นเมืองขึ้นของจันทบุรี พระยาตากทราบจึงยกทัพตามไปตีพวกขุนรามหมื่นซ่อง
ขุนรามหมื่นซ่องพาพวกหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองจันทบุรี พระยาตากเห็นว่ากำลังยังน้อยไม่พอจะหักเอาเมืองจันทบุรี
ระหว่างนั้นกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าในวันที่ 7 เมษายน 2310 พระเจ้าตากจึงตั้งตัวเป็นเจ้า ด้วยเหตุผลดังพระราชปรารภว่า
“
เราจะตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าให้คนทั้งหลายนับถือยำเกรง การที่จะกอบกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จได้โดยง่าย
”
พระเจ้าตากทรงตัดสินพระทัยจะใช้กำลังปราบหัวเมืองทางตะวันออก
จึงทรงยกทัพไปชลบุรี ผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่ชลบุรีขณะนั้นคือ นายทองอยู่นกเล็ก ซึ่งยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี
พระเจ้าตากจึงทรงตั้งให้เป็นพระยาอนุราฐบุรีปกครองเมืองชลบุรีแล้วทรงเลิกทัพกลับไประยอง
พระยาจันทบุรีเห็นทัพพระเจ้าตากเข้มแข็งขึ้นทุกทีเกรงจะเป็นภัยแก่ตัวจึงออกอุบายนิมนต์พระสงฆ์
4 รูป ให้เป็นทูตมาเชิญพระเจ้าตากไปจันทบุรี พระเจ้าตากทรงหลงเชื่อจึงยกพลไปกับพระสงฆ์
เมื่อถึงบางกระจะหัวแหวน พระยาจันทบุรีให้หลวงปลัดมานำทัพเข้าเมือง แต่มีผู้แอบแจ้งพระเจ้าตากว่าพระยาจันทบุรีคิดไม่ซื่อ
พระเจ้าตากจึงทรงยั้งทัพไว้ริมเมือง พระยาจันทบุรีให้ขุนพรหมาภิบาลออกมาพูดจาเกลี้ยกล่อมให้เข้าเมืองแต่พระเจ้าตากไม่ทรงตกลงด้วย
โดยอ้างว่า ผู้น้อยควรออกมาหาผู้ใหญ่กว่าและการต้อนรับเหมือนเป็นการเตรียมการต่อสู้
พระยาจันทบุรีจึงรู้ว่าอุบายแตกเสียแล้วจึงเตรียมการรบกับพระเจ้าตาก
พระเจ้าตากทรงเห็นว่ากองทัพจันทบุรีนั้นเข้มแข็ง
ทหารต้องการกำลังใจอย่างสูง จึงมีรับสั่งว่า เมื่อกินข้าวเย็นแล้วให้ทหารทุกคนทุบหม้อข้าวหม้อแกงให้หมดมุ่งไปกินข้าวเช้าในเมืองจันทบุรี
พอเวลาประมาณตีสาม พระเจ้าตากทรงช้างพังคิรีบัญชรให้ยิงปืนสัญญาณเข้าปล้นเมือง พลางขับช้างเข้าพังประตูเมือง
พวกชาวเมืองจันทบุรีก็ระดมยิงปืนต่อสู้ นายท้ายช้างเห็นกระสุนปืนหนาแน่น เกรงจะถูกพระเจ้าตาก
จึงเกี่ยวช้างที่นั่งให้ถอย พระเจ้าตากตกพระทัยยกของ้าวจะฟันแต่นายท้ายช้างกราบขอชีวิตไว้แล้วไสช้างเข้าพังประตูเมือง
ทหารก็กรูเข้าเมืองได้ พระยาจันทบุรีพาสมัครพรรคพวกแตกหนีไปเมืองบันทายมาศ
หลังจากนั้น
พระเจ้าตากทรงยกทัพไปตีเมืองตราด พอดีล่วงเข้าฤดูฝนจึงให้พักรบหันมาต่อเรือรบและรวบรวมศัตราวุธและกำลังคน
พอพ้นฤดูฝนจึงยกทัพมุ่งไปอยุธยา ก่อนยกทัพให้ประหารนายทองอยู่นกเล็ก หรือ พระยาอนุราฐบุรี
ซึ่งถูกราษฎรฟ้องว่าเป็นโจรพาพวกเข้าปล้นเรือเก็บเอาทรัพย์สมบัติ แล้วทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองใหม่
จากนั้นก็ทรงเคลื่อนทัพมาทางปากน้ำเจ้าพระยา
ราวเดือน
12 พุทธศักราช 2310 เมื่อมาถึงกรุงธนบุรี นายทองอินซึ่งรักษากรุงธนบุรีได้รีบแจ้งข่าวไปยังสุกี้
แล้วเรียกผู้คนขึ้นรักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์เตรียมต่อสู้เต็มที่ กองทัพกู้ชาติของพระเจ้าตากสามารถตีกรุงธนบุรีได้
จับนายทองอินซึ่งฝักใฝ่พม่าได้จึงทรงให้ประหารชีวิตเสีย แล้วยกทัพขึ้นเหนือมุ่งสู่อยุธยา
กองทัพพระเจ้าตากสมารถตีค่ายพม่าแตกได้ทุกค่าย ตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.
2310 ถือว่าเป็นวันที่พระเจ้าตากทรงสามารถกู้เอกราชได้สำเร็จ หลังจากเสียกรุงให้แก่พม่าเมื่อ
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 รวมเวลาที่ไทยตกเป็นของพม่า
7 เดือน
เมื่อพระเจ้าตากทรงกู้เอกราชได้สำเร็จ
ได้โปรดให้ขุดพระบรมศพของพระเจ้าเอกทัศขึ้นมาถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติ ประชาชนต่างยอมรับพระเจ้าตากเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ต่อจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี จึงทรงทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ในเดือนธันวาคม พ.ศ.
2311 ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่ 4”
หรือที่คนทั่วไปเรียกพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสิน”
หรือ
“สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี”
เมื่อพระเจ้าตากทรงกอบกู้เอกราชได้แล้ว
ได้ทรงตั้งราชธานีขึ้นใหม่ที่กรุงธนบุรีเพราะกรุงศรีอยุธยาพินาศย่อยยับเกินกว่าจะบูรณะซ่อมแซมได้
ทรงขนานนามราชธานีใหม่ว่า “ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ”
แผนที่พระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
เหตุผลที่ย้ายราชธานี
สาเหตุที่พระเจ้าตากไม่ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอีกเพราะ
1. กรุงศรีอยุธยาเสียหายมากยากแก่การจะบูรณปฏิสังขรณ์ให้ดีดังเดิมได้
2. กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่เกินกว่าจะรักษาไว้ได้ด้วยกำลังคนจำนวนน้อย
3. ข้าศึกรู้จักภูมิประเทศของกรุงศรีอยุธยาดีแล้ว
4. กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ไกลจากปากแม่น้ำมากเกินไป
ไม่สะดวกแก่การติดต่อค้าขายกับต่างชาติซึ่งนับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น
เหตุผลที่สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
พระเจ้าตากทรงมีพระราชวินิจฉัยที่จะตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีเพราะ
1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็กพอแก่กำลังคนที่จะรักษาไว้
2. ตั้งอยู่ใกล้ปากอ่าวสะดวกแก่การติดต่อกับต่างชาติ
3. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการพร้อมอยู่แล้ว
4. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ในที่น้ำลึกใกล้ทะเล
หากข้าศึกมีแต่ทัพบกไม่มีทัพเรือสนับสนุนก็ยากที่จะตีได้สำเร็จ
5. ถ้ากรุงธนบุรีเสียทีแก่ข้าศึก
ก็สามารถถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่จันทบุรีได้โดยอาศัยเส้นทางเรือ
6. กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำ จึงสามารถควบคุมการลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธต่าง
ๆ ที่จะเล็ดลอดไปหัวเมืองทางเหนือที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ได้
7. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ไม่ไกลจากราชธานีเดิมมากนัก
จึงเป็นแหล่งรวมคนและขวัญของคนได้ดี
การรวมอาณาเขต
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ
7 เมษายน พ.ศ. 2310 นั้น บ้านเมืองเกิดความระส่ำระส่ายเดือดร้อน
โจรผู้ร้ายชุกชุม การทำมาหากินของราษฎรฝืดเคือง แผ่นดินว่างกษัตริย์อันเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
จึงเป็นเหตุให้บรรดาหัวเมืองใหญ่ที่อยู่ห่างไกลกรุงศรีอยุธยาตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้น บรรดาบ้านเล็กเมืองน้อยที่อ่อนแอและต้องการหาที่พึ่งให้พ้นจากการถูกรังแกข่มเหงทั้งจากคนไทยด้วยกัน
และจากพม่าที่คอยปล้นทรัพย์สินและกวาดต้อนผู้คนส่งไปเมืองพม่า ก็เข้ามาอ่อนน้อมต่อเมืองใหญ่ขอความคุ้มครอง
เมื่อพระเจ้าตากทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แล้วได้ทรงเริ่มปราบปรามชุมนุมต่าง
ๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ตามลาดับดังนี้
1. การปราบชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก
พิษณุโลกเป็นเมืองใหญ่มีความเจริญรองลงมาจากกรุงศรีอยุธยา
ทั้งยังเคยเป็นเมืองหลวงเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ฐานะของพิษณุโลกจึงเป็นเมืองเอก
เจ้าเมืองพิษณุโลกในขณะนั้น คือ พระยาพิษณุโลก (เรือง) มีอิทธิพลตั้งแต่เขตเมืองพิชัย
(อุตรดิตถ์) ถึงนครสวรรค์
พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จขึ้นไปปราบชุมนุมพระยาพิษณุโลกก่อนชุมนุมอื่น
เพราะเป็นชุมนุมใหญ่ที่เข้มแข็งมาก ถ้าปราบได้สำเร็จชุมนุมอื่น ๆ ก็อาจจะมาอยู่ในอำนาจโดยไม่ต้องใช้กำลัง
ดังนั้น พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมพระยาพิษณุโลกเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. 2311 โดยยกกองทัพไปทางเรือ พระยาพิษณุโลกทราบข่าวจึงให้หลวงโกษา
(ยัง) ยกกองทัพมาตั้งรับที่ตำบลเกยชัย กองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ทันรู้ตัวเพราะกองทัพพระยาพิษณุโลกยกออกมาตั้งรับไกลกว่าที่พระองค์คิดจึงมิทันได้ทรงระวัง
ทำให้ทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียกระบวนและพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกปืนยิงที่พระชงฆ์
(แข้ง) จึงต้องถอยทัพกลับกรุงธนบุรี
พระยาพิษณุโลกเห็นว่ามีชัยต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นเจ้า
อยู่ต่อมาอีก 7 วันก็ถึงแก่พิราลัย พระอินทร์อากรผู้เป็นน้องชายขึ้นครองเมืองแทน ต่อมาเจ้าพระฝางได้ยกกำลังมาตีเมืองพิษณุโลกได้และรวมเมืองพิษณุโลกเข้าไว้ในชุมนุมเจ้าพระฝาง
มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสวางคบุรี
2. การปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงหายประชวรจากบาดแผลการถูกยิงที่พิษณุโลกแล้ว
ทรงมีพระราชดำริที่จะปราบชุมนุมเจ้าพิมายซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่
เพราะพระองค์ทรงเกรงว่ากรมหมื่นเทพพิพิธจะเกลี้ยกล่อมหัวเมืองลาวมาเป็นพวก ขณะนั้นกรมหมื่นเทพพิพิธมีอำนาจปกครองอยู่ทางบริเวณหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
ตลอดลงมาจนถึงเมืองสระบุรี ทิศเหนือจดล้านช้าง ทิศตะวันออกจดกัมพูชา
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงจัดทัพไปตีเมืองพิมายในปี
พ.ศ. 2311 โดยจัดเป็น 2 ทัพ พระองค์ทรงคุมไปเองทัพหนึ่ง
ส่วนอีกทัพหนึ่งทรงมอบให้พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) และพระมหามนตรี (บุญมา) คุมไป พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปทางช่องพระยาไฟ
(ดงพญาเย็น) อีกทัพหนึ่งยกไปทางนครนายก ปราจีนบุรี
เมืองพิมายยกทัพมาตั้งรับที่ด่านจอหอและด่านกระโทก ผลการรบปรากฏว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีชัยชนะ
กรมหมื่นเทพพิพิธหนีไปเวียงจันทน์แต่ถูกขุนชนะ กรมการเมืองนครราชสีมาจับได้ นำตัวมาถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรมหมื่นเทพพิพิธแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องไม่ยอมอ่อนน้อม พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้ประหาชีวิตเสีย
3. การปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบกรมหมื่นเทพพิพิธได้แล้ว
ในปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงเตรียมการที่จะปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชซึ่งมีพระปลัด
(หนู) ตั้งตัวเป็นใหญ่ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองชุมพรจนถึงเขตต่อแดนหัวเมืองมลายู
การไปตีเมืองนครศรีธรรมราชในครั้งนั้น
พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เจ้าพระยาจักรี (หมุด) เป็นแม่ทัพใหญ่
มีพระยายมราช พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาเพชรบุรี เป็นนายกองคุมทัพไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2312 ได้ทำการสู้รบกันเป็นสามารถจนพระยาศรีพิพัฒน์และพระยาเพชรบุรีตายในที่รบ
พระยาจักรีและพระยายมราชเกิดความแตกสามัคคีกัน พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงต้องเสด็จไปบัญชาการทัพเอง
และปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชได้สำเร็จ เจ้านคร (หนู)
หนีไปพึ่งพระยาตานีศรีสุลต่านที่เมืองปัตตานี พระยาจักรีจึงยกทัพตามไป
พระยาตานีศรีสุลต่านกลัวทัพกรุงธนบุรีจะรุกราน จึงมอบตัวเจ้านครศรีธรรมราชและพรรคพวกที่ลี้ภัยให้แก่กองทัพธนบุรี
ในครั้งแรกบรรดาขุนนางของธนบุรีเห็นสมควรให้ประหารชีวิตเจ้านครเสีย
แต่พระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ทรงเห็นด้วย ทรงเห็นว่าการตั้งตัวเป็นใหญ่ในขณะที่บ้านเมืองไม่สงบสุขไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
และเจ้านครศรีธรรมราชก็ไม่ใช่ข้าราชการของพระองค์ก็ย่อมจะตั้งตัวเป็นใหญ่ได้ จึงโปรดให้พระปลัด (หนู)
ไปครองเมืองนครศรีธรรมราชตามเดิม และยกฐานะเมืองนครศรีธรรมราชให้เป็นเมืองประเทศราชด้วย
4. การปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมสุดท้าย
หัวหน้าชุมนุมนี้เป็นพระชื่อ เรือน เดิมเคยศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ได้เป็นที่พระพากุลเถระ
พระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี จำพรรษาอยู่ที่วัดอโยธยา แล้วได้เลื่อนขึ้นเป็นสังฆราชาเจ้าคณะเมืองสวางคบุรี
ศึกษาเล่าเรียนทางวิปัสสนาธุระ มีวิชาอาคมแก่กล้าจนทำให้คนนับถือเป็นจำนวนมาก ในที่สุดก็ได้ตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นทางสวางคบุรี
สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นเจ้าทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศบรรพชิต มีแม่ทัพนายกองเป็นพระสงฆ์ทั้งสิ้น
คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าพระฝาง
ในปี
พ.ศ. 2311 เจ้าพระฝางได้ตีเอาเมืองพิษณุโลกมาไว้ในครอบครอง
รวมกันเป็นชุมนุมใหญ่ชุมนุมเดียวทางภาคเหนือ จากนั้นก็ได้ขยายอิทธิพลลงมาทางใต้ถึงเมืองอุทัย
ชัยนาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงยกทัพไปปราบเจ้าพระฝาง
โดยพระองค์ทรงคุมทัพเรือ และโปรดให้พระยายมราชกับพระพิชัยราชาคุมทัพบกขนาบไปสองฟากแม่น้าเจ้าพระยา
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเข้าตีเมืองพิษณุโลกซึ่งหลวงโกษา (ยัง)
ครองอยู่ได้สำเร็จ และทรงคอยทัพบกอยู่ 9 วัน จากนั้นเดินทัพต่อไปที่สวางคบุรีได้ภายใน
3 วัน เจ้าพระฝางหนีไปเชียงใหม่
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบหัวเมืองต่าง
ๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่อยู่เป็นเวลานานถึง 3 ปี จึงสามารถรวบรวมอาณาเขตที่แบ่งแยกเหล่านั้นคืนกลับมาเป็นปึกแผ่นได้ดังเดิม
โดยมีกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงของไทย
การป้องกันพระราชอาณาจักร
ปัญหาที่สำคัญยิ่งตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
คือ การรักษาเอกราชของประเทศให้มั่นคงปลอดภัย หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น
และทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ได้ต้องทำการรบกับพม่าอีกหลายครั้งซึ่งส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายชนะ
การทำสงครามกับพม่าครั้งสำคัญ เช่น
1. การรบกับพม่าที่บางกุ้ง
สมุทรสงคราม พ.ศ. 2311 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียอาวุธและเสบียงอาหาร
และเรือเป็นจำนวนมาก
2. พม่าตีเมืองสวรรคโลก
พ.ศ. 2313 ผลปรากฏว่าพม่าไม่สามารถตีไทยได้
3. ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2313 สงครามครั้งนี้ต่อเนื่องจากสงครามครั้งที่ 2 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกทัพขึ้นไปช่วยรักษาเมืองสวรรคโลก ทรงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะยึดเมืองเชียงใหม่มาจากพม่า แต่ไม่สำเร็จ
3. ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2313 สงครามครั้งนี้ต่อเนื่องจากสงครามครั้งที่ 2 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกทัพขึ้นไปช่วยรักษาเมืองสวรรคโลก ทรงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะยึดเมืองเชียงใหม่มาจากพม่า แต่ไม่สำเร็จ
4. พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่
1 พ.ศ. 2315 แต่ไม่สำเร็จ ถูกตีแตกพ่ายไป
5. พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่
2 พ.ศ. 2316 ผลปรากฏว่าพม่าพ่ายแพ้ไปทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหักขึ้น
6. ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่
2 พ.ศ. 2317 สามารถยึดเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้
7. การรบกับพม่าที่บางแก้ว
ราชบุรี พ.ศ. 2317 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียชีวิตและถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก
8. อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ
โดยเฉพาะพิษณุโลก พ.ศ. 2318 – 2319 สงครามครั้งนี้นับว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่ในสมัยธนบุรี ผลปรากฏว่าพม่าแพ้ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
9. พม่าตีเมืองเชียงใหม่
พ.ศ. 2319 พม่าไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ต้องแตกพ่ายไป
แต่หลังจากที่พม่าแตกทัพกลับไปแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่าเชียงใหม่มีผู้คนไม่มากพอที่จะรักษาเมือง
จึงอพยพผู้คนออกจากเมืองและประกาศให้เป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
จึงได้ตั้งขึ้นมาใหม่
การขยายอาณาเขต
หลังจากที่เหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงเริ่มขยายอาณาเขตออกไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เขมรและลาว
1. การขยายอำนาจไปยังเขมร ขณะนั้นดินแดนเขมรเกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่างพระรามราชา
(นักองนน)กับพระนารายณ์ราชา(นักองตน) พระนารายณ์ราชาไปขอความช่วยเหลือจากญวน พระรามราชาสู้ไม่ได้หนีมาขอความช่วยเหลือจากไทย
ครั้งแรกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชส่งพระราชสาสน์ไปยังพระนารายณ์ราชาให้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย
แต่พระนารายณ์ราชาไม่ยอม ดังนั้นจึงทรงโปรดฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และพระยาอนุชิตราชา (บุญมา)
นาทัพไปตีเขมรใน พ.ศ. 2312
ขณะที่ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ พระตะบอง โพธิสัตว์ กับจะตีเมืองพุทไธเพชร
(บันทายเพชร) เขมรปล่อยข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคต
พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชาจึงยกทัพกลับ พ.ศ. 2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบชุมนุมต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว จึงเสด็จยกทัพไปตีเขมรอีกครั้งและสามารถตีเขมรได้สำเร็จ
ได้สถาปนาพระรามราชาขึ้นครองเขมร ส่วนพระนารายณ์ราชาหนีไปพึ่งญวน ต่อมาได้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เป็นพระมหาอุปโยราช (วังหน้า)
(ตำแหน่งพระมหาอุปโยราช คือ ตำแหน่ง รัชทายาทของกษัตริย์เขมร ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งพระมหาอุปราชของไทย)
เหตุการณ์ในเขมรจึงสงบลง
ต่อมาใน
พ.ศ. 2323 เกิดการกบฏในเขมร พวกกบฏจับพระรามราชาและพระนารายณ์ราชาปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบการจลาจลได้สำเร็จ
และโปรดเกล้าฯ ให้นักองเองซึ่งเป็นโอรสของพระนารายณ์ราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์
จึงมีฟ้าทะละหะ (มู) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน
เขมรจึงหันไปพึงญวนอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบเขมร
ขณะที่กองทัพไทยจะรบกับเขมรอยู่นั้น ก็มีข่าวว่าทางกรุงธนบุรีเกิดจลาจลวุ่นวาย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเสียพระสติ
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงต้องรีบยกทัพกลับ
2. การขยายอำนาจไปลาว ในสมัยกรุงธนบุรีไทยได้ทำศึกขยายอำนาจไปยังลาว
2 ครั้ง คือ
2.1 การตีเมืองจำปาศักดิ์
เพราะเจ้าเมืองนางรองเกิดขัดใจกับเจ้าเมืองนครราชสีมา จึงคิดกบฏต่อไทยไปขอขึ้นกับเจ้าโอ
(หรือเจ้าโอ้) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีไปปราบ
จับเจ้าเมืองนางรองประหารชีวิต ทำให้เมืองจำปาศักดิ์และดินแดนลาวตอนล่างอยู่ภายใต้อำนาจของไทย
ใน
พ.ศ. 2319 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาจักรี
เป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมา ทุกนัคราระอาเดช
นเรศราชสุริยวงศ์” นับว่าเป็นการพระราชทานยศให้แก่ขุนนางสูงที่สุดเท่าที่เคยมีปรากฏมาในสมัยนั้น
2.2 การตีเวียงจันทน์
มีสาเหตุมาจากพระวอเสนาบดีของเจ้าสิริบุญสารเกิดวิวาทกับเจ้าครองนครเวียงจันทน์ พระวอจึงหนีเข้ามาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง
(ในจังหวัดอุบลราชธานี) ขอสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เจ้าสิริบุญสารได้ส่งกองทัพมาปราบและจับพระวอฆ่าเสีย ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบ
ขณะที่ไทยยกทัพไป เจ้าร่มขาวเจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบางมาขอสวามิภักดิ์ต่อไทยและส่งกองทัพมาช่วยตีเมืองเวียงจันทน์ด้วย
เจ้าสิริบุญสารสู้ไม่ได้จึงหลบหนีไป เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมทั้งพระบางมาไว้ที่ไทยด้วย
(ส่วนพระบางนั้น ต่อมาไทยคืนให้แก่ลาวในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
ความเจริญทางด้านต่าง
ๆ ในสมัยธนบุรี และการติดต่อกับต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลา
15 ปี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการต่อสู้ปราบปรามป้องกันและขยายอาณาเขตของประเทศจึงไม่ค่อยมีเวลาจะที่จะพัฒนาประเทศทางด้านอื่นมากนัก
แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงพยายามสร้างความเจริญให้แก่ประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปกครอง
ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรี
ดำเนินรอยตามแบบแผนของสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.1 การปกครองส่วนกลางหรือราชธานี
อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง
คือ
สมุหกลาโหม มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้และกิจการฝ่ายทหารและ
สมุหนายก มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและกิจการฝ่ายพลเรือน
กับตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อีก ๔ ตำแหน่ง คือ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา กรมทั้ง
๔ นี้ มีหน้าที่ คือ
1) กรมเวียง มีหน้าที่ปกครองท้องที่
บังคับบัญชาบ้านเมือง และรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
2) กรมวัง มีหน้าที่รับเกี่ยวกับราชสำนัก
และพิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร
3) กรมคลัง มีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยอากร
บังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีหน้าที่เกี่ยวกับพระคลังสินค้าการค้าสำเภาของหลวง
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลการทำนา
เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือและที่นา
คำว่า “กรม” ในที่นี้หมายความคล้ายกับ
“กระทรวง” ในปัจจุบัน
1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค
แบ่งออกเป็น
1) การปกครองหัวเมืองชั้นในที่อยู่รายรอบราชธานี
เรียกว่า เมืองชั้นจัตวา มีผู้ปกครองเรียกว่า “ผู้รั้ง”
ปฏิบัติตามคำสั่งของเสนาบดีจตุสดมภ์ในราชธานี
2) การปกครองหัวเมืองภายในราชอาณาจักร
เรียกว่า หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป
แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี
3) การปกครองหัวเมืองประเทศราช
ที่อยู่ห่างไกลออกไปถึงชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่น ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามกำหนด
ได้แก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีอธรรมราช
2. ด้านกฎหมายและการศาล
กฎหมายและวิธีพิจารณาคดีความในศาลสมัยธนบุรี
ใช้ตามแบบสมัยอยุธยาเท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มีเพียงฉบับเดียว เกี่ยวกับการสักเลข
คือ การลงทะเบียนชายฉกรรจ์เพื่อรับใช้ในราชการ เรียกว่า ไพร่หลวง การสักเลขในสมัยนั้นสำคัญมาก
เพราะเป็นระยะเวลาของการป้องกันและแผ่อำนาจเพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง ส่วนการศาลมักใช้บ้านของเจ้านาย
บ้านของตุลาการ บางครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงเป็นผู้พิพากษาคดีเอง และทรงใช้ศาลทหารและพระบรมราชโองการเป็นกฎหมายใช้ในการตัดสินคดีความด้วย
3. ด้านเศรษฐกิจ
หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว
สภาพเศรษฐกิจของไทยตกต่ำมากประชาชนยากจนอัตคัดฝืดเคือง อาหารหายากและราคาแพง เนื่องจากในขณะที่เกิดศึกสงครามผู้คนต่างพากันหนีเอาตัวรอด
การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ตั้งกรุงธนบุรีใหม่
ๆ ด้วยการจ่ายพระราชทรัพย์ซื้อข้าวจากพ่อค้าต่างประเทศในราคาสูงเพื่อแจกจ่ายประชาชน
และชักชวนให้ราษฎรกลับมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ทำมาหากินดังแต่ก่อน
นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยังส่งเสริมทางด้านการค้าขาย
มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายยังประเทศ อินเดียและประเทศใกล้เคียง สำหรับสิ่งของที่บรรทุกเรือสำเภาหลวงไปขาย
เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ และเมื่อขายสินค้าหมดแล้วก็จะซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ในประเทศ
เช่น ผ้าลายและถ้วยชามมาขายให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งการค้าขายนี้เป็นแบบเดียวกับสมัยอยุธยา
คือ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังสินค้า มีการส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพาะปลูก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศค่อย
ๆ ดีขึ้นตามลำดับ
4. ด้านสังคม
สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีมีการควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
เพราะมีการทำศึกกับพม่าบ่อยครั้ง มีการสักเลขบอกชื่อสังกัดมูลนายและเมืองไว้ที่ข้อมือไพร่หลวงทุกคน
ซึ่งมีหน้าที่รับใช้ราชการปีละ 6 เดือน โดยการมารับราชการ 1 เดือน แล้วหยุดไปทามาหากินของตนอีก
1 เดือนสลับกันไป เรียกว่า
“การเข้าเดือนออกเดือน” ไพร่หลวงอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า
“ไพร่ส่วย” คือ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของแทนการใช้แรงงานแก่ราชการ
ซึ่งเป็นพวกที่รับใช้แต่เฉพาะเจ้านายที่เป็นขุนนาง
5. ด้านการศึกษา
แม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ในภาวะสงคราม
แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงทะนุบำรุงการศึกษาอยู่เสมอ ศูนย์กลางการศึกษาในสมัยธนบุรีอยู่ที่วัด
เด็กผู้ชายเมื่อมีอายุพอสมควรพ่อแม่มักเอาไปฝากกับพระ เมื่อมีเวลาว่างพระก็จะสอนให้อ่านเขียน
แบบเรียนที่ใช้คือหนังสือ
“จินดามณี” เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้วก็เรียน
- แต่งร้อยแก้ว โคลง ฉันท์ กาพย์
กลอน
-
ศึกษาศัพท์ เขมร บาลี สันสกฤต วิชาเลข
-
เรียนมาตราไทย ชั่ง ตวง วัด
-
มาตราเงินไทย
-
คิดหน้าไม้ (วิธีการคำนวณหาจานวนเนื้อไม้เป็นยก
หรือเป็นลูกบาศก์)
-
การศึกษาด้านอาชีพ พ่อแม่มีอาชีพอะไรก็มักฝึกให้ลูกหลานมีอาชีพตามตนเอง
โดยฝึกฝนตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เช่น วิชาช่างและแกะสลัก ช่างปั้น ช่างถม แพทย์แผนโบราณ
ฯลฯ
ส่วนสตรี
ประเพณีโบราณไม่นิยมให้เรียนหนังสือ มีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้ เด็กผู้หญิงส่วนมากจะถูกฝึกสอนให้ด้านการเย็บปักถักร้อย
ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน และมารยาทของกุลสตรี
6. ด้านศาสนา
เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่
2 สิ่งสำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาถูกทำลายเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี
พระองค์ได้ฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่โดยชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ พระสงฆ์รูปใดที่ประพฤติไม่อยู่ในพระวินัยก็ให้สึกออกไปเสีย
พระสงฆ์รูปใดประพฤติอยู่ในพระวินัยทรงอาราธนาให้บวชเรียนต่อไป
นอกจากนี้
พระองค์ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างพระอุโบสถ วิหาร เสาสนะ กุฏิสงฆ์และวัดวาอารามต่าง
ๆ เช่น วันบางยี่เรือเหนือ
(วัดราชคฤห์) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม)
วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) วัดหงส์ (วัดหงส์รัตนาราม) เป็นต้น
นอกจากนี้เมื่อพระองค์ทราบว่าพระไตรปิฎกมีอยู่ที่ใดก็ทรงให้นำมาคัดลอกเป็นฉบับหลวงไว้ที่กรุงธนบุรีแล้วส่งต้นฉบับกลับไปเก็บไว้ที่เดิม
ทรงให้ช่างจารพระไตรปิฎกทั้งจบ ที่สำคัญที่สุดทรงให้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่วัดอรุณราชวราราม
7. ด้านศิลปะและวรรณกรรม
สมัยกรุงธนบุรีด้านศิลปะมีไม่ค่อยมากนักเพราะบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงให้มีการละเล่นเพื่อเป็นการบำรุงขวัญประชาชนให้หายจากความหวาดกลัว
และลืมความทุกข์ยาก มีขบวนแห่อัญเชิญและสมโภชพระแก้วมรกตเป็นเวลา 7 วัน การประชันละครระหว่างละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราช
และละครหลวง
ผลงานทางด้านวรรณกรรมในสมัยนั้นมีน้อยและไม่สู้สมบูรณ์นัก
วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่
-
บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์บางตอน
-
หลวงสรวิชิต (หน) ประพันธ์ลิลิตเพชรมงกุฎ
และอิเหนาคำฉันท์
-
นายสวนมหาดเล็ก ประพันธ์โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
การไปติดต่อกับจีนในปลายรัชสมัยทำให้มีวรรณกรรมเกิดขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง
คือ นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือนิราศเมืองกวางตุ้ง
ส่วนผลงานด้านสถาปัตยกรรมในสมัยธนบุรี
ไม่มีผลงานดีเด่นที่พอจะอ้างถึงได้
การติดต่อกับประเทศตะวันตก
ในสมัยธนบุรีประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศตะวันตก
ดังนี้
1. ฮอลันดา
ใน พ.ศ. 2313 ฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย
(จาการ์ตา) ซึ่งเป็นสถานีการค้าของฮอลันดา และแขกเมืองตรังกานูได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เพื่อถวายปืนคาบศิลา จำนวน 2,200 กระบอก และถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองด้วย
2. อังกฤษ
ใน พ.ศ. 2319 กัปตันฟรานซิส ไลท์ ได้นำปืนนกสับจำนวน
1,400 กระบอกและสิ่งของอื่น ๆ เข้ามาถวายเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรี
3. โปรตุเกส
ใน พ.ศ. 2322 แขกมัวร์จากเมืองสุรัต ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
นำสินค้าเข้ามาค้าขายในกรุงธนบุรี และไทยได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายยังประเทศอินเดีย
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ |
เหตุการณ์ตอนปลายสมัยธนบุรี
ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระสติฟั่นเฟือนไป
เข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบัน และจะให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั่วแผ่นดินจากข้าราชการที่ทุจริตกดขี่ข่มเหงหาประโยชน์ส่วนตัว
เป็นเหตุทำให้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี ราษฎรต่างทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าไปเป็นอันมาก
ขณะเดียวกันก็เกิดกบฏขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทราบข่าวกบฏ จึงสั่งพระยาสรรค์ขึ้นไปสอบสวน แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าพวกกบฏ
ยกพวกเข้าปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรี ในเดือนเมษายน 2324 บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวชและคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
และพระยาสรรค์ก็ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน
ส่วนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
กำลังจะยกทัพไปตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน
2325 เมื่อมาถึงกรุงธนบุรี พระองค์ได้ซักถามเรื่องราวความยุ่งยากที่เกิดขึ้น
จึงให้ประชุมข้าราชการ ปรากฏว่าที่ประชุมลงความเห็นว่าให้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินมหาราช
ขณะนั้นทรงมีพระชนม์ 48 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี
ป้อมวิชัยประสิทธิ์ สถานที่ตัดพระเศียรพระเจ้าตาก |
ข้อพิจารณา |
||
การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ไทยเพียงพระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี
เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.
2325 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่ชัด ในหลักฐานส่วนใหญ่มักถือว่าพระองค์ทรงเสียพระสติ
หรือสติฟั่นเฟือน จึงทรงถูกขบถแลสำเร็จโทษโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
(ทองด้วง)
อันเป็นการสิ้นสุดสมัยธนบุรี พร้อมกับการเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี และสมัยรัตนโกสินทร์
อย่างไรก็ตาม
ยังปรากฏหลักฐานที่ชี้ว่าพระองค์สวรรคตด้วยสาเหตุอื่น
ทรงถูกสำเร็จโทษเนื่องจากทรงเสียพระสติ
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
และเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมร และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี
จึงได้รีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่
6
เมษายน พ.ศ. 2325 ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น
และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษว่าสมเด็จพระ
เจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นต้นเหตุเนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติไป เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกจึงให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย
การตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วฝังพระบรมศพที่วัดบางยี่เรือใต้[ เสด็จสวรรคตในวันพุธ
แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล
แต่ยังเป็นตรีศก จ.ศ.1143 หรือตรงกับวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325
การวิเคราะห์
สำหรับสาเหตุที่พระองค์เสียพระจริตนั้น
มีหลักฐานได้อธิบายไว้หลายสาเหตุ สามารถจำแนกได้ดังนี้:
สาเหตุของการเสียพระจริตนั้น
ได้เปลี่ยนแปลงไปตามทัศนะของชนชั้นสูงในยุคสมัยที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนี่เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น
เพราะแนวคิดในการพิสูจน์ความจริงนั้นได้ถูกละเลย
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายใน
การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด (หรือ "ดุร้าย")
ในสมัยปลายรัชกาลนั้น คงเป็นเพราะพระราชอำนาจที่เสื่อมลง พระองค์ยังเป็นกษัตริย์ที่ทรงประพฤติไม่เหมือนกับพระมหากษัตริย์อยุธยาแต่
เดิมอีกด้วย จนสูญเสียความศรัทธาจากกลุ่มขุนนางอยุธยาแต่เดิม จนถูกมองว่าเสียสติ[ ทั้งนี้ หลักฐานพงศาวดารซึ่งบันทึกอาการวิกลจริตของพระองค์ล้วนถูกเขียนขึ้นภายหลัง
การสวรรคตของพระองค์ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับข่าวการเสียสติของพระองค์ ในขณะที่จดหมายโหรร่วมสมัยได้บันทึกว่า
พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นปกติจนถึงปี พ.ศ. 2324 การเสียสติของพระองค์จึงไม่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัย
แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก่อรัฐประหาร
นิธิ
เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์ว่า การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกอบพระราชกรณียกิจแปลกไปจากพระมหา
กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทำให้พระองค์ทรงถูกมองว่าไม่เคารพต่อขนบธรรมเนียมดั้งเดิม
และได้รับการต่อต้านจากกลุ่มชนชั้นสูง ข่าวลือการเสียพระสติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกแพร่ออกไปเพื่อสร้าง
ประโยชน์ทางการเมืองให้กับกลุ่มผู้ต้องการโค่นล้มพระองค์จากพระราชอำนาจ กลุ่มชนชั้นสูง
(ไม่รวมราษฎรสามัญ) ได้รับความเดือดร้อนจากความประพฤติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระองค์ยังได้สร้างความไม่ประทับใจให้กับฝ่ายของพระองค์เองอีกด้วย ท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่สามารถรักษาพระราชอำนาจต่อไปได้
กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางภายใต้การนำของพระยาจักรีได้ก่อรัฐ ประหาร
ในบทความ
"ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี" เขียนโดยปรามินทร์ เครือทอง
ได้ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารไว้ว่า:
แผนรัฐประหารเริ่มขึ้นเมื่อราว
พ.ศ. 2324
ระหว่างการปราบปรามจลาจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวความไม่ปกติในกรุงธนบุรี
จึงให้พระยาสุริยอภัยผู้หลานมาคอยฟังเหตุการณ์อยู่ที่เมืองนครราชสีมา เวลาเดียวกัน
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ลอบทำสัญญากับแม่ทัพญวน
ฝ่ายแม่ทัพญวนก็ให้กองทัพญวน-เขมรนั้นล้อมกองทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้
แรมเดือน 4 พ.ศ.
2325 ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์, นายบุนนาค
นายบ้านในเขตกรุงเก่า และขุนสุระ นายทองเลกทองนอก ทั้งสามได้คิดก่อการปฏิวัติขึ้น
โดยรวบรวมกำลังพลจำนวนหนึ่งไปสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ฝ่ายเจ้าเมืองอยุธยา พระอินทรอภัย หนีรอดมาได้
กราบบังคบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบ แต่ภายหลังได้กลายเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงธนบุรี
เมื่อวันที่
9 มีนาคม พ.ศ. 2325 ทัพพระยาสรรค์ได้เข้าล้อมกำแพงพระนคร
รบกับกองทัพซึ่งรักษาเมืองจนถึงเช้า ครั้นรุ่งเช้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบัญชาให้หยุดรบ
พระยาสรรค์ก็ถวายพระพรให้ผนวช[
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงออกผนวชเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2325 วันรุ่งขึ้น
พระยาสรรค์ก็ออกว่าราชการชั่วคราว
แต่มาภายหลัง
พระยาสรรค์ได้ปล่อยตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาช่วยกันรบป้องกันพระนครจากกองทัพพระยาสุริยอภัย
ทั้งสองทัพรบกันเมื่อราว 2-3 เมษายน พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์และกรมอนุรักษ์สงครามแตกพ่ายไป จนเมื่อถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ยกทัพมาถึงกรุงธนบุรี
ทรงสละราชบัลลังก์และออกผนวชที่นครศรีธรรมราช
กุฏิพระเจ้าตากที่วัดเขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช | ที่ชาวไทยบางกลุ่มเชือว่า เป็นสถานที่พักของพระเจ้าตาก
นอกจากนี้ชาวไทยบางกลุ่มยังเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ
แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ
ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่วัดเขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผนวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่นั่นตราบจนเสด็จสวรรคตในปี
พ.ศ.
2368 รวมพระชนมายุได้
91 ปี 43 พรรษา
ส่วนบุคคลที่ถูกประหารชีวิตนั้น
กล่าวกันว่าเป็นบุคคลที่มีใบหน้าบุคลิกลักษณะที่คล้ายพระองค์มากรับอาสาปลอม ตัวแทนพระองค์
ซึ่งอาจเป็นพระญาติหรือมหาดเล็กใกล้ชิด
|