รายการ

การสถาปนาอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนประเทศไทยโบราณ

การสถาปนาอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนประเทศไทยโบราณ

        ดังได้กล่าวแล้ว สมัยโบราณผู้คนจะเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ (สมัยก่อนประวัติศาสตร์จะเป็นล่าสัตว์ ต่อมาจึงนำสัตว์มาเลี้ยง)ไปเรื่อย ๆ ยังไม่มีการยึดครองพื้นที่กัน ไม่มีประเทศ ไม่มีอาณาจักร ไม่มีเมืองต่าง ๆ ไปไหนมาไหนไม่ต้องพกพาสปอร์ตหรือบัตรประจำตัวประชาชนเหมือนปัจจุบันต่อมาผู้คนอาจจะมากขึ้น หรือขี้เกียจเร่ร่อน เพราะเร่ร่อนไป หากเข้าสู่ดินแดนของคนเผ่าอื่น ก็จะถูกต่อต้าน เกิดการต่อสู้กัน แย่งดินแดนเพื่อทำมาหากินกัน จึงตั้งรกรากเป็นหมู่บ้าน วิวัฒนาการจนเป็นเมืองต่าง ๆ และเป็นอิสระจากกัน ผู้ใดมีความสามารถมาก เป็นผู้นำที่กล้าหาญ องอาจ ประชาชนก็จะเลือกให้ขึ้นเป็นหัวหน้าเผ่า จนถึงเป็น ราชา  เป็นต้น
        ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน (อุษาคเนย์ หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีผู้คนมากขึ้น มีเผ่ามากขึ้น ก็ตั้งรกรากเป็นหมู่บ้านจนเจริญเติบโตเป็นเมืองใหญ่ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขจึงมีการจัดระเบียบเพื่อให้ดำรงชีวิตกันอย่างเป็นสุข ประชาชนจึงพร้อมใจกันยกผู้มีความสามารถ องอาจ กล้าหาญ ขึ้นเป็นราชา และจัดตั้งอาณาจักรต่าง ๆ อาณาจักรในดินแดนไทยในสมัยก่อนอาณาจักรสุโขทัย  มีดังนี้

อาณาจักรในภาคกลาง

อาณาจักรทวารวดี

แผนที่อาณาจักรทวารวดี
แผนที่อาณาจักรทวารวดี สังเกตระยะนี้น้ำทะเลร่นไปถึงละโว ซึ่งเป็น จ. ลพบุรีในปัจจุบัน
พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งเมืองต่าง ๆ ในปัจจุบัน เช่น กรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลอยู่
อาณาจักรทวารวดี  (พุทธศตวรรษที่ 1116)   เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   เป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย   เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่   มีเมืองนครปฐมเป็นศูนย์กลาง   หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋นและหลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง)  พ.ศ. 1150 ได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่า  มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง   อยู่ในระหว่างเมือง ศรีเกษตร (พม่า)  และอิสานปุระ (เขมร)  ชื่อ โดโลปอดี้ (ทวารวดี– บางแห่งว่า โถโลโปตี)  และอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้างตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ. 8601150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม และแถบเมืองที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่องไปทางภาคะวันออกเฉียงเหนือ    จนถึงเมืองนครราชสีมา    และเมืองบุรีรัมย์ 
             ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11   ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิได้ครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระของอาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน)  และอาณาจักรเจนละ (หรือเจินละ)   ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า   ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ 11 นั้น    มีชนชาติหนึ่งที่แตกต่างกับชาวเจนละในด้านศาสนาและศิลปกรรม   ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักร   เจนละตั้งแต่เมืองเพชรบุรี   เมืองราชบุรี   ขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน
             จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing)    ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. 1172–1188   และพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง (I-Sing)   ได้เดินทางไปอินเดียทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้นได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า   “โดโลโปตี้   หรือ   จุยล่อพัดดี้ (ทวารวดี)  เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร)  ปัจจุบันคือ ส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย
พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า  สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึงอาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน
         ในสมัยแรก ๆ ได้มีการสร้างพระปฐมเจดีย์    คือราว ๆ พ.ศ. 300  เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11–16)   ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก   และยังเหลือปรากฏเป็นโบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน   เช่น   วัดพระประโทนเจดีย์   วัดพระเมรุ   วัดพระงาม   และวัดดอยยาหอม     โบราณสถานที่ค้นพบล้วนมีฝีมือประณีต  งดงาม   นอกจากนั้นยังมีเครื่องประดับร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก   เงิน   และทอง    รูปปูนปั้น   มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ   เช่น   จีน   และที่จังหวัดสุพรรณบุรี  สิงห์บุรี  และชัยนาท ได้พบเหรียญเงินที่มีจารึก   ทวารวดี   ประทับอยู่ด้วย
นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์   เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่   เช่น   ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์   นครปฐมเป็นเมืองที่มีการทำเงินขึ้นใช้เอง มีการค้นพบหลักฐานเงินตราสมัยนั้นหลายรูปแบบ   เช่น รูปสังข์   รูปประสาท   ตราแพะ   ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม)    จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง
             นอกจากนี้ได้มีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญในบริเวณจังหวัดนครปฐม   สุพรรณบุรี   สิงห์บุรี  ชัยนาท   ลพบุรี   และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   สันนิษฐานว่า ชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ เขมรเป็นเจ้าของอารยธรรมทวารวดี   และการที่อาณาจักรทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   แม่น้ำแม่กลอง   และอยู่ใกล้ทะเล   ทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ    เช่น   อินเดียเข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท    ศิลปวัฒนธรรม   ตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย   เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี   และได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้       ดังได้พบโบราณสถาน  โบราณวัตถุ สมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป  เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม)   เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)   เมืองละโว้ (ลพบุรี)   เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์)   เมืองฟ้าแดดสงยาง (กาฬสินธุ์)   เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
              ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง   เช่น   ด้านการปกครอง   รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์   สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเป็นแคว้น   มีเจ้านายปกครองตนเอง   แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ   การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง
             หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11–13   คือเหรียญเงิน   เส้นผ่าศูนย์กลาง  19  ม.ม.  ที่นคปฐมและอู่ทอง  พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า   ศรีทวารวดีศวร   และมีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง  ทำให้ชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียก ทวาราวดี)  ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ  และมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่   เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในกลุ่มแม่น้ำท่าจีน)   เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน)   เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)   เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี ในลุ่มแม่น้ำลพบุรี)   เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)   เมืองอู่ตะเภา (บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์  จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)     เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเต่า  อ.เมือง   จ.อุทัยธานี)   เมืองซับจำปา (บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก)   เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี)  และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา)   นอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง   เช่น  ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี   รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

ศิลปะสมัยทวารดี
ศิลปะสมัยทวารวดีพบอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่   นครปฐม   สุพรรณบุรีลพบุรี   สิงห์บุรี   ราชบุรี   ขึ้นไปจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย   เช่นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์   ได้ค้นพบใบเสมา ศิลาสลักเป็นพระพุทธรูปพุทธประวัติ และชาดกต่าง ๆ
ผลงานด้านศิลปะสมัยทวารวดีเกิดจากการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยรับแบบพุทธศิลป์ของอินเดียมาผสมผสานกับคติความเชื่อในท้องถิ่น   แล้วได้พัฒนามาเป็นลักษณะเฉพาะของตนเองเป็นศิลปะสมัยทวารดีที่โดดเด่น และยังคงเหลือให้เห็นมีหลายด้าน ดังนี้

ด้านสถาปัตยกรรม  ผลงานด้านสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีมักใช้การก่ออิฐถือปูน   มีลายปูนปั้นประกอบ  ไม่นิยมก่ออิฐด้วยศิลาแลง   รูปสัณฐานของเจดีย์ฐานทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม   องค์สถูปทำเป็นรูประฆังคว่ำและมียอดเตี้ย    เช่น พระปฐมเจดีย์องค์เดิม   หรือเจดีย์วัดจุลปะโทน    จังหวัดนครปฐม  และบางแบบทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น  แต่ละชั้นเจาะเป็นซุ้มสำหรับไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป  เช่น  เจดีย์วัดกู่กุดจังหวัดลำพูน

ด้านประติมากรรม ผลงานด้านประติมากรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ ได้แก่การสร้างพระพุทธรูปทำด้วยศิลาลักษณะพระพักตร์มีขมวดพระเกศาใหญ่   บางครั้งมีรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมอยู่เหนือพระเกตุมาลา   พระพักตร์แบน   พระขนงสลักเป็นเส้นนูนโค้งติดต่อเป็นรูปปีกกา   พระเนตรโปน   พระนาสิกแบน   พระโอษฐ์หนา   จีวรบางติดกับพระองค์   พระบาทใหญ่มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาประทับนั่งห้อยพระบาท   เช่น   พระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่วัดหน้าพระเมรุ  จังหวัพระนครศรีอยุธยา   และที่ถ้ำฤๅษีเขางู  จังหวัดราชบุรี
ศิลปะทวารวดี
ธรรมจักรกวางหมอบ ศิลปะทวารวดี
             นอกจากนั้นยังมีศิลาสลักรูปกงล้อ    พระธรรมจักรกับกวางหมอบ รูปเหล่านี้หมายถึง   พระพุทธองค์ปางประทานปฐมเทศนา  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสีและพบประติมากรรมดินเผาและรูปปั้นหลายชิ้นที่มีความงดงาม    เช่นภาพปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี
          ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ   พบที่เมืองจันเสน (ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองบึงโคกช้าง (ต.ไผ่เขียว  อ.สว่างอารมณ์  จ.อุทัยธานี ในแคว้นตากแดด  ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง)   เมืองศรีเทพ (จ.เพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก)   เมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน ลุ่มแม่น้ำปิง)    และเมืองบน (อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์  ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
             ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคตะวันออก   มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11–18 อยู่ที่เมืองพระรถ (ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งค้นพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า)  มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล  ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 15–21 (อยู่ที่ ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี  ลุ่มแม่น้ำบางปะกง)  ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีนและญี่ปุ่น จากเตาอะริตะแบบอิมาริ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22  และติดต่ดถึงเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี)  เมืองดงละคร (จ.นครนายก)  เมืองท้าวอุทัย  และบ้านคูเมือง (จ.ฉะเชิงเทรา)
             ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจึงเป็นดินแดนของชนชาติมอญโบราณ  มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี)  กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี)  ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน   มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.1100    พระนางจามเทวีราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี)  ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน    ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์    ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระพบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจีที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดียเมื่อพุทธศตวรรษที่ 3–4 และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ  บาลี สันสกฤต และภาษามอญ  ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียงพบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราว พ.ศ. 1200   (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)  และพบจารึกมอญที่ลำพูน อายุราว พ.ศ. 1628  (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญชัย จังหวัดลำพูน)

             สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน   เดิมเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน   เนื่องด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร   ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร  มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง   มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัยปี พ.ศ. 600–1600  จำนวนมาก  นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่ง   เช่น   แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอดช้างดิน  ต.จระเข้สามพัน  อ.อู่ทอง  จ.สุพรรณบุรี    พบเงินเหรียญสมัยทวารวดีเป็นตรารูปแพะ   สายฟ้า   พระอาทิตย์   พระจันทร์   และรูปหอยสังข์  บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะ   และพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรีชนิดต่างๆ  เป็นต้น   เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเมืองอู่ทองมีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี
             เมืองนครไชยศรีโบราณ ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุประโทณ  จังหวัดนครปฐม  พบคูเมืองโบราณรูปสีเหลี่ยม ขนาด 3,600x2,000  เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณอ้อมไปตัดคลองพระประโทณ  ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด      บ้านกลาง   บ้านนางแก้ว   แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี    พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ   หลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้นพบที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม   เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง)  อำเภอกมลาไสย   จังหวัดกาฬสินธุ์   ใกล้แม่น้ำซี  ได้ค้นพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว 1,200 ปี   มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยนครวัดของอาณาจักรขอม  ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบคุปตะของอินเดีย  และได้พบเสมาหินบางแท่งมีจารึกอักษรปัลลวะของอินเดียด้วย
             สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า พระเจ้าอนุรุทรมหาราช แห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป
             ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  สวรรคต ใน พ.ศ.1732  อำนาจก็เริ่มเสื่อมลงทำให้บรรดาเมืองประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ  ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18   พ่อขุนบางกลางหาว    เจ้าเมืองบางยาง  และ พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  ซึ่งได้พระนางสิขรเทวี พระธิดาขอมเป็นมเหสี  และได้รับพระนามว่า     ขุนศรีอินทราทิตย์   พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม และให้พ่อขุนบางกลางหาว สถาปนาเป็น  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระจากการปกครองของขอม
             อาณาจักรทวารวดีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200  ปี  จึงค่อยๆ เสื่อมลง  พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาสตีเมืองทวารวดี ที่ละเมืองสองเมือง   จนถึง พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลง และตกอยู่ในอำนาจของพวกขอม  พวกขอมได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย นำไปใช้เป็นทาสทำงานต่างๆ จนถึง พ.ศ. 1800  คนไทยในหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ    เช่น ลพบุรี   อู่ทอง   กาญจนบุรี   ราชบุรี   เพชรบุรี  ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้สำเร็จ  แต่เมืองนครปฐมได้กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว   เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองที่ไหลผ่านเมืองทวารวดีได้เปลี่ยนทิศทางใหม่   ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมากจนทำให้นครปฐม (ทวารวดี) เป็นที่ดอนขึ้นไม่เหมาะที่จะทำไร่ทำนาผู้คนจึงอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในเมืองอื่น
             วัฒนธรรมทวารวดีได้สืบทอดต่อมายังแว่นแคว้นที่ก่อเกิดในสมัยหลัง  นาม  “ทวารวดี”  ได้ตกทอดมาเป็นสร้อยนามของกรุงศรีอยุธยา  นั่นคือ   “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา”

อาณาจักรละโว้

แผนที่อาณาจักรละโว้
แผนที่อาณาจักรละโว้  สังเกตทะเลอ่าวไทยเริ่มลดลง
 อโยธยา (อยุธยา) เริ่มก่อตั้งอาณาจักรแล้ว
พระปรางค์สามยอด
พระปรางค์สามยอด ศิลปะขอมสมัยอาณาจักรละโว้
             อาณาจักรละโว้  (พุทธศตวรรษที่12-18) ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบันละโว้เป็นเมืองสำคัญหนึ่งในสมัยทวารวดีตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่านคือแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีทำให้มีความอุดมสมบูรณ์และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสักที่ราบสูงโคราชและเขตติดต่อกับทะเลสาบเขมรเป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบส่งผลให้ละโว้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดีเมื่อพวกขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาละโว้ได้กลายเป็นเมืองประเทศราชของขอมและได้รับอารยธรรมของขอมด้วยด้านเศรษฐกิจอาชีพสำคัญของชาวละโว้คือการเกษตรเพรามีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่นเช่นจีนอินเดียหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อค้าขายเช่นเครื่องถ้วยจีนและละโว้ยังได้ส่งทูตไปยังเมืองจีนโดยจดหมายเหตุจีนในพุทธศตวรรษที่17-19 เรียกละโว้ว่าเมืองหลอหูละว้าภายใต้อิทธิพลขอมพระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้เข้ามามีบทบาทในละโว้แทนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทโดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (..1724-1861) มีการสร้างสถาปัตยกรรมและประติมากรรมตามความเชื่อในศาสนาเหล่านี้เช่นพระปรางค์สามยอดปรางค์แขกเทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร          ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นช่วงที่อาณาจักรละโว้ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียค่อนข้างมากโดยรับแนวคิดเรื่องการมีกษัตริย์ปกครองมีการแบ่งชนชั้นออกเป็นชนชั้นสูงสามัญชนและทาสการนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาที่ผู้คนให้การเคารพนับถือมากในละโว้ทั้งนี้เพราะพบจารึกภาษาบาลีที่กล่าวถึงการอุทิศถวายสิ่งของข้าทาสให้แก่วัดและพบประติมากรรมเช่นพระพุทธรูปธรรมจักรเป็นต้นนอกจากนี้พระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ได้เผยแผ่อยู่ในละโว้ดังพบพระพิมพ์ที่มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับข้างพระพุทธเจ้ารวมทั้งการมีความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่เข้ามาโดยพวกพราหมณ์และชนชั้นปกครองและความเชื่อพื้นเมืองได้แก่การบูชาบรรพบุรุษและการบูชารูปพระราชมารดาอีกด้วย
          การเกษตรเป็นพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของละโว้เนื่องจากละโว้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่นเช่นจีนอินเดียโดยมีการพบเครื่องถ้วยจีนเหรียญกษาปณ์ที่มีรูปพระอาทิตย์ครึ่งดวงตราบัลลังก์ตราสังข์นอกจากนี้ละโว้ยังได้ส่งทูตไปเมืองจีนโดยจดหมายเหตุจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19 เรียกละโว้ว่าเมืองหลอหู
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นช่วงที่ละโว้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเขมรเขมรได้ส่งผู้แทนมาปกครองละโว้ในฐานะเมืองประเทศราชและนำพิธีกรรมมาใช้ในการปกครองเช่นพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อแสดงอำนาจของกษัตริย์เขมรและแสดงความซื่อสัตย์ของขุนนางการออกกฎหมายบังคับใช้และมีระบบตุลาการคือศาลสภาเป็นผู้ตัดสินคดีความดังเห็นได้จากศิลาจารึกภาษาเขมรที่ศาลสูงจังหวัดลพบุรีการรับพระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์- ฮินดูเข้ามามีบทบาทในละโว้แทนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทโดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (.. 1724-1758) มีการสร้างสถาปัตยกรรมและประติมากรรมตามความเชื่อในศาสนาเหล่านี้เป็นจำนวนมากเช่นพระปรางค์สามยอดเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเทวรูปพระนารายณ์หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจลงทำให้อิทธิพลเขมรในดินแดนไทยลดลงไปด้วยและเมื่ออาณาจักรอยุธยาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขยายอำนาจไปปกครองละโว้ทำให้ละโว้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรที่สืบทอดในละโว้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่อาณาจักรอยุธยารับมาปฏิบัติด้วย

ข้อพิจารณา

          พงศาวดารระบุว่าพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยพระยางำเมืองแห่งพะเยาได้เสด็จมาศึกษาณอาณาจักรละโว้สมัยเยาว์วัยโดยเป็นศิษย์ของสำนักสุกทันตฤๅษีแม้ว่าสุโขทัยจะเป็นศูนย์กลางของอำนาจแต่อาณาจักรละโว้ยังคงรักษาอิสระทางการเมืองของตนไว้ตลอดสมัยสุโขทัยข้อยืนยันคือไม่ปรากฏชื่ออาณาจักรละโว้ในทะเบียนเมืองขึ้นของสุโขทัยในศิลาจารึกต่างๆและยังมีหลักฐานว่าอาณาจักรละโว้ได้ส่งทูตไปเมืองจีนอีกหลายครั้งในช่วงสมัยสุโขทัย
          ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมา และวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ โดย “เนตรนิมิต” หน้า 12 เขียนที่มาของคำว่า “ละโว้” ไว้ดังนี้ “...พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้แผ่อำนาจข้ามภูเขาดงพระยาไฟไปทางตะวันตก ยึดได้เมืองวุ้ง เห็นว่าน้ำท่าบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์กว่า จึงเลิกสร้างนครอาชญา (ท่านว่าเป็นโคราช เขมร (แขมร์) ออกเสียงเป็น “นะคอระอาชญา” แล้วหดลงเป็นนะคอระอาช นะคอราช และเหลือโคราช– ผู้จัดทำ) เมืองนี้จึงยังสร้างไม่เสร็จ ยังเหลือหินอยู่ 2 กอง อยู่ที่บ้านหินตั้ง (อ. สูงเนิน) กลุ่มหนึ่งมีก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน อีกกลุ่มหนึ่งห่างไปทางทิศใต้ 24 เมตร มีก้อนหินวางอยู่ 8 ก้อน ยังไม่ได้ลงมือก่อสร้าง และมีหินที่ตัดไว้แล้วเหลืออยู่บนภูเขาอีกมาก ยังไม่ได้ขนลงมา มีบางก้อนลากมาทิ้งไว้กลางทาง พวกช่างต้องอพยพข้ามเขาไปทางตะวันตก ไปสร้างที่เมืองวุ้ง สร้างเป็นปรางค์ 3 องค์ติดกัน (ปรางค์ 3 ยอด) แล้วตั้งชื่อตามขอมนิยมว่า “นครวุ้ง” แขมร์ออกเสียงเป็น “นะคอระโว้ง” แล้วหดลงเหลือ “ละโว้”...”

อาณาจักรในภาคเหนือ

อาณาจักรโยนกเชียงแสน  
แผนที่อาณาจักรโยนกเชียงแสน
แผนที่อาณาจักรโยนกเชียงแสน
อาณาจักรโยนกเชียงแสน  (พุทธศตวรรษที่ 1216)   เป็นอาณาจักรเก่าแก่ของชนชาติไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13  ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย  ปัจจุบันคือ อำเภอเชียงแสน  จังหวัดเชียงราย  เป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานครังแรกหลังจากที่ชนชาติไทยได้อพยพหนีการรุกรานของจีนลงมา   โดยพระเจ้าสิงหนวัติ โอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะ  ได้เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน หรือ โยนกนาคนคร ขึ้น  นับเป็นอาณาจักรทีมียิ่งใหญ่และสง่างาม  จนถึงสมัยของพระเจ้าพังคราช จึงตกอยู่ภายใต้อารยธรรมและการปกครองของพวก ลอม”  หรือ  ขอมดำ”  ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ก่อนที่จะมีการก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน ได้เข้ายึดครองโยนกเชียงแสน
ในสมัยของพระเจ้าพรหม  โอรสของพระเจ้าพังคราช  ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เป็นนักรบและมีความกล้าหาญ ได้ทำการต่อต้านพวกขอม  ไม่ยอมส่งส่วย  เมื่อขอมยกกองทัพมา ปราบปรามก็ได้โจมตีขับไล่กองทัพขอมแตกพ่ายไป  และยังได้แผ่อิทธิพลขยายอาณาเขตเข้าไปในดินแดนของขอม  ยึดไปถึงเมืองเชลียง  และล้านนา ล้านช้าง  แล้วอัญเชิญพระเจ้าพรหม พระราชบิดาให้กลับมาครองเมืองโยนกเชียงแสนเหมือนเดิน  แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น เมืองชัยบุรี  ส่วนพระเจ้าพรหมได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางใต้ของโยนกเชียงแสน คือ เมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐาคือ เจ้าทุกขิตราช เป็นพระอุปราช ปกครองเมือง  นอกจากนั้นยังได้สร้างเมืองอื่นๆ ขึ้นอีก เช่น ชัยนารายณ์  นครพางคำ
เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าพังคราช  พระเจ้าทุกขิตราชก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี (โยนกเชียงแสน)  ส่วนพระเจ้าพรหมและโอรสของพระองค์ได้ครองเมืองชัยปราการในสมัยต่อมา  และเป็นระยะเวลาที่พวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง   เมื่อหมดสมัยของพระเจ้าพรหม เป็นต้นไป อาณาจักรโยนกเชียงแสนเริ่มเสื่อมอำนาจลง  กษัตริย์ล้วนอ่อนแอ หย่อนความสามารถ  จนถึง พ.ศ. 1731  พวกมอญก็ได้ยกทัพเข้ายึดครอบครองอาณาจักรขอม และได้แผ่อำนาจเข้ายึดเมืองโยนกเชียงแสน  ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมเป็นกษัตริย์ปกครอง   พระเจ้าชัยศิริไม่สามารถต่อต้านกองทัพมอญได้ จึงพากันเผาเมืองทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นที่พำนัก และเสบียงอาหารแก่พวกมอญ  แล้วพากันอพยพลงมาทางใต้
จนมาถึงเมืองร้างแห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป ได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปประยะหนึ่งเห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะเพราะอยู่ใกล้ขอม จึงได้อพยพลงไปทางใต้จนถึงถึงเมืองนครปฐมจึงได้สร้างเมืองนครปฐมและพำนักอยู่ ณ ที่นั้น
 ส่วนกองทัพมอญหลังจากรุกรานเมืองชัยแล้ว  ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่นๆ ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริซึ่งครองเมืองชัยบุรี  ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกัน ปรากฏว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วม  บรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมด  พวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทอง เพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ พวกมอญจึงยกทัพกลับ เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสนขาดผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง
ในระยะที่ฝ่ายไทยกำลังระส่ำระสายอยู่นี้ เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองละโว้ ถือสิทธิ์เข้าครอบครองแคว้นโยนกเชียงแสน  แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยแก่ขอม  ความเสื่อมสลายของอาณาจักรโยนกเชียงแสนครั้งนี้ ทำให้ชาวไทยต้องอพยพย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปป  ส่วนสายของพระเจ้าชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย จนมาถึงเมืองนครไทย จึงได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ ณ เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะเป็นเมืองใหญ่ และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ  ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย อย่างไรก็ตามในช่วงแรกที่เข้าไปตั้งเมืองอยู่นั้น ก็ต้องยอมอ่อนน้อมต่อขอม ซึ่งขณะนั้นยังคงเรืองอำนาจอยู่
ในเวลาต่อมาเมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก  ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น  ข้างฝ่ายอาณาจักรโยนกเชียงแสนนั้น เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ ก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครอง และระยะต่อมาชาวไทยที่ยังคงเหลืออยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้รวมตัวกันตั้งเมืองขี้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน  บรรดาหัวเองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นนับว่าสำคัญ มี อยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง  อยู่ทางเหนือ  นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญชัย อยู่ทางใต้  ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ และอาศัยที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้ จึงเป็นทีนิยมของชาวไทยมากกว่า
เมื่อบรรดาชาวไทยเกิดความคิดที่จะสลัดแอกจากขอมครั้งนี้  บุคคลสำคัญในการนี้คือ พ่อขุนบางกลางท่าว  ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองตราด ได้ร่วมกำลังกัน ยกขึ้นไปโจมตีขอม จนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปี พ.ศ. 1800 การชัยใน ครั้งนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้นแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทย และเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอม  เพราะนับแต่นั้นเป็นต้นมาอาณาจักรขอมก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง จนสิ้นสุดอำนาจไปจากบริเวณนี้
ต่อมาเมืองโยนกเชียงแสน (เมืองชัยบุรี)  เกิดน้ำท่วม  บรรดาเมืองในแคว้นโยนกเชียงแสนต่างๆ ก็ถูกทำลายลงหมด  พวกมอญเห็นว่าหากจะเข้าไปบูรณะซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์เมืองใหม่ จะสิ้นเปลืองเงินทองจำนวนมาก จึงได้พากันยกทัพกลับ   เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสน (ชัยบุรี) ขาดกษัตริย์ปกครอง ทำให้อำนาจ และอารยธรรมเริ่มเสื่อมลง  ชนชาติไทยในโยนกเชียงแสนจึงได้พากันอพยพลงมาทางตอนใต้ แล้วได้สร้างอาณาจักรใหม่ขึ้นคือ อาณาจักรล้านนา  ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอาณาจักร

อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนา  (พุทธศตวรรษที่ 19-25) มีศูนย์อยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่(จังหวัดชียงใหม่) ผู้ก่อตังอาณาจักรล้านนาคือพญามังรายมหาราช(.. 1804-1854) ซึ่งเดิมปกครองเมืองเชียงแสนขณะนั้นในภาคเหนือมีอาณาจักรน้อยใหญ่หลายแห่งเช่นหริกุญชัยเขลางค์ (ลำปาง) โยนกเชียงแสนพญามังรายมหาราชสามารถปราบปรามและรวบรวมแว่นแค้วนต่างๆในภาคเหนือเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรล้านนาและตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เวียงกุมกามแต่ประทับอยู่ไม่นานก็ย้ายเมืองอยู่ที่เชียงใหม่ในพ..1839 อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองหลายด้านที่สำคัญดังนี้
3.1) ด้านภาษาล้านนามีตัวอักษรใช้สามแบบคืออักษรธรรมล้านนาหรืออักษรตัวเมืองอักษรฝักขามที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและอักษรขอมเมืองหรืออักษรไทยนิเทศ
3.2) ด้านการปกครองสามารถขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางโดยรวบรวมหัวเมืองต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาซึ่งปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีกฎหมายที่ใช้ปกครองเรียกว่ามังรายศาสตร์
3.3) ด้านศาสนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยและพม่ามีการสังคายนาพระไตรปิฎกในพ..2020 เป็นครั้งที่ 8 มีการสร้างวัดหลายแห่งเช่นวัดเจดีย์หลวงวัดโพธารามมหาวิหาร(วัดเจดีย์เจ็ดยอด) เป็นต้น
แผนที่อาณาจักรล้านนา
แผนที่อาณาจักรล้านนา
การก่อตั้งอาณาจักรล้านนาเป็นผลจากการรวมแคว้นหริภุญชัยกับแคว้นโยนกในสมัยของพญามังรายปฐมกษัติรย์แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการก่อตั้งเมืองเชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ในพ.. 1839มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสืบเนื่องทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาทั้งทางการเมืองการปกครองเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษนับตั้งแต่พยายามเลือกทำเลที่ตั้งการวางผังเมืองและการสร้างสิทธิธรรมเชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคเหนือสืบมาถึงปัจจุบันการสร้างเมืองเชียงใหม่พญามังรายเชิญพญางาเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจารณาทำเลที่ตั้งพญาทั้งสองก็เห็นด้วยและช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ทำให้ผังเมืองเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัยเมื่อแรกสร้างกำแพงเมืองมีขนาดกว้าง 900 วายาว 1,000 วาและขุดคูน้ากว้าง 9 วา กำแพงเมืองเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัยปัจจุบันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ1,600เมตร

 
เวียงกุมกาม
เวียงกุมกาม เมืองหลวงเก่าของอาณาจักรล้านนา
 
อักษรล้านนา
อักษรล้านนาเทียบกับอักษรไทยปัจจุบัน

สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (.. 1898 - 2068)
ในราวกลางราชวงศ์มังรายนับแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมาอาณาจักรล้านนาเจริญขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพญาแก้วหรือพระเมืองแก้วซึ่งถือเป็นยุคทองหลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เริ่มเสื่อมลงโดยกล่าวได้ถึงความเจริญเป็นประเด็นได้คือความเจริญทางพุทธศาสนาในยุครุ่งเรืองตามหมู่บ้านต่างๆได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนเขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่งปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายในปัจจุบันความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนาซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านนาวัดสำคัญได้แก่วัดเจ็ดยอดวัดเจดีย์หลวงวัดพระสิงห์วัดสวนดอกวัดบุพพารามเป็นต้นการสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้วยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐเพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมาการค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายกว้างขวางมีพ่อค้าจากเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกามในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญเพราะเป็นเมืองผ่านไปยังทางใต้และทางตะวันตกจึงมีพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่ทั้งเงี้ยวม่านเม็งไทยฮ่อกุลาสินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่าเมืองเชียงใหม่ทาหน้ารวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่างๆทางตอนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองมอญกษัตริย์มีบทบาทการค้าของป่าโดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่างๆในอาณาจักรส่งส่วยให้ราชธานีจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนาส่วยสินค้าของป่ามาถวายรูปแบบการค้าของป่ากษัตริย์จะส่งข้าหลวงกากับดูแลสินค้าชนิดต่างๆมีการพบตำแหน่ง "แสนน้ำผึ้ง" ซึ่งเป็นข้าหลวงที่ดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้งและมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด
กาลังทหารที่เข้มแข็งในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองรัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดีจึงมีกองกาลังที่เข้มแข็งดังพบว่าในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางเช่นเมืองเชียงตุงเมืองเชียงรุ้งเมืองยองเมืองนายเมืองน่านและยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยาโดยทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถซึ่งในครั้งนั้นล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้
ลัดพระธาตุลำปางหลวง
ลัดพระธาตุลำปางหลวง  ศิลปะล้านนา
สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (.. 2068 - 2101)
เกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังรายนับตั้งแต่พญาเกศเชษฐราชขึ้นครองราชย์จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าในช่วงเวลา๓๓ปีในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปีเพราะขุนนางขัดแย้งกันเองตกลงไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์หรือขุนนางปลดกษัตริย์หรือกษัตริย์สละราชสมบัตินอกจากนี้ปัจจัยความเสื่อมสลายยังเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขาที่ทำให้เมืองต่างๆในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ
ในระยะแรกเมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมาโดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่างๆในระบบเครือญาติอย่างไรก็ตามเมื่อรัฐขยายขึ้นจำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ระบบเครือญาติแต่อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง

อาณาจักรหริภุญชัย

อาณาจักรหริภุญชัย
แผนที่อาณาจักรหริภุญชัย
        อาณาจักรหริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-19) ตั้งอยู่ที่เมืองหริภุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบันตำนานจามเทวีวงค์หรือตำนานเมืองหริภุญชัยกล่าวว่าฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1204 และขอให้กษัตริย์ละโว้ส่งเชื้อสายพระวงศ์มาปกครองละโว้จึงส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นพระราชธิดามาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัยจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระอาทิตยราชได้ปกครองหริภุญชัยและได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาทรงสร้างพระธาตุหริภุญชัยสร้างวัดทำให้บ้านเมืองมีความสงบสุข
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย
ในครั้งนั้นพระนางจามเทวี ได้นำพระสงฆ์ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมาก ราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัยนั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่า เป็นอาณาจักรกษัตริย์หญิง นู หวาง โก่ว
ต่อมา พ.ศ. 1824 พญาเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์
ปัจจุบันโบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยนั้นก็คือ พระธาตุหริภุญชัย ที่จังหวัดลำพูน และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญโบราณอยู่

        อาณาจักรหริภุญชัย คืออาณาจักรที่แตกหน่อออกมาจากอาณาจักรทวาราวดี แห่งเมืองละโว้ และคงมีคนเชื้อชาติต่างๆอาศัยอยู่ เพราะคำว่า จาม ซึ่งเป็นชื่อของพระนางจามเทวีนั้น น่าจะมีความหมายว่า พระนางเป็นคนเชื้อชาติจามที่อยู่ในละโว้ในสมัยทวาราวดี ส่วนคำว่าเทวี มีความหมายว่า พระนางที่เป็นหม้ายซึ่งพระสวามีถึงแก่กรรมไปแล้ว เนื่องจากพระสวามีของพระนางคือเจ้าราม หรือกษัตริย์แห่งเมืองราม ได้ถึงแก่กรรมก่อนพระนางจะขึ้นมาลำพูน (ตามตำนานเมืองเหนือที่กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญชัย)ดังนั้นพระนาง จามเทวีจึงน่าจะเป็นคนเชื้อชาติจามที่อยู่ในดินแดนทวาราวดีทางตอนใต้ของลำพูน ซึ่งก็คือเมืองละโว้ มีบางตำนานกล่าวว่า พระนางเป็นธิดาของกษัตริย์เมืองละโว้ เมื่อพระนางสร้างเมืองหริภุญชัย ศิลปะ ที่ปรากฏจึงมักเป็นศิลปะ ของทวาราวดี
        พระนางจามเทวีจากเมืองละโว้ (ทวาราวดี) ขึ้นมาครองเมืองลำพูนเป็นคนแรกเมื่อประมาณปีพ.ศ.1311 - 1318 ตามคำเชิญของฤๅษีวาสุเทพและฤษีสุทันตะ ขณะที่เสด็จขึ้นมานั้น พระนางทรง พระครรภ์ได้ 3 เดือน และได้สร้างเมืองต่างๆ ตามรายทางไว้มากมาย เมื่อคลอดโอรสออกมาแล้ว ปรากฏว่าเป็นโอรสแฝด องค์พี่ชื่อ เจ้ามหันตยศ องค์น้องชื่อ เจ้าอนันตยศ ซึ่งพระนางก็ได้มอบเมืองลำพูนให้องค์พี่ และสร้างเมืองลำปางให้องค์น้อง   
        ลำพูนมีสงครามกับลพบุรี (ในสมัยอยู่ใต้อิทธิพลของเขมร)ในครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.1550-1560 เป็นช่วงเวลาที่เขมรเข้ามามีอิทธิพลเหนือลพบุรี จึงสันนิษฐานว่า กษัตริย์ลพบุรีที่กล่าวถึงในตำนานนั้น น่าจะเป็นกษัตริย์หรือแม่ทัพเขมรมากกว่า การที่ชาวลำพูนต้องรบกับละโว้นั้น ก็คงจะเป็นการเข้าไปช่วยละโว้ ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันรบกับเขมรนั่นเอง และเมื่อทัพจากละโว้ (ซึ่งมีนายทัพเป็นเขมร) ยกขึ้นมาตีลำพูนก็ไม่เคยตีได้ อาจเป็นเพราะว่า ทหารเมืองลำพูนและ ทหารเมืองละโว้เป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน แต่ผู้ที่คุมทัพละโว้คือเขมร ดังนั้นคงจะเกิดการบังคับให้พวก ละโว้ขึ้นมารบกับลำพูนโดยไม่เต็มใจ เขมรจึงไม่เคยรบชนะหริภุญชัยได้เลยตลอดประวัติศาสตร์ ในตำ นานเมืองเหนือยังกล่าวไว้ด้วยว่า ในการยกทัพมาตีเมืองลำพูน 2 ครั้งหลัง ทหารเมืองละโว้เกิดหลงทาง หาทางเข้าเมืองลำพูนไม่ถูกทั้ง 2 ครั้ง ทัพละโว้จึงต้องยกกลับ อาจเป็นได้ว่า ทหารละโว้คงจะแกล้งนำทางให้หลง ทำให้ไม่สามารถเข้าตีลำพูนได้     
        ปีพ.ศ. 1590  เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในเมืองลำพูน ทำให้ประชาชนต้องหนีเข้าไปในพม่า และอาศัยอยู่ที่เมืองหงสาวดีถึง 6 ปี ซึ่งขณะนั้นหงสาวดียังเป็นเมืองของพวกมอญอยู่(มอญและทวาราวดีมีความใกล้ชิดกันทางเชื้อชาติ) ชาวลำพูนจึงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองหงสาวดี เพราะชาวเมืองลำพูนและหงสาวดีต่างก็เป็นคนที่เกือบจะมีเชื้อชาติเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกัน จนเมื่อสถานการณ์ โรคระบาดดีขึ้นแล้ว ชาวลำพูนจึงได้กลับมายังบ้านเมืองของตน เมื่อกลับมาแล้ว คงจะเกิดความคิดถึง ชาวเมืองหงสาวดีที่ได้เคยไปอาศัยพักพิง จึงพากันนำอาหารใส่ภาชนะแล้วลอยไปในแม่น้ำ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นสายน้ำที่ไหลไปถึง เมืองหงสาวดี และสันนิษฐานว่าการลอยภาชนะใส่อาหารลงในแม่น้ำนั้น คงเป็น ต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทงที่มีสืบทอดกัน มาจนถึงทุกวันนี้       
        ราวปีพ.ศ.1700-1835เป็นช่วงเวลาก่อนที่พระยาเม็งรายจะสถาปนาอาณาจักรล้านนา และเป็นยุคทองของ หริภุญชัย ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชได้สร้างพระธาตุหริภุญชัยขึ้นเป็นครั้งแรก สูง 6 เมตร สามารถมองเห็นพระธาตุที่บรรจุอยู่ภายในได้ สมัยพระยาสวาธิสิทธิได้สร้างเสริมขึ้นไปจนสูง 12 เมตร พร้อมทั้งสร้างวัดมหาวันและบูรณะวัดมหาพล มีบันทึกว่า มีพระสงฆ์จากลังกาเดินทางมาหริภุญชัยในสมัยนี้ ปีพ.ศ.1835 พระยาเม็งรายยกกองทัพเข้ามาโจมตีหริภุญชัยและยึดเมืองได้ในอีก 4 ปีต่อมา อาณาจักรหริภุญชัยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ราวปีพ.ศ. 1311 ก็ต้องสูญเสียอำนาจให้กับพญาเม็งราย รวมเวลาเป็นอาณาจักร 528 ปี

อาณาจักรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาณาจักรโคตรบูร

แผนที่อาณาจักรโคตรบูร
แผนที่อาณาจักรโคตรบูร
อาณาจักรโคตรบูร เป็นอาณาจักรโบราณทางภาคอีสานของไทย พุทธศตวรรษที่ 11-15 (ระหว่าง พ.ศ. 1000-1500) ครอบคลุมบริเวณ ฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่อุดรธานี หนองคาย เวียงจันทน์ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ถึงอุบลราชธานี นับถือ พุทธศาสนา มีการสร้างพระเจดีย์สำคัญ คือ พระธาตุพนม มีเมืองหลวงคือ มรุกขนคร ซึ่งขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
ตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงการสร้างโบราณสถานสำคัญทางพุทธศาสนานิกายเถรวาท คือ เจดีย์พระธาตุพนมที่เมืองนครพนม ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นเจดียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว มหาชนเชื่อกันว่า ภายในเจดีย์มีการบรรจุพระบรมธาตุส่วนหน้าพระอุระของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่า พระอุรังคธาตุลวดลายและภาพที่สลักบนแผ่นอิฐ ประดับรอบพระธาตุเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน เป็นลักษณะศิลปกรรมของตนเองโดยเฉพาะ
เจดีย์พระธาตุพนมสร้างขึ้นโดยชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำโขง เป็นปูชนียสถานที่รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและดินแดนต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาณาจักรโคตรบูร เสื่อมลงเมื่อถูกอาณาจักรล้านช้างของลาวนำโดยเจ้าฟ้างุ้ม โจมตีและเกิดโรคระบาด
       ความเป็นมาของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ที่มาของจังหวัดนครพนม นครพนมเป็นเมืองเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ เป็นจังหวัดที่อยู่ไกลที่สุดในภาคอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ สมัยก่อนเคยเป็นอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในยุคนั้นมีอาณาจักรล้านช้าง สิบสองจุไทย เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ อยุธยาตอนต้น และอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นที่มาของจังหวัดนครพนม ในสมัยก่อนที่ประเทศไทยยังไม่ได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไปในสมัยสงครามฝรั่งเศส ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนัน ตามจดหมายกรีกกล่าวไว้ว่า อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรที่มีอำนาจแผ่ออกไปกว้างขวางจนถึงแหลมมลายูและพม่า ในพุทธศตวรรษที่ 5-11 ต่อมาเป็นดินแดนของอาณาจักรเจนละ จนถึงพุทธศตวรรษที่ 14 จนกระทั่งต่อมาขอมได้มีอำนาจในแถบลุ่มแม่น้ำโขง จนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ขอมจึงได้เริ่มเสื่อมอำนาจลง ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตั้งขึ้นเป็น "ราชอาณาจักรศรีสตนาคนหุตล้านช้าง" ตั้งแต่ปี พ.ศ.1896 เป็นต้นมา
พระธาตุพนม
พระธาตุพนม ปูชนียสถานแห่งอาณาจักรโคตรบูร
             เมื่ออาณาจักรศรีสตนาคนหุตล้านช้าง มีอำนาจเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง "แคว้นศรีโคตรบูรณ์" ก็เป็นเมืองลูกหลวงเมืองหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ของอาณาจักรล้านช้าง ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า ผู้ครองนครแคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีนามว่า "พระยาศรีโคตรบอง" เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าล้านช้าง พญาศรีโคตรบองเป็นผู้ที่เข้มแข็งในการออกศึกสงคราม เป็นที่โปรดปราณของกษัตริย์ล้านช้าง จึงได้ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนใต้ จึงได้ขว้างกระบองประจำตัวขึ้นไปในอากาศเพื่อเสี่ยงทายหาที่ตั้งเมืองใหม่ กระบองได้ตกลงแถบบริเวณ "เซบั้งไฟ" ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอำเภอธาตุพนม แล้วตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า "ศรีโคตรบูรณ์" ขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรล้านช้าง 
             ต่อมาเมื่อเจ้าผู้ครองเมืองศรีโคตรบูรณ์สวรรคตลง ก็ได้เกิดอาเพศ และเภทภัยต่าง ๆ มากมาย จึงได้ย้ายเมืองศรีโคตรบูรณ์ไปตั้งอยู่ริมน้ำหินบูรณ์ ตรงข้ามกับอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ต่อมาบริเวณที่ตั้งเมืองที่ริมน้ำหินบูรณ์ได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งโขงพังทลายลงทุกวัน จึงได้ย้ายเมืองลงไปทางตอนใต้ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบริเวณที่เป็นดงไม้รวก ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "มรุกขนคร" ซึ่งหมายถึง ดงไม้รวก        
            ปี พ.ศ. 2330 พระบรมราชา เจ้าเมืองมรุกขนครได้เห็นว่าการที่เมืองมรุกขนครตั้งอยู่ที่บ้านธาตุน้อยศรีบุญเรือง ริมห้วยบังฮวกมาเป็นเวลาถึง 20 ปี แล้ว นั้น ถูกน้ำเซาะตลิ่งโขงพังและบ้านเรือนราษฎรเสียหาย จึงได้ย้ายเมืองขึ้นไปตั้งทางเหนือตามลำแม่น้ำโขงที่ บ้านหนองจันทร์ ห่างจากจังหวัดนครพนมไปทางใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร     
           ปี พ.ศ. 2337 ได้เกิดศึกพม่าทางเมืองเชียงใหม่ พระบรมราชาเจ้าผู้ครองเมืองมรุกขนครได้ไปออกศึกในครั้งนี้ด้วย ได้บริโภคผักหวานเบื่อจนถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองเถิน ท้าวสุดตา ซึ่งเป็นพี่ชายของพระมเหสีของพระบรมราชา จึงได้นำเครื่องราชบรรณาการลงไปเฝ้า รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุดตาเป็นผู้ครองเมืองมรุกขนคร และเปลี่ยนชื่อเมือง จาก "มรุกขนคร" เป็นเมือง "นครพนม" ขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานไว้ 2 ประการ คือ คำว่า "นคร" หมายถึง เมืองที่เคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ส่วนคำว่า "พนม" ก็มาจาก พระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บางตำราก็ว่า เดิมสมัยประเทศไทยยังไม่เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไป สมัยสงครามฝรั่งเศส เมืองมรุกขนคร มีอาณาเขตกินไปถึงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือ สปป.ลาว ซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย ไปจนถึงดินแดนของเวียดนาม เดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่บริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า "พนม" ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า "นคร" เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้ คือ เมืองมรุกขนคร จึงนำคำว่าพนม ซึ่งพนมแปลว่าภูเขามาต่อท้ายคำว่านคร เป็น "นครพนม" ซึ่งหมายถึงหมายถึง "เมืองแห่งภูเขา" นั่นเอง   

ข้อพิจารณา

          ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมาและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ โดย “เนตรนิมิต” (เคยอ้างแล้ว) หน้า 1 เขียนไว้น่าพิจารณาว่า “ก่อน พ.ศ. 800 อาณาจักรโคตบูรได้ตั้งขึ้นแล้ว แปลว่า เมืองแห่งดวงอาทิตย์ (คงหมายถึงอยู่ทางตะวันออก) มีพื้นที่ที่เป็นภาคอีสาน (ของไทยในปัจจุบัน) ไปจนถึงดินแดนลาวภาคกลาง (อาณาจักรเวียงจันทน์) ลาวเรียกว่าแคว้นโคตรตะบอง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองศรีเทพ ในจังหวัดเพชบูร (เดิมเขียนอย่างนี้ แปลว่า เมืองแห่งพืชผล (ถ้าว่าตามภาษาศาสตร์ ก็แปลอย่างที่ท่านว่าจริง คือ เพช มาจากภาษาบาลีว่า พีช แปลว่า พืชผล บูร มาจากภาษาบาลีเช่นกันว่า ปุร แปลว่า เมือง รวมกันเข้าก็แปลว่า เมืองแห่งพืชผล – ผู้จัดทำ) เดี๋ยวนี้เขียนเป็นเพชรบูรณ์คงอยากมีเพชรแยะ ๆ) ทิศใต้อาณาจักรโคตรบูรเป็นทิวเขาดองเรก ทิศใต้ทิวเขาดองเรกเป็นประเทศเจนละ ซึ่งยังไม่เจริญ ถูกพวกโคตบูรข่มเหงรังแกอยู่เรื่อย
          พ.ศ. 800 เกิดโรคระบาด (อหิวาตกโรค – ผู้จัดทำ) ในเมืองศรีเทพ ชาวเมืองจึงย้ายเมืองหลวงไปทางตะวันออก ไปตั้งที่เมืองมรุกขนคร (ป่าไม้รวก) ตั้งชื่อว่า เมืองพนม อยู่ระหว่างสกลนคร กับนครพนม จีนเรียกฟูนันในการอพยพย้ายเมืองครั้งนี้ ก็เรียกเกณฑ์เอาแรงงานจากประเทศเจนละไปใช้ พวกเจนละจึงโกรธมาก แต่ไม่มีทางสู้”

อาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน)

แผนที่อาณาจักรฟูนาน
แผนที่อาณาจักณฟูนาน
อาณาจักรฟูนัน เป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 712 ที่ตั้งของรัฐอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งประเทศกัมพูชาเวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนานรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดินที่ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนานยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายต่างประเทศ ฟูนาน จึงมีรายได้จากการค้าขาย การเดินเรืออีกด้วย
             เรื่องราวของรัฐฟูนาน ทราบจากบันทึกของชาวจีนที่เดินทางมาแถบนี้ ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ในชุมชนที่มีระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบอบกษัตริย์ มีเมืองต่าง ๆ มาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนเอง มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ทั้งในทวีปเอเชียด้วยกัน และโลกตะวันตก ชนชั้นสูงเป็นพวกมาลาโยโพลีนีเซียน ชาวจีนว่าพวกชนชั้นพื้นเมืองของฟูนันหน้าตาหน้าเกลียด ตัวเล็ก ผมหยิก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซียน ฟูนานมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คน เป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้าน จากหมู่บ้านพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐ วิธีการพัฒนาจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐมีปัจจัยและขั้นตอนหลายประการ
สังคมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมเผ่า (Tribal Society) ต่อมาพัฒนาเป็นสังคมรัฐ (Social State) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา ตัวอย่าง คือ ฟูนาน เดิมเป็นหมู่บ้าน ต่อมาขยายออกไปเพราะมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงต้องขยายที่เพาะปลูกให้พอกินพอใช้กับจำนวนชุมชนที่ขยายขึ้น ได้พยายามหาเทคโนโลยีการเกษตร มาช่วย เช่น ขุดคูคลองกั้นน้ำ เพื่อให้อยู่ดีและมีอาหารพอเพียงต่อมาเริ่มมีโครงร่างของสังคมดีขึ้น จึงพัฒนามาเป็นรัฐ เหตุที่ฟูนานพัฒนาเป็นรัฐได้นั้น มีผู้แสดงความเห็นไว้ เช่น เคนเนธอาร์ ฮอลล์ กล่าวว่า เป็นเพราะฟูนานมีการพัฒนาในเรื่องการเพาะปลูกอย่างมาก และที่สำคัญอีก คือ ฟูนานมีเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล พร้อมทั้งได้ยกข้อคิดเห็นของ โอ.ดับบลิว.โวลเดอร์ (O.W.Wolter) ที่กล่าวถึงการพัฒนาการจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐว่า เป็นเพราะลักษณะทางการค้า และสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่เมืองออกแก้ว (Oc-EO) เมืองท่าของฟูนานที่เรือต่าง ๆ ผ่านมาต้องแวะด้วย เมืองออกแก้วเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นในดินแดน เพื่อสนองความต้องการสินค้าของคนที่แวะมาเมืองท่า และการชลประทานในฟูนานก็เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกทำให้ฟูนานขยายตัวเป็นรัฐขึ้นมา และเป็นรัฐแรกในภูมิภาคนี้ ส่วนเรื่องการเข้ามาของชาวอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเริ่มที่พ่อค้าเข้ามาก่อน โดยมาติดต่อกับผู้ปกครอง แล้วพราหมณ์จึงตามเข้ามาทีหลัง และไม่เชื่อว่า ฟูนานจะกว้างใหญ่ถึงขนาดเป็นอาณาจักร (Kingdom) ได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดในการใช้คำศัพท์ ทั้งนี้ เพราะส่วนใหญ่ข้อมูลได้มาจากจีน จีนมองดูบ้านเมืองในแถบนี้ด้วยสายตาของคนจีน และนำเอาคำศัพท์ของจีนมาใช้ เช่นเดียวกับชาวตะวันตก ที่ใช้คำว่า “Kingdom” หมายถึง อาณาจักรในแนวคิด และแบบของยุโรป ซึ่งเทียบกันไม่ได้กับสภาพจริงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการศึกษาโดยละเอียด ในเนื้อหาของบันทึกหลักฐานทางโบราณคดี และสภาพแวดล้อมแล้ว ฟูนานยังไม่เหมาะที่จะใช้กับคำว่า อาณาจักรหรือจักรวรรดิได้ ฟูนานขณะนั้นเป็นเพียงการรวมเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีหัวหน้าใหญ่ซึ่งได้มาโดยการยกย่องหัวหน้าเผ่าบางคนขึ้นมาโดยดูจากความสามารถส่วนตัว หัวหน้าใหญ่คนนี้ก็จะมีอำนาจอยู่ในชั่วอายุของตนเองเท่านั้น เมื่อตายไปแล้วอำนาจก็สิ้นสุด ไม่ตกทอดถึงทายาท
โอ.ดับบลิว.โวลเดอร์ กล่าวว่า พัฒนาการของฟูนานมีที่มาจากการที่รัฐสร้างโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการผลิตในทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะข้าวที่รัฐฟูนานดึงเข้ามายังส่วนกลางในรูปของส่วยอากร เพื่อสร้างความมั่งคั่ง และมั่นคงทางการเมืองให้แก่รัฐและกลุ่มชนชั้นปกครอง ขณะเดียวกัน มีนักวิชาการท่านหนึ่ง ได้ค้านแนวความคิดเรื่องโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่ดังกล่าว คือ ดับบลิว.เจ.แวนเลอ (W.J.Van Liere) 3 กล่าวว่าไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่จะมีผลไปถึงการเพาะปลูก ตรงข้ามโครงสร้างดังกล่าว เป็นเรื่องของศาสนาที่ค้ำจุนฐานะของกษัตริย์ในลัทธิเทวราช และอาจเป็นคูคลองป้องกันเมืองก็ได้ ส่วนการปลูกข้าวยังอาศัยฤดูกาลทางธรรมชาติ ตลอดจนการชลประทานขนาดเล็กที่ราษฎรทำเอง เรียกว่า ชลประทานราษฎร์
หลักฐานของจีนกล่าวว่า ฟูนานตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธัญญะ (Kaundinya) ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ (Lieo-Yeh) ของแคว้นนี้ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 7ฟูนานอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ (Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter king) ชื่อของฟูนานเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนาน เรียกว่า กูรุง บนม (Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งภูเขา (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนม (Ba Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกแก้ว มีแม่น้ำสายยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนาน ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่าง ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่งคั่ง และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง ทำให้ฟูนานมีอำนาจปกครองเหนือเมืองลังกาสุกะ (Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองปัตตานี้) และเมืองตามพรลิงก์ (Tambralinga มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือไชยา) เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ ฟูนานยังมีอำนาจเหนือเจนฬา ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนาน ฟูนานปกครองเหนือดินแดนในอินโดจีนส่วนใหญ่ถึงห้าศตวรรษ
การขนส่งภายในฟูนานใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ประชากรอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ ปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง กีฬาที่โปรดปราน คือ การชนไก่ ชนหมู ภาษีอากรจ่ายเป็นทอง เงิน ไข่มุก น้ำหอม ฟูนานได้ติดต่อค้าขายกับตะวันตกด้วย เพราะจากการขุดค้นได้พลรากฐานของอาคารหลายแห่งที่เมืองออกแก้ว ได้พบหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างฟูนานกับตะวันตก เช่น เหรียญโรมันต่าง ๆ มีรูปจักรพรรดิโรมัน แหวนจารึกภาษาอินเดีย สมัยพุทธศตวรรษที่ 811หินสลักรูปต่าง ๆ ที่ได้แบบมาจากกรีก
ลักษณะของวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว เป็นแบบผสมกันระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนาน ได้สืบทอดต่อมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติ ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่ โบราณสถานของกัมพูชาสมัยก่อนนครวัด นอกจากนั้น มีพระพุทธรูปแบบคุปตะ ภาพปั้นพระวิษณุสวมมาลาทรงกระบอก และภาพปั้นพระหริหระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า ประติมากรชาวฟูนานได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาลวะ และราชวงศ์คุปตะ ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู มีภาษาสันสกฤต ซึ่งเห็นได้จากบันทึกของชาวฟูนานที่บันทึกไว้คราวมีงานเฉลิมฉลองรัชกาลพระเจ้าโกณธิญญะที่ 2 (สวรรคต พ.ศ. 977) และรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 10211057) ที่มีประเพณีการจัดงานต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแล้ว ยังปรากฏคำลงท้ายพระนามกษัตริย์ฟูนานว่า วรมันภาษาสันสกฤต แปลว่า ผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์ของอินเดียนิยมใช้กัน สิ่งเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่มีต่อรัฐฟูนาน ฟูนานมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ดังนั้น เรื่องราวของฟูนานจึงปรากฏในบันทึกของจีน ที่กล่าวไว้ว่า เมืองต่าง ๆ ในฟูนานมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎรชาวฟูนานมีผิวดำ ผมหยิก เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก ชอบการแกะสลักเครื่องประดับเครื่องประดับ การสลักหิน มีตัวอักษรใช้ลักษณะคล้ายกับอักษรของพวก ฮู้” (อยู่ในเอเชียตอนกลาง ใช้อักษรแบบอินเดีย) มีทาสเชลยศึก มีการค้าทองคำ ค้าเงิน ค้าไหน ทำแหวน สร้อยมือทองคำ ถ้วยชามเงิน การพิจารณาคดีความใช้แบบจารีตนครบาล เช่น ล้วงหยิบ แหวนทองเหลือง หรือไข่ในน้ำเดือด ใช้โซ่ร้อนจัดคล้องมือ แล้วเดินไป 7 ก้าว หรือดำน้ำพิสูจน์ เป็นต้น มีแหล่งน้ำใช้ร่วมกัน มีการทดน้ำ เพื่อการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมเป็นแบบหลังคา เป็นชั้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ตกแต่งด้วยช่องเล็กช่องน้อยครอบอยู่

 
ศิลปะฟูนานา
ศิลปะฟูนานา




ศิลปะฟูนานา
ศิลปะฟูนานา


เรื่องราวของฟูนานได้ทราบจากบันทึกของชาวจีนชื่อ คังไถ่ ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตจีน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกนำมากล่าวอ้างอิงกันมากแต่ปัจจุบันได้มีนักวิชาการนำบันทึกของคังไถ่มาวิเคราะห์กันใหม่ และได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านข้อมูลเกี่ยวกับฟูนาน โดยยกเหตุผลมาสนับสนุนข้อคัดค้านของตน ดังได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องพัฒนาการของสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ เคนเนธ อาร์.ฮอลล์กล่าวไว้รวมทั้งตำนานเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งฟูนาน โดยพราหมณ์โกณธิญญะมาแต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ว่าเป็นเรื่องของการใช้ตำนานเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์น่ายินดีและเพื่อสถานภาพของกษัตริย์ ความเห็นนี้ตรงกับ มิสตัน ออสบอร์น ที่กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นตำนานเล่ากันมา เป็นการบิดเบือน เพื่อหวังผลทางปฏิบัติอย่างสูง สำหรับคนระดับที่เป็นผู้ปกครองของรัฐนี้ฟูนานรับวัฒนธรรมอินเดียทั้งรูปแบบการปกครอง สังคม วัฒนธรรม อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย มีอยู่มากในชนระดับสูง ส่วนชาวบ้านทั่วไปยังยึดมั่นในขนบประเพณีสังคมดั้งเดิมของตนอยู่ ฟูนานมีลักษณะเป็นรัฐชลประทานมีการชลประทานเพื่อปลูกข้าว โดยการขุดคูคลองทำนบกักเก็บน้ำ แล้วระบายไปยังไร่นาต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็มีเมืองท่าชื่อเมืองออกแก้ว เป็นแหล่งนำรายได้ผลประโยชน์มาสู่รัฐอีกทางหนึ่ง นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ด้วย ฟูนานยั่งยืนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่6 จึงตกอยู่ใต้การปกครองของรัฐเจนฬา สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้ หรือความเสื่อมสลายนี้ มิได้มีหลักฐานแน่ชัด จากพงศาวดารราชวงศ์ถัง ซึ่งคณะทูตชาวจีนที่เดินทางไปยังดินแดนแถบฟูนาน ในต้นพุทธศตวรรษที่ 12กล่าวเพียงว่า ได้พ่ายแพ้แก่พวกเจนฬา กษัตริย์ฟูนานต้องหนีไปทางใต้ ฟูนานเป็นรัฐที่เรืองอำนาจแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถรักษาเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ระลึกแก่คนรุ่นหลัง เห็นได้จากเหตุการณ์หลังจากที่รัฐเจนฬาเข้าครอบครองฟูนานแล้ว กษัตริย์ของเจนฬาทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของราชวงศ์ฟูนานเป็นของตนด้วย และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์แห่งเมืองวยาธปุระทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่า รัฐฟูนานน่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยแพร่ขยายอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา

อาณาจักรเจนละ

แผนที่อาณาจักรเจนละ
แผนที่อาณาจักรเจนละ
             อาณาจักรเจนละแห่งนี้เป็นอาณาจักรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอาณาจักหลินยี่หรือจามปา เดิมนั้นเป็นเมืองที่ขึ้นกับอาณาจักรฟูนัน ต่อมาในราว พ.ศ. 1097๑๐๙๗  พระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์เจนละได้ทำการโค่นอำนาจของพระเจ้ารุทรวรมันกษัตริย์ฟูนน โดยทำการตีเมืองยาธปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรฟูนันแตก โดยต่อมาพระเจ้าจิตรเสน ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าภววรมันนั้น ได้เข้ายึดครองอาณาจักรฟุนันและขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 ซึ่งได้ทำการขยายอาณาเขตอาณาจักรเจนละออกไปอย้างกว้างขวาง สามารถครอบครองลุ่มแม่น้ำมูลตอนใต้ และลุ่มแม่น้ำโขง และทำการตั้งเมืองเศรษฐปุระ เป็นเมืองหลวง อยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาว
             ต่อมาพระเจ้าอีศานวรมัน (พ.ศ. 11541172) โอรสของพระเจ้าจิตรเสน ได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งอยู่ที่เมืองอีศานุปุระ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกำปงธม ประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งมีโบราณสถานศิลปะสมโบร์ 
             ระหว่าง พ.ศ. 1170-1250 นั้นอาณาจักรขอมมีกษัตริย์ครองราชย์คือ พระเจ้าภววรมันที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าภววรมันที่ 2 เป็นสมัยที่สร้างศิลปะขอมแบบไพรกเมง ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 11801250    
             สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 นั้น อาณาจักรเจนละได้เกิดการแบ่งแยกออกเป็น พวกเจนละบก (เจนละบน) คืออยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้ และพวกเจนละน้ำ (เจนละล่าง) อยู่ในดินแดนลาวตอนกลาง ใน พ.ศ. 12501350 สมัยนี้ได้มีการสร้างศิลปะขอมแบบกำพงพระขึ้น ต่อมาสมัยพระเจ้าสัญชัยพวกเจนละน้ำได้ถูกชวาเข้าตีแตกและมีอำนาจในอาณาจักรแห่งนี้      
            เมื่ออาณาจักรขอมนั่นล่มสลาย ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้เสด็จมาจากชวาและทำการรวบรวมพวกเจนละทั้งสองกลุ่มประกาศอิสรภาพจากอำนาจครองของชวา และได้สร้างอาณาจักรขอมสมัยเมืองพระนครขึ้น     พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าปรเมศวร (พ.ศ. 13451397) ได้ทำการรวบรวมพวกเจนละบกและพวกเจนละน้ำเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยรับเอาลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชาเข้ามาทำการสถาปนาอาณาจักรใหม่ขึ้น โดยทำการสร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่งและสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัย เป็นการใหญ่ ซึ่งมีเหตุกราณ์ย้ายราชธานีขึ้นหลายครั้ง จนในที่สุดก็ลงตัวสร้างเป็นนครวัดนครธมขึ้น

 
ศิลปะเจนละ
ศิลปะเจนละ



ศิลปะเจนละ
ศิลปะเจนละ


             ด้วยเหตุนี้อาณาจักรขอมในสมัยนี้จึงมีความชำนาญในการสร้างราชธานีขึ้นหลายแห่งและมีการสร้างปราสาทหินที่เป็นศิลปกรรมขอมขึ้นหลายแบบ กล่าวคือ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 นั้นพระองค์ได้ทำการสร้างเมืองอินทะปุระเป็นราชธานี ขึ้นที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงจามสร้างเมืองหริหราลัยหรือร่อลวย เป็นราชธานี สร้างเมืองอมเรนทรปุระ เป็นราชธานีและสร้างเมืองมเหนทรบรรพตหรือพนมกุเลนเป็นราชธานียุคนี้ได้มีการสร้างศิลปะขอมแบบกุเลนขึ้นระหว่าง พ.ศ 13701420      
             เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระโอรสได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 หรือพระเจาชัยวรมันที่ 3 หรือ พระเจ้าวิษณุโลก ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 13931520 สมัยนี้พระองค์ได้กลับมาใช้เมืองหริหราลัยหรือร่อลอย เป็นราชธานีอีกครั้ง    
             ต่อมาเป็นรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าอิศวรโลก ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 14201432 ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปะขอมแบบพระโคขึ้นในช่วง พ.ศ. 14201440
             ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก พระโอรสของพระเจ้าอินทรมันที่ 1 นั้นได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ. 14321443 นั้น พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครแห่งแรกขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อ พ.ศ. 1436 เมืองนี้อยู่ทางตอนเหนือทะเลสาบของเมืองเสียมเรียบ ซึ่งคนไทยเรียกว่า เสียมราฐ       
             การสร้างปราสาทหินบนเขาพนมบาเค็งนั้น เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่แผ่อิทธิพลเข้ามายังดินแดนแถบนี้โดยสมมติขึ้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อนั้นนับเป็นศิลปะขอมแบบบาเค็ง    
             เมืองยโศธรปุระ ราชธานีแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาก็คือ พระเจ้าหรรษงวรมันที่ 1 หรือพระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ครองราชยระหว่าง พ.ศ. 14431456 และพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าบรมรุทรโลก พระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ครองราชน์ระหว่าง พ.ศ. 14561468 จึงได้เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแผ่นดิน 
             ในที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 หรือพระเจ้าบรมศิวบท ซึ่งเป็นน้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรขอมในระหว่าง พ.ศ. 14711485 พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์หรือเกาะแกร์ และเมื่อสิ้นรัชกาล พระเจ้ากรรษวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าพรหมโลก พระโอรสขององศ์ได้ครองราชย์ต่อมาระหว่าง พ.ศ 14851487 ยุคนี้ได้สร้างศิลปะขอมแบบเกาะแกร์ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 14691490                
             นอกจากอาณาจักรขอมจะเคยมีอำนาจครอบครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อนแล้วโดยมีการตั้งละโว้ปุระหรือเมืองละโว้เป็นราชธานีของอาณาจักรขอมเมืองลพบุรีโดยมีเจ้าผู้ครองนครที่รับอำนาจจากอาณาจักรขอมมาปกครองดูแลแทน ต่อมาภายหลังจึงมีการขยายอำนาจไปยังดินแดนพายัพของประเทศไทย กล่าวคือหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดนั้นเดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติอ้ายลาวมาก่อน
             ครั้นเมื่อพวกขอมมีอำนาจและขยายอาณาจักรเข้ามาครอบครองแดนพายัพ เจ้าผู้ครองเมืองละโว้จึงได้ส่งพระนางจามเทวีพระธิดาขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ซึ่งต่อมาเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขอมเมืองละโว้ พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ผู้นี้ไปปกครองพวกลาวทั้งปวงในมณฑลพายัพ ส่วนเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน)จึงมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขอมเมืองละโว้ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ดูแลบรรดาเมืองต่างๆ ในดินแดนพายัพ ต่อมาได้ตั้งเมืองนครเขลางค์ (เมืองลำปาง)ขึ้นอีกเมืองหนึ่งและให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือร่วมกัน

ข้อพิจารณา

          ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมาและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ โดย “เนรมิต” (เคยอ้างแล้ว) หน้า 3 เขียนไว้น่าพิจารณาว่า “ปีมะโรง พ.ศ. 863 โกณฑัญญะ หัวหน้าพวกขมีระ นำทัพเรือมาทางทะเลตะวันออกเฉียงใต้ เรียกพวกตัวเองว่า แขมร์ เข้าปากน้ำโขงมายังทะเลสาบใหญ่ของประเทศเจนละ เอากองทัพเรือจอดพักไว้ในอ่าวไม่มีใครขัดขวาง ตอนนั้นประเทศเจนละมีเจ้าหญิงปกครองอยู่ ได้นำพวกบริวารเจนละออกมาดูกองทัพเรือกองทัพเรือของโกณฑัญญะแขมร์ เจ้าหญิงเป็นคนสวย แต่เสื้อผ้าหยาบ ๆ เพราะไม่รู้จักทอผ้า โกณฑัญญะแขมร์จึงเอาผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดีขึ้นไปถวาย

อาณาจักรอิศานปุระ
แผนที่อาณาจักรอิศานปุระ
แผนที่อาณาจักรอิศานปุระ
อาณาจักรอิศานปุระ เป็นอาณาจักรโบราณ รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตรวรรษที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างของไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และลาวตอนใต้ สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือที่จิตรเสน ผู้ครองแคล้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอีศานวรมัน เสด็จขึ้นครองราชย์ (ราวพ.ศ. 1153-1198) ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า"อีศานปุระ "
เมืองหลวงอีศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณ กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก
หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมันมีกษัตริย์ปกครองอีก พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็นอาณาจักรเจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า "ยโศธรปุระ" หรือเมืองพระนคร บริเวณเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
     กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ)เป็นกลุ่มปราสาทโบราณมีอายุมากกว่า 1390 ปี มีปราสาทที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบันมากกว่า170โดยมีปราสาทสำคัญอยู่ ๓ กลุ่มหลักในบริเวณราชธานีอิศานปุระ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้และเนื่องจากมีปราสาทมากมายนับร้อยแห่ง จึงทำให้นักโบราณคดีชาวตะวันตกที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้จัดทำระบบบัญชีชื่อปราสาทต่างๆขึ้นและยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์มี  “ชื่อเป็นทางการเป็นตัวอักษรและตัวเลข แทนชื่อที่ชาวบ้านเรียกโดยปราสาทต่างๆในกลุ่มเหนือ จะมีชื่อขึ้นต้นว่า N (North)   ปราสาทกลุ่มกลางมีชื่อขึ้นต้นว่า C (Central)  และปราสาทกลุ่มใต้ มีชื่อขึ้นต้นว่า S (South) แล้วตามด้วยตัวเลขที่แสดงถึงความสำคัญ หรือตามลำดับการเรียงตัวที่ตั้งของปราสาท เช่น N1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มเหนือ  S1หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มใต้ คือปราสาทเนียกปวนและ C1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มกลาง คือปราสาทตาว เป็นต้น
กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ) มีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 กลุ่มปราสาทด้านใต้ หรือ กลุ่มปราสาทเนียกปวน (ปราสาทนาคพัน) หรือที่
ชาวบ้านนิยมเรียกว่าปราสาทเยียยปวน (ปราสาทยายพัน) ตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีแนวกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น ซึ่งแนวกำแพงชั้นนอกทำด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันชำรุดพังทลายเกือบหมดแล้วยังคงเหลือเฉพาะกรอบประตูทางเข้าที่ทำด้วยแผ่นศิลามีจารึกอยู่ที่ผนังกรอบประตูด้านในทางขวามือ ส่วนกำแพงชั้นในทำด้วยอิฐมีรูปสลักนูนสูงประดับอยู่ภายในกรอบวงกลม สังเกตดูแล้วบางรูปเป็นภาพแสดงวิถีการดำเนินชีวิต บอกล่าเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญๆ และมีแนวกำแพงที่มีโครงกรอบวงกลมหลายกรอบที่ยังไม่มีการจำหลักภาพ 
กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์
กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์
กลุ่มปราสาทเนียกปวน (ปราสาทนาคพัน) มีหลักฐานจารึกระบุว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอิศานวรมัน ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 12 ราวปี พ.ศ. 1151-1198 นักโบราณคดีเชื่อว่า กลุ่มปราสาทเนียกปวนน่าจะเป็นศาสนสถานกลางใจเมืองอิศานปุระ ซึ่งพระเจ้าอิศานวรมันทรงสถาปนาขึ้นเป็นนครหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรเจนละ และปราสาทองค์ประธานของกลุ่มถือเป็นศาสนาสถานประจำพระองค์ของพระเจ้าอิศานวรมัน
ปัจจุบันมีปราสาทที่ยังคงเหลืออยู่ 7 หลัง ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยอิฐ ที่ปราสาทองค์ประธานในกรอบทับหลังที่อยู่เหนือประตูเป็นหินจำหลักลวดลายรูปแบบที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะให้ชื่อว่า ศิลปะแบบ สมโบร์ไพรกุกห์และโดยรอบตัวปราสาทองค์ประธานที่มีแนวเสาติดผนังแบ่งผนังเป็นช่องกรอบ ภายในแต่ละช่องมีลวดลายประดับเป็นรูปวิมาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆซุ้มบุษบกหรือปราสาทขนาดเล็กโดยมีหน้าบันหรือยอดเป็นวงโค้งลวดลายป็นรูปวิมาน หรือเรียกตามคำศัพท์เทคนิคว่า ปราสาทลอย” (flying palaces) ในภาษาแขมร์เรียกว่า ปราสาทอันแดด
ส่วนปราสาทบริวารอีก 6 หลังที่ตั้งเรียงรายโดยรอบประสาทองค์ประธานนั้นมีผังเป็นรูปแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสถาปัตยกรรมแบบสมโบร์ไพรกุกห์ อีกแบบหนึ่ง ที่ผนังด้านนอกของปราสาทแปดเหลี่ยมทุกหลังประดับด้วยวิมาน หรือ ปราสาทลอย มีลักษณะภาพรูปผู้คนชาย หญิง สัตว์ และสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนเห็นอย่างชัดเจนว่าได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของอินเดีย เช่นรูปจำหลัก ผู้ชายที่มีตาโปน มีหนวดยาวเฟิ้ม และยังมีโพกผ้าที่ศีรษะอีกด้วย หรือที่ปราสาทลอยบางแห่งมีรูปผู้หญิงเจ้าเนื้อ ใส่ตุ้มหู และห่วงคอขนาดใหญ่ เป็นต้น
กลุ่มปราสาทเนียกปวน (ปราสาทนาคพัน)
กลุ่มปราสาทเนียกปวน (ปราสาทนาคพัน)
กลุ่มที่ 2 กลุ่มปราสาทตอนกลาง หรือกลุ่มปราสาทตาว (ปราสาทสิงโต) ตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีแนวกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น แต่แนวกำแพงส่วนใหญ่พังทลายเกือบหมดแล้ว ตรงกลางมีปราสาทตาว เป็นปราสาทองค์ประธานที่รับการบูรณะขึ้นมาเพียงแห่งเดียว ส่วนปราสาทบริวารที่เรียงรายอยู่โดยรอบนั้นปัจจุบันพังทลายลงหมดแล้ว ปราสาทตาวตั้งอยู่ท่ามกลางดงไม้ ข้างบันไดทางขึ้นมีรูปสิงโตสองตัวแกะสลักลอยตัว โดยทั้งฐานที่ตั้งและตัวสิงห์เป็นหินขนาดใหญ่ก้อนเดียวกัน จึงทำให้ปราสาทองค์ประธานนี้มีชื่อเรียกว่า ปราสาทตาวหรือแปลว่า ปราสาทสิงโตในอดีตบันไดทุกด้านทั้ง 4 ทิศของปราสาทจะมีรูปสิงห์แกะสลักลอยตัว ประดับอยู่เช่นเดียวกับที่เหลืออยู่เพียงคู่เดียว หากพินิจดูจากร่องรอยที่ฐานหินที่ตั้งสิงห์แต่ละตัวแล้ว สิงโตที่หายไปอีก 6 ตัวน่าจะถูกพวกขโมยลักลอบตัดไปขายมากกว่าจะพังทลายไปเองตามกาลเวลา ชาวบ้านปราสาทซ็อมโบร์ มีตำนาน เรื่องเล่ามากมายที่เป็นความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ และอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ของสิงโตที่เฝ้ารักษาปราสาทตาวตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันนี้
ปราสาทตาว หรือปราสาทสิงโต เป็นปราสาทอิฐขนาดใหญ่ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ขนาด 13x 15 เมตร) หันหน้าซึ่งมีประตูเปิดออกไปสู่ทิศตะวันออก ส่วนอีก ๓ ด้านที่เหลือเป็นผนังทึบมีประตูหลอกทั้ง 3 ทิศ ประตูทั้ง 4 ด้านมีเสาเหลี่ยม เหนือประตู มีทับหลังเป็นแผ่นหินทั้ง 4 ประตู โดยทับหลังด้านประตูเข้าทางทิศตะวันออกลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว ส่วนทับหลังทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก นักประวัติศาสตร์ศิลปะ เรียกกันว่า ศิลปะแบบไพรเกมงอ่านว่าไพร-กะ-เม็ง เป็นรูปแบบทับหลังของศิลปะขอม ในยุคถัดมาจากยุค ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกห์ส่วนทับหลังทางด้านทิศเหนือ เป็นศิลปะขอมที่เรียกกันว่าศิลปะแบบกำปงพระ” (หรือแบบกำพงพระ) ซึ่งเป็นยุคถัดมาจาก ศิลปะแบบไพรเกมงทำให้นักโบราณคดีมีข้อสันนิษฐานว่า ปราสาทตาวน่าจะสร้างขึ้นหลังรัชสมัยของพระเจ้าอิศานวรมัน โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลทางโบราณคดีอื่นๆที่ชี้ว่าปราสาทตาวน่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 1193-1223
กลุ่มที่ 3 กลุ่มปราสาทด้านเหนือ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มปราสาท คือ กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ หรือกลุ่มปราสาทตอนเหนือด้านใน และกลุ่มปราสาทตอนเหนือด้านนอก ซึ่งประกอบด้วยปราสาทเดี่ยวขนาดกลางและขนาดเล็กกระจัดกระจาย เรียงรายอยู่ทั่วบริเวณป่า (ในปัจจุบันมีถนนตัดแยกระหว่างกลุ่มปราสาทตอนเหนือด้านใน กับปราสาทตอนเหนือด้านนอก)
กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ หรือกลุ่มปราสาททิศเหนือด้านในตั้งอยู่ภายในผังบริเวณที่มีแนวกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นปราสาทองค์ประธาน ก่อด้วยอิฐ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีขนาดความยาวราว 11 เมตร มีการย่อมุมค่อนข้างมากและชัดเจน ตัวปราสาทมีประตูเข้าได้ทั้ง 4 ด้าน บริเวณใต้ปราสาทลอยของปราสาทประธานมีรูปจำหลักอิฐเป็นลวดลายเทพเจ้าและสิงสาราสัตว์ต่างๆ เช่นรูปครุฑบินแบกวิมาน เป็นต้น ในกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ มีปราสาทบริวาร 7 หลัง โดยมีปราสาท 1 หลัง มีข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจว่ามีลักษณะของผังปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม เป็นรูปลักษณะเข้าข่ายที่ปาร์มองติเออร์ (Henri Pasmentler)นักโบราณคดี ได้จัดไว้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมของปราสาทในยุคฟูนัน
ส่วนกลุ่มปราสาททิศเหนือด้านนอก เป็นกลุ่มปราสาทที่ตั้งอยู่ข้ามถนนมาอีกฟากหนึ่ง ปราสาทเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งนักโบราณดคีบางท่านสันนิษฐานว่า ปราสาทในกลุ่มนี้มีบางปราสาทที่น่าสร้างขึ้นมาในยุคฟูนันเรืองอำนาจ ก่อนที่พระเจ้าอิศานวรมันจะแผ่ขยายอำนาจเข้ามยึดครองและตั้งเมืองหลวงทับซ้อนพื้นที่เดิมที่เป็นนครพลทิตยปุระ ของกษัตริย์เชื้อสายฟูนัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปราสาทซ็อมโบร์มีปราสาทหลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยการก่อสร้างที่สะท้อนให้เห็นถึงความงดงาม ตระการตา ในรูปแบบทั้งก่อนและหลัง ศิลปะแบบ สมโบร์ไพรกุกห์ปราสาทที่น่าสนใจชมในกลุ่มปราสาททิศเหนือด้านนอกได้แก่ ปราสาทจัน อาศรมฤาษี ปราสาทเจรย ปราสาทซอนดัน และปราสาทสรงพระ เป็นต้น
ปราสาทจัน เป็นปราสาทอิฐผังสี่เหลี่ผืนผ้าเรือนยอดสูงตามรูปแบบปราสาทสมโบร์ไพรกุกห์ เป็นปราสาทที่มีรูปจำหลักประดับฝาผนัง วิมานหรือปราสาทลอยที่งดงามและยังคงสภาพความสมบูรณ์มากที่สุด ตั้งอยู่ริมฝั่งถนนทางด้านทิศเหนือ
อาศรมฤๅษี เป็นปราสาทขนาดเล็กที่ผนังแต่ละด้านสร้างขึ้นจากแผ่นหินสีเทาชิ้นเดียว มีลวดลายประดับตรงหัวเสา ฐาน และมีกูฑุ หรือซุ้มหน้าคนบนขอบหลังคาซึ่งเป็นลักษณะพิเศษตามแบบศิลปกรรมอินเดีย รวมทั้งใบหน้าคน(กูฑุ) ก็ละม้ายคล้ายกับคนอินเดีย นักโบราณดคีบางท่านสันนิษฐานว่า อาศรมฤๅษี น่าจะสร้างขึ้นในยุคฟูนันเรืองอำนาจ
ปราสาทเจรย เป็นปราสาทที่มีต้นไม้หยั่งรากพาดปกคลุมเกือบทั้งหลัง และมีจารึกอยู่ที่กรอบประตูทางเข้าด้านใน
ปราสาทซอนดัน เป็นปราสาทอิฐผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรือนยอดพังทลายหมดแล้ว แต่รูปจำหลักอิฐภายนอกที่เป็น วิมานหรือปราสาทลอย ยังคงมีความคมชัด ประณีตงดงามมาก และบริเวณภายนอกอาคารยังปรากฏท่อโสมสูตรรูปหัวสิงโตให้เห็นอยู่
ปราสาทสรงพระ ตั้งอยู่ในพื้นที่กลุ่มปราสาททิศเหนือด้านใน ใกล้ๆกับอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นปราสาทอิฐหลังเล็ก มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเรือนยอดสูงหันประตูเข้าไปทางทิศตะวันออก เสากรอบประตูกลม และทับหลังมีขนาดกะทัดรัดงดงาม เป็นปราสาทที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และปัจจุบันยังคงใช้ในการประกอบพิธีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกทำการเกษตรของชุมชนปราสาทซ็อมโบร์
อาคารพิพิธภัณฑ์ ได้รับการซ่อมแซมในปี  พ.ศ. 2552  เป็นสถานที่จัดเก็บรักษาชิ้นส่วน ทับหลัง เสาประดับปราสาท และส่วนประกอบอื่นๆของอาคารปราสาทบางแห่งในกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์
ศาลเนียะตาธม เป็นศาลผีบรรพบุรุษประจำหมูบ้านซ็อมโบร์ โดยจะมีพิธีเซ่นไหว้ตามแบบประเพณีโบราณของชาวบ้านชุมชนปราสาทซ็อมโบร์ทุกปี
นอกจากกลุ่มปราสทหลักทั้ง 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว ยังมีกลุ่มปราสาทขนาดย่อยอีกมากมายในป่าลึกทึบที่เคยเป็นดินแดนที่เปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ในการก่อสร้างปราสาทขึ้นมากมายเพื่อเป็นที่ถวายสักการบูชาอติเทพองค์พระศิวะ ตามความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย
พื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ ที่กำหนดไว้ป็นเขตโบราณสถาน มีขนาดความกว้าง ๖ ตารางกิโลเมตร ความยาว 6 ตารางกิโลเมตร จากเดิมมีการสำรวจพบปราสาท จำนวน 179 หลัง แต่ใน ปี 2551 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรม ของมหาวิทยาลัยวาซาดะ ประเทศญี่ปุ่นได้มีการสำรวจใหม่พบว่ามีปราสาทมากถึง 280 แห่ง ปราสาทส่วนใหญ่ชำรุดพังทลายหมดแล้ว คงเหลืออยู่เพียง 64 แห่ง ที่สามารถเที่ยวชมได้โดยมีกลุ่มปราสาทที่ตั้งห่างออกไปประมาณ 2-3 กิโลเมตร อาทิ กลุ่มปราสาทกรอลโรเมียะ ปราสาทเสร็ยกรุปเลียะ ปราสาทตามอน ปราสาทดอนโมง ปราสาทตรอเปียงโรเปียะ ปราสาทฤาเชยโรเลียะ ปราสาทขนายตวล ปราสาทปรึง ปราสาทตึกสอมปอต (บองออด หรือ มารอต) ปราสาทเคนียสาต ปราสาทเปือดเนียะไซ ปราสาทเลียงเปรียะ ปราสาทโลกเยียย ปราสาทจะเรียว ปราสาทอันลวงด็อมไร อันลวงปราสาท ปราสาทแซนเวียง ปราสาทตาดง ภูมิปราสาท ปราสาท เกาะสวาย ปราสาทพหูด กลุ่มปราสาทพนมบาเรียง ปราสาทด็อมแดก ปราสาทโก ปราสาทบั๊วะเรียบ และ ปราสาทเจิญจองกอ เป็นต้น

อาณาจักรในภาคใต้

อาณาจักรศรีวิชัย
      อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซียมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซียขึ้นมาถึงอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานีอนึ่งมีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่อำเภอไชยาด้านศาสนาในระยะแรกอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยานับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนานิกายมหายานต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิการเถรวาทจากทวารวดีและพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชดังปรากฏศาสนสถานและศาสนาวัตถุในศาสนาต่างๆเช่นพระบรมธาตุไชยาอำเภอไชยาพระพุทธรูปปางนาคปรกสำริดที่วัดหัวเวียงอำเภอไชยาเทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวรวัดศาลาทึงอำเภอไชยา
แผนที่อาณาจักรศรีวิชัย
แผนที่อาณาจักรศรีวิชัย
 อาณาจักรศรีวิชัยได้มีอำนาจการปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลมาแล้วในระหว่างพ..1218 ถึงพ..1318 โดยประมาณ 100 ปีและปีพ..1229 อาณาจักรศรีวิชัยได้เข้ามาครอบครองดินแดนแถบเกาะชวาซึ่งก่อนหน้าเหตุการณ์นี้สักหนึ่งศตวรรษพบว่าอำนาจแห่งอาณาจักรศรีวิชัยได้เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในดินแดนแถบมาลายูแล้วเพราะพบข้อมูลจดหมายเหตุจีนบันทึกเรื่องกษัตริย์ศรีวิชัยได้จัดส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักจีนในระหว่างพ..1213 กับพ..1318
     อาณาจักรศรีวิชัยเป็นรัฐโบราณแห่งหนึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่คาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทยตลอดลงไปจนถึงมาเลเซียสิงคโปร์และหมู่เกาะต่างๆของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันอาณาจักรศรีวิชัยเจริญขึ้นจากการเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลเดิมเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมชายทะเลจึงเหมาะต่อการเป็นเมืองท่าเพื่อใช้แวะพักจอดเรือแวะพักสินค้าและต่อมากลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าต่างๆศรีวิชัยตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณระหว่างอินเดียและประเทศทางตะวันตกกับประเทศจีนชาวศรีวิชัยส่วนใหญ่ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับมาจากอินเดีย
    ที่ตั้งของอาณาจักรศรีวิชัยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทยบริเวณคาบสมุทรมลายูไปจนถึงหมู่เกาะชวาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้จนสามารถควบคุมเส้นทางการเดินเรือระหว่างอาหรับเปอร์เซียอินเดียกับจีนและบริเวณช่องแคบมะละกาเนื่องจากที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูจึงเป็นศูนย์กลางการค้าทำให้มีพ่อค้าเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายซึ่งได้นำความมั่งคั่งและความเจริญเข้ามาศรีวิชัยจึงเป็นแหล่งรับอารยธรรมของต่างชาติเช่นจีนและอินเดียและถ่ายทอดไปยังดินแดนแห่งอื่น
     ศูนย์กลางของอาณาจักรสันนิษฐานว่าอาจตั้งอยู่ที่เมืองปาเล็มบังเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซียหรืออยู่ในดินแดนประเทศไทยที่เมืองนครศรีธรรมราชโดยอ้างหลักฐานทางด้านโบราณคดีเพราะได้มีการค้นพบจารึก 3 หลักซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับอาณาจักรศรีวิชัยในระหว่างพ..1225 – 1229 ใกล้เมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตราและการตีความจากจดหมายเหตุขอสนับสนุนรองศาสตราจารย์ปรีชากาญจนาคมนักโบราณคดีกล่าวไว้ในหนังสือโบราณเบื้องต้นว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอาจจะอยู่ที่เมืองปาเล็มบังทางตอนล่างของเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซียหรืออาจจะอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจากการค้นพบพระบรมธาตุไชยาที่เมืองไชยาแถบอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นหลักฐานทางสถาปัตยกรรมสร้างด้วยอิฐที่มีความเก่าแก่ในพุทธศตวรรษที่ 12-13 ไม่ว่าอาณาจักรศรีวิชัยจะมีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่ใดก็พอสรุปได้อย่างกว้างๆว่าบริเวณภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งเคยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมืองเศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรม

    อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่เกิดขึ้นพร้อมกับการติดต่อค้าขายกับต่างชาติแสดงให้เห็นความสามารถทางการค้าของชนพื้นเมืองพบบันทึกของต่างชาติที่กล่าวถึงความสามารถในการเดินเรือและค้าขายของคนเชื้อสายมาลายูที่อยู่ในอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่เป็นเมืองท่าสำคัญในการแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาชีพที่สำคัญคือการค้ากับอินเดียอาหรับและจีนรายได้หลักมาจากภาษีการค้าและเมืองท่าสินค้าออกที่สำคัญคือเครื่องเทศภายหลังได้หันมาใช้วิธีการค้าแบบผูกขาดจนเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรพ่อค้า
ศิลปะศรีวิชัย
ศิลปะศรีวิชัย
    สินค้าต่างถิ่นที่ศรีวิชัยเป็นคนกลางค้าขายศึกษาได้จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีและหลักฐานเอกสารพบว่ามีเครื่องถ้วยชามเคลือบจากจีนผ้าไหมผ้าต่วนภาชนะโลหะเหรียญร่มกระดาษเหล้าและคันฉ่องสินค้าประจำถิ่นที่ศรีวิชัยค้าเองมีหลายประเภทได้แก่เครื่องเทศและเครื่องหอมเช่น กระวานกานพลูการบูรมะพร้าวไม้กฤษณาพริกไทยหมากกำยานพิมเสนอำพันทำให้นักวิชาการทั่วไปเรียกเส้นทางทะเลนี้ว่าเส้นทางเครื่องเทศของป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น งาช้างเขาสัตว์หนังสัตว์นอแรดน้ำผึ้งและน้ำตาลของแปลกมีค่าเช่นไข่มุกพลอยและปะการังเครื่องโลหะเช่นทองคำเงินดีบุกตะกั่วสินค้าเกษตรเช่นข้าว
   จากหลักฐานทางด้านจารึกระบุว่าอาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธในเอเชียอาคเนย์ทำให้มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นคือวัฒนธรรมของศาสนาพุทธนิกายมหายานนิกายมนตรายานเป็นศาสนาประจำอาณาจักรศรีวิชัยโดยมีหลักฐานที่ยิ่งใหญ่คือการก่อสร้างบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานตามหลักพุทธนิกายมหายานอย่างครบครันเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของโลกอีกแห่งหนึ่งพบหลักฐานของโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายที่เกาะชวาแสดงให้เห็นว่าชาวพื้นเมืองได้ยอมรับการนับถือเทพเจ้าของอินเดียเข้ากับความเชื่อพื้นเมืองของตนคือการบูชาบรรพบุรุษและจารึกโบราณต่างๆที่มีภาษามลายูโบราณภาษายาวีภาษาชวาและภาษาสันสกฤตทำให้ทราบว่ามีการนับถือศาสนาพราหมณ์อย่างแพร่หลายก่อนที่อาณาจักรศรีวิชัยจะเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา
    การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัยมีรูปแบบการปกครองแบบสมาพันธรัฐแต่ละแคว้นจะมีกษัตริย์ของตนเองเมืองใดเข้มแข็งก็ขยายอำนาจไปควบคุมเมืองอื่นๆมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งเพื่อรักษาน่านน้ำของตนราชวงศ์ที่ปกครองศรีวิชัยคือราชวงศ์ไศเลนทร์ปกครองตลอดทั่วไปในแหลมมลายูลงไปถึงเกาะต่างๆศรีวิชัยมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเพราะสามารถควบคุมช่องแคบมะละกาได้เรือที่ผ่านไปมาต้องแวะพักจอดเรือตามเมืองท่าต่างๆของอาณาจักรศรีวิชัยอาณาจักรศรีวิชัยมีความสัมพันธ์กับประเทศจีนเป็นอย่างดีมีการส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนเป็นระยะๆประมาณ 12ครั้งและในพ.. 1536 เคยขอความช่วยเหลือจากจีนให้ช่วยปราบกองทัพของชวาที่ยกมารุกรานและในพ..1550 ศรีวิชัยทำสงครามกับแคว้นมะทะรัมซึ่งอยู่ในชวากลางและได้รับชัยชนะจึงมีอำนาจเหนือมะทะรัม

เจดีโบโรบูดูร์ ศิลปะศรีวิชัย
เจดีโบโรบูดูร์ ศิลปะศรีวิชัย อินโดนีเซีย

    ศิลปกรรมศรีวิชัยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะและราชวงศ์ปาละ-เสนะตามลำดับศิลปกรรมส่วนใหญ่พบแต่รูปเคารพทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูส่วนอาคารโบราณสถานพบน้อยปัจจุบันคงเหลือเฉพาะสถูปเจดีย์ซึ่งนิยมสร้างเป็นสถูปหินซ้อนเป็นชั้นๆตอนบนเป็นสถูปขนาดเล็กสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสถูปศรีวิชัยได้รับการสืบทอดบนเกาะชวาที่มีชื่อเสียงที่สุดคือพระมหาสถูปเจดีย์บุโรพุทโธศิลปวัตถุที่พบทางภาคใต้ของไทยคล้ายของชวาส่วนใหญ่นิยมสร้างแบบมหายานประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นการปั้นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์สำคัญของลัทธินี้องค์ที่พบที่ไชยานับว่าเป็นพุทธ-ปฏิมากรชิ้นเอกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีพระพุทธรูปมารวิชัยนาคปรกพบที่วัดเวียงอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
      อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธนิกายมหายานในบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรากฏศิลปะในพุทธศาสนาจำนวนมากนอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์จากอินเดียเช่นเดียวกันประเทศไทยได้รับอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัยแผ่เข้ามาทางตอนใต้ของประเทศไทยดังเช่นพระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์เหลี่ยมทรงมณฑปและเจดีย์ศรีวิชัยที่วัดแก้วที่เมืองไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่วนตอนบนของประเทศไทยคือมณฑปเจดีย์วัดเจ็ดแถวที่สวรรคโลกเจดีย์ในวัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัยและเจดีย์องค์เล็กในวัดพระธาตุหริภุญชัยลักษณะเจดีย์เป็นครึ่งวงกลมหรือทรงระฆังตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมเตี้ยๆมีรูปช้างที่ฐานโดยรอบตามความเชื่อของลัทธิลังกาเชื่อว่าช้างเป็นผู้ค้ำจุนจักรวาล
     หลักฐานความเจริญทางวัฒนธรรมได้แก่ศาสนสถานและศิลปวัตถุทางศาสนาเช่นจันทิเมนดุตศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่พบในเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียรวมทั้งพระบรมธาตุไชยาอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเจดีย์บุโรพุทโธพุทธสถานของศาสนาพุทธนิกามหายานสร้างโดยราชวงศ์ไศเลนทร์เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์ทางพระพุทธศาสนาสร้างอยู่บนเนินเขาเจดีย์มีส่วนสูงประมาณ 150 ฟุตพื้นที่ในตอนฐานล่างสุดมีทั้งหมด 123 ตารางเมตรฐานเจดีย์ประกอบขึ้นด้วยชั้นหินรูปสี่เหลี่ยม 6 ชั้นซ้อนกันขึ้นไปชั้นล่างจะมีขนาดใหญ่สุดและชั้นถัดไปจะมีขนาดเล็กลงตามลำดับตามผนังของชั้นหินจะมีภาพสลักนูนต่ำไว้เป็นจำนวนมากต่อจากชั้นรูปสี่เหลี่ยมขึ้นไปจะเป็นชั้นรูปกลมอีกชั้นแต่ละชั้นมีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเล็กๆสร้างอยู่โดยรอบตรงกลางของชั้นบนมีเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดซึ่งเป็นส่วนยอดของเจดีย์ความหมายของคำว่าบุโรพุทโธแปลว่าวิหารแห่งการสร้างสมความดีทั้ง 10 ชาติของพระโพธิสัตว์และเป็นรูปจำลองของจักรวาลตามคติทางพระพุทธศาสนามหายานโดยแบ่งจักรวาลออกเป็น 3 ชั้นคือกามธาตุรูปธาตุ และอรูปธาตุชั้นกามธาตุเป็นชั้นที่แสดงภาพสลักว่ามนุษย์ยังเวียนว่ายตายเกิดตามกฎแห่งกรรมชั้นรูปธาตุเป็นชั้นที่แสดงภาพสลักของผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสต่างๆในทางโลกแล้วรวมทั้งแสดงพระพุทธประวัติและชาติต่างๆของพระโพธิสัตว์ชั้นสูงสุดคืออรูปธาตุคือฐานวงกลมทั้ง 3 ชั้นและองค์สถูปใหญ่ตรงกลางส่วนนี้ไม่มีรูปสลัก
       ด้านประติมากรรมมีพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงคือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพบที่วัดมหาธาตุอำเภอไชยามีพระพิมพ์ดินดิบปางต่างๆพระพิมพ์ติดแผ่นเงินแผ่นทองทางด้านศาสนาพราหมณ์ได้แก่เทวรูปพระอิศวรพระอุมาเทวรูปทรงพระมาลาแขกเทวรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเครื่องมือเครื่องใช้มีเครื่องปั้นดินเผาทำเป็นภาชนะหม้อไหใช้สีเขียนลวดลายและทำเป็นแบบลูกจันทน์นูนขึ้นประดับลวดลายอื่นๆมีลูกปัดทำเครื่องประดับมีเงินกลมใช้เรียกว่านะโมและเงินเหรียญชนิดหนาใช้แลกเปลี่ยนซึ่งมีตราดอกจันทน์อยู่ด้านหนึ่งอีกด้านหนึ่งมีตัวอักษรสันสกฤตเขียนว่าวรประดับอยู่อิทธิพลศรีวิชัยที่ปรากฏในประเทศไทยส่วนมากที่ยังปรากฏเหลืออยู่เป็นพวกสิ่งก่อสร้างเช่นพุทธเจดีย์พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ปฐมเจดีย์พบรูปพระโพธิสัตว์ซึ่งเรียกกันว่ารูปยายหอมพุทธเจดีย์แบบศรีวิชัยสร้างตามลัทธิมหายานมักทำเป็นมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยอดเป็นพระสถูปดังเช่นพระมหาธาตุเมืองไชยาพระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราชองค์เดิมมณฑปที่สร้างขึ้นในเมืองสวรรคโลกเช่นวัดเจดีย์เจ็ดแถววัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย
ความเสื่อมของอาณาจักรมีหลายสาเหตุคือ
     ประการแรกอาณาเขตส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกาะใหญ่น้อยและแผ่นดินที่บางส่วนอยู่แยกห่างกันโดยมีทะเลกั้นทำให้การติดต่อถึงกันเป็นไปได้ยากข้าศึกสามารถโจมตีเอาดินแดนตอนนอกไปทีละเกาะสองเกาะได้
     ประการที่สองนโยบายการค้าแบบผูกขาดที่ศรีวิชัยพยายามกำหนดนโยบายทางการค้าขายโดยมุ่งกำจัดคู่แข่งขันทั้งปวงในอาณาบริเวณที่อยู่ใต้อิทธิพลของตนและบังคับให้ชาวต่างชาติจ่ายภาษีอากรอย่างสูงเพื่อสิทธิพิเศษย่อมก่อให้เกิดความไม่พอใจ
    ประการที่สามศรีวิชัยเป็นรัฐชายฝั่งทะเลทำการค้าเป็นหลักจึงย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในที่ใดก็ตามบนเส้นทางการค้านั้นเช่นในจีนอินเดียอาระเบียเปอร์เซียซึ่งอาจขัดขวางความคล่องตัวของการค้าขายในเมืองต่างๆรวมทั้งการถูกเพื่อนบ้านโจมตีหรือไปโจมตีผู้อื่นก็อาจทำให้กองทัพเรือซึ่งมีอำนาจกลับอ่อนแอได้
     ประการสุดท้ายที่สำคัญคือพัฒนาการในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เมื่อจีนเปิดการค้าทางทะเลกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใช้คนจีนเดินเรือสำเภาซื้อขายสินค้าแถบนี้เสียเองซึ่งเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของศรีวิชัยจนบางครั้งต้องเผชิญกับความยุ่งยากและการค้าประจวบกับเป็นระยะรัฐต่างๆในหมู่เกาะอินโดนีเซียที่เป็นคู่แข่งของศรีวิชัยกำลังพยายามขยายอิทธิพลออกไปไกลกว่าเดิมและเห็นว่าความอ่อนแอของศรีวิชัยเป็นโอกาสอันดีที่จะทำลายล้างได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงมากเพราะเกิดจลาจลในคาบสมุทรมลายูและมีแคว้นคู่แข่งเกิดขึ้น 2 แห่งคือในชวาตะวันออกมีแคว้นเคดีรีส่วนทางเหนือมีอาณาจักรสุโขทัยซึ่งราชวงศ์มองโกลของจีนให้การสนับสนุนเคดีรีเข้ายึดครองบางส่วนของศรีวิชัยในอินโดนีเซียปัจจุบันไว้ได้ต่อมาเสียคาบสมุทรมลายูให้กับอาณาจักรสุโขทัยที่ยึดนครศรีธรรมราชได้แล้วแผ่ขยายอำนาจลงมาเรื่อยๆอาณาจักรศรีวิชัยจึงสลายลงโดยปรากฏจากหลักฐานของมาร์โคโปโลนักสำรวจชาวเวนิสในพ..1835 ที่แวะเยี่ยมสุมาตราระหว่างเดินทางกลับจากที่ไปอยู่จีน 17 ปี
       มาร์โคโปโลไม่ได้บันทึกเรื่องราวของศรีวิชัยเลยกล่าวแต่ว่ามีแคว้นเล็ก 8 แห่งจึงตีความได้ว่าศรีวิชัยอาจแตกเป็นแคว้นต่างๆหรือเมืองต่างๆ 8 แห่งโดยมีกษัตริย์ปกครองความเสื่อมของอาณาจักรศรีวิชัยทำให้รัฐต่างๆบนฝั่งมาลายูตั้งตัวเป็นอิสระและเกิดอาณาจักรใหม่ที่มีความสำคัญทางการค้าขึ้นมาแทนคืออาณาจักรสิงหัสส่าหรีและอาณาจักรมัชฌปาหิต
อาณาจักรตามพรลิงค์
       อาณาจักรตามพรลิงค์(พุทธศตวรรษที่ 13-18) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชมีหลักฐานที่กล่าวถึงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 โดยเอกสารอินเดียโบราณกล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ในชื่อตมลิง” “ตัมพลิงค์เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังเรียกว่าถ่ามเหร่งสมัยราชวงศ์ซ่งเรียกว่าต่านหม่าลิ่งต่อมาเรียกว่าอาณาจักรนครศรีธรรมราชด้านศาสนาพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมาโศกราชทรงยกทัพไปโจมตีลังกา 2 ครั้งเพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากลังกาทำให้อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังวงศ์และศิลปะแบบลังกาเข้ามาเผยแผ่และฝังรากลึกอยู่ในอาณาจักรนครศรีธรรมราชศาสนวัตถุที่สำคัญคือพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชพระพุทธรูปประทับยืนสำริดปางประธานธรรมทำให้นครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนไทยซึ่งพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชได้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ไปเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
แผนที่อาณาจักรตามพรลิงค์
แผนที่อาณาจักรตามพรลิงค์
       อาณาจักรตามพรลิงค์เป็นแคว้นที่เก่าที่สุดแคว้นหนึ่งบนแหลมมลายูก่อตั้งและมีความเจริญติดต่อกันมาหลายสมัยตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 7-18 ในพุทธศตวรรษที่ 18เมืองตามพรลิงค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนครศรีธรรมราชมีกษัตริย์พระนามว่าศรีธรรมโศกราช(พระนามเดิมจันทรภาณุ) ปกครองอยู่มีอำนาจครอบคลุมไปถึงเมือง 12 เมืองคือเมืองสายบุรีเมืองปัตตานีเมืองกะลันตันเมืองปะหังเมืองไทรบุรีเมืองพัทลุงเมืองตรังเมืองชุมพรเมืองไชยา(บันไทยสมอ) เมืองท่าทอง(สะอุเลา) เมืองตะกั่วป่า - ถลางเมืองกระบุรีใช้ตรา12 นักษัตรในพุทธศตวรรษที่ 18 จดหมายเหตุของจีนเรียกแคว้นนี้ว่าต้ำมาลิ่งหรือตันเหมยหลิงหรือโพลิงหรือโฮลิงตรงกับเอกสารอินเดียว่าตามพรลิงค์แคว้นนี้แยกตัวมาจากแคว้นลังกาสุกะและเจริญรุ่งเรืองระหว่างพ.. 600 - 1900 จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีคือร่องรอยคูเมืองและกำแพงเมืองขนาดใหญ่ที่ปรากฏในจังหวัดนครศรีธรรมราช
     อาณาจักรตามพรลิงค์ในยุคแรกๆมีอาณาเขตตั้งแต่อำเภอสิชลอำเภอท่าศาลาอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชลงไปถึงอำเภอเชียรใหญ่และลึกเข้าไปภายในแผ่นดินถึงอำเภอร่อนพิบูลย์อำเภอลานสกาและอำเภอทุ่งสงทั้งหมดอยู่ในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มีอิทธิพลครอบคลุมบรรดาหัวเมืองและแคว้นอื่นๆทั่วแหลมมลายแต่ภายหลังได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรสุโขทัยและต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.. 1893    มีร่องรอยเมืองโบราณชุมชนโบราณอยู่หลายแห่งจากหลักฐานการสำรวจและขุดค้นเมืองโบราณเหล่านี้สันนิษฐานว่าเมืองหลวงของอาณาจักรตามพรลิงค์และมีการโยกย้ายหลายครั้งตามลำดับดังนี้เมืองบ้านท่าเรือ (ติดเขตตำบลท่าเรืออำเภอเมืองนครศรีธรรมราช) เป็นที่ตั้งเมืองยุคแรกเมืองบ้านท่าเรือตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะในการติดต่อค้าขายทางทะเลมากมีลำน้ำออกสู่ทะเลได้โดยสะดวกเรือเดินทะเลสามารถเข้าถึงแต่เป็นเมืองขนาดเล็กมีพื้นที่ทำนาเพาะปลูกได้น้อยเมืองพระเวียง ( ติดเขตตำบลศาลามีชัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช )เป็นที่ตั้งเมืองหลวงในยุคที่สองเป็นเมืองมีขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในทำเลที่มีพื้นที่ทำนาและเพาะปลูกมากขึ้นสามารถเลี้ยงพลเมืองจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นได้เมืองนครศรีธรรมราช (บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) เป็นที่ตั้งเมืองยุคที่สามเป็นเมืองขนาดใหญ่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้น
พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช  โบราณสถานอาณาจักรตามพรลิงค์
    เมืองรองที่สำคัญมีอยู่ 2 เมืองเมืองแรกคือเมืองไชยาตั้งอยู่ถัดไปทางด้านใต้ศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎฺร์ธานีกำเนิดขึ้นพร้อมๆกับเมืองตามพรลิงค์ในระยะแรกต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันต่อมาในยุคหลังเมืองไชยากลับขึ้นกับอาณาจักรตามพรลิงค์ในฐานะเมืองอุปราชและคงจะอยู่ในฐานะดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองที่สองคือเมืองสทิงคือบริเวณโดยรอบทะเลสาบสงขลาจังหวัดสงขลาและพัทลุงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยอยุธยาเมืองบริวารได้แก่เมืองสิบสองนักษัตรที่ปรากฏในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชเมืองสิบสองนักษัตรได้แก่


เมืองสายบุรี
ปีชวด
ถือตราหนู
เมืองปัตตานี
ปีฉลู
ถือตราวัว
เมืองกะลันตัน
ปีขาล
ถือตราเสือ
เมืองปะหัง
ปีเถาะ
ถือตรากระต่าย
เมืองไทรบุรี
ปีมะโรง
ถือตรางูใหญ่
เมืองพัทลุง
ปีมะเส็ง
ถือตรางูเล็ก
เมืองตรัง
ปีมะเมีย
ถือตราม้า
เมืองชุมพร
ปีมะแม
ถือตราแพะ
เมืองไชยา(บันไทยสมอ)
ปีวอก
ถือตราลิง
เมืองท่าทอง(สะอุเลา)
ปีระกา
ถือตราไก่
เมืองตะกั่วป่า-ถลาง
ปีจอ
ถือตราสุนัข
เมืองกระบุรี
ปีกุน
ถือตราสุกร

      เมืองขึ้นได้แก่หัวเมืองมลายูเช่นเมืองไทรบุรีกลันตันตรังกานูปะลิสปัตตานีเป็นต้นอาจกล่าวได้ว่าอาณาจักรนครศรีธรรมราชในยุครุ่งเรืองสามารถแผ่อาณาจักรครอบครองแหลมมลายูได้เกือบทั้งหมด   ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางอารยธรรมและการตั้งถิ่นฐานเพราะมีที่ราบชายฝั่งทะเลกว้างใหญ่ไพศาลเหมาะแก่การกสิกรรมมีอ่าวและแม่น้ำหลายสายที่เหมาะแก่การจอดเรือและคมนาคมมีแหล่งน้ำสำหรับการบริโภคและตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นชายฝั่งทะเลเปิดอันเหมาะแก่การเป็นสถานีการค้าและแวะพักสินค้ามาแต่โบราณทำให้ชุมชนโบราณแห่งนี้มีพัฒนาการสูงมาแต่อดีตเหมือนกับชุมชนอื่นๆบนคาบสมุทรไทยเป็นศูนย์กลางหรือจุดนัดพบระหว่างอารยธรรมและการค้าของพ่อค้าในทะเลจีนใต้แห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับพ่อค้าในทะเลอันดามันแห่งมหาสมุทรอินเดียหรืออีกนัยหนึ่งคือจุดนัดพบระหว่างตะวันออกกับตะวันตกบริเวณที่มีความเจริญสูงเป็นสังคมเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันออกส่วนทางฝั่งตะวันตกประชาชนที่ตั้งหลักแหล่งมี 2 พวกซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกันคือพวกแรกได้แก่คนพื้นเมืองที่มีความเป็นอยู่ล้าหลังมีอาชีพประมงหรือล่าสัตว์และทำไร่เลื่อนลอยอยู่กันเป็นชุมชนเล็กส่วนพวกที่สองเจริญสูงกว่าแต่มักจะเป็นชาวต่างชาติเช่นพ่อค้าหรือนักแสวงโชคที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งพักสินค้าหรือขุดแร่ธาตุเป็นสินค้า
      จากหลักฐานด้านเอกสารและหลักฐานทางด้านโบราณคดีพบว่าอาณาจักรตามพรลิงค์หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราชมีผู้นับถือศาสนาด้วยกัน 2 ศาสนาคือศาสนาพราหมณ์ฮินดโดยเฉพาะลัทธิไศวนิกาย (นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าสูงสุด) ดังได้พบร่องรอยเทวสถานแท่งศิวลึงค์และแท่นฐานรองรับเป็นจำนวนมากกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูลัทธิไศวนิกายได้รับการนับถือในอาณาจักรตามพรลิงค์ในระยะแรกๆนอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนพระนารายณ์เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูลัทธิไวษณพนิกายด้วยและพระพุทธศาสนานับถือทั้งนิกายหินยานหรือเถรวาทนิกายมหายานและลัทธิลังกาวงศ์ในแต่ละช่วงเวลาคือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทนับถือกันมากประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธศาสนานิกายมหายานหรืออาจริยวาทนับถือประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ส่วนนิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเป็นครั้งแรกจากประเทศลังกานับถือหลังจากติดต่อกับลังกาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันมีการสร้างพระพุทธรูปสำคัญคือพระพุทธสิหิงค์ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์จังหวัดนครศรีธรรมราชและกลายเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายนี้ขึ้นไปเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัยด้วยอันเป็นผลให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทฝังรากลึกลงในสังคมไทยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    การปกครองของอาณาจักรตามพรลิงค์มีรูปแบบของจัดการปกครองตามแบบการปกครองของอินเดียโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพระยะแห่งความรุ่งเรืองอยู่ในสมัยราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชมีราชธานีอยู่ที่นครศรีธรรมราชและมีการรวมกลุ่มของชาวเมืองโดยมีหัวหน้าปกครองเป็นผู้ครอบครองกลองมโหระทึกสำริดซึ่งเป็นสิ่งที่หายากผู้ครอบครองจึงน่าจะเป็นชนชั้นผู้นำในเมืองนครศรีธรรมราชพบว่ามีกลองนี้ 3 ใบแสดงว่านับตั้งแต่พุทธศตวรรษแรกๆเป็นต้นมาผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้น่าจะมีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมที่มีหัวหน้าปกครองอยู่แล้วและที่สำคัญคือมีการติดต่อกับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป
    ลักษณะความเป็นอยู่ในสังคมและอาชีพชาวตามพรลิงค์มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆจากจดหมายเหตุจีนกล่าวว่าผู้คนขี่ควายเป็นพาหนะไม่สวมรองเท้าไว้ผมมุ่นมวยไว้ข้างหลังทั้งหญิงและชายสวมเสื้อขาวนุ่งโสร่งทำด้วยผ้าฝ้ายสินสมรสเป็นผ้าปักดิ้นทองหรือดีบุกขุนนางอยู่บ้านไม้ประชาชนอยู่กระท่อมมุงหลังคาด้วยใบจากรัดด้วยหวายต้มน้ำทะเลทำเกลือผลผลิตท้องถิ่นมีขี้ผึ้งไม้กฤษณาไม้มะเกลือกำมะถันงาช้างและนอระมาดพวกพ่อค้าต่างชาตินำกลดพระและร่มธรรมดาเส้นไหมเหอฉีสุราข้าวเกลือน้ำตาลเครื่องเคลือบอ่างดินเผาจานเงินและทองเข้ามาขาย
   โบราณวัตถุโดยเฉพาะประติมากรรมรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่ค้นพบณชุมชนโบราณสิชลล้วนทำด้วยศิลาเช่นศิวลึงค์โยนิพระวิษณุและพระพิฆเนศวร (พระคเณศ) เป็นต้นจากการกำหนดอายุเบื้องต้นโดยอาศัยรูปแบบทางศิลปกรรมเป็นเครื่องกำหนดอาจจะกล่าวได้ว่าโบราณสถานโบราณวัตถุเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11–14 เป็นส่วนใหญ่ได้มีการค้นพบพระวิษณุศิลาอันเป็นเทวรูปกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 3 องค์ในภาคใต้พระวิษณุในกลุ่มนี้จำนวน 2 องค์ค้นพบในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ องค์แรกค้นพบที่หอพระนารายณ์อำเภอเมืองต่อมาย้ายไปประดิษฐานณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราชตามลำดับองค์ที่สองค้นพบที่วัดพระเพรงตำบลนาสารอำเภอเมืองและปัจจุบันนี้จัดแสดงอยู่ณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราชเทวรูปกลุ่มนี้มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 เพราะเหตุว่าแสดงให้เห็นถึงอิทธิของศิลปะอินเดียสมัยมถุราและอมราวดีตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 7-8
    พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะในประเทศอินเดียโดยตรงอย่างมากมายในนครศรีธรรมราชในระยะนี้แล้วยังค้นพบศิลาจารึกรุ่นแรกของประเทศไทยในนครศรีธรรมราชอีกหลายหลักเช่นศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยซึ่งค้นพบเมื่อพ.. 2522 ณหุบเขาช่องคอยบ้านคลองท้อนหมู่ที่ 9 ตำบลควนเกยอำเภอร่อนพิบูลย์โดยจารึกด้วยอักษรปัลลวะอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 (นายชูศักดิ์ทิพย์เกษร (เป็นอาจารย์ของผู้จัดทำด้วย – ผู้จัดทำ) นักภาษาโบราณกองหอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากรมีความเห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยอาศัยวิวัฒนาการของรูปแบบอักษรเป็นเกณฑ์แล้วจะปรากฏว่าศิลาจารึกหลักนี้มีรูปอักษรเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้) ศิลาจารึกหลักนี้ใช้ภาษาสันสกฤตข้อความที่จารึกบางท่านกล่าวว่าเป็นการบูชาพระศิวะความนอบน้อมต่อพระศิวะเหตุที่บุคคลผู้นับถือพระศิวะเข้าไปหาพระศิวะและคติชีวิตที่ว่าคนดีอยู่ในบ้านของผู้ใดความสุขและผลดีย่อมมีแก่ผู้นั้นแต่บางท่านมีความเห็นว่าเป็นจารึกเกี่ยวกับการสรรเสริญและสดุดีพระเกียรติคุณของกษัตริย์ศรีวิชัยและศิลาจารึกวัดมเหยงคณ์อำเภอเมือง(จารึกหลักที่ 27 ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 2) ซึ่งจารึกด้วยอักษรปัลลวะคล้ายกับตัวอักษรที่พบในดินแดนเขมรโบราณภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 กล่าวถึงเรื่องราวทางศาสนาเรื่องของสงฆ์พราหมณ์และจริยวัตรอันเป็นส่วนประกอบทางศาสนาจากหลักฐานที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่านครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียทั้งในด้านอักษรภาษาความเชื่อศาสนาประเพณีกฎหมายและระบบการปกครองอันเป็นรากฐานที่สำคัญทางวัฒนธรรมของนครศรีธรรมราชและของไทยในปัจจุบัน
    ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช ) ต่อมาตกอยู่ในข่ายอิทธิพลของพ่อขุนรามคำแหงมหราชหลักฐานคือศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวถึงอาณาเขตสุโขทัยทางทิศใต้ว่าไปถึงเมืองคนทีพระบางแพรกสุพรรณภูมิราชบุรีเพชรบุรีนครศรีธรรมราชต่อมาตกอยู่ใต้อำนาจของอโยธยาปรากฏในตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชกล่าวว่าท้าวอู่ทองแคว้นอโยธยายกทัพมารบกับพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่บริเวณบางสะพานประจวบคีรีขันธ์หลังจากรบกันสักพักจึงได้ทำสัญญาไมตรีต่อกันและได้ถูกรวบรวมกับอาณาจักรอยุธยาในเวลาต่อมา
อาณาจักรลังกาสุกะ
     อาณาจักรลังกาสุกะ  (พุทธศตวรรษที่ 7-14) มีอาณาเขตควบคลุมพื้นที่ในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลามีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานีพัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีการติดต่อกับต่างชาติโดยเฉพาะจีนและอินเดียแต่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าโดยส่งทูตไปเมืองจีนถึง 6 ครั้งเป็นศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนานิกายมหายานจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานีพบประติมากรรมสำริดพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวรและสถูปจำลองรูปทรงต่างๆจำนวนมาก
แผนที่อาณาจักรลังกาสุกะ
แผนที่อาณาจักรลังกาสุกะ
ลังกาสุกะเป็นนครรัฐตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 รุ่งเรืองยาวนานถึง 1,400 ปี จึงเสื่อมสลายไป ไม่ใช่เพราะถูกอำนาจใดเข้าตี หากแต่ทะเลถอยห่างตัวเมืองออกไปทุกที จนผู้คนพากันทิ้งเมือง ซ้ำโดนน้ำท่วมโคลนถมทับตัวเมืองแทบหมด เพิ่งขุดเจอซากไม่นานมานี่เอง เชื่อกันว่าคนในหมู่บ้านกาแลจินอ อ.เมืองปัตตานีปัจจุบันคือผู้สืบเชื้อสายชาวเมืองลังกาสุกะ ที่เป็นลูกครึ่งชาวจีนกับคนพื้นเมืองที่ต้องทิ้งเมืองเก่ามาอยู่ในปัตตานีเมื่อ 1,000 กว่าปีที่แล้ว
อาณาจักรโบราณยิ่งใหญ่ที่เชื่อว่ามีพื้นที่คลุมไปถึงตอนเหนือมาเลเซีย เพราะพบสิ่ง ก่อสร้างโบราณ แบบเดียวกับที่พบในปัตตานีแถวริมฝั่งแม่น้ำบูจังและปาดังลาวาส (ปากแม่น้ำลาวาส) ในรัฐเคดาห์ หนังสือเหล่านั้นเรียกอย่างจืดชืดไม่ดึงดูดใจสักนิดว่า "เมืองโบราณยะรัง" เพราะซากเมืองเก่าพบที่ อ.ยะรัง ทั้งที่มีความเก่าแก่รุ่งเรืองมาก่อน อาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรทวาราวดีตั้ง 500 ปี ศรีวิชัยและทวาราวดีตั้งในพุทธศตวรรษที่ 12 ลังกาสุกะเป็นนครรัฐที่โลกตะวันตกตะวันออก รู้จักกันแล้ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เมืองโบราณยะรังจึงไม่ใช่เมืองเก่าธรรมดา หากแต่เป็นเมืองท่านครรัฐยิ่งใหญ่ สมัยโบราณเก๋ากึ๊กในภูมิภาคนี้โดยแท้
เมืองโบราณที่ กรมศิลปากร กำลังขุดแต่งอยู่ที่ อำเภอยะรัง ในขณะนี้คือ ศูนย์การปกครอง อาณาจักรลังกาสุกะ ในเมื่อบันทึก ชาวอินเดียและ ชาวอาหรับ ที่เรียกเมืองนี้ว่า "ลังกาสุกะ" กับบันทึก ของชาวจีนที่เรียก "หลาง หย่า ซุ่ย" ล้วนระบุทิศทางและ ที่ตั้งตรงกันหมด น.ส.พรทิพย์ พันธุโกวิท หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โบราณคดี ผู้ควบคุมการขุดแต่งและ บูรณะมาตั้งแต่แรกถึง 16 ปี อธิบายว่า ปัตตานีวันนี้คือ ดินแดนเกิดใหม่ เมื่อทะเลถอย ห่างฝั่งออกไปทุกที ลังกาสุกะเลยกลายเป็น เมืองภายในแผ่นดิน อยู่ห่างชายฝั่งทะเล ในวันนี้เกือบ 25 กม. ชายฝั่งบริเวณท่าเรือใหญ่ครั้งโน้น ปัจจุบันนี้คือ คลองปาเละหมู่บ้านกาแลบูซา (ท่าเรือใหญ่) หมู่บ้านเทียระยา (หมู่บ้านเสากระโดงเรือ) ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง ปัตตานี
ร่องรอยทางโบราณคดี ชี้ให้เห็นว่ามีลักษณะเป็นเมืองเรียงกันถึง 3 เมืองด้วยกัน ได้แก่ เมืองที่กำลังขุดอยู่ที่บ้านวัด บ้านจาเละ และบ้านปราแว (พระราชวัง) อำเภอยะรัง บ้านปราแวอยู่ริมทะเล มีลักษณะ ค่ายคูประตูหอรบตามมุมเมือง คาดว่าน่าจะเป็นประชาคม 3 แห่ง ที่อยู่ร่วมกันมากกว่าเมือง โดยรวมแล้วพื้นที่ดังกล่าวนี้ พบร่องรอยทางโบราณคดีถึงกว่า 40 แห่ง ลงมือขุดไปเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ชิ้นใหญ่ ๆ ที่กำลังขุดอยู่เป็นศาสนสถานใน ศาสนาพราหมณ์และ พุทธศาสนา ทั้งพบคำจารึกภาษาปัลลวะอินเดียโบราณและภาษาสันสกฤตด้วย บ่งบอกอย่างเด่นชัด แรกเริ่มนั้นชาวลังกาสุกะนับถือศาสนาพราหมณ์ เปลี่ยนมาถือพุทธ แล้วเปลี่ยนมาเป็นอิสลามตามลำดับ
ลังกาสุกะเฟื่องเนื่องมาจากที่ตั้งเป็นกึ่งกลางเส้นทางค้าขายโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศูนย์ค้าเครื่องเทศสินค้าสำคัญของภูมิภาคนี้ ที่ดังที่สุด ได้แก่ไม้หอม และกำยาน ซึ่งอินเดีย อาหรับยันยุโรปต่างต้องการอย่างมาก น่าเชื่อว่ากำยานชั้นดีที่สุดเป็นกำยานลังกาสุกะ เพราะเครื่องหอมทำจากกำยานที่โลกอาหรับ และชาติมุสลิมใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเครื่องหอม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เจือปนไม่ผิด หลักทางศาสนาที่ชื่อว่า "ไซมีส เบนโซอีน" ที่ยังใช้กันมาจนทุกวันนี้ ลังกาสุกะเป็นท่าเรือ ส่งออกที่ใหญ่มาก
ลังกาสุกะอาจเป็นอาณาจักรเดียวในโลกที่ล่มสลายไปไม่ใช่เพราะการสงครามหรือโรคระบาด หากเกิดจากทะเลถอยห่างออกไปเรื่อย ๆ เมื่อไม่สามารถทำมาหากินได้เหมือนเดิม ผู้คนก็อพยพทิ้งบ้านทิ้งเมืองไปอยู่ที่อื่นกันหมด พร้อม ๆ กับอาณาจักรอื่นใกล้เคียงเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่
คำว่า อาณาจักรลังกาสุกะ แท้จริงก็ไม่ได้แสดงอะไรมากไปกว่าการเป็นชุมชนเครือข่ายที่มีจุดศูนย์รวมความเจริญทางทั้งวัตถุและจิตใจ และยังรวมทั้งวัฒนธรรมกระแสหลักอื่นๆ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของผู้คนใน โกตามะห์ลิฆัย อันเป็นประดุจนครหลวง แน่นอนว่าอำนาจทางการเมืองการปกครองย่อมถูกรวมไว้มากที่สุดที่นี่ กระนั้นก็แผ่ไปเหนือเมืองบริวารหรือชุมชนหมู่บ้านรอบๆ ซึ่งอาจจำกัดอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบศูนย์กลางเท่านั้น
      เมืองหรือเขตชุมชนในเครือข่ายของลังกาสุกะมีอาทิ ชุมชนบ้านกาโล-ท่าสาป-เขาคูหา, ชุมชนบ้านยือริงหรือยิหริ่ง (Jering) ที่มาของชื่อยะหริ่ง ซึ่งเคยมีผู้พบกำแพงเมืองโบราณแต่ยังไม่เคยมีการสำรวจ, เมืองยือแร (Djere) ที่ถูกกล่าวถึงในบทลิลิตเรื่อง นครกฤตคามะ (Negarakertagama) [7] ซึ่งรจนาเมื่อ ค.ศ.1365 (พ.ศ.1908) โดยพระปันจา สมณกวีชวาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit)
    ในลิลิตบทที่ 14 ได้กล่าวถึงชื่อ "ยือแร" (Djere/สำเนียงชวา), "ยือไร" (Jerai/สำเนียงมลายูยะโฮร์-เรียว) หรือ "ยือฆา" (Jegha/สำเนียงมลายูปาตานี) ซึ่งปัจจุบันอาจอยู่ในบริเวณเทือกเขาบูโด จ.นราธิวาส เนื่องจากเคยมีผู้พบเห็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปขนาดใหญ่และซากโบราณวัตถุในบริเวณนั้น แต่ยังไม่มีการสำรวจ
 ปัจจุบันระหว่างเส้นทาง อ.สายบุรี-ไม้แก่น กับ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส มีตำบลชื่อ ปอฮงยือฆา (Pohon Jegha/ต้นไทร) หรือนัดต้นไทร (นะ ปอฮง ยือฆา) อยู่ หรือว่าชื่อ ยือแร นี้จะเป็นชื่อเดียวกับยะรัง ที่ตั้งแหล่งโบราณคดียะรัง ศูนย์กลางอาณาจักรลังกาสุกะและที่ตั้งของนครโกตามะห์ลิฆัย
      ในขณะที่ชื่อ "ลังกาสุกะ" เองก็ปรากฏในลิลิตบทเดียวกันด้วย พร้อมกับชื่อเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพันธมิตรกัน โดยทั้งหมดล้วนเป็นเครือข่ายเมืองภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรมัชปาหิตที่ถูกกล่าวถึงในลิลิตบทดังกล่าว อาทิ ปาหัง ซาอิมว้ง กลันตัน ตรังกานู ยะโฮร์ ปากา มัวร์ ดูงุน ตูมาซิก (ปัจจุบันสิงคโปร์) กลัง เกอดะห์ จือไร กัญจาปีนีรัน ซึ่ง ทั้งหมดได้ถูกรวบรวมไว้ (ใต้อาณัติมัชปาหิต) มานานแล้ว” (“…semua sudah lama terhimpun.”) ปีที่หัวเมืองมลายูเหล่านี้ถูกยึดครองโดยกองทัพของมัชปาหิตคือ ค.ศ.1292 (พ.ศ.1835)
ข้อคิด
       อาณาจักรหรือรัฐหรือแคว้นต่าง ๆ ในดินแดนไทยสมัยโบราณที่กล่าวมาอาจจะยังมีอีกที่ผู้จัดทำยังทำไม่หมด (เฉพาะที่อยู่ในดินแดนไทย อาณาจักรน่านเจ้า ไม่ได้อยู่ในดินแดนไทย แต่อยู่ทางตอนใต้ของจีน) แต่อยากจะให้ข้อคิดว่า อาณาจักรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เป็นคนไทยด้วยกัน มีเชื้อสายไทยเหมือนกันหรืออาจจะผสมกับชาติอื่น ก็คงจะเป็นอินเดีย จีน พม่า มอญ เขมร ลาว เป็นต้น แต่ก็ถือว่าเป็นเครือญาติกัน เนื่องจากในสมัยก่อนไม่มีเขตแดนหรือการยึดครองพื้นที่เหมือนปัจจุบัน ไม่ได้เป็นประเทศนั้นประเทศนี้ ไม่มีประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเขมร ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น เป็นแต่เรียกว่าอาณาจักร การปกครองก็เป็นแบบเมืองขึ้น ไม่ได้แบ่งเขตแดน การไปมาหาสู่กันก็ไม่ต้องมีวีซ่าหรือพาสปอร์ตเหมือนปัจจุบัน (ซึ่งผู้จัดถือว่า เป็นธรรมชาติแท้ ๆ แม้ปัจจุบันนี้ให้ดูที่สัตว์ เช่น นก ปลา เป็นต้น มันไม่มีการแบ่งแยกสัญชาติหรือเชื้อชาติหรือเขตแดนนกก็บินไปได้ทั่วโลก ปลาก็ว่ายไปได้ทั่วโลก เมื่อบินไปถึงน่านฟ้าหรือว่ายไปถึงน่านน้ำของประเทศนั้น ๆ มันก็ไม่มีการเรียกหาพาสปอร์ตหรือวีซ่ากัน)
        เหมือนประชาชนที่อยู่ตามชายแดนตรงที่ไม่มีด่าน เช่น หมู่บ้านแถบชายแดนไทย-เขมร หรือไทย-พม่า ไทย-ลาว ไทย-มาเลเซีย จะข้ามไปมาหาสู่กันโดยไม่ต้องใช้พาสปอร์ตหรือวีซ่า พวกเขาข้ามไปมาหาสู่กันไม่รู้วันละกี่ครั้ง เขาก็ไม่เห็นว่ามีเขตแดนเป็นประเทศนั้นประเทศนี้ พวกนักการเมืองหรือนักปกครองต่างหากที่มากแยกพวกเขาออกจากความเป็นเครือญาติกัน ดังที่เราเห็นอยู่ในประเทศเกาหลีในปัจจุบัน ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้แต่ก่อนไม่ได้แยกประเทศกันเขาก็ไปมาหาสู่กัน พอแยกเป็นประเทศ ด้วยข้อจำกัดทางการเมือง นาน ๆ เขาจึงจะได้พบญาติที เพราะการเมืองการปกครองแบบสมัยปัจจุบันแท้ ๆ ที่นักการเมืองชองแย่งอำนาจ แย่งอาณานิคมกัน ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปด้วย ไม่รู้จะแย่งกันไปทำไม อยู่กันไม่ถึง 100 ปี หรือเกินไปหน่อยก็ไม่ถึง 150 ปี พอแก่เฒ่าคนอื่นก็มาแย่งอำนาจตัวเอง ก็ไม่เห็นมีใครเอาอะไรไปได้สักคน มีแต่นอนในโลงกว้างวาหนาศอกเท่านั้น
       ถ้านักการเมืองการปกครองมีเมตตาปรานี ปกครองประชาชนด้วยความเห็นแก่ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ประชาชนจริง ๆ เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ประชาชนจะก้มหัวกราบด้วยความเต็มใจจริง ๆ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน (พวกที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว จึงไม่ชอบ พานหาว่าสมัยนี้โลกเขาไปถึงไหนแล้ว ประชาชนเขาปกครองกันเองทั้งนั้น ถ้าปกครองกันเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่กันจริง ๆ ก็ไม่ว่า แต่นี่เพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง) ส่วนนักการเมืองการปกครองที่เห็นแก่ประโยชน์ตนและพวกพ้อง กอบโกยเอาให้เฉพาะตัวเองและพวกพ้อง แม้แต่การเลือกตั้งก็เป็นการแย่งชิงอำนาจกันเพื่อมาหาผลประโยชน์ ไม่ได้มาเพื่อทำประโยชน์จริง ๆ กันสักคน ลงทุนแล้วต้องเอาทุนคืน ประชาชนจะกราบก็แต่ตอนมีชีวิตอยู่ เมื่อตายแล้วเขามีแต่สาปแช่งเท่านั้น นี่คือ นักการเมืองการปกครองในปัจจุบัน