รายการ

บุคคลสำคัญและรายนามพระมหากษัตริย์อาณาจักรอยุธยา

บุคคลสำคัญ

พระเจ้าอู่ทองผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยา

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาในจดหมายเหตุโหรว่าเสด็จพระราชสมภพ พ.. 1857 ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่เรียกว่าหนองโสนเมื่อจุลศักราช 712  ปีขาลโทศกวันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำเดือนห้าเวลา 3 นาฬิกา 9 บาทตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.. 1893 เมื่อแรกเสวยราชย์นั้นทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวขณะพระชนมายุได้ 37 พรรษาในประวัติศาสตร์ไทยมีความเชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองอาจจะทรงอพยพมาจากเมืองใกล้เคียงอื่น เพราะอย่างน้อยก่อนที่จะทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้น ก็ทรงให้ย้ายเมืองข้ามฝั่งจากบริเวณทิศใต้ของเกาะเมืองมาตั้งอยู่บริเวณใจกลางพระนครปัจจุบัน และต่อมาทรงสถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณที่ประทับเดิมหรือบริเวณเวียงเหล็กคือวัดพุทไธศวรรย์และได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณเกาะเมือง
ภาพการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ภาพการสถาปนากรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าอู่ทอง
ข้อสันนิษฐานต่างๆเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองนั้นสรุปได้ดังนี้
1. พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาจากหัวเมืองเหนือปรากฏข้อความในเอกสารของลาลูแบร์ซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เข้ามาในอยุธยาเมื่อ พ.. 2230 และเอกสารสายสงฆ์เช่นในจุลยุทธการวงศ์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระพนรัตน์และในพระราชพงศาวดารสังเขปของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพลงมาจากเมืองเชียงแสนลงมาที่เมืองไตรตรึงษ์กำแพงเพชรแล้วจึงอพยพลงมาที่หนองโสน
2. เอกสารประวัติศาสตร์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของวันวลิต พ.. 2182 กล่าวถึงการอพยพของพระเจ้าอู่ทองว่ามาจากเมืองเพชรบุรีแล้วจึงอพยพต่อมาที่อยุธยา
3. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองละโว้หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้เห็นร่องรอยว่าพระเจ้าอู่ทองเสด็จลงมาจากทางเหนือคือ คู่มือทูตตอบซึ่งเป็นคู่มือที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีข้อความอ้างถึงที่มาของพระเจ้าอู่ทองว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันสืบมาแต่สมเด็จพระปฐมนารายณ์อิศวรบพิตรเมื่อ พ.. 1300 มีกษัตริย์สืบทอดกันมา 10 พระองค์ต่อมาสมเด็จพระยโศธรธรรมเทพราชาธิราชทรงก่อตั้งกรุงยโศธรปุระและมีกษัตริย์สืบมาอีก 12 พระองค์จากนั้นสมเด็จพระพนมทะเลเสด็จไปประทับที่สุโขทัยใน พ.. 1731ทรงตั้งเมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์สืบต่อมา 4พระองค์ในที่สุดสมเด็จพระรามาธิบดีได้ทรงสร้างกรุงสยามเมื่อพ.. 1894 รวมพระมหากษัตริย์นับแต่แรกสถาปนากรุงเมื่อพ.. 1300 จนถึงพ.. 2226 ได้ 50 รัชกาลในระยะเวลา 926 ปี
คู่มือทูตฉบับนี้สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราว พ.. 2224 -.. 2225 เพื่อใช้เป็นแนวคำถามตอบของราชทูตสยามที่จะเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนาพระราชอาณาจักรขึ้นแล้วได้ทรงทำนุบำรุงพระราชอาณาเขตให้กว้างขวางออกไป ดังที่ปรากฏความในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆเมื่อเสด็จเสวยราชย์ว่าเมื่อแรกสถาปนาพระนครนั้นหลังจากพิธีกลบบัตรสุมเพลิงแล้วขุดดินลงไปเพื่อสร้างพระราชวังได้พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏขอนหนึ่งจึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์ต่างๆขึ้นในบริเวณพระราชวังหลวงคือพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทพระที่นั่งไพชยนตร์มหาปราสาทและพระที่นั่งไอสวรรย์มหาปราสาทหลังจากนั้นปรากฏความในจุลยุทธการวงศ์ว่าพญาประเทศราชทั้ง 16 หัวเมืองได้มาถวายบังคมได้แก่มะละกา (ดินแดนแหลมมลายู) ชวา (ดินแดนลาวหลวงพระบาง) ตะนาวศรีนครศรีธรรมราชทวายเมาะตะมะเมาะลำเลิงสงขลาจันทบูรพิษณุโลกสุโขทัยพิชัยสวรรคโลกพิจิตรกำแพงเพชรและนครสวรรค์หลังจากนั้นปรากฏว่ามีสงครามกับเมืองกัมพูชาจึงโปรดให้พระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรซึ่งไปครองเมืองลพบุรีลงมาตั้งทัพยกออกไปถึงกรุงกัมพูชาแต่ทัพอยุธยาเกือบเสียทีเพลี่ยงพล้ำสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 โปรดให้ขุนหลวงพะงั่วลงมาจากเมืองสุพรรณบุรีแล้วกรีธาทัพไปช่วยสมเด็จพระราเมศวรทำให้ทัพอยุธยาสามารถเอาชนะได้และกวาดต้อนเทครัวชาวกัมพูชามายังพระนครศรีอยุธยา
ในช่วงต้นรัชกาลนั้นนอกจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จะทรงทำสงครามเพื่อขยายพระราชอาณาเขตและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแล้วยังทรงตรากฎหมายต่างๆขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในอีกหลายฉบับคือพระอัยการลักษณะพยานพระอัยการลักษณะอาญาหลวงพระอัยการลักษณะรับฟ้องพระอัยการลักษณะลักพาพระอัยการลักษณะอาญาราษฎร์พระอัยการลักษณะโจรพระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จพระอัยการลักษณะผัวเมียกฎหมายเหล่านี้เป็นที่มาของกระบวนการยุติธรรมที่สร้างความสงบสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์ได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ในรัชกาลของพระองค์ยังมีงานวรรณคดีชิ้นสำคัญคือลิลิตโองการแช่งน้ำซึ่งเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นที่บ่งบอกความสืบเนื่องของวรรณคดีในลุ่มน้ำภาคกลางที่ผสานกับความเชื่อท้องถิ่นลิลิตโองการแช่งน้ำหรือโองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีสำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาเพื่อสร้างความชอบธรรมและการแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ลักษณะการประพันธ์ประกอบด้วยโคลงห้าและร่ายมีศัพท์ภาษาไทยบาลีสันสกฤตและเขมรปนอยู่เนื้อหาเป็นการสดุดีเทพแช่งผู้ที่ไม่จงรักภักดีและให้พรผู้ที่จงรักภักดี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่1ทรงสถาปนาพระอารามแห่งแรกขึ้นที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารคือวัดพุทไธศวรรย์ซึ่งมีพระปรางค์เป็นประธานหลักของวัดตามความในพระราชพงศาวดารว่าศักราชได้ 715 ปีมะเส็งเบญศกวันพฤหัสบดีเดือน 4 ขึ้น 1 ค่ำเพลาเช้า 2 นาฬิกา 5 บาททรงพระกรุณาตรัสว่าที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้นให้สถาปนาพระวิหารพระมหาธาตุเป็นพระอารามแล้วให้นามชื่อวัดพุทไธศวรรย์
ต่อมาพระราชพงศาวดารว่าโปรดให้ขุดศพเจ้าแก้วเจ้าไทยขึ้นมาถวายพระเพลิงจากนั้นให้สถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณนั้นเรียกว่าวัดป่าแก้วซึ่งเชื่อกันว่าคือบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคลนอกจากนั้นยังสันนิษฐานได้ว่าทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆอีกเป็นจำนวนมากดังที่พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตว่าทรงสร้างวัดหน้าพระธาตุวัดราชบูรณะและวัดเดิมขึ้นสมเด็จพระรามาธิบดีที่1พระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคตเมื่อจุลศักราช๗๓๑ปีระกาเอกศกตรงกับ พ.. 1912 พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าอยู่ในราชสมบัติ 20 ปี

พระบรมไตรโลกนาถ

พระราชประวัติ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชสมภพที่อยุธยา แต่เติบโตและมีชีวิตในวัยเยาว์ที่พิษณุโลก พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลานานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยา โดยเป็นพระโอรสในพระเจ้าสามพระยาและก็ยังเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระอินทราชา มีพระราชมารดาเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง พระนามมีความหมายถึง "พระพุทธเจ้า" หรือ "พระอิศวร" มีผู้ที่เข้าใจว่าคงเป็นพระสหายมาตั้งแต่วัยเยาว์ชื่อ "ยุทธิษฐิระ" ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นผู้ชักนำศึกเข้ามา หลังการขึ้นครองราชย์แล้ว ก็เสด็จมาประทับที่อยุธยาในช่วงแรกของการครองราชย์ อีกครึ่งหนึ่งเสด็จมาประทับที่พิษณุโลก เชื่อว่าคงเป็นไปเพื่อการควบคุมดูแลหัวเมืองทางด้านเหนือ และคานอำนาจของอาณาจักรทางเหนือ คือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งกำลังมีความเข้มแข็งและต้องการแผ่อำนาจลงมาทางใต้ ในยุคของพระเจ้าติโลกราช
ภาพวาดพระบรมไตรโลกนาถ
ภาพวาดพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2031 เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ทรงครองราชย์ได้ 40 ปี ยาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา และเป็นลำดับ 3 ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาประมาณ 20 ปี ที่เหลือทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกตลอดรัชกาล

พระราชกรณียกิจ

ด้านการปกครอง

พระราชกรณียกิจด้านการปกครองประกอบด้วยการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อันเป็นแบบแผนซึ่งยึดสืบต่อกันมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการตราพระราชกำหนดศักดินา ซึ่งทำให้มีการแบ่งแยกสิทธิและหน้าที่ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป โดยทรงเห็นว่ารูปแบบการปกครองนับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 มีความหละหลวม หัวเมืองต่าง ๆ เบียดบังภาษีอากร และปัญหาการแข็งเมืองในบางช่วงที่พระมหากษัตริย์อ่อนแอ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครองโดยมีการแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันอย่างชัดเจน ให้สมุหพระกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร และให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ในราชธานี
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งงานทางการปกครองออกเป็น "ฝ่ายพลเรือน" และ "ฝ่ายทหาร" อย่างชัดเจน โดยมี "เจ้าพระยามหาเสนาบดี" ดำรงตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม มีหน้าที่ดูแลกิจการทหารทั่วอาณาจักร และ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ดำรงตำแหน่ง สมุหนายก รับผิดชอบงานพลเรือนทั่วอาณาจักร พร้อมกับดูแลหน่วยงานจตุสดมภ์ จากเดิมที่พื้นฐานการปกครองนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ได้แยกฝ่ายพลเรือนกับทหารออกจากกันชัดเจน ทั้งนี้ ในยามสงคราม ไพร่ทุกคนจะต้องรับราชการทหารอันเป็นหน้าที่หลัก อันเป็นลักษณะรูปแบบการปกครองของอาณาจักรขนาดเล็กที่ขาดการประสานงานระหว่างเมือง
การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้
  • หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
  • หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร มีการกำหนดเป็นเมืองเอก โท หรือตรี ตามลำดับความสำคัญ เมืองใหญ่อาจมีเมืองเล็กขึ้นอยู่ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปปกครอง มีการจัดการปกครองเหมือนกับราชธานี คือ มีกรมการตำแหน่งพลและกรมการตำแหน่งมหาดไทย และพนักงานเมือง วัง คลัง นา เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นาเช่นเดียวกับของทางราชธานี
  • เมืองประเทศราช คงให้เจ้าเมืองปกครองกันเอง เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด และเกณฑ์ผู้คนและทรัพย์สินเพื่อช่วยราชการสงคราม
สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า
พระองค์ยังทรงแบ่งการปกครองในภูมิภาค ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล แขวง และเมือง

ตราพระราชกำหนดศักดินา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม ทำให้มีการแบ่งประชากรออกเป็นหลายชนชั้น เช่นเดียวกับหน้าที่และสิทธิของแต่ละบุคคล ศักดินาเป็นความพยายามจัดระเบียบการปกครองให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น อันเป็นหลักที่เรียกว่า การรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าศักดินาจะเป็นการกำหนดสิทธิในการถือครองที่ดิน แต่ในทางปฏิบัติแล้วหมายถึงจำนวนไพร่พลที่สามารถครอบครอง เกณฑ์การปรับไหม และลำดับการเข้าเฝ้าแทน
ศักดินาของคนในสังคมอยุธยา
ฐานะ/ยศ/ตำแหน่ง
ศักดินา (ไร่)
เจ้านาย
15,000-100,000
ขุนนาง
400-10,000
มหาดเล็ก, ข้าราชการ
25-400
ไพร่
10-25
ทาส
5

มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

กฎมณเฑียรบาล

ในปี พ.ศ. 2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผน คือ
1.   พระตำราว่าด้วยแบบแผนพระราชพิธีต่าง ๆ
2.   พระธรรมนูญว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ราชการต่าง ๆ
3.   พระราชกำหนดเป็นข้อบังคับสำหรับพระราชสำนัก

ด้านวรรณกรรม

ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย

สมเด็จพระสุริโยทัย

สมเด็จพระศรีสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยาแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัย ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้
พระสุริโยทัย
ภาพวาดพระสุริโยทัย

พระราชประวัติ

สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์

พระวีรกรรม

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก สมเด็จพระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน     
พระราชโอรสและพระราชธิดา

สมเด็จพระสุริโยทัย มีพระราชโอรส-พระราชธิดา 5 พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้
  • พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี
  • พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112
  • พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเสียพระสุริโยไท
  • พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศพระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี

พระสุพรรณกัลยา

พระสุพรรณกัลยา สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวี เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระพี่นางใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เชื่อว่าพระนามเดิม คือ องค์ทอง
พระสุพรรณกัลยา
รูปปั้นพระสุพรรณกัลยา
ชีวิตในกรุงหงสาวดี พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระนางปรากฏในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในปี พ.ศ. 2112 เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหาธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครองพิษณุโลก) ได้ถวายพระธิดาชื่อ สุวรรณกัลยา พระชันษา 17 ปี กับบริวารและนางสนมรวม 15 คนแก่พระเจ้าบุเรงนอง โดยพระองค์ได้สถาปนาเป็นพระมเหสี มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ
พระนางมีพระธิดา 1 พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้รับพระราชทานพระนามว่า เจ้าภุ้นชิ่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม เมงอทเว ในพระราชพงศาวดารพม่าได้บันทึกว่าพระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานมาก โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นในพระราชวังกรุงหงสาวดี
ด้วยเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองเสด็จออกราชการสงครามอยู่เสมอ ทำให้พระสุพรรณกัลยารวมทั้งพระมเหสีองค์อื่นทรงดำเนินชีวิตในพระราชวังตามปกติ โดยมิได้เสด็จออกงานหรือเห็นโลกภายนอกจนกว่าที่พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จกลับหงสาวดีจึงจะมีการจัดงานสำคัญ โดยในวันเพ็ญเดือนมีนาคม พ.ศ. 2116 มีงานบูชาพระมหาเจดีย์ชเวดากอง พระสุพรรณกัลยาพร้อมด้วยพระราชธิดาองค์น้อยได้ประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปบำเพ็ญพระราชกุศลนาน 5 วันนับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จออกนอกพระราชฐานมานานว่า 3 ปี
หลังจากงานบูชามหาเจดีย์จบสิ้นลง พระเจ้าบุเรงนองได้นิมนต์พระสงฆ์พม่า มอญ เชียงใหม่ และไทใหญ่ 3,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ เงิน สำริด และปัญจโลหะอย่างละองค์ ในการนี้พระเจ้าบุเรงนองได้ทำการเฉลิมพระยศพระราชโอรส และพระราชธิดา โดยในการนี้ เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ พระราชธิดาในพระสุพรรณกัลยาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น พิษณุโลกเมียวซาเนื่องจากทรงได้รับสิทธิ์ในภาษีประจำปีที่ได้จากพิษณุโลก นับแต่นั้นมาทุกคนจึงขานพระนามพระราชธิดาพระองค์นี้ว่า เจ้าหญิงพิษณุโลก

กรณีการสิ้นพระชนม์

ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2124 พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์แทน ภายหลังจากที่พระมหาอุปราชามังกะยอชวาสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2135 จากการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งการสิ้นพระชนม์นั้นในพงศาวดารรวมถึงคำให้การต่างๆ ทั้งของไทยและพม่าต่างก็ให้ข้อมูลต่างกันออกไปเกี่ยวกับการกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา ...หลังจากที่พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ ก็ได้ให้พระสุพรรณกัลยาเป็นมเหสีของตน สันนิษฐานว่าพระเจ้านันทบุเรงรู้สึกแค้นใจที่รบแพ้พระนเรศวร จึงแก้แค้นด้วยการฆ่าพระสุพรรณกัลยา ซึ่งกำลังตั้งท้องอยู่

หลักฐานพงศาวดารของไทย

  • คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พระเจ้ากรุงหงสาวดีพิโรธมาก รับสั่งให้เอาแม่ทัพนายกองที่แพ้กลับมาในครั้งนั้นใส่คาย่างไฟให้ตายสิ้น แต่ก็ยังไม่หายพิโรธ ได้เสด็จไปสู่พระตำหนักพระสุพรรณกัลยาเอาพระแสงดาบฟันพระนางและพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ และได้ประมาณการว่ามีพระชนมายุได้ 39 พรรษา
  • คำให้การขุนหลวงหาวัด ได้กล่าวใกล้เคียงกัน แต่ต่างที่เป็นพระราชโอรสมิใช่พระราชธิดา ความว่า "ฝ่ายพระเจ้าหงสา ทรงพระพิโรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐานเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศวรนั้นบรรทมให้พระราชโอรสเสวยนมอยู่ในพระที่ พระเจ้าหงสาวดีจึงฟันด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระโอรสทั้งสองพระองค์ ก็ถึงแก่พิราลัยด้วยกันทั้งสองพระองค์ ด้วยพระเจ้าหงสาวดีทรงโกรธยิ่งนัก มิทันจะผันผ่อนได้"
  • พงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ที่แต่งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของกษัตริย์พม่าเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2372 (ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์) ได้กล่าวถึงพระสุพรรณกัลยาว่า พระองค์มีคนสนิทคนหนึ่ง มีนามว่า พระองค์จันทร์ ภายหลังพระอุปราชาสิ้นพระชนม์ในการกระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น พระเจ้านันทบุเรงมิได้ประหารพระสุพรรณกัลยาทันทีที่ทราบข่าว หากแต่ได้เสวยน้ำจัณฑ์จนเมามายอยู่เป็นเวลานาน แต่ละวันก็พาลหาเรื่องพระสุพรรณกัลยาและขู่อาฆาตบ่อยๆ จนพระนางสังหรณ์พระทัย ได้ทรงเรียกพระองค์จันทร์มาปรับทุกข์หลายครั้ง ท้ายที่สุดพระองค์ได้ตัดปอยพระเกศาใส่ผอบเครื่องหอมประทานแก่พระองค์จันทร์ เตรียมนำไปถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่กรุงศรีอยุธยา เผื่อพระองค์จะไม่มีพระชนม์ชีพต่อไป ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้านันทบุเรงทรงเมามายไม่ได้พระสติ ได้เสด็จไปถึงห้องพระบรรทมของพระสุพรรณกัลยาแล้วใช้พระแสงดาบฟันแทงพระสุพรรณกัลยาสิ้นพระชนม์อยู่บนพระที่นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้วได้ระบุว่าพระนางมีพระราชโอรสกับพระเจ้าบุเรงนองหนึ่งพระองค์ และในครรภ์อีก 1 พระองค์ เมื่อพระเจ้านันทบุเรงทรงคืนพระสติแล้ว ก็ได้มีพระราชโองการจัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพแก่พระสุพรรณกัลยาอย่างสมพระเกียรติ ส่วนพระองค์จันทร์นั้นได้ลักลอบออกจากวังโดยนำผอบพระเกศาไปกับนายทหารมอญโดยทำทีเป็นสามีภรรยากันตลอดเป็นเวลาสามเดือนเศษจนถึงกรุงศรีอยุธยา และได้นำความกราบบังคมทูลแก่พระญาติวงศ์ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจ ในครั้งนั้น พระองค์จันทร์ได้รับการสถาปนาเป็น ท้าวจันทร์เทวี หลังจากได้พระราชทานเพลิงพระศพพระวิสุทธิกษัตรีย์ (ซึ่งทางไทยได้กล่าว่าสิ้นพระชนม์เนื่องจากทรงตรอมพระทัยในการสูญเสียพระสุพรรณกัลยา) สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยกทัพไปตีหงสาวดีและตองอูแต่ไม่สำเร็จ ระหว่างที่พระองค์ได้รับพระอัฐิพระสุพรรณกัลยาจากมอญผู้หนึ่งในช่วงที่พระองค์ประทับ ณ เมืองปาย ทรงพระสุบินถึงพระสุพรรณกัลยาได้เสด็จมาพบและตรัสว่าพระนางเปรียบเสมือนคนสองแผ่นดิน มีความผูกพันทั้งไทยและพม่า จึงมีพระประสงค์ที่จะพำนักเมืองปายนั่นเอง จากการพระสุบินดังกล่าวสมเด็จพระนเรศวรจึงหยุดทัพไว้ที่เมืองปาย เป็นเวลา 32 วัน และโปรดฯให้ม้าเร็วเข้ามารับตัวท้าวจันทร์เทวีขึ้นไป และนำผอบบรรจุพระเกศาขึ้นไปด้วย จากนั้นก็โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง และพระเจดีย์เพื่อจะประดิษฐานพระเกศาและพระอัฐิไว้ ณ เมืองปาย ปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนนั่นเอง
อย่างไรก็ตามจากหลักฐานของไทยและพม่าก็ต่างแสดงความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา และประทับอยู่ในหงสาวดีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2112 ขณะมีพระชันษาได้ 17 ปี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2135 ที่เกิดยุทธหัตถี พระองค์จึงน่าจะมีพระชันษา 40 ปี และหากมีพระโอรส-ธิดากับพระเจ้าบุเรงนอง พระโอรสธิดาก็ควรมีพระชันษาราว 8 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งดูจะขัดแย้งกับคำให้การขุนหลวงหาวัด ที่กล่าวถึงการ ให้พระโอรสเสวยนมอยู่ในที่.. ส่วนกรณีที่ถูกพระแสงดาบของพระเจ้านันทบุเรงเช่นเดียวกัน เนื่องจากหากพระเจ้าแผ่นดินจะประหารชีวิตใครก็จะบันทึกเรื่องราวไว้โดยละเอียด แต่ในเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยากลับไม่ปรากฏไว้เลย

หลักฐานที่ขัดแย้งกัน

แม้การสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยานั้นจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากแรงโทสะของพระเจ้านันทบุเรง ซึ่งตรงกันทั้งในหลักฐานของไทยและพม่า (บางฉบับ) แต่มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าได้นำเสนอข้อมูลที่แตกต่างออกไป โดยกล่าวถึงเจ้าภุ้นชิ่หรือเจ้าหญิงพิษณุโลกได้ตามเสด็จพระราชมารดาออกมาประทับนอกพระราชวังกัมโพชธานี โดยเจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ได้เสกสมรสกับ เจ้าเกาลัด พระโอรสของเจ้าอสังขยา เจ้าเมืองตะลุป ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ามังรายกะยอชวา โอรสองค์ที่สองของพระเจ้านันทบุเรง และมีพระธิดาด้วยกันคือ เจ้าหญิงจันทร์วดี ซึ่งหมายความว่า ในช่วงสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 พระสุพรรณกัลยามิได้ประทับอยู่ในหงสาวดีแต่ทรงประทับอยู่ในอังวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2137 พระเจ้าตองอู พระเจ้านยองยัน และพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดี พระเจ้านยองยันจังได้เข้าครองกรุงอังวะที่เจ้าหญิงพิษณุโลก และพระมารดาอาศัยอยู่ อีกทั้งยังเป็นผลดีแก่ทั้งสองพระองค์ด้วย เนื่องจากพระเจ้านยองยันนั้นเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งยังมีความคุ้นเคยกับเจ้าอสังขยาบิดาของเจ้าเกาลัด จึงคาดได้ว่า ภายใต้การปกครองของพระเจ้านยองยันพระสุพรรณกัลยารวมถึงเจ้าหญิงพิษณุโลกก็ยังทรงประทับในนครอังวะอย่างปกติสุขจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ โดยมิได้ถูกปลงพระชนม์แต่อย่างใด

สมเด็จพระเอกาทศรถ

สมเด็จพระเอกาทศรถ (บางครั้งเขียน เอกาทสรฐ) มีพระนามเดิมว่า พระองค์ขาว เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วงกับพระวิสุทธิกษัตรีซึ่งเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระศรีสุริโยทัยพระองค์เป็นพระอนุชาของพระสุพรรณกัลยาและเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช   โดยทั้งสามพระองค์ประสูติที่เมืองพิษณุโลกในขณะที่สมเด็จพระราชบิดาคือสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จครองเมืองพิษณุโลกซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยาทั้งสามพระองค์ทรงรักใคร่กันยิ่งนักแต่จำเป็นต้องพลัดพรากกันไปด้วยเหตุผลทางการเมืองกล่าวคือในปีกุน พ.. 2106 พระเจ้าบุเรงนองได้นำพระเชษฐาคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปยังกรุงหงสาวดีเป็นเวลา ปี
ภาพวาดสมเด็จพระเอกาทสรถ
ภาพวาดสมเด็จพระเอกาทสรถ
    ในปีมะเส็ง พ.. 2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กลับมาอยุธยาพระเชษฐากับพระอนุชาจึงได้มีโอกาสประสบพักตร์กันอีกแต่พระสุพรรณกัลยาพระเชษฐภคินีก็ต้องเสด็จไปเป็นตัวแทนในฐานะเป็นพระชายาของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสมเด็จพระเอกาทศรถจึงต้องห่างจากพระเชษฐภคินีอีก
หลังจากสมเด็จพระนเรศวรกลับจากกรุงหงสาวดีแล้วก็ทาการฝึกราชการอยู่ที่อยุธยาจนเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมีพระชนมายุได้16พรรษพระราชบิดาให้เสด็จไปประทับราชธานีพิษณุโลกเพื่อปกครองหัวเมืองเหนือแทนพระราชบิดาครั้นสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเจริญวัยก็ทรงดำเนินรอยตามฝึกราชการต่างๆเช่นเดียวกับที่พระเชษฐาฝึกอยู่
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถไว้ว่าพระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถในพระราชพงศาวดารไม่มีหลักอันใดที่จะสอบให้รู้ว่าสมเด็จพระเอกาทศรถพระราชสมภพเมื่อปีใดเรื่องพระชันษาหาที่สอบไม่ได้ทีเดียวถ้าจะเดาตามสังเกตเนื้อเรื่องที่ได้เสด็จไปรบพุ่งร่วมกับสมเด็จพระบรมเชษฐาสมเด็จพระเอกาทศรถเห็นจะอ่อนกว่าสมเด็จพระนเรศวรราวสัก 6 ปีคือเมื่อเริ่มรบเอาอิสรภาพกับหงสาวดีสมเด็จพระนเรศวรพระชนมายุได้ 29 พรรษาสมเด็จพระเอกาทศรถพระชนมายุได้23พรรษา
ข้อความของวันวลิตจาก The Short History of the King of Siam ใน Van Viet’s Siam แปลโดยวนาศรีสามนเสน ( มติชน,2538 หน้า 66-68) อ้างโดยพิมานแจ่มจำรัสในหนังสือนเรศวรมหาราชสุพรรณกัลยาเอกาทศรถความว่าพระอนุชาพระนเรศราชาธิราชเสวยราชย์เมื่อพระชนมายุ45พรรษาทรงพระนามว่าพระอนุชาธิราชพระราเมศวร ... พระองค์เสวยราชย์อยู่6ปีสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้51พรรษาไม่มีความเจริญรุ่งเรืองใดๆในสมัยของพระองค์และกลับเป็นระยะเวลาที่มีความยุ่งยากเรื่อยมา
ซึ่งหากพิจารณาตามบันทึกของวันวลิตข้างต้นแล้วสมเด็จพระเอกาทศรถก็คงพระราชสมภพใน พ.. 2103 ครองราชย์เมื่อปี พ..2148 ( พระชนมายุ45พรรษา ) ครองราชย์ 5 ปีเศษจึงเสด็จสวรรคตในปีพ.. 2153 รวมพระชนมายุ 50 ปีเศษใกล้เคียงกับบันทึกของวันวลิตในข้างต้น
สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำศึกษาสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กับสมเด็จพระเชษฐามาตลอดโดยได้ทรงออกทำการรบเป็นครั้งแรกในวีรกรรมไล่ติดตามพระยาจีนจันตุเมื่อปี พ.. 2121 ณ บริเวณลำน้ำเจ้าพระยาโดยเสด็จพระราชดำเนินทางชลมาร์คจากพระราชวังจันทร์เกษมในกรุงศรีอยุธยาร่วมขบวนเรือมากับสมเด็จพระนเรศวรพระเชษฐาและไล่ติดตามทันพระยาจีนจันตุบริเวณกรุงธนบุรีเป็นต้นไปจนถึงปากน้ำพระประแดงซึ่งในการรบครั้งนั้นเป็นการสร้างพระวีรกรรมของสองยุวกษัตริย์และขุนนางตลอดจนฝีพายจากเมืองเหนืออันมีกำลังพลจากเมืองพิษณุโลกเป็นหลักร่วมกันปกป้องประเทศชาติซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์จารึกไว้ดังนี้ 
       “ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นสี่ค่ำปีระกาตรีศก (ตรงกับศักราช 923) เพลาประมาณสองนาฬิกาพระยาจีนจันตุก็พาครัวลงสำเภาหนีล่องลงไปขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเจ้าเสด็จลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลกเสด็จอยู่ในวังใหม่สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้นแล้วตรัสให้เรือประตูเรือกันและเรือท้าวพระยาทั้งหลายเข้าล้อมสำเภาพระยาจีนจันตุและได้รบพุ่งกันเป็นสามารถพระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาไปกลางน้ารบต้านทานไว้สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็ตรัสให้เอาเรือคู่เรือกันเข้าจับจนท้ายสำเภาพระยาจันจันตุให้พลทหารปีนสำเภาขึ้นไปแล้วเอาเรือพระที่นั่งหนุนเข้าไปให้ชิดสำเภา แล้วทรงปืนนกสับยิงถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุก็ยิงปืนนกสับมา ต้องรางปืนต้นอันทรงนั้นแตก พระยาจีนจันตุก็รบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสำเภามิได้ พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาออกพ้นปากน้ำตกลึก ฝ่ายสมเด็จพระราชบิดาเสด็จหนุนทัพสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าลงไปถึงเมืองพระประแดง พอสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ยกกลับขึ้นมาพบสมเด็จพระราชบิดา ทูลการทั้งปวงให้ทราบ สมเด็จพระราชบิดากับสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็เสด็จคืนมายังพระนคร
จาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ภาคที่ 1 แบบเรียนพงศาวดาร กรมตารา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2465
เรื่องพระนเรศวร แรกจะได้ทาการรบพุ่งนั้น ปรากฏว่า ครั้งหนึ่งเสด็จลงมาพระนครศรีอยุธยา ประทับอยู่ที่วังซึ่งทรงสร้างใหม่ คือวังจันทร์เกษม ทุกวันนี้ ประจวบเวลานั้น ขุนนางจีนเมืองเขมรคนหนึ่ง ชื่อพระยาจีนจันตุ ซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์อยู่ในกรุงฯ ได้รู้การงานทั้งปวงในพระนครแล้ว ลอบลงเรือสำเภาจะหนีไปทางทะเล พอพระนเรศวรทรงทราบ ก็ตรัสเรียกพวกข้าหลวงที่ตามเสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลก ลงเรือรีบตามไปกับสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาด้วยกัน ไปทันเรือพระยาจีนจันตุที่ปากน้า พระยาจีนจันตุต่อสู้ พระนเรศวรก็เร่งเรือพระที่นั่งให้พายขึ้นไปข้างหน้าเรืออื่น เสด็จออกยืนทรงปืนนกสับยิงข้าศึกเองที่หน้าเรือกันยา จนข้าศึกยิงมาถูกรางพระแสงปืนที่ทรงนั้นแตกไปก็ไม่หลบเลี่ยง ฝ่ายพระเอกาทศรถ เห็นสมเด็จพระเชษฐากล้านัก เกรงจะเป็นอันตราย ให้เร่งเรือลาที่ทรง เข้าบังเรือพระที่นั่งไว้ ขณะนั้นพอเรือสำเภาพระยาจีนจันตุได้ลม ก็แล่นใบออกทะเลได้ เรือที่ลงไปตามเป็นแต่เรือยาว สู้คลื่นไม่ไหว ก็ต้องเสด็จกลับคืนมาพระนคร การรบที่กล่าวนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกที่พระองค์รบพุ่ง แต่ก็พอแลเห็นได้ว่า พระนเรศวรที่เอาพระองค์ออกหน้า ผิดกับวิธีรบพุ่งแต่ก่อนอย่างไร ยังอีกประการหนึ่งเห็นได้แต่คราวนี้ไปว่า พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ ทรงรักใคร่กันเพียงไร จึงเป็นผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันจนตลอดการมหายุทธสงคราม
จาก แสดงบรรยายพงศาวดารสยามของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ พ.ศ. 2467
อันความเป็นนักรบผู้กล้าหาญของสมเด็จพระเอกาทศรถ จะประจักษ์ได้ในครั้งแรก ตอนปราบพระยาจีนจันตุ พระองค์ทรงออกรบพุ่งคู่คี่กับพระเชษฐาในทางน้ำ อย่างไม่กลัวพระชนม์ชีพสูญสลาย ทั้งยังทรงป้องกันภยันตรายให้แก่พระเชษฐาในยามคับขันอีกด้วย ดังความในพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตอนนี้ว่า ... เมื่อพระยาจีนจันตุขุนนางจีนเมืองเขมร ผู้เข้ามาสวามิภักดิ์ ทำราชการอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ได้รู้สิ่งตื้นลึกหนาบางในกรุงศรีอยุธยาพอสมควรแล้ว ก็ได้ลอบลงสำเภาหนีจะกลับไปบ้านเมืองเขมร ในเวลานั้น สมเด็จพระนเรศวร ลงมาเฝ้าสมเด็จพระราชบิดาอีกครั้งหนึ่ง ทรงไม่ไว้วางพระทัยพระยาจีนจันตุว่า คงจะเป็นไส้ศึกให้เขมรอยู่แล้ว พอทรงทราบ ก็ตรัสชวนสมเด็จพระเอกาทศรถ ราชอนุชา ลงเรือยาวพระที่นั่งตามไป ครั้นไปทันสำเภาพระยาจีนจันตุที่ปากน้ำ พระยาจีนจันตุต่อสู้ สมเด็จพระนเรศวรเร่งให้ฝีพาย พายเรือพระที่นั่งขึ้นไปข้างหน้าเรือลำอื่น เสด็จออกยืนทรงปืนนกสับ ยิงข้าศึกเองที่หน้ากัญญาอย่างกล้าหาญไม่เกรงกลัวต่อกระสุนปืนของข้าศึกที่ยิงมา จนข้าศึกยิงถูกรางปืนที่ทรงอยู่นั้นแตก สมเด็จพระเอกาทศรถ ทอดพระเนตรเห็นพระเชษฐากล้านัก เกรงจะเป็นอันตราย พระองค์จึงเร่งเรือลำทรงเข้าบังไว้ สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเป็นราชอนุชาคู่พระทัยของสมเด็จพระเชษฐา เนื่องในการออกรบพุ่งนับตั้งแต่นั้นมา และทรงใช้พระชีวิตมอบถวายสมเด็จพระเชษฐาพระองค์เดียวของพระองค์ การที่สมเด็จพระนเรศวรทรงหาญสู้กับข้าศึกที่ใช้เรือสำเภาเป็นที่มั่น กับเรือยาวที่ผิดขนาดกันมีระดับเรี่ยน้า การได้เปรียบเสียเปรียบกันมีมากมายยิ่งนัก สาหรับผู้ที่อยู่บนที่มั่นอันสูงกว่า และใช้ปืนเลือกยิงเอาได้อย่างสบาย แต่สมเด็จพระเชษฐาของพระองค์มิได้ทรงหวั่นเลย ทรงคิดแต่จะจับพระยาจีนจันตุให้ได้ถ่ายเดียว และในขณะที่ข้าศึกยิงถูกรางพระแสงปืนทรง สมเด็จพระเชษฐาของพระองค์ยังขืนมุมานะ เอาพระวรกายเป็นเป้ากระสุนปืนข้าศึกอยู่เช่นนั้น ก็ไม่อาจคาดหมายได้ว่า อันตรายจะประสบกับพระองค์ถึงวาระสุดท้ายหรือไม่ เพราะสมเด็จพระเชษฐาไม่ทรงถอยเลย จึงมีวิธีเดียวที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะต้องกระทาในทันทีทันใดนั้น คือเร่งเรือทรงของพระองค์เข้าขัดขวางมิให้พระเชษฐามุ่งหน้าติดตามสำเภาของพระยาจีนจันตุต่อไปอีก เพราะปรากฏว่าสำเภาของพระยาจีนจันตุต่อสู้ด้วยการแล่นใบหนีอยู่เรื่อย ๆ อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันอันตรายทางปืนที่พระยาจีนจันตุใช้โอกาสนั้นยิงออกมาไม่หยุดยั้ง จะได้ไม่ต้องพระวรกายสมเด็จพระเชษฐา ซึ่งแม้ว่าการป้องกันคราวนั้นจะเป็นเคราะห์ร้ายของพระองค์ ก็ทรงยอมถวาย ที่นับเป็นการตัดสินพระทัยอย่างกล้าหาญ ยอมถวายพระชีวิตเพื่อสมเด็จพระเชษฐาพระองค์เดียวดังกล่าว สมเด็จพระเอกาทศรถ โดยเสด็จด้วยสมเด็จพระเชษฐา ไล่ตามจับพระยาจีนจันตุที่แล่นสำเภาหนีไปด้วยเรือยาวพระที่นั่งทรง ตรงกับปีพุทธศักราช 2121 พระองค์ทรงมีพระชนมายุประมาณ 18 พรรษา สมเด็จพระนเรศวรพระเชษฐามีพระชนมายุ 24 พรรษา ในขณะนั้นยังครองเมืองพิษณุโลกอยู่
จาก สมเด็จพระเอกาทศรถ ฉบับออกอากาศ ของ ประยูร พิศนาคะ พ.ศ.2514

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ความจริงคำว่า “อิศวร” ในคำว่า “นเรศวร” เป็นภาษาสันสกฤต ว่า อิศฺวร ตรงกับภาษาบาลีว่า อิสฺสร (ไทยใช้ อิสระ ในความหมายไม่ขึ้นกับใครหรือตามใจตนเอง) แปลว่า ผู้มียิ่งใหญ่ สมาสสนธิกับ นร (แปลว่า คนหรือประชาชน) เป็น นริศฺวร และ นเรศฺวร ตามลำดับ แปลว่า ผู้ยิ่งใหญ่เหนือประชาชน ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์นั่นแหละ ถ้าจะอ่านให้ถูกต้อง ต้องอ่านว่า นะ-เรด-สฺวอน แต่คนไทยอ่านยาก จึงอ่านกันว่า นะ-เร-สวน ความจริงพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยอยุธยา น่าจะเป็นพระนเรศ ตามภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวร” ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมยุคลต่อไปนี้จะกล่าวพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรแต่โดยย่อ โดยละเอียดจะกล่าวในตอนว่าด้วย “มหาราชของชาติไทย”
พระนเรศวร
สมเด็จพระนเรศวรทรงพาทหารรักษาพระองค์ และเอาพระองค์ออกนำหน้าทรงคาบพระแสงดาบขึ้นปล้นค่ายพระเจ้าหงสาวดี แต่พวกพม่าต่อสู้และป้องกันไว้เข้าค่ายไม่ได้ (จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จพระราชสมภพณเมืองพิษณุโลกเมื่อปีเถาะพุทธศักราช 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระศรีสุริโยทัยดังนั้นพระองค์จึงมีพระชาติทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดาและราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดาพระองค์ทรงมีพระพี่นางพระนามว่าพระสุวรรณเทวีหรือพระสุพรรณกัลยาและพระน้องยาเธอพระนามว่าสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 9 ปีพระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรมพระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปีเมื่อพระชันษาได้ 15 ปีจึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาเพื่อช่วยราชการพระบิดาโดยได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดีก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์และวิชาพิชัยสงครามทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึกพระองค์ทรงมีโอกาสศึกษาทั้งภายในราชสำนักไทยและราชสำนักพม่ามอญและได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่างๆที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดีทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ยุทธวิธีที่ทรงใช้เช่นการใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมากและยุทธวิธีเดินเส้นในพระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรปนอกจากนั้นหลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบันเช่นการดำรงความมุ่งหมายหลักการรุกการออมกำลังและการรวมกำลังการดำเนินกลยุทธเอกภาพในการบังคับบัญชาการระวังป้องกันการจู่โจมหลักความง่ายฯลฯพระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด
ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์เมืองพิษณุโลกจนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดีและทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง9พรรษานอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่นๆที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมากพระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดีพระนเรศวรทรงใช้เวลา8ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่าพระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปะศาสตร์และวิชาพิชัยสงครามทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึกพระองค์ทรงมีโอกาสศึกษาทั้งในราชสำนักไทยและราชสำนักพม่ามอญและได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่างๆที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดีเช่นชาวโปรตุเกสสเปนหรือชาวพม่าเองทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ยุทธ์วิธีที่ทรงใช้ได้แก่การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมากและยุทธวิธีแบบกองโจรพระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรปนอกจากนั้นหลักสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบันเช่นการดำรงความมุ่งหมายหลักการรุกการออมกำลังและการรวมกำลังการดำเนินกลยุทธ์ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชาการระวังป้องกันการจู่โจมฯลฯพระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญและประสงผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอดเนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา(พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง)จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์เช่นจากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวาเป็นต้นรวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลยจากพม่าด้วยหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตก
        เมื่อพ..2112 มะเส็งสกวันอาทิตย์เดือน9แรม11ค่ำและได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีต่อไปหลังจากนั้นพระนเรศวรได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาได้ขอไว้หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระหมาหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่าพระนเรศวรและโปรดเกล้าฯเป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก
ประกาศอิสรภาพ
ประกาศอิสรภาพ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดีและกวาด
ต้อนครัวไทยครัวมอญข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร
 (จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
        สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดีและกวาดต้อนครัวไทยครัวมอญข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนครเมื่อปี พ.. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฏเนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการจึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วยพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วยให้ยกทัพไปช่วยทางไทยสมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทนสมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลกเมื่อวันแรม 6 ค่ำเดือน 3 ปีมะแม พ.. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้าๆเพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อนทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่าทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วยจึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสียและพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคนคือพระยาเกียรติและพระยารามซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมากและทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อนลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครงอันเป็นชายแดนติดต่อกับไทยพระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไปถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใดให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลังช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดีทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดีเพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวรรู้จักชอบพอกันมาก่อนกองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครงเมื่อวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 6 ปีวอกพ.. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน
กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมืองเจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้าฯสมเด็จพระนเรศวรจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อนพระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสารจึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดีแล้วให้พระยาเกียรติกับพระยารามกราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริงเมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้วก็ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้นถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้วจึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกองกรมการเมืองเจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกันแล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยานทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุมณที่นั้นทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดีมิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณีเสียสามัคคีรสธรรมประพฤติพาลทุจริตคิดจะทำอันตรายแก่เราตั้งแต่นี้ไปกรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไปจากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใดพวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทยสมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่าแล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพเมื่อจัดกองทัพเสร็จก็ทรงยกทัพจากเมืองแครงไปยังเมืองหงสาวดีเมื่อวันแรม 3 ค่ำเดือน 6ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดีเมื่อทราบว่าพระยาเกียรติพระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวรจึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดีได้ทราบความว่าพระเจ้ากรุงหงสาวดีมีชัยชนะได้เมืองอังวะแล้วกำลังจะยกทัพกลับคืนพระนครพระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเนเห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อนให้อพยพกลับบ้านเมืองได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษให้ยกล่วงหน้าไปก่อนพระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามข้างหลัง         
        ฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับจึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้าพระมหาอุปราชาเป็นกองหลวงยกติดตามกองทัพไทยมากองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตงในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้วและคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ได้การต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนคาบชุดยาวเก้าคืบยิงถูกสุกรรมาแม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง  
        กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตายก็พากันเลิกทัพกลับไปเมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบจึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดีพระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธอันเป็นเครื่องราชูปโภคยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้เมื่อเสด็จกลับถึงเมืองแครงทรงดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการอยู่มากจึงชักชวนให้เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาพระมหาเถรกับมอญทั้งสองก็ยินดีนำพรรคพวกตามเสด็จมาเป็นอันมากจึงตรัสสั่งให้พระยาเกียรติพระยารามนำทัพผ่านหัวเมืองมอญทางด่านเจดีย์สามองค์ตรงมากรุงศรีอยุธยาทูลเหตุการณ์ทั้งปวงให้พระราชบิดาทรงทราบทุกประการสมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่มอญที่สามิภักดิ์ทรงตั้งพระมหาเถรคันฉ่องให้เป็นที่สังฆราชาให้พระยาเกียรติพระยารามมีตำแหน่งยศพระราชทานพานทองควบคุมมอญที่เข้ามาด้วยแล้วทรงมอบอำนาจแก่สมเด็จพระนเรศวรให้ทรงบัญชาราชการทั้งปวงสิทธิขาดแต่นั้นมา
สงครามครั้งสุดท้ายและสวรรคต
        ครั้นพระเจ้าหงสาวดีหมดอำนาจเมืองขึ้นแต่เดิมก็พากันตั้งแข็งเมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนไทยก็พากันมายอมขึ้นแก่ไทยครั้นพระเจ้าอังวะมีอำนาจขึ้นเมืองไทยใหญ่ที่อยู่ใกล้พม่าเกรงกลัวกลับไปอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอังวะบางเมืองที่อยู่ห่างก็ไม่อ่อนน้อมแต่โดยดีพระเจ้าอังวะก็ยกทัพไปปราบปรามตีได้เมืองไทยใหญ่จนถึงเมืองหน่ายที่มาขึ้นอยู่ไทยแล้วจะเลยมาตีเมืองแสนหวีสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบก็ขัดเคืองดำรัสสั่งให้เกณฑ์รี้พลจำนวน 100,000 เข้ากองทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะกะจะยกไปทางเมืองเชียงใหม่ข้ามแม่น้ำสาละวินที่เมืองหางสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกกองทัพออกจากพระนครเมื่อวันพฤหัสบดีแรม 8 ค่ำเดือนยี่ปีมะโรงพ.. 2148 เสด็จโดยกระบวนเรือจากพระตำหนักป่าโมกแล้วเสด็จขึ้นบนที่ตำบลเอกราชไปตั้งทัพชัยณตำบลพระหล่อแล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือนแล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝางส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหางครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้วสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก(ฝี)ขึ้นที่พระพักตร์แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนักจึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯมาถึงได้3 วันสมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 ปีมะเส็งตรงกับวันที่ 25 เมษายนพ.. 2148 สิริพระชนมพรรษา 50 พรรษารวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปีสมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังยกเป็นพระราชเทวี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี พระนมอยู่พระองค์หนึ่งคือเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคลหลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน

การเสด็จสวรรคต

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231  พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา

พระราชโอรส-ธิดา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระราชโอรสธิดา ได้แก่
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี เจ้าฟ้าสุดาวดีถือเป็นท่านแรกที่ปรากฏพระนามว่าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงกรม และยังมีอีกหนึ่งพระองค์คู่กันกับท่านก็คือ กรมหลวงโยธาทิพ มีพระคลังสินค้า เรือกำปั่น และเงินทุน แต่พระองค์มีเรื่องหมางพระทัยอยู่กับพระราชบิดา ด้วยเหตุที่พระบิดาทรงกว้านการค้ากับต่างประเทศไว้เสียหมด ภายหลังพระองค์ทรงถูกบังคับให้อภิเษกกับพระเพทราชาขึ้นเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ทั้งที่กรมหลวงโยธาเทพเองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มการปฏิวัติผลัดแผ่นดิน แต่กลับกลายตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์นี้เสียเองทั้งที่ไม่เต็มพระทัยต่อพระเพทราชานัก และให้ประสูติการพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2278 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  • หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ พระราชโอรสลับที่ประสูติแต่พระนางกุสาวดี
ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พระองค์มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เมื่อโสกันต์แล้วพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้าอไภยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่มีพระราชโอรส โดยเจ้าฟ้าอไภยทศพระองค์นี้เป็นพระราชอนุชาของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระโอรสบุญธรรม คือ พระปีย์ หรือบางแห่งเรียก พระปิยะ

พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)

การต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมุหนายกขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย พระโกษาธิบดี(ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า คริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก
ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี พระยาพระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราชโกษาได้ลงนามในสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศฝรั่งเศส
ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียมสร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะนั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมาก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14แห่งราชวงศ์บูร์บง
ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้นก็มิใช่ว่าจะปลอดภัย ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย

วรรณกรรมในรัชกาล

สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง
วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น
  • สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
  • คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2203 เป็นต้น
ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญ ๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น

พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา มี 5 ราชวงศ์ คือ
1.   ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
2.   ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3.   ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4.   ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5.   ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 พระองค์
รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์ 417 ปี

รายพระนาม

ลำดับ
พระนาม
พระราชสมภพ
เริ่มครองราชย์
สิ้นรัชกาล
สวรรคต
รวมปีครองราชย์
ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1)
1
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(พระเจ้าอู่ทอง)
พ.ศ. 1855
พ.ศ. 1893
พ.ศ. 1912
20 ปี
2
(1)
สมเด็จพระราเมศวร
พ.ศ. 1885
พ.ศ. 1912
พ.ศ. 1913
พ.ศ. 1938
ไม่ถึง 1 ปี
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1)
3
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
(ขุนหลวงพะงั่ว)
พ.ศ. 1853
พ.ศ. 1913
พ.ศ. 1931
18 ปี
4
สมเด็จพระเจ้าทองลัน
(เจ้าทองจันทร์)
พ.ศ. 1917
พ.ศ. 1931
7 วัน
ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2)
2
(2)
สมเด็จพระราเมศวร
พ.ศ. 1885
พ.ศ. 1931
พ.ศ. 1938
7 ปี
5
สมเด็จพระรามราชาธิราช
พ.ศ. 1899
พ.ศ. 1938
พ.ศ. 1952
?
15 ปี
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2)
6
สมเด็จพระอินทราชา
(เจ้านครอินทร์)
พ.ศ. 1902
พ.ศ. 1952
พ.ศ. 1967
15 ปี
7
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
(เจ้าสามพระยา)
 ?
พ.ศ. 1967
พ.ศ. 1991
24 ปี
8
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พ.ศ. 1974
พ.ศ. 1991
พ.ศ. 2031
40 ปี
9
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
?
พ.ศ. 2031
พ.ศ. 2034
3 ปี
10
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พ.ศ. 2015
พ.ศ. 2034
พ.ศ. 2072
38 ปี
11
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
(หน่อพุทธางกูร)
?
พ.ศ. 2072
พ.ศ. 2076
4 ปี
12
พระรัษฎาธิราช
พ.ศ. 2072
พ.ศ. 2077
5 เดือน
13
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
?
พ.ศ. 2077
พ.ศ. 2089
13 ปี
14
พระยอดฟ้า
(พระแก้วฟ้า)
พ.ศ. 2078
พ.ศ. 2089
พ.ศ. 2091
2 ปี
-
ขุนวรวงศาธิราช
?
พ.ศ. 2091
42 วัน
(ไม่ได้รับการยกย่อง แต่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
15
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
(พระเจ้าช้างเผือก)
พ.ศ. 2048
พ.ศ. 2091
พ.ศ. 2111
20 ปี
16
สมเด็จพระมหินทราธิราช
พ.ศ. 2082
พ.ศ. 2111
7 สิงหาคม พ.ศ. 2112
1 ปี
เสียกรุงครั้งที่ 1

ราชวงศ์สุโขทัย

17
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1)
พ.ศ. 2059
พ.ศ. 2112
พ.ศ. 2133
21 ปี

18
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2)
พ.ศ. 2098
29 กรกฎาคมพ.ศ. 2133
25 เมษายน พ.ศ. 2148
15 ปี

19
สมเด็จพระเอกาทศรถ
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3)
พ.ศ. 2104
25 เมษายนพ.ศ. 2148
พ.ศ. 2153
5 ปี

20
พระศรีเสาวภาคย์
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4)
?
พ.ศ. 2153
2 เดือน

21
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
(สมเด็จพระบรมราชาที่ 1)
พ.ศ. 2125
พ.ศ. 2154
12 ธันวาคม พ.ศ. 2171
17 ปี

22
สมเด็จพระเชษฐาธิราช
พ.ศ. 2156
พ.ศ. 2171
พ.ศ. 2173
1 ปี 8 เดือน

23
พระอาทิตยวงศ์
พ.ศ. 2161
พ.ศ. 2173
พ.ศ. 2173
พ.ศ. 2178
36 วัน

ราชวงศ์ปราสาททอง

24
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5)
พ.ศ. 2143
พ.ศ. 2173
พ.ศ. 2199
25 ปี

25
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6)
?
พ.ศ. 2199
9 เดือน

26
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
(พระสรรเพชญ์ที่ 7)
?
พ.ศ. 2199
2 เดือน 17 วัน

27
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3)
พ.ศ. 2175
พ.ศ. 2199
พ.ศ. 2231
11 กรกฎาคมพ.ศ. 2231
32 ปี

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

28
สมเด็จพระเพทราชา
พ.ศ. 2175
พ.ศ. 2231
พ.ศ. 2246
15 ปี

29
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
(สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี)
(พระเจ้าเสือ)
พ.ศ. 2204
พ.ศ. 2246
พ.ศ. 2251
5 ปี

30
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)
พ.ศ. 2221
พ.ศ. 2251
พ.ศ. 2275
24 ปี

31
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พ.ศ. 2223
พ.ศ. 2275
พ.ศ. 2301
26 ปี

32
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
(ขุนหลวงหาวัด)
พ.ศ. 2265
พ.ศ. 2301
พ.ศ. 2339
2 เดือน

33
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
(พระเจ้าเอกทัศ)
พ.ศ. 2252
พ.ศ. 2301
7 เมษายนพ.ศ. 2310
26 เมษายนพ.ศ. 2311
9 ปี